ถ้าตัดประเด็นทางการเมืองไป วัคซีน CoronaVac จากบริษัท Sinovac ไม่ได้ถือว่าขี้เหร่อะไรเลย แม้ข่าวล่าสุดจะออกมาว่า ผลการทดลองระยะที่ 3 ที่บราซิล มีประสิทธิผล 50.38% ก็ตาม เพราะอย่างไรก็ยัง
อยู่ในระดับมาตรฐานตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลกอยู่ดี
ที่สำคัญเ
ทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตวัคซีนชนิดนี้ เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ทั่วโลกว่า มีความปลอดภัยสูง แพทย์ทุกสาขามีความคุ้นเคยกับวัคซีนประเภทนี้เป็นอย่างดี เพราะผ่านการใช้งานมาเยอะ เนื่องจากการผลิตใช้วิธีการเดียวกับวัคซีนอื่น ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ไข้สมองอักเสบ และไวรัสตับอักเสบเอ
แพทย์ส่วนใหญ่ให้ความไว้วางใจกับวัคซีนชนิดเชื้อตายนี้มากกว่าวัคซีนจากเชื้อเป็นหรือชนิดอื่น อย่างน้อยก็
ผ่านการใช้ในคนมานานแล้ว ส่วนอีกประเภทหนึ่งยังไม่เคยใช้ในคนมาก่อน จึงยังไม่รู้ว่าลูกผีหรือลูกคน อันตรายจะอยู่ในระยะไหนไม่มีใครบอกได้ แต่เอาเข้าจริงก็ต้องลองใช้ทุกชนิด เพราะ
ปัจจุบันผู้ผลิตวัคซีนโควิด-19 ยังมีจำนวนน้อย แต่ละชนิดมีปริมาณไม่เพียงพอสำหรับใช้กับประชากรทั้งโลก 
สำหรับเกณฑ์การตัดสินใจในการเลือกใช้วัคซีนของผู้ผลิตรายใดนั้น จากถ้อยแถลงอย่างเป็นทางการของคณะแพทย์ที่รับผิดชอบจาก ศบค. พอจะประมวลได้ว่าพิจารณาจาก
1.
คุณสมบัติของวัคซีน โดยพิจารณาจากข้อดี ข้อเสียต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิผล ความปลอดภัย ผลข้างเคียง การเก็บรักษา ฯลฯ
2.
ราคา ถ้าแพงเกินไปแล้วเราต้องฉีดหลายร้อยล้านโดส จะเป็นภาระต่องบประมาณ
3.
จำนวนและระยะเวลาส่งมอบ เขาจะขายให้เราได้ราคาเท่าไร ที่สำคัญคือเวลาไหน เพราะการซื้อวันนี้ไม่ได้แปลว่าพรุ่งนี้จะได้เลย อาจอีก 6 เดือน ถึง 1 ปี
4.
ไม่ควรใช้แค่วัคซีนชนิดเดียว เพราะถ้าหากเกิดผลไม่พึงประสงค์ร้ายแรงเกิดขึ้นจะสุ่มเสี่ยง จึงต้องใช้วัคซีนหลายชนิด แต่ต้องไม่มากเกินไป ไม่เกิน 3 ชนิด เพราะมากกว่านี้จะยุ่งยากซับซ้อนในการดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของแพทย์เฉพาะทางหลายคนบอกว่า
การใช้วัคซีนเน้นหนักที่ความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ส่วนเรื่องของประสิทธิผลนั้น ต้องยอมรับว่าขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนของผู้ผลิตรายใดที่ได้ผลสมบูรณ์ 100% เนื่องจากระยะเวลาในการศึกษาทดลองยังสั้นเกินไป แม้จะศึกษาทดลองกับผู้ป่วยทั่วโลกหลักแสนหลักล้านคนแล้วก็ตาม แต่ในความเป็นจริง การใช้วัคซีนจะสรุปผลได้ว่ามีประสิทธิภาพเต็มร้อยได้จริง ก็ต่อเมื่อผ่านการติดตามผลไปแล้วอย่างน้อย 2-3 ปีขึ้นไป
ในสถานการณ์แบบนี้ ถ้าไปถามหมอส่วนใหญ่ก็จะได้รับคำตอบว่า
การมีวัคซีนที่ศึกษาทดลองแล้วพบว่าได้ผลเพียง 10% ก็ย่อมดีกว่าไม่มีวัคซีนเอาเสียเลย แล้วในแต่ละวันต้องมีการฉีดวัคซีนให้กับผู้ป่วยและอาสาสมัครจำนวนมากเป็นล้านโดส การสั่งวัคซีนวันนี้ ไม่ใช่ว่าจะได้วัคซีนมาใช้ทันที ต้องรอเวลาการผลิต การขนส่ง รอคิวอีกหลายเดือนหรือเป็นปี ซึ่งในช่วงเวลานี้ ความก้าวหน้าในการพัฒนาวัคซีนย่อมรุดไปไกล กว่าจะถึงคิวของไทย วัคซีนก็จะมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้นแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องวิตกจนเกินไป

อีกอย่างที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ
วัคซีนของซิโนแวคได้ขอขึ้นทะเบียนกับอย. แล้ว แต่วัคซีนอีกหลายตัวยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนผ่านการรับรองระดับสากลให้ใช้งานได้จริง เพียงแต่ประเทศต่าง ๆ อาศัยมาตรการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน เรื่องของความเสี่ยงและประสิทธิภาพนั้น ยังต้องใช้เวลาศึกษากันต่อไป
สำหรับพวกเรา ก็ต้องไว้ใจคณะแพทย์ของไทย เมื่อท่านตัดสินใจแล้ว ย่อมต้องมั่นใจได้ว่าดีต่อคนไทย หากเรายังระแวงแคลงใจกับการสั่งซื้อวัคซีน ก็เท่ากับเรากำลังระแวงแคลงใจคณะแพทย์ไทย บุคลากรสำคัญที่เราและทั่วโลกยอมรับว่า เก่งที่สุด ที่ทำให้ประเทศไทย คนไทย รักษาตัวรอดจากภัยโควิด-19 ที่ผานมาได้ดีกว่าประเทศใด ๆ ในโลกนะ
----------
ที่มา: MThai
-------------------