ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

Dhammakaya

เริ่มโดย Red Leang Link, 15:03 น. 06 มี.ค 60

นก หัวขวด

เห็นกงจักรเป็นดอกบัว

คนเดี๋ยวนี้มันโง่ เอาดีเป็นชั่ว เอาชั่วเป็นดี เอาสุขเป็นทุกข์ เอาทุกข์เป็นสุข กลับกันหมด มันเหมือนกับคนโง่เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ที่เราไปชอบอะไรอบายมุขทั้งหลายที่หนาแน่นขึ้นทั่วบ้านทั่วเมือง อบายมุขเป็นกงจักรทั้งนั้น แต่มาเห็นเป็นดอกบัว

- พุทธทาสภิกขุ -

ที่ใดที่มีความโกรธที่นั่นไม่มีสติ ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีความโกรธ ความโกรธเปรียบเสมือนหนู สติเปรียบเสมือนแมว ที่ใดมีแมวที่นั่นไม่มีหนู ที่ใดมีหนูที่นั่นไม่มีแมว ฉะนั้นสติจึงเป็นธรรมซึ่งใช้เป็นคู่ปรับกับความโกรธได้เป็นอย่างดี ถ้าเราอยากจะหนีความโกรธ เราก็ควรฝึกสติในทุกๆ อิริยาบถ เมื่อเรามีสติอยู่ในทุกอิริยาบถ ก็คือเรามีความตื่นรู้อยู่ในทุกอิริยาบถ จิตของเราที่มีความตื่นรู้เป็นอารมณ์แล้ว ก็ไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับที่ความโกรธจะแทรกตัวเข้ามา ฉะนั้นสันนิษฐานได้อย่างหนึ่งว่า ใครโกรธคนนั้นกำลังขาดสติ ถ้าเราอยู่กับคนที่เขากำลังโกรธ คือ

ประการแรก เราต้องไม่โกรธไปกับเขา เพราะถ้าเราโกรธไปกับเขา หรือเอาตัวเองไปเป็นพวกเขาปุ๊บ เราถูกลากเข้าไปในสมรภูมิแห่งความโกรธเรียบร้อยแล้ว

ประการที่ 2 เราต้องสามารถควบคุมความคิดของตัวเองไม่ให้ตกเป็นฝักเป็นฝ่าย ทั้งฝ่ายคนที่กำลังโกรธแบะฝ่ายคนที่มากระตุ้นให้เขาโกรธ แต่เราควรวางตัวเป็นกลางเพื่อจะได้มองเห็นคนที่กำลังโกรธอยู่ข้างหน้าของเราอย่างชัดเจนว่าเขากำลังโกรธแล้วนะ เขากำลังเริ่มมีอาการวิปริตผิดเพี้ยนแล้วนะ เมื่อเราสังเกตเห็นเขาอย่างชัดเจน เราจะได้เตรียมพร้อมว่าจะช่วยเขาได้อย่างไร

ประการที่ 3 เราต้องวางตัวให้เป็นคนที่ใจเย็นที่สุดในนาทีอย่างนั้น นั่นคือใจเย็น พูดเย็น แล้วก็ทำเย็น ใจเย็นก็หมายความว่าอย่าไปซ้ำเติมเขา ว่าเขากำลังหลุด เขากำลังเสียศูนย์นะ พูดเย็นก็คือพยายามพูดในลักษณะเตือนสติเขาให้กลับมาอยู่กับเหตุผล และทำเย็นก็คืออยู่ใกล้ๆ เขาแล้วแสดงออกอย่างชัดเจนว่า คนที่เรากำลังโกรธนั้นยังมีคุณเป็นเพื่อนอยู่นะ เมื่อเขารับรู้ได้ถึงความเมตตาของเราในนาทีอย่างนั้น ความโกรธก็จะค่อยๆ ลดความแรงลง

ประการที่ 4 พาเขาออกจากสภาพแวดล้อมที่ทำให้เขาโกรธให้เร็วที่สุด

ประการที่ 5 ควรพาเขาไปล้างหน้าล้างตาเพื่อเรียกสติ น้ำมีปฏิสัมพันธ์เป็นพิเศษกับความตื่นรู้ในหัวใจคน พระพุทธเจ้าตรัสรู้เพราะนั่งสมาธิอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเรรัญชรา ท่านอาจารย์พุทธทาสเลือกสวนโมกข์ก็เพราะมีธารน้ำไหล วัดทุกวัดที่พระพุทธเจ้าเคยจำพรรษาล้วนแล้วแต่มีสระน้ำแห่งการตื่นรู้อยู่ใกล้ๆ พาคนที่เขากำลังโกรธไปล้างหน้าล้างตาเพื่อเรียกสติ จากนั้นควรชวรเขาไปทำงานอะไรสักอย่างหนึ่ง ชวนไปกินข้าว ชวนไปทำงาน ชวนไปร้องเพลง หรือชวนพูดคุยก็ได้ เพื่อเคลื่อนย้ายพลังงานแห่งความโกรธซึ่งเป็นอกุศลจิตชนิดหนึ่ง ให้ออกมาจดจ่ออยู่กับงานซึ่งกำลังอยู่ข้างหน้าเขา เมื่อมาถึงขั้นเคลื่อนย้ายพลังงานอย่างนี้สำเร็จแล้ว ก็เริ่มพูดคุยกับเขาด้วยวาจาสุภาษิต คือพูดด้วยเมตตา ใช้เหตุใช้ผล ถึงขั้นนี้แล้วอาตมภาพคิดว่า ความโกรธนั้นเย็นตัวลงมากแล้ว

วิธีเบ็ดเสร็จเด็ดขาดที่สุด ถ้าอยากจะตัดความโกรธออกจากชีวิตเลย คือ "เจริญวิปัสนากรรมฐาน" เพราะเมื่อเรามีความตื่นรู้ อยู่ในทุกๆอิริยาบถ ความโกรธจะแทรกเข้ามาในจิตใจเราไม่ได้ คนที่ปล่อยให้ความโกรธแทรกเข้ามาในจิตได้ก็แสดง ชัดเจนว่าเขายังเป็นคนที่ขาดสติ ธรรมชาติของจิตจะรับอารมณ์ได้ทีละเรื่อง ถ้าจิตของเราอยู่กับสติ ความโกรธก็ไม่เข้ามา ถ้าจิตเราอยู่กับความโกรธ สติก็ไม่เข้ามาดังนั้นเราจึงควรให้พื้นที่แห่งจิตของเราอยู่กับสติมากกว่า เพราะวิธีนี้เป็นวิธีป้องกันความโกรธที่ได้ผลดีที่สุด " ถ้าเราอยากจะหนีความโกรธ เราก็ควรฝึกสติในทุกๆ อิริยาบถ เมื่อเรามีสติอยู่ในทุกอิริยาบถ ก็คือเรามีความตื่นรู้ในทุกอิริยาบถ จิตของเราที่มีความตื่นรู้เป็นอารมณ์แล้ว ก็ไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับที่ความโกรธจะแทรกตัวเข้ามา "

วิธีระงับความโกรธแบบง่ายๆ
>>ท่าน ว.วชิรเมธี<< วิธีที่อาตมภาพใช้ระงับความโกรธอยู่ทุกวันนี้ก็คือ ทันทีที่กระทบก็ให้ธรรมะกระเทือน นั่นคือถ้าเริ่มรู้สึกว่ากรุ่นๆ ฉุนเฉียวขึ้นมาปุ๊บ เอาสติไปจับจ้องตรงอาการกรุ่นๆ ฉุนเฉียวนั้น เพราะสติไปอยู่ตรงนั้นความโกรธมันจะขี้อายมาก มันจะถอยห่างจากไปทันตา สิ่งนี้อาตมภาพฝึกมาจนกระทั่งว่าทุกวันนี้สามารถจัดการความโกรธได้ในระดับที่เรียกว่าน่าพอใจทีเดียว ก่อนหน้านั้นอาตมภาพเคยเป็นคนโกรธง่าย ฉุนเฉียว ใครพูดอะไรไม่ถูกหูจะทะลุกลางปล้อง แต่ครั้งหนึ่งหลังจากที่อาตมภาพผ่านการอบรมวิปัสสนากรรมฐานเข้มเรียบร้อยแล้ว นับแต่นั้นมาจนถึงทุกวันนี้เป็นเวลากว่าสิบปี อาตมภาพสามารถพลิกตัวเองไปเป็นอีกคนหนึ่งได้อย่างสบาย สามารถทนต่อความโกรธของคนอื่น ทนต่อความโง่ของคนอื่น ทนต่อความฉลาดของคนอื่น โดยไม่มีอาการตีโพยตีพายหรือทะลุกลางปล้องอีก สามารถฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างสงบเยือกเย็นและสังเกตุดูปฏิกริยาของตัวเองได้อย่างสงบ เพราะทุกครั้งที่ความโกรธเกิดขึ้น แทนที่จะรอรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกันกับความโกรธ เราเป็นฝ่ายเห็นความโกรธเสียก่อน วิธีปฏิบัติอย่างนี้อาตมภาพตั้งชื่อว่า "ปฏิบัติอย่างเห็นมันก่อน" เพราะถ้าเราไม่เห็นมันก่อนเราก็จะเสร็จมันก่อนนั่นคือ "ถ้าใจเราโกรธปุ๊บ เอาสติไปดูใจ ความโกรธก็หายไป เพราะใจของเรานั้นรับอารมณ์ได้ทีละเรื่อง สติอยู่ตรงไหนความโกรธก็หายไป ณ ตรงนั้น นี้เป็นวิธีปฏิบัติที่ลัดสั้นที่สุด ทำที่นี่ เดี๋ยวนี้ได้ผลทันที"ไม่มีขั้นตอนอะไรมากมาย แต่สำหรับคนทั่วไปซึ่งไม่เคยฝึกดูใจมานั้น อาตมภาพขอแนะนำว่าทันทีที่คุณโกรธ

1. ควรพาตัวเองออกจากสภาพแวดล้อมที่โกรธนั้นให้เร็วที่สุด
2. งดการพูดทุกถ้อยกระทงความ เพราะถ้าคุณพูด สิ่งที่ไม่ควรพูดจะหลุดออกจากปาก
3. งดการตัดสินใจทันที คนที่ตัดสินใจในนาทีที่มีความโกรธครอบงำกลุ้มรุมหัวใจนั้น การตัดสินใจจะด้อยประสิทธิภาพและเต็มไปด้วยอคติ
4. พาตัวเองเดินไปล้างหน้าล้างตาในห้องน้ำเพื่อเรียกสติ
5. ควรหาอะไรสักอย่างหนึ่งมาทำเพื่อเป็นการถ่ายเทพลังความโกรธให้ไปอยู่ที่เนื้องาน
6. หางานอดิเรกมาทำ เพราะงานอดิเรกนั้นมักจะเป็นงานที่เรารัก พออยู่กับงานที่เรารัก จิตใจก็เริ่มแช่มชื่นเบิกบานฟื้นคืนกลับมาเป็นจิตใจที่มีประสิทธิภาพแล้ว
7. ขั้นตอนสุดท้าย ฝึกเจริญสติที่เรียกกันว่า "เมตตาพรหมวิหาร" คือ ฝึกตื่นรู้ดูใจไปพร้อมๆ กันนั้นก็ฝึกมองคนที่เราโกรธ ว่าเขาก็เป็นเพื่อนมนุษย์เช่นเดียวกับเรา ปลูกฝังเมตตาภาวนาอยู่เสมอพร้อมๆ กับที่ฝึกตื่นรู้ดูใจ
หากทำได้ถึงขั้นที่ 7 แล้ว ความทุกข์จากความโกรธจะไม่มาแผ้วพานเราอีกเลย และทุกครั้งที่ความโกรธมาเยือนเราก็สามารถพลิกความโกรธเป็นเมตตาได้ตลอดไป การที่คนยังไม่สามารถละความโกรธออกได้ เพราะคิดว่าตัวเองไม่ได้รับความยุติธรรม จึงพยายามเรียกร้องหาความยุติธรรมให้ตัวเอง เมื่อพยายามเรียกร้องหาความยุติธรรมให้ตัวเองก็ไม่สามารถปล่อยวางความโกรธได้ กลายเป็นว่าในขณะที่เขากำลังหาความยุติธรรมให้ตัวเองนั้น เขาได้สร้างความอยุติธรรมให้ใจของตัวเองเรียบร้อยแล้ว เห็นไหม นั่นแหละจึงเป็นรากฐานของการผูกโกรธ คือเราคิดว่าเราไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงไปโกรธตอบ เพื่อให้คนนั้นได้รับผลแห่งการกระทำที่สาสมที่สุด แท้ที่จริงคนสองจำพวกนี้ไม่มีใครเป็นฝ่ายชนะ เป็นคนแพ้ทั้งคู่ ฝ่ายหนึ่งโกรธคนอื่นหรือกระตุ้นให้คนอื่นโกรธก็แพ้ที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ฝ่ายหนึ่งไปโกรธตอบ ด้วยอาการที่อยากเรียกร้องความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับตัวเอง ก็แพ้ใจตัวเอง ทั้งฝ่ายที่กระตุ้นให้โกรธและฝ่ายที่โกรธ สุดท้ายทั้งคู่ก็แพ้อย่างราบคาบให้แก่กิเลสที่ชื่อความโกรธเหมือนกัน

จะพลิกความโกรธให้เป็นเมตตาได้อย่างไร
>> ท่าน ว.วชิรเมธี << การที่จะพลิกความโกรธให้เป็นความเมตตานั้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างทำได้ยาก แต่ขอแนะนำว่าให้ทำตามขั้นตอนที่อาตมภาพแนะนำมาก่อนหน้านั้นก่อน จากนั้นเมื่อเราสามารถตั้งเนื้อตั้งตัวได้แล้วจึงหันกลับมาทบทวนตัวเอง แล้วหันหลังกลับไปทบทวนคนที่ทำให้เราโกรธ ว่าทั้งเราทั้งเขาต่างก็เป็นเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตายในสังสารวัฎมาด้วยกันแท้ๆ แต่ละคนมีกรรมเป็นของตัว ซึ่งเรียกว่าทุกข์หนักหนาสาหัสอยู่แล้ว ทำไมจะต้องมาสร้างกรรมใหม่ต่อกันและกันอีก เรา แต่ละคนแบกกรรมของตัวเองก็เรียกว่าหนักอึ้งพอแล้วนะ ถ้าเรายังมาโกรธกันและกัน มาสร้างกรรมสร้างเวรใหม่ก็เท่ากับว่าเรากำลังเพิ่มภาระแห่งความทุกข์ลงไปบนเป้หลังของเราให้หนักอึ้งยิ่งขึ้นเมื่อคิดได้อย่างนี้ว่าเราต่างก็มีภาระมากพอแล้ว ก็จะเห็นทั้งเราเห็นทั้งเขากลายเป็นเสมือนสัตว์ผู้ลอยคออยู่ในทะเลทุกข์เสมอกัน แท้ที่จริงทั้งเราทั้งเขาเป็นบุคคลที่ควรแก่การสังเวช ควรแก่ความสงสาร ควรแก่ความเมตตาทั้งคู่เลย ฉะนั้นอย่ามาเสียเวลาโกรธกันอยู่อีกเลย เมตตากันไว้ดีกว่า แล้วก็แผ่เมตตาให้เขา ภาวนาให้เขามีความร่มเย็นเป็นสุขมีอายุยืนยาว มีสุขภาพกายสุขภาพจิตแข็งแรงสมบูรณ์ มีครอบครัวที่มั่นคง มีหน้าที่การงานที่สูงส่งแล้วนึกถึงเขาแต่ในทางที่ดีงาม ถ้าทำได้อย่างนี้ ปลูกจิตที่ประกอบด้วยไมตรีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดกระแสแห่งเมตตาจิตจากเราก็จะส่งไปถึงเขา พอเขารับรู้ได้ เขาก็จะมีความร่มเย็นเป็นสุข แล้วก็จะสามารถหันมาปฏิสัมพันธ์ต่อเราด้วยความเมตตาอารีเหมือนที่เรามีต่อเขาเช่นเดียวกันเมื่อเราตักน้ำไปรดต้นไม้ ถ้าต้นไม้ชุ่มเย็น เชื่อไหม น้ำที่เปื้อนเราก็ทำให้ร่างกายเราชุ่มเย็นเหมือนกัน นั่นแหละ คนที่รดน้ำคือเมตตาให้คนอื่น ความชุ่มเย็นนอกจากเกิดกับเป้าหมายแห่งความเมตตาของเราแล้ว ก็ยังเกิดขึ้นกับจิตใจของเราเองด้วย ต้นไม้ที่ได้รับการรดน้ำงอกงามฉันใด คนที่คอยรดน้ำให้ต้นไม้ ก็มีความงอกงามเพิ่มขึ้นในจิตในใจฉันนั้น ฉะนั้นผู้รู้หรือนักปราชญ์จำนวนมากจึงมักจะตรัสรู้ บรรลุธรรมท่ามกลางแมกไม้ที่ร่มรื่น เพราะแมกไม้ที่ร่มรื่นเป็นที่มาของจิตใจที่รื่นรมย์ในชีวิตของเรา เมตตาเปรียบเสมือนสายน้ำ และเปรียบเสมือนผืนป่าอันร่มรื่น ถ้าเราปลูกฝังบ่มเพาะเมตตาจิตลงในใจของเรามากขึ้นๆ ตัวเราเองก็จะรื่นรมย์ เหมือนกับว่าเรามีธารน้ำหลังไหลอยู่ภายใน ใครมาใกล้ก็พลอยชุ่มเย็นตามไปด้วย ฉะนั้นการแผ่เมตตาให้คนที่เราโกรธนั้น อย่าไปแผ่ตอนที่เราโกรธแต่ควรฝึกให้มันเป็นวิถีชีวิตของเราทุกวันๆ จนกระทั่งเมตตากับวิถีชีวิตของเรากลายเป็นเนื้อเดียวกัน

ในสมัยพุทธกาลเวลาที่พระอริยสาวกเจอกัน ท่านมักจะถามว่า ท่านสารีบุตร ท่านอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร ท่านสารีบุตรก็จะตอบว่า ช่วงนี้ผมอยู่ด้วยเมตตาพรหมวิหาร ช่วงนี้ผมอยู่ด้วยสุญญตาพรหมวิหาร ช่วงนี้ผมอยู่ด้วยกรุณาพรหมวิหาร คำว่าวิหารแปลว่าคุณธรรมประจำจิตประจำใจ เราทุกคนควรฝึกหัดจิตฝึกใจของเราให้มีเมตตาเป็นเรือนใจ เอาไว้เป็นพื้นฐาน ถ้าเรามีเมตตาเป็นเรือนใจเป็นพื้นฐานอยู่ตลอดเวลา ถึงเวลาโกรธขึ้นมา เราไม่ต้องภาวนามากมาย แค่กลับมาแผ่เมตตาก็จะแสดงปาฏิหาริย์แห่งความชุ่มเย็นให้ปรากฏ อาตมภาพลองสังเกตดูว่า ถ้าเราเป็นคนที่มีเมตตา แม้แต่เดินผ่านสัตว์ซึ่งดุร้ายเกรี้ยวกราด มันก็กระดิกหางให้เรา ที่วัดนี้ตรงปากซอยมีสุนัขดุมาก แขกไปใครมา แม้แต่เด็กวัดซึ่งเจออยู่ทุกวันมันก็เห่า ก็กระโดดงับ พอาตมภาพเดินผ่าน ทั้งๆที่มันวิ่งมาจะงับลูกศิษย์ของอาตมาแท้ๆ มาถึงอาตมามันก็หยุด เพราะในใจอาตมานึกแผ่เมตตาและเขาจะรับสัมผัสได้เสมอไปเป็นอย่างนี้ แม้แต่ต้นไม้ทั้งหลายที่เราปลูกไว้ที่หน้ากุฏินี้ เวลาเราแผ่เมตตาให้เขา เราก็จะสัมผัสได้ถึงความชุ่มเย็นที่เขาแสดงออกให้เห็น ถ้าเรามีจิตที่ละเมียดละไมการที่คนจำนวนมากแผ่เมตตาแล้วไม่ได้ผล เพราะเขามัวแต่จะแผ่เมตตา แต่ไม่มีเมตตาที่จะนำไปแผ่ เห็นไหม ก่อนแผ่เมตตาต้องสร้างเมตตาจิตขึ้นในจิตในใจของตัวเอง จนกระทั่งว่าให้ผลเป็นความชุ่มเย็นในจิตในใจของตัวเองก่อน แล้วจากนั้นจึงค่อยแผ่ออกไป กระแสแห่งเมตตาก็จะค่อยๆเลื่อนไหลไปถึงคนที่เป็นเป้าหมายที่เราแผ่เมตตาแต่ปาก แต่ใจของเขานั้นยังเต็มไปด้วยความโกรธอยู่เหมือนเดิม ฉะนั้นรากฐานของการแผ่เมตตาที่แท้จริงอยู่ที่ "ใจ" ไม่ใช่ที่ "ปาก"
รักแท้ คือ กรุณาดำเนินมาจนถึงบทสุดท้าย โดยทำให้เราเห็นว่า ความรักมีกี่มิติ มีผลดีผลเสีย และผลข้างเคียงอย่างไร หวังว่าเมื่อได้อ่านจบครบทุกตอนแล้ว เราทุกคนจะมีมุมมองต่อความรักด้วยทรรศนะใหม่ และมีความสุขทุกครั้งเมื่อมีความรัก เนื่องเพราะ "รักแท้ คือ กรุณา" รักแท้มาเมื่อไหร่ ความเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานและการเป็นผู้ให้ก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น

ว.วชิรเมธี

Bodhi Singapore


สุเมโธ ชยสาโร

ต้นเหตุ คือ เดียรถีย์ อลัชชี ชาวต่างประเทศ  ส.หลก
https://youtu.be/v2_YC8UgiQk

นกหัวขวด บ่อเกตุ

"หลวงพ่อปัญญานันทภิขุ"

หมั่นเสริมสร้างปัญญา อย่าแสวงหาสิ่งงมงาย
เกิดเป็นคนทั้งที ควรรู้จักหาปัญญาใส่ตัว อย่ามัววิ่งหาสิ่งงมงายอยู่เลย ปัญญานั่นแหละจะช่วยตนได้ สิ่งงมงายที่ไหนช่วยไม่ได้หรอก
หลวงพ่อสั่งสอนไว้ว่า เราไปวัด..คนไปวัดกันบ่อยๆ แต่ว่าไม่ค่อยจะไปเพื่อการศึกษา แต่ไปทำเรื่องอื่น ไปด้วยกิจกรรมเรื่องไสยศาสตร์มาก แล้ววัดต่างๆก็เหมือนกัน ส่งเสริมกันแต่ไสยศาสตร์ ส่งเสริมความโง่ของประชาชน ไม่ส่งเสริมความฉลาดไม่พยายามพูดจาแนะนำให้คนมีปัญญา ให้คนมีแสงสว่างส่องใจเพื่อจะได้ไม่เป็นทุกข์ แต่ว่าทำอะไรในทางไสยศาสตร์กันเสียมากเช่นว่าให้พระดูดวงชะตาราศี รดน้ำมนต์ สะเดาะเคราะห์ หรือทำพิธีรีตองอะไรต่างๆ
แม้เป็นคนที่มีการศึกษา มีปัญญาตามโลกนิยม แต่ก็เป็นปัญญาประเภทต่ำๆ ไม่ใช่เป็นปัญญาตามหลักพุทธศาสนา ซึ่งเป็นปัญญาชั้นสูง เป็นปัญญาที่ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามสภาพที่เป็นจริง ปัญญาอย่างนี้มีกันน้อย แล้วก็มักจะไปทำอะไรอื่นคนชั้นผู้ใหญ่เช่นผู้บริหารชาติบ้านเมือง ก็ยังอยู่ในสภาพอย่างนั้นไปหาพระก็ไปเพื่อขอวัตถุ ไม่ขอธรรมะ...ไม่สนใจธรรมะ
การที่คนสนใจแสวงหาวัตถุนี้ ไม่ช่วยให้พระศาสนาเจริญไม่ช่วยให้พระเจริญในทางการศึกษาธรรมะ แต่หันไปศึกษาเรื่องไสยศาสตร์ เรียนวิชาหมอดู เรียนวิชาปลุกเสก ลงเลขลงยันต์แล้วก็ดังเหมือนกัน มีชื่อเสียงในหมู่คนโง่ ดังในหมู่ปัญญาชนที่ปนกับความโง่มากอยู่
การกระทำอย่างนี้ไม่ได้ช่วยให้ศาสนาเจริญก้าวหน้าอย่างไรแต่ว่าเขาก็หาเงินได้ เขาได้เงินจากคนปัญญาอ่อนไม่ทำให้คนดีขึ้น ไม่ทำให้คนฉลาดขึ้นแม้แต่น้อย อยู่อย่างใดก็อยู่อย่างนั้น ยังหลงอยู่ยังงมงายอยู่อย่างนั้นฯ — ที่ สวนโมกขพลาราม... ส.สู้ๆ

แดง ภูเขาทอง


นกต่อ


นกเขา เหลียงซาน

พระสารีบุตร เป็นผู้ช่วยเหลือพระผู้มีพระภาคเจ้าในการสั่งสอนธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ช่วยที่ดีเยี่ยมจึงได้รับการยกย่องว่า เป็นธรรมเสนาบดีแม่ทัพธรรม พระผู้มีพระภาคทรงเป็นธรรมราชา คราวใดที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโดยย่อ ถ้าพอมีเวลาพระสารีบุตรจะช่วยขยายความหรือแนะนำภิกษุทั้งหลายต่อไปเพื่อความแจ่มแจ้งชัดเจน

คราวหนึ่ง ณ เชตะวันมหาวิหารเมืองสาวัตถี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเตือนให้ภิกษุทั้งหลายเป็นธรรมทายาท คือเป็นผู้รับมรดกธรรมของพระองค์ อย่าเป็นอามิสทายาทรับมรดกอามิสโดยนัยดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทของเราเลย เรามีความเอ็นดูในพวกเธอทั้งหลายปรารถนาอยู่ว่า ทำอย่างไรหนอสาวกของเราจะพึงเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท"

"ถ้าเธอทั้งหลายเป็นอามิสทายาท วิญญูชนก็จะติเตียนว่า ดูเถิดดูสาวกของพระโคดมล้วนเป็นอามิสทายาท หนักในอามิส มุ่งในอามิส ไม่เป็นผู้หนักในธรรมไม่มุ่งธรรม ถ้าเธอทั้งหลายเป็นธรรมทายาทก็จะไม่ถูกติเตียนจากวิญญูชน"

"ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้รับมรดกอามิสของเราไม่น่าสรรเสริญ ส่วนผู้รับมรดกธรรมของเราน่าสรรเสริญ เพราะการรับมรดกธรรมนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา เลี้ยงง่าย มีความเพียรสม่ำเสมือไม่ถอยหลัง ด้วยเหตุนี้แล พระภิกษุทั้งหลายเราจึงปรารถนาว่า ไฉนหนอสาวกของเราจะพึงเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท"

เมื่อพระศาสดาเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พระสารีบุตรได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า "เมื่อพระศาสดาผู้ทรงเป็นครูของพวกเรา เสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกบางพวกมิได้ปฏิบัติตาม ส่วนสาวกบางพวกปฏิบัติตาม ทั้งนี้ เพราะเหตุไร"

ภิกษุทั้งหลายกราบเรียนว่า "ขอให้พระสารีบุตรอธิบายให้แจ่งแจ้งเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังแล้ว เข้าใจแล้ว จักได้ทรงจำไว้"

พระสารีบุตรจึงว่า "ที่สาวกบางพวกไม่ศึกษาไม่ปฏิบัติตามความสงัดของพระศาสดานั้นก็เพราะ พระศาสดาตรัสให้ละสิ่งใดก็ไม่ละสิ่งนั้น แต่กลายเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด ภิกษุอย่างนี้ไม่ว่าเป็นเถระหรือเป็นใหญ่บวชนาน หรือเป็นผู้พูนกลาง หรือเป็นผู้ใหม่ ย่อมได้รับการติเตียนจากวิญญูชนสามสถานว่า"

"พระศาสดาตรัสแล้ว แต่สาวกไม่ศึกษาปฏิบัติตามในเรื่องความสงัด พระศาสดาทรงสอนให้ละสิ่งใดก็ไม่ละสิ่งนั้น เป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด ส่วนพระสาวกที่ศึกษาปฏิบัติตามความสงัดของพระศาสดา ก็เพราะเหตุที่ พระศาสดาสอนให้ละสิ่งใดก็ละสิ่งนั้น ไม่เป็นผู้มักมาก ไม่ย่อหย่อน ไม่ทอดธุระในความสงัด ภิกษุผู้เป็นอย่างนี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้พูนกลาง หรือเป็นผู้ใหม่ ย่อมได้รับการสรรเสริญจากวิญญูชนสามสถาน ตรงกันข้ามกับภิกษุที่วิญญูชนพึงติเตียน"

"ท่านทั้งหลาย" พระสารีบุตรกล่าวต่อไป "บรรดาธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลายกิเลสเหล่านี้เป็นสิ่งต่ำทรามคือ ความโลภ ๑. ความคิดประทุษร้าย ๑. ความโกรธ ๑. ความผูกโกรธ ๑. การลบหลู่คุณท่าน ๑. การตีเสมอท่าน ๑. ความริษยา ๑. ความตระหนี่ ๑. ความเจ้าเล่ห์ ๑. ความมักอวด ๑. ความหัวดื้อ ๑. ความแข่งดี ๑. ความถือตัว ๑ ความดูหมิ่นผู้อื่น ๑. ความเมา ๑. ความประมาท ๑. รวมเป็นอุปกิเลสสิบหกประการ เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ทำให้จิตตกต่ำ"

"ท่านทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาหรืออริยมรรคประกอบด้วยองค์แปดประการ คือความเห็นชอบ ความตั้งกิจชอบ เป็นมรรคอันประเสริฐให้เกิดความเห็นให้เกิดความรู้ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อพระนิพพาน อันพระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ ตรัสไว้ดีแล้ว เพื่อท่านทั้งหลาย ท่านเดินตามทางนี้แล้วย่อมไปถึงที่สุดแห่งทุกข์อย่างแน่นอน"

เมื่อพระธรรมเสนาบดีกล่าวจบลง ภิกษุทั้งหลายชื่นชมยินดีต่อภาษิตของท่านยิ่งนัก พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรนั้น เป็นผู้มีปกติสรรเสริญเพื่อนพรหมจารีตามคุณที่มีจริง เป็นจริง ปรารถนาสนทนากับพระภิกษุอื่นที่พระศาสดาทรงยกย่อง... ส.สู้ๆ

นกแล

มารทดสอบเพื่อดูว่า จริงหรือเท็จ พระหรือผี หินหรือหยก ไม่ว่าจะบำเพ็ญเพียรมาแรมนานแค่ไหนก็ตาม

ของโปรดมารหลักใหญ่ คือ

1.พวกที่เป็นผู้บำเพ็ญธรรม ผู้ปฏิบัติธรรมทั่วไป เช่น นักบวช ฆารวาสที่มีศีลมีธรรม หนทางแห่งความดี ย่อมไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ อย่าคิดว่า มาทางธรรมแล้วจะได้เสพสุข จะไม่ได้เจออุปสรรค ความทุกข์ใดๆ เพราะธรรมะแท้จะทวนกระแสปุถุชน กระแสมาร ไม่ได้ไหลไปตามน้ำ
2. ผู้ที่มีจิตใจงดงาม ใจบุญ ใจเมตตา ใจพระ
3. ผู้ที่รู้ธรรมมากๆ ศึกษาทฤษฎีธรรมมาก อ่านมามาก และชอบสอนธรรมคนอื่น เป็นผู้ที่มีประสบการณ์มาก่อน เช่น ผู้ที่เป็นวิทยากร เป็นกูรู เป็นครูบาอาจารย์ที่เก่งและโด่งดัง เป็นผู้รู้มาก เป็นผู้บรรยายธรรม เป็นต้น
4. ศิราณีทั้งหลาย ชอบทำตัวเป็น consultant ผู้ที่เวลาสอนธรรมใคร มารจะจ้องทดสอบประชิดในจิตญาณทันที เช่น หากวันนี้ เราไปบอกคนอื่นให้มีเมตตาต่อสัตว์ ไม่เบียดเบียนสัตว์ มารก็จะจัดสรรข้อสอบโดยที่เราไม่รู้ตัว บางคนสอนธรรมคนอื่นเรื่องรักษาศีล หรือคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม ข้อใดก็ตาม ไม่นานนัก บุคคลที่สอนก็จะโดนทดสอบทันทีว่า ปากกับใจตรงกันจริงไหม พูดได้ ทำได้จริงไหม ช่วยคนอื่นได้แต่ตนเองเอาตัวรอดไหม พุดอะไรออกไป ให้สำรวมระวัง อย่าเป็นนักควบม้าที่ตกม้าตายเสียเอง
5. ผู้ที่หลงตนเองหรืออุปทาน ปรุงแต่งไปว่า ฉันคือพระอรหันต์ ฉันคือผู้เข้าถึงธรรม ฉันคือผู้ที่เก่งแล้ว รู้หมดแล้ว ใครสอนฉันไม่ได้ ฉันไม่เคยทำผิด คนเหล่านี้ดื้อมากๆ ego สูงมาก อัตตาตัวตน ตัวกูของกูมากและหนามากๆ (อันนี้ มีตั้งแต่ก่อนพุทธกาลจนถึงกึ่งพุทธกาลนี้ ยิ่งมากล้น เนื่องด้วยโลกวัตถุ ความรู้ได้พัฒนาไปมาก ยิ่งป็นอาหารโปรดของมารมากๆ เพราะว่า มารจะหลอกให้ตนเองหลงไปเรื่อยๆจนกู่ไม่กลับ แม้สร้างบาปเวรกรรมไปมาก ก็จะไม่รู้ตัว เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นผิดเป็นถูก)
6. พวกที่เคร่งครัดในรูปนามธรรมของศาสนา ลัทธิ ไม่เดินสายกลาง จิตใจแบ่งแยก ใจแคบ ยึดมั่นถือมั่นในอัตตา รูปลักษณ์ภายนอก รูปนาม เปรียบเทียบความแตกต่าง ธรรมะแท้ย่อมไร้รูปไร้นามโดยเช่นนั้น
7. พวกที่ยึดติด หลงอิทธิฤทธิ์ปฏิหาริย์ ฌาณสมาธิ นั่งทางใน นิมิต อภิญญา เวทมนต์ คาถา ไสยศาสตร์มนต์ดำ ร่างทรง ร่างสื่อ ร่างแฝง กลลวงนี้อันตรายมากๆ พระพุทธองค์ไม่ค่อยใช้สิ่งเหล่านี้เพราะเป็นโลกียฌาณเท่านั้น มารสร้างภาพมายาหลอกจิตเราจนแยกไม่ออกเลยว่าจริงเท็จ อันนี้ ต้องไม่เข้าไปแวะข้องเลย เพราะถอดออกมายากมาก ต้องเห็นทุกข์ก่อน จึงจะเห็นธรรม เห็นนรก จึงจะสำนึกจริง การทำความดี มิจำเป็นต้องพึ่งพาสิ่งเหล่านี้มาเป็นเงื่อนไข เป็นคนดีได้ด้วยใจของตัวเองเท่านั้น ธรรมะคือธรรมชาติ คือ ธรรมดา Norm

สิ่งศักดิ์สิทธฺ์จึงเตือนย้ำว่า การจะชนะมารในใจได้ ต้องย้อนมองส่องตัวเองทุกเวลา สำนักขอขมา ขอบคุณ ขอโทษ อโหสิ อยู่อย่างปิดทองหลังพระ ทำความดีอะไร ก็อย่าไปป่าวประกาศเพื่อเรียกร้องสรรเสริญ ภาพพจน์ที่ดีใดๆทั้งนั้น เป็นคุณสมบัติของผู้ที่น้อมใจลงต่ำ อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นคนธรรมดาๆ เป็นไปอย่างธรรมชาติ แต่แฝงไปด้วยปัญญา การเป็นคนดี ไม่ได้เป็นคนจิตใจที่ดีงามอย่างเดียว แต่ต้องมีสติและปัญญาด้วย ถึงจะอยู่กับกิเลส กับมาร กับอุปสรรคทุกอย่างได้อย่างสันติสุข เรียบง่าย ทุกข์สุขล้วนอยู่ที่ใจ สร้างได้ ก็ต้องดับได้ด้วยตนเอง มารจะหลอกจิตตนเสมอว่า ทำดีแล้วไม่ได้ดี นี้คือ จิตของมาร จะทำให้เราท้อและถอยในที่สุด หรืออาจทำให้เรากลายเป็นคนชั่วไปเลยก็ได้ พระพุทธองค์เมตตาเสมอว่า จงอยู่ในความไม่ประมาท และอย่าล้อเ่ล่นกับหนทางธรรม ให้เคร่งครัดในกาย วาจา ใจทุกขณะจิตตลอดชีวิต... ส.สู้ๆ

นกเอี้ยงเลี้ยงควายเฒ่า

พระสงฆ์ (ความหมาย) สงฆ์ หรือ สงฺฆ ในภาษาบาลี แปลว่า หมู่
เช่นในคำว่าภิกษุสงฆ์ แปลว่า หมู่ภิกษุ ใช้ในความหมายว่า ภิกษุทั้งปวงก็ได้
พระสงฆ์ หมายถึง สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช
ถือวัตร ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาสั่งสอนและกำหนดไว้ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน
พระสงฆ์ จัดเป็นรัตนะหนึ่งในจำนวนรัตนสามหรือพระรัตนตรัย  ซึ่งได้แก่พระพุทธรัตน พระธรรมรัตน พระสังฆรัตน  พระสงฆ์ ได้แก่ ภิกษุ ในพระพุทธศาสนา สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งสละเรือนออกบวชตามพระพุทธเจ้า หลังจากได้ฟังคำสั่งสอนแล้วเกิดความเลื่อมใส ต้องการจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ ปฏิบัติตามธรรมและวินัยที่กำหนดไว้เฉพาะสำหรับภิกษุ จำนวน ๒๒๗ ข้อ บางครั้งเรียกว่า สงฆ์  ซึ่งพระสงฆ์ รูปแรกของโลก คือ พระอัญญาโกณทัญญะ
ในทางพระพุทธศาสนาแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น ๒ ประเภท คือ สมมติสงฆ์ และพระอริยสงฆ์
สมมติสงฆ์ คือ สงฆ์โดยทั่วไปที่เป็นหมู่ของภิกษุ เรียกว่าพระสงฆ์ หรือสมมติสงฆ์ สงฆ์โดยสมมติ
เพราะว่าเป็นภิกษุตามพระวินัยด้วยวิธีอุปสมบทรับรองกันว่าเป็นอุปสัมบันหรือเป็นภิกษุขึ้น
เมื่อภิกษุหลายรูปมาประชุมกันกระทำกิจของสงฆ์ก็เรียกว่า สงฆ์
พระอริยสงฆ์ หมู่ภิกษุชนที่ได้ฟังเสียงซึ่งออกจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าหรือได้ปฏิบัติตามธรรมะ
ได้ความรู้พระธรรม  คือ ความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน จนถึงได้บรรลุโลกุตตรธรรม
ธรรมะที่อยู่เหนือโลกตามพระพุทธเจ้า ซึ่งพระอริยสงฆ์คือคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ ๘ บุรุษ ได้แก่คู่ มรรค - ผล
๐ พระโสดาบัน   ๑ คู่  ๒ บุรุษ คือ พระโสดาปฏิมรรค ๑ พระโสดาปฏิผล ๑
๐ พระสกทาคามิ ๑คู่๒ บุรุษ คือ พระสกทาคามิมรรค ๑ พระสกทาคามิผล ๑
๐ พระอนาคามิ   ๑ คู่  ๒ บุรุษ คือ พระอนาคามิมรรค ๑ พระอนาคามิผล ๑
๐ พระอรหันต์     ๑ คู่  ๒ บุรุษ คือ พระอรหัตมรรค ๑ พระอรหัตผล ๑
อริยบุคคล คือ บุคคลผู้ประเสริฐ เป็นผู้ละสังโยชน์ หรือกิเลสที่ผูกมัดสัตว์ไว้ในภพหรือผูกพันสัตว์ทั้งหลายไว้กับทุกข์ได้ ใครละได้น้อยก็เป็นอริยบุคคลชั้นต้น เมื่อละได้มากเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงขึ้น ใครละได้หมดก็เป็นพระอรหันต์
สังโยชน์ ๑๐
๑.   สังกายทิฏฐิ ความเห็นว่าร่างกายเป็นของตน
๒.   วิจิกิจฉา ความสงสัยในผลกรรม การเวียนว่ายตายเกิด
๓.   สีลัพพตปรามาส การเชื่อพิธีกรรมทางไสยศาสตร์
๔.   กามราคะ ความติดใจในกามารมณ์
๕.   ปฏิฆะ ความขัดเคืองใจ
๖.   รูปราคะ ความติดใจในรูป เช่น สิ่งล้ำค่าสวยงาม
๗.  อรูปราคะ ความติดใจในสิ่งไม่มีรูป  เช่น คำสรรเสริญ
๘.   มานะ ความยึดถือว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่ ติดในยศศักดิ์
๙.   อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต  ไม่สงบใจ
๑๐. อวิชชา ความไม่รู้อริยสัจ ๔
ลำดับพระอริยบุคคล
๑.  พระโสดาบัน ละสังโยชน์ในข้อ ๑ - ๓ ได้ ยังต้องกลับมาเกิดอีก แต่ไม่เกิน ๗ ชาติแล้วจะบรรลุนิพพาน คือ
ได้เป็นพระอรหันต์
๒.  พระสกิทาคามี ละสังโยชน์ในข้อ ๑ - ๓ ได้ และจิตคลายจากราคะ โทสะ โมหะ ได้มากขึ้น จะเกิดอีกเพียง
ครั้งเดียวแล้วจะบรรลุนิพพาน
๓.  พระอนาคามี ละสังโยชน์ในข้อ ๑ - ๕ ได้ บรรลุชั้นนี้แล้วจะเลิกการครองเรือน หันมา ประพฤติพรหมจรรย์
ละสังขารแล้วจะไปเกิดในพรหมโลก
๔.  พระอรหันต์ ละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐ ข้อ เมื่อละสังขารแล้วจะไม่กลับมาเกิดอีก คือ นิพพาน
ผลที่เกิดจากการปฏิบัติ หรือปฏิเวธธรรม ทำให้ได้บรรลุ มรรคผล นิพพาน ตั้งแต่ ชั้นต้นไปตามลำดับ ดังนี้
๑.  โสดาปัตติมรรค คือ มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน เป็นเหตุให้ละกิเลส สังโยชน์ ในข้อที่ ๑ - ๓ ได้
๒.  โสดาปัตติผล คือ  ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน
๓.  สกทาคามิมรรค คือ มรรคที่มีคุณธรรมสูงกว่าพระโสดาปัตติมรรค ทำให้ละกิเลส ข้อ ๑ - ๓ ได้ และราคะ โทสะ
โมหะ ในจิตเบาบางมากแล้ว
๔.  สกทาคามิผล คือ ผลที่พระสกทาคามิผลพึงเสวย เพราะทำให้ ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง
๕.  อนาคามิมรรค คือ มรรคที่ละกิเลสอย่างหยาบ ข้อ ๑ - ๕ ได้
๖.  อนาคามิผล คือ ความสุขที่พระอนาคามีได้รับเพราะละกิเลสอย่างหยาบได้ ผู้บรรลุพระอนาคามีแล้วจะบวช
ไม่มีใครอยู่ในเพศฆราวาสเลย
๗.  อรหัตมรรค คือ ญาณเป็นเครื่องละกิเลสอย่างละเอียด หรือสังโยชน์ ข้อ ๖ - ๑๐ รวมทั้งข้อ ๑ - ๕ ได้โดยสิ้นเชิง
๘.  อรหัตผล คือ  ผลที่พระอรหันต์พึงได้รับเพราะละการยึดมั่นถือมั่นในกิเลส
มรรค คือ  ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด เป็นทางให้เข้าถึงความเป็นอริยบุคคล
ผล คือ  ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค หรือ ธรรมารมณ์อันพระอริยะพึงเสวย ที่เป็นผล
เกิดเอง ในเมื่อกิเลสสิ้นไปด้วยอำนาจมรรคนั้น ๆ
นิพพาน คือ  สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว
ที่บรรลุคุณธรรม ๘ ข้อนี้ ตั้งแต่พระโสดาปัตติมรรคขึ้นไป เรียกว่า พระอริยบุคคล หากบรรพชาเรียกว่า พระอริยสงฆ์... ส.สู้ๆ

ยำใบเหลียง

พูดมาก เสียมาก     พูดน้อย เสียน้อย     ไม่พูด ไม่เสีย     นิ่งเสีย โพธิสัตว์

หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี
ท่านเป็นพระมหาเถระที่รู้จักกันทั่วประเทศ ในนาม " หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด "
คาถาบูชาท่าน คือ นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
ชาติกาล 3 มีนาคม พ.ศ. 2125
ชาติภูมิ บ้านเลียบ ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา
บรรพชา เมื่ออายุได้ 15 ปี
อุปสมบท เมื่ออายุ 20 ปี
มรณภาพ 6 มีนาคม พ.ศ.2225
สิริรวมอายุได้ 99 ปี
คติธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ทวด
ธรรมประจำใจ
พูดมาก เสียมาก   พูดน้อย เสียน้อย   ไม่พูด ไม่เสีย   นิ่งเสีย โพธิสัตว์
ละได้ย่อมสงบ
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ทุกอย่างในโลกนี้ เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข ละได้ย่อมสงบ
สันดาน
ภูเขาถูกมนุษย์ทำลายลงมาได้
แต่สันดานของคนเราที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้ง
ซึ่งไม่เหมือนกันย่อมขัดเกลาให้ดีเหมือนกันได้ยาก
ชีวิตทุกข์
การเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ จะว่าไม่ประเสริฐก็ไม่ประเสริฐ
จะเห็นได้ว่า ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ
จะต้องล้างหน้า ล้างปาก ล้างฟัน ล้างมือ
เสร็จแล้วจะต้องกินต้องถ่าย นี่คือความทุกข์แห่งกายเนื้อ
เมื่อเราจะออกจากบ้าน
ก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ ในการงาน ในสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงตนชอบ
นี่คือ ความทุกข์ในการแสวงหาปัจจัย
บรรเทาทุกข์
การที่เราจะไม่ต้องทุกข์มากนั้น
เราจะต้องรู้ว่า เรานี้จะต้องไม่เอาชีวิตไปฝากสังคม เราต้องเป็นตัวของเราเอง
และเราจะต้องวินิจฉัยในเหตุการณ์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเราว่า สิ่งใดเราควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ
ยากกว่าการเกิด
ในการที่เราเกิดมา  ชีวิตแห่งการเกิดนั้นง่าย  แต่ชีวิตแห่งการอยู่นั้นสิยาก
เราจะทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างสุขสบาย
ไม่สิ้นสุด
แม่น้ำทะเล และมหาสมุทร ไม่มีที่สิ้นสุดของน้ำ ฉันใด
กิเลสตัณหาของมนุษย์ก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด ฉันนั้น
ยึดจึงเดือดร้อน
ทุกวันนี้ เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน ก็เพราะมนุษย์ไปยึดโนน่ ยึดนี่
ยึดพวกยึดพ้อง ยึดหมู่ยึดคณะ ยึดประเทศเป็นสรณะ โดยไม่คำนึงถึงธรรมสากล
จักรวาลโลกมนุษยนี้ ทุกคนมีกรรมจึงเกิดมาเป็นสัตว์โลก
สัตว์โลกทุนคนต้องใช้กรรมตามวาระ ตามกรรม
ถ้าทุกคนยึดถือเป็นอารมณ์ ก็จะเกิดการเข่นฆ่ากัน  เกิดการฆ่าฟันกัน
เพราะอารมณ์แห่งการยึดถืออายตนะ  ฉะนั้น ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า
สิ่งใดทำแล้ว สัตว์โลกมีความสุข สิ่งนั้นควรทำ นี่คือ หลักความจริงของธรรมะ
อยู่ให้สบาย
ในภาวะแห่งการที่จะอยู่อย่างสบายนั้น
เราต้องอยู่กันอย่างไม่ยึด  อยู่กันอย่างไม่ยินดี  อยู่กันอย่างไม่ยินร้าย
อยู่กันอย่างพยายามให้จิตวิญญาณของนามธรรมนั้นเหนืออารมณ์
เหนือคำสรรเสริญ  เหนือนินทา  เหนือความผิดหวัง  เหนือความสำเร็จ  เหนือรัก  เหนือชัง
ธรรมารมณ์
การอยู่อย่างมีธรรมารมณ์ คือ การอยู่เหนือความรู้สึกทั้งปวง... ส.ยกน้ิวให้

นกเขาคู่รัก

. ส.หลก

ปูแดง ภูเขาทอง

. ส.หลก

ชาตินก Go


หลีเหลียงเจี๋ย


หลีเหลียงเจี๋ย


นกเขา เณรขวด

"...แม้จะอยู่ในวัด อยู่ในโบสถ์ ได้เห็นพระพุทธรูป
เห็นพระภิกษุสงฆ์ และแม้ได้ยินเสียงแสดงธรรม
แต่จิตใจมิได้รับเข้ามา

ไม่มีพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ
ไม่มีสรณะคือที่พึงของจิตใจ
คือจิตใจไม่ได้พึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

ไม่มีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
ที่นำจิตใจไปสู่ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ
ก็ชื่อว่าไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้า ไม่ได้เห็นพระธรรม
ในอนาคตก็เหมือนกัน
.
แต่จะในครั้งไหนๆ ก็ตาม ครั้งพุทธกาลก็ตาม
ในบัดนี้ก็ตาม  ในอนาคตเบื้องหน้าก็ตาม
ได้มีจิตใจเป็นพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ
จิตใจคิดพึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
อาศัยพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ
คือที่พึงนำจิตใจ ไปสู่ ศีล สมาธิ ปัญญาวิมุติได้
ก็ได้เห็นพระพุทธเจ้าได้เห็นพระธรรม
พระพุทธเจ้าพระธรรมพร้อมทั้งพระสงฆ์ดั่งกล่าวนี้
จึงรวมอยู่ในคำว่า อมตธรรม เป็นธรรมะที่ไม่ตาย
เป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลา
ดำรงอยู่ทุกกาลสมัย..."
.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก... ส.สู้ๆ

บังคลาเทศ

การปฏิบัติเพื่อความสำเร็จในการมีธรรมจักร(๒)
                  [มัชฌิมาปฏิปทากถา]
               ธรรมโฆษณ์ของพุทธทาส
        ชุดอาสาฬหบูชาเทศนา หน้า ๔๖-๖๐


วังปริง ยางทอง

อยู่เพื่อพัฒนากรรม ไม่ใช่อยู่เพื่อใช้กรรม

ที่พูดมานี้ เท่ากับบอกให้รู้ว่า เราจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ต่อกรรมที่แยกเป็น ๓ ส่วน คือ กรรมเก่า-กรรมใหม่-กรรมข้างหน้า ขอสรุปวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องต่อกรรมทั้ง ๓ ส่วนว่า

กรรมเก่า (ในอดีต) เป็นอันผ่านไปแล้ว เราทำไม่ได้ แต่เราควรรู้ เพื่อเอาความรู้จักมันนั้นมาใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปรับปรุงกรรมใหม่ให้ดียิ่งขึ้น

กรรมใหม่ (ในปัจจุบัน) คือกรรมที่เราทำได้ และจะต้องตั้งใจทำให้ดีที่สุด ตรงนี้เป็นจุดสำคัญ

กรรมข้างหน้า (ในอนาคต) เรายังทำไม่ได้ แต่เราสามารถเตรียมหรือวางแผนเพื่อจะไปทำกรรมที่ดีที่สุด ด้วยการทำกรรมปัจจุบันที่จะพัฒนา เราให้ดีงามและงอกงามยิ่งขึ้น จนกระทั่งเมื่อถึงเวลานั้นเราก็จะสามารถทำกรรมที่ดีสูงขึ้นไปตามลำดับ จนถึงขั้นเป็นกุศลอย่างเยี่ยมยอด

นี่แหละคือ คำอธิบายที่จะทำให้มองเห็นได้ว่า ทำไมจึงว่า
คนที่วางใจว่าจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่กรรม (เก่า) นั้นแล กำลังทำกรรมใหม่(ปัจจุบัน) ที่ผิด เป็นบาป
คือ ความประมาท ได้แก่การปล่อยปละละเลย อันเกิดจากโมหะ
และมองเห็นเหตุผลด้วยว่า ทำไมพุทธศาสนาจึงสอน ให้หวังผลจากการกระทำ

ขอย้ำอีกครั้งว่า กรรมใหม่สำหรับทำ กรรมเก่าสำหรับรู้ อย่ามัวรอ กรรมเก่าที่เราทำอะไรมันไม่ได้แล้ว แต่หาความรู้จากกรรมเก่านั้น เพื่อเอามาปรับปรุงการทำกรรมปัจจุบัน จะได้พัฒนาตัวเราให้
สามารถทำกรรมอย่างเลิศประเสริฐได้ในอนาคต

มีคำเก่าได้ยินมานานแล้วประโยคหนึ่ง คือที่พูดว่า "คนเราเกิดมาเพื่อใช้กรรมเก่า"
ความเชื่ออย่างนั้นไม่ใช่พุทธศาสนา และต้องระวังจะเป็นลัทธินิครนถ์

ที่พูดกันมาอย่างนั้น ความจริงก็คงประสงค์ดี คือ มุ่งว่าถ้าเจอเรื่องร้าย ก็อย่าไปซัดทอดคนอื่น และอย่าไปทำอะไรที่ชั่วร้ายให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยความโกรธแค้ นเป็นต้น แต่ยังไม่ถูกหลักพระพุทธศาสนา และจะมีผลเสียมาก

ลัทธินิครนถ์ ซึ่งก็มีผู้นับถือในสมัยพุทธกาลจนกระทั่งในอินเดียทุกวันนี้ เป็นลัทธิกรรมเก่าโดยตรง
เขาสอนว่า คนเราจะได้สุขได้ทุกข์อย่างไร ก็เป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ในชาติปางก่อน
และสอนต่อไปว่า ไม่ให้ทำกรรมใหม่ แต่ต้องทำกรรมเก่าให้หมดสิ้นไปด้วยการบำเพ็ญตบะ
จึงจะสิ้นกรรมสิ้นทุกข์ นักบวชลัทธินี้ จึงบำเพ็ญตบะทรมานร่างกายด้วยวิธีต่างๆ

คนที่พูดว่า เราอยู่ไปเพื่อใช้กรรมเก่านั้น ก็คล้ายกับพวกนิครนถ์ นี่แหละ คิดว่าเมื่อไม่ทำกรรมใหม่ อยู่ไปๆ กรรมเก่าก็คงจะหมดต่างแต่ว่า พวกนิครนถ์ไม่รอให้กรรมเก่าหมดไปเอง แต่เขาบำเพ็ญตบะเพื่อทำกรรมเก่าให้หมดไปด้วยความเพียรพยายามของเขาด้วย

มีคำถามที่น่าสังเกตว่า
"ถ้าไม่ทำกรรมใหม่ อยู่ไปๆ กรรมเก่าจะหมดไปเองไหม?"
เมื่อไม่ทำกรรมใหม่ อยู่ไป กรรมเก่าก็น่าจะหมดไปเอง แต่ไม่หมดหรอก
ไม่ต้องอยู่เฉยๆ แม้แต่จะชดใช้กรรมเก่าไปเท่าไรๆ ก็ไม่มีทางหมดไปได้

เหตุผลง่ายๆ คือ
๑. คนเรายังมีชีวิต ก็คือเป็นอยู่ ต้องกินอยู่ เคลื่อนไหวอิริยาบถ ทำโน่นทำนี่ เมื่อยังไม่ตาย ก็ไม่ได้อยู่นิ่งๆ
๒. คนเหล่านี้เป็นมนุษย์ปุถุชน ก็มีโลภ โกรธ หลง โดยเฉพาะความหลง หรือโมหะนี้มีอยู่ประจำในใจตลอดเวลา เพราะยังไม่ได้รู้เข้าใจความจริงถึงสัจธรรม

เมื่อรวมทั้งสองข้อนี้ก็คือ คนที่อยู่เพื่อใช้กรรมนั้น เขาก็ทำกรรมใหม่อยู่ตลอดเวลา แม้แต่โดยไม่รู้ตัว แม้จะไม่เป็นบาปกรรมที่ร้ายแรง แต่ก็เป็นการกระทำที่ประกอบด้วยโมหะ เช่นกรรมในรูปต่างๆ ของความประมาท
ปล่อยชีวิตเรื่อยเปื่อย

ถ้ามองลึกเข้าไปในใจ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ผุดโผล่ขึ้นมาในใจของเขาอยู่เรื่อยๆ ในลักษณะต่างๆ เช่น เศร้า ขุ่นมัว กังวลอยากโน่นอยากนี่ หงุดหงิด เหงา เบื่อหน่าย กังวล คับข้อง ฯลฯ
นี่ก็ คือ ทำกรรมอยู่ตลอดเวลา แถมเป็นอกุศลกรรมเสียด้วย เพราะฉะนั้นอย่างนี้จึงไม่มีทางสิ้นกรรม
ชดใช้ไปเท่าไรก็ไม่รู้จักสิ้นสุด มีแต่เพิ่มกรรม

"แล้วทำอย่างไรจะหมดกรรม ?"
การที่จะหมดกรรมก็คือ ไม่ทำกรรมชั่ว ทำกรรมดี และทำกรรมที่ดียิ่งขึ้น คือ แม้แต่กรรมดีก็เปลี่ยนให้ดีขึ้น
จากระดับหนึ่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง
พูดเป็นภาษาพระว่า เปลี่ยนจากทำอกุศลกรรม เป็นทำกุศลกรรม
และทำกุศลระดับสูงขึ้นไปจนถึงขั้นเป็น โลกุตตรกุศล

ถ้าใช้ภาษาสมัยใหม่ ก็พูดว่า พัฒนากรรมให้ดียิ่งขึ้น
เราก็จะมีศีล มีจิตใจ มีปัญญา ดีขึ้นๆ ในที่สุดก็จะพ้นกรรม

พูดสั้นๆว่า กรรมไม่หมดไปด้วยการชดใช้กรรม แต่หมดกรรมด้วยการพัฒนากรรม
คือ ปรับปรุงตัวให้ทำกรรมที่ดียิ่งขึ้นๆ จนพ้นขั้นของกรรมไป ถึงขั้นทำ แต่ไม่เป็นกรรม
คือ ทำด้วยปัญญาที่บริสุทธิ์ ไม่ถูกครอบงำหรือชักจูงด้วยโลภะ โทสะ โมหะ จึงจะเรียกว่า พ้นกรรม

ที่มา :: หนังสือพุทธธรรม ฉบับขยายความ
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

นกเขา มีเกิยรติ

บุญมี ๒ ชนิด คือว่าอาศัยความรู้สติปัญญาที่ถูกต้องชนิดหนึ่ง อาศัยความไม่รู้ เพียงแต่ศรัทธาหรือมิจฉาทิฏฐิก็ได้ ขอให้เข้าใจว่า คำว่ามิจฉาทิฏฐินี้ใช้ได้แม้แต่ในทางที่เป็นบุญ เพราะเขามีมิจฉาทิฏฐิ ยึดมั่นบุญในรูปแบบของสีลัพพตปรามาสอย่างนี้ก็มีอยู่มาก ไม่ใช่เป็นบุญที่สะอาด ไม่ใช่เป็นบุญที่จะทำลายล้างบาป หรือล้างมิจฉาทิฏฐิได้...

เดี๋ยวนี้ในโลกนี้มันก็ยังมีอยู่มาก ที่เรียกว่าคนบ้าบุญ บ้าบุญนั้นมันต้องเป็นมิจฉาทิฏฐิแน่นอน แม้ว่าจะไม่ใช่มิจฉาทิฏฐิที่เลวร้ายมากมายอะไรนัก มันก็ต้องเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่ดี

นี่เราจะสังเกตในข้อนี้กันให้มาก ว่าเรากำลังเมาบุญหรือเปล่า หรือว่าบางทีจะใช้คำอื่นว่า เราอิ่มด้วยบุญหรือเปล่า...ถ้าอิ่มด้วยบุญมันก็กำกวมเหมือนกัน มันอาจจะอิ่มด้วยความเข้าใจผิด เช่นเดียวกันอีกก็ได้ แต่ถ้าว่ามันรู้ว่าบุญยังไม่ใช่ที่สุดจบของความทุกข์หรือการปรุงแต่ง มันก็อาจจะเบื่อบุญได้เหมือนกัน

บุญนั่นแหละตัวการปรุงแต่ง บุญปรุงแต่งให้เวียนว่ายตายเกิดดี และบุญเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ ชอบใจของสัตว์ จึงมีคำกล่าวว่า บุญ นั้นก็เป็น อุปธิ โอปธิกัง ปุญญัง บุญนั้นเนื่องด้วยอุปธิ เป็นไปโดยอุปธิ คืออุปาทาน ยึดมั่นถือมั่น เอามายึดถือไว้จนกลายเป็นของหนัก อะไรที่เอามายึดถือไว้ด้วย อุปาทานจนกลายมาเป็นของหนัก ก็เรียกว่าอุปธิ คือบุญนี้ก็เป็นอุปธิอย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้น คนจึงแบกบุญ บ้าบุญ ถือบุญ ในลักษณะที่เป็นอุปธิ อย่างนี้ไม่เรียกว่า กุศล

#111ปีพุทธทาส
ที่มา : ปกิณณกธรรมบรรยาย ครั้งที่ 3 เรื่อง บุญแท้เมื่อหมดความรู้สึกอยากมีบุญ
ปี พ.ศ. 2525 ‪#‎จดหมายเหตุพุทธทาส‬

พี่ขวด ส้นตีนบิน

หลี่เหลียงเจี๋ยะ ปะทะ หลี่เหลียงเว้ย  ส.สู้ๆ