ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เด็กดีวิถีพอเพียง

เริ่มโดย ดิเรก, 21:46 น. 25 ม.ค 63

ดิเรก

ชื่อเรื่อง        การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เด็กดีวิถีพอเพียง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                 รายวิชาเพิ่มเติม หน้าที่พลเมือง  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย       นางพจมาน  ชูสง
หน่วยงาน      โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์  สำนักการศึกษา  เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
                  อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช  จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่ดำเนินการ  2560

บทคัดย่อ
การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เด็กดีวิถีพอเพียง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดเด็กดีวิถีพอเพียง  รายวิชาเพิ่มเติม หน้าที่พลเมือง  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เด็กดีวิถีพอเพียง  รายวิชาเพิ่มเติม หน้าที่พลเมือง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เด็กดีวิถีพอเพียง รายวิชาเพิ่มเติม หน้าที่พลเมือง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์  เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 185 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้มี 4 ชนิด ได้แก่ (1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เด็กดีวิถีพอเพียง ซึ่งใช้ประกอบในแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 5 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 เรื่อง งามอย่างวิถีไทย เล่มที่ 2 เรื่อง รวมใจเป็นหนึ่งเดียว เล่มที่ 3 เรื่อง กลมเกลียวตามครรลอง เล่มที่ 4 เรื่องปรองดองพึ่งพากัน และเล่มที่ 5 เรื่อง สุขสันต์มีวินัย (2) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 11 แผน เวลา 12 ชั่วโมง (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ (4) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติมแต่ละเล่ม มีข้อคำถามจำนวน 12 ข้อ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ทั้ง 4 ชนิด ได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญ และผ่านการทดสอบ จนมีคุณภาพก่อนนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test  dependent)



ผลการวิจัยพบว่า
   ผลการหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เด็กดีวิถีพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง เล่มที่ 1 เรื่อง งามอย่างวิถีไทย มีประสิทธิภาพ  เท่ากับ 82.43/84.00 เล่มที่ 2 เรื่อง รวมใจเป็นหนึ่งเดียว มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.14/84.57 เล่มที่3 เรื่อง กลมเกลียวตามครรลอง  มีประสิทธิภาพ  เท่ากับ 85.29/86.86 เล่มที่ 4 เรื่องปรองดองพึ่งพากัน  มีประสิทธิภาพ  เท่ากับ 85.57/88.00 และ เล่มที่ 5 เรื่องสุขสันต์มีวินัย มีประสิทธิภาพ   เท่ากับ 86.71/88.57 และประสิทธิภาพโดยรวมของหนังสืออ่านเพิ่มเติมทั้ง 5 เล่ม   เท่ากับ 84.63/86.40
   ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เด็กดีวิถีพอเพียง  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
   ผลการศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เด็กดีวิถีพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (× ̅=4.51) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด 2 ด้าน คือ การใช้ภาษาและส่งเสริมคุณธรรม  (× ̅= 4.69, 4.53) และนักเรียนพึงพอใจในระดับมาก 3 ด้าน คือ การวัดและประเมินผล ด้านเนื้อหาและด้านการพิมพ์ ภาพและรูปเล่ม  (× ̅= 4.50, 4.48, 4.40)  ตามลำดับ 

mapraow

การประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู  มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้จัดทำคู่มือการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะฉบับนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือสานักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 21 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย บทนำ สาระสำคัญของหลักเกณฑ์และวิธีการ การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่และผลงานทางวิชาการ ขั้นตอนการดำเนินการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ และแนวปฏิบัติการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน การกำหนดชั่วโมงการปฏิบัติงาน ตัวชี้วัด และคำชี้แจงการประเมิน รวมทั้ง แบบเสนอขอรับการประเมิน แบบรายงาน แบบสรุปผลการตรวจสอบและประเมิน เพื่อช่วยให้การประเมิน วิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาบรรลุผลเป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักเกณฑ์ และวิธีการดังกล่าว

โดยทาง หจก.ครุศาสตร์ปัญญาได้จัดทำหลักสูตร เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานสำหรับครูภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา รหัส 624031001  ระดับ พื้นฐาน สาระ ภาษาไทย ระดับช่วงชั้น มัธยม ระยะเวลา 17 (ชม.) เพื่อให้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ที่สนใจในคุปองครูหลักสูตรดังกล่าว ได้ศึกษาตามหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตนเอง

หากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูสนใจในหลักสูตรสามารถติดต่อได้ที่ https://karusatpanya.org/ หรือสามารถสอบถามได้ที่ Line : @trainingobec ( มี @ ).