ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ข่าวล่าสุดรถไฟหาดใหญ่-สงขลา

เริ่มโดย เก, 11:27 น. 20 ม.ค 54

เก

โครงการฟื้นรถไฟสายเก่าหาดใหญ่ – สงขลา

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ยกเลิกเดินรถไฟสายหาดใหญ่ – สงขลา เมื่อราวปี 2521 เมื่อไม่มีการเดินรถ ทำให้มีผู้เข้าบุกรุกตามแนวทางรถไฟสายนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งปัจจุบัน ถึงขนาดมีการสร้างที่อยู่อาศัยคร่อมราง จนไม่เหลือสภาพความเป็นทางรถไฟต่อไปอีกแล้ว

ปัจจุบันมกระทรวงคมนาคมมีแผนที่จะรื้อฟื้นเส้นทางรถไฟสายนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ตามความต้องการของประชาชนในจังหวัดสงขลา โดยเฉพาะจากผู้ที่ต้องเดินทางสัญจรไปมาระหว่างตัวเมืองสงขลากับตัวเมืองหาดใหญ่ เนื่องจากไม่อยากทนกับสภาพการจราจรที่แออัดบนถนนสายหลักที่เชื่อมสองเมืองใหญ่แห่งนี้

ในการรื้อฟื้นที่เส้นทางรถไฟสายนี้ เริ่มต้นเมื่อสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรงคมนาคม ได้จัดทำแผนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเชื่อมโยงเมืองหาดใหญ่กับเมืองสงขลาขึ้น ซึ่งผลจากการคัดเลือกของคณะที่ปรึกษา พบว่า ระบบรถไฟชานเมืองที่วิ่งบนทางรถไฟเดิมมีความเหมาะสมมากที่สุด

ที่ปรึกษาได้ออกแบบแนวคิดในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟใหม่ ตามเส้นทางรถไฟเดิม มีระยะทางทั้งสิ้น 29.087 กิโลเมตร เริ่มจาก สถานีหาดใหญ่ สิ้นสุดที่สถานีสงขลา โดยปรับปรุงเส้นทางรวมรางรถไฟและไม้หมอน ระยะ 30 กิโลเมตร

สร้างสถานี 12 แห่ง ได้แก่ สถานีหาดใหญ่ สถานีตลาดเทศบาล สถานีคลองแห สถานีคลองเปล สถานีเกาะหมี สถานีตลาดน้ำน้อย สถานีกลางนา สถานีพะวง สถานีน้ำกระจาย สถานีบางดาน สถานีวัดอุทัย และสถานีสงขลา

โดยระยะแรกสร้างก่อน 4 สถานี คือ สถานีหาดใหญ่ สถานีตลาดน้ำน้อย สถานีน้ำกระจายและสถานีสงขลา ทุกสถานีสามารถให้ขบวนรถไฟสับหลีกกันได้

นอกจากนี้ยังจะสร้างสะพานใหม่ 11 แห่ง ติดตั้งเครื่องกั้นถนน 9 แห่ง สร้างสะพานข้ามทางรถไฟ 5 แห่ง

อีกทั้งยังจะสร้างถนนคู่ขนานเลียบทางรถไฟทั้ง 2 ฝั่งใน 2 แห่ง แห่งแรก ตั้งแต่บริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์กับลพบุรีรามเมศวร์ หรือแยกโรงปูน อำเภอหาดใหญ่ ไปจนถึงถนนกาญจนวนิชใกล้กับเขาบันไดนาง ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร แห่งที่สองตั้งแต่จุดตัดถนนกาญจนวนิช อำเภอเมืองสงขลา ไปจนถึงที่ตั้งสถานีสงขลา ระยะทาง 8.1 กิโลเมตร

ปัจจุบันบริเวณที่จะสร้างถนนเลียบทางรถไฟทั้ง 2 แห่ง เป็นที่ตั้งของชุมชนบนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยอย่างหนาแน่น

สำหรับสถานีสงขลา ซึ่งยังมีอาคารสถานีเดิมอยู่ และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์ การออกแบบจึงเน้นการปรับปรุงตัวสถานีเดิม โดยปรับปรุงภายนอกของอาคารและจัดการพื้นที่ภายในให้เป็นสัดส่วน ส่วนสถานีหาดใหญ่ จะมีการออกแบบใหม่เป็นโครงสร้างเหล็ก หลังคาที่ผ้าใบ ตัวอาคารสถานีเป็นศูนย์กลางของพื้นที่และพัฒนาพื้นที่โดยรอบในเชิงพาณิชย์

รูปแบบและเทคโนโลยีของรถรถไฟ 2 ประเภทที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นขบวนรถไฟหาดใหญ่ - สงขลา ได้แก่ ระบบรถไฟดีเซลราง และรถไฟราง ซึ่งคณะที่ปรึกษาเห็นว่า ควรใช้ระบบรถไฟดีเซลราง เนื่องจากใช้งบประมาณการลงทุนไม่สูงมากนัก และเหมาะสมกับการเดินทางในพื้นที่

ในแผนฉบับนี้ ระบุว่า ได้กำหนดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การสำรวจและออกแบบรายละเอียด ชดเชยสิ่งปลูกสร้างและดำเนินการก่อสร้าง หากเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ปี 2554 คาดว่าจะสามารถเปิดใช้งานได้ในปี 2559


http://www.prachatai.com/journal/2011/01/32714

ขอบคุณมองวินมอเตอร์ไซ

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณเช่นกันครับ ช่วย ๆ กันติดตามข่าวสาร นำมาแบ่งปันกันนะครับ  ส-ดีใจ

ร่วมด้วยคน

ดีใจจังเลยจะได้นั่งรถไฟไปเที่ยวหาดใหญ่-สงขลา อยากชมบรรยาศข้างทาง
น่าจะคึกคักเพราะบางคนเกิดมายังไม่มีโอกาสได้ขึ้นรถไฟก็มีน่ะ

tak_cis

ดีใจจังจะได้นั่งรถไฟไปหาดใหญ่แล้ว  ส-ดีใจ

กิ้วๆๆ

เราต้องช่วยกันสร้างกระแส  กิ๊วๆๆๆๆ    ส.หัว ส.หัว

รอนะคนดี

วามันสุดยอดอย่างแรงบ่าวเห้อ ปันนี้แล รอมานานแล้ว

กิมหยง

. . .

ขอบคุณครับ พระอาจารย์

ขอบคุณทุก ๆ ท่านที่ให้ความสนใจ

ขอบพระคุณทุก ๆ ท่านที่เกี่ยวข้องในการนำรถไฟเส้นนี้กลับมา

ต่อไปก็ต้องเก็บภาพทางรถไฟที่เป็นอยู่แบบปัจจุบัน
ไว้ให้คนในอนาคตได้ดูกันครับ

ส่วนกระทู้รถไฟ จะรีบนำกลับมาอย่างสมบูรณ์โดยเร็วที่สุดครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

Oganoi

จะดีไหมถ้าเป็นรถไฟฟ้า เอาแบบลอยฟ้าเลยอ่ะ เพราะเป็นเมืองท่องเที่ยวอยู่แล้ว อยากเห็นและอยากใช้บริการจัง แล้วพอเสร็จที่ถนนนางงามก็จัดถนนคนเดินทุกวันศุกร์เสาร์อาทิตย์  เชื่อว่าคนเพียบ  ที่สำคัญ จะได้เลิกเสี่ยงกับเจ้าพ่อสีเขียวเหลืองเสียทีเวลาขับรถเส้นกาญจนวนิช
ไหนว่าไปแล้วกลับหน้าฝน  ใครเป็นคนสัญญาเอาไว้ ทิ้งให้รออีนานเท่าไร  คนแบบนี้ก็มี

2PM

อ้างจาก: ร่วมด้วยคน เมื่อ 13:39 น.  21 ม.ค 54
ดีใจจังเลยจะได้นั่งรถไฟไปเที่ยวหาดใหญ่-สงขลา อยากชมบรรยาศข้างทาง
น่าจะคึกคักเพราะบางคนเกิดมายังไม่มีโอกาสได้ขึ้นรถไฟก็มีน่ะ

ชีวิตเรามีครั้งเดียว ที่นั่งรถไฟ ส่วนใหญ่นั่งเครื่องบินมากกว่า

อ้างจาก: Oganoi เมื่อ 11:22 น.  22 ม.ค 54
จะดีไหมถ้าเป็นรถไฟฟ้า เอาแบบลอยฟ้าเลยอ่ะ เพราะเป็นเมืองท่องเที่ยวอยู่แล้ว อยากเห็นและอยากใช้บริการจัง แล้วพอเสร็จที่ถนนนางงามก็จัดถนนคนเดินทุกวันศุกร์เสาร์อาทิตย์  เชื่อว่าคนเพียบ  ที่สำคัญ จะได้เลิกเสี่ยงกับเจ้าพ่อสีเขียวเหลืองเสียทีเวลาขับรถเส้นกาญจนวนิช

เราไม่ได้เป็นคนจ.สงขลา จริง แต่มองเรื่องรถไฟฟ้า เราเรียก BTS มุมมอง จ.สงขลา รู้สึกจะทำค่อนข้างยากมาก เพราะต้องเวนคืนอีก แล้วชาวบ้านจะยินยอมหรือไม่ เห็นถนน อ.หาดใหญ่ อ.เมืองสงขลา คับแคบอยู่แล้ว แต่ถ้า BRT อย่าไปทำเลย เพราะยิ่งแล้วใหญ่ รถติด เพราะคนไทยส่วนใหญ่ต้องการใช้รถมีจำนวนมากอีกส่วนหนึ่ง

ปล. เจ้าพ่อสีเขียวเหลือง คืออะไรอ่ะ งง


หม่องวิน มอไซ

รถโพธิ์ทองครับ สีเขียวเหลือง

นายจริงใจ

ชื่นชมและกำลังรอด้วยใจจดจ่อครับ ขอให้ได้สร้างเร็ววันเถิด....สาธุ

หม่องวิน มอไซ

คนการรถไฟลงใต้เคลียร์ชุมชนบุกรุก แจงเตรียมพื้นที่เปิดทางรางคู่-ฟื้นทางสายเก่า
Prachatai Tue, 2011-01-25 03:39

ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ

ตัวแทนการรถไฟลงสุไหงโก-ลก สงขลาและหาดใหญ่ แก้ปัญหาชุมชนบุกรุกที่ดินรถไฟ เคลียร์ทางก่อรางคู่มาถึง ตัวแทนชุมชนยืนยันขอเช่าที่เพื่ออาศัยผ่าน พอช.


นายอุดร ขันชะสี (ซ้าย) และนายประยูร สุขเกษม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างวันที่ 21-24 มกราคม 2554 นายอุดร ขันชะสี อดีตผู้อำนวยการศูนย์ประจำการรถไฟ เขตภาคใต้ นำนายประยูร สุขเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ประจำการรถไฟ เขตภาคใต้ ในฐานะตัวแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พร้อมด้วยตัวแทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ตัวแทนตัวแทนเครือข่ายสลัม 4 ภาค ตัวแทนสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.) ลงสำรวจพื้นที่ชุมชนบนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยในเขตอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และอำเภอหาดใหญ่ กับอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อแก้ปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

นายอุดร เปิดเผยว่า การเดินทางมาครั้งนี้ เนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทยมีโครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่และโครงการรื้อพื้นทางรถไฟสายสงขลา - หาดใหญ่ คณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย มอบหมายให้ตนมาชี้แจง ทำความเข้าใจและพูดคุยกับชาวบ้านในชุมชนให้เคลื่อนย้ายออกจากแนวสันรางรถไฟในรัศมี 40 เมตร

นายอุดร เปิดเผยต่อไปว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อให้ชุมชนต่างๆ ยืนยันจะเช่าที่ดินรถไฟผ่านองค์กรใด โดยชุมชนบนที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทยในอำเภอสุไหงโก – ลก จังหวัดนราธิวาส 5 ชุมชน ยืนยันว่าจะเช่าที่ดินเพื่ออยู่อาศัยกับ พอช.เนื่องจากคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีมติให้ พอช.เป็นคู่สัญญาเช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทย แล้วให้ชุมชนเช่าจากพอช.อีกต่อหนึ่ง

สำหรับทั้ง 5 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนซารายอ ชุมชนโกลกวิลเลจ ชุมชนดงงูเห่า ชุมชนหลังด่านและชุมชนหัวสะพาน ทั้ง 5 ชุมชน ร่วมอยู่ในขบวนสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.)

อดีตผู้อำนวยการศูนย์ประจำการรถไฟ เขตภาคใต้ กล่าวว่า ส่วนชุมชนบนที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทยในตัวเมืองสงขลา ทางเทศบาลนครสงขลาได้ยื่นขอเช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทยให้ชุมชนต่างๆ ด้วย จำนวน 12 ชุมชน แต่ปรากฏว่าเป็นชุมชนที่ซ้ำซ้อนกับที่ พอช.จะยื่นขอเช่าจากการรถไฟแห่งประเทศไทยด้วย และทั้ง 12 ชุมชน ยืนยันที่จะเช่ากับ พอช.เช่นกัน

ทั้ง 12 ชุมชนประกอบด้วยร่วมใจพัฒนา ชุมชนบ่อนวัว ชุมชนมิตรเมืองลุง ชุมชนภารดร ชุมชนหลังอาชีวะ ชุมชนบ้านพรุ ชุมชนบ้านบน ชุมชนสมหวัง ชุมชนพาณิชย์สำโรง ชุมชนหัวป้อม ชุมชนศาลาหัวยางและชุมชนกุโบร์

นายอุดร กล่าวอีกว่า ในขณะที่ชุมชนทุ่งเสา - ท่ายาง ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ ตอนนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นชุมชนขนส่ง ชาวบ้านยืนยันที่จะขอเช่าที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยกับเทศบาลนครหาดใหญ่ ซึ่งทางเทศบาลนครหาดใหญ่ได้ยื่นขอเช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทยแล้ว เพื่อที่จะบริหารจัดการชุมชนบนที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทยที่อยู่ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่เอง

นายอุดร เปิดเผยด้วยว่า นายประยูร จะมาเป็นผู้อำนวยการศูนย์ประจำการรถไฟ เขตภาคใต้ ซึ่งจะรับผิดชอบที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยต่อจากตน ส่วนตนจะขึ้นไปรับผิดชอบทางภาคอีสานและภาคเหนือ

นายสุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม ตัวแทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช.เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2554 พอช.ได้ร่วมประชุมกังตัวแทนชุมชนทั้ง 12 ชุมชนดังกล่าว ที่อยู่ในเขตเทศบาลนครสงขลา ที่เทศบาลนครสงขลา เพื่อหารือว่า ชุมชนใดจะเข้าร่วมขบวนในการแก้ปัญหากังองค์กรใด ระหว่างเครือข่ายสลัม 4 ภาค หรือ สหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.)

"เบื้องต้นมีชุมชนที่ร่วมขบวนเครือข่ายสลัม 4 ภาคอยู่แล้ว ประกอบด้วยชุมชนกุโบร์ จำนวน 190 ครัวเรือน ชุมชนศาลาหัวยาง 15 ครัวเรือน ชุมชนร่วมใจพัฒนา ชุมชนศาลาเหลือง ชุมชนสมหวังและชุมชนหัวป้อมโซน6" นายสุพัฒพงศ์ กล่าว

"ส่วนชุมชนที่ร่วมขบวน สอช. ประกอบด้วย ชุมชนกุโบร์ 155 ครัวเรือน ชุมชนศาลาหัวยาง 12 ครัวเรือน ชุมชนหัวป้อมโซน 1 – 6 ชุมชนพาณิชย์สำโรง ชุมชนบ้านบน ชุมชนบ้านพรุ ชุมชนมิตรเมืองลุง ชุมชนภารดรและชุมชนหลังอาชีวะ" นายสุพัฒพงศ์ กล่าว

นายนิธิป คงทอง ตัวแทนเครือข่ายสลัม 4 ภาค เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาเครือข่ายสลัม 4 ภาคเคยสอบถามในที่ประชุมว่าชุมชนไหนในเขตเทศบาลนครสงขลาต้องการเข้าร่วมขบวนเครือข่ายสลัม 4 ภาคบ้าง ปรากฏว่า มีตัวแทนชุมชน 5 – 6 ชุมชนยกมือ ประชุมจึงกำหนดให้แต่ละชุมชนออกแบบผังชุมชน จัดระบบสมาชิกและกำหนดอัตราค่าเช่า โดยจะปรับปรุงพื้นที่และขยับออกมาจากแนวรางรถไฟเดิม 5 เมตร

"เริ่มต้นชุมชนที่เข้าร่วมขบวนเครือข่ายสลัม 4 ภาค ในอำเภอหาดใหญ่ มี 3 ชุมชน คือชุมชนเกาะเสือ1-3 ส่วนในตัวเมืองสงขลา คือ ชุมชนสมหวัง ชุมชนศาลาหัวยางครึ่งหนึ่ง ชุมชนกุโบร์ครึ่งหนึ่ง ชุมชนสมหวัง ชุมชนหัวป้อมโซน 6 และชุมชนร่วมใจพัฒนา" นายนิธิป กล่าว

นางละออ ชาญจาญจน์ ตัวแทนสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.) เปิดเผยว่า มีสมาชิกของชุมชนกุโบร์ 190 ครัวเรือนได้เข้าร่วมขบวนกับเครือข่ายสลัม 4 ภาค ส่งผลให้ชุมชนกุโบร์เดิมที่ร่วมขบวนอยู่กับ สอช.แล้ว เหลือสมาชิกเพียง 155 ครัวเรือน

"เป็นความผิดของฉันเองที่ได้รับงบประมาณมาและชักชวนให้คนในชุมชนร่วมตั้งกลุ่มออมทรัพย์ ต่อมาเมื่อชาวบ้านเห็นลู่ทางที่จะของบประมาณต่างๆ มากขึ้น จึงประสานกับเครือข่ายสลัม 4 ภาคและแยกตั้งกลุ่มออมทรัพย์อีกกลุ่มหนึ่ง ทำให้เกิดความแตกแยกในชุมชน" นางละออ กล่าว

กิมหยง

สร้าง & ฟื้นฟู

กม.948

เอาภาพอุโมงค์น้ำรอดทางรถไฟสายเก่า หาดใหญ่ - สงขลามาฝาก ก่อนถึงสถานนีบ้านน้ำกระจายครับ

arkanay

- ขอบคุณทุกส่วนทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ อนาคตสงขลาหาดใหญ่ จะกลายเป็นเมืองเดียวกันแล้ว สมควรที่จะมีระบบรางครับ...
- ขอบคุณทุกเรื่องราว ทุกภาพ ที่ช่วยกันนำมาลงให้เพื่อนๆได้อ่านและมีความรู้ไปพร้อมๆกัน...
- ผลักดันโครงการที่จอดจักรยานเพื่อชุมชน
- ส่งเสริมสนับสนุนการใช้รถจักรยานในทุกภารกิจ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้จักรยานเป็นพาหนะประจำวัน เพื่อความปลอดภัยและมั่นใจในการขับขี่รถจักรยาน
- ผลักดันวันคาร์ฟรีเดย์ปีละ2ครั้ง ในเดือนเมษายน และ กันยายน ของทุกปี
- ขับเคลื่อนโครงการถนนปลอดภัยสำหรับจักรยาน รอบคลองเตย ระยะทาง 8กม.
- ผลักดันโครงการแบ่งปันพื้นที่ถนน โดยไม่ต้องใช้ ไบค์เลน(ทางเฉพาะจักรยาน) โดยการแบ่งปันน้ำใจในการใช้ถนนร่วมกัน
- จัดกิจกรรมซ่อมจักรยานและใส่หมวกให้น้อง ในโรงเรียนที่ได้ร้องขอมา
- ติดต่อพวกเราได้ที่ www.hatyaicycling.blogspot.com