ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

WW.2 vs 911 หรือเรื่องร้ายในโลกเกิดจากผู้ทรงบารมี

เริ่มโดย คุณหลวง, 10:18 น. 20 ม.ค 60

คุณหลวง

    ตั้งชื่อขำๆนะครับ

คือเมื่อหลายปีก่อนขณะที่ผมยังอยู่ในเพศภิกษุนั้น ได้เจอและสนทนากับชายคนหนึ่งวัยกลางคน แกว่าแกบวชมาหลายปีเหมือนกัน แต่เบื่อๆเลยสึกมา แกมีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจมากๆ แต่ผมมาสะดุดเมื่อแกถามว่าอยากเป็นพระพุทธเจ้าไหม
    "การได้นั่งบนบัลลังค์หญ้าคาคือความธรรมดาที่ยิ่งใหญ่" แกว่า "ผมเองก็ปรารถนาพระโพธิญาณเช่นกัน แต่ไม่รู้ว่าองค์ไหน บางทีอาจเป็นพญามารมาก่อนเพราะหน้าตาน่ากลัวอยู่"แกหัวเราะแล้วพูดต่อ
    "หน้าที่พระโพธิสัตว์คือการดูแลรักษาศาสนานี้ให้ถึงห้าพันปีให้ได้ ผมก็เกิดมาทำหน้าที่ตรงนี้ ตอนที่ทะลีบันทำลายพระพุทธรูปผมโกรธมาก คิดว่าจะทำอย่างไรดี แล้วผมก็คิดได้ ผมบังคับเครื่องบินไปชนตึกเวิร์ลด์เทรด เพื่อให้อเมริกาจัดการพวกนี้แทน" แกส่ายหน้าเบาๆ "มีคนตายเยอะผมก็เสียใจ แต่ผมเรียกวิญญาณพวกเขามาอยู่กับผมแล้วล่ะ ห้าพันกว่าคน มาสร้างบารมีร่วมกันกับผมและผมชดใช้ให้พวกเขา"

    ผมนิ่งฟังเกินพูดอะไรออกมาได้ ในใจนึกถึงแม่ชีขนระเบิดไปทิ้งญี่ปุ่น คนตายเพียบ แกว่าแกทำเพื่อยุติสงคราม เพราะหลังจากนั้นญี่ปุ่นยอมแพ้ หลายคนนับถือยกย่อง แต่ผมคนหนึ่งไม่ แม้หากเรื่องสองเรื่องนี้จะเป็นเรื่องจริงก็ตามที(เพียงแต่ผมไม่เชื่อว่าจริง)

    ผมไม่เคยเชื่อว่าบุคคลผู้ที่เกิดมาพร้อมบารมีและการสร้างบารมีที่ยิ่งใหญ่จะฆ่าคนบริสุทธิ์ได้เพียงเพื่อประโยชน์อะไรก็ตาม(ยกแต่การต่อสู้รักษาแผ่นดิน ราษฎรจึงต้องสังหารศัตรู) ประวัติของผู้ยิ่งใหญ่หลายต่อหลายคนต้องลำบากตัวเองภายหลังเพราะการอภัยผู้ที่คิดจะฆ่าตน แม้ผู้ที่จะฆ่า บุคคลเหล่านั้นยังยกเว้นชีวิตให้

    ผมแค่ขำๆว่า บางทีโศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่ก็เกิดจากผู้ทรงบารมีที่เรารู้ไม่ถึง  ส.ร้องส.หลกจริง ส.หลกจริง
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

คุณเหลียง

คนส่วนใหญ่ของโลกยึดคัมภีร์ศาสนา (พระไตรปิฎก ไบเบิล ฯลฯ) เป็นความจริงสูงสุด เป็นมาตรวัด เมื่อมีประเด็นคำถามใดจะอ้างอิงหลักนั้นเสมอว่า ตรงกับที่ศาสดาบอกไว้หรือไม่ ด้วยความเชื่อมั่นว่าศาสดาผิดไม่ได้ และระบบการถ่ายทอดความคิดคำสอนของศาสดาไปสู่แผ่นจารึกก็ไม่ผิดพลาดเลย

ทว่าความจริงคือประวัติศาสตร์เต็มไปด้วยความบิดเบือน และบิดเบือนได้ง่ายยิ่ง นักประวัติศาสตร์ก็เหมือนผู้สื่อข่าว มีทั้งที่มีจรรยาบรรณมากและน้อย คัมภีร์ศาสนาที่มีอายุมากและเก่าแก่ ความน่าจะเป็นของความผิดพลาดนั้นย่อมต้องมี

สิ่งหนึ่งที่เราถูกฝังหัวมาแต่เด็กคือความคิดที่ว่า ของเก่าคือของดี ด้วยเหตุนี้จึงยังมีเศรษฐีจำนวนมากยอมเสียเงินมาก ๆ ซื้อของเก่าโดยไม่ได้ดื่มด่ำกับงานเก่านั้นเลย วิวาทะประเด็นทางศาสนาต่าง ๆ ตั้งแต่เรื่องการสร้างโลก นิพพาน อัตตา อนัตตา ฯลฯ ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการยึดมั่นเชื่อมั่นในพระคัมภีร์ว่าเป็นความจริงสูงสุด แตะต้องไม่ได้ทั้งนั้น คัมภีร์ย่อมต้องไม่ผิดพลาดเป็นอันขาด คัมภีร์ย่อมมีความหมายตามนั้นร้อยเปอร์เซ็นต์

การยึดมั่นเหล่านี้ดูสวนทางกับจุดหมายของการวิวาทะเพื่อให้นำไปสู่ความหลุดพ้นจากความยึดมั่น!

สมมุติว่าพรุ่งนี้โลกเกิดสงครามนิวเคลียร์ ทุกสิ่งในโลกสลายไปหมด ยกเว้นคนกลุ่มหนึ่งกับหนังสือเรื่อง ซานตา คลอส เล่มหนึ่ง พวกเขากลายเป็นมนุษย์หินตามเดิม ผ่านไปสักพันปี มนุษย์คนหนึ่งขุดหนังสือเรื่อง ซานตา คลอส ขึ้นมาอ่าน และยืนยันว่า ซานตา คลอส ย่อมต้องมีจริง เพราะมันปรากฏในหนังสือเก่าแก่เล่มนี้ เมื่อมีใครเถียง เขาจะหยิบหนังสือเล่มนั้นขึ้น
มา บอกว่า "เพราะคนโบราณบันทึกไว้เป็นหลักฐานนี่ไง"

การตีความก็เช่นกัน บ่อยครั้งเราชอบตีความโดยเชื่อมากกว่าคิด

นิยายวิทยาศาสตร์ของ อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก เรื่องหนึ่ง เล่าถึงมนุษย์ต่างดาวมาเยือนโลกนานหลังจากที่มนุษย์ทุกคนบนโลกสูญสลายไปแล้ว มนุษย์ต่างดาวขุดผืนดินบริเวณหนึ่ง พบวัตถุโบราณหลายชิ้น ผู้เชี่ยวชาญของพวกเขาบอกว่ามันเป็นฟิล์มบันทึกสมัยโบราณ

ด้วยความอยากรู้ว่าอารยธรรมของมนุษย์โลกนี้เป็นอย่างไร พวกเขาก็หาทางถ่ายทอดข้อมูลจากฟิล์มเหล่านั้นฉายออกมา ในหนังนั้นพวกเขาพบว่ามนุษย์โลกนี้เป็นสัตว์สองขา สองตา พูดได้ เดินไปมาได้ และขับยานยนต์บนท้องถนน พวกเขาทำรายงานการค้นพบอารยธรรมของมนุษย์โลกนี้ และเรื่องก็จบแค่นั้น

ยัง... ยังขาดไคลแม็กซ์ของเรื่องอีกนิดหนึ่ง

ท่อนสุดท้ายของเรื่องบอกว่า ม้วนฟิล์มที่มนุษย์ต่างดาวดูและศึกษานั้นเขียนว่า 'สมบัติของ วอลท์ ดิสนีย์'

..................

ท่อนหนึ่งจาก ปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล... ส.หลกจริง

Mr.Yes

"พระใบลานเปล่า"

ชาติเป็นปัจจัยให้เกิด ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ เมื่อมีชาติแล้วก็หนีไม่พ้น ชราความแก่ พยาธิความเจ็บ มรณะความตาย โสกะความเศร้าโศกเสียใจ ปริเทวะความคร่ำครวญร่ำไร ทุกข์ความไม่สบายกาย โทมนัสความไม่สบายใจ อุปายาสะความคับแค้นใจ มรณะความตาย มาเป็นชุดเลย

อธิบายแบบนี้เรียกว่าเป็นการอธิบายข้ามภพข้ามชาติ คืออดีตชาติ ปัจจุบันชาติ และอนาคตชาติ หรือจะอธิบายได้ว่าเมื่อเกิดกิเลสขึ้นมาแล้ว ก็เวียนว่ายตาย เกิด แล้วก็ตาย หมุนเวียนกันไปอย่างนี้เรียกว่าเป็นการอธิบายข้ามภพข้ามชาติ

อธิบายในลักษณะชาติเดียวก็ได้ คือการอธิบายในกิจวัตรแต่ละวันของเรา เมื่อเวลาเราไปสัมผัสอารมณ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่พอใจหรือไม่พอใจ #จับความรู้สึกตรงผัสสะ เรามี ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ไปกระทบอารมณ์คืออายตนะภายนอกคือรูป เสียง กลิ่นรส สัมผัส จะเกิดความรู้สึกขึ้นมา ตาเห็นรูป จะเป็นรูปสวยไม่สวย จะเกิดความรู้สึกพอใจไม่พอใจ #ให้เอาสติไปจับทันที

เพราะถ้าสติไม่จับ ตัวตัณหามันก็จะเข้าไปแทรกทันที แต่ถ้าเรามีสติคือตัวรู้ ก็เข้าไปกำกับตัวตัณหาคือความรู้สึกพอใจไม่พอใจ มันก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะถ้าไม่ทำอย่างนั้น เมื่อเราไปกระทบอารมณ์ มันจะเกิดกิเลสหมุนไปเป็นช่วง ลืมตัว ขาดสติ มารู้สึกตัวอีกที ตกเป็นทาสของกิเลสแล้ว

  อธิบายถึงตรงนี้ ทำให้นึกถึง พระรูปหนึ่งชื่อพระโปฐิละ ท่านเป็นผู้ที่ทรงพระไตรปิฎก ท่านสามารถสอนลูกศิษย์ให้บรรลุพระอรหันต์มากมาย แต่ตัวท่านก็ยังเป็นพระที่มีกิเลสอยู่

จนกระทั่งพระพุทธองค์ต้องให้สติ เวลาที่ท่านมาเฝ้าพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ก็ตรัสเรียกว่า #ท่านใบลานเปล่า หมายความว่า เป็นผู้ที่ทรงแต่คัมภีร์ แต่ไม่สามารถที่จะปฏิบัติตนให้หมดกิเลสได้

จนกระทั่งท่านรู้สึก อิจหนาละอายใจตนเอง วันหนึ่งท่านจึงคิดว่าพอกันที สำหรับภาระหน้าที่การเป็น ครูบาอาจารย์สั่งสอน เราไม่เอาแล้ว เราจะไปปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น จากทุกข์จะดีกว่า ท่านก็เข้าไปในป่า ไปเจอพระอรหันต์ที่เป็นลูกศิษย์

ท่านก็เข้าไปหาพร้อมกับบอกว่า
"ช่วยเป็นที่พึ่งให้ผมเถอะ ช่วยสอนผมหน่อย"
พวกพระอรหันต์เหล่านั้นก็บอกว่า
"ท่านอาจารย์ เป็นครูบาอาจารย์สอนผมมาตลอด ผมจะไปสอนได้อย่างไร" พวกพระอรหันต์ทั้งหลายท่านก็ปฏิเสธกันไปมา

จนในที่สุดไปถึงสามเณร ซึ่งมีอายุแค่เพียง 7 ขวบ แต่เป็นอรหันต์ ท่านก็เข้าไปหาสามเณรกล่าวว่า
" สามเณรน้อย ช่วยหลวงพ่อหน่อยเถอะ ช่วยสอนหลวงพ่อหน่อย"
เณรน้อยก็บอก "ผมเป็นเด็ก ผมจะไปสอนอาจารย์ผู้เฒ่าได้อย่างไร"
ท่านจึงอ้อนวอนว่า"เอาเถิดสามเณร อาจารย์ไม่มีทิฐิมานะแล้ว ลูกเณรจะสอนอย่างไรอาจารย์ก็จะยินดีปฎิบัติตามหมดทุกอย่าง "

สามเณรน้อย ก็อยากทดสอบอาจารย์ว่า ยังมีทิฐิมานะอยู่หรือไม่ ก็เลยบอกว่า
"เอาอย่างนี้ถ้าอย่างนั้น อาจารย์ลองลงไปลุยน้ำให้ผมดูหน่อย"
สามเณรน้อยพูดจบ ท่านเดินลงสระน้ำทั้งครองงจีวรและพาดผ้าสังฆาฏิ เดินลุยน้ำลงไปจนกระทั่งถึงคอ สามเณรก็เลยบอกว่า
"ท่านอาจารย์พอแล้ว แค่นี้ผมก็รู้ว่าท่านอาจารย์หมดทิฐิมานะ ขอให้ท่านอาจารย์ขึ้นมาเถิด"
ท่านก็เดินลุยน้ำขึ้นมา เสร็จแล้วสามเณรก็กล่าวสอนท่านอาจารยผู้เฒ่าว่า

"ท่านอาจารย์มีจอมปลวกอยู่จอมปลวกหนึ่ง มีรูอยู่ 6 รู ตัวเหี้ยมันเข้าไปในจอมปลวกนี้ เราจะทำอย่างไรจึงจะจับมันได้ เราก็อุดรู 5 รู แล้วก็จ้องตีรูที่ 6

  หมายความว่า ให้เราพยายามสำรวมอินทรีย์ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ปิดทวารทั้ง 5 แล้วก็เปิดทวารที่ 6 คือทวารใจ แล้วก็เอาสติของเรา เข้าไปกำหนดระมัดระวังใจของเรา"

สามเณรกล่าวเท่านี้แหละ ท่านอาจารย์ก็บอกว่า" พอแล้วลูกเณรพอแล้ว เท่านี้หลวงพ่อก็เข้าใจแล้ว"

  และท่านก็ไปพากเพียรปฏิบัติ คอยระวังเมื่อ ตา หู จมูกลิ้น กาย หรือใจของท่าน ไปสัมผัสกับอารมณ์ต่างๆ ไม่นานท่านก็ได้บรรลุอรหันต์ ในปฏิจจสมุปบาท

นี่ก็เหมือนกัน เมื่อเราไปสัมผัส กับอารมณ์ต่างๆ เราจะไม่ยินดี ในอารมณ์ที่ตั้งแห่งความยินดี เราจะไม่ขัดเคืองในอารมณ์ที่ตั้งแห่งความขัดเคือง เราจะตั้งสติคือตัวรู้ไว้ เมื่อกระทบอารมณ์ต่างๆนี้เขาเรียกว่า    #ฝึกสติปัฏฐานในปฏิจจสมุปบาท

ซึ่งจะช่วยชำระล้างกรรมวิบากได้อย่างเด็ดขาดไม่ต้องไปพึ่งผู้ที่อ้างว่ารู้ จะกลับชี้ทางไปนรก เพราะถ้าท่านทั้งหลายทำอย่างนี้ได้ ก็ชื่อว่ารู้เท่าทันกิเลส

ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ปฏิจจสมุปบาท ของท่านทั้งหลายก็จะหมุนไป หมุนมา เกิดดับ กิเลสเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งเราไม่สามารถแยกเลยว่าอะไรคือกิเลส อะไรคือสติ อะไรคือปัญญา

และถ้าท่านทั้งหลายฝึกสติตลอด นั่งยืนเดิน นอน กระทบอารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย จับความรู้สึกทางใจว่า ขณะนี้จิตเราคิดอะไร ขณะนี้จิตเราเกิดความโกรธ ความโลภ ความหลง เกิดความกำหนัดยินดีต่างๆให้รู้เท่าทันนี้คือ ปฏิจจสมุปบาท

#สุดยอดมงกุฎเพชร ในทางพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านตรัสทั้งสายเกิดและสายดับ สายดับก็คือ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ไล่ไปเรื่อยๆอย่างนี้เป็นต้น

นี่แหละทางประเสริฐ อันสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าสาวกผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน และต่อไปอย่างรู้เท่าทันในอนาคต ได้ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมศานต์ มาให้นานนมแล้ว...  ส.หลกส.หลก

คุณหลง

"จิตที่บริสุทธิ์ เป็นจิตที่หมดภพหมดชาติ เป็นจิตที่ไม่ต้องรักษา ไม่ต้องกำหนด หวงแหน เป็นจิตหรือธาตุรู้ที่ไม่มีเราเป็นเจ้าของเลย
ในปัจจุบัน  จึงหมดการหมดงาน หมดหน้าที่จะต้องปฎิบัติอีกต่อไป เป็นธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ผุดผ่องจริงๆ
อมตะ ไม่เกิดไม่ตาย
ธรรมชาติแห่งพุทธะ...
คือการที่ไม่ต้องทำอะไรกับอะไร
ไม่ประคองรักษาความเป็นพุทธะของตนเอาไว้
เพราะฉะนั้นพุทธะจึงเป็นผู้ที่ไม่เป็นแม้แต่ "พุทธะ"  ไม่เคยเกิด ไม่เคยตาย ไม่เกิด ไม่ดับ
A clound never dies. เมฆหมอกไม่เคยตาย...

คนตรง ณ.ตาชั่งเอียง

คน101

ธรรมบทนิยาม 5
     จากนางตะเคียนที่ดอนผีผุด กับ
   วิญญานศพในท่อที่ป่าช้าดอนเม่น
            นิยาม 5 หมายถึง
กำหนดอันแน่นอน ความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอนของธรรมชาติ กฎธรรมชาติ อันครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ดำเนินไปตามกฎทั้ง 5 ประการนี้ ซึ่งเป็นของมีอยู่ตั้งอยู่ในโลกในจักรวาลนี้ซึ่งเราอาจรู้ทันหรือไม่รู้ทัน ได้แก่
    1.อุตุนิยาม คือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น อุณหภูมิ ดินฟ้าอากาศ สิ่งแวดล้อม
     2.พีชนิยาม คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับพันธุกรรม กระบวนการถ่ายทอดข้อมูลของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์ เชื้อโรค ผ่านการสืบพันธุ์
     3.จิตนิยาม คือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต เจตสิก
     4.กรรมนิยาม คือ กฎแห่งกรรม คือกฎแห่งการกระทำและผลของการกระทำ
      5.ธรรมนิยาม อันได้แก่กฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
   ที่ดอนผีผุดแห่งนี้เป็นเกาะกลางน้ำ ในหนองหานสกลนคร มีเนื้อที่ 120 ไร่ บึงกว้าง 90000 กว่าไร่ ต้องจ้างเรือไปส่งใว้ที่นั่น ที่แห่งนี้มีต้นตะเคียนคู่ ที่น่าสะพรึงอยู่หลายต้น ผมเกิดความสงสัยว่า นางตะเคียนเกิดมาได้ยังใง จึงพิจารณาจนรู้ได้ว่า ถ้าคนเราไม่กลัว เราจะเห็นความจริงหลายอย่าง ต้นตะเคียนจะคลายสารกล่อมประสาท ออกมาพร้อมกับกา๊สที่คายออกมา ทำให้คนที่สูดกลิ่นเข้าใปเห็นเป็นภาพหลอน หรือบางคนตัดไปทำบ้าน ไม้จะคลายกลิ่นที่มีในตัวให้คนเห็นภาพหลอน และเห็นเป็นรูปร่างต่างๆ ตามความเชื่อเดิมที่มีในสัญญาความจำเดิม เมื่อผมเข้าใจแล้ว จึงให็ลูกศิษย์เข้าใปนั่งขจัดความกลัวออกจากใจ ด้วยสลับกันเข้าใปในป่าตะเคียน
   พอออกมาแต่ละคนก็เห็นนางตะเคียนใส่สะใบสีไม่เหมือนกัน ตามแต่จิตคนจะรับได้และปรุงออกมา เช่นครั้งหนึ่งพาลูกศิษย์ไปนั่งหน้าศพคนตายที่เขาเอาไว้เก็บในท่อใว้ ก็เช่นกันคือบอกสีเสื้อคนตายคนละสี ลักษณะการแต่งตัวต่างกัน ทุกคนต่างยังคงกลัวเช่นเดิม เพราะยังไม่เข้าสู่นิยามข้อสอง คือพืชนิยาม แต่ถ้าเขาเข้าถึงพลังงานจริงๆ พวกเขาก็จะคลายกลัวออกสิ้นเชิง
   คิดง่ายๆว่าถ้าเอาต้นตะเคียนใปตั้งที่อเมริกา ฝรั่งคงเห็นนางตะเคียนเป็นแวมไพร์แน่นอน
   คนเราทุกคนย่อมเห็น 1234ขึ้นมาตามลำดับ วิญญานเขาก็มีอยู่จริง พลังงานก็มีอยู่ ต่างกันที่เรามอง เมื่อเราเข้าใจแล้วเราก็ปล่อยใว้เช่นเดิม แค่ตัวเองเข้าใจ คลายกลัวจากใจก็พอ
  ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
  ความโลภ = อุทกภัย
  ความโกรธ = อัคคีภัย
  ความหลง = วาตภัย

รากเหง้า root of course. ล้วนมากจากกิเลส
ในใจมนุษย์ ทั้งสิ้น...

จาก...รัตนะชีแดง  ส.ยกน้ิวให้

ณัฐพงษ์ ่่ยงยอน

พอเห็นหรือได้ยินว่าพระองค์ไหนมีฤทธิ์ขลัง
ก็บอกว่าเป็นพระอรหันต์

ปัจจุบันนี้ ชักจะมีความสับสนมากขึ้น ในการเอาความเป็นพระอริยะกับความเป็นผู้วิเศษมาปะปนกัน ที่หนักมากก็คือเอาความขลังศักดิ์สิทธิ์หรือความมีฤทธิ์ มาเป็นเครื่องกำหนดความเป็นพระอรหันต์ พอเห็นหรือได้ยินว่าพระองค์ไหนมีฤทธิ์ขลัง ก็บอกว่าเป็นพระอรหันต์ อันนี้เกิดจากการไม่รู้หลักพระพุทธศาสนา

ชาวพุทธจึงจะต้องเรียนรู้หลักพระศาสนากันให้มากขึ้น ก่อนที่จะเปลี่ยนพระพุทธศาสนาไปเป็นลัทธิผู้วิเศษโดยไม่รู้ตัว

พระเทวทัตนั้นไม่ได้เป็นพระอริยะ ไม่ได้เป็นพระอรหันต์เลย แต่แสนจะมีฤทธิ์เก่งกาจ แล้วก็หลงฤทธิ์ ก็เลยทำให้กิเลสฟูขึ้นมา ท่านก็เลยใช้ฤทธิ์ในทางร้ายหาลาภสักการะ ต้องการผลประโยชน์และความยิ่งใหญ่

เพราะฉะนั้นจึงเป็นเครื่องเตือนให้ระวังว่า ถ้าพระที่มีฤทธิ์เป็นผู้วิเศษเกิดมีกิเลสมาก มีโลภะ โทสะ โมหะ มาก ก็จะใช้ฤทธิ์นั้นหาลาภ หรือทำลายผู้อื่น แล้วประชาชนก็จะตกเป็นเหยื่อ

ประชาชนที่ไปหลงฤทธิ์ของผู้อื่นนั้น ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ไปฝากความหวังไว้กับปัจจัยภายนอก เป็นการปฏิบัติที่ผิดหลักพระศาสนา พระพุทธศาสนาต้องการให้เราพัฒนาตนเอง ให้ทำการตามหลักเหตุผล ให้บรรลุความสำเร็จด้วยความเพียรพยายามของตน พัฒนาตัวเองให้ดีงามสามารถยิ่งขึ้นอยู่เสมอ

ถ้าเราไปมัวหวังความสำเร็จจากการดลบันดาลของอำนาจหรืออานุภาพภายนอก เราเองก็ไม่รู้จักทำอะไร และไม่เป็นอันทำอะไร ได้แต่รอคอยฤทธิ์มาช่วย รอคอยผลจากการดลบันดาลของท่านผู้มีฤทธิ์

พร้อมกันนั้นก็มีผลเสียแก่ตัวบุคคลที่มีฤทธิ์นั้นเองด้วย
เพราะถ้ายังไม่หมดกิเลสก็จะเพลิดเพลินมัวเมาติดฤทธิ์ เช่นหลงเพลินลาภสักการะ แล้วละเลยการปฏิบัติฝึกหัดขัดเกลาตัวเอง เพื่อบรรลุธรรมเบื้องสูงขึ้นไป ทำให้พระบางองค์ติดอยู่แค่นั้น ไม่สามารถก้าวต่อไปสู่การบรรลุมรรคผลนิพพาน

เมื่อตนเองหลงลาภสักการะแล้ว ก็ไปล่อหลอกหาลาภสักการะจากประชาชนอีก ทางฝ่ายประชาชนเองเมื่อมัวแต่วุ่นวายติดตามผู้มีฤทธิ์และรอคอยผลจากการบันดาลด้วยฤทธิ์ของผู้อื่น ก็ไม่เป็นอันทำกิจทำการที่ควรทำให้แข็งขันจริงจัง และละเลยการพัฒนาตัวเอง

เป็นอันว่า เกิดผลเสียทั้งแก่ตัวผู้อวดฤทธิ์เอง ทั้งแก่ประชาชน แล้วในที่สุดผลเสียนั้นก็ตกแก่พระศาสนาและสังคมส่วนรวม...
ป.ล. อย่าเพิ่งเชื่อจนกว่า
จะได้ทดลองพิสูจน์ ให้รู้แจ้ง
เห็นจริง เพราะอย่างที่บอกเอเด็น
เป็นเพียงปรากฏการณ์ อาจไม่ใช่
ความจริงอันประเสริฐ... ส.อ่านหลังสือ



John พอเพียงมาก

สร้างเหตุ ... วางผล

"การจะปล่อยวาง
ก็ต้องปล่อยวางด้วย "สติปัญญา"
ไม่ใช่ไม่รู้ไม่ชี้ ธุระไม่ใช่เรื่อง
นั่นกลายเป็นไป "ปล่อยวางในเหตุ"
อะไรแก้ไขได้ก็ "ควรแก้"
อะไรแก้ไม่ได้ "ต้องรู้จักปล่อยวาง"
คือหนักแน่น มั่งคงที่จะรู้จัก "ปล่อยวางในผล"
แต่ต้องรู้จัก "สร้างเหตุที่ถูกต้อง"

การฝึกให้มีสติ รักษาจิต ยิ้มให้ได้เมื่อภัยมา
ลองฝึกให้ยิ้มโดยไม่มีความหมายบ้าง
จะเป็นอุบายในการลดความยึดติดถือมั่นของเรา
มองในแง่ดีบ้าง ท้าทายบ้าง อย่ามองแต่ในแง่ร้าย

การคิดบวก มองบวก ส่งผลให้ชีวิตบวกนั้นเป็นเรื่องดี
แต่สำหรับคนที่เข้าใจโลกแล้ว
โลกนี่มันมีบวกและมีลบ มีร้ายแล้วก็ต้องมีดี
ในส่วนที่เลวร้ายนี่ก็ถูกต้อง
แต่เราสามารถมองเห็นในส่วนที่ดีได้

ลบกับบวกนี่มันเป็นเรื่องของโลกๆ
คนที่เข้าใจถูกต้องนี่
เขาจะ "มองโลกตามความเป็นจริง"
ตามหลักธรรมแล้วละก็ มันไม่มีบวกมีลบหรอก
มันเป็นของมันอย่างนั้น
บวกลบเป็นเรื่องของการสมมุติ

"ความจริงคือ มันมีแต่การเปลี่ยนแปลง"
แต่การเปลี่ยนแปลงนี่ไม่ใช่ว่า
มันจะเปลี่ยนไปในทางดีเสมอไปหรือร้ายเสมอไป
แต่ว่ามันเปลี่ยนแปลงก็แล้วกันน่ะ
คือ เรามองในแง่ความเป็นจริงก็แล้วกัน
คือ โลกนี้เราไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงหรือบังคับ
ควบคุมอะไรมันได้เลย
แม้ว่ามันจะดี มันก็ดีได้ไม่ตลอด
เดี๋ยวมันก็เปลี่ยนไปเป็นร้าย
แม้ว่ามันจะร้าย เดี๋ยวมันก็เปลี่ยนมาเป็นดี
เป็นเรื่องธรรมดาของคำว่า "โลก"

สรุปก็คือ
ถ้าอยากให้ชีวิตเราดี มีความสุข ก็มองในแง่บวกไว้
ถ้าอยากให้ชีวิตเรามีแต่ความทุกข์ ก็มองในแง่ลบไว้
ถ้าอยากให้ชีวิตเราดี ไม่ทุกข์ ก็ต้องมองโลกตามความเป็นจริง
และเข้าไปเกี่ยวข้องกับโลกด้วยความที่ถูกต้องตามสมมุติ
เป็นเพียง "ผู้ดูโลก"

เราก็จะไม่ไปเป็นทุกข์กับโลกที่ขึ้นๆ ลงๆ
เราก็จะไม่เป็นผู้คุ้มดีคุ้มร้าย
ท่านจึงบอกว่าในโลกนี้มีแต่คนบ้า
แต่ผู้มีสติ มีปัญญา เขาจะเป็นเพียงผู้มองโลก" ... ส.ยกน้ิวให้

https://youtu.be/rKx7oMlipV0

กงจักร หรือ ดอกบัว

คืนสู่สามัญ

คนเก่งที่พากเพียรจนบรรลุความสำเร็จสูงสุด
ในชีวิตนั้นมีมาก
แต่ที่มีน้อยมากก็คือคนที่พร้อมกลับมา
เดินดินเหมือนคนทั่วไปได้
ทั้งนี้ก็เพราะความสำเร็จนั้นมีเสน่ห์
มันทำให้เราเป็นคนพิเศษที่ไม่เหมือนใคร
จึงทำให้อัตตาพองโต อัตตานั้นเสพติดความสำเร็จ
โดยเฉพาะเมื่อมันมาพร้อมกับชื่อเสียงเกียรติยศ
จึงทำใจไม่ได้เมื่อต้องเหินห่างจากความสำเร็จนั้น

หลังจากที่พ้นตำแหน่งประธานาธิบดีไปได้ ๗ ปี
บิล คลินตันก็ยังยอมรับว่าเขายังทำใจได้ยาก
ที่กลายมาเป็นราษฎรเต็มขั้น
"คิดดูสิว่าตอนผมเป็นประธานาธิบดี
เขาจะบรรเลงเพลงทุกครั้งที่ผมเดินเข้าห้อง
(แต่ตอนนี้) ไม่มีใครบรรเลงเพลงอีกแล้ว
ผมไม่รู้เลยว่าผมอยู่ที่ไหน"

งานเลี้ยงต้องมีวันเลิกรา
ไปถึงดวงจันทร์แล้วก็ต้องกลับมายังพื้นโลก
ไม่มีใครที่ขึ้นเขาสูงแล้วจะอยู่บนนั้นไปตลอด
หากต้องกลับมายังพื้นดิน ฉันใดก็ฉันนั้น
ความสำเร็จรวมทั้งความมั่งคั่ง
ชื่อเสียง เกียรติยศ และตำแหน่งหน้าที่
(ซึ่งเป็นนิยามของความสำเร็จในยุคนี้)
ล้วนเป็นของชั่วคราว ถ้าใครยึดติดถือมั่นสิ่งเหล่านี้
ย่อมเป็นทุกข์ในที่สุด เพราะไม่ช้าก็เร็ว
มันก็จะหลุดจากมือของเขาไป
หาไม่ก็มีคนอื่นแย่งชิงไป
ถ้าไม่อยากทุกข์ ก็ต้องคลายความยึดติดถือมั่น
ระลึกอยู่เสมอว่ามันเป็นของไม่จีรังยั่งยืน
==================

ยามขึ้นก็ไม่ทุกข์ ยามลงก็เป็นสุข...

ลิง แซ่เลี้ยง

เดี๋ยวนี้ คนเราจะเชื่อด้วยเหตุแค่สักว่ามันเขียนอยู่ในใบลาน ท่านทั้งหลายจงเข้าใจกันเสียใหม่ให้ถูกต้อง ใบลานนั้นไม่ใช่พระไตรปิฎก; ใบลานบางแผ่นก็เขียนพระไตรปิฎก; แต่ว่าใบลานส่วนมากไม่ได้เขียนพระไตรปิฎก คือเขียนอะไรเพ้อเจ้อตามความเข้าใจของผู้เขียนก็ยังมีมาก

       ดังนั้นถ้าไปเข้าใจเสียว่า มีอยู่ในใบลาน เป็นเชื่อได้อย่างนี้แล้วก็จะมีเมฆหมอกอย่างหนึ่ง คือความมืดสีขาว ดังที่กล่าวมานี่เอง แม้ สมัยนี้ไม่ได้เขียนในใบลาน แต่พิมพ์เป็นเล่มหนังสือ มันก็เหมือนกัน เล่มหนังสือที่เป็นพระไตรปิฎกก็มี ไม่เป็นพระไตรปิฎกก็มีมากมาย จะเชื่อเพียงสักว่า มันมีในคัมภีร์ ในตำรา ในหนังสือแล้ว มันก็ใช้ไม่ได้ คือกลายเป็นเมฆเป็นหมอกขึ้นมาได้โดยไม่รู้สึกตัว

      ทีนี้ แม้ว่าจะมีอยู่ในพระไตรปิฎกจริงๆ คือว่าเราเปิดดูพระไตรปิฎกจะพบข้อความนี้ และในนั้นก็เขียนไว้ชัดเจนว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงข้อความนี้ แม้แต่อย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็ยังตรัสสอนว่าอย่าไปเชื่อ คืออย่าเพ่อเชื่อ อย่างน้อยก็อย่าเพ่อเชื่อ ต้องมาทดสอบดูด้วยการปฏิบัติถ้าปฏิบัติแล้วมันดับกิเลสดับทุกข์ได้อย่างไรจึงจะค่อยเชื่อ อย่างนี้เป็นต้น
อย่างนี้ก็แปลว่า พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ดีที่สุดแล้ว คือ ได้ตรัสมอบหมายเครื่องมือให้แก่เรา สำหรับทำลายเมฆหมอกนั้นเสีย อย่าให้คำภีร์กลายเป็นเมฆหมอกขึ้นมา อย่าให้พระพุทธภาษิตแท้ๆ กลายเป็นเมฆหมอกขึ้นมา

พุทธทาสอินทปัญโญ ... ส.สู้ๆ


Mr.Monky

เข้าใจพระพุทธศาสนาภายใน 10 นาที

1. พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ?
อริยสัจ 4 คือ
ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
สมุทัย คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
นิโรธ คือความดับทุกข์
มรรค คือข้อปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์

2. พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องอะไร ?
ทุกข์กับการดับทุกข์

3. ภาพรวมของพระพุทธศาสนา มีดังนี้

3.1 ให้มองโลกตามความเป็นจริง (จริงขั้นสมมุติ=สมมุติสัจจ์, จริงแท้=ปรมัตถสัจจ์) อาทิ ตัวเรามีอยู่ แต่หาใช่ตัวตนที่แท้จริงไม่
3.2 ให้ถือทางสายกลาง ทางตึง (ทรมานกายให้ลำบาก) ก็ดี, ทางหย่อน (ฟุ้งเฟ้อหลงใหล มัวเมา) ก็ดี, มิใช่แนวทางของพระพุทธศาสนา แต่ของพระพุทธศาสนา คือ มรรคมีองค์ 8 ทางสายกลางพอดี ๆ
3.3 ให้พึ่งตนเอง มิใช่พึ่งเทวดา โชคชะตาราศี หรือ ดวงดาว ฤกษ์ยาม
3.4 ไสยศาสตร์ การบนบานศาลกล่าว อ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การดูฤกษ์ยาม การเจิม ฯลฯ มิใช่พุทธศาสนา
3.5 สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย (อิทัปปัจจยตา) มีใช่เกิดขึ้นเองลอย ๆ หรือพรหมลิขิต จะดับทุกข์ได้ต้องดับที่เหตุ
3.6 โอวาทที่เป็นหลักเป็นประธาน (โอวาทปาฏิโมกข์) คือ ให้ละชั่ว ทำกุศลให้ถึงพร้อม และทำจิตให้บริสุทธิ์
3.7 สิ่งทั้งอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา, แม้พระนิพพาน ก็เป็นอนัตตาเช่นกัน หาใช่อัตตาตัวตนไม่
3.8 ให้เชื่อในหลักธรรม คือ ทำดี-ได้ดี, ทำชั่ว-ได้ชั่ว. ให้ทำตนอยู่เหนือดี เหนือชั่วนั่นแหละ จึงจะพบนิพพาน (คือเหนือกรรม)
3.9 จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือนิพพาน (ได้แก่สภาวะจิตที่สงบเย็น ปราศจากทุกข์)
3.10 สรุปธรรมทั้งปวง รวมลงในเรื่องเดียว คือ "ความไม่ประมาท"

4. การศึกษาธรรมะ 2 สมัย

4.1 สมัยปัจจุบัน คือ รู้จัก กับ รู้จำ อาศัยการฟัง อ่านค้นคว้า จึงมีความรู้อยู่ในสมองและในสมุด พูดธรรมะคล่องแต่ปฏิบัติไม่ค่อยได้ จึงได้ผลน้อย
4.2 สมัยพุทธกาล คือ รู้แจ้ง โดยเมื่อฟัง – จำแล้ว ลงมือปฏิบัติ ทำจริงในขณะนั้นทันที เกิดผลเป็นความรู้แจ้งเรื่องชีวิต ดับทุกข์ในขณะนั้นทันที

5. วิธีศึกษาพระพุทธศาสนา
เมื่อแรกพุทธปรินิพานนั้น สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสั่งให้ถือเอาเป็นศาสดาแทนพระองค์ มีเพียง 2 คือ ธรรมและวินัย หลังจากนั้นมา 300 ปี จึงเกิดมีพระไตรปิฎกขึ้น (สุตตันตปิฎก วินัยปิฎก และอภิธรรมปิฎก) บันนี้ล่วงกาลมาถึง 2500 กว่าปี คำสอนเดิม ขั้นปรมัตถ์ค่อย ๆ หายไป หมดไป เกิดมีคำสอนใหม่ ๆ เป็นพุทธศาสนาเนื้องอกจับใส่พระโอษฐ์ ว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอันมาก ดังนั้นในการศึกษาพระพุทธศาสนาพึงอาศัยหลักดังนี้
– ด้านปริยัติ (ความรู้เนื้อหา) อ่าน ฟัง คิด วิจัย ให้เข้าใจคือให้ปฏิบัติได้จริง หากสงสัย ให้อาศัยหลักกาลามสูตรเข้าพิจารณาตัดสิน มิใช่เชื่อไปเสียหมด
– ด้านปฏิบัติ การปฏิบัติทุกอย่างของพระพุทธศาสนาไม่ว่าการทำทานรักษาศีล ภาวนา พระพุทธองค์ทรงสอนให้ ทำเพื่อ "ละกิเลส" มิใช่เพื่อเอาหวังได้นั่นได้นี่ อันทำให้ยิ่งเพิ่ม โลภะ โทสะ โมหะ หาใช่พุทธศาสนาไม่ ทุกวันนี้ไหว้เพื่อเอา เพื่อขอ ทำบุญเพื่อเอาสวรรค์ นิพพาน หวังผลทั้งชาตินี้ชาติหน้า ซึ่งกลายเป็นพอกกิเลสยาวนาน
– ด้านปฏิเวธ (ผล) ทำเพื่อละ จะพบนิพพาน (จิตบริสุทธิ์ มีความสะอาด สว่าง สงบ) แต่ทำเพื่อเอา จะทำเพื่อเอา จะพบกิเลสในตนพอกพูนยิ่งขึ้น ๆ ยาวนาน และยิ่งมีทุกข์มาก
ดังนั้น จงมุ่งปฏิบัติเพื่อห่างไกลทุกข์โดยส่วนเดียว ให้ได้เห็นผลด้วยตนเอง (สันทิฏฐิโก)

6. จะศึกษาพุทธศาสนาได้ที่ไหน ?
ให้ศึกษาในร่างกายนี้ ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และมิใช่จะต้องศึกษากับพระ และในวัดวาอารามเท่านั้น จึงศึกษาตนเอง อย่ามัวศึกษานอกตัว หรือมัวติดอยู่แค่พิธีกรรม หรือได้แต่ทำตาม ๆ เขาไป จะเสียทีที่ได้มีโอกาสเกิดมาพบพระพุทธศาสนา ได้ลิ้มรสแค่เปลือกกระพี้ มิได้ชิมรสอันเป็นเนื้อใน อันได้แก่ธรรมรสของความเย็นอกเย็นใจ (นิพพาน)

7. เหตุแห่งทุกข์และการดับทุกข์
เหตุ เกิดจากอุปทาน คือ การเข้าไปยึดถือว่า นี่คือ ตัวตนของเรา นี่ของๆ เรา
การดับ โดยละอุปทานเสีย (โดยพยายามปฏิบัติให้ "เห็นอนัตตา") เถิด จะโดยบังคับจิตเป็นสมาธิ (เจโตวิมุตติ) หรือโดยพิจารณาธรรมด้วยปัญญา (ปัญญาวิมุตติ) ก็ได้

8. พุทธพจน์ "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา"
คำว่า "เห็นธรรม" คือ เห็นปฏิจจสมุปบาท คือ วงจรที่ทุกข์เกิด และดับ โดยเริ่มต้นจากอวิชชา จนเกิดทุกข์

9. จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
คือ นิพพาน (สภาวะจิตที่สงบเย็น) ปราศจากกิเลส เครื่องร้อยรัดทั้งปวง (ชาวบ้านพูดว่า เย็นอก เย็นใจ) หาพบได้ที่ใจตัวเอง

10. สรุป ความทุกข์เกิดที่จิต พึงรักษาจิตให้เป็นประภัสสรไว้เสมอ ระวังการกระทบ (ผัสสะ) ทางตา หู ฯลฯ ให้ดี มีสติรู้ทันว่า...เห็นสักว่าเห็น ได้ยินสักว่าได้ยิน อย่าให้เวทนา ตัณหา เกิดได้ แล้วท่านจะพบความสงบเย็นตลอดเวลา
ความทุกข์เกิดที่จิต เพราะเห็นผิดเมื่อผัสสะ
ความทุกข์จะไม่โผล่ ถ้าไม่โง่เมื่อผัสสะ
ความทุกข์เกิดไม่ได้ ถ้าเข้าใจเรื่องผัสสะ
............................
(จากธรรมสมโภช 80 ปี พุทธทาสภิกขุ) ... ส.สู้ๆ