ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เผยกลไกธุรกิจของ ร้าน 60 บาท ขายของถูกอย่างไร ไม่ให้ขาดทุน

เริ่มโดย hot deal TH, 14:45 น. 21 ต.ค 63

hot deal TH




ปัจจุบัน ร้าน 60 บาท มีอยู่มากไม่ใช่น้อย ทุกคนต้องเคยไปช้อปของถูกๆ ที่ร้านนี้อยู่บ่อยๆ ใช่ไหมหล่ะ เพราะมีของขายครบทุกอย่างจริงๆ ตั้งแต่เครื่องสำอาง น้ำยาล้างจาน เครื่องเขียน ไปจนถึงชุดคอสเพลย์ แต่รู้หรือไหมว่า ทำไมร้าน 60 บาททุกอย่างนั้น ถึงประสบความสำเร็จจากการขายของที่ถูกเพียงแค่ 60 บาทได้กันนะ การที่ของถูกและยังได้กำไร แท้จริงแล้วมันก็มีเหตุผลนะ พี่ โปรโมชั่น จะไขข้อสงสัยเรื่องนี้ให้กับทุกคนเอง :-)




ร้าน 60 บาทมีอัตรากำไรขั้นต้นที่สูง



เพราะร้าน 60 บาทคือของชิ้นละ 60 บาท หลายคนคงคิดว่าอัตรากำไรขั้นต้นคงจะต่ำ แต่ความจริงแล้วสินค้าจะมีอัตรากำไรขั้นต้นสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่าง แก้วกาแฟ เพราะราคาถูกและขายได้เยอะ จึงทำให้อัตรากำไรขั้นต้นสูง แต่กลับกันหม้อดินเผาราคาสูง อัตรากำไรขั้นต้นก็จะต่ำ เพราะขายได้น้อย และเพราะของภายในร้านที่ถูกจนเกินห้ามใจ ทำให้มีผู้ซื้อก็ซื้อของในร้าน 60 บาท ไปโดยไม่รู้ตัว ที่แน่ๆ แทบไม่มีใครเข้าไปซื้อชิ้นเดียว ส่งผลให้ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ขายได้มากหรือน้อย อัตรากำไรขั้นต้นก็สูงอยู่ดี






การสั่งซื้อสินค้าจำนวนมาก



ในร้าน 60 บาทนั้น เพื่อลดต้นทุนแล้วจึงจำเป็นควบคุมต้นทุนต่อชิ้นด้วยการสั่งซื้อสินค้าจำนวนมาก สั่งซื้อกับผู้ผลิตรายใหญ่โดยตรง พี่ โปร ว่ามันก็เหมือนที่เราไปซื้อของจากสำเพ็งนั่นล่ะ เพราะเมื่อสั่งสินค้าจำนวนมากในทีเดียวทำให้ราคาต้นทุนต่อชิ้นยิ่งถูกลง ดังนั้นจึงสามารถเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นได้โดยการซื้อและขายสินค้าทีเดียวในปริมาณมากได้




ผู้ผลิตบางรายก็ผลิตแบรนด์ของตัวเองด้วย เช่น ร้านไดโซะ ผลิตสินค้าขายในแบรนด์ของตัวเองถึง 80% ทำให้สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ด้วยตัวเอง ร้านค้า 60 บาท ส่วนใหญ่ก็มักจะทำแบรนด์เป็นของตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีโรงงาน อาศัยผลิตด้วยการควบคุมราคาโดยการนำการผลิตแบบ OEM มาประยุกต์ใช้

* OEM ย่อมาจาก Origianl Equipment Manufacturer หมายถึง การรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนดโดยใช้การผลิตของเรารวมถึงเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตด้วย






การลดแรงงานคนของร้าน 100 เยน



เวลาเข้าร้านไปเรารู้อยู่แล้วว่าสินค้าส่วนใหญ่จะราคาเท่าๆกัน แต่จะมีบางชิ้นที่อาจจะแพงกว่าก็ใช้วิธีติดราคาไว้ที่สินค้า พี่ promotion ว่านี่ถือเป็นหัวใจสำคัญเลยนะ เพราะถ้ามีสินค้าจำนวนมากที่ราคาต่างกันก็ต้องติดป้ายราคาที่สินค้าเยอะ ก็ยิ่งทำให้ต้องใช้แรงงานคนเยอะขึ้นเช่นกัน

อีกด้านหนึ่งในร้าน 60 บาท ทุกอย่าง เพราะว่าสินค้าในร้านทุกชิ้นมีราคาเท่ากันหมดทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องติดป้ายราคาไว้ก็ได้ และถึงในร้านจะมีสินค้าที่มากกว่า 60 บาท อยู่แต่ลูกค้าจะเข้าใจว่า 60 บาท ได้โดยที่ไม่จำเป็นต้นติดป้ายบอกไว้ เป็นการลดกำลังต้นทุนแรงงานด้วย

ขจัดความยุ่งยากในการติดป้ายราคาโดยการลดจำนวนพนักงาน และอีกหนึ่งเรื่องคือ การที่ราคาสินค้ามีเพียง 100 เยนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับการเท่ากันนอกจากจะลดต้นทุนแรงงานในส่วนของการติดราคาแล้ว การคิดเงินรวมไปถึงการคำนวณยอดขายก็ง่ายขึ้นด้วย





อยากมีเสน่ห์ดึงดูดใคร
ก็ต้องรู้จักดูแลบุคลิกภาพกันด้วยน้าาาาา








Phathavie Herbal shampoo


ช่วย >>> ลดผมร่วงหลังคลอด

และ >>> ลดผมร่วงช่วยเสริมผมขึ้นใหม่ เห็นผลลัพธ์ได้ภายใน 2 สัปดาห์ ,

  เร่งผมยาวไว , สามารถใช้แทน
>>> ยาปลูกผม <<<






เรื่องของผมอย่าปล่อยให้ผมร่วงจนบางล่ะ






ไม่เสียเงินให้กับการโฆษณา



ในการโฆษณาร้านโดยทั่วไปจำเป็นต้องลงเงินกับการโฆษณาที่สูงมาก ซึ่งค่าโฆษณานี้ก็จะถูกบวกเข้ากับในสินค้าแต่ละชิ้นอีก การขายสินค้าในราคาเพียง  60 บาท ก็จะเป็นเรื่องยากมากยิ่งขึ้น แต่ด้วยคอนเซ็ปต์ของร้านที่มีราคาของเท่ากันก็เป็นการโฆษณาในตัวอยู่แล้ว แถมไม่ต้องทำโปรโมชั่นลดราคา เพราะสินค้าทุกชิ้นมีราคาที่ทุกคนจ่ายไหวอยู่แล้ว และราคาคงที่ตลอดทั้งปี เป็นการสื่อสารกับลูกค้าที่ไม่ต้องบอกซ้ำๆ อีกเลย




ในประเทศไทย ร้านทุกอย่าง 60 บาทก็เป็นที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน มีท้ังร้านค้าที่มาจากญี่ปุ่น เช่น Daiso (ไดโซะ) เป็นร้าน 60 บาทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น นอกจากจะมีสาขาในไทยแล้ว ยังมีเปิดอีกหลากหลายสาขาทั่วโลกอีกด้วย และก็ยังมี Komonoya ที่เป็นของญี่ปุ่นแต่นำเข้ามาในไทยและบริหารต่อโดยกลุ่ม CRC ของเซ็นทรัล บริษัทในไทยเองก็มีเปิดร้านค้าทุกอย่าง 60 บาทด้วยตัวเองเหมือนกัน เช่น Minimono ที่ขายอยู่ใน Central และ Just buy! ในโรบินสัน






เติมเต็มคุณภาพชีวิตราคาเดียว
" คุณภาพที่ดีที่สุด ด้วย ราคาที่ดีที่สุด "

คติประจำจากเจ้าของร้านค้า 60 บาททุกอย่าง Daiso - Seiji Yano






ปันโปรสรุปให้

- ร้าน 60 บาททุกอย่าง พยายามควบคุมราคาการผลิตด้วยการซื้อสินค้าทีเดียวจำนวนมาก
- การลดแรงงานการจ้างคนเพื่อติดป้ายราคาสินค้า ทำให้ต้นทุนราคาสินค้าน้อยลงได้เช่นกัน
- การสร้างแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเอง ควบคุมราคาการผลิตได้ง่ายกว่า
- ค่าโฆษณาเป็นส่วนที่เสียมากที่สุด ถ้ายิ่งลดส่วนนี้ลงได้ ราคาสินค้าก็สามารถทำให้ถูกลงได้