ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

การพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษา ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้

เริ่มโดย ดิเรก, 22:14 น. 25 ม.ค 63

ดิเรก

ชื่อเรื่อง   การพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษา ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์
ผู้วิจัย   นางพจมาน  ชูสง
ปีวิจัย   ปีการศึกษา 2560

บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานหลักการในการพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษาด้วยชุดกิจกรรมตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษาชุดกิจกรรมตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนสังคมศึกษาด้วยชุดกิจกรรมตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ (4) เพื่อประเมินรูปแบบการสอนสังคมศึกษาด้วยชุดกิจกรรมตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการสอน (Design and Development : D&D) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) ทดลองใช้ (Implementation : I) รูปแบบการสอนกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง  จำนวน 35 คน ด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster  Random  Sampling) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) การประเมินผล (Evaluation : E) ประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการสอน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการสอน  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  3) แผนการจัดการเรียนรู้  และ 4 ) แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการสอน ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบค่าทีแบบ dpendent Sample
ผลการวิจัยพบว่า
1)   ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานหลักการในการพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษาที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) สื่อการสอน (2) ผู้สอน (3) ผู้เรียน (4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ (5) การวัดและประเมินผล 
           2) รูปแบบการสอนสังคมศึกษา  มีขั้นตอน 5 ขั้นได้แก่ (1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย (2) ขั้นกำหนดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ (3) ขั้นสร้างความรู้ที่แปลกใหม่ผ่านกิจกรรมกลุ่ม (4) ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ และ (5) ขั้นสรุปความรู้ 
           3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษา ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนของกลุ่ม ตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
           4) จากการประเมินรูปแบบการสอนสังคมศึกษา ด้วยชุดกิจกรรมตามหลักการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่ารูปแบบการสอนสังคมศึกษา ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความเหมาะสมระดับมาก  ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน

mapraow

การประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู  มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้จัดทำคู่มือการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะฉบับนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือสานักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 21 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย บทนำ สาระสำคัญของหลักเกณฑ์และวิธีการ การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่และผลงานทางวิชาการ ขั้นตอนการดำเนินการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ และแนวปฏิบัติการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน การกำหนดชั่วโมงการปฏิบัติงาน ตัวชี้วัด และคำชี้แจงการประเมิน รวมทั้ง แบบเสนอขอรับการประเมิน แบบรายงาน แบบสรุปผลการตรวจสอบและประเมิน เพื่อช่วยให้การประเมิน วิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาบรรลุผลเป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักเกณฑ์ และวิธีการดังกล่าว

โดยทาง หจก.ครุศาสตร์ปัญญาได้จัดทำหลักสูตร เทคนิคการเตรียมเด็กให้สงบและกระบวนการ PLC สู่การวิจัยในชั้นเรียน รหัส 621161003 ระดับ พื้นฐาน สาระ ปฐมวัย ระดับช่วงชั้น ปฐมวัย ระยะเวลา 16 (ชม.) เพื่อให้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ที่สนใจในคุปองครูหลักสูตรดังกล่าว ได้ศึกษาตามหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตนเอง

หากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูสนใจในหลักสูตรสามารถติดต่อได้ที่ https://karusatpanya.org/ หรือสามารถสอบถามได้ที่ Line : @trainingobec ( มี @ ).