ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ไฟโชว์เตือน! รูปเครื่องยนต์ (Check Engine) ทำอย่างไรดี?

เริ่มโดย Achana Jrs, 16:43 น. 13 ก.ค 63

Achana Jrs

ไฟเตือนบนหน้าปัดรถยนต์ เป็นสัญญาณเตือนว่าส่วนไหนของรถยนต์มีความผิดปกติ บางภาพสัญลักษณ์เตือนก็อาจทำให้เรากังวลใจ เช่น รูปเครื่องยนต์ หรือ Check Engine ที่หลายคนอาจตีความหมายว่าเครื่องยนต์มีปัญหาพังแน่นอน แต่ในบางครั้งก็อาจไม่รุนแรงอย่างที่คิด เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยจากการระบบการทำงานที่ไม่สมบูรณ์ จะมีสาเหตุไหนบ้างที่ทำให้ไฟเตือนรูปเครื่องยนต์โชว์ สินมั่นคง ประกันรถยนต์ มีข้อมูลมาบอกกันให้คลายหายสงสัยกันดังนี้

1. ปิดฝาถังน้ำมันไม่แน่น

ไฟเตือนจากการปิดฝาถังน้ำมันไม่สนิท หรือ ฝาถังอาจจะเกิดความเสียหาย ทำให้แรงดันในถังน้ำมันนั้นไม่ปกติ วิธีแก้ปัญหาสิ่งแรกที่ต้องทำคือจอดรถเช็กฝาถังก่อน ถ้าใช่ในระยะ 10 กิโลเมตรหลังจากออกรถ ไฟเตือนดังกล่าวจะดับหายไป

2. แคทาไลติคคอนเวอร์เตอร์ (Catalytic converter) มีปัญหา

Catalytic converter อุปกรณ์ทำหน้าที่บำบัดไอเสียก่อนปล่อยสู่อากาศภายนอก เมื่อใช้งานมานานกรองตัวนี้ก็เสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากไอน้ำมันที่เผาไหม้ไม่หมดไปเกาะอุดตันอยู่ภายใน เป็นสาเหตุให้กรองไอเสียตันไปในที่สุด ถ้าอุปกรณ์ตัวนี้เสียหรือบางคนที่นำอุปกรณ์ชิ้นนี้ออก อาจทำให้ไฟรูปเครื่องยนต์โชว์ได้

3. เซ็นเซอร์วัดออกซิเจนระบบไอเสีย (O2 sensor) มีปัญหา

ออกซิเจนเซ็นเซอร์นั้นทำหน้าที่ตรวจคุณภาพไอเสียว่ามีค่าในระดับมาตรฐานหรือไม่ ซึ่งทำงานร่วมกับกล่องอีซียูในการสั่งจ่ายน้ำมันกับอากาศให้มีความเหมาะสม ส่งผลทำให้รถกินน้ำมัน และเป็นการทำลายหัวเทียนกับตัว Catalytic converter อีกด้วย หากออกซิเจนเซ็นเซอร์เสีย รถจะมีอาการกระตุกคล้ายกับเครื่องยนต์ใกล้ดับ ถึงแม้ว่ารถมีการกระตุกแต่ยังพอขับต่อไปได้ ดังนั้นให้พยายามนำรถเข้าจอดยังจุดปลอดภัยเพื่อรอการช่วยเหลือ

4. Airflow วัดการไหลของอากาศมีปัญหา

อุปกรณ์นี้ติดตั้งอยู่บริเวณหลังกรองอากาศเข้าเครื่องยนต์ คอยวัดปริมาณอากาศที่ไหลเข้าสู่ท่อไอดีไปจนถึงห้องเผาไหม้ ให้อยู่ในเกณฑ์สำหรับการจุดระเบิด แต่เมื่อเซ็นเซอร์เกิดทำงานผิดปกติหรือเสียขึ้นมาอาจทำให้ไฟรูปเครื่องยนต์โชว์ได้ อาการที่สังเกตได้ คือ ช่วงเช้าตอนสตาร์ทรถใหม่จะได้กลิ่นไอเสียเหม็นกว่าปกติ เครื่องยนต์เดินไม่นิ่งมีอาการสั่นในรอบเดินเบา เร่งไม่ขึ้น และกินน้ำมันกว่าปกติ ถ้าไม่รีบแก้ไขอาจส่งผลต่ออุปกรณ์อื่นๆ เกิดความเสียหายตามไปด้วย เช่น O2 sensor, หัวเทียน เป็นต้น วิธีแก้ไขให้ตรวจสอบเซ็นเซอร์วัดมวลอากาศ (Mass Air Flow) กรณีสกปรกสามารถถอดออกมาล้างทำความสะอาดได้ แต่หากเสียก็ต้องเปลี่ยนใหม่

5. คอยล์จุดระเบิดและหัวเทียน (Ignition Coil and Spark Plug) มีปัญหา

เมื่อใดที่รถเกิดอาการเครื่องเดินไม่เรียบ รถเร่งไม่ออก หรือบางครั้งก็ดับไปเลย เมื่อระบบตรวจพบความผิดปกติจะแสดงไฟรูปเครื่องยนต์โชว์ขึ้นมา อาจเกิดจากคอยล์บางตัวไม่สามารถจ่ายกระแสไฟไปยังหัวเทียนเพื่อจุดระเบิดได้ตามปกติ ขณะติดเครื่องรถจะมีอาการสั่นไปจนถึงการกระตุก ไม่สามารถเร่งกำลังได้เต็มที่ ให้ทายไว้ก่อนเลยว่าคอยล์เสีย มักเกิดขึ้นกับรถที่มีอายุการใช้งานหลายปีหรือวิ่งมามากกว่าแสนกิโลเมตร

6. วาล์วระบบควบคุมไอระเหยน้ำมันเชื้อเพลิง (Emissions Purge Control Valve) มีปัญหา

วาล์วควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง ทำหน้าที่กักกันไม่ให้ไอน้ำมันในถังระเหยออกสู่ชั้นบรรยากาศ รวมถึงหน้าที่ควบคุมการไหลของไอระเหยน้ำมัน เข้าสู่ห้องเผาไหม้อย่างเหมาะสม แต่กรณีที่เกิดความผิดปกติไอระเหยน้ำมันจะไหลเข้าห้องเผาไหม้น้อยหรือมากกว่าปกติ เครื่องยนต์จะเดินไม่เรียบในช่วงรอบเดินเบา

7. หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Injector) มีปัญหา

หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงทำหน้าที่ฉีดน้ำมันให้เป็นฝอยละเอียด เพื่อส่งต่อไปผสมกับอากาศในท่อไอดีก่อนเข้าสู่ห้องเผาไหม้ แต่หากหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเกิดเสียหรือตันขึ้นมา อาการที่พบได้แก่ รอบเดินเบาไม่นิ่ง ลูกสูบบางตัวไม่ทำงาน ส่งผลโดยตรงต่ออัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง

8. โซลินอยด์ระบบควบคุมไอระเหยน้ำมันเชื้อเพลิง (Purge Solenoid) มีปัญหา

ไอน้ำมันที่จะไหลจากถังน้ำมันสู่ชั้นบรรยากาศถูกควบคุมโดยโซลินอยด์ ซึ่งกล่องอีซียูรับบทควบคุมการเปิดปิดของวาล์วดังกล่าว หากเกิดเสียขึ้นมารถยนต์จะสตาร์ทได้ยากกว่าปกติ รวมถึงปรากฎอาการสั่นในช่วงรอบเครื่องยนต์เดินเบา

9. เทอร์โมสตัท (Thermostat) หรือ วาล์วน้ำ มีปัญหา

ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของน้ำหล่อเย็นในระบบระบายความร้อนเครื่องยนต์ โดยปกติแล้ววาล์วตัวนี้จะปิดเมื่ออุณหภูมิน้ำหล่อเย็นยังไม่ถึงที่ตั้งไว้ และเปิดให้น้ำไหลเวียนครบระบบเมื่ออุ่นเครื่องได้อุณหภูมิทำงาน เมื่อวาล์วน้ำเกิดเสียหรือตันอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นจะสูงเกินระดับปกติ อาจทำให้เครื่องยนต์ หม้อน้ำ และท่อยางทางเดินเกิดความเสียหาย ดังนั้น เมื่อไฟโชว์ก็ให้รีบเข้าตรวจเช็กที่ศูนย์บริการ ก่อนจะลุกลามบานเกินกว่าการเปลี่ยนแค่เทอร์โมสตัทตัวเดียว

ทำอย่างไรเมื่อไฟเครื่องยนต์โชว์ระหว่างขับขี่

เราสามารถขับรถต่อไปได้ เพราะไฟรูปเครื่องยนต์  Check Engine  เป็นไฟที่ใช้สัญญาณสีเหลือง หมายถึงให้ระวังหรือใช้ความระมัดระวัง เนื่องจากเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์ ผิดกับไฟเตือนสีแดงเตือนอื่นๆ เช่น ไฟเตือนระดับน้ำมันเครื่อง ไฟเตือนระดับน้ำในหม้อน้ำ หรือ แบตเตอรี่ ที่เตือนแบบฉุกเฉินต้องรีบจอดข้างทาง

หากไฟรูปเครื่องยนต์เตือนให้สังเกตไฟเตือนอื่นๆควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะความร้อน ถ้าความร้อนปกติก็สามารถขับต่อไปได้ แต่ไม่ควรใช้ความเร็วและรอบเครื่องยนต์สูง รถบางรุ่นจะตัดเข้าสู่วงจรสำรองเพื่อป้องกันความเสียหายจะทำให้เครื่องยนต์จำกัดความเร็วอยู่ที่ราว 1,500-2,000 รอบ/นาที ทำให้เครื่องยนต์อืดขึ้น เหยียบคันเร่งแล้วรถวิ่งไม่ค่อยออก แต่ก็ยังพอขับไปถึงจุดหมายปลายทางได้ แล้วให้รีบนำรถเข้าไปตรวจเช็กเพื่อใช้อุปกรณ์ตรวจดูความผิดปกติของระบบและทำการแก้ไข ไม่ควรละเลยทิ้งเอาไว้

รถยนต์นั้นมีสัญญาณไฟเตือนเพื่อบอกว่ารถมีปัญหาในส่วนไหน เพื่อรีบทำการแก้ไขก่อนที่ความเสียหายจะมากขึ้น  แต่อุบัติเหตุบนท้องถนนนั้นไม่มีสามารถรู้ล่วงหน้า เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด หากแต่เราสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ ด้วยประกันรถยนต์ที่คุ้มครองทั้งรถยนต์และผู้ขับขี่

ขอบคุณข้อมูลจาก สินมั่นคงประกันภัย ...ประกันรถ ประกันเวลา... www.smk.co.th/premotor.aspx