ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

หน้าที่พระสงฆ์

เริ่มโดย เณรเทือง, 09:43 น. 29 ส.ค 59

คนที่อยากรู้

ใครรู้ตอบหน่อยครับ

อิ้กคิวซัง

ที่เณรเทืองตอบมาเป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้
แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าพระรูปไหน ทำได้บ้าง?
สรุปได้ว่า ผิดครับ

เณรเทือง

อ้างจาก: อิ้กคิวซัง เมื่อ 08:41 น.  02 ก.ย 59
ที่เณรเทืองตอบมาเป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้
แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าพระรูปไหน ทำได้บ้าง?
สรุปได้ว่า ผิดครับ
ผมยังไม่ได้เฉลยเลยในหน้าที่ทีว่านั้น เพียงแต่บอกใบ้ว่าเพราะพระต้องทำหน้าที่ที่ว่านั้นพระจึงต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
ยังถามอยู่นะครับว่าหน้าที่ของพระสงฆ์คืออะไร..?

Somkid D.

"ธมฺมจารี สุขํ เสติ ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข" ขุ.ธ.๒๕/๒๓/๓๗

"ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม บุคคลใดหวังความสุข หวังความเป็นใหญ่ หวังความก้าวหน้า ต้องประพฤติธรรม"

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร ป ร ะ พ ฤ ติ ธ ร ร ม

๑. เป็นมหากุศล

๒. เป็นผู้ไม่ประมาท

๓. เป็นผู้รักษาสัทธรรม

๔. เป็นผู้นำพระพุทธศาสนาให้เจริญ

๕. เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า

๖. ไม่ก่อเวรก่อภัยกับใครๆ

๗. เป็นผู้ให้อภัยแก่สรรพสัตว์

๘. เป็นผู้ดำเนินตามปฏิปทาของนักปราชญ์

๙. สร้างความเจริญความสงบสุขแก่ตนเองและส่วนรวม


เณรเทือง

สรุปคือตอบว่า หน้าที่พระสงฆ์คือ ประพฤติธรรม  คำตอบยังไม่ถูกครับ

topworld

แสดงคำของ พระศาสดา ประพฤติ ปฎิบัติ ในวินัยปิฎก 
ความรู้มีแค่นี้นะครับ ผิดถูกประการได น้อมรับครับ

เณรเทือง

แสดงว่าคำถามมีปัญหาจริงๆ ต้องขอโทษด้วยครับ งั้นขออนุญาตตั้งคำถามใหม่ครับ
"หน้าที่สำคัญที่สุดของพระสงฆ์ที่มีการแสดงออกทางสังคมคือ.............."

ดร.แจก

แสดงพระธรรมเทศนา...

ความรู้ในโลกนี้มี 3 ระดับ หนึ่งเขาเรียกว่ารู้จักรู้จำ สองเขาเรียกว่ารู้จริง สามเขาเรียกว่ารู้แจ้ง, คนที่รู้จักรู้จำมากๆ สามารถเป็นนักเรียนนักศึกษาที่เก่งแต่ไม่สามารถสอนใครได้ ส่วนคนที่มีความรู้จริงนอกจากเรียนเก่งแล้วยังสามารถถ่ายทอดได้ด้วย ผู้ที่รู้จริงจึงสามารถเป็นครูที่ดีได้ ซึ่งดูเหมือนว่าในโลกมีคนสองประเภทนี้เยอะเหลือเกิน ทั้งนักเรียนที่เก่งและครูที่ดี แต่ตายแล้วก็ยังไม่พ้นจากวัฏสงสาร ยังเป็นทุกข์อยู่ร่ำไป

ส่วนความรู้ระดับที่สามคือรู้แจ้ง เป็นความรู้ที่เลยมันสมองขึ้นไปแต่ใช้ใจสัมผัส, ป.4ก็บรรลุได้ อนุบาลก็ไปถึง ความรู้ที่เรียกว่ารู้แจ้งนี่แหละเป็นสัมโพธิญาณ ในการนำเราไปสู่ความพ้นทุกข์"

พระมหานพชัย กิตฺติวรเมธี

- - - -

ขอเชิญฟังการปรารถธรรม โดย พระมหานพชัย กิตฺติวรเมธี วัดดุสิดารามวรวิหาร กิจกรรม "ธรรมะในสวน ตักบาตรเดือนเกิด" เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๙
รายละเอียดกิจกรรมอ่านได้ที่ http://bit.ly/1LHfp1o

เณรเทือง

อ้างจาก: ดร.แจก เมื่อ 16:12 น.  07 ก.ย 59
แสดงพระธรรมเทศนา...

ความรู้ในโลกนี้มี 3 ระดับ หนึ่งเขาเรียกว่ารู้จักรู้จำ สองเขาเรียกว่ารู้จริง สามเขาเรียกว่ารู้แจ้ง,

สรุปตอบว่ามีหน้าที่แสดงธรรมเทศนา /ยังไม่ถูกครับ ยังไม่ใช่หน้าที่ๆสำคัญที่สุดครับ

เณรเทือง

ช่วยๆตอบทีครับ ผิดถูกไม่ว่ากัน ผมมีรางวัลครับ

คุณหลวง

อ้างจาก: เณรเทือง เมื่อ 09:05 น.  07 ก.ย 59
แสดงว่าคำถามมีปัญหาจริงๆ ต้องขอโทษด้วยครับ งั้นขออนุญาตตั้งคำถามใหม่ครับ
"หน้าที่สำคัญที่สุดของพระสงฆ์ที่มีการแสดงออกทางสังคมคือ.............."
สำรวมกิริยาให้เหมาะสมกับสมณสารูปกระมังครับ


สะบายดี...
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

เณรเทือง

อ้างจาก: คุณหลวง เมื่อ 13:29 น.  15 ต.ค 59
สำรวมกิริยาให้เหมาะสมกับสมณสารูปกระมังครับ


สะบายดี...

ขอขอบคุณคุณหลวงที่ให้เกียรติร่วมสนุก ระดับท่านครูมาเองเณรเทืองจึงต้องเฉลยแล้วครับ หน้าที่ของพระสงฆ์ที่มีการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมอยู่เสมอ และมีการแสดงออกทางสังคมคือ "เรียกร้องให้พุทธมามะกะถือศีลห้า"
แม้เมื่อท่านเพียงอาราธนาให้พระสงฆ์แสดงธรรมเทศนาหรือกระทำอื่นใด พระสงฆ์จะต้องเรียกร้องให้ท่านรับไตรสรณคมน์เพื่อเป็นพุทธมามะกะ และรับศีลห้าก่อนเสมอ พระสงฆ์จึงจะทำกิจกรรมอื่นๆร่วมกับท่านในลำดับถัดไป จึงถือว่าพระสงฆ์ได้เรียกร้องให้ท่านถือศีลห้าแล้วทุกครั้ง

คุณหลวง

อ้างจาก: เณรเทือง เมื่อ 23:15 น.  15 ต.ค 59
ขอขอบคุณคุณหลวงที่ให้เกียรติร่วมสนุก ระดับท่านครูมาเองเณรเทืองจึงต้องเฉลยแล้วครับ หน้าที่ของพระสงฆ์ที่มีการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมอยู่เสมอ และมีการแสดงออกทางสังคมคือ "เรียกร้องให้พุทธมามะกะถือศีลห้า"
แม้เมื่อท่านเพียงอาราธนาให้พระสงฆ์แสดงธรรมเทศนาหรือกระทำอื่นใด พระสงฆ์จะต้องเรียกร้องให้ท่านรับไตรสรณคมน์เพื่อเป็นพุทธมามะกะ และรับศีลห้าก่อนเสมอ พระสงฆ์จึงจะทำกิจกรรมอื่นๆร่วมกับท่านในลำดับถัดไป จึงถือว่าพระสงฆ์ได้เรียกร้องให้ท่านถือศีลห้าแล้วทุกครั้ง

ส.อืม    คิดหนักนะครับกับการให้เกียรติกันขนาดนี้ มันทำให้ผมนึกถึงคำที่ผมได้รับจากท่านผู้หนึ่งว่าเก่งแต่วาทกรรม เพราะว่าผมกลับมีความเห็นแย้งท่านนิดๆอยู่ดี แม้การเรียกว่าท่านครูนี่บอกเลยครับว่าถ้าท่านมาเห็นมารู้จักผมแล้วล่ะก็ ถอนคำพูดแทบไม่ทันทีเดียว  ส.หัว

    ที่ว่าผมเห็นแย้งนั้น เพราะเห็นว่านั่นเป็นเพียงการทำตามพิธีกรรมเป็นส่วนใหญ่ มากกว่าความมุ่งหมายอย่างที่ท่านกล่าวโดยเจตนาที่แท้จริง ผมบอกไม่ถูกว่าทำไมรู้สึกอย่างนี้นะครับ

    และว่าโดยที่จริง ผมว่าหน้าที่พระสงฆ์คือการทำให้คนที่ไม่ศรัทธาเกิดศรัทธา ศรัทธาแล้วให้ยิ่งขึ้น และรักษาศรัทธาของผู้ที่ศรัทธาแล้วไม่ให้เสื่อมลง ผมจึงนึกถึงท่านอัสสชิเป็นอันดับแรกเมื่อท่านกล่าว  "หน้าที่สำคัญที่สุดของพระสงฆ์ที่มีการแสดงออกทางสังคมคือ.............." เพราะท่านอัสสชิแค่เดินคนก็เกิดศรัทธา หลวงปู่มั่นเองท่านก็เตือนลูกศิษย์ท่านอย่างมากในเรื่องนี้ เทศน์ไม่เป็นไม่ว่า ทำตัวให้ดี

    พระสงฆ์ที่รักศาสนาจึงควรระลึกถึงท่านอัสสชิแล้วเลิกเดินเวิกผ้า ยักไหล่ อาดๆ สูบบุหรี่ ฯลฯในที่สาธารณะ และในบริเวณที่ประชาชนเห็นชัดในวัด อดทนบ้างเพื่อศาสนานะครับ

    ก็นะ บางทีมันก็เห็นต่างกันบ้าง เพื่อความกว้างขึ้นในความรู้ ความคิด ความเห็น  ขอแสดงความนับถือมายังท่านเณรเทืองครับ ที่ก่อให้เกิดการวิพากษ์ วิเคราะห์ วิจารณ์กันมากมาย อันจะรังสรรค์ให้เกิดความเข้าใจในศาสนามากขึ้น


ป.ล. ผมว่าจะเลิกใช้สะบายดี...ห้อยท้ายซะที ลำบากเหลือเกินเวลาตอบทางโทรศัพท์ เฮ้อ
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

Mr.No

ผมแสดงความเห็นเสริมคุณหลวง เพราะเห็นสอดคล้องคล้ายกันตรงที่ 

ผมเห็นว่า คำถามที่ ท่านเณรเทือง ท่านตั้งนั้น มันมีคำตอบที่อาจไม่ตรงตามคำตอบของผู้ถาม  เพราะคำตอบมันค่อนข้างกว้างในสารัตถะ   

คำตอบที่บอกว่า หน้าที่ของภิกษุ หากนิยามตามพุทธประสงค์ ก็อีกอย่าง....
ถ้าแบบ ตำรา มหาเปรียญ ก็จะได้อีกแบบ

ฯลฯ

ดังนั้น  ...การตอบให้ตรงใจผู้ถาม บางทีมันก็ยาก 555

แต่ข้อดีของการถาม... ถูก หรือ ผิด ไม่ใช่ประเด็น   แต่การนำไปสู่การเสวนาที่จะให้กระดานลานนี้ มันมีคุณค่า  ย่อมคุ้มค่ากว่าแยะ


ผมเห็นคล้ายท่านคุณหลวง ตรงที่  ถ้าเจาะจงว่า หน้าที่ของสงฆ์คือการให้ไตรสรณคม หรือ การนำการสมาทานศีล ดูเหมือนจะอาจไม่ค่อยตรงนัก

เพราะหากพินิจใน สาระของพระไตรฯ แล้วจะพบว่า การสมาทานศีล นั้น เป็นเรื่องที่พุทธองค์ท่านสอนให้ ทั้งภิกษุ และสาวก..สาวิกา  น้อมนำมาเอง   

มีแต่เพียงการ สมาทานสิกขาบท  เท่านั้นที่ปรากฏว่ามี

การสมาทาน ที่หมายถึง  การถือ..เอานำมาปฎิบัติ   ที่ขึ้นว่า "มะยัง ภันเต...ฯลฯ"   จริง ๆ เป็น  บาลีบัญญัติที่ เขียนขึ้นไว้ประกอบ  ศาสนพิธี ซึ่งมีแต่ปลายกรุงศรีฯ  และมาเป็นเรื่องเป็นเราวในยุครัตนโกสินทร์นี่เอง

ผมจึงเห็นว่า   การสมาทานศีล เป็นเรื่องที่ ทรงให้ทำ และไม่ต้องชี้นำหรือต้องกล่าวนำหรือรับตาม   
แต่ สมาทานสิกขาบท  เช่น อุโบสถศีล เหล่านี้  เป็นอีกกรณีทีมีปรากฎ การกล่าวคำขอสมาทานตามพระไตรปิฎก

ผิดถูก..หรือไม่ ขออภัยครับ     ถือเป็น วิสัชชนาธรรม อันทำให้เกิดความกว้างขวางในธรรมครับ.

..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

นก แดงแจ้ง