ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการอ่านจับใจความสำคัญ

เริ่มโดย ดิเรก, 11:46 น. 15 มี.ค 63

ดิเรก

ชื่อเรื่อง   : การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 
              ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย  : นางชนิตา  ปัญจนาพงศ์ชัย ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
              โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง สำนักการศึกษา  เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีที่วิจัย    : 2561


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญ  โดยใช้แบบฝึกทักษะ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน  และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/6 โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง เทศบาลนครนครศรีธรรมราช  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2561 จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบฝึกทักษะ จำนวน 3 เล่ม ได้แก่  เล่มที่ 1 เรื่องเริงร่าอ่านจับใจความ  เล่มที่ 2 เรื่องสืบสานจับใจความคิด  และเล่มที่ 3 เรื่องพินิจจับใจความสำคัญ  2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญ เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t - test) แบบไม่อิสระกัน (Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ  เพื่อส่งเสริมการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 84.61/82.31 ซึ่งสูงเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
          2. ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญ  โดยใช้แบบฝึกทักษะ  เพื่อส่งเสริมการอ่านจับใจความสำคัญ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
          3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ  เพื่อส่งเสริมการอ่านจับใจความสำคัญ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด