ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

Thailand Insurance Symposium 2016 สรุปการบรรยายของ พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

เริ่มโดย panrittt, 09:00 น. 20 ธ.ค 59

panrittt

Thailand Insurance Symposium 2016
สรุปการบรรยายของ
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม

19 ธันวาคม 2559 18:00
Powerpoint:
http://www.slideshare.net/March3G/business-disruption-in-21-century-v7

www.เศรษฐพงค์.com
-----------------------
Business Disruption in the 21st Century

เนื้อหาการบรรยายเป็นการตกผลึกและการรวบรวมผลงานวิจัยและบทวิเคราะห์จากสถาบันที่น่าเชื่อถือ โดยมิได้เกิดจากจินตนาการของผู้บรรยาย

ผู้ให้คำจำกัดความของ คำว่า "Disruptive innovation" คือ Clayton Christensen แห่ง Harvard Business School ผู้แต่งหนังสือ "The Innovator's Dilemma" โดยเขาอธิบายว่า นวัตกรรมได้สร้างตลาดใหม่และพลิกโฉมหน้าอุตสาหกรรมและสังคม โดยทำให้เกิดผู้บริโภคกลุ่มใหม่ๆ ซึ่งไม่เพียงเป็นผลมาจากการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ยังรวมถึงการพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ๆ รูปแบบการศึกษาใหม่ๆ และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเดิมในรูปแบบใหม่ด้วย

ในช่วงเวลา 1-2 ปี มีการพูดคุยกันมากในเรื่องการพลิกผัน (Disruption) ในหมู่ผู้นำและผู้บริหารระดับสูงในทุกอุตสาหกรรม ซึ่งหากจะย้อนมองไปในอดีต เราจะพบว่า กรณี Kodak เป็นกรณีศึกษาที่ classic มากในเรื่อง disruption และที่จริงแล้ว Kodak เคยเป็นกรณีศึกษาแห่งความสำเร็จที่ใช้เรียนในหลักสูตร MBA ในยุคก่อนปี 2000 แต่ใครจะไปเชื่อว่าจะเป็นเรื่องกลับตาลปัตรที่ Kodak ได้ล้มละลายไปแล้วในปี 2012 และขณะนี้ Kodak ถูกยกขึ้นมาเป็นกรณีศึกษาแห่งความล้มเหลวในการบริหารงานนวัตกรรมใน Harvard Business School ไปแล้วในวันนี้ ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากบทความใน reference [1] ด้านล่าง

เทคโนโลยีที่กำลังส่งผลต่อการ disruption ในทุกอุตสาหกรรม สามารถสรุปย่อๆ ได้ดังนี้
Mobile broadband
Social media
Artificial intelligence (AI)
Web Bot
Chatbot
Internet of Things (IoT)
Blockchain

Note:
อ่านเพิ่มเติม Mobile broadband [2]
อ่านเพิ่มเติม Web Bot ที่ [3]
อ่านเพิ่มเติม IoT ที่ [4]
อ่านเพิ่มเติม Blockchain ที่ [5]

เทคโนโลยีที่กล่าวถึงทำให้เกิดปรากฎการณ์
Fragmentation of media
Fragmentation of audience attention
Disruption of media
Business disruption
(อ่านเพิ่มเติมที่ [6])

ความเข้าใจในระบบนิเวศดิจิทัล (Digital ecosystem) นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารในยุค Digital disruption เพราะหากขาดวิสัยทัศน์ มองภาพการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วไม่ออก ก็อาจจะนำพาองค์กรไปสู่หายนะในที่สุด ซึ่งก็น่าเห็นใจสำหรับผู้บริหารที่เกิดมาในยุค Digital immigrant (เกิดมาในเวลาที่ยังไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ มาใช้ตอนโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว) ที่ต้องมาบริหารองค์กรผลิตสื่อท่ามกลางการเติบโตของผู้บริโภคที่เป็น Digital native (เกิดมาก็มีอินเทอร์เน็ตที่ล้ำยุคและมี social media แล้ว) ซึ่ง Digital native เหล่านี้มิได้เป็นผู้บริโภคเท่านั้น แต่พวกเขายังเป็นผู้ผลิตสื่อในรูปแบบที่ชาญฉลาด (ด้วยต้นทุนต่ำมาก) ที่กำลังเข้ามาทำให้เกิดการแตกกระจายตัวของสื่อ หรือที่เราเรียกว่า "Media fragmentation" และกลืนกินสื่อรูปแบบเดิมๆ ที่ถูกผลิตโดยองค์กรสื่อขนาดใหญ่ (ด้วยต้นทุนสูง) โดยมี Digital immigrant เป็นผู้บริหาร ซึ่งผู้บริหารเหล่านี้อาจไม่รู้ตัวและไม่เชื่อด้วยซ้ำว่า เก้าอี้ผู้บริหารของถูกเขย่า รวมไปถึงเม็ดเงินที่พวกเขาเคยได้รับในอดีต ก็กำลังแตกกระจายออกไปทั่วในระบบนิเวศดิจิทัลจนไม่สามารถควบคุมได้อีกต่อไป

ยังไม่เพียงเท่านั้น ยังมีสิ่งที่ผู้บริหารที่เป็น Digital immigrant ต้องทำความเข้าใจและต้องไม่ลืมด้วยว่า สิ่งที่มาพร้อมกับ Media fragmentation คือ "Fragmentation of audience attention" เพราะขณะนี้ผู้บริโภคสื่อไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Digital immigrant หรือกลุ่ม Digital native ก็มีพฤติกรรมที่คล้ายกัน นั่นก็คือการเสพสื่อหลายช่องทางและหลายแพลทฟอร์ม (fragmented across multiple channels and platforms) ในเวลาเดียวกัน พวกเขาจึงไม่เหลือเวลากลับมาเสพสื่อที่มีอยู่ดั้งเดิม

การวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของรูปแบบธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆนั้น จุดเริ่มต้นที่เราควรทำความเข้าใจก่อนคือ การ disrupt ของสื่อ (Disruption of media) เพราะจะเป็นพื้นฐานที่จะนำไปวิเคราะห์กรณีศึกษาของอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้อย่างเข้าใจมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเราสามารถแบ่ง Disruption ของสื่อเป็น 4 ประเด็นคือ (1) การ disrupt ในการบริโภคสื่อ (2) การ disrupt ในการสื่อสาร (3) การ disrupt ในการผลิตสื่อ และ (4) การ disrupt ในการสืบค้น
(อ่านเพิ่มเติมใน [7])

การ disruption ทั้ง 4 ประเด็น มีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด และส่งผลทำให้เกิดการพลิกผันในทุกธุรกิจ (Business disruption) โดย Hardvard Business Review ได้ลำดับก่อนหลังธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ จะถูก disrupt ดังนี้

(1) Media
(2) Telecom
(3) Financial services
(4) Retail
(5) Insurance
(6) Education
(7) Healthcare

โดยอุตสาหกรรม media กำลังเกิดการแตกกระจาย (Disruption of media) อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนทั่วโลก จนทำให้อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ (กระดาษ) กำลังตกอยู่ในภาวะล้มละลาย (อ่าน [8]) นับเป็นช่วงเวลาที่น่ากังวลของอุตสาหกรรมสื่อโฆษณา โทรทัศน์ และรายการบันเทิง ที่ยังใช้รูปแบบธุรกิจแบบเดิมๆ ซึ่งจะไม่สามารถคงอยู่ได้ต่อไปภายใต้พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคและเทคโนโลยีในอนาคต เพราะเทคโนโลยีที่กำลังลำเรียงเข้ามาไม่ว่าจะเป็น 5G, Artificial Intelligence (AI), Web Bot, Chatbot, Real-time video streaming ที่ broadcast ผ่านระบบ mobile cloud และ IoT จะยิ่งทวีความรุนแรงที่ผู้บรรยายเรียกว่า "สึนามิดิจิทัล" ที่จะมากวาดผู้ทรงพลังของสื่อยุคเก่าไปอย่างราบคาบ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวกำลังจะเติบโตเข้ามาให้บริการอย่างเต็มรูปแบบภายใน 5 ปีนี้ ซึ่งผู้บรรยายเรียกว่า "Disruption ระลอกสอง"

ส่วนอุตสาหกรรม Telecom ก็จะถูก disrupt เป็นลำดับต่อไปและหนักมาก เพราะ cost การลงทุนที่ Telecom operators ต้องแบกรับนั้นเป็น cost ที่เกี่ยวกับค่าใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่และการขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมจำนวนประชากรให้มากที่สุด แต่ผู้ที่ไม่ต้องจ่ายค่า cost เหล่านี้เลย เช่น Youtube, facebook, Google และ social media อื่นๆ กลับกลายเป็นบริษัทที่ตักตวงผลประโยชน์และรับรายได้มหาศาล จึงทำให้อุตสาหกรรมภาค Telecom ต้องรีบปรับ business model ใหม่ เพื่อหารายได้เข้ามาให้เพียงพอต่อความอยู่รอด (อ่านเพิ่มเติม [9])

ในอุตสาหกรรมด้านการเงินการธนาคาร และประกันภัยรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Fintech (ให้บริการรูปแบบดิจิตอล) ทั้งบริษัทที่เกิดใหม่ในประเทศ และมาจากนอกประเทศ จะเข้ามา disrupt ด้วยการหาส่วนแบ่งทางการตลาดจากธุรกิจรูปแบบเดิมๆ โดยธนาคารจะลดสาขาลงมาก และตู้ ATM จะค่อยๆ ลดความสำคัญลง โดยธนาคารจะต้องลดต้นทุนด้วยการลดขนาด และลดจำนวนพนักงานของธนาคารลง และต้องปรับกระบวนการทำงานด้วยการปรับในบาง function ที่ต้องยอมรับ Blockchain เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบธนาคาร เพราะต้องต้านทานกับการให้บริการของ Fintech ที่สามารถให้บริการได้ดีกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่ามากในหลายบริการ และธนาคารจะต้องพัฒนาการให้บริการด้านดิจิตอลอย่างหนัก เพื่อความอยู่รอดได้ในอุตสาหกรรมต่อไป (จะได้ไม่เหมือน Kodak) และในที่สุดมีการคาดการณ์ว่า Blockchain จะ disrupt ตัวกลาง จนทำให้ธุรกิจตัวกลางอาจจะหายไปกว่าครึ่ง

บริษัทประกันภัยจะต้องปรับตัวไม่แพ้ธุรกิจการเงินการธนาคาร จะต้องพัฒนา Digital service platform เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่คาดหวังการให้บริการแบบ realtime เพราะลูกค้ามีอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ที่สามารถบอกตำแหน่งได้ โดยลูกค้ายังต้องการแอปพลิเคชั่นของบริษัทเพื่อติดต่อขอรับบริการได้อย่าง realtime และจะเกิดความท้าทายในเรื่องการประกันภัยด้าน cybersecurity เป็นประเด็นสำคัญ ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทรูปแบบใหม่อย่าง Fintech ที่มีความคล่องตัว และมีบริการที่ realtime ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ดีกว่า ก็กำลังเดินเข้ามาแบ่งส่วนแบ่งการตลาดของธุรกิจประกันภัยเช่นกัน

คาดว่าธุรกิจค้าปลีก (Retailer Business) จะได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจาก Digital Disruption เช่นกรณี Amazon เข้ามาสร้างระบบการให้บริการจำหน่ายหนังสือบนอินเตอร์เน็ตด้วยความสะดวกสบาย เข้าถึงได้ง่าย รวมทั้งราคาที่ประหยัด ประกอบกับการขยายตัวของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ให้บริการยักษ์ใหญ่ร้านขายหนังสือ Borders Group ต้องปิดตัวลง และทำให้ Barns &Noble ที่มีประวัติศาสตร์ดำเนินธุรกิจด้านนี้มากว่าร้อยปีได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนัก

ธุรกิจค้าปลีก (สินค้าทั่วไปที่ไม่ใช่ high end) จะมีผลกระทบจากสินค้าชนิดเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันที่ขายบน e-commerce, m-commerce, social commerce จนทำให้ร้าน retail ต่างๆ ต้องปรับตัว ทั้งขนาด จำนวนพนักงาน ตัวสินค้าที่นำมาขาย ซึ่งต้องปรับตัวไปสู่ Digital platform ทำให้มีผลกระทบต่อการเช่าพื้นที่ขายสินค้าที่ต้องเล็กลง และจะปรับสภาพในหลายตัวสินค้าให้เป็นเพียงการ show สินค้าเพื่อ scan สั่งซื้อบนระบบ m-commerce (จ่ายเงินผ่าน mobile banking) และส่งสินค้าตรงไปยังที่อยู่ผู้ซื้อ (เพื่อเป็นการลดต้นทุนด้านคลังสินค้า และลอจิสติก)

Note: อ่านเพิ่มเติม [10]

การเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมอย่างพลิกผัน หรือ Disruptive Innovation เป็นปัจจัยเร่งให้เกิดความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ คือ ช่องว่างระหว่างคนในเมืองและคนในชนบท แม้ว่านโยบายของรัฐบาลจะทำให้การศึกษาสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้มีคุณภาพที่เท่าเทียมกันได้ ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัล มีศักยภาพในการพัฒนาภาคการศึกษาได้ในหลายๆแนวทาง โดย Mobility ทำให้การเรียนการสอนไม่ยึดติดกับสถานที่และเวลา ผู้เรียนสามารถเรียนจากที่ใด เวลาใดก็ได้ ผู้สอนสามารถสอนจากที่ใดก็ได้ เป็นต้น

Note: อ่านเพิ่มเติม [11]

ทีมนักวิจัย MIT ได้ร่วมกันทำการวิจัยด้วยการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับ CEO ถึง 1,000 คน จาก 137 ประเทศและจาก 27 อุตสาหกรรม ซึ่งได้ผลว่า 90% ของผู้บริหารเชื่อว่าธุรกิจของเขากำลังจะถูก disrupt หรือไม่ก็ต้องถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วย Digital business model และ 70% ของผู้บริหารได้ตอบว่าพวกเขาไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านดิจิทัล และไม่สามารถนำพาองค์กรให้ปรับตัวเพื่อให้รอดพ้นต่อการถูก disrupt ได้

ผู้บรรยายขอแนะนำให้ผู้นำและผู้บริหารในทุกภาคส่วนปรับ mindset และดำเนินการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ Digital platform ด้วยการใช้ Leadership โดยเสนอแนะในหลายประเด็น โดยสามารถอ่านเพิ่มเติมจากบทความของผู้บรรยายดังใน reference [1], [12], [13]

Reference
[1] http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000125819
[2] http://www.thaitribune.org/contents/detail/327?content_id=15627&rand=1477705355
[3] https://www.it24hrs.com/2016/digital-change-web-bot-chat-bot/
[4] https://www.it24hrs.com/2016/internet-of-things-iot-disruption/
[5] http://www.thaitribune.org/contents/detail/327?content_id=22190&rand=1471230703
[6] https://www.it24hrs.com/2016/media-fragmentation/
[7] http://www.thaitribune.org/contents/detail/327?content_id=24637&rand=1482031034
[8] https://www.it24hrs.com/2016/digital-disruption-newspaper-industry/
[9] http://www.thaitribune.org/contents/detail/327?content_id=16914&rand=1470549556
[10] http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000125168
[11] http://thaitribune.org/contents/detail/327?content_id=24198&rand=1480827640
[12] http://thaitribune.org/contents/detail/327?content_id=24563&rand=1481784792
[13] http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000123999
--------------------