ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ทำไม "ตักบาตร ห้ามถามพระ"

เริ่มโดย อรัญญวาสี, 21:39 น. 30 ม.ค 55

คุณหลวง

    แล้วแต่มติใครครับ ว่าเป็นบาปหรือไม่ พวกที่ต้องการก็มีเหตุผลที่น่าฟัง พวกที่ไม่อยากเอาก็มีเหตุผลดีๆ แต่ในความเห็นของผมนั้น เห็นว่าไม่ควรครับ แต่คนที่ใส่คงมีเจตนาเป็นบุญ ก็ต้องได้บุญ เพียงแต่น้อยมากแค่ไหนแหละครับ พระท่านเปรียบบุญที่เราทำเป็นข้าวพันธุ์ พระเป็นนาบุญ

ข้าวพันธุ์ดี นาดี ก็ผลดี
ข้าวพันธุ์ดี นาไม่ดี ได้ผลน้อย
ข้าวพันธุ์ไม่ดี นาดี มีผลพอสมควร
ข้าวพันธุ์ไม่ดี นาไม่ดี ได้ผลน้อยที่สุด

    ส่วนเรื่องว่า พระควรรับเงินหรือไม่ ตามวินัยบัญญัติ ห้ามรับ ห้ามยินดีเลยครับ แต่สมัยนี้ ผมว่า มันจำเป็นต้องมีไว้บ้างในความจำเป็น แต่ไม่ใช่แบบที่แสวงหา สะสม ทำเป็นอาชีพหาเงินเลี้ยงเมีย เลี้ยงอีหนู อย่างนี้ก็ไม่ควรอย่างยิ่งที่สุด

    อย่างหลวงปู่พุทธอิสระ ท่านอนุญาตให้ลูกศิษย์ท่านมีไว้ไม่เกิน 100 บาท หากได้มากกว่านั้นให้สละทันที เพื่อความสะดวกในกรณีจำเป็น แต่นั่นก็หมายความว่า ท่านเป็นผู้รับผิดชอบกรณีที่ใช้เงินมาก เช่น การที่พระต้องเข้าโรงพยาบาล เป็นต้น

    สมัยนี้ พระท่านไม่มีลูกโยมคอยถือเงิน จ่ายค่ารถ ค่าอะไรๆแบบสมัยก่อนแล้วครับ รถที่จะให้พระขึ้นฟรีไม่คิดตังค์ก็ไม่มีแล้วกระมัง แต่เด็กรถหลายคนก็ไม่เก็บเงินพระ และท่านก็ต้องมีธุระเดินทาง ซื้อของจำเป็นบ้างอยู่ดี เลือกครับ เลือกถวายเลือกศรัทธาเอาเอง ศรัทธาเป็นของเรา ทรัพย์ของเรา ควรให้แก่ผู้ที่ควรได้รับครับผม

    ส่วนพระที่ออกมายืนนิ่งๆรอรับบิณฑบาต ไม่ว่าที่ไหนที่เป็นโคจร(เหมาะสม)แก่สมณะก็ควรครับ ไม่ควรก็หากท่านยืนเหลียวไปเหลียวมา เท้าสะเอว พูดมาก ปากว่าอยากกินนั่นนี่ ฯลฯ นี่ไม่สมควรครับ



สะบายดี
คุณหลวง
๑๐๑๐/๐๖/๐๒/๒๕๕๕
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

สงสัยครับท่าน

 ส.ดุดุขำขำ รบกวนคุณหลวงช่วยตอบด้วยครับ

มีอีกเคส มีพระอุ้มบาตรเดินมาช่วงเช้า ไม่อาจทราบได้ว่าพระรูปนั้นจะมาบิณฑบาตร หรือ จะมาขอ..........
มาหยุดอยู่ตามร้านค้ายืนอุ้มบาตรยืนนิ่ง โดยญาติโยมไม่ได้นิมนต์
ตามบทบัญญัติของพฤติกรรมของพระเหล่านี้ปฏิบัติถูกต้องไหมครับ

เพราะผมรู้มาว่า การที่ญาติโยมจะบิณฑบาตร จะต้องนิมนต์พระท่านเหล่านี้ก่อน ให้มารับบิณฑบาตร ถึงจะถูกต้อง
ความคิดนี้ผิดถูกอย่างไรครับ

ขอบคุณมากครับท่าน  ส.ยกน้ิวให้

คุณหลวง

อ้างจาก: สงสัยครับท่าน เมื่อ 11:46 น.  06 ก.พ 55
ส.ดุดุขำขำ รบกวนคุณหลวงช่วยตอบด้วยครับ

มีอีกเคส มีพระอุ้มบาตรเดินมาช่วงเช้า ไม่อาจทราบได้ว่าพระรูปนั้นจะมาบิณฑบาตร หรือ จะมาขอ..........
มาหยุดอยู่ตามร้านค้ายืนอุ้มบาตรยืนนิ่ง โดยญาติโยมไม่ได้นิมนต์
ตามบทบัญญัติของพฤติกรรมของพระเหล่านี้ปฏิบัติถูกต้องไหมครับ

เพราะผมรู้มาว่า การที่ญาติโยมจะบิณฑบาตร จะต้องนิมนต์พระท่านเหล่านี้ก่อน ให้มารับบิณฑบาตร ถึงจะถูกต้อง
ความคิดนี้ผิดถูกอย่างไรครับ

ขอบคุณมากครับท่าน  ส.ยกน้ิวให้

หรือ จะมาขอ..........ไม่ทราบว่า.........มีความหมายว่าอย่างไรครับ??

    การที่พระเพิ่งมาในที่ใหม่ๆ การบิณฑบาตจะเป็นไปในลักษณะที่ว่าครับ คือ ไปหยุดยืนอย่างสงบอยู่ในที่ที่คาดว่าจะมีคนให้ หากยืนระยะหนึ่งแล้วไม่มีปฏิกิริยาใดจากชาวบ้านก็ควรจากไปอย่างสงบ  นั่นเป็นลักษณะการขอของสมณะครับผม แต่หากไปยืนชวนคุย ชี้ชวนให้ให้ของแก่ตน นี่เป็นลักษณะขอทานครับ มิใช่สมณะ

    สมณะนั้นจะขอโดยไม่ขอ

    การที่ญาติโยมมีเจตนาถวายท่าน แล้วนิมนต์ให้ท่านหยุดรับนั้นถูกต้องครับ แต่การที่ญาติโยมจะบิณฑบาต(คำว่าบิณฑบาตนั้น ไม่มีร.เรือครับจึงถูกหลักภาษาไทย แต่คำว่าบาตรนั้นต้องมีร.เรือครับ ถ้าถามว่าทำไม ผมไม่ทราบครับต้องถามราชบัณฑิตสถาน(มั้ง)) แต่การที่ญาติโยมจะบิณฑบาตนั้นจะต้องบวชก่อนครับ  ส.กลิ้ง

สะบายดี...
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

คนค้าแก้ว

สมณะนั้นจะขอโดยไม่ขอ ถ้าสมณะมายืนหน้าบ้านสักครู่แล้วเอ่ยถามว่าโยมไม่ใส่บาตรเหรออย่างนี้เรียกว่าขอใช่มั๊ยครับคุณหลวง แล้วมาก็ตอนเกือบแปดโมงอย่างนี้เรียกท่านว่าเป็นสมณะสงฆ์อยู่รึเปล่า
อีกข้อนะครับคุณหลวงที่พี่บอกว่าเวลาเราทำบุญอยู่ที่เนื้อนาบุญด้วยอย่างนี้เราก็ต้องเลือกทำบุญซิครับ จะใส่บาตรก็ต้องเลือกพระ หรือเวลาไปทำสังฆทานก็ต้องเลือกวัดเลือพระด้วยรึเปล่าครับพี่
ไม่ต้องบินสูงอย่างใครเขา จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร แต่บินไปให้ถึงฝันเท่านั้นพอ

คุณหลวง

อ้างจาก: คนค้าแก้ว เมื่อ 21:51 น.  06 ก.พ 55
สมณะนั้นจะขอโดยไม่ขอ ถ้าสมณะมายืนหน้าบ้านสักครู่แล้วเอ่ยถามว่าโยมไม่ใส่บาตรเหรออย่างนี้เรียกว่าขอใช่มั๊ยครับคุณหลวง แล้วมาก็ตอนเกือบแปดโมงอย่างนี้เรียกท่านว่าเป็นสมณะสงฆ์อยู่รึเปล่า
อีกข้อนะครับคุณหลวงที่พี่บอกว่าเวลาเราทำบุญอยู่ที่เนื้อนาบุญด้วยอย่างนี้เราก็ต้องเลือกทำบุญซิครับ จะใส่บาตรก็ต้องเลือกพระ หรือเวลาไปทำสังฆทานก็ต้องเลือกวัดเลือพระด้วยรึเปล่าครับพี่

    ถ้าเป็นบ้านที่ใส่บาตรกันประจำผูกขาดจนสนิทกันพอควรนั้น พระรูปนั้นก็อาจถามได้ครับ มองในแง่ดีคือท่านถามไถ่เผื่อว่าคนที่ทำหน้าที่ประจำทำไมจึงไม่ใส่บาตร ป่วยหรือเปล่า เป็นความเอื้ออาทรกันแห่งสังคมไทยครับ แต่ปกติวิสัยสมณะก็ไม่ควรถามหาของกินอย่างนั้นครับ เมื่อรอสักครู่ คิดว่าไม่ได้ก็จากไปเงียบๆ หากถามข่าวคราวใครก็สามารถถามตรงๆไปได้ ไม่ควรถามแสดงอาการจะเอาอย่างนั้น มันผิดวิสัยสมณะ ผิดประเพณีนักบวชที่ดีครับ

    ส่วนมาเกือบแปดโมงก็ไม่แปลกครับ ท่านอาจจะมาไกล หรือมีเหตุขัดข้อง หรือเจตนาไม่ดี ก็ต้องดูเอาเองครับ โบราณนั้น พระท่านออกบิณฑบาตเวลาใดก็ได้ก่อนตะวันตรงหัว ท่านอาจจะออกสิบโมงก็ได้ รับมาแค่พอฉัน แต่สมัยปัจจุบันก็ต่างออกมา เพราะการออกบิณฑบาตตอนสายไปนั้นไม่เหมาะสมครับ

    สมัยบวช ผมเคยตื่นสาย ออกบิณฑบาตเกือบแปดโมง ไปนี่ญาติโยมสะดุ้ง "อ้าว ยังมาอีกเหรอ" เราก็ได้แต่ยิ้ม อายเหมือนกัน มีคนนึงถามว่า ทำไมมาสายจัง ก็บอกว่า นอนเพิ่งตื่น แกหัวเราะใหญ่เลย ว่าพระตื่นสายได้เหรอ ก็ตอบไปว่า คนธรรมดาๆที่ทำหน้าที่ต่างกันเท่านั้น ที่ตัดสินใจออกไปวันนั้นเพื่อดัดนิสัยตัวเองครับ อายจะได้จำ ท่านรูปนั้นอาจจะทำอย่างเดียวกับผมก็ได้ครับ

    การทำบุญก็ควรเลือกนาบุญถูกต้องแล้วครับ พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญผู้ที่รู้จักพิจารณาก่อนศรัทธา ทรัพย์เราได้มาอย่างลำบากก็ควรทำเพื่อผลที่คุ้มค่ากัน แต่ไม่ใช่เลือกมากจนไม่ทำนะครับ อย่าเอาดีมากเกินไป เพราะบางทีความชอบเราอาจจะผิดจริตกันกับท่าน เลยมองสิ่งธรรมดาๆของท่าน(แต่เราไม่ชอบ)เป็นไม่ดีไปเสียก็มี การเลือกศรัทธาเลือกทำบุญกับพระที่ดีก็เป็นการกำราบพระที่ไม่ดีไปในตัวด้วย

    แต่ก็นะ อย่าช่างติจนจิตเศร้าหมองเวลาทำบุญนะครับ เมื่อลงใจว่าทำแล้วจงทำ แม้ขณะไปทำพบเจอสิ่งไม่ชอบ อย่าเพิ่งถอย ทำจิตให้มั่นแล้วทำ ค่อยมาสอบสวนสิ่งคาใจทีหลัง เพราะการที่เราติมากจนไม่ทำ หรือเลิกล้มความตั้งใจกลางคันจะเป็นการสร้างนิสัยช่างติและเลิกทำดีระหว่างกลางหากทำบ่อยๆ

    นอกจากการเลือกนาบุญแล้ว ผมยังคิดว่าเราควรมีส่วนพัฒนานาบุญของเราเช่นกัน นาบุญทุกวันนี้ยินดีกับวัชพืชมากเกิินไปเสียแล้ว ที่ร่วมกันแก้ได้ก็ควร ที่แก้ไม่ได้ทิ้งไปบ้างก็ดี ก็เป็นความเห็นของผมครับ พิจารณาดู


สะบายดี...
คุณหลวง
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

อรัญญวาสี

ในช่วงย้ำรุ่งพระท่านจะรักษาผ้าครอง
เมื่อแสงเงินแสงทองทอแสง พอเห็นลายมือ ก็วางผ้าครองได้
จากนั้นก็ออกบิณฑบาตทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการหรือวันพระ
ออกบิณฑบาต พึงรับแต่อาหาร รับแต่พอฉัน

แต่ สงสัยอย่างหนึ่ง
พระควรให้พรหลังญาติโยมใส่บาตรหรือไม่ อย่างไร

ตักบาตรเสร็จแล้ว ควรเฉย ๆ เดินไปเลย หรือท่องอะไรให้ญาติโยมพอเป็นพิธีการสักเล็กน้อย

คุณหลวง

ความจริง การรักษาผ้าครองนี่ เป็นสิ่งที่ต้องทำตลอด ๒๔ ชั่วโมงครับ

    อย่างการที่ภิกษุต้องพินทุ(ทำตำหนิ)ที่จีวร สบง สังฆาฏิของท่านนั้นก็เป็นการรักษาผ้าครองอย่างหนึ่ง เพื่อไม่สับสนกันและกัน มูลเหตุมาจากการที่ภิกษุไปสรงน้ำพร้อมกันหลายรูปที่สระน้ำ ทีนี้ เมื่อพระอานนท์สรงเสร็จก็ขึ้นมาครองผ้า บังเอิญว่าผ้าของท่านและผ้าของภิกษุอีกรูปนั้นมีลักษณะคล้ายกันมากและวางไว้ติดๆกัน ท่านอานนท์จึงหยิบผิด

    ภิกษุรูปเจ้าของจีวรเมื่อเห็นจีวรของตนหายก็โจทย์พระอานนท์ว่าเป็นขโมย นำความขึ้นฟ้องพระพุทธองค์ เมื่อไต่สวนชัดเจนแล้ว พระพุทธองค์จึงบัญญัติให้ภิกษุทุกรูปต้องทำตำหนิที่จีวรของตนไว้เพื่อเป็นเครื่องหมาย

    สมัยก่อนยังมีการขโมยผ้ากันนะครับ เพราะว่าเป็นสิ่งที่หาไำด้ยาก ยาจกวณิพก คนจนที่ไม่มีผ้าใช้ ยามหนาวยามต้องการก็อาจขโมยเอา ดังนั้น จึงต้องระมัดระวังกันตลอด เพียงแต่ว่ากลางคืนนั้นเป็นโอกาสเผลอได้มากที่สุด และหายบ่อยที่สุด พระองค์จึงบัญญัติว่า ยามกลางคืนให้ผ้าครองทั้งสามอยู่ใกล้ตัวไม่เกินศอกหนึ่งเสมอ เพื่อป้องกันการสูญหาย
แม้การวางไว้ในกุฏิที่ไม่ล็อคกุญแจก็ไม่ควรครับ

    เราจึงเห็นพระสายวัดป่าที่เคร่งครัดจะพาดสังฆาฏิไปด้วยเสมอ แม้ยามบิณฑบาต แม้สมัยปัจจุบัน(บ้านเรา)ไม่มีขโมยผ้ากันก็ตาม

    ส่วนการออกรับบิณฑบาตนั้นไม่บัญญัติว่าจะต้องไปทุกวันครับ วันที่มีกิจนิมนต์ วันที่สำคัญมีคนมาถวายที่วัดอย่างวันพระก็สามารถงดเว้นได้ เว้นแต่ภิกษุผู้ถือธุดงค์องค์แห่งการบิณฑบาตเป็นวัตร ท่านจะไม่หยุด และรับแต่พอฉันเพื่อมิต้องรบกวนญาติโยมมากจนเกินไป แต่สมัยนี้มีผู้ตักบาตรจำนวนมาก ท่านก็อาจจำเป็นต้องรับ และบ้านเราก็มีความอุดมสมบูรณ์กว่าอินเดียครั้งพุทธกาล ผู้คนศรัทธามาก

    ส่วนในเรื่องการให้พรหรือไม่นั้น ผมว่าแล้วแต่ภิกษุรูปนั้นๆมากกว่า เดี๋ยวนี้ การให้พรก็เป็นประเพณีไปแล้ว แต่ก็ไม่ทุกที่ และการประพฤติตนให้อยู่ในกรอบอริยมรรคก็เป็นการให้พรในตัว เพราะผู้ถวายย่อมได้อานิสงส์มากกว่าให้แก่ภิกษุเลว

    แต่การให้พรแก่ญาติโยมด้วยวาจาอันเป็นมงคลก็ใช่เรื่องเสียหายอันใด เป็นยาหอมแก่หัวใจผู้ทำบุญบ้างก็ไม่แปลกครับ


สะบายดี...ในวันร้อนอบอ้าว
คุณหลวง
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป