ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เที่ยววัดทำบุญ พระใหญ่ จังหวัดอ่างทอง

เริ่มโดย alapod, 23:38 น. 14 พ.ค 64

alapod

1. วัดป่าโมกวรวิหาร
อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง

วัดป่าโมกวรวิหาร ตั้งอยู่ที่เขตเทศบาลตำบลป่าโมก ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกห่างจากอำเภอ เดิมมีวัด 2 วัด อยู่ติดกัน คือ วัดตลาดกับวัดชีปะขาว วัดป่าโมกวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่ งดงามมากองค์หนึ่งของประเทศไทย มีความยาวจากพระเมาลี ถึงปลายพระบาท 22.58 เมตร ก่ออิฐถือปูนปิดทอง องค์พระนี้สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยสุโขทัยมีประวัติความเป็นมา น่าอัศจรรย์ เล่าขานมาว่า ได้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัดราษฎร บวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ

2. วัดราชปักษี(วัดนก)
อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง

วัดราชปักษี(วัดนก) ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ภายในวัดมีพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) องค์ใหญ่ มีลักษณะคล้ายพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก  สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปเก่าสมัยอยุธยา เดิมองค์พระชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก ปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่

3. วัดม่วง
อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

ภายในวัดจะมารูปปั้นแดนนรก ซึ่งหลวงพ่อเกษม ท่านได้สร้างแดนนรก ตามพระไตรปิฎก ที่ระบุถึงเรื่อง การสร้างบุญกุศล ก็ได้รับบุญนั้น และการสร้างแต่บาป ก็ต้องได้รับบาปตามสนองนั้น

4. วัดสี่ร้อย
อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

  ตามตำนานเล่าว่า ในอดีตกาล พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่า ได้ให้มังระ ละมังฆ้อนนรธาราชบุตร ยกทัพมาตีเมืองมะริดของไทย ซึ่งอยู่ในความปกครองของกรุงศรีอยุธยา ในครั้งนั้นขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ ซึ่งเป็นผู้ทรงวิทยาคมแก่กล้า ชำนาญการรบด้วยดาบสองมือ จนมีลูกศิษย์มากมาย จึงได้รวบรวมชาววิเศษไชยชาญ จำนวน 400 คน เข้าสมทบกับ กองทัพของพระยารัตนาธิเบศร์ โดยใช้ชื่อว่า "กองอาทมาต" เมื่อพระยารัตนาธิเบศร์ยกกองทัพไปตั้งที่เมืองกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และได้สั่งให้ขุนรองปลัดชูคุมกองอาทมาต ไปตั้งสกัดกองทัพพม่าที่อ่าวหว้าขาว เหนือที่ว่าการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน

5. พระนอนวัดขุนอินทประมูล หรือ พระศรีเมืองทอง
อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง

จากตำนานกล่าวว่า ขุนอินทประมูล ได้ยักยอกเงินหลวงมาสร้าง ครั้งถูกสอบถามว่าเอาเงินจากใหนมาสร้างพระ ขุนอินทประมูลก็ไม่ยอมบอกความจริง จึงถูกลงโทษจนตาย คงมีความเชื่อที่ว่า ถ้าบอกแหล่งที่มาของเงินแล้ว ตนจะไม่ได้กุศลตามที่ปรารถนา

6. วัดไชโยวรวิหาร (วัดเกษไชโย)
อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้น แต่ในระหว่างก่อสร้างพระวิหารนั้น แรงสั่นทำให้องค์หลวงพ่อโตชำรุดเสียหาย จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นมาใหม่ และพระราชทานนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ภายในวัดไชโยวรวิหาร

7. วัดต้นสน
อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง

พระพุทธรูปทองเหลืององค์ใหญ่นามว่า สมเด็จพระพุทธนวโลกุตร หรือ สมเด็จพระศรีเมืองทอง ซึ่งสร้างโดย พระราชสุวรรรโมลี แต่สร้างได้ถึงเพียงพระอุระ (อก) ขององค์พระ พระราชสุวรรณโมลีก็มรณภาพเสียก่อน พระวิสิฐคณาภรณ์  เจ้าอาวาสรูปต่อมาจึงได้ดำเนินการสร้างต่อจนแล้วเสร็จ

ข้อมูลจาก : chinsangtrip.com