ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เอชไอวี HIV (Human Immunodeficiency Virus)

เริ่มโดย ณัฐกรณ์ ภักดิภูมิเมธี, 21:31 น. 03 มี.ค 64

ณัฐกรณ์ ภักดิภูมิเมธี



HIV (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสชนิดหนึ่งที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้ผู้ได้รับเชื้อไม่สามารถต้านทานโรคต่าง ๆ ได้ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ "โรคฉวยโอกาส" หรือโรคแทรกซ้อนเข้ามาทำร้ายร่างกายได้ง่าย เช่น โรควัณโรคปอด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคทางสมอง ซึ่งอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

เอชไอวีติดต่อกันได้อย่างไร


  • การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย
  • ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน มักพบในผู้เสพยาเสพติด
  • ติดผ่านทางบาดแผล ทั้งทางผิวหนังและช่องปาก
  • ติดจากแม่สู่ลูก

เอชไอวีแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะแรกเริ่มติดเชื้อ จะมีอาการ เช่น มีไข้ ปวดหัว เจ็บคอ มีผื่น ปวดตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ

ระยะอาการสงบ มักจะไม่มีอาการแสดงที่เด่นชัด หรือแทบจะไม่มีอาการป่วยเลย แต่ยังคงมีเชื้อพัฒนาอยู่ภายในร่างกาย

ระยะเอดส์ เป็นระยะที่ภูมิคุ้มกันถูกทำลายจนเสียหายหนัก ทำให้เกิดการติดเชื้อและเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ และเสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดยเอดส์มีอาการสำคัญ เช่น มีไข้อยู่ตลอดเวลา เหนื่อยล้า หมดแรง น้ำหนักลด มีเหงื่อไหลตลอดทั้งคืน ท้องร่วงเรื้อรัง มีฝ้าสีขาว หรือแผลบริเวณลิ้นและปาก

การรักษาเอชไอวีและเอดส์

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาการติดเชื้อ เอชไอวี และโรคเอดส์ให้หายขาดได้ แต่มียาหลายชนิดที่ช่วยรักษาอาการติด
เชื้อเอชไอวี

มียารักษาอาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ที่ได้รับการรับรองมากกกว่า 25 ชนิด เรียกว่า ยาต้านรีโทรไวรัส (antiretroviral drugs หรือเรียกย่อว่า ARV) ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อ เอชไอวี รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคสู่คนอื่น

การรักษาอาการติดเชื้อเอชไอวีประกอบด้วยการใช้ยาต้านไวรัสในกลุ่ม ARV หลายชนิดรวมกันเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ หรือเรียกว่า Antiretroviral therapy (ART) วิธีการนี้เป็นการรักษาโรคโดยการควบคุมไวรัสไม่ให้ขยายพันธุ์ ทำให้ผู้ติดเชื้อมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อสู่คนอื่น ในปัจจุบันวงการแพทย์แนะนำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกคนรับการรักษาด้วย ยา ARV

หากกังวลว่าตัวเองอาจติดเชื้อเอชไอวีภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง (3 วัน) สามารถใช้ยา ARV หลังสัมผัสโรค (post-exposure prophylaxis หรือชื่อย่อว่า PEP) เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อ ผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อจำเป็นต้องได้รับยาให้เร็วที่สุดภายในเวลา 3 วันหลังจากสัมผัสเชื้อเอชไอวีเพื่อให้การป้องกันมีประสิทธิผล

นอกจากนี้ ยา ARV สามารถใช้ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนสัมผัสโรค (Pre-exposure prophylaxis หรือชื่อย่อว่า PrEP) ใช้ในผู้ไม่มีเชื้อเอชไอวีแต่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูง และต้องการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อต้องรับประทานยาทุกวันเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

วิธีการป้องกันเอชไอวี (HIV)


  • สวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่ใช้เข็มฉีดยาเสพติดชนิดเข้าเส้นร่วมกับคนอื่น
  • ตรวจเลือดก่อนการแต่งงาน เพื่อให้มั่นใจว่าร่างกายของทั้งคู่ไม่มีการติดเชื้อ หรือเป็นโรคอื่น ๆ ที่สามารถแพร่สู่คู่สมรสได้
  • รับการตรวจเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ใช้ยา PrEP ยาต้านเชื้อเอชไอวี ก่อนสัมผัสเชื้อ