ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ร้อนใน ปัญหาสุขภาพในช่องปาก รักษาได้ไม่ยาก

เริ่มโดย เอยู, 22:28 น. 18 ก.ค 64

เอยู


อาการร้อนในที่ทำให้เกิดแผลในช่องปาก ไม่ได้เป็นปัญหาส่งผลกระทบต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาต่อบุคลิกภาพ เพราะอาจทำให้เกิดกลิ่นปากและยังทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง สาเหตุของร้อนในเกิดจากอะไร มีวิธีดูแลรักษาและป้องกันอาการร้อนในได้อย่างไร  คำถามนี้ มีคำตอบ
อาการร้อนใน คืออะไร ?
ร้อนใน คือ การเกิดแผลภายในช่องปากเป็นแผลขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ขึ้นบริเวณ กระพุ้งแก้ม ลิ้น หรือส่วนใดส่วนหนึ่งภายในปาก บางรายพบว่าเกิดแผลเปื่อยขึ้นบริเวณด้านในริมฝีปาก แก้มหรือลิ้น ทำให้มีอาการแสบ เจ็บและรับประทานอาหารหรือพูดคุยได้ลำบาก
สาเหตุของอาการร้อนใน
ร้อนใน เป็นอาการที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ส่วนใหญ่แผลร้อนในที่เกิดขึ้นในช่องปาก จะสามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยที่ไม่ต้องรักษา ส่วนสาเหตุทางการแพทย์สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ดังนี้
เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
เกิดจากปัจจัยทางสภาพแวดล้อม เช่น จากสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ
เกิดจากการแพ้อาหารบางชนิด
เกิดจากการตอบสนองต่อแบคทีเรียในปาก
เกิดจากชื้อไวรัสในช่องปาก
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่าง ๆ ภายในร่างกาย
เกิดจากปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
เกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ และดื่มน้ำน้อย
เกิดจากความเครียดหรือมีภาวะเครียดสะสม
เกิดจากร่างกายขาดวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ขาดเกลือแร่ วิตามินบี เหล็ก และสังกะสี
อาการร้อนในและลักษณะอาการที่ต้องพบแพทย์
อาการร้อนในที่พบส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่การเป็นแผลบวมแดงและเจ็บในช่องปาก หรืออาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการไข้ หรือต่อมน้ำเหลืองบวม มีตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นบริเวณลิ้น แก้ม และริมฝีปากด้านใน ร้อนในแม้จะเป็นอาการที่สามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ หากมีอาการต่อไปนี้ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษา เช่น
มีอาการร้อนในเกิดขึ้นบ่อย ๆ โดยที่แผลเดิมยังคงอยู่และมีแผลใหม่เกิดขึ้นก่อนแผลเก่าจะหาย 
มีอาการร้อนในและเป็นแผลในช่องปากพร้อมกับมีไข้สูง
มีอาการร้อนในหรือเป็นแผลเปื่อยในช่องปากนานเกินกว่า 2 สัปดาห์
แผลในช่องปากที่เกิดจากร้อนในมีขนาดใหญ่กว่าปกติ หรืออาการรุกลามไปยังบริเวณริมฝีปาก
แผลในช่องปากที่เกิดจากร้อนใน ส่งผลให้รับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มได้ลำบากมาก
แผลร้อนในภายในช่องปาก ไม่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ด้วยตัวเอง

การวินิจฉัยอาการร้อนในจากแพทย์
อาการร้อนในที่ส่งผลให้เกิดแผลในช่องปาก หากอาการรุนแรงและต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษา โดยทั่วไป แพทย์หรือทันตแพทย์สามารถระบุโรคได้ด้วยการตรวจดูที่แผล ยกเว้นกรณีที่พบความผิดปกติหรืออาการแผลร้อนในเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แพทย์จะวินิจฉัยด้วยการตรวจเลือดหรือตรวจชิ้นเนื้อจากผู้ป่วยที่มีอาการดังต่อไปนี้
พบความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่มีความบกพร่อง
มีความผิดปกติเกี่ยวกับระดับฮอร์โมนในร่างกายของผู้ป่วย
ตรวจพบแผลในช่องปากเกิดจากเชื้อไวรัส
แผลร้อนในเกิดจากร่างกายขาดวิตามินหรือแร่ธาตุต่าง ๆ 
แนวทางการรักษาแผลร้อนใน
โดยทั่วไปแผลร้อนในสามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ กรณีพบความผิดปกติหรือเกิดแผลในช่องปากรุกลามและผลใหญ่มากขึ้น สามารถแบ่งการรักษาออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ การรักษาด้วยตนเองและรักษาอาการร้อนในโดยแพทย์ ดังนี้
1.รักษาอาการร้อนในและผลในช่องปากด้วยตนเอง 
การดูแลรักษาอาการร้อนในหรือแผลร้อนในด้วยตนเอง สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การรักษาสุขอนามัยภายในช่องปากเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยการแปรงฟันให้สะอาดด้วยแปรงที่มีขนอ่อนนุ่ม หรือใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ ขณะมีแผลในช่องปากที่เกิดจากร้อนในควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น กลั้วปากด้วยน้ำยาบ้วนปากอ่อน ๆ หรือน้ำเกลือ ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บแผลในช่องปากได้
2.รักษาอาการร้อนในโดยแพทย์
เมื่อมาพบแพทย์ด้วยอาการร้อนในนานเกินกว่า 1-2 สัปดาห์ รวมทั้งมีอาการผิดปกติของแผลภายในช่องปาก เมื่อวินิจอาการแล้วขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาบ้วนปากต้านแบคทีเรีย หรือยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาเดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) หรือยาลิโดเคน (Lidocaine) เพื่อลดการอักเสบและความเจ็บปวด บางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ เช่น ยาไตรแอมซิโนโลน ส่วนผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติเมื่อตรวจวินิจฉัยพบสาเหตุและอาการของโรคแล้ว แพทย์จะทำการรักษาไปตามแนวทางที่ถูก่ต้องและเหมาะสมกับอาการของโรคต่าง ๆ เหล่านั้น
วิธีป้องกันตนเองจากอาการร้อนใน
ดื่มน้ำมาก ๆ และการป้องกันอาการร้อนในที่ได้ผลดีควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นและเป็นน้ำที่อุณหภูมิห้อง
ทานอาหารประเภทผักผลไม้ที่มีกากใย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน
นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ดูแลสุขอนามัยของช่องปาก แปรงฟันหลังมื้ออาหารเป็นประจำหรือใช้ไหมขัดฟันวันละครั้ง จะช่วยให้ช่องปากสะอาด
ควรหลีกเลี่ยงยาสีฟันที่มีส่วนผสมของโซเดียม ลอริล ซัลเฟต
ร้อนในและการเกิดแผลในช่องปาก เป็นปัญหาสุขภาพที่เป็นแล้วสารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือรักษาอาการด้วยตนเองได้หลายวิธี แต่การป้องกันตนเองย่อมดีกว่าดูแลรักษา เพียงดูแลสุขอนามัยในช่องปาก หมั่นออกกำลังกายพักผ่อนอย่างเพียงพอเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เมื่อร่างกายแข็งแรงมีภูมิต้านทานที่ดี ก็ช่วยให้ห่างไกลจากอาการร้อนในได้แล้ว

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/apthous-ulcer/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/