ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ไม่มีศาสนา

เริ่มโดย เณรเทือง, 17:01 น. 28 มี.ค 55

คุณหลวง

อ้างถึงขอโม้ซักหน่อยนะ อรหันต์เท่านั้น ที่ควรจะต่อกรกับ... และต้องพิเรนด้วย อรหันต์ที่ดีๆไม่ซน ไม่มายุ่งหรอก เพราะ นี่มัน โลกียะธรรม ถ้าเป็น สมณะ เปลืองตัวเสียเครดิต ต้อง ฆราวาสบรรลุรรมเท่านั้น พอจะ.....

อ้างถึงที่นี่ในนี้ไม่มีอรหันต์

อ้างถึงผมบอกตรงๆว่า ในนี้ที่คอยอ่านเงียบๆอยู่ ไม่แสดงอาการออกมา ขั้นธรรมเหนือกว่าคุณหลวงมาก และหลายคน และมีถึงขั้นโสดาบัน หลายคน สกทาคามีก็มีบ้าง อนาคามีก็มีเป็นฆราวาสซะด้วยคนนี้สุขุมนุ่มลึกมาก จิตนิ่งไม่กวัดแกว่งเลย ไม่รู้โดนอวตารหรือเปล่า

    หากท่านอ่านการตอบของผมก็ทราบได้ว่า ผมไม่ได้ถกธรรมกับท่าน เพราะว่าท่านเองไม่อาจให้พรที่ผมขอได้ ทั้งๆที่มันเป็นเรื่องจำเป็น กลับอ้างว่าเป็นอาจยึดติดในชื่อไปเสีย และเมื่อท่านทรงพระไตรปิฎกจริง ท่านก็จะทราบว่า แม้คำว่า "พุทธะ" ก็เป็นคำที่พระพุทธองค์ทรงสมมติเรียกพระองค์ต่อชาวชนเท่านั้น

    ดังปรากฏว่าพราหมณ์คนหนึ่งเห็นพระพุทธองค์มีพระวรกาย ผิวพรรณผุดผ่องที่สุดที่เคยเห็นจึงถามว่า "ท่านเป็นมนุษย์หรือ"
    "พราหมณ์ ธรรมอันเป็นเหตุให้เป็นมนุษย์นั้น เราละเสียแล้ว ชื่อว่ามนุษย์จึงไม่มีแก่เรา"

    พราหมณ์ก็ถามต่อไปว่า"ท่านเป็นเทวดา...ยักษ์...มาร...พรหม... หรือ" พระพุทธองค์ก็ทรงตอบเช่นเดิม พราหมณ์จึงว่า
    "ในเมื่อท่านไม่ใช่อะไรทั้งหมด แล้วท่านเป็นอะไรล่ะ"
    "พราหมณ์ หากท่านประสงค์จะเรียกเราแล้ว ก็จงเรียกว่า พุทธะ เถิด"

    ผมจึงแปลกใจที่ท่านผู้บอกว่าบรรลุธรรมกลับไม่สามารถใช้สมมติได้อย่างที่ผู้บรรลุธรรมแท้ๆท่านสามารถ แล้วจึงเผยแผ่พระธรรมได้สืบต่อมาจนปัจจุบัน อย่างนี้แล้วจะเรียกว่าถึงวิมติได้หรือ????

    ผมไม่ถกธรรมกับท่าน เพียงเมื่อท่านบอกว่าอย่าเพิ่งเชื่อตัวท่าน ทั้งๆที่ประกาศบรรลุธรรม แจ้งธรรม ผมเลยต้องขอตรวจสอบสักนิดหนึ่ง เพราะชีวิตสั้นๆของผม เจอมาทั้งพระที่บอกว่าตนเป็นพระอรหันต์ เจอสำนักที่บอกว่าสำนักตนเท่านั้นที่ถึงธรรมแท้ของพระพุทธองค์ที่เหลือในโลกล้วนผิด เจอพระที่เก่งขนาดสามารถเป็นร่างทรงพระพุทธเจ้า ฯลฯ ดังนั้น ท่านจึงเห็นการตอบของผมจึงไม่เข้าไปในธรรม แต่ขอตรวจสอบท่านเท่านั้น อันว่าทองแท้ไม่กลัวไฟ?

    ที่ผมยังตอบต่อๆมา เพราะมันยิ่งสนุก สนุกที่เห็นอะไรบางอย่างแปลกๆ อย่างตัวอย่างที่ผมคัดมาข้างบน ทั้งสามquote ซึ่งเป็นquoteของท่านทั้งหมด?หรือว่าท่านอวตาร?

    อีกอย่างหนึ่งก็คือ ท่านมีญาณที่สามารถส่องทราบได้ ผมก็ยินดี เพราะผมไม่เคยหวั่นไหวกับท่านผู้ทรงธรรมทั้งหลาย เพราะผมยอมรับความเลวของผมมาโดยตลอด ดังนั้น ใครจะมาตำหนิผมมันก็เป็นการตำหนิสิ่งที่ผมยอมรับไว้แล้วทั้งนั้น

    แม้แต่ท่านก็ส่องญาณ? ทราบว่าผมเป็นคนธรรมดา เป็นปุถุชน ก็หลังจากที่ผมยอมรับไปแล้วต่อสาธารณะ หรือมิใช่?

อ้างถึงคุณหลวง ที่ 22:00 น. วันที่ 30 ก.ย.55

       
        ทุกวันนี้ ผมเลยพอใจกับความเป็นคนธรรมดามากที่สุด

อ้างถึงระวังจริตธรรมเทวทัต

    บุคคลทั่วไป

Re: ไม่มีศาสนา
« ตอบกลับ #285 เมื่อ: วันนี้ เวลา 00:16 »

   

คุณหลวงตอบมาเยอะๆเลย ยิ่งตอบ ยิ่งเห็น ว่า ปุถุชน และ ธรรมดามากขึ้น

    ผมเคารพในธรรมเสมอครับ หากว่าธรรมนั้นเป็นประโยชน์ ดังนั้น ผมจึงเคารพในองค์ศาสดาหลายๆท่านด้วยปกติธรรมของท่าน พระพุทธองค์นั้นเป็นเอกอยู่แล้ว พระเยซูก็มีธรรมที่ยิ่งกว่าผม ท่านนบีที่สามารถตัดเสื้อตนเองเพื่อให้แมวจรจัดตัวหนึ่งได้นอนหลับสบาย นั่นก็แสดงว่าธรรมท่านสูงกว่าผม ผมจึงให้ความเคารพแก่ท่านเหล่านั้(ทั้งพระไตรปิฎก ประวัติ เทศนาของหลวงพ่อฤาษีน โดยไม่เข้าไปล่วงเกินธรรมส่วนอื่นที่อาจจะไม่เหมาะกับจริตจิตใจของผม หรือแม้แต่โยคีองค์ต่าง เช่น ท่านสัตยา ไส บาบา เป็นต้น

    แม้แต่ท่านเอง ผมก็ไม่เข้าไปล่วงเกินในธรรมส่วนอื่น เพียงแต่ผมต้องสอบให้เห็นแท้ว่าเก๊หรือจริง หรือตำรา(ทั้งพระไตรปิฎก ทั้งอรรถกถา ทั้งเทศนา ประวัติหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษีที่ผมศึกษาตั้งแต่เริ่มสนใจธรรม ฯลฯ)เพราะว่าท่านประกาศคุณของตนมากมาย และขย่มผมเล่นโดยไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัว

    มาถึงตอนนี้ ผมเข้าใจหลายอย่างแล้ว และขอยอมรับว่า ผมต้องพักการสนทนากับท่านไว้เพียงเท่านี้ ด้วยเหตุผลเล็กๆน้อยๆว่า

    ๑.ผมคุยกับท่าน แต่รบกวนท่านผู้ทรงธรรมมากมายหลายคน และมีถึงขั้นโสดาบัน หลายคน สกทาคามีก็มีบ้าง อนาคามีก็มีเป็นฆราวาสซะด้วย ผมไม่อยากรบกวนท่านเหล่านั้นครับ

    ๒.
อ้างถึงตอนจะสอนอธิบายให้เค้าเข้าใจ เราต้องเอาจิตเราไปตั้งที่ความเป็นปุถุชนธรรมดา แล้วเราจะสอนเค้าให้ค่อยๆเข้าใจไป
ตรงนี้ ผมเองเป็นคนธรรมดาที่คติไม่แน่นอน หากวันหนึ่งผมหลุดกลายเป็นสัตว์นรก เปรต เดรัจฉาน ท่านก็ต้องเอาจิตมาตั้งไว้ที่สิ่งเหล่านี้ด้วย คงเป็นบาปกรรมกับผมยิ่งทีเดียว

    ๓.ไม่ว่าอย่างไร การที่จิตแกว่งนั้น เป็นเพราะจิตแส่ไปยึดติดสิ่งรอบข้างเองทั้งนั้น ไม่ใช่สิ่งรอบข้างเข้ามาติดจิต (ธงไหวเพราะธงหรือลมหรือ...)หากท่านยังเห็นว่าจิตแกว่งเพราะสิ่งต่างๆภายนอก ผมก็ไม่ควรเป็นสาเหตุที่ทำให้จิตท่านแกว่งเลย

    อนุโมทนาสาธุกับความปรารถนาดีต่อชาวชนของท่านครับ และหากท่านยังทรงอารมณ์นี้ได้ถึงหนึ่งปีข้างหน้า ก็ค่อยคุยกัยอีกทีครับผม

    ...สะบายดี...
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

ญาณเพ่งเล็งดู

 
อ้างจาก: คุณหลวง เมื่อ 13:50 น.  01 ต.ค 55
    หากท่านอ่านการตอบของผมก็ทราบได้ว่า ผมไม่ได้ถกธรรมกับท่าน เพราะว่าท่านเองไม่อาจให้พรที่ผมขอได้ ทั้งๆที่มันเป็นเรื่องจำเป็น กลับอ้างว่าเป็นอาจยึดติดในชื่อไปเสีย และเมื่อท่านทรงพระไตรปิฎกจริง ท่านก็จะทราบว่า แม้คำว่า "พุทธะ" ก็เป็นคำที่พระพุทธองค์ทรงสมมติเรียกพระองค์ต่อชาวชนเท่านั้น

    ดังปรากฏว่าพราหมณ์คนหนึ่งเห็นพระพุทธองค์มีพระวรกาย ผิวพรรณผุดผ่องที่สุดที่เคยเห็นจึงถามว่า "ท่านเป็นมนุษย์หรือ"
    "พราหมณ์ ธรรมอันเป็นเหตุให้เป็นมนุษย์นั้น เราละเสียแล้ว ชื่อว่ามนุษย์จึงไม่มีแก่เรา"

    พราหมณ์ก็ถามต่อไปว่า"ท่านเป็นเทวดา...ยักษ์...มาร...พรหม... หรือ" พระพุทธองค์ก็ทรงตอบเช่นเดิม พราหมณ์จึงว่า
    "ในเมื่อท่านไม่ใช่อะไรทั้งหมด แล้วท่านเป็นอะไรล่ะ"
    "พราหมณ์ หากท่านประสงค์จะเรียกเราแล้ว ก็จงเรียกว่า พุทธะ เถิด"

    ผมจึงแปลกใจที่ท่านผู้บอกว่าบรรลุธรรมกลับไม่สามารถใช้สมมติได้อย่างที่ผู้บรรลุธรรมแท้ๆท่านสามารถ แล้วจึงเผยแผ่พระธรรมได้สืบต่อมาจนปัจจุบัน อย่างนี้แล้วจะเรียกว่าถึงวิมติได้หรือ????

    ผมไม่ถกธรรมกับท่าน เพียงเมื่อท่านบอกว่าอย่าเพิ่งเชื่อตัวท่าน ทั้งๆที่ประกาศบรรลุธรรม แจ้งธรรม ผมเลยต้องขอตรวจสอบสักนิดหนึ่ง เพราะชีวิตสั้นๆของผม เจอมาทั้งพระที่บอกว่าตนเป็นพระอรหันต์ เจอสำนักที่บอกว่าสำนักตนเท่านั้นที่ถึงธรรมแท้ของพระพุทธองค์ที่เหลือในโลกล้วนผิด เจอพระที่เก่งขนาดสามารถเป็นร่างทรงพระพุทธเจ้า ฯลฯ ดังนั้น ท่านจึงเห็นการตอบของผมจึงไม่เข้าไปในธรรม แต่ขอตรวจสอบท่านเท่านั้น อันว่าทองแท้ไม่กลัวไฟ?

    ที่ผมยังตอบต่อๆมา เพราะมันยิ่งสนุก สนุกที่เห็นอะไรบางอย่างแปลกๆ อย่างตัวอย่างที่ผมคัดมาข้างบน ทั้งสามquote ซึ่งเป็นquoteของท่านทั้งหมด?หรือว่าท่านอวตาร?

    อีกอย่างหนึ่งก็คือ ท่านมีญาณที่สามารถส่องทราบได้ ผมก็ยินดี เพราะผมไม่เคยหวั่นไหวกับท่านผู้ทรงธรรมทั้งหลาย เพราะผมยอมรับความเลวของผมมาโดยตลอด ดังนั้น ใครจะมาตำหนิผมมันก็เป็นการตำหนิสิ่งที่ผมยอมรับไว้แล้วทั้งนั้น

    แม้แต่ท่านก็ส่องญาณ? ทราบว่าผมเป็นคนธรรมดา เป็นปุถุชน ก็หลังจากที่ผมยอมรับไปแล้วต่อสาธารณะ หรือมิใช่?

    ผมเคารพในธรรมเสมอครับ หากว่าธรรมนั้นเป็นประโยชน์ ดังนั้น ผมจึงเคารพในองค์ศาสดาหลายๆท่านด้วยปกติธรรมของท่าน พระพุทธองค์นั้นเป็นเอกอยู่แล้ว พระเยซูก็มีธรรมที่ยิ่งกว่าผม ท่านนบีที่สามารถตัดเสื้อตนเองเพื่อให้แมวจรจัดตัวหนึ่งได้นอนหลับสบาย นั่นก็แสดงว่าธรรมท่านสูงกว่าผม ผมจึงให้ความเคารพแก่ท่านเหล่านั้(ทั้งพระไตรปิฎก ประวัติ เทศนาของหลวงพ่อฤาษีน โดยไม่เข้าไปล่วงเกินธรรมส่วนอื่นที่อาจจะไม่เหมาะกับจริตจิตใจของผม หรือแม้แต่โยคีองค์ต่าง เช่น ท่านสัตยา ไส บาบา เป็นต้น

    แม้แต่ท่านเอง ผมก็ไม่เข้าไปล่วงเกินในธรรมส่วนอื่น เพียงแต่ผมต้องสอบให้เห็นแท้ว่าเก๊หรือจริง หรือตำรา(ทั้งพระไตรปิฎก ทั้งอรรถกถา ทั้งเทศนา ประวัติหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษีที่ผมศึกษาตั้งแต่เริ่มสนใจธรรม ฯลฯ)เพราะว่าท่านประกาศคุณของตนมากมาย และขย่มผมเล่นโดยไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัว

    มาถึงตอนนี้ ผมเข้าใจหลายอย่างแล้ว และขอยอมรับว่า ผมต้องพักการสนทนากับท่านไว้เพียงเท่านี้ ด้วยเหตุผลเล็กๆน้อยๆว่า

    ๑.ผมคุยกับท่าน แต่รบกวนท่านผู้ทรงธรรมมากมายหลายคน และมีถึงขั้นโสดาบัน หลายคน สกทาคามีก็มีบ้าง อนาคามีก็มีเป็นฆราวาสซะด้วย ผมไม่อยากรบกวนท่านเหล่านั้นครับ

    ๒. ตรงนี้ ผมเองเป็นคนธรรมดาที่คติไม่แน่นอน หากวันหนึ่งผมหลุดกลายเป็นสัตว์นรก เปรต เดรัจฉาน ท่านก็ต้องเอาจิตมาตั้งไว้ที่สิ่งเหล่านี้ด้วย คงเป็นบาปกรรมกับผมยิ่งทีเดียว

    ๓.ไม่ว่าอย่างไร การที่จิตแกว่งนั้น เป็นเพราะจิตแส่ไปยึดติดสิ่งรอบข้างเองทั้งนั้น ไม่ใช่สิ่งรอบข้างเข้ามาติดจิต (ธงไหวเพราะธงหรือลมหรือ...)หากท่านยังเห็นว่าจิตแกว่งเพราะสิ่งต่างๆภายนอก ผมก็ไม่ควรเป็นสาเหตุที่ทำให้จิตท่านแกว่งเลย

    อนุโมทนาสาธุกับความปรารถนาดีต่อชาวชนของท่านครับ และหากท่านยังทรงอารมณ์นี้ได้ถึงหนึ่งปีข้างหน้า ก็ค่อยคุยกัยอีกทีครับผม

    ...สะบายดี...

ส-เหอเหอ ส.อ่านหลังสือ ส.โบยบิน

ญาณเพ่งเล็งดู

เปิดมาแบบสดๆเลย ไม่กล้าเปิดแบบสดๆต้องไปค้นเปิดตำราดู เพราะกลัวเขาจะรู้ความจริง เก๊กพระเอก ติดในชื่อเสียงหน้าตา อัตตา อวิชา ยังไปไม่ถึงไหนเลยคุณ หลวงๆๆๆๆ รีบไปมุ่งมั่นศึกษาอ่านในพระไตรปิฎกจริงจังได้แล้ว ตรงๆเน้นๆไม่นอกลู่นอกทาง มั่วแต่อ่านของพระนู้นพระนี้ทีละท่อน จริตปรุงแต่งไปต่างๆนานา ตัวแทนศาสดามี แผนที่มีไว้แล้ว ยังเที่ยวเดินงมสะเปะสปะอยู่อีกเมื่อไหร่จะถึงฝั่ง ไม่ต้องเก๊ก ลาภยศเกียรติชื่อเสียงหน้าตา เน้นความสวยงามวรรคตอน มันยิ่งทำให้ยึดติด กว่า ฆราวาสธรรมดาซะอีก  ส-เหอเหอ ส.อ่านหลังสือ  ส.โบยบิน

อัสดง

อ้างจาก: จิตว่าง เมื่อ 15:46 น.  01 ต.ค 55
...



...เก่งๆกันทั้งน้าน



ช่วยไปทำให้สามจังหวัดทางใต้สงบทีเถิด..... ส.ก๊ากๆ ส.ยกน้ิวให้
ใช้ยานเพ่งสำรวจแล้ว มันเป็นกรรมเก่าของพื้นที่นั้นๆ เดี๋ยวก็ครายไปเองไม่รู้จะนานแค่ไหน พระพุทธองค์บอก ที่ไหนไม่เกื้อหนุนต่อการปฏิบัติธรรมก็เปลี่ยนภูมิลำเนา หรือไม่เอื้อต่อการทำมาหากินสุจริต หาที่อยู่ใหม่ให้เหมาะสมกับตัวเอง อย่ายึดติด ทุกคนมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เป็นภูมิลำเนา มีกรรมเป็นกลุ่มพวกพ้อง อยากรู้อะไรถามมา ตอบไม่มีกั๊ก ตอบได้ตอบตอบไม่ได้เงียบหาข้อมูล(พูดมากเสียมากพูดน้อยเสียน้อยไม่พูดไม่เสียนิ่งเสียโพธิสัตว์)ถ้าเผยแพร่ธรรมก็ต้องพูด พูดไม่บาปก็ยกในพระไตรปิฎกมาบอกโดยไม่ให้บิดเบือนผิดเพี้ยนไม่ต้องเสริมแต่งขยายความตามจริตตัวเองแค่เอาวจนะมาบอกเฉยๆก็พอแล้ว อย่าเชื่อ ใช้ปัญญาใคร่ครวญเอา ยึดหลักธรรมในพระไตรปิฎก เป็นหลักเป็นแผนที่ อย่าเชื่อไว้ก่อนทุกกรณีจนกว่าจะใช้ปํญญาตัวเองใคร่ครวญดีแล้ว อย่าเชื่อเพราะคำหวานป้อยอ เพราะมีคนนับถือเยอะ เพราะมีทรัพย์สมบัติเยอะ เพราะเขาว่า สาว่า น่าว่า อย่าเชื่อ เพราะอ้างหลักฐานถึงพยานถึง มันมีมากกว่านั้นมหาศาลมากเรื่องทางโลกใบไม้ทั้งป่า ส.อ่านหลังสือ ส.อืม

อานุภาพของจิต

034 ความสำคัญของจิตใจ

ปัญหา มีบางคนกล่าวว่า ในบรรดาการกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจนั้น การกระทำทางกายสำคัญที่สุด เพราะก่อให้เกิดผลเห็นได้ชัด เช่น ฆ่าเขาตายด้วยกาย ย่อมมีผลเสียหายมากกว่ากล่าวอาฆาตด้วยวาจา และการคิดจะฆ่าด้วยใจ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไรในเรื่องนี้ ?

พุทธดำรัส ตอบ "..... ดูก่อนตัปสสี บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็นส่วนละอย่างต่างกันเหล่านี้ เราบัญญัติมโนกรรมว่ามีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม เราจะบัญญัติกายกรรมวจีกรรมว่ามีโทษมากเหมือนมโนกรรมหามิได้"
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว อุบาลีคฤหบดีผู้เป็นสาวกของนิครนถนาฏบุตรก็ยังยืนยันอยู่นั่นเองว่า กายกรรมมีโทษมากกว่า พระผู้มีพระภาคจึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญในความข้อนั้นเป็นไฉน นิครนถ์ในโลกนี้เป็นคนอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ห้ามน้ำเย็น ดื่มแต่น้ำร้อน เมื่อเขาไม่ได้น้ำเย็นจะต้องตาย ดูก้อนคฤหบดี ก็นิครนถนาฏบุตรบัญญัติความเกิดของนิครนถ์ผู้นี้ ณ ที่ไหนเล่า?"
อุบาลีคฤหบดี "..... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวดาชื่อว่ามโนสัตว์มีอยู่นิครนถ์นั้นย่อมเกิดในเทวดาจำพวกนั้น.... เพราะนิครนถ์ผู้นั้นเป็นผู้มีใจเกาะเกี่ยวทำกาละ...."
ก็เป็นอันว่า อุบาลีคฤหบดีย่อมรับว่ามโนกรรมสำคัญกว่า แต่เขายังยืนยันต่อไปว่า กายกรรมสำคัญกว่า พระผู้มีพระภาคจึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นิครนถ์ในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยการสังวรโดยส่วน ๔ คือ ห้ามน้ำทั้งปวง ประกอบด้วยการห้ามบาปทั้งปวง กำจัดบาปด้วยการห้ามบาปทั้งปวง อันการห้ามบาปทั้งปวงถูกต้องแล้ว เมื่อเขาก้าวไป ถอยกลับ ย่อมถึงการฆ่าสัตว์ตัวเล็ก ๆ เป็นอันมากดูก่อนคฤหบดี นิครนถนาฏบุตรบัญญัติ วิบากเช่นไรแก่นิครนถ์ผู้นี้ ?"
อุบาลี "ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญ นิครนถนาฏบุตรมิได้บัญญัติกรรม อันเป็นไปโดยไม่เจาะจงว่ามีโทษมากเลย"
พระผู้มีพระภาค "ดูก่อนคฤหบดี ก็ถ้าจงใจเล่า ?"
อุบาลี ".... เป็นกรรมมีโทษมาก"
พระผู้มีพระภาค "... ก็นิครนถนาฏบุตรเจตนาลงในสวนไหน ?"
อุบาลี "... นิครนถนาฏบุตรบัญญัติเจตนาลงในส่วนมโนทัณฑะ" (มโนกรรม)
ก็เป็นอันว่า อุบาลีคฤหบดี ยอมรับด้วยถ้อยคำของตนเองว่ามโนกรรมสำคัญกว่า แต่ก็ยังยืนยันว่ากายกรรมสำคัญกว่าต่อไปอีก พระผู้มีพระภาคจึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บ้านนาฬันทานี้ เป็นบ้านมั่งคั่งเป็นบ้านเจริญ มีชนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น.... พึงมีบุรุษคนหนึ่งเงื้อดาบมา เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เขาจักทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาฬันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่ง ดูก่อนคฤหบดี ท่านจักสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะสามารถทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในหมู่บ้านนาฬันทานี้ให้เป็นลานเนื้อันเดียวกันได้หรือ ?"
เมื่ออุบาลีทูลว่า ทำไม่ได้ พระพุทธองค์จึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิต พึงมาในบ้านนาฬันทานี้.... พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำบ้านนาฬันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยจิตคิดประทุษร้ายดวงเดียว ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์.... นั้น จะสามารถทำบ้านนาฬันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยจิตประทุษร้ายดวงหนึ่งได้หรือหนอ ?"
อุบาลีคฤหบดียอมรับว่าทำได้ ซึ่งแสดงให้เป็นว่ามโนกรรมสำคัญกว่าแต่ก็ยังยืนยันต่อไปว่ากายกรรมสำคัญกว่า พระผู้มีพระภาคจึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญกว่า พระผู้มีพระภาคจึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ป่าทัณฑดี ป่ากาลิคะ ป่ามาตังคะ เกิดเป็นป่าไปท่านได้ฟังมาแล้วหรือ ?
อุบาลี ".... ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว...."
พระผู้มีพระภาค "... ท่านได้ฟังมาว่าอย่างไร เกิดเป็นป่าไปเพราเหตุไร ?"
อุบาลี "... เพราะใจประทุษร้าย อันพวกเทวดาทำเพื่อฤาษี"
ในที่สุด อุบาลีคฤหบดีก็ยอมรับว่ามโนกรรมสำคัญกว่า และประกาศตนเป็นสาวกของพระบรมศาสดา

นัยอุปาลิวาทสูตร ม. ม. (๖๔-๗๐)
ตบ. ๑๓ : ๕๕-๖๕ ตท.๑๓ : ๕๔-๖๑
ตอ. MLS. II : ๓๘-๔๓

กัมมุนาวัฏตีโลโก

076 การตำหนิและการยกยอ

ปัญหา พระพุทธองค์ทรงแสดงหลักในการตำหนิ หรือให้การยกยอบุคคลอื่นไว้อย่างไรหรือไม่ ?
พุทธดำรัส ตอบ "ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้การยกยอและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกยอ ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ?

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร เป็นการยกยอ เป็นการตำหนิ และไม่เป็นการแสดงธรรม ? คือเมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใด กระทำการประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัส ของคนที่มีความสุขสืบเนื่องมาแต่กามอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด ดังนี้ชื่อว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง
"เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใด ไม่กระทำการประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขสืบเนื่องมาแต่กามอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบดังนี้ ชื่อว่ายกยอคนพวกหนึ่ง
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลเป็นการยกยอ เป็นการตำหนิ และไม่เป็นการแสดงธรรม
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ไม่เป็นการยกยอ ไม่เป็นการตำหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้ ? คือ ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดกระทำการประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัส...... ชนเหล่านั้นทั้งหมดมีทุกข์...... กล่าวอยู่ว่า อันความตามประกอบนี้แล เป็นธรรมมีทุกข์..... ดังนี้ เชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น
"ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดไม่กระทำการตามประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัส ของคนที่มีความสุขสืบเนื่องมาแต่กาม..... ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อนใจ เป็นผู้ปฏิบัติชอบ..... อย่างนี้แล ไม่เป็นการยกยอ ไม่เป็นการตำหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้....."

อรณวิภังคสูตร อุ. ม. (๖๕๗-๖๕๘)
ตบ. ๑๔ : ๔๒๕-๔๒๗ ตท. ๑๔ : ๓๖๒-๓๖๔
ตอ. MLS. III : ๒๗๙-๒๘๐

กัมมุนาวัฏตีโลโก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑.พรหมชาลสูตร] จูฬศีล


พวกภิกษุกราบทูลว่า "รู้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "คำติเตียนนั้น ถ้าเป็นเรื่องไม่จริง พวกเธอควรชี้แจงให้
เห็นชัดว่า 'เรื่องนี้เป็นเรื่องไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่มี และไม่ปรากฏในพวกเรา'
[๖] ภิกษุทั้งหลาย ถึงคนพวกอื่นจะพึงกล่าวยกย่องเรา กล่าวยกย่องพระธรรม
หรือกล่าวยกย่องพระสงฆ์ก็ตาม พวกเธอไม่ควรทำความรื่นเริงดีใจหรือกระหยิ่มใจ
ต่อคนพวกนั้น ถ้าพวกเธอทำความรื่นเริงดีใจหรือกระหยิ่มใจต่อพวกเขา พวกเธอ
ก็จะประสบอันตรายเพราะความรื่นเริงดีใจนั้นได้เช่นกัน คำยกย่องนั้น ถ้าเป็นเรื่อง
จริง พวกเธอควรยืนยันให้เขารู้ชัดลงไปว่า 'เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ถูกต้อง มีอยู่
และปรากฏในพวกเรา'

จูฬศีล

[๗] ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน๑ เมื่อกล่าวยกย่องตถาคต ก็พึงกล่าวด้วยเรื่อง
เล็กน้อย ต่ำต้อยเพียงเรื่องระดับศีลเท่านั้น คือ
[๘] ปุถุชนเมื่อกล่าวยกย่องตถาคต ก็จะพึงกล่าวว่า
๑. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและ
ศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่
๒. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ รับเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่ทรงเป็นขโมย
เป็นคนสะอาดอยู่
๓. พระสมณโคดมทรงละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ประพฤติ
พรหมจรรย์๒ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม๓ อันเป็นกิจของชาวบ้าน

เชิงอรรถ :
๑ คนที่ยังมีกิเลสหนา ที่เรียกเช่นนี้ เพราะบุคคลประเภทนี้ยังมีเหตุก่อให้เกิดกิเลสอย่างหนานานัปการ
ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ อันธปุถุชน คนที่ไม่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิต และกัลยาณปุถุชน คนที่ได้
รับการศึกษาอบรมทางจิตแล้ว (ที.สี.อ. ๗/๕๘-๕๙)
๒ พรหมจรรย์มีความหมายหลายนัย ในที่นี้หมายถึงเมถุนวิรัติ หรือการงดเว้นจากเมถุนธรรม (ที.สี.อ.
๑๘๙ /๑๖๐)
๓ กิจของคนคู่ หมายถึงการร่วมประเวณีหรือการเสพสังวาสกัน (ที.สี.อ. ๘/๗๐ )

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๓ }


--------------------------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑.พรหมชาลสูตร] จูฬศีล


[๙] ๔. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ ตรัสแต่คำสัตย์
ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
๕. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากคำส่อเสียด คือ ฟังความจาก
ฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่าย
โน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน
ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน
ตรัสแต่ ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี
๖. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากคำหยาบ คือ ตรัสแต่คำไม่มี
โทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมาก
รักใคร่พอใจ
๗. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ คือ ตรัสถูกเวลา
ตรัสคำจริง ตรัสอิงประโยชน์ ตรัสอิงธรรม ตรัสอิงวินัย ตรัสคำที่มี
หลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะ
แก่เวลา
[๑๐] ๘. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม
๙. พระสมณโคดมเสวยมื้อเดียว ไม่เสวยตอนกลางคืน ทรงเว้นขาด
จากการเสวยในเวลาวิกาล๑
๑๐. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี
และดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล
๑๑. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกาย
ด้วยพวงดอกไม้ของหอมและเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่ง
การแต่งตัว
๑๒. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
๑๓. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับทองและเงิน
๑๔. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ๒

เชิงอรรถ :
๑ เวลาที่ห้ามไว้เฉพาะแต่ละเรื่อง เวลาวิกาลในที่นี้หมายถึง ผิดเวลาที่กำหนดไว้ คือตั้งแต่หลังเที่ยงวันจนถึง
เวลาอรุณขึ้น (ที.สี.อ. ๑๐/๗๕)
๒ หมายถึง ธัญญชาติที่มีเมล็ดมีเปลือกสมบูรณ์ พร้อมที่จะงอกได้ เช่นข้าวเปลือก (ที.สี.อ. ๑๐/๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๔ }


--------------------------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑.พรหมชาลสูตร] มัชฌิมศีล


๑๕. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
๑๖. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
๑๗. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
๑๘. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
๑๙. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
๒๐. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
๒๑. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับเรือกสวนไร่นาและที่ดิน
๒๒. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
๒๓. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการซื้อขาย
๒๔. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม
และด้วยเครื่องตวงวัด
๒๕. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวงและการ
ตลบตะแลง หรือ
๒๖. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ
การตีชิงวิ่งราว การปล้นและการขู่กรรโชก

จูฬศีล จบ

มัชฌิมศีล

[๑๑] ปุถุชนเมื่อกล่าวยกย่องตถาคต ก็จะพึงกล่าวว่า
๑. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่น
ที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังพรากพืชคาม๑
และภูตคาม๒ เหล่านี้ คือ พืชเกิดจากเหง้า เกิดจากลำต้น เกิดจากตา เกิดจาก
ยอด เกิดจากเมล็ด

เชิงอรรถ :
๑ พืชพันธุ์จำพวกที่ถูกพรากจากที่แล้ว ยังสามารถงอกขึ้นได้อีก (ที.สี.อ. ๑๑/๗๘)
๒ ของเขียว หรือพืชพันธุ์อันเกิดอยู่กับที่ มี ๕ ชนิด คือ ที่เกิดจากเหง้า เช่นกระชาย, เกิดจากต้น เช่นโพ,
เกิดจากตา เช่นอ้อย, เกิดจากยอด เช่นผักชี, เกิดจากเมล็ด เช่นข้าว (ที.สี.อ. ๑๑/๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๕ }


--------------------------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑.พรหมชาลสูตร] มัชฌิมศีล


[๑๒] ๒. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการบริโภคของที่สะสมไว้ เช่นที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังบริโภคของ
ที่สะสมไว้เหล่านี้ คือ สะสมข้าว น้ำ ผ้า ยาน ที่นอน เครื่องประทินผิว ของหอม
และอามิส๑
[๑๓] ๓. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล
เช่นที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยัง
ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศลอย่างนี้ คือ การฟ้อน การขับร้อง การ
ประโคมดนตรี การรำ การเล่านิทาน การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่น
ตีกลอง การสร้างฉากบ้านเมืองให้งดงาม การละเล่นของคนจัณฑาล การเล่น
กระดานหก การละเล่นหน้าศพ การแข่งชนช้าง การแข่งม้า การแข่งชนกระบือ การ
แข่งชนโค การแข่งชนแพะ การแข่งชนแกะ การแข่งชนไก่ การแข่งชนนกกระทา การ
รำกระบี่กระบอง การชกมวย มวยปล้ำ การรบ การตรวจพลสวนสนาม การจัด
กระบวนทัพ การตรวจกองทัพ
[๑๔] ๔. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการขวนขวายในการเล่นการพนัน
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท เช่นที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหารที่
เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังขวนขวายในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทอย่างนี้ คือ เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตา หรือ ๑๐ ตา เล่นหมากเก็บ เล่นดวด
เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นกำทาย เล่นสะกา เล่นเป่าใบไม้ เล่นไถเล็ก ๆ
เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถเล็ก ๆ เล่นธนูเล็ก ๆ เล่นเขียนทาย เล่นทาย
ใจ เล่นล้อเลียนคนพิการ
[๑๕] ๕. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากที่นอนอันสูงใหญ่ เช่นที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังใช้ที่นอนสูงใหญ่อย่างนี้ คือ
เตียงมีเท้าสูงเกินขนาด เตียงมีเท้าเป็นรูปสัตว์ร้าย พรมขนสัตว์ เครื่องลาดขนแกะ
ลายวิจิตร เครื่องลาดขนแกะสีขาว เครื่องลาดมีลายรูปดอกไม้ เครื่องลาดยัดนุ่น
เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายเช่นสีหะและเสือ เครื่องลาดขนแกะมีขน ๒
ด้าน เครื่องลาดขนแกะมีขนด้านเดียว เครื่องลาดปักด้วยไหมประดับรัตนะ เครื่อง

เชิงอรรถ :
๑ อามิส คือวัตถุเครื่องล่อใจ เช่นเงินทองเป็นต้น ในที่นี้หมายถึง เครื่องปรุงอาหาร (ที.สี.อ. ๑๒/๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๖ }

กัมมุนาวัฏตีโลโก

394 วิธีทำจิตใจตอนเจ็บหนัก

ปัญหา ในเวลาเจ็บหนักจวนตาย ควรจะทำจิตใจอย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติคอยกาลเวลานี้เป็นคำแนะนำของเราแก่ท่านทั้งหลาย
"ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นภายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรในความรู้ตัว มีสติพึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่เป็นประจำ พิจารณาเห็นจิตใจอยู่เป็นประจำ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่เป็นประจำ อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้มีสติ
"ภิกษุเป็นผู้มีความรู้ตัวอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยหลับ.... การแล.... การเหลียว...การคู้เข้า...การเหยียดออก...การทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ... การกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม... การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ... การเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง...
"ถ้าเมื่อภิกษุนั้น มีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ย่อมบังเกิดขึ้น เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า เวทนาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า เวทนานั้นมีที่อาศัยจึงเกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยกายนี้เอง ก็กายนี่แลไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ก็เวทนาอาศัยกายอันไม่เที่ยง จักเที่ยงแต่ที่ไหนดังนี้ เธอย่อมพิจารณาเห็นความเที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและเวทนา ย่อมละราคานุสัยในกายและสุขเวทนา ย่อมละปฏิฆานุสัยในกายและทุกขเวทนา ย่อมละอวิชชานุสัยในกายและอทุกขมสุขเวทนาเสียได้
"ถ้าภิกษุเสวยสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่าเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวย เวทนานั้น ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งกาย ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งกาย เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งชีวิต ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งชีวิต ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกตายหลังแต่ความสิ้นชีวิต เวทนาที่ไม่น่าเพลิดเพลินทั้งปวงในโลกนี้ จักดับเย็นสนิทไป...


"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันอาศัยน้ำมันและไส้จึงลุกโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้ ประทีปนั้นไม่มีเชื้อเพลิง พึงดับไป..."


เคลัญญสูตร ที่ ๑ สฬา. สํ. (๓๗๔-๓๘๑)
ตบ. ๑๘ : ๒๖๐-๒๖๔ ตท. ๑๘ : ๒๔๒-๒๔๕
ตอ. K.S. ๔ : ๑๔๒-๑๔๓

กัมมุนาวัฏตีโลโก

065 วิธีพิสูจน์พระอรหันต์

ปัญหา เราจะมีวิธีพิสูจน์ได้อย่างไร ว่าภิกษุรูปใดเป็นพระอรหันต์ หรือไม่ เพราะเราไม่อาจจะทราบได้ด้วยเครื่องหมายภายนอกใด ๆ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ข้าพเจ้ารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จ แล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่างเพื่อยินดี อย่าเพื่อคัดค้าน คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น... พึงถามปัญหาเธอว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โวหารอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ..... ตรัสไว้ชอบนี้มี ๔ ประการ..... คือ คำกล่าวว่าเห็นอารมณ์ที่ตนเห็นแล้ว..... ได้ยินในอารมณ์ที่ตนฟังแล้ว..... ทราบในอารมณ์ที่ตนทราบแล้ว.... รู้ชัดในอารมณ์ที่ตนรู้ชัดแล้ว.... ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ นี้ ?
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว.... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพันพ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้เห็น มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่...... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้ยิน..... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้ทราบ..... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้ารู้ชัด.... จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ นี้
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้นพวกเธอควรชื่นชมอนุโมทนาสาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุอุปาทานขันธ์อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น..... ตรัสไว้ชอบ มี ๕ ประการ แล.... คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์...... ก็จิตของท่านผู้มีอายุผู้รู้อยู่เห็นอยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ ?
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว..... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้แจ้งรูปแล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก มิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความชื่นใจ จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืน ซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในรูป และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในรูปได้ ข้าพเจ้ารู้แจ้งเวทนา..... รู้แจ้งสัญญา.... รู้แจ้งสังขาร..... รู้แจ้งวิญญาณแล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก..... จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว..... ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ธาตุอันพระผู้มีพระภาคนั้น.... ตรัสไว้ชอบมี ๖ ประการ.... คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว...... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า.....ข้าพเจ้าครองปฐวีธาตุโดยความเป็นอนัตตา มิใช่ครองอัตตาอาศัยปฐวีธาตุเลย ข้าพเจ้าครองอาโปธาตุ โดยความเป็นอนัตตา.... ครองเตโชธาตุโดยความเป็นอนัตตา...... ครองวาโยธาตุโดยความเป็นอนัตตา.... มิใช่ครองอัตตาอาศัยวิญญาณธาตุเลย จึงทราบชัดว่าจิตของเราพื้นแล้ว.... จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็อายตนะภายในอาตนะภายนอก อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบนี้ มีอย่างละ ๖ แล คือจักษุและรูป โสตและเสียง ฆานะและกลิ่นชิวหาและรส กายและโผฏฐัพพะ มโนและธรรมารมณ์..... ก็จิตของท่านผู้มีอายุรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ?
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว..... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นสำรอก ดับสละ และสลัดคืนซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทาน ที่ยึดมั่นและอนุสัยคือความตั้งใจ และความปักใจมั่นในจักษุในรูปในจักษุวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ..... ในโสต ในเสียง ในโสตวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ...... ในฆาน ในกลิ่น ในฆานวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ.... ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ ในกาย ในโผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ ..... ในมโน ในธรรมารมณ์ ในมโนวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ..... จิตของข้าพเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอายตนะทั้งภายในทั้งภายนอกอย่างละ ๖ เหล่านี้....."

ฉวิโสธน ปญ
สูตร อุ. ม. (๑๖๗-๑๗๑)
ตบ. ๑๔ : ๑๒๓-๑๒๗ ตท. ๑๔ : ๑๐๔-๑๐๘
ตอ. MLS. III : ๘๑-๘๕


กัมมุนาวัฏตีโลโก

075 ทำดีไปนรก-ทำชั่วไปสวรรค์

ปัญหา บุคคลกระทำบาปด้วยกาย วาจา ใจ แล้วจะได้ไปเกิดในสุคติเสมอไปหรือ ? และบุคคลกระทำบุญด้วย กาย วาจา ใจ ตายแล้วจะเข้าถึงทุคติสมอไปหรือ ? ถ้าไม่ เพราะเหตุไร ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนอานนท์ เราไม่เห็นด้วยกับวาทะของสมณะ หรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ ท่านผู้เจริญเป็นอันว่า กรรมดีไม่มีวิบากของสุจริตไม่มี แต่วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท สุราเมรัย มีความเห็นชอบในโลกนี้ และผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าพึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เราเห็นด้วย
"ส่วนวาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่าผู้ใดเว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เรายังไม่เห็นด้วย
"แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด นี้เราก็ยังไม่เห็นด้วย
"แม้วาทะของเขาที่พูดปักลงไป ถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง นั้นแหละ ในที่นั้น ๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่านี้เราก็ยังไม่เห็นด้วย......
".....ดูก่อนอานนท์ บุคคลที่เว้นขาดจากปาณาติบาต อทินนาทาน ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ ตายไปแล้ว เข้าถึงอุบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นเพราะว่า เขาทำกรรมชั่วที่ให้ผลเป็นทุกข์ไว้ในกาลก่อน ๆ หรือในกาลภายหลัง หรือว่าในเวลาจะตาย มีมิจฉาทิฐิพรั่งพร้อมสมาทานแล้ว เพราะฉะนั้น เขาตายไป จึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก......"

มหากัมมวิภังคสูตร อุ. ม. (๖๑๑-๖๑๕)
ตบ. ๑๔ : ๓๙๖-๓๙๘ ตท. ๑๔ : ๓๓๗-๓๓๙
ตอ. MLS. III : ๒๖๐-๒๖๒

กัมมุนาวัฏตีโลโก

049 ผู้ที่ไม่เถียงกับใคร ๆ

๔๗. ปัญหา คนเราที่ไม่รู้ความจริงแท้ ย่อมมีความเห็นแตกต่างกันและทะเลาะวิวาททุ่มเถียงกัน มีคนประเภทใดบ้างที่ไม่ทุ่มเถียงกับใคร ๆ ?

พุทธดำรัส ตอบ "อัคคิเวสสนะ เวทนา ๓ อย่างนี้คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนาในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวย อทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยไม่ได้เสวย อทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนา เท่านั้น ในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยแต่ทุกขเวทนา ได้เสวย อทุกขมสุขเวทนา
"อัคคิเวสสนะ สุขเวทนา...... ทุกขเวทนา....... อทุกขมสุขเวทนา.....ไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่งขึ้นอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คล้ายไปดับไปเป็นธรรมดา
"อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งใน ทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา ทั้งอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใคร ๆ โวหารใดที่ชาวโลกพูดกันก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฐิ"

ทีฆมขสูตร ม. ม. (๒๗๓)
ตบ. ๑๓ : ๒๖๗-๒๖๘ ตท.๑๓ : ๒๒๖-๒๒๗
ตอ. MLS. II : ๑๗๙-๑๘๐

033 กินเนื้อสัตว์บาปหรือไม่

ปัญหา มีพุทธศาสนิกชนบางพวกเห็นว่า การกินเนื้อสัตว์เป็นบาปเพราะเป็นการส่งเสริมให้คนอื่นฆ่า ในเรื่องนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าอย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ "..... ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าไม่ควรเป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนเห็น เนื้อที่ตนได้ยิน เนื้อที่ตนรังเกียจ ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล....."

ชีวกสูตร ม. ม. (๕๗)
ตบ. ๑๓ : ๔๘-๔๙ ตท.๑๓ : ๑๓ : ๔๗
ตอ. MLS. II : ๓๓
156 เป็นอรหันต์แต่ไม่มีฤทธิ์

ปัญหา ภิกษุที่ได้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพแล้วจะต้องมีฤทธิ์ สามารถกระทำปาฏิหาริย์ได้ทั้งนั้นหรือ ?

คำตอบ ไม่ได้เสมอไป ตามเรื่องสุสิมสูตรว่าเมื่อพระสุสิมะได้ยิน ภิกษุหลายรูป ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์จึงเข้าไปหาแล้วก็ถามว่า ท่านเหล่านั้นแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ไหม มีหูทิพย์ตาทิพย์ไหม เมื่อภิกษุเหล่านั้นตอบว่าแสดงฤทธิ์ก็ไม่ได้ มีหูทิพย์ตาทิพย์ก็ไม่ได้ พระสุสิมะ จึงแสดงความประหลาดใจว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ท่านเหล่านั้นตอบว่า ท่านหลุดพ้นได้ด้วยปัญญา เป็นพระอรหันต์ประเภทสุกขวิปัสสกะ
พระสุสิมะยังไม่หายสงสัย จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและทูลถามเรื่องนี้

พระพุทธองค์ตรัสถามเธอว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ควรถือว่าเป็นเราเป็นของของเรา เป็นตัวตนของเราหรือไม่ พระสุสิมะทูลว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ควรถือว่าเป็นเรา เป็นของของเรา เป็นตนของเรา พระพุทธองค์ทรงสอนต่อไปว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นั่นเป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นอย่างนี้แบ้วจะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและหลุดพ้น เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ
ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสถามพระสุสมะในเรื่องปฏิจจสุมปบาทว่าเพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา และภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ ฯลฯ เพราอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ในสายดับทุกข์พระองค์ทรงแสดงว่า เพราะชาติดับ ชรา มรณะ จึงดับ ฯลฯ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ในที่สุดทรงถามว่า "ดูก่อนสุสิมะ เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ....ย่อมได้ยินเสียงสองชนิด... ด้วยทิพย์ โสตธาตุอันบริสุทธิ์..... ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น.... ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก... ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ.... บ้างหรือหนอ ?"
พระสุสิมะทูลตอบว่า " ไม่ใช่อย่างนั้น ก็แสดงว่า พระอรหันต์ผู้ได้บรรลุเพราะอาศัยปัญญา เกิดความรู้จริงเห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ ย่อมไม่มีอิทธิปาฏิหาริย์ใด ๆ"

นัยสุสิมสูตร นิ. สํ. (๒๘๑-๓๐๑)
ตบ. ๑๖ : ๑๔๖-๑๕๕ ตท. ๑๖ : ๑๓๒-๑๔๑
ตอ. K.S. II : ๘๕-๙๑
104 อำนาจจิต

ปัญหา (เทวดาทูลถาม) โลกอันอะไรย่อมนำไป อันอะไรหนอเสือกไสไปได้ โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคืออะไร ?

พุทธดำรัส ตอบ "โลกอันจิตย่อมนำไป อันจิตย่อมเสือกใสไป โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่ง คือ จิต "

จิตตสูตรที่ ๒ ส.สํ. (๒๘๑)
ตบ. ๑๕ : ๕๔ ตท. ๑๕ : ๕๓
ตอ. K.S. I : ๕๕
083 สมณพราหมณ์ที่ไม่ควรไหว้

ปัญหา ขึ้นชื่อวาเป็นสมณพราหมณ์ ครองเพศบรรพชิตแล้ว เราควรเคารพกราบไหว้บูชาทั้งนั้นหรือ ? หรือว่ามีสมณพราหมณ์ประเภทใดบ้างที่ไม่ควรเคารพกราบไหว้ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์ เหล่าใดยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ..... ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต.... ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ... ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา.... ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย.... ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังมีความประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ อยู่สมณพราหมณ์ เช่นนี้ ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นั่นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้พวกเราก็ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ.... ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ไม่ไปปราศแล้วยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ก็เมื่อเราทั้งหลายไม่เห็น แม้ความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์ พวกนั้นที่ยิ่งขึ้นไป ดังนั้น ฉะนั้นท่านสมณพราหมณ์ เหล่านั้นจึงไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา...."

นครวินเทยยสูตร อุ. ม. (๘๓๓)
ตบ. ๑๔ : ๕๒๙ ตท. ๑๔ : ๔๕๔
ตอ. MLS. III : ๓๔๐

084 วิธีสังเกตสมณพราหมณ์แท้

ปัญหา เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าสมณพราหมณ์ พวกไหนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่น ถามท่านทั้งหลายอย่างนี้ว่า ก็อาการและความเป็นไปของท่านผู้มีอายุทั้งหลายเช่นไร จึงเป็นเหตุให้พวกท่านกล่าวพึงท่านผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ เป็นผู้ปราศจากโทสะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ เป็นผู้ปราศจากโมหะแล้ว หรือเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อจัดโมหะ ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่าความจริงท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ย่อมเสพเฉพาะเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าดงเป็นที่ไม่มีรูปอันรู้ได้ด้วยจักษุ ซึ่งคนทั้งหลายฟังแล้ว ๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีกลิ่นอันรู้ได้ด้วยฆานะ ซึ่งคนทั้งหลายฟังแล้ว ๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีโผฏฐัพพะอันรู้ได้ด้วยกาย ซึ่งคนทั้งหลายสัมผัสแล้ว ๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย
"นี้แล อาการและความเป็นไปของท่านผู้มีอายุทั้งหลายของพวกข้าพเจ้า ซึ่งเป็นเหตุให้พวกข้าพเจ้ากล่าวถึงท่านผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้นเป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะแน่ เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะแน่ เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะแน่...."

นครวินเทยยสูตร อุ. ม. (๘๓๕)
ตบ. ๑๔ : ๕๓๑-๕๓๒ ตท. ๑๔ : ๔๕๖
ตอ. MLS. III : ๓๔๑-๓๔๒

138 สมณพราหมณ์ที่แท้จริง

ปัญหา สมณพราหมณ์ที่แท้จริงตามความหมายทางพระพุทธศาสนานั้น ควรจะมีคุณสมบัติที่สำคัญอะไรบ้าง ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมไม่กำหนดรู้ชราและมรณะ ย่อมกำหนดรู้เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ย่อมกำหนดรู้ความดับแห่งชราและมรณะ ย่อมกำหนดรู้ ชาติ ...
ภพ.... อุปาทาน.... ตัณหา....เวทนา....ผัสสะ...สฬายตนะ....นามรูป.... วิญญาณสังขาร ย่อมไม่กำหนดรู้เหตุเกิดแห่งสังขาร... ความดับแห่งสังขาร.... ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ หรือไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านเหล่านี้จะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ไม่ได้...."

สมณพราหมณ์สูตรที่ ๑ นิ. สํ. (๙๔)
ตบ. ๑๖ : ๕๓ ตท. ๑๖ : ๔๖
ตอ. K.S. II : ๓๔-๓๕



157 พวกเดียวกันคบกัน

ปัญหา ตามปกติ คนที่มีอะไรคล้ายกันย่อมคบหาสมาคมกันใช่หรือไม่ ? พระผู้มีพระภาคตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน โดยธาตุทีเดียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน.... กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน... กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน.... กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกเกียจร้านย่อมคบค้ากัน..... กับสัตว์จำพวกเกียจคร้าน สัตว์จำพวกมีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน....กับสัตว์จำพวกมีสติหลงลืม สัตว์จำพวกมีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน..... กับสัตว์จำพวกมีปัญญาทราม แม้ในอดีตกาล.... แม้ในอนาคตกาล... แม้ในปัจจุบันกาล...."

อสัทธมูลกสูตรที่ ๑ นิ. สํ. (๓๔๗)
ตบ. ๑๖ : ๑๙๑-๑๙๒ ตท. ๑๖ : ๑๗๕-๑๗๖
ตอ. K.S. II : ๑๑๐-๑๑๑
168 ดาราศาสตร์ในพุทธศาสนา

ปัญหา พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงทรรศนะเกี่ยวกับโลกจักรวาลไว้อย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัส ตอบ "..... ดูก่อนอานนท์ จักรวาลหนึ่งมีกำหนดเท่ากับโอกาส (ช่องว่าง) ที่พระจันทร์พระอาทิตย์โคจร ทั่วทิศสว่างไสวรุ่งโรจน์ โลกมีอยู่พันจักรวาลก่อน ในโลกพันจักรวาลนั้น มีพระจันทร์พันดวง มีพระอาทิตย์พันดวง มีขุนเขาสิเนารุพันหนึ่ง มีชมพูทวีปพันหนึ่ง มีอมรโคยานทวีปพันหนึ่ง มีอุตรกุรุทวีปพันหนึ่ง มีปุพพวิเทหทวีปพันหนึ่ง มีมหาสมุทร ๔ พัน มีท้าวมหาราช ๔ พัน มีเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นดาวดึงส์พันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นยามาพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นดุสิตพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นนิมมานรดีพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัสดีพันหนึ่ง มีพรหมโลกพันหนึ่ง ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างเล็กมีพันจักรวาล โลกคูณโดยส่วนพันแห่งโลกธาตุอย่างเล็ก ซึ่งมีพันจักรวาลนั้น นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างกลางมีล้านจักรวาล โลกคูณโดยส่วนพันแหงโลกธาตุอย่างกลางมีล้านจักรวาลนั้น นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างใหญ่ ประมาณแสนโกฏิจักรวาร
"ดูก่อนอานนท์ ตถาคต เมื่อมุ่งหมาย พึงทำโลกธาตุอย่างใหญ่ ประมาณแสนโกฏิจักรวาล ให้รู้แจ้งได้ด้วยเสียง หรือทำให้รู้แจ้งได้เท่าที่มุ่งหมาย....ฯ"

จูฬนีสูตร ติ. อํ. (๕๒๐)
ตบ. ๑๙ : ๒๙๒-๒๙๓ ตท. ๑๙ : ๒๕๗-๒๕๘
ตอ. G.S. I : ๒๐๗
172 ภิกษุควรหัวเราะหรือไม่

ปัญหา ได้ทราบมาว่า พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ไม่มีการหัวเราะมีแต่ยิ้มแย้มเท่านั้น พระภิกษุควรจะหัวเราะหรือไม่ ?

พุทธดำรัส ตอบ "..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การขับร้องคือ การร้องไห้ในวินัยของพระอริยเจ้า การฟ้อนรำคือ ความเป็นบ้าในวินัยของพระอริยเจ้าการหัวเราะจนเห็นฟันพร่ำเพรื่อ คือความเป็นเด็กในวินัยของพระอริยเจ้า เพราะเหตุนั้น และ จงละเสียโดยเด็ดขาดในการขับร้องฟ้อนรำ เมื่อท่านทั้งหลายเบิกบานในธรรม ก็ควรแต่เพียงยิ้มแย้ม"

โรณสูตร ติ. อํ. (๕๔๗)
176 ฤกษ์ยามในพระพุทธศาสนา

ปัญหา ทางพระพุทธศาสนามีการสอนให้ถือฤกษ์ถือยามในการทำงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือไม่ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี.... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย.... ด้วยวาจา.... ด้วยใจในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลาเช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย.... ด้วยวาจา.... ด้วยใจในเวลาเที่ยง เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาเที่ยงที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย..... ด้วยวาจา... ด้วยใจในเวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาเย็นที่ดีของสัตว์เหล่านั้น..."

สุปุพพัณหสูตร ติ. อํ. (๕๙๕)
ตบ. ๒๐ : ๓๗๘-๓๗๙ ตท. ๒๐ : ๓๓๕
ตอ. G.S. I : ๒๗๒

ชาติหน้ามีจริงหรือไม่

ปัญหา ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ ? ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีจริงหรือไม่ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....อริยสาวกนั้น มีจิตหาว่าเรามิได้อย่างนี้ มีจิตหาความเบียดเบียนมิได้อย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองแล้วอย่างนี้ มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ เธอย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในชาตินี้
"ความอุ่นใจที่หนึ่งว่า ถ้าโลกเบื้องหน้ามีอยู่ ผลแห่งกรรมมีสัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะซึ่งจะเป็นไปได้ คือเบื้องหน้าแต่กายแตกตายไปแล้ว เราจะได้เข้าไปถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่หนึ่ง
"ความอุ่นใจที่สองว่า ถ้าโลกเบื้องหน้าไม่มี ผลแห่งกรรมมีสัตว์ทำดีทำชั่วไม่มีเราก็จะรักษาตนเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีความลำบาก ไม่มีทุกข์ มีแต่สุขในชาตินี้ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สอง
"ความอุ่นใจที่สามว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะนำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราไม่ได้คิดบาปให้แก่ใคร ๆ ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเรา ผู้ไม่ได้ทำบาป ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สาม
"ความอุ่นใจที่สี่ว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะนำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราก็ได้พิจารณาเห็นคนเป็นคนบริสุทธิแล้วทั้ง ๒ ส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สี่
"อริยสาวกมีจิตหาเวรมิได้ หาความเบียดเบียนมิได้ มีจิตไม่เศร้าหมอง มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ ย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แล ในชาตินี้ฯ"
ชาติหน้ามีจริงหรือไม่

ปัญหา ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ ? ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีจริงหรือไม่ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....อริยสาวกนั้น มีจิตหาว่าเรามิได้อย่างนี้ มีจิตหาความเบียดเบียนมิได้อย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองแล้วอย่างนี้ มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ เธอย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในชาตินี้
"ความอุ่นใจที่หนึ่งว่า ถ้าโลกเบื้องหน้ามีอยู่ ผลแห่งกรรมมีสัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะซึ่งจะเป็นไปได้ คือเบื้องหน้าแต่กายแตกตายไปแล้ว เราจะได้เข้าไปถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่หนึ่ง
"ความอุ่นใจที่สองว่า ถ้าโลกเบื้องหน้าไม่มี ผลแห่งกรรมมีสัตว์ทำดีทำชั่วไม่มีเราก็จะรักษาตนเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีความลำบาก ไม่มีทุกข์ มีแต่สุขในชาตินี้ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สอง
"ความอุ่นใจที่สามว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะนำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราไม่ได้คิดบาปให้แก่ใคร ๆ ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเรา ผู้ไม่ได้ทำบาป ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สาม
"ความอุ่นใจที่สี่ว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะนำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราก็ได้พิจารณาเห็นคนเป็นคนบริสุทธิแล้วทั้ง ๒ ส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สี่
"อริยสาวกมีจิตหาเวรมิได้ หาความเบียดเบียนมิได้ มีจิตไม่เศร้าหมอง มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ ย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แล ในชาตินี้ฯ"
ใช้ตัณหาปราบตัณหา

ปัญหา มีบางท่านกล่าวว่า ความอยากถึงนิพพานก็จัดเป็นตัณหาอย่างหนึ่ง และเป็นแรงผลักดันให้คนปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงนิพพาน เข้าทำนอง ใช้ตัณหาดับตัณหา คำกล่าวเช่นนี้ มีหลักฐานในพระไตรปิฎกยืนยันหรือไม่ ?

พระอานนท์ตอบ ".....ดูก่อนน้องหญิง คำที่เรากล่าวว่ากายนี้เกิดด้วยตัณหา อาศัยตัณหาแล้วพึงละตัณหาเสียดังนี้ เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร
"ดูก่อนน้องหญิง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เมื่อได้ข่าวว่า ภิกษุชื่ออย่างนี้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่ง ในปัจจุบันนี้ ดังนี้ เธอเกิดความปรารถนา (ตัณหา) อย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราจักกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุต ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ ในปัจจุบันชาตินี้ ดังนี้ ในเวลาต่อมา เธออาศัยตัณหานั้นแล้วละตัณหาเสียได้
"ดูก่อนน้องหญิง คำที่เรากล่าวว่า กายนี้เกิดขึ้นด้วยตัณหาอาศัยตัณหาแล้วพึงละเสียดังนี้ เรากล่าวเพราะอาศัยความจริงข้อนี้......"

อินทริยวรรค จ. อํ. (๑๕๙)
ตบ. ๒๑ : ๑๙๕-๑๙๖ ตท. ๒๑ : ๑๗๑
ตอ. G.S. II : ๑๔๙

อือฮึ

ฟังญาณเพ่งเล็งดูว่าท่านคุณหลวงเป็นพระหรือ

Jittomuttiyan

วิธีสร้างสติอัตโนมัติ

--------------------------------------------------------------------------------

มีสติ แต่อย่าตามความคิด

อัคคิเวสนะ ! ...ครั้นภิกษุประกอบพร้อมด้วยสติ สัมปชัญญะแล้ว

ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า "มาเถิดภิกษุ ! เธอจงเสพเสนาสนะอันสงัด
คือป่าละเมาะ โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง หรือลอมฟางเถิด" ดังนี้.

---

ภิกษุนั้นย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด

ครั้นก้าวกลับจากบิณฑบาต ในกาลเป็นปัจฉาภัต
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า

เธอย่อมละอภิชฌาในโลก
มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิตจากอภิชฌาอยู่

ละพยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาท
เป็นผู้กรุณามีจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากพยาบาทอยู่

ละถีนมิทธะ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ
มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีสติสัมปชัญญะ คอยชำระจิตจากถีนมิทธะอยู่

ละอุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน คอยชำระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจะอยู่

ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้
ไม่ต้องกล่าวถามว่า "นี่อะไร นี่อย่างไร" ในกุศลธรรมทั้งหลาย คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉาอยู่

---

ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ 5 ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต ทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ได้แล้ว
เธอเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกายอยู่
...มีปกติตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่
...มีปกติ ตามเห็นจิตในจิตอยู่
...มีปกติตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก

---

ตถาคต ย่อมแนะนำเธอนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า

"มาเถิดภิกษุ ! เธอจงเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นกายในกายอยู่
แต่อย่าตรึกซึ่งวิตกอันเข้าไปประกอบอยู่กับกายเลย ( มา จ กายูปสญหิตํ วิตกฺกํ วิตกฺเกสิ )

มาเถิด ภิกษุ ! เธอจงเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่
แต่อย่าตรึกซึ่งวิตกอันเข้าไปประกอบอยู่กับเวทนาเลย

มาเถิด ภิกษุ ! เธอจงเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นจิตในจิตทั้งหลายอยู่
แต่อย่าตรึกซึ่งวิตกอันเข้าไปประกอบอยู่กับจิตเลย ;

มาเถิด ภิกษุ ! เธอจงเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
แต่อย่าตรึกซึ่งวิตกอันเข้าไปประกอบอยู่กับธรรมเลย" ดังนี้

ภิกษุนั้น เพราะเข้าไปสงบระงับเสียได้ ซึ่งวิตกและวิจาร จึงเข้าถึงทุติยฌาน
อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น
ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่

( แล้วได้ตรัสถึง ตติยฌาน ...จตุตถฌาน
...ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ...จุตูปปาตญาณ ...อาสวักขยญาณ
จนกระทั่ง วิมุตติญาณ ตามหลักที่มีกล่าวอยู่ในบาลีทั่วๆไป ที่กล่าวถึงเรื่องนี้ )

---

- ทันตสูตร อุปริ. ม. 14/268 – 270/396 – 401.
__________________
พุทธวจน/จากพระโอษฐ์ 5 เล่ม :

tewatudto

กินเนื้อสัตว์บาปหรือไม่

--------------------------------------------------------------------------------



033 กินเนื้อสัตว์บาปหรือไม่

ปัญหา มีพุทธศาสนิกชนบางพวกเห็นว่า การกินเนื้อสัตว์เป็นบาปเพราะเป็นการส่งเสริมให้คนอื่นฆ่า ในเรื่องนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ "..... ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าไม่ควรเป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนเห็น เนื้อที่ตนได้ยิน เนื้อที่ตนรังเกียจ ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล....."

ชีวกสูตร ม. ม. (๕๗)
ตบ. ๑๓ : ๔๘-๔๙ ตท.๑๓ : ๑๓ : ๔๗
ตอ. MLS. II : ๓๓


033


ลวง

พระบางองค์เก่งแต่สอนคนอื่น

ทาสธรรม

คำสอนท่านพุทธทาสภิกขุ

โลกกลมๆ ใบนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ
ของฟรีไม่เคยมี ของดีไม่เคยถูก

อยู่ให้ไว้ใจ ไปให้คิดถึง

คนเราต้องเดินหน้า เวลายังเดินหน้าเลย

ไม่ต้องสนใจว่าแมวจะสีขาวหรือดำ
ขอให้จับหนูได้ก็พอ

ยิ่งมีใจศรัทธา ยิ่งต้องมีสายตาที่เยือกเย็น
ในโลกกลมๆ ใบนี้ ไม่มีคำว่า แน่นอน

คนเราเมื่อ ตัวตาย ก็ต้องลงดิน
ท้อแท้ได้ แต่อย่าท้อถอย
อิจฉาได้ แต่อย่าริษยา
พักได้ แต่อย่าหยุด
เหตุผลของคนๆ หนึ่ง อาจไม่ใช่ของคนอีกคนหนึ่ง
ถ้าไม่ลองก้าว จะไม่มีวันรู้ได้เลยว่า ข้างหน้าเป็นอย่างไร

หนทางอันยาวไกลนับหมื่นลี้ ต้องเริ่มต้นด้วยก้าวแรกก่อนเสมอ
ปัญหาทุกอย่าง อยู่ที่ตัวเราทั้งสิ้น
จะเห็นค่าของความอบอุ่น เมื่อผ่านความเหน็บหนาวมาแล้ว

อันตรายที่สุดคือ การคาดหวัง

เริมต้นดีแล้ว ลงท้ายก็ต้องดีด้วย
อย่ายอมแพ้ ถ้ายังไม่ได้พยายามอย่างเต็มที่
จงใช้สติ อย่าใช้อารมณ์

เบื้องหลังความเข้มแข็ง สมควรมีความอ่อนโยน

ไม่มีคำว่าบังเอิญ ในเรื่องของความรัก
มีแต่คำว่า ตั้งใจ

ยินดีกับสิ่งที่ได้มา และยอมรับกับสิ่งที่เสียไป
หลังพายุผ่นไป ฟ้าย่อมสดใสเสมอ
หลังผ่านปัญหา จะรู้ว่าปัญหานั้นเล็กนิดเดียว

ไม่เป็นขุนนางนะได้ แต่ไม่เป็นคนไม่ได้
มีแต่วันนี้ที่มีค่า ไม่มีวันหน้า วันหลัง
เมื่อวานก็สายเกินแล้ว พรุ่งนี้ก็สายเกินไป

อย่าหวังว่าจะได้รับความรัก จากคนที่คุณรัก
เพราะคนที่คุณรัก ไม่ได้รักคุณหมดทุกคน

ทาสธรรม

...ขอเชิญอ่านธรรมะที่ไม่มีวันตาย...
     


จงทำกับเพื่อนมนุษย์โดยคิดว่า

เขาเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายของเรา

เขาเป็นเพื่อนเวียนว่ายอยู่ในวัฏฎสงสารเช่นเดียวกันกะเรา

เขาก็ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลสเหมือนเรา

ย่อมพลั้งเผลอไปบ้าง

   

เขาก็มีราคะโทสะโมหะไม่น้อยไปกว่าเรา

เขาก็ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไมเหมือนเรา

ไม่รู้จักนิพพานเหมือนเรา

เขาโง่ในบางอย่างเหมือนที่เราเคยโง่




เขาก็ตามใจตัวเองในบางอย่างเหมือนที่เราเคยกระทำ

เขาก็อยากดีเหมือนเราที่อยากดีเด่นดัง

เขาก็มักจะกอบโกยและเอาเปรียบเมื่อมีโอกาสเหมือนเรา

เขาเป็นคนธรรมดาที่ยึดมั่นถือมั่นอะไรต่าง ๆ เหมือนเรา

เขาไม่มีหน้าที่ที่จะเป็นทุกข์หรือตายแทนเรา

เขาเป็นเพื่อนร่วมชาติร่วมศาสนากะเรา

เขาก็ทำอะไรด้วยความคิดชั่วแล่นและผลุนผลันเหมือนเรา

   

เขามีหน้าที่รับผิดชอบต่อครอบครัวของเขา มิใช่ของเรา

เขามีสิทธิที่จะมีรสนิยมตามพอใจของเขา

เขามีสิทธิที่จะเลือกแม้แต่ศาสนาตามพอใจของเขา

เขามีสิทธิที่จะใช้สมบัติสาธารณะเท่ากันกะเรา

เขามีสิทธิที่จะเป็นโรคประสาทหรือบ้าเท่ากับเรา

เขามีสิทธิที่จะขอความช่วยเหลือ เห็นอกเห็นใจจากเรา





เขามีสิทธิที่จะได้รับอภัยจากเราตามควรแก่กรณี

เขามีสิทธิที่จะเป็นสังคมนิยมหรือเสรีนิยมตามใจเขา

เขามีสิทธิที่จะเห็นแก่ตัว ก่อนเห็นแก่ผู้อื่น

เขามีสิทธิแห่งมนุษยชนเท่ากันกะเรา สำหรับจะอยู่ในโลกนี้



ถ้าเราคิดกันอย่างนี้ จะไม่มีการขัดแย้งใดๆเกิดขึ้น


พุทธทาส


อหิงสก

เว็ปจุดกำเนิดภูมิธรรมพลิกฟ้าแผ่นดิน สนั่นโลกา วอร์มอัป รอพระยาธรรมมิกราช ขนคนข้ามฟากขึ้นภพภูมิชั้นสูง ขับเคลื่อนโดยธรรมขั้นสูง คือ เว็ปนี้ ที่นี่ ตรงนี้ จงกอบโกยธรรม ที่มีในเว็ปนี้ จงมีดวงตาเห็นธรรมทุกดวงจิต ด้วยความหวังดี ที่แท้จริง แต่ถ้าเห็นว่าบ้าก็ กรรมของท่าน สาวกธรรมจงหนักแน่นเป็นตัวของตัวเองมีสติคิดใคร่ครวญ จงเชื่อด้วยปัญญา ตื่นลืมตาเห็นความเป็นจริง มองหาธรรมที่แท้จริง ตัวเองเท่านั้นพาตัวเองไปได้ อัตตาหิอัตโณณาโถ นิพพาณังปรมังสุขัง และ ก็ สุญญัง อกาลิโก ธรรมอยู่ได้ทุกที่ไม่จำกัดเวลา กระทู้ ประโยคธรรมแค่ไม่กี่คำก็ทำให้บางท่านมีดวงตาเห็นธรรมได้ แน่แท้ บุญใด ก็สู้ให้ธรรมเป็นทานไม่ได้ การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง อย่างที่ใครว่า ออกทะเลแล้วไง สาระมันอยู่ที่ไหน กรอบที่ตั้งเอาไว้ทางสังคมยุคปัจจุบันคือตัวสกัดกั้น ปัญญา เป็นทาสมาร  ส.มองลอดแว่น ส.ใส่แว่นกันแดด

เทวาจรจุติ

เมื่อมั่งมี หมู่มิตร มุ่งหมายมอง
เมื่อมัวหมอง มิตรมอง เหมือนหมูหมา
เมื่อไม่มี หมดมิตร มุ่งมองมา
เมื่อมอดม้วย แม้นหมูหมา ไม่มามอง
ส.อ่านหลังสือ

คุณหลวง

    เราภูมิใจในศาสนาว่าเป็นวิทยาศาสตร์ แต่เรากลับอวดไสยศาสตร์และอิทธิปาฏิหาริย์เพื่อดึงศรัทธาประชาชน
    เราภูมิใจว่าศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญาและเหตุผล แต่เราต้องการให้คนเชื่อโดยไม่มีเงื่อนไขและไร้คำถาม
    เราภูมิใจว่าศาสนาเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ แต่เรากลับทำลาย หยาบหยาม ดูถูก ประชดประชัน ทำลายคนที่เห็นต่างแม้เพียงเรื่องเล็กๆ
    เราภูมิใจกับพระพุทธพจน์ จนไม่ใส่ใจพระพุทธจริยา

    หลายปีก่อน ผมได้อ่านหนังสือแผนการทำลายพระพุทธศาสนา ที่เขียนโดยพระระดับราชาคณะรูปหนึ่ง อธิบายเรื่องแผนการทำลายพระพุทธศาสนาในประเทศไทย โดยองค์กรของศาสนาอื่น ผมเกลียดศาสนานั้นอยู่พักหนึ่ง จนเมื่อได้อ่านพระพุทธพจน์ที่ว่า "พระสัทธรรมจะเสื่อมสูญได้ เพราะบุคคลสี่จำพวก คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา"
    ผมไตร่ตรองอยู่นานว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น จนกระทั่ง เมื่อเห็นประสบการณ์ที่ได้บวชมาระยะหนึ่ง เห็นเหตุผลว่าทำไม พระสัทธรรมจะเสื่อมได้ เพราะพวกเราเองเท่านั้น

    คนรุ่นใหม่ เขาไม่โง่ และไม่ได้หยิ่งจนดูถูกศาสนา เพียงแต่การเรียนรู้ที่เปิดกว้าง ทำให้เขากล้าที่จะตั้งคำถาม และต้องการคำตอบ เมื่อคนในศาสนาที่เอาแต่ปัด โดยอ้างความเป็นของสูง ของศักดิ์สิทธิ์ รวมไปถึงการประพฤติที่ไร้ยางอายภายใต้ความน่าเลื่อมใส การสอนไปตามความรู้ ความเชื่อของตนปนเปกับคำสอนทางศาสนาโดยอ้างพระพุทธเจ้าร่ำไป ฯลฯ

    คนรุ่นใหม่ เขาต้องการความรู้ที่เป็นเหตุผล และเปิดกว้างมากพอที่จะรับฟังและอธิบาย หากเพียงความใจแคบของคนที่อ้างความเป็นตัวแทนพระศาสนา เป็นผู้รู้ทางศาสนา กลับไม่สามารถทนรับฟัง อันมิต้องพูดถึงการอธิบาย พูดทีก็ต้องการเพียงให้เขาเชื่อโดยอย่ามีคำถาม อ้างพระพุทธพจน์เป็นตันๆแต่พระจริยาอันเป็นสื่อศาสนาที่แท้จริงนั้นกลับไม่เห็นสำแดงออกมาได้

    คนรุ่นใหม่ เขาต้องการความจริงใจ ของผู้ที่เขาตั้งคำถาม เขาหวังความรู้จากความเมตตา หาใช่ยัดความรู้จากคัมภีร์และอัตตายัดๆลงไป ไม่แปลกหากเราสังเกตุทิดสึกใหม่หลายคนจะห่างศาสนามากกว่าก่อนเข้าไปบวช

      ท่านwareerant กล้าหาญพอที่จะยอมรับตรงๆ หลายท่านอาจไม่พอใจ แต่หากเราสืบกลับไปในกระทู้ต่างๆที่ท่านwareerantโพสต์มา ก็จะเห็นความเคารพในศาสนา เพียงแต่สิ่งที่ทำลายจิตใจของท่านเกิดจากความใจแคบของบุคคลที่ดำรงตนเป็นผู้สืบทอดพระศาสนามากกว่า ยิ่งเป็นคนศึกษา และสงสัยมาก มีคำถามมาก กลับไร้คำตอบยิ่งทำให้ท่านลำบากใจ จนในที่สุดกล้าประกาศว่าไร้ศาสนาเสียดีกว่า

    ตัวอย่างหนึ่งที่พอจะยกตัวอย่างได้ คือ ครั้งหนึ่งมีผู้ถามว่า การที่พระพุทธเจ้าหนีบวชนั้นเป็นการหนีโลกใช่หรือไม่ และการที่เมืองไทยไม่พัฒนาเป็นเพราะเรานับถือศาสนาพุทธ? เพียงสองสามวันกระทู้นั้นก็โดนลบไป ผมไม่โทษคนที่ลบ เพราะว่ามีบุคคลอีกจำนวนมาก แม้พระผู้ใหญ่บางท่านที่ไม่ยอมตอบ กลับหาว่าคนถามบาปหนา ดูถูกพระพุทธเจ้าไปเสียอย่างนั้น

        ศาสนาเป็นเรื่องของศิลปะการใช้ชีวิต หาใช่สถาบันที่เราต้องปกป้อง หากเรากลับไปดูพระพุทธจริยา จะเห็นว่าพระองค์หาได้ทำเช่นนั้นไม่ ท่านไม่ได้ยกตนข่มท่าน ไม่ปกป้องตนเอง กลับให้ธรรมไปอย่างใจเย็นที่สุด การบันลือธรรมของพระองค์จึงเป็นผลสำเร็จ

    แล้วทุกวันนี้ เรามีศาสนาอย่างที่ศาสนาเป็น หรือมีศาสนาแบบที่เราอยากให้เป็น?

สะบายดี... ส.กลิ้ง ส.กลิ้ง ส.กลิ้ง
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

.

ยุคนี้คือรอยต่อเสื่อมที่สุดแล้ว ก่อนเข้ายุคศิวิลัย มีภัยพิบัติครั้งมโหฬารครั้งนึงก่อน แต่ไม่สูญหาย พระพุทธศาสนาจะยังอยู่จนถึง 5,000 ปี แน่นอน  ส.อ่านหลังสือ ส.มองลอดแว่น