ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

การส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าในต่างประเทศ

เริ่มโดย zaja, 10:51 น. 08 พ.ค 63

zaja

จากรายงานการศึกษาเรื่อง "อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า" โดยฝ่ายวิจัยนโยบาย สวทช. (2560) ได้เขียนไว้ว่า การเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีใหม่ โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่แตกต่างโดยสิ้นเชิงจาก เดิม มักเกิดต้นทุนและข้อจำกัดต่อการยอมรับของผู้บริโภคในหลายประการ อาทิ ต้นทุนของการ ปรับเปลี่ยน ความคุ้นเคย และประสิทธิภาพการใช้งาน เป็นต้น ซึ่งการส่งเสริมให้ประชาชนหรือ ผู้บริโภคเปลี่ยนสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน แม้ว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ยาน ยนต์ไฟฟ้าคือ การลดมลภาวะ ลดปัญหาภาวะโลกร้อน และสร้างความมั่นคงทางพลังงานก็ตาม แต ประเด็นดังกล่าวเป็นเป้าหมายของรัฐบาล ในขณะที่ผู้บริโภคยังมีอุปสรรคสำคัญต่อการตัดสินใจ เปลี่ยนไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เช่น ข้อจำกัดด้านระยะทางการใช้งาน (Range Limitation) ใช้ระยะเวลา เติมเชื้อเพลิงนาน (Long Refueling Time) ตันทุนยานพาหนะสูง (Higher Purchasing Cost) และ ผู้บริโภคมีทางเลือกน้อย (Lack of Consumer Choice) รวมไปถึงความพร้อมจำนวนสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ดังนั้นหลายประเทศที่ให้ความสำคัญกับยานยนต์ไฟฟ้าจึงให้การส่งเสริม ทั้งรูปแบบอุปสงค์ดึง (Demand Pull และเทคโนโลยีผลัก (Technology Push) คังนี้
มาตรการอุปสงค์ดึง (Demand Pull) การสร้างอุตสาหกรรมใหมให้เกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีอุปสงค์ขึ้นมารองรับเพื่อเป็นตลาดให้แก่ ผู้ผลิต เนื่องจากเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีใหม่ จึงต้องใช้เวลาในการสร้างความเชื่อมั่น และความคุ้นซินเพื่อให้เกิดการยอมรับจากผู้บริโภค ยานยนต์ไฟฟ้าถือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความ แตกต่างไปจากยานยนต์แบบเครื่องยนต์สันดาปภายในโดยสิ้นเชิง หลายประเทศส่งเสริมการใช้ยาน ยนต์ไฟฟ้าด้วยการกระตุ้นทางอุปสงค์ โดยเฉพาะมาตรการที่เป็นแรงจูงใจทางการเงิน (Financial Incentive) เพื่อโน้มน้าวประชาชนให้เปลี่ยนมาให้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ดังตัวอย่างของกลุ่มประเทศ ผู้ริเริ่มยานยนต์ไฟฟ้า (Electrical Vehicle Initiative: EVI) เช่น
-   ประเทศสหรัฐอเมริกา นโยบายประเทศให้เครดิตภาษี (Tax Credit) วงเงินสูงสุด 7,500 เหรียญสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ขณะที่ในแต่ละรัฐยังมีนโยบายสนับสนุนโดยเฉพาะ อาทิ รัฐ แคลิฟอร์เนียอุดหนุนการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า 2,500 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ทั่วไป และ 7,500 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับ FCEV หรือ รัฐโคโลราโดให้เครดิตภาษีรายได้ สูงสุดถึง 6,000 เหรียญสหรัฐฯ เป็นต้น   สนับสนุนโดย 918kiss
-   ประเทศเยอรมนี กำลังมุ่งไปสู่การเป็นผู้นำการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยทุ่ม งบประมาณไปกับการวิจัย การผลิตเทคโนโลยีคุณภาพ การพัฒนาระบบสารสนเทศ ระบบอัจฉริยะต่างๆ ในตัวรถ แบตเตอรี่ และทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึง สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สอดคล้องกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าไปพร้อม ๆ กันนอกจากนี้ยังมี การใช้มาตรการในก๊าซจุงใจให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น อย่างเช่น ยกเว้นการเก็บ ภาษียานยนต์เป็นะยะเวลา 5-10 ปี ตามช่วงเวลาที่ออกรถตามแผนนโยบายของรัฐที่ตั้ง ไว้ และสนับสนุนเงินให้แก่ผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า โดยจะให้เงินชดเชยสำหรับการซื้อรถยนต์ ไฟฟ้าไว้ใช้ส่วนตัวสูงสุด 5,000 ยูโร หรือหากเป็นรถยนต์ของบริษัทก็จะชดเชยให้ 3,000 ยูโร ผู้ใช้ยังได้รับสิทธิพิเศษที่รัฐบาลมอบให้กับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ รถยนต์ไฟฟ้า ไฮบริดปลักอิน (PHEV) และรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell EV) หากเข้าเกณฑ์ ที่กำหนด ทั้งไม่ต้องเสียค่าที่จอดรถ หรือมีที่จอดรถเฉพาะสำหรับผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงสิทธิในการใช้ช่องทางเดินรถพิเศษ สิทธิในการเข้าพื้นที่จำกัดซึ่งเปิดให้เฉพาะยาน ยนต์ไฟฟ้า
นอกเหนือกระตุ้นอุปสงค์การจัดซื้อยานยนต์ไฟฟ้ด้วยมาตรการทางการเงินแล้ว หลาย ประเทศยังมีการใช้มาตรการอื่นควบคู่กัน เช่น เพิ่มความเข้มงวดของระดับมาตรฐานมลพิษไอเสีย (Tailpipe Emission Standards) การยกเว้นภาษีรถยนต์ประจำปี การยกเว้นภาษีการใช้ถนน หรือ การอนุญาตให้ใช้พื้นที่ซึ่งปกติเป็นข้อห้ามสำหรับรถยนต์ทั่วไป เช่น ช่องรถประจำทาง หรือพื้นที่ห้าม จอด เป็นต้น
มาตรการเทคโนโลยีผลัก (Technology Push) การผลักให้เกิดการใช้งานด้วยเทคโนโลยีเป็นการนำเสนอเทคโนโลยีเพื่อกำหนดความต้องการ ของตลาดต่อผลิตภัณฑ์ใหม่ ทั้งนี้ การผลักดันทางด้านเทคโนโลยีต้องแสดงถึงความพร้อมในด้านต่าง ๆ ที่จัดหาโดยเทคโนโลยีนั้น ๆ ด้วย โดยในระหว่างปี ค.ศ. 2008 - 2014 พบว่า การส่งเสริมด้านวิจัย พัฒนาและสาธิตที่ใช้จ่ายโดยภาครัฐมีมูลค่ามากกว่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สูงกว่าการใช้จ่ายเพื่อ ขยายโครงสร้างพื้นฐาน และการใช้จ่ายสำหรับมาตรการจูงใจทางภาษี โดยกิจกรรมวิจัย พัฒนาและ สาธิตที่มีการใช้จ่ายโดยรัฐสูงเป็นอันดับต้น ๆ ได้แก่ การสาธิตใช้ในยานยนต์สาธารณะ การวิจัยและ พัฒนาเซลล์เชื้อเพลิง การวิจัยและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า และการวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่ ตามลำดับ