ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

Dhammakaya

เริ่มโดย Red Leang Link, 15:03 น. 06 มี.ค 60

เทมาเส็ก

#โครงสร้างพระไตรปิฎก

พระไตรปิฎกแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ
๑. พระวินัยปิฎก (อา ปา ม จุ ป)
๒. พระสุตตันตปิฎก (ที ม สัง อัง ขุ )
๓. พระอภิธรรมปิฎก (สัง วิ ธา ปุ ก ย ป)

#๑. พระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ ส่วนใหญ่คือ
๑. ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยวินัยของพระภิกษุ ๒๒๗ ข้อ มี ๒ เล่ม
๒. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยวินัยของภิกษุณี ๓๑๑ ข้อ มี ๑ เล่ม
๓. มหาวรรค ว่าด้วยขันธกะต่างๆ เช่น มหาขันธกะ เป็นต้น มี ๑๐ ขันธกะ แบ่งเป็น ๒ เล่ม
๔. จุลวรรค ว่าด้วยขันธกะต่างๆ ตั้งแต่ขันธกะที่ ๑๑-๑๒ ว่าด้วยวัตร ธรรมเนียมประเพณีต่างๆ
ของพระสงฆ์ มี ๒ เล่ม
๕. ปริวาร ว่าด้วยคู่มือวินัย เป็นคำถามตอบวินัยโดยย่อๆ ทุกวิภังค์ และขันธกะ มี ๑ เล่ม




#๒. พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ ส่วนใหญ่ คือ
๑. ทีฆนิกาย รวมพระสูตรยาวๆ มีพรหมชาลสูตร เป็นต้น มี ๓ เล่ม
๒. มัชฌิมนิกาย รวมพระสูตรขนาดกลาง มีทั้งหมด ๓ เล่ม
๓. สังยุตตนิกาย รวมพระสูตรขนาดเล็กเป็นหมวดๆ มี ๕ เล่ม
๔. อังคุตตรนิกาย รวมหมวดธรรมตั้งแต่หมวดหนึ่งถึงเกิน ๑๐ มีทั้งหมด ๕ เล่ม
๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมบทธรรมทั้งหลายทั้งที่ยาวและสั้นมีทั้งหมด ๑๕ คัมภีร์ มีทั้งหมด ๑๕ เล่ม

#๓. พระอภิธรรมปิฎก แบ่งออกเป็น ๗ ส่วนใหญ่ๆ คือ
๑. สังคณี-ประมวลธรรมเป็นชุดๆ เรียกว่ามาติกา มี ๑ เล่ม
๒. วิภังค์-การจำแนกธรรมออกเป็นขันธ์ ธาตุ เป็นต้น มี ๑ เล่ม
๓. ธาตุกถา-นำข้อธรรมมาจัดเข้าในขันธ์ ธาตุ อายตนะ ครึ่งเล่ม
๔. ปุคคลบัญญัติว่าด้วยบัญญัติต่างๆ มีครึ่งเล่ม
๕. กถาวัตถุ-ปัญหาถามตอบของนิกายต่างๆ ๑๘ นิกาย มี ๑ เล่ม
๖. ยมก-ว่าด้วยคำอธิบายหลักธรรมออกพิสดาร เป็นคู่ๆ มี ๒ เล่ม
๗. ปัฏฐาน-ว่าด้วยปัจจัยต่างๆ ๒๔ โดยพิสดาร มีทั้งหมด ๖ เล่ม
----------------------------
#ความสำคัญและคุณค่าของพระไตรปิฎก

พระไตรปิฎกมีความสำคัญและคุณค่าสำคัญหลายประการ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), ๒๕๔๓: ๖๘–๗๑) ได้แก่ ดังนี้
      ๑. พระไตรปิฎกเป็นที่รวมไว้ซึ่งพระพุทธพจน์ อันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ตรัสไว้เอง ซึ่งตกทอดมาถึงสมัยพวกเรา ทำให้เรารู้จักคำสอนของพระพุทธเจ้าจากพระไตรปิฎกเป็นสำคัญ
      ๒. พระไตรปิฎกเป็นที่สถิตของพระศาสดาของพุทธศาสนิกชน เพราะเป็นที่บรรจุพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ให้เป็นศาสดาแทนพระองค์ เราจะเฝ้าหรือรู้จักพระพุทธเจ้าได้จากพระดำรัสของพระองค์ที่ท่านรักษากันไว้ในพระไตรปิฎก
      ๓. พระไตรปิฎกเป็นแหล่งต้นเดิมของคำสอนในพระพุทธศาสนา คำสอน คำอธิบาย คัมภีร์ หนังสือ ตำรา ที่อาจารย์และนักปราชญ์ทั้งหลายพูด กล่าวหรือเรียบเรียงไว้ที่จัดว่าเป็นของในพระพุทธศาสนา จะต้องสืบขยายออกมาและเป็นไปตามคำสอนแม่บทในพระไตรปิฎก ที่เป็นฐานหรือเป็นแหล่งต้นเดิม
      ๔. พระไตรปิฎกเป็นหลักฐานอ้างอิงในการแสดงหรือยืนยันหลักการที่กล่าวว่า เป็นพระพุทธศาสนา จะเป็นที่น่าเชื่อถือหรือยอมรับได้ด้วยดี เมื่ออ้างอิงหลักฐานในพระไตรปิฎก ซึ่งถือว่า เป็นหลักฐานอ้างอิงขั้นสุดท้ายสูงสุด
      ๕. พระไตรปิฎกเป็นมาตรฐานตรวจสอบคำสอนในพระพุทธศาสนา คำสอนหรือคำกล่าวใด ๆ ที่จะถือว่าเป็นคำสอนในพระพุทธศาสนาได้ จะต้องสอดคล้องกับพระธรรมวินัยซึ่งมีมาในพระไตรปิฎก (แม้แต่คำหรือข้อความในพระไตรปิฎกเอง ถ้าส่วนใดถูกสงสัยว่าจะแปลกปลอม ก็ตรวจสอบด้วยคำสอนทั่วไปในพระไตรปิฎก)
      ๖. พระไตรปิฎกเป็นมาตรฐานตรวจสอบความเชื่อถือและข้อปฎิบัติในพระพุทธศาสนา ความเชื่อถือหรือข้อปฏิบัติตลอดจนพฤติกรรมใด ๆ จะวินิจฉัยว่าถูกต้องหรือผิดพลาดเป็นพระพุทธศาสนาหรือไม่ ก็โดยอาศัยพระธรรมวินัยที่มีมาในพระไตรปิฎกเป็นเครื่องตัดสิน
      ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกจึงเป็นกิจสำคัญยิ่งของชาวพุทธ ถือว่าเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา หรือเป็นความดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนากล่าวคือ ถ้ายังมีการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกเพื่อนำไปใช้ปฏิบัติ พระพุทธศาสนาก็ยังดำรงอยู่ แต่ถ้าไม่มีการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก แม้จะมีการปฏิบัติก็จะไม่เป็นไปตามหลักการของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาก็จะไม่ดำรงอยู่คือจะเสื่อมสูญไป
      นอกจากความสำคัญในทางพระพุทธศาสนาโดยตรงแล้วพระไตรปิฎกยังมีคุณค่าที่สำคัญในด้านอื่น ๆ อีกมาก โดยเฉพาะ
      ๑. เป็นที่บันทึกหลักฐานเกี่ยวกับลัทธิ ความเชื่อถือ ศาสนา ปรัชญา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม เรื่องราว เหตุการณ์ และถิ่นฐาน เช่น แว่นแคว้นต่าง ๆ ในยุคอดีตไว้เป็นอันมาก
      ๒. เป็นแหล่งที่จะสืบค้นแนวความคิดที่สัมพันธ์กับวิชาการต่าง ๆ เนื่องจากคำสอนในพระธรรมวินัยมีเนื้อหาสาระเกี่ยวโยง หรือครอบคลุมถึงวิชาการหลายอย่าง เช่น จิตวิทยา กฎหมาย การปกครอง เศรษฐกิจ เป็นต้น
      ๓. เป็นแหล่งเดิมของคำศัพท์บาลีที่นำมาใช้ในภาษาไทย เนื่องจากภาษาบาลีเป็นรากฐานสำคัญส่วนหนึ่งของภาษาไทย การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกจึงมีอุปการะพิเศษแก่การศึกษาภาษาไทย
      รวมความว่า การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกมีคุณค่าสำคัญ ไม่เฉพาะแต่ในการศึกษาพระพุทธศาสนาเท่านั้นแต่อำนวยประโยชน์ทางวิชาการในด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น ภาษาไทย ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา โบราณคดี รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา และจิตวิทยา เป็นต้น

-----------------------------
จิรํ ติฏฺฐตุ โลกสฺมึ สมฺมาสมฺพุทธสาสนํ.
ขอพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงดำรงอยู่ในโลกสิ้นกาลนาน..

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์

-----------------------
*ดูเพิ่มเติม คลิกลิงค์
http://www.mcu.ac.th/mcutrai/index.htm
------------------------
http://www.84000.org/
-------------------------

DSI & Police

พระบรมราโชวาทสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร
(รัชกาลที่ 10 ในปัจจุบัน)
การเป็นตำรวจนั้นคงไม่ยากนัก แต่การเป็นตำรวจที่ดีนั้นยากมาก
...เพราะตำรวจต้องทำงานหนักและลำบากตรากตรำ งานปราบอธรรม อำนาจมืด และเหล่ามิจฉาชีพทั้งหลาย เป็นงานที่จะต้องใช้ความรู้ความสามารถเป็นพิเศษ เป็นงานที่สลับซับซ้อนซึ่งมีปัญหามากมาย และอันตรายรอบด้าน
ดังนั้น การที่จะเป็นตำรวจที่ดี จำเป็นอย่างยิ่งที่ตำรวจจะต้องเป็นผู้มีความแกร่งกล้าสามารถทั้งร่างกายและจิตใจ มีวิญญาณและอุดมการณ์ของตำรวจอย่างซื่อตรงและมั่นคง พร้อมเสมอที่จะสละความสุขส่วนตัว เพื่อสันติสุขของประชาชนอย่างจริงใจและบริสุทธิ์ใจ เพียบพร้อมด้วยขันติธรรมและคุณธรรม สามารถยับยั้งชั่งใจตนเองไม่ให้มัวเมาในอำนาจและลาภผลโดยมิชอบได้อย่างสิ้นเชิง เช่นนี้ย่อมถือว่าท่าน "เป็นตำรวจที่ดีของประชาชน" อย่างแท้จริง
พระบรมราโชวาท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาพระราชทานแก่ตำรวจทั่วประเทศ... ส.สู้ๆ

สำนักพุทธฯ

ร.๑๐ พระราชทานพระราโชวาท เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ๑ เม.ย.๒๕๖๐


สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระราชทานพระราโชวาทแก่ข้าราชการพลเรือน เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ๑ เม.ย. ๒๕๖๐
พระราโชวาท พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน วันเสาร์ที่ ๑ เม.ย. ๒๕๖๐
งานราชการนั้น คืองานของแผ่นดิน มีผลเกี่ยวเนื่องโดยตรงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนทุกคน. ดังนั้น ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานของแผ่นดิน จึงต้องทำความเข้าใจถึงความสำคัญในหน้าที่และความรับผิดชอบของตนให้ถ่องแท้ แล้วร่วมกันคิดร่วมกันทำ ด้วยความอุตสาหะเสียสละ และด้วยความสุจริตจริงใจ โดยถือประโยชน์ที่จะเกิดจากงานเป็นหลักใหญ่. งานของแผ่นดินทุกส่วน จักได้ดำเนินก้าวหน้าไปพร้อมกัน และสำเร็จประโยชน์ที่พึงประสงค์ คือยังความเจริญมั่นคงให้เกิดแก่ประเทศชาติและประชาชนได้แท้จริงและยั่งยืนตลอดไป... ส.สู้ๆ





NCPO

ทหารไทยมีภารกิจล้วน      .เพื่อชาติ
ทั้งรบเพื่อรักษาเอกราช     .ชาติไว้
ยังพัฒนาชาติเพื่อราษฎร์   .ได้อยู่ เป็นสุข
ชาติเจริญมั่นคงทำให้        .ชนะสิ้นสงคราม

ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
9 เมษายน 2560         

".....เป็นที่ทราบกันอยู่ว่าทหารไทยนั้น นอกจากจำทำหน้าที่สู้รบป้องกันประเทศ และธำรงรักษาเอกราชอธิปไตย กับทั้ง
อิสรภาพของชาติไว้ให้สมบูรณ์ยืนยงมาแล้วยังได้ทำหน้าที่พัฒนาบ้านเมืองและชีวิตความเป็นอยู่
ของประชาชน อันเป็นหน้าที่ที่ทุกคนจะต้อง
ปฏิบัติโดยเคร่งครัดอีกประการหนึ่ง
หน้าที่ประการหลังนี้ต้องถือว่าเป็นภารกิจหลัก
อย่างหนึ่งของทหาร เสมอเหมือนถึงการสู้รบ เพราะการพัฒนาให้บ้านเมืองเจริญมั่นคง
ให้ประชาชนเป็นคนดีมีวิชามีสถานะความเป็นอยู่
ที่ดี มีกำลังเข้มแข็งที่จะช่วยตนเอง และรวมกันเป็นปึกแผ่นได้แข็งแกร่งนั้น
สามารถป้องกันระงับเงื่อนไขสงครามและการต่อสู้ เอาชนะความยากไร้และศึกศัตรูภายนอกภายใน
ได้ทั้งหมด....."

พระบรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน และสวนสนาม
ของทหารรักษาพระองค์
วันที่ 3 ธันวาคม 2533

Cr. ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและท่านเจ้าของภาพด้วยครับ
1. แหล่งข้อมูล :  http://www.thaiheritage.net/king/rama9/rama91.htm
2. ที่มาของภาพ :  http://www.alittlebuddha.com/html/Special%20Event/king%27s%20speech%202007_01.html, http://www.thailandlife.com/thai-festivals/coronation-day.html

***หมายเหตุ :
1. ถ้าจะแชร์ ไม่ต้องขออนุญาตครับ
แต่โปรดอ้างที่มาให้ชัดเจน
2. หากจะวิจารณ์โปรดใช้คำสุภาพด้วยครับ
และโปรดสะกดคำให้ถูกต้อง

Red Devils


ลีกวนยู

.

Golden mountain

Buddhist is non profit organization. ส.สู้ๆ

ภูเขาทอง

.

ความหวังใหม่

ชื่อว่า "คนอิ่ม" หมายถึงอิ่มจนปิดปาก กินไม่เข้า
เพราะได้ดื่มกินวิมุติภาพเข้าไปจนอ้วนพี
อิ่มเอมด้วยความสุข เกินกว่าจะเปิดปากกินตัณหาเข้าไปลงคอได้อีก
นี่คือ "อิ่ม" จนไม่อยากกินเหยื่อในโลกอีก ไม่ว่าเหยื่อชนิดไหนหมด

************************

ธมฺมปีติ สุขํ เสติ - ผู้อิ่มในธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข
                                   -พุทธพจน์-
หลักกรรมเป็นหลักธรรมที่ลึกซึ้ง พอพูดถึงความหมายที่ลึกซึ้ง ก็กลายเป็นเรื่องเกี่ยวเข้าไปถึงหลักใหญ่ๆ โดยเฉพาะปฏิจจสมุปบาท

     ...ต้องมองเข้าไปถึงกระบวนการทำงานในจิตใจ และผลที่เกิดขึ้นในจิตใจแต่ละขณะๆ ทีเดียว ความหมายที่แท้จริงของกรรมมุ่งเอาที่นั่น คือความเป็นไปในจิตใจของแต่ละคน แต่ละขณะ กรรมที่จะแสดงออกมา ทางกาย ทางวาจาอะไรๆ ก็ต้องเริ่มขึ้นในใจก่อนทั้งนั้น

     ...ถ้าทำความเข้าใจกันในเรื่องนี้ให้ชัดแจ้งแล้ว เราจะมองเห็นว่ากรรมเกี่ยวพันกับชีวิตของเราอย่างชัดเจนอยู่ตลอดเวลาทุกขณะ...

     ...หลักกรรมเป็นกฎธรรมชาติ เป็นหลักแห่งความจริง มันก็ไม่ใช่เรื่องที่ว่าทำอย่างไรจะเชื่อ แต่กลายเป็นว่าทำอย่างไรจึงจะรู้จึงจะเข้าใจ...

โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

ขอคัดค้านคำกล่าวที่ว่า "งานคือเงิน - เงินคืองาน"
ว่าเป็นคำกล่าวที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักพุทธศาสนา
ซึ่งสอนให้ทำงานในฐานะเป็น"หน้าที่"ที่ถูกต้อง
สำหรับสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิด
มิใช่ ทำเพื่อหาเงินมาปรนเปรอชีวิต
ให้หลงระเริงในอบายมุข หรือความเริงรมย์ต่างๆ
ซึ่งเป็นเรื่อง "บ้าวูบเดียว"

-พุทธทาสภิกขุ-

ไทยรักไทย

.

Hot news


ผู้นำศาสนาต่างๆ


ใต้ร่มเย็น


Religion


มืดมา อิ่มไป

นอกจากเรื่องอิทธิปาฏิหารย์แล้ว วงการศาสนาและผู้คนที่เข้ามาสัมผัสกับศาสนา มักจะโน้มเอียงไปทางด้านความรู้สึกหรือในเรื่องที่เป็นด้านอารมณ์มาก คือชื่นชมหรือไปติดอยู่กับความรู้สึกที่ดีๆ อย่างลึกซึ้งดื่มด่ำหรือรุนแรง โดยเฉพาะ

๑. ศรัทธา เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง เลื่อมใส เชื่อมั่น มีกำลังใจ ขนลุกขนพอง ตื่นเต้น อัศจรรย์ เห็นตาม คล้อยตาม จนถึงยึดมั่นว่าจะต้องให้เป็นอย่างนั้น

๒. สุขซึ้ง มีความรู้สึกอิ่มใจ เอิบอาบซาบซ่าน ดื่มด่ำ รู้สึกว่าเข้าถึงอะไรบางอย่าง และเป็นสุขอย่างลึกซึ้ง

ความรู้สึก ๒ อย่างนี้ เป็นคุณค่าทางจิตใจ ที่ดีงาม เป็นประโยชน์แก่ชีวิตอย่างสูง เป็นจุดเด่นของความรู้สึกทางศาสนา แต่ก็มีด้านลบที่เป็นโทษด้วย และบ่อยทีเดียวที่โทษร้ายแรงอย่างคาดคิดไม่ถึง

ศรัทธาที่แรงกล้า อาจหลงงมงาย และกลายเป็นความยึดมั่นรุนแรง จนถึงกับเขม้นหมายว่าจะต้องให้เป็นอย่างที่ตนเชื่อ อาจถึงกับไปบังคับข่มคนอื่นให้เชื่อตาม หรือเชื่อจนไม่คิดพิจารณา เขาจะบอกให้ทำอะไร ก็ทำได้ทุกอย่าง จะไปรบราฆ่าฟันทำสงครามอย่างไรก็ได้ ดังที่ได้เกิดสงครามศาสนาที่โหดเหี้ยมร้ายแรงกันเรื่อยมาตลอดประวัติศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในซีกโลกตะวันตก

ความรู้สึกสุขอย่างลึกซึ้ง ดื่มด่ำเอิบอาบทั่วสรรพางค์ อาจส่งผลไปเสริมศรัทธาให้มั่นยิ่งขึ้น บางทีก็ทำให้หลงผิด เข้าใจว่าตนได้บรรลุผลวิเศษที่เป็นจุดหมายอย่างนั้นๆ เช่น เป็นนิพพานหรือแล้วแต่อาจารย์หรือผู้สอนจะบอก อาจทำให้หลงเพลิดเพลินอยากปลีกตัวไม่ยุ่งกับใคร หรือปล่อยทิ้งกิจการงาน หรือลืมปัญหา ใช้เป็นที่หลบทุกข์ และตกอยู่ในความประมาท

(คัดลอกจากหนังสือ กรณีธรรมกาย โดย พระพรหมคุณาภรณ์ ป. อ. ปยุตฺโต หน้า ๑๘๐-๑๘๑)

อิ่มมา มืดไป


สว่างมา สว่างไป


มืดมา มืดไป


ศรแดง ISIS


ไอสิส


หลีโชติ หัวถนน


แดง เทพเทพา

ทำไมพระพุทธศาสนาจึงเสื่อมสูญไปจากประเทศอินเดีย ก็่ไม่ใซ่ว่ามีคนอื่นมารังแกอะไร หามิได้ มาในตอนปลายเรียกว่าอิสลามรังแกบ้าง แต่ส่วนสำคัญที่สุดนั้น ก็คือว่า พระเราไม่ยืนหยัดอยู่ในหลักการของ พระพุทธศาสนา พูดตามภาษาปัจจุบันว่า ใม่มีจุดยืนที่แน่นอน จุดยืนแน่นอนไม่มี แต่ว่ากวัดแกว่งไปตามอารมณ์คน อารมณ์โลก
.
ต้องการจะเอาพวกมาก ต้องการเอาบริษัท ต้องการลาภสักการะจากคนเหล่านั้นๆ เลยโน้มเอียงไปตามความต้องการของคน คนต้องการอะไร ก็ทำสิ่งนั้นให้ ทำหนักเข้าๆ ชาวบ้านก็มองเห็นว่า พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนานี่เหมือนกับนักบวชพราหมณ์ คือเหมือนกับนักบวชพราหมณ์ทั้งหลายที่มีอยู่ก่อนยุคพระพุทธเจ้า พราหมณ์ทำไสยศาสตร์ ทำน้ำมนต์ สวดวิงวอน บนบานศาลกล่าว เซ่นเจ้า เซ่นผี ไหว้เทวดา
.
พระสงฆ์ก็ทำอย่างนั้น เมื่อทำเหมือนกับพราหมณ์แล้ว ก็มีพราหมณ์มาก่อนพระพุทธเจ้า ก่อนพระสงฆ์ แล้วทำไมเราจะต้องมานับถือพระสงฆ์อีก นับถือพราหมณ์แบบเดิมดีกว่า เพราะเหมือนกันแล้ว เลยหมดเท่านั้นเอง คือหมดไปจากอินเดีย ก็เพราะว่าพระเราลดตัวลงไปทำทุกอย่างที่พราหมณ์กระทำ
.
จนชาวบ้านเห็นว่าพระกับพราหมณ์เหมือนกันเสียแล้ว แล้วก็เลยไม่นับถือพระ ไม่สนใจพระต่อไป พระก็เลยหายไปจากประเทศอินเดีย ไม่มีพระเหลืออยู่ เวลานี้พึ่งแตกหน่อใหม่ขึ้นมาบ้างไม่กี่หน่อ เพราะว่าเอาพันธุ์ไปจากลังกาบ้าง ไปจากประเทศไทยบ้าง ได้ไปปลูกไปเพาะ ให้เกิดเชื้อขึ้นในประเทศอินเดีย นี่คือการสูญพันธุ์
.
ในบ้านเมืองของเราเวลานี้ เรียกว่ามีพันธุ์นักบวชอยู่ แต่ว่าพันธุ์ปลอมก็มี พันธุ์แท้ก็มี มันก็จะทำให้เสื่อมต่อไปเหมือนกัน ถ้าเราอยู่กันในรูปส่งเสริมความเชื่องมงาย ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา ต่อไปคนก็จะเสื่อมศรัทธามากขึ้น โดยเฉพาะคนใหม่ๆ
.
ในยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าในวิชาการ ไม่มีความเชื่ออย่างนั้น เขาก็มองเห็นว่า นักบวชในพระพุทธศาสนานี่ไม่ได้เรื่องอะไร เพราะไปทำสิงที่นอกเรี่องนอกราวของพระพุทธศาสนา คนเหล่านั้นก็จะไม่เข้าวัด ไม่ฟังธรรม ไม่ศึกษาพระศาสนา จิตใจก็จะห่างจากหลักธรรมะ สังคมก็อยู่ในความมืดบอด
.
เหตุที่จะทำให้เกิดความมืดบอดก็เพราะว่า เราเอาน้ำมันปลอมมาใส่ตะเกียง ควันมันก็โขมงขึ้นมา ปิดบังดวงตาคนไม่ให้รู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งที่ถูกต้อง ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา อันนี้คือความผิด เป็นสิ่งที่เราควรจะช่วยกันปรับปรุง แก้ไข ไม่ให้เกิดขึ้นในวงการของพุทธบริษัทต่อไป นี่เรื่องหนึ่ง
.
อีกเรื่องหนึ่งที่เราเห็นว่า มีคนหลงใหลใฝ่ฝันกันอยู่ เช่นเรื่องการทรงเจ้าเข้าผีอะไรต่างๆ เชิญวิญญาณเข้าทรงอย่างนั้น อย่างนี้ ไม่มีอะไรเป็นเครื่องพิสูจน์ ว่าวิญญาณของผู้นั้นผู้นี้มาเข้าทรงจริงหรือไม่ การทรงเจ้าเข้าผีนั้น
.
อยากจะบอกให้ญาติโยมรู้ไว้ แล้วก็บอกต่อๆ กันไปว่า ไม่ใช่วิธีการของพระพุทธศาสนา ไม่ใช่หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะไม่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ บทใดในพระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนา ว่าให้ภิกษุไปทรงเจ้าเข้าผี ไปเชิญวิญญาณเข้ามาสิงสู่ แล้วก็สนทนาอะไรๆ กับคนที่ต้องการจะรู้จะเข้าใจ
.
พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เรากระทำอย่างนั้น ไม่มีหลักการอย่างนั้นในวงการพระศาสนา เรื่องทรงเจ้าเข้าผีทั้งหลายทั้งปวงนั้น ความจริงก็เป็นเรื่องการสกดจิตของบุคคลผู้นั้นเอง เพียงให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วก็เป็นไปตามที่เขาต้องการ เขาสร้างขึ้น สร้างอำนาจจิตขึ้น แล้วก็พูดไปตามอำนาจของความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจในขณะนั้น
.
คนฟังก็ไปเชื่อ เพราะว่าคนที่ไปนั้นเชื่อไปตั้งแต่บ้านแล้ว ไม่ได้ใส่แว่นไปด้วย ไม่ได้เอาปัญญาไปด้วย สุดแล้วแต่เขาทำอะไรก็เชื่อมันทั้งหมด เจ้าว่าอย่างนั้น เจ้าพ่อว่าอย่างนั้น เจ้าพ่อว่าอย่างนี้ ก็หลงเชื่อไป กลายเป็นเหยื่อของคนทรงเจ้าเข้าผี หรือของคณะที่ทรงเจ้าเข้าผี ที่จะเรียกร้องเอาอะไรจากคนนั้นได้โดยไม่ลำบากใจ เพราะคนเราถ้าเชื่อแล้วมันทำได้ทั้งนั้น
.
ดูข่าวเมื่อปีก่อนโน้น คนอเมริกันที่ไปฆ่าตัวตายที่ประเทศกาน่า จำนวนเท่าไร เป็นร้อยๆ ฆ่าตัวตายตามคำสังของผู้ที่เป็นผู้นำในศาสนา ให้ฆ่าตัวตาย เพื่อชีวิตที่ดีกว่าต่อไป คนเหล่านั้นมันเชื่อด้วยความงมงาย ไม่ได้คิดมาก มีแต่ความเชื่อ หลับหู หลับตาเชื่อ สุดแล้วแต่เขาจะจูงไปในทางไหน ผลที่สุดเขาให้ฆ่าตัวตายมันก็ยอมฆ่าตัวตาย อันนี้คือความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงกับหลักการในทางพระพุทธศาสนา
.
พระพุทธเจ้าของเราสอนความเชื่อเหมือนกัน แต่พระองค์บอกว่า ต้องเชื่อด้วยปัญญา ไม่ได้เชื่อด้วยความงมงาย ไม่ได้เชื่อง่าย เชื่อดาย ตามที่เขาแสดง เขาทำให้เราดู แต่เราจะต้องเอาไปคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ว่าสิ่งนั้นมันจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
.
แล้วจึงจะปลงใจเชี่อลงไป แต่ว่าในเบื้องต้นนั้น เราควรจะมีความเชื่อเป็นหลักประจำจิตใจว่า สิ่งใดที่ไม่มีอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้า สิ่งนั้นไม่ใช่พระพุทธศาสนา ให้ถือหลักอันนี้ไว้ก่อน ว่าสิ่งใดที่ไม่มีอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้า สิ่งนั้นไม่ใช่พุทธศาสนา สิ่งใดที่ไม่ใช่พุทธศาสนา เราผู้เป็นพุทธบริษัท จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง จะไม่เข้าไปยุ่ง จะไม่ไปสนใจ ไม่ไปหา ไม่ไปทำอะไรกับคนเหล่านั้น เราไม่ยอมไป เราไม่ยอมโง่กับคนพวกนั้น
.
อันนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เรา ตกเป็นเหยื่อของนักต้มมนุษย์ทั้งหลาย ที่อาศัยผี อาศัยเจ้า หรืออาศัยวิญญาณของใครๆ มาทรง แล้วก็ว่ากันไปตามเรื่องตามราว เราจะไม่ตกเป็นเหยื่อของคนเหล่านั้น เพราะเราไม่ยอมหลับหูหลับตาเชื่อ เราเชื่อมัน ในพระพุทธเจ้า เชื่อมั่นในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ใครเขาทำอะไรกันที่ไหน เราไม่ไป เพราะไปมันไม่ได้อะไร ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ไม่ใช่ทางจะดับกิเลส ไม่ใช่ทางที่จะให้ถึงจุดหมายปลายทาง คือนิพพาน
.
เราก็ไม่ไป ไม่ต้องเสียเวลา ไม่ต้องเสียเงินทอง ในการที่จะไปเอาสิ่งเหล่านั้น ไปหาสิ่งเหล่านั้น ไปถึงพวกนั้นก็ว่า คนโง่มาอีกหมู่หนึ่งแล้ว เขาก็ยิ้มเยาะ ยิ้มเยาะเราที่ไปหา มาให้กูต้มอีกแล้ว แล้วมันก็ต้มตามชอบใจ ขูดตามชอบใจ มันเสียศักดิ์ศรีของความเป็นพุทธบริษัท เสียศักดิ์ศรีของปัญญาชน ที่ไปให้พวกทรงเจ้าเข้าผีต้มยำได้ตามชอบใจ เป็นเรื่องที่ไม่สมควร
.
ยิ่งเป็นพระสงฆ์องค์เจ้าแล้วละก็ ยิ่งไม่สมควรเป็่นการใหญ่ เขาจะนิมนต์ไปทำพิธีอะไรที่มันไม่ใช่เรื่องของพระพุทธศาสนา เราก็ไม่ควรกระทำ ไม่ควรไปร่วมมือกระทำกับคนเหล่านั้น เราควรกล้าที่จะพูดกับใครๆ เสียบ้างว่า สิ่งนั้นมันไม่ใช่เรื่องพระพุทธศาสนา ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า
.
ฉันเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า จะให้ไปทำอะไรที่ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ฉันกระดาก ฉันอายในความเป็นพุทธบริษัทของฉัน เราก็ไม่ต้องไป แม้จะได้ลาภสักการะ ได้จากการ ไปทำพิธีอย่างนั้น มันไม่พอกืนอะไร เราไม่ทำก็ยังไม่ตาย เรายังมีข้าวฉัน มีกุฏิอยู่ มียาแก้โรค มีปัจจัยสี่ใช้ ทำไมจะต้องไปนั่งรับจ้างทำสิ่งโง่ๆ กับคนโง่ๆ ทั้งหลายเหล่านั้น อันนี้มันน่าคิด
.
ความจริงควรจะคิดอย่างนั้น ถ้าเราคิดอย่างนั้น พระศาสนาของเราจะสดใสขึ้น จะก้าวหน้าขึ้น เพราะเราไม่ยอมทำอะไรแบบโง่ๆ ให้คนทั้งหลายที่มาขอให้เรากระทำ เราไม่ทำสี่งเหล่านั้น เพราะเราถือว่า ไม่ใช่แนวปฏิบัติตามหลักพระธรรมคำสอนในทางพระศาสนา ก็ไม่มีเรื่องอะไรที่จะเสียหาย
.
เหมือนกับสำนักที่ล่มไปนั้น มีพระไปอยู่หลายรูป พระเหล่านั้นขาดการศึกษา ไม่มีปัญญา ไม่มีความรู้ในเรื่องอะไร ไปตามความโง่เท่านั้นเอง ไปอยู่ก็มีอาหารกินสบาย มีอะไรสะดวก ก็เลยอยู่มันต่อไป อยู่ให้มันโง่ต่อไป จนกระทั่งสำนักล้มไปแล้ว ก็ใด้ออกไปหาที่อืนอยู่ต่อไป อย่างนี้มันก็มี

หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ