ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

พุทธศาสตร์เหนือกว่าวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยเรื่อง "คาบเวลา"

เริ่มโดย กิมหยง, 13:46 น. 18 พ.ย 54

กิมหยง

เวลาที่เราใช้อ้างอิงกันทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้
เหมือนจะอ้างมาจากมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์
แต่หากดูถึงแก่นแท้แล้ว เวลาที่เราใช้กันอยู่
อ้างอิงมาจากการหมุนเวียนไปตามวัฎจักรที่เป็นอยู่ในธรรมชาติ

1 วันหมายถึงโลกหมุนรอบดวงตัวเอง 1 รอบ
1 ปี หมายถึงโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ

แต่ถ้าเป็นเวลาที่ยาวนานกว่านั้น ไม่แน่ใจว่าเขาจะมีชื่อเรียกยังไงกันบ้าง

ในส่วนของชาวพุทธนั้น มีบันทึกไว้บอกกล่าวถึงช่วงเวลา
ไว้อย่างครอบคลุมอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคเริ่มต้น จนยุคแตกดับ

ซึ่งช่วงเวลาที่ครอบคลุมตั้งแต่เริ่มต้นจนแตกดับนั้น เรียกกว่า "มหากัป"

ในมหากัปนั้น แบ่งย่อยออกเป็น 4 ช่วงเวลา ซึ่งเรียกว่า "อสงไขยกัป"

- สังวัฏฏกัป ยุคที่กำลังแตกสลาย
- สังวัฏกฐายีกัป ยุคที่แตกสลายแล้ว
- วิวัฏฏกัป ยุคก่อตัวใหม่
- วิวัฏฏฐายีกัป ยุคที่เริ่มมีสิงมีชีวิต (ยุคปัจจุบัน)

นี่เป็นพุทธศาสนา ที่ฟังดูเหมือนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ขั้นสูง
มีโลก จากนั้นก็เข้าสู่การแตกสลาย แล้วก็เริ่มใหม่

ทีนี้ แล้วแต่ละยุค แต่ละกัปนั้น มันนานมากน้อยแค่ไหนกันละครับ



สร้าง & ฟื้นฟู

ปัจเจกพุทธ

ไม่ทราบครับ รู้แต่ว่า เวลาย่อมกลืนกินสรรพสิ่ง รวมทั้งตัวมันเอง

มีคนบอกว่า อสงไขย เป็นระยะเวลาที่นานที่สุด ที่นับได้ ซึ่งก็จริง แต่ที่นานกว่าอสงไขย คือ อนันตกาล คือไม่สิ้นสุด หรือ อินฟินิตี้ นั่นเอง แต่เป็นเวลาที่นับไม่ได้

ทฤษฎีเกี่ยวกับเวลาของผม ลองฟังดู

เวลาที่มีอยู่ในจักรวาลและเหนือจักรวาล มี 2 ประเภท คือ
1. เวลาแบบโฟร์กราว ที่ไอสไตน์ได้มีทฤษฎีหลายอย่างออกมาหลายอย่าง เช่นการย้อนเวลา ข้ามเวลา คู่แฝดพิศวง
2. เวลาที่เป็นแบคกราว เรียกว่า การผ่าน (passing) หรือการผ่านไป ส่วนนี้เป็นอมตะนิรันดร์และไม่สามารถเข้าไปยุ่งได้

เล่าให้ฟังเฉย ๆ


ฟ้าเปลี่ยนสี

 
อ้างจาก: ปัจเจกพุทธ เมื่อ 17:33 น.  19 พ.ย 54
ไม่ทราบครับ รู้แต่ว่า เวลาย่อมกลืนกินสรรพสิ่ง รวมทั้งตัวมันเอง

มีคนบอกว่า อสงไขย เป็นระยะเวลาที่นานที่สุด ที่นับได้ ซึ่งก็จริง แต่ที่นานกว่าอสงไขย คือ อนันตกาล คือไม่สิ้นสุด หรือ อินฟินิตี้ นั่นเอง แต่เป็นเวลาที่นับไม่ได้

ทฤษฎีเกี่ยวกับเวลาของผม ลองฟังดู

เวลาที่มีอยู่ในจักรวาลและเหนือจักรวาล มี 2 ประเภท คือ
1. เวลาแบบโฟร์กราว ที่ไอสไตน์ได้มีทฤษฎีหลายอย่างออกมาหลายอย่าง เช่นการย้อนเวลา ข้ามเวลา คู่แฝดพิศวง
2. เวลาที่เป็นแบคกราว เรียกว่า การผ่าน (passing) หรือการผ่านไป ส่วนนี้เป็นอมตะนิรันดร์และไม่สามารถเข้าไปยุ่งได้

เล่าให้ฟังเฉย ๆ




ส.อืม  ส.อืม  ส.อ่านหลังสือ  ส.อ่านหลังสือ  ส.อืม  ส.อืม
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

คุณหลวง

    สะบายดี...

    กัป คืออะไร, อสงไขย คืออะไร

กัป คืออะไร


    กัป คือ การเกิดโลกครั้งหนึ่ง อาจรวมได้ประมาณหมื่นล้านปี คนโบราณว่าไว้ดังนี้

เวลาของกัปคือ "นานแสนนานจนไม่อาจนับเป็นเดือนปีได้ อุปมาเหมือนมีภูเขาลูกหนึ่งสูง ๑ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๓ โยชน์ ถึงเวลา ๑๐๐ ปีจะมีเทวดาเอาผ้าทิพย์อันอ่อนบางดังควันไฟมากวาดภูเขาหนึ่งรอบ เมื่อใดที่ภูเขานั้นราบลงกับผืนดินจึงจะเท่ากับป ๑ กัป"

บางตำราบอก ว่า "อุปมามีหินภูเขาลูกหนึ่งสูง ๑๐ โยชน์ ทุก ๆ พันปีจะมีนกน้อยตัวหนึ่งเอาจะงอยปากมาลับที่ภูเขานี้ครั้งหนึ่ง ถ้าภูเขานั้นราบลงไปหมดจะเท่ากับ ๑ วันของกัป"

ทั้งนี้ ๑ กัปจะเกิดขึ้นและจบสิ้นไปด้วยไฟบรรลัยกัลป์ หรือไฟล้างโลก ซึ่งไฟนี้จะเผาไหม้มาตั้งแต่นรก ไหม้กามภูมิทั้งหมดขึ้นไปจนถึงชั้นพรหม และเมื่อเกิดกัปเช่นนี้ ๗ ครั้งเราจึงรวมเรียกว่า มหากัป

    ใน มหากัปหนึ่ง ๆ จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้น ๑-๕ พระองค์ไม่เกิน มหากัปที่ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นเลย เรียกว่า สุญกัป

ส่วน มหากัปของเรานี้จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้น ๕ พระองค์ เรียกว่า ภัทรกัป โดยมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงอุบัติขึ้นแล้ว คือ

๑. สมเด็จพระกกุสันธะพุทธเจ้า
๒. สมเด็จพระโกนาคมน์พุทธเจ้า
๓. สมเด็จพระกัสสปะพุทธเจ้า
๔. สมเด็จพระสมณโคดมพุทธเจ้า
และ ๕. สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยพุทธเจ้า ซึ่งจะตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นองค์สุดท้ายในมหากัปนี้

    แต่ ในพระพุทธศาสนามักจะใช้กล่าวถึง ระยะเวลาที่พระโพธิสัตว์สร้างสมบารมีมาเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า โดยนับหน่วยเวลาเป็นอสงไขยกัป. อสงไขยเป็นปริมาณหรือจำนวนที่มีการกำหนดที่นับประมาณมิได้ ซึ่งมีอุปมาเปรียบเทียบเอาไว้ว่า ฝนตกใหญ่อย่างมโหฬารทั้งวันทั้งคืน เป็นเวลานานถึง 3 ปี ไม่ได้ขาดสายเลย จนกระทั่งน้ำฝนท่วมเต็มขอบจักรวาล ซึ่งมีระดับความสูง 84,000 โยชน์ หากว่ามีใครสามารถนับเม็ดฝนที่ตกลงมาตลอดทั้ง 3 ปีได้ นับได้เท่าไร นั่นคือจำนวนเม็ดฝน 1 อสงไขย.


อสงไขย คืออะไร


อนึ่ง คำว่า อสงไขย นั้น มาจากภาษาบาลี ว่า อ + สงฺเขยฺย (สันสกฤต : อ + สํขฺย) หมายถึง นับไม่ได้ หรือนับไม่ถ้วน นั่นเอง พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542ระบุจำนวน ของอสงไขย ไว้ว่า เท่ากับ โกฏิ ยกกำลัง 20

การคำนวณ ความยาวนาน


1. สมมุติมีกล่องใบหนึ่ง กว้าง 100 โยชน์ ยาว 100โยชน์ และ สูง 100 โยชน์ ในเวลา 100 ปี ให้เอาเมล็ดผักกาด 1 เมล็ด ใส่ลงไปในกล่องนั้น ทำอย่างนี้จนเมล็ดผักกาดนั้นเต็มเสมอเรียบปากกล่อง นั้นละจึงเท่ากับ 1 กัป

2. (บางตำรากล่าวว่า กว้าง 1 โยชน์ ยาว 1 โยชน์ สูง 1 โยชน์) วิเคราะห์คำนวณ 1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร ดังนั้นกล่องใบนี้มีปริมาตร = 1600X1600X1600 = 4,096,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร ประมานว่า เมล็ดผักกาด มีขนาด .5 มิลลิเมตร 1 กิโลเมตรเทียบเป็นมิลลิเมตรได้ดังนี้ 10X100X1000 = 1,000,000 มิลลิเมตรจะได้ 1 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = (1,000,000)/0.5 = 2,000,000 เมล็ด

3. ดังนั้น 1600 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = (1600X2,000,000 = 3,200,000,000) เมล็ด ถ้าเป็นปริมาตร คือ (กว้าง x ยาว x สูง) ต้องใช้เมล็ดผักกาดทั้งหมด คือ (3,200,000,000X3,200,000,000X3,200,000,000 = 32,768,000,000,000,000,000,000,000,000 เมล็ด)

4. ใน 100 ปี ใส่เมล็ดผักเพียง 1 เมล็ด ดังนั้นต้องใช้เวลาทั้งหมดคือ 32,768,000,000,000,000,000,000,000,000X100 =3,276,800,000,000,000,000,000,000,000,000 ปี

5. จึงได้เวลา 1 กัป ประมาณ สามล้านสองแสนเจ็ดหมื่นหกพันแปดร้อยล้านล้านล้านล้าน ปีประมาณ 3.3 X 10 ยกกำลัง 30 ปี

6. 1 อสงไขยมีกี่ปีนั้นเป็นจำนวนที่แน่นอน คือ 1 ตามด้วยเลข 0 จำนวน 140 ตัว หรือ 1 X 10 ยกกำลัง140 ปี

วิธี นับอสงไขย

การนับอสงไขยให้เทียบเอาดังนี้

1. สิบ สิบหน เป็น หนึ่งร้อย
2. สิบร้อย เป็น หนึ่งพัน
3. สิบพัน เป็นหนึ่งหมื่น
4. สิบหมื่น เป็น หนึ่งแสน
5. ร้อยแสน เป็นหนึ่งโกฏิ
6. ร้อยแสนโกฏิ เป็น หนี่งปโกฏิ
7. ร้อยแสนปโกฏิ เป็น หนึ่งโกฏิปโกฏิ
8. ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ เป็น หนึ่งนหุต
9. ร้อยแสนนหุต เป็น หนึ่งนินนหุต
10. ร้อยแสนนินนหุต เป็น หนึ่งอักโขเภนี
11. ร้อยแสนอักโขเภนี เป็น หนึ่งพินทุ
12. ร้อยแสนพินทุ เป็น หนึ่งอพุทะ
13. ร้อยแสนอพุทะ เป็น หนึ่งนิระพุทะ
14. ร้อยแสนนิระพุทะ เป็น หนึ่งอหหะ
15. ร้อยแสนอหหะ เป็น หนึ่งอพพะ
16. ร้อยแสนอพพะ เป็น หนึ่งอฏฏะ
17. ร้อยแสนอฏฏะ เป็น หนึ่งโสคันธิกะ
18. ร้อยแสนโสคันธิกะ เป็น หนึ่งอุปละ
19. ร้อยแสนอุปละ เป็น หนึ่งกมุทะ
20. ร้อยแสนกมุทะ เป็น ปทุมะ
21. ร้อยแสนปทุมะ เป็น หนึ่งปุณฑริกะ
22. ร้อยแสนปุณฑริกะ เป็นหนึ่งอกถาน
23. ร้อยแสนอกถาน เป็น หนึ่งมหากถาน
24. ร้อยแสนมหากถาน เป็น หนึ่งอสงไขย


จำนวน อสงไขย

อสงไขย มี 7 อสงไขย คือ

1. นันทอสงไขย
2. สุนันทอสงไขย
3. ปฐวีอสงไขย
4. มัณฑอสงไขย
5. ธรณีอสงไขย
6. สาครอสงไขย
7. บุณฑริกอสงไขย

กัปป์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามีอยู่ ๒ ประการ คือ


๑) สุญญกัปป์ หมายถึง กัปป์ที่ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิ
๒) อสุญญกัปป์ หมายถึง กัปป์ที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิ อุบัติขึ้น

    อสุญญกัปป์มี ๕ อย่างคือ

๑) สารกัปป์ ได้แก่ มหากัปป์(= ๔ อสงไขยกัปป์)ที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ๑ พระองค์
๒) มัณฑกัปป์ ได้แก่ มหากัปป์(= ๔ อสงไขยกัปป์)ที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ๒ พระองค์
๓) วรกัปป์ ได้แก่ มหากัปป์(= ๔ อสงไขยกัปป์)ที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ๓ พระองค์
๔) สารมัณฑกัปป์ ได้แก่ มหากัปป์(= ๔ อสงไขยกัปป์)ที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ๔ พระองค์
๕) ภัททกัปป์ ได้แก่ มหากัปป์(= ๔ อสงไขยกัปป์)ที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ๕ พระองค์

    ภัทรกัปป์ ( คือกัปป์ปัจจุบัน )


มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้แล้ว ๔ พระองค์คือ
- พระพุทธกกุสนธะ
- พระพุทธโกนาคมน์
- พระพุทธกัสสปะ
- พระพุทธโคดม ( สมเด็จพระศาสดาองค์ปัจจุบัน )
- และจะมี พระพุทธเมตไตรย มาตรัสรู้ในอนาคต


    เมื่อสิ้นมหากัปป์นี้แล้ว คัมภีร์อนาคตวงศ์กล่าวไว้ว่าอสุญญกัปป์ต่อไปจะเป็น มัณฑกัปป์ มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์คือ พระรามโพธิสัตว์ และพระเจ้าปเสนทิโกศล(พระธรรมราช)


อ้างอิง:
1. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A2
2. พระคัมภรีอนาคตวงศ์ , ประภาส สุระเสน, มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์,พ.ศ. 2540, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย , ISBN 974-580-742-7
3. เว็บไซต์ทีนดอตเน็ต http://www.tteen.net/view.php?time=20040301022847

Create Date : 20 ตุลาคม 2551
Last Update : 20 ตุลาคม 2551 12:16:48 น.       16 comments
Counter : 438 Pageviews.


    ค้ดลอกมาเพื่อความชัดเจนขึ้นครับ
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

คุณหลวง

    ส ะบายดี...

อ้างถึงไม่ทราบครับ รู้แต่ว่า เวลาย่อมกลืนกินสรรพสิ่ง รวมทั้งตัวมันเอง

มี คนบอกว่า อสงไขย เป็นระยะเวลาที่นานที่สุด ที่นับได้ ซึ่งก็จริง แต่ที่นานกว่าอสงไขย คือ อนันตกาล คือไม่สิ้นสุด หรือ อินฟินิตี้ นั่นเอง แต่เป็นเวลาที่นับไม่ได้

ทฤษฎีเกี่ยวกับเวลาของผม ลองฟังดู

เวลา ที่มีอยู่ในจักรวาลและเหนือจักรวาล มี 2 ประเภท คือ
1. เวลาแบบโฟร์กราว ที่ไอสไตน์ได้มีทฤษฎีหลายอย่างออกมาหลายอย่าง เช่นการย้อนเวลา ข้ามเวลา คู่แฝดพิศวง
2. เวลาที่เป็นแบคกราว เรียกว่า การผ่าน (passing) หรือการผ่านไป ส่วนนี้เป็นอมตะนิรันดร์และไม่สามารถเข้าไปยุ่งได้

เล่า ให้ฟังเฉย ๆ

    อสงไขย แปลว่า นับไม่ได้ ครับ (อ=ไม่,สํขย=นับ) แปลว่า นับไม่ได้ ไม่อาจนับได้ แต่ท่านประมาณให้เห็นคร่าวๆเท่านั้นเองครับ เพื่อให้เห็นความยาวนาน ให้เห็นโทษในวัฏฏสงสาร ซึ่งการคำนวณออกมาก็ไม่ใช่จำนวนจริงแต่เป็นจำนวนโดยประมาณ

    ส่วนอนันตกาลนั้น แน่นอนว่ายาวนานกว่า เพราะไม่มีการประมาณได้ หรือไม่สามารถแม้แต่จะประมาณได้เลย ไม่มีที่สิ้นสุด(น =ไม่ + อนฺต =ช่องว่าง+กาล =เวลา) =ไม่มีช่องว่าง หรือช่องแบ่งของเวลา ยาวเป็นพืดไปไม่สิ้นสุด

    ในทฤษฎีของท่าน ซึ่งแบ่งเวลาออกเป็น สองแบบ แบบแรกท่านเรียกว่า โฟร์กราว (FORE GROUND?) ที่ไอสไตน์ได้มีทฤษฎีหลายอย่างออกมาหลายอย่าง เช่นการย้อนเวลา ข้ามเวลา คู่แฝดพิศวง ใช่ครับ ไอน์สไตน์มีทฤษฎีแบบนี้มาจริง ซึ่งเกิดจากการที่ไอน์สไตน์ได้พบความลับของจิต จิตที่สามารถพ้นอำนาจแห่งแสง พ้นอำนาจแห่งกาลเวลาได้ เมื่อจิตไม่ขึ้นกับอำนาจแห่งแสง จึงสามารถย้อนเวลา หรือ ข้ามเวลา หรือ ถึงคู่แฝดแห่งเวลา ที่ท่านว่า คู่แฝดพิศวงนั้น

    ส่วนแบบที่สองคือ แบคกราว(BACK GROUND?) เรียกว่า การผ่าน (passing) หรือการผ่านไป ส่วนนี้เป็นอมตะนิรันดร์และไม่สามารถเข้าไปยุ่งได้ เมื่อส่วนนี้ไม่สามารถเข้าไปยุ่งได้ แล้วส่วนที่เราเป็นอยู่ทุกวันนี้ เป็นแบบใดล่ะครับ แบบแรกนั้นไม่ใช่แน่นอน ส่วนแบบหลังท่านว่ายุ่งไม่ได้ แต่ชีวิตที่ผูกพันอยู่กับเวลาของคนเรานี้ เรียกว่าเวลาแบบใด

    ถ้าอย่างนั้นก็เหลืออยู่ประการเดียวก็คือ จิตนั้นได้เข้าสู่ภาวะ ไม่มีกาลเวลา แล้วเท่านั้นเองใช่ไหมครับ ซึ่งเป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของพระธรรมว่า อกาลิโก  แปลว่า ไม่มีเวลา ไม่ขึ้นกับเวลา หรือที่พระท่านแปลให้เข้าใจเพื่อการปฏิบัติง่ายๆว่า ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล

    สังขาร หรือ สิ่งที่ปรุงแต่งขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต เป็นทางวัตถุ หรือจิตใจ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้ ย่อมแพ้ต่อกาลเวลาทั้งสิ้น การเปลี่ยนแปลงนี้เองที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะทุกข์คือการพยายามเป็นดั่งเดิม ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง แต่มันไม่สามารถขัดขืนความเปลี่ยนแปลงได้ นั่นจึงเป็นทุกข์ เป็นภาวะที่ทนได้ยาก

    และการที่มันต้องเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถหยัดยืนได้เช่นเดิมตลอดไป นี่เอง ท่านจึงว่า มันไม่อาจยึดถือเป็นตัวเป็นตนได้ อนัตตา((น =ไม่ +อตฺตา= ตัวตน) =ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตนที่แท้จริง)การเข้าไปยึดถือก็เท่ากับสร้างทุกข์ เพราะพยายามคงอยู่ในสิ่งที่ไม่อาจคงอยู่ได้ เกิดความเบียดเสียด ความเครียด ความพยายามยึดเกาะ และต้องแยกแตกจากกัน จิตใจที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นทุกข์

    เมื่อใดที่จิตสามารถสลัดหลุดจากความยึดถือเหล่านั้นได้แล้ว จึงอยู่เหนือการเปลี่ยนแปลง อยู่เหนืออำนาจแห่งกาลเวลา ไม่อยู่ใต้อำนาจของสังขาร จึงไม่เป็นทุกข์อีกต่อไป เป็นอมตะ และจิตที่เป็นดั่งนี้แล้ว กาลเวลาไม่อาจทำอะไรได้ ไม่สามารถกลืนกินจิตนั้นได้ด้วยเช่นกัน

    แต่กาลที่ท่าน(พระ)ว่า กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสิ่ง รวมทั้งตัวมันเอง ท่านพูดให้เห็นในภาวะแห่งสังขารที่ไม่ล่วงพ้นการเปลี่ยนแปลงได้เท่านั้นเองครับ ไม่ใช่เป็นการเล่นลิ้นแต่อย่างใด

    ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้มาโต้แย้งนะครับ เพียงแต่อธิบายว่าเวลาในพระพุทธศาสนานั้นเป็นอย่างไร เกิดขึ้น มีขึ้น เพราะการยึดถือในตัวตน และเกิดความเปลี่ยนแปลงเท่านั้น เมื่อสลัดตัวตนออกได้ก็ละกาลเวลาได้

    กับอีกประการแค่สงสัยว่า เมื่อท่านมีกาลเวลาสองแบบนั้นแล้ว แล้วชีวิตของคนเราที่ผูกพันอยู่กับกาลเวลานี้จัดอยู่ในแบบใด หรือผมยังไม่เข้าใจเอง ก็ขอรบกวนอธิบายอีกสักเล็กน้อยครับถือเสียว่าเป็นวิทยาทานครับผม
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

แต่ก่อนเคยอยู่หาดใหญ่

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ  ได้ความกระจ่างเพิ่มขึ้นแยอะเลย

ฟ้าเปลี่ยนสี

 ส.ยกน้ิวให้ ธรรมะทำให้ชีวิตสมบูรณ์  ส.ยกน้ิวให้

ขอบคุณมากครับ  คุณหลวง ส.ตากุลิบกุลิบ
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ปัจเจกพุทธ

เวลาจริง ๆ ไม่มี มีแต่ความคิดของเรา และการเคลื่อนที่ของโลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว

ทฤษฎีของไอสไตน์ ส่วนใหญ่เชื่อว่าเวลามีจริง เลยคำนวณอะไร ๆ ออกมาเยอะ

ส่วนตัวผมไม่ค่อยเชื่อหลาย  ๆ ทฤษฎี

เวลาแบบ background ก็เป็นการผ่านไปของเรากับสิ่งรอบตัว จริง ๆ เราเอาตัวเองเป็นหลัก และมองตัวเองผ่านไปเรื่อย ๆ แต่เราคิดว่าเวลาผ่านไป ที่จริงเราต่างหากที่ผ่านไป งงมั้ย

ปัจเจกพุทธ

ในนิทานชาดก หรือพระเจ้าสิบชาติ ห้าร้อยชาติ มักเล่าถึงการประสูติของพระโพธิสัตว์ ว่าเกิดเป็นบุคคลในอาชีพต่าง ๆ แต่อาชีพที่เล่ามานั้น ไม่มีอาชีพ โปรแกรมเมอร์ ช่างซ่อมโทรศัพท์มือถือ นักบินอวกาศ คนขับสิบล้อ แอดมิน นักวิเคราะห์หุ้น หรือ นักแข่งฟอร์มูล่าวัน เลย

ส่วนใหญ่เป็นอาชีพช่างไม้ ช่างกัลบก(ตัดผม) พราหมณ์ ทาส สัตว์ต่าง ๆ ชาวนา ชาวประมง กษัตริย์ พ่อค้า

ถ้าโลกเรามีอารยะธรรมที่เริ่มและจบลง ตามยุคของพระพุทธเจ้าจริง เราก็น่าจะได้ยินเรื่องนี้จากชาดกบ้าง เพราะระยะเวลาหลายพันปีของมนุษย์ อารยะธรรมน่าจะพัฒนามาถึงสมัยที่เราอยู่ปัจจุบัน เราน่าจะได้ยินเรื่องของ การสร้างรถยนต์ ยานอวกาศ เครื่องบิน รถไฟ ในยุคก่อน ๆ บ้าง

หรือใครคิดว่างัย

คุณหลวง

    สะบายดี...

    ขอบคุณท่านปัจเจกพุทธครับผม ที่ให้ความกระจ่าง ทีแรกก็คิดว่าจะจบกระทู้นี้ไปแล้ว แต่เมื่อคิดดูอีกที ผมว่าบางทีเราอาจจะเข้าใจอะไรไม่ตรงอยู่นะครับ  โดยเฉพาะทฤษฎีของไอน์สไตน์ที่ท่านว่า
อ้างถึง"ทฤษฎี ของไอสไตน์ ส่วนใหญ่เชื่อว่าเวลามีจริง เลยคำนวณอะไร ๆ ออกมาเยอะ"
ความจริงนั้น ไอน์สไตน์รู้ว่าเวลาแต่ละจุดในจักรวาลไม่เท่ากัน จึงคำนวณเวลาที่ต่างกันของแต่ละจุดออกมา ดังนั้น ดาวเทียมทุกดวงจึงมีเวลาที่ไม่ตรงกับโลกเรา แต่หักค่าชดเชยกันก็จะตรงกัน นี่มาจากไอน์สไตน์

    หากตั้งเวลาบนโลกและบนดาวเทียมเท่ากัน คงปั่นป่วนพิลึกครับ เพราะมันจะส่งสัญญาณไม่ตรงตามเวลาที่เราต้องการซึ่งวัดจากบนโลก แต่ความสูง ณ ดาวเทียมดวงนั้นๆอยู่ ต่างกันครับ จึงต้องตั้งเวลาต่างกัน ชดเชยให้ตรงกัน เมื่อหักเวลาชดเชยแล้วก็จะส่งสัญญาณตรงเวลาที่เราต้องการบนโลก

    และสิ่งหนึ่งที่เราอาจจะไม่ค่อยพบในประวัติของไอน์สไตน์ทั่วไปก็คือ สิ่งที่ไอน์สไตน์กล่าวถึงเวลาในจิตใจของคนเรา ว่าไม่ได้มีเท่ากัน แต่ละขณะของคนมีเวลาที่ไม่เท่ากันเสมอไป (เวลาจิต) อย่าง ๕ นาทีก่อน ผมหิวมาก ผมรออาหารมา เวลา ๕ นาทีนาฬิกา เป็นเวลาทั้งชาติในจิต แต่ ๕ นาทีนี้ผมอิ่มดีแล้ว ๕ นาทีนาฬิกาก็เพียงแค่ ๒ นาทีจิตผมก็ได้ ดังนั้น สุดยอดที่ไอน์สไตน์เคยพูดไว้ก็คือ

    "เวลา และ สถานที่ ไม่ได้มีอยู่จริง ทุกสิ่งเกิดขึ้นจากจิตทั้งสิ้น" แม้ดวงอาทิตย์ โลก พระจันทร์ ดวงดาวต่างๆ และ ฯลฯ ไม่ได้มีจริง ที่มันมีเพราะเราเกิดมาต่างหาก นี่คือยอดของสิ่งที่ไอน์สไตน์และนักวิทยาศาสตร์(จำชื่อไม่ได้)คนหนึ่งในยุคเดียวกันพูดต่อกันไว้ แต่ไม่ค่อยมีใครเอามาพูดเพราะหาคนเข้าใจ เข้าถึงได้ยาก และสิ่งที่เอามาพัฒนานั้น เป็นสิ่งที่ไอน์สไตน์เองก็ใช้ชีวิตอยู่ในโลก ก็ต้องใช้สิ่งที่ต้องใช้ชีวิตบนโลกมาพัฒนา วิญญาณของนักประดิษฐ์ไอน์สไตน์จึงยังคงให้ความสำคัญต่อวิวัฒนาการด้านการประดิษฐ์และวิทยาศาสตร์ที่นำโลกสู่ความก้าวหน้าให้สูงสุดครับ

    ส่วนเรื่องที่ท่านไม่เชื่อทฤษฎีของไอน์สไตน์หลายๆทฤษฎีก็ไม่แปลกครับ เพราะแม้นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างก็ยอมรับว่าพวกเขาเข้าไม่ถึงและไม่เข้าใจ ร้อยคนไม่มีสักคนที่เข้าใจ สักกี่ร้อยคนจึงจะมีคนรู้ ผ่านมากี่ปี เพิ่งมีสตีเฟ่น ฮอร์คกิ้งคนเดียวที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถเข้าถึงทฤษฎีของไอน์สไตน์ เพราะสิ่งที่ไอน์สไตน์รู้นั้น มาจากการมองจากจิต มิใช่วัตถุอย่างที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เป็น

อ้างถึงเวลาแบบ background ก็เป็นการผ่านไปของเรากับสิ่งรอบตัว จริง ๆ เราเอาตัวเองเป็นหลัก และมองตัวเองผ่านไปเรื่อย ๆ แต่เราคิดว่าเวลาผ่านไป ที่จริงเราต่างหากที่ผ่านไป งงมั้ย
หากเป็นอย่างนั้น แล้วเราแก่ เราตายได้อย่างไรครับ เพราะการเกิดมามันประกอบด้วยสังขารที่ไม่เที่ยงแท้ถาวร ต้องสลายไปในที่สุด หากตัวเราเป็นของจริงมันก็ต้องไม่แก่ไม่ตายใช่ไหม? แต่เพราะเราเป็นมายาที่ปรุงแต่งทั้งจากวัตถุและจิตที่เข้าไปยึดถือทำให้เราแก่ เราตาย แน่นอน สิ่งที่ทำให้เราแก่ เราตาย คือเวลาที่ผ่านไป หรือเราผ่านเวลาก็ตาม แต่นั่นก็คือมายาที่เกิดจากจิตที่ไปยึดถือว่าเป็นตัวเรา ของเรามิใช่หรือครับ

    หากเวลาเป็นของมายา เราเป็นของจริง เราต้องไม่แก่ ไม่ตาย หากเราเป็นมายา เวลาเป็นของจริง พระนิพพานก็ไม่มี แต่เพราะทั้งเราทั้งเวลาล้วนเป็นมายาปรุงแต่ง จิตยึดถือจึงทำให้เราแก่ เราตาย และเมื่อละความยึดถือได้จึงมีความพ้นความแก่ความตาย

    ส่วนในเรื่องที่ว่า ทำไมไม่มีการพูดถึงอาชีพต่างๆ เช่นโปรแกรมเมอร์ ช่างซ่อมโทรศัพท์มือถือ นักบินอวกาศ คนขับสิบล้อ แอดมิน นักวิเคราะห์หุ้น หรือ นักแข่งฟอร์มูล่าวัน เลย ส่วนใหญ่เป็นอาชีพ ช่างไม้ ช่างกัลบก(ตัดผม) พราหมณ์ ทาส สัตว์ต่าง ๆ ชาวนา ชาวประมง กษัตริย์ พ่อค้า

    อันนี้ ตอบง่ายๆว่า เพราะพระพุทธองค์ไม่ได้เกิดมาในยุคที่มีสิ่งเหล่านี้ไงครับ พระองค์ฉลาดพอที่จะไม่ยกตัวอย่างในสิ่งที่คนยุคของท่านไม่เข้าใจหรอกครับ เพราะการเทศนาเน้นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับคนฟังในขณะนั้นๆ ไม่ใช่พูดให้คนตอนนั้นไม่เข้าใจ เพราะเมื่อคนที่ฟังตอนนั้นไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจ ก็ไม่มีประโยชน์ใดเลย จริงไหมครับ หากพูดเพื่อยกย่องตัวเองว่ารู้มากก็พูดได้เต็มที่ ยิ่งคนฟังงง เราก็ยิ่งเด่น อย่างที่เป็นกันมากในหมู่นักวิชาการ แต่เมื่อพูดเอาประโยชน์ก็ต้องเอาที่คนฟังเข้าใจ อย่างที่ท่านกล่าวว่า
    "แม้เรื่องจริง แต่ไม่มีประโยชน์ท่านก็ไม่ตรัส"

    อย่างครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานหมูให้แก่ชาวเขาไปเลี้ยง และมีนักวิชาการไปสอนชาวบ้านเรื่องการเลี้ยงหมู นักวิชาการสอนกว่าครึ่งชั่วโมง ชาวบ้านก็ไม่สามารถเข้าใจได้ ได้แต่งง มองหน้ามึง มองหน้ากูกันอย่างนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสอน ท่านสอนแค่ว่า
    "วิธีเลี้ยงหมูให้อ้วนคือให้มันกินให้อิ่ม" แค่นี้เอง ชาวบ้านยิ้มแฉ่ง ร้อง อ๋อ.. เข้าใจแล้วๆ  แล้วก็บอกอาหารที่หาได้ที่นั่นว่าหมูกินอะไรได้บ้าง หยวก ผัก หญ้า ไม่เอาอาหารสำเร็จรูป ซีพี เบทาโกรมาบอกครับ เพราะชาวบ้านไม่เข้าใจ เห็นความต่างมั้ยครับ


    สมมติว่าท่าน(ปัจเจกพุทธ)สอนเด็กแล้วยกตัวอย่างให้เด็กฟัง ท่านจะยกเอาสิ่งที่เด็กสามารถเข้าใจหรือว่าสิ่งที่เด็กไม่เข้าใจกันล่ะครับ หากท่านเน้นประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ ท่านต้องยกตัวอย่างที่เด็กเข้าใจใช่ไหม แต่หากพูดเพื่อให้เด็กตะลึงว่า โอ..ท่านรู้จริง รู้มาก แต่ท่านพูดเรื่องอะไรวะ? ฟังจบก็คงได้แต่เกาหัวแกรกๆ

    หากพระพุทธองค์ทรงอุบัติมาในยุคนี้ ท่านคงจะได้ยินเรื่องแบบที่ท่านว่า เพราะพระองค์พูดแล้วคนยุคนี้เข้าใจ คนที่พระองค์สอนสามารถเข้าใจได้ นักพูดที่ดี ที่เก่งกาจสามารถ ไม่พูดอะไรที่คนฟังงงหรอกครับ อย่างนักขายประกัน หากพูดอวดรู้อย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงคนฟัง ใครจะซื้อของเขาครับ อย่างร้ายก็หลับ อย่างแรงก็โบกมือไล่ อย่างดีก็ทนฟังจนจบแล้วไม่เอา

    อย่าเอาตัวเองไปตัดสินเรื่องใคร หรือสิ่งใดสิครับ

        ความจริงผมเคารพท่านในฐานะที่เป็นคนสนใจธรรมและเห็นประโยชน์แก่ผู้อื่นยิ่งกว่าพระนิพพาน อย่างที่ท่านกล่าวไว้ในกระทู้เป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา? แต่ผมก็อดสงสัยไม่ได้ว่าคนที่ปฏิบัติธรรมจนสามารถแยกคลื่นเสียงออกจากจิตได้(กระทู้เลดี้ กาก้า) จะไม่เห็นอาการเกิดดับของจิตล่ะหรือ?

    สมาธิที่เน้นแต่การสงบของจิต(สมถะ) โดยไม่มีการสังเกตให้เห็นจิตและสิ่งที่เข้ามาเคลือบจิต(วิปัสสนา)สามารถสร้างความเข้าใจผิดได้ครับ เพราะมันจะเข้าไปนิ่งอยู่แต่ไม่สามารถเพิกถอนล้างสิ่งเคลือบ(กิเลส)ได้ ทำให้เกิดความเข้าใจว่ามีตัวตนอย่างพวกพรหม เป็นต้น และการศึกษาที่เชื่อเอาจากผู้ที่เราเคารพนับถือหรือตรงตรรกะใจเราอย่างเดียวนั้น นำพาสู่ความผิดพลาดได้ครับ

    ท่านพุทธทาสกล่าวว่า หากเราจะรู้ว่าคนๆนั้น คิดอย่างไร ลองใช้ชีวิตอย่างเขาดู คนที่จะเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าคิดอย่างไรต้องใช้ชีวิตอย่างพระองค์ดูก่อน พระที่เผยแพร่พระศาสนาไม่ได้ทุกวันนี้ เพราะใช้ชีวิตวิเศษกว่าพระพุทธเจ้าครับ แต่พระที่เผยแพร่ได้จริงล้วนใช้ชีวิตตามแบบอย่างพระองค์มิใช่หรือ
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

ปัจเจกพุทธ

อ้างถึงสมมติว่าท่าน(ปัจเจกพุทธ)สอนเด็กแล้วยกตัวอย่างให้เด็กฟัง ท่านจะยกเอาสิ่งที่เด็กสามารถเข้าใจหรือว่าสิ่งที่เด็กไม่เข้าใจกันล่ะครับ หากท่านเน้นประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ ท่านต้องยกตัวอย่างที่เด็กเข้าใจใช่ไหม แต่หากพูดเพื่อให้เด็กตะลึงว่า โอ..ท่านรู้จริง รู้มาก แต่ท่านพูดเรื่องอะไรวะ? ฟังจบก็คงได้แต่เกาหัวแกรกๆ

ผมเป็นคนพูคนพูดน้อยครับ...เฉพาะที่จำเป็น...พยายามหาคำที่ตรงประเด็นมากที่สุด...บางที่ก็สื่อสารผิดพลาดบ้าง

ท่านมีความรู้มากกว่าผม..ก็เลยอธิบายอะไร.ๆ.ได้ดีกว่ามากกว่าผมมั้ง

เรื่องเวลา..background...ไม่รู้จะอธิบายยังงัย...สรุปคือ...ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น..เราก็จะผ่านมันไป..ไม่มีอะไรหยุดยั้งไม่ให้อะไรเคลื่อนที่ไปข้างหน้า...ทั้งด้านเสื่อมและด้านพัฒนาได้


rep..นี้คงเป็น..rep...สุดท้ายแล้ว...ขอกล่าวลาสมาชิกชาวกิมหยงทุกท่าน....ขอให้โชคดีทุกคน...สวัสดี

ปัจเจกพุทธ

ปล.ศาสนาใช้คำว่า..เผยแผ่...เท่านั้นครับ...เป็นคำที่มีความหมายเชิงบวก...คำว่าเผยแพร่...เป็นคำที่มีความหมายกลางๆ...อาจหมายถึงดีหรือไม่ดีก็ได้...เช่น....เผยแพร่บทเพลง...เผยแพร่ความคิด....แพรเชื้อโรค...แพร่พันธุ์..เป็นต้น

คุณหลวง


อ้างถึงปัจเจกพุทธ

ผมเป็นคนพูคนพูดน้อย ครับ...เฉพาะที่จำเป็น...พยายามหาคำที่ตรงประเด็นมากที่สุด...บางที่ก็สื่อ สารผิดพลาดบ้าง

ท่านมีความรู้มากกว่าผม..ก็เลยอธิบายอะไร.ๆ.ได้ดี กว่ามากกว่าผมมั้ง

เรื่องเวลา..background...ไม่รู้จะอธิบายยัง งัย...สรุปคือ...ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น..เราก็จะผ่านมันไป..ไม่มีอะไรหยุด ยั้งไม่ให้อะไรเคลื่อนที่ไปข้างหน้า...ทั้งด้านเสื่อมและด้านพัฒนาได้
rep..นี้ คงเป็น..rep...สุดท้ายแล้ว...ขอกล่าวลาสมาชิกชาวกิมหยงทุกท่าน....ขอให้โชค ดีทุกคน...สวัสดี


ปล.ศาสนาใช้คำว่า..เผยแผ่ ...เท่านั้นครับ...เป็นคำที่มีความหมายเชิงบวก...คำว่าเผยแพร่...เป็นคำที่ มีความหมายกลางๆ...อาจหมายถึงดีหรือไม่ดีก็ได้...เช่น....เผยแพร่บทเพลง ...เผยแพร่ความคิด....แพรเชื้อโรค...แพร่พันธุ์..เป็นต้น

สบายดี...

    เรียน ท่านปัจเจกพุทธครับ

    ผมว่า การมีความเห็นต่าง แล้วมาอธิบาย มาแบ่งปันกันเป็นสิ่งที่ดี และจะได้ความกระจ่างเพิ่มขึ้น ผมไม่ใช่คนเก่งและไม่ใช่ผู้รู้ขนาดนั้น เพียงแต่การแย้งกันนั้น ผมหวังว่าจะเป็นช่องทางของการอธิบายให้กระจ่างมากขึ้นและมากขึ้น เป็นประโยชน์ทั้งกับผู้พูดและผู้อ่าน

    เรียนตรงๆว่า ผมไม่เคยคิดว่าการตอบกระทู้จะเป็นการเอาชนะคะคานใคร แต่เมื่อเห็นต่างบ้างก็พูดไปตามปัญญาที่มี ผิดถูกก็ต้องผ่านกระบวนการแห่งการขัดเกลากันและกัน และอาจมีการกระทบกระทั่งบ้าง นั่นก็เพื่อชี้จุดลงไป เพื่ออธิบายจุดนั้นให้เข้มขึ้น ผมไม่ได้เข้ามาเพื่อบอกว่าผมเก่ง ผมรู้ แต่เข้ามาแลกเปลี่ยนเพื่อให้รู้ เข้าใจมากขึ้น และเพื่อประโยชน์พระศาสนาเท่านั้น

    ท่านเองก็มีความรู้ที่ควรแก่การพินิจ แต่ผมก็ไม่คิดว่าการโต้แย้งกันนั้นจะทำให้ท่านรู้สึกแย่ถึงอย่างนี้ได้ มันทำให้ผมนึกถึงเรื่องเล่าของท่านหลวงพ่อชา หนองป่าพง ที่ท่านเล่าว่า ที่สำนักหนึ่ง ท่านอาจารย์ไปธุระหลายวัน สั่งศิษย์ว่า เวลาอาจารย์ไม่อยู่อย่าคุยเรื่องธรรมกัน แต่ศิษย์ก็คิดว่า อาจารย์สั่งแปลกๆสั่งผิดเสียแล้วก็คุยกัน วันอาจารย์กลับมาก็พบว่า ศิษย์แตกแยกกันเสียแล้ว เพราะทะเลาะกันเรื่องธรรม ผมขำกับเรื่องนี้เสมอที่นึกถึง แต่ครั้งนี้ขำน้อยกว่าทุกครั้ง
   
    เรื่องเวลานั้น ผมก็เข้าใจตามที่ผมอรรถาไป แต่ที่ถามย้ำเพราะว่า ต้องการเข้าใจมากกว่านี้ เมื่อท่านไม่อรรถาต่อ ผมก็คงต้องศึกษาเองต่อไป

    ส่วนเรื่องคำว่า เผยแผ่ กับ เผยแพร่ นั้น ได้ยินมานานครับ ตอนบวชก็มีพระสังฆาธิการอธิบายอย่างท่านว่า แต่ผมไม่สนใจตรงนั้นครับ เพราะว่า แพร่ มันก็คือ ขยายออกไป จะด้านดี ด้านร้าย ก็แล้วแต่เรื่องนั้นๆ เรื่องดี ก็แพร่ดี เรื่องร้ายก็แพร่ร้าย แผ่ มันก็ขยายออก เรื่องดีมันก็แผ่มาดี เรื่องร้ายมันก็แผ่มาร้ายอยู่ดี มันเลยไม่ต่างในความคิดของผม

    เหมือนจุดเทียนหน้าพระพุทธรูป สำหรับผมจุดทางไหนก่อนก็ไม่สำคัญ ผมไม่เคยถือ เอาว่าจุดด้วยความเคารพและจุดติดไฟก็โอเค ผมมันง่ายๆ และออกจะมักง่ายอย่างนี้เสมอครับ (เลยเข้ากับใครได้ยากประจำ)

   ผมขมาต่อท่านในเรื่องที่ผมกระทบกระทั่งไป หากท่านเห็นเป็นโทษ ก็อดโทษให้ผมด้วยนะครับ แต่เรื่องแย้งกันด้วยความรู้ ข้อมูล แม้จะขัดใจอย่างไร ผมไม่ขอขมาในส่วนนี้ครับ เพราะว่าเราเข้ามาเพื่อแลกเปลี่ยน เวทีตรงนี้มันต้องมีเห็นด้วย และเห็นต่าง มีรุก มีรับ ซึ่งเราต้องยอมรับกันในวิถีของเวทีออนไลน์

    และสุดท้าย ผมไม่ขอร้องนะครับ ว่าท่านจะเข้ามาที่นี่อีกหรือไม่ หากแต่ท่านเห็นว่าความรู้ที่ท่านมี เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ ผมว่าที่ตรงนี้ก็เป็นที่ท่ี่ดีที่หนึ่ง มีผู้อ่านและเฟ้นเอาสาระอยู่ 
   
    หนักใจอยู่อย่างเดียว ท่านกิม จะโกรธา  ส.โกรธอย่างแรง ข้าพเจ้าหรือไม่ครับเนี่ย เพราะผมอีกแล้วที่ทำให้สมาชิกคนหนึ่งที่คอยใส่ใจความเป็นไปในกระดานลานบุญถอยออกไป เฮ้อ..........
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

ปัจเจกพุทธ

ผมไม่ได้คิดติดใจอะไรหรือโกรธใครครับ...ที่ไม่เข้ามาเพราะเป็นเหตุผลส่วนตัวซึ่งไม่เกี่ยวกับคุณหลวง....ขออย่าได้กังวลไป...เรื่องกระทบกระทั่งไม่มีหรอกครับ...

ผมยินดีและดีใจที่มีคนมาตอบปัญหาธรรมมะไม่ว่าจะตรงกับหลักการของผมหรือของใครหรือไม่


ถ้ามีคนแบบคุณหลวงเยอะๆในสังคม...คิดว่าน่าจะดี...สังคมจะสงบสุขไม่ทะเลาะเบาะแว้ง

สุดท้ายผมอยากจะเน้นในทุกท่านได้....เร่งทำความดีช่วยเหลือผู้อื่น....เพื่อให้สังคมเราเกิดสิ่งดีๆ

โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ..แม้แต่ความสบายใจ....แต่ให้คิดว่ามันเป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคม

ที่ต้องช่วยเหลือกัน....ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก....แบ่งเขาแบ่งเรา

การทำความดีทำได้หลายอย่าง....หนึ่งในวิธีการหลายๆอย่างนั้นคือ....ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด

ไม่ว่าเราจะมีอาชีพอะไร....อาชีพของเราถ้าเป็นอาชีพสุจริต..ย่อมเป็นอาชีพที่มีเกียรติทั้งนั้น

อย่างผมเองก็มีอาชีพเป็นตัวแทนประกันชีวิต(หัวหน้าหน่วย)....ซึ่งหลายๆคนก็รังเกียจที่จะคุยกับคนอาชีพนี้

แต่ผมบอกได้เต็มปากเลยครับว่า....ถ้าไม่มีการประกันชีวิต...เศรษฐกิจของชาติคงย่ำแย่...เพราะภาคประชาชนไม่มีการออม....อาชีพนี้ก็ช่วยเหลือคนอื่นเช่นกัน....ยกตัวอย่างอาชีพนี้เพราะเห็นคนส่วนใหญ่ไม่ชอบ...แต่ถ้าศึกษาจริงๆแล้ว...ประกันชีวิตเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน...อย่างน้อยเราตายก็ไม่ต้องรบกวนค่าทำศพจากใคร..เดี๋ยวนี้ค่าทำศพรายนึงอย่างน้อยหนึ่งแสนบาท...จัดแบบทั่วๆไป..

ยิ่งพูดยิ่งออกทะเลแหลมโพธิ์...เอาเป็นว่า....ทำความดีเอาไว้นะทุกท่าน....สวัสดี