ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้

เริ่มโดย นางศศิรินทร์, 22:53 น. 25 ม.ค 63

นางศศิรินทร์

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้  โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง ธรรมชาติกับการเปลี่ยนแปลง  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม   ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6                         
ผู้วิจัย           นางศศิรินทร์  ธารพระจันทร์  โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง                                เทศบาลนครนครศรีธรรมราช                       
ปีที่ศึกษา   2560

บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้  โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง ธรรมชาติกับการเปลี่ยนแปลง  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ดังนี้  1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก่อนและหลังใช้รูปแบบ และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 45 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 50 ข้อ 3) แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  4) แผนการจัดการเรียนรู้ (คู่มือการใช้)  โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เรื่องธรรมชาติกับการเปลี่ยนแปลง  และ 5) แบบประเมินพฤติกรรมของนักเรียนด้านความพอเพียง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และสถิติทดสอบที (t-test  dependent  Sample)





ผลการวิจัยพบว่า
             1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการจัดการเรียนการสอน  พบว่า  1) ครูสอนแบบบรรยายไม่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  2) นักเรียนขาดทักษะความสามารถในการคิดวิเคราะห์  ทำให้มีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  3) สื่อ/แหล่งเรียนรู้นำมาใช้น้อยมากและไม่ตรงกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น  4) นักเรียนไม่สนใจเรียน  5) นโยบายของเทศบาลและโรงเรียนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ  6) การพัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่มมีน้อยมาก  7) การพัฒนานักเรียนด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ขาดความจริงจัง  8) การประเมินทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์  ไม่มีวิธีการประเมินที่ชัดเจน  และผลการศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบโดยครูและผู้เชี่ยวชาญ  พบว่า  1) ต้องการให้ครูผู้สอนได้พัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการหรือสภาพปัญหาของผู้เรียน 2) ครูควรใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดให้มาก  3) ควรมีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระต่าง ๆ สู่การนำไปใช้  4) ควรนำเทคนิคการสอนวิธีต่าง ๆ โดยใช้ Active  Learning  และ 5) ให้เน้นการทำงานแบบกระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์สู่ทักษะการคิด
2. ผลการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้  โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างความสนใจ/กำหนดเป้าหมาย 2) ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 3) ขั้นเสนอความรู้ใหม่/บูรณาการ 4) ขั้นนำเสนอผลงาน  5) ขั้นประเมินผล/สรุปผล  และ 6) ขั้นนำไปประยุกต์ใช้
              3. ผลการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ก่อนและหลังใช้รูปแบบ  มีดังนี้
                 3.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้  โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
                 3.2 พฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้านความพอเพียง  ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.58 คิดเป็นร้อยละ 85.92 นั่นคือ ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ 3 (ดีเยี่ยม)  และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
              4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยผู้เชี่ยวชาญ  มีความคิดเห็นโดยรวม  อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน  และโดยครูผู้สอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  มีความคิดเห็นโดยรวม  อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน

mapraow

การประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู  มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้จัดทำคู่มือการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะฉบับนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือสานักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 21 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย บทนำ สาระสำคัญของหลักเกณฑ์และวิธีการ การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่และผลงานทางวิชาการ ขั้นตอนการดำเนินการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ และแนวปฏิบัติการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน การกำหนดชั่วโมงการปฏิบัติงาน ตัวชี้วัด และคำชี้แจงการประเมิน รวมทั้ง แบบเสนอขอรับการประเมิน แบบรายงาน แบบสรุปผลการตรวจสอบและประเมิน เพื่อช่วยให้การประเมิน วิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาบรรลุผลเป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักเกณฑ์ และวิธีการดังกล่าว

โดยทาง หจก.ครุศาสตร์ปัญญาได้จัดทำหลักสูตร การออกแบบเรียนปนเล่นเน้นบูรณาการประสาน PLC สำหรับผู้ฝึกสอนกีฬาในศตวรรษที่ 21 รหัส 629112001 ระดับ กลาง สาระ สุขศึกษา/พลศึกษา ระดับช่วงชั้น ประถม ระยะเวลา 19 (ชม.) เพื่อให้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ที่สนใจในคุปองครูหลักสูตรดังกล่าว ได้ศึกษาตามหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตนเอง

หากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูสนใจในหลักสูตรสามารถติดต่อได้ที่ https://karusatpanya.org/ หรือสามารถสอบถามได้ที่ Line : @trainingobec ( มี @ ).