ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ภัยร้ายจากสารเคมี สร้างความเสียหายและอันตรายกว่าที่คิด

เริ่มโดย Achana Jrs, 16:07 น. 11 ส.ค 63

Achana Jrs

นับเป็นเหตุการณ์น่าเศร้าสลดใจสำหรับผู้คนทั่วทั้งโลก กับเหตุระเบิดครั้งใหญ่ใจกลางเมืองเบรุต ประเทศเลบานอน  สร้างแรงสั่นสะเทือนรุนแรงเป็นรัศมีถึง 240 กม. ส่งผลให้มีเสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 78 คน และได้รับบาดเจ็ดไม่ต่ำกว่า 4,000 คน โดยในเบื้องต้นเชื่อว่า มีสาเหตุมาจากสารเคมีแอมโมเนียมไนเตรต ที่หน่วยงานกลางของรัฐบาลเลบานอนยึดมาเก็บไว้ในคลังสินค้าที่ท่าเรือมานานกว่า 6 ปี และมีจำนวนมากถึง 2,750 ตัน

ทำให้หลายคนอาจสงสัย ว่า สารเคมีแอมโมเนียมไนเตรต คืออะไร มีประโยชน์ต่อภาคธุรกิจการค้าหรือภาคอุตสาหกรรมในแง่ใดบ้าง แล้วเหตุใดจึงต้องนำมาเก็บไว้ในกลางเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก

ทำความรู้จักกับสารเคมีอันตราย "แอมโมเนียมไนเตรต "

แอมโมเนียมไนเตรต หรือ Ammonium Nitrate  เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
    • มีไนโตรเจนผสมอยู่ในอัตราส่วนร้อยละ 34
    • มีความสามารถในการละลายน้ำได้ดี
    • ดูดความชื้นได้ง่าย
    • ช่วยทำให้ดินกลายสภาพเป็นกรดได้เร็วขึ้น
    • เป็นปุ๋ยหัวเชื้อราคาถูก
    • มีลักษณะเป็นผงสีขาวเหมือนน้ำตาลทราย
    • เป็นสารเคมีที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มวัตถุระเบิด สำหรับไว้ใช้ทำระเบิดแรงดันสูง
    • นิยมใช้มากในการกลุ่มก่อการร้ายทั่วโลก

สารเคมีแอมโมเนียมไนเตรต จัดเก็บอย่างไร? ขนส่งอย่างไร?
   
การจัดเก็บและขนส่งสารเคมีแอมโมเนียมไนเตรต (ammonium nitrate) นั้น มีข้อควรระวังดังต่อไปนี้
    • บรรจุในที่เย็นและไม่แออัด
    • การขนส่งทางเรือหรือทางอากาศต้องจัดเก็บอย่างรอบคอบตามคู่มือ
    • ไม่สามารถบรรจุหรืออัดอยู่ในกระเป๋าเดินทางที่ทำจากผ้าได้ เพราะหากมีความร้อนเหมาะสม จะทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นด้วยตัวเองได้ (Self Oxidation) โดยไม่ต้องอาศัยออกซิเจนภายนอก

ผงละเอียดสีขาวขนาดเล็ก มีฤทธิ์ระเบิดร้ายแรงได้อย่างไร?

การนำปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรตมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำระเบิดด้วยการนำไปผสมกับเชื้อเพลิงเกิดขึ้นมานานแล้ว เนื่องจากเป็นระเบิดที่ใช้งานง่ายและมีราคาถูก จึงนิยมใช้มากในเหมืองถ่านหิน เหมืองหิน เหมืองแร่โลหะ และอื่นๆ และถูกนำไปใช้ทำระเบิดเพื่อก่อการร้ายเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1970 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันประเทศในแถบตะวันออกกลาง เช่น อัฟกานิสถาน ก็ยังมีกลุ่มผู้ก่อการร้ายบางกลุ่มนิยมทำและใช้อยู่ เนื่องจากระเบิดแบบนี้ใช้ปุ๋ยเคมีเป็นส่วนประกอบ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ระเบิดปุ๋ย (fertilizer bomb) โดยมีกลไกการระเบิดของสารเคมีแอมโมเนียมไนเตรต (ammonium nitrate) ดังต่อไปนี้

    1. เริ่มต้นจากการระเบิดของเชื้อปะทุที่สัมผัสกับวัตถุระเบิดแม้ในปริมาณเล็กน้อย และปลดปล่อย คลื่นระเบิด (detonation wave) ซึ่งมีความเร็วประมาณ 3.2-4.8 กิโลเมตร/วินาทีออกมา ส่งผลให้สารแอมโมเนียมไนเตรตในเม็ดปุ๋ยระเหิดกลายเป็นก๊าซทันที และจุดเชื้อเพลิงให้ลุกไหม้

    2. พลังงานจากคลื่นระเบิดที่ทะลุผ่านสารแอมโมเนียมไนเตรตทำให้โมเลกุลสลายตัว อะตอมออกซิเจนถูกปลดปล่อยออกมา และรวมตัวเป็นก๊าซออกซิเจน เร่งปฏิกิริยาหรือกระบวนการเผาไหม้ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้ผลิตผลต่อเนื่องเป็นก๊าซร้อนต่าง ๆ

    3. ก๊าซร้อนที่เกิดในเวลาสั้นเหล่านี้ทำให้เกิดคลื่นความดัน (pressure wave) ซึ่งเคลื่อนที่เร็วเท่าอัตราเร็วเสียง (330 เมตรหรือ 1,100 ฟุต/วินาที) คลื่นนี้อาจทำอันตรายต่อชีวิต วัตถุ สิ่งของต่าง ๆ โดยรอบ

    4. ความร้อนสูงซึ่งเกิดขึ้นจากการเผาไหม้ยังทำให้วัตถุโดยรอบไหม้ไฟได้ อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านระเบิดระบุว่า อำนาจการทำลายส่วนใหญ่มาจากคลื่นความดัน

มีการคำนวณความรุนแรงของเหตุการณ์ครั้งนี้จากนักวิชาการอิสระระบุว่า ความรุนแรงของระเบิดเทียบเท่ากับการระเบิดของ TNT ขนาดประมาณ 240 ตัน และแม้เหตุการณ์จะสงบลงแล้ว แต่การเยียวยาผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตยังคงต้องดำเนินต่อไป รวมถึงวิกฤตการณ์ด้านการแพทย์และพยาบาลที่จะเพิ่มขึ้นมาตามจำนวนผู้บาดเจ็บที่ค้นพบมากขึ้น ที่อาจทำให้ประเทศเลบานอนต้องตกอยู่ในสภาวการณ์ที่ยากลำบากต่อไป แม้จะผ่านพ้นช่วงวิกฤติโควิดไปแล้ว

ขอบคุณข้อมูลจาก สินมั่นคงประกันสุขภาพ เราประกัน..คุณมั่นใจ https://www.smk.co.th/prehealth.aspx