ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

รัฐปลดล๊อก ไม้มีค่าในเขตที่ดินตัวเองตัดได้โดยไม่ต้องขออนุญาตป่าไม้

เริ่มโดย ฅนสองเล, 09:02 น. 09 ส.ค 61

ฅนสองเล

ที่มา ไทยคู่ฟ้า

"ไม้มีค่าตัดได้" กฎหมายที่หลายคนรอคอย

ก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างกฎหมายอนุญาตให้ประชาชนสามารถใช้ต้นไม้ยืนต้นมีค่าเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้ เช่น ไม้สัก ไม้พะยูง ชิงชัน แดง เต็ง รัง ตะเคียน สะเดา นางพญาเสือโคร่ง ฯลฯ

ล่าสุด ได้อนุมัติร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกัน และเป็นกฎหมายที่หลายคนรอคอยโดยเฉพาะผู้ที่ปลูกไม้หวงห้ามในที่ดินของตนแต่ไม่สามารถทำไม้เพื่อใช้ประโยชน์ได้ นั่นคือ ร่าง พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ซึ่งรัฐบาลตั้งใจจะปลดล็อคข้อจำกัดของ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484

แล้ว พ.ร.บ.ป่าไม้ ปี 2484 เขาว่าอย่างไร??

พ.ร.บ.ป่าไม้ ปี 2484 กำหนดให้ ไม้หวงห้ามประเภท ก. ซึ่งได้แก่

"ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พยุงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้ซิก ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พะยูง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ ไม้อีเฒ่า และไม้เก็ดเขาควาย"

ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ในที่ใด ๆ ก็ตามในราชอาณาจักร ถือเป็นไม้หวงห้ามทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าเราจะทำไม้ (เช่น ตัด ฟัน กาน โค่น ลิดเลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด ชักลาก) หรือนำไม้ออกจากพื้นที่ จะต้องทำเรื่องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อน ซึ่งขั้นตอนนั้นค่อนข้างยุ่งยาก ทำให้เจ้าของต้นไม้เสียโอกาสใช้ประโยชน์จากต้นไม้หรือไม่สามารถนำไปเป็นอาชีพได้

วันนี้รัฐบาลแก้กฎหมายใหม่โดยกำหนดให้ "ไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินมีกรรมสิทธิ์ หรือ สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม" จึงทำให้...การทำไม้ไม่ต้องทำเรื่องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่อีกต่อไป

ประโยชน์ที่เกิดขึ้น คืออะไร?

เมื่อกฎหมายประกาศใช้แล้ว ประชาชนสามารถปลูกต้นไม้ยืนต้นมีค่าในที่ดินของตนเอง เพื่อทำป่าเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้ตนเอง หรือส่งออกนำรายได้เข้าประเทศ และที่สำคัญจะช่วยให้การตัดไม้ทำลายป่าตามธรรมชาติลดลงไปด้วยเพราะคนมีทางเลือกอื่น ดังนั้น ประเทศไทยจะมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ไม้ยืนต้นมีค่าที่จะนำไปซื้อขายแปรรูปนั้น เป็นไม้มีค่าถูกกฎหมายที่อยู่ในที่ดินกรรมสิทธิ์จริง หลังจากกฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้ประกาศใช้แล้ว กรมป่าไม้จะไปกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้มีความสมบูรณ์ต่อไป

ตอบกลับอย่างรวดเร็ว

ชื่อ:
การยืนยัน:
กรุณาเว้นช่องนี้ว่างไว้:
พยัญชนะไทยตัวที่สอง:
shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง