ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ไม่มีศาสนา

เริ่มโดย เณรเทือง, 17:01 น. 28 มี.ค 55

หมอบอลครับ

.


....อย่าลืมมาเข้าเวบนี้ กระทู้นี้ น่าศึกษา คนจิตใจสกปรก ชอบแช่ง ชอบด่าว่าคนอื่น

อ่านพลางๆ เขียนแบบนี้นะครับ มิใช่ พรางๆ  ส.หลก ส.ก๊ากๆ

แอบอ้างวงการแพทย์และหมอ

อ้างจาก: หมอบอลครับ เมื่อ 09:51 น.  07 ต.ค 56
.


....อย่าลืมมาเข้าเวบนี้ กระทู้นี้ น่าศึกษา คนจิตใจสกปรก ชอบแช่ง ชอบด่าว่าคนอื่น

อ่านพลางๆ เขียนแบบนี้นะครับ มิใช่ พรางๆ  ส.หลก ส.ก๊ากๆ
ไอ้ที่อ้างหมอแพทย์ ช่วยแสดงภูมิความรู้ว่าใช่จริง เล่นไม่รู้จักที่นะ  ส.เดี๋ยวโดน

เคยได้ยินมาบ้างไหม

อรหันต์คิดอะไรก็เป็นจริง ถึงไม่เกิดก็กำหนดให้เกิดได้ด้วย ฤทธิ์ เคยได้ยินไหม แต่อรหันต์ไม่ทำแน่นอน
ไม้ต้องอรหันต์ก็ทำได้ เทวดามารที่มีฤทธิ์ก็ทำได้ ฤาษีก็ทำได้ถ้าจิตมุ่งมั่นที่จะฝึกไนด้านฤทธิ์ ต่ำกว่านั้นก็ ทำได้
ถ้ารู้จักเชื่อมต่อจิตเพื่อยืมฤทธิ์มาใช้เพื่อเกื้อหนุนธรรม หน้าไหนก็หยุดธรรมแท้ไม่อยู่ เมื่อรู้ความเป็นไปก่อนก็หาว่า
แช่ง ถ้าบอกว่าแช่งแล้วเป็นได้แล้วเป็นไง ได้แน่นอน เมื่อไม่เป็นไปเพื่อความถูกต้อง รักษาไว้เพื่อธรรมให้ไปถูก ทาง
ไม่ใช่หมาบ้าไล่กัดทั่วไปหมด ยิ่งทำยิ่งไปหา อนันตริยะกรรมธรณีสูบเตือนเจ้าไว้ แต่ถ้าทำเพื่อธรรมความถูกต้องยังพอได้ ส.เดี๋ยวโดน

unyagontunya

พระหายตัวได้ พระป่า...วัดไม้ขาว..ภูเก็ต...หายตัวได้จริง...

--------------------------------------------------------------------------------

วันนี้ 11 กรกฎาคม 2555 วันพระ.. ไปวัดไม้ขาว(ธรรมยุตต์) ภูเก็ต(อีกแล้ว)
ได้มีวาสนาสนทนากับคุณลุงอายุ82ปี ชื่อคุณลุงแป๊ะหลิวหรือแป๊ะจ๋วน(ขออภัยจำชื่อท่านไม่ได้ถนัดนัก....
...ท่านเล่าเรื่องปาฏิหารย์ 2 เรื่อง(ผมถามท่านทั้งสองเรื่อง)เพราะเคยได้ยินได้ฟังมาเคร่าๆ...จนได้มาพบตัวจริงของท่าน...
..คุณลุงเล่าเรื่องแรกว่า ตอนนั้น ราวๆพ.ศ.2495-6 อาจารย์มหาปิ่นฯได้มาสร้างวัดไม้ขาว ตามคำบัญชาของหลวงปู่เทศก์ฯ...
...คุณลุงเป็นผู้ช่วยวิ่งเต้นเรื่องที่ดินบางส่วนให้ถวายที่ดินให้วัดไม้ขาวแก่ชาวบ้าน ซึ่งทุกคนก็ยินยอมยกให้วัดไม้ขาว....
..แต่ในยุคนั้น ก็เริ่มมีความไม่เข้าใจกันระหว่างมหานิกายหนึ่งและชาวบ้านหนึ่ง อุปสรรคจึงมีมากมาย...นี่ไม่นับเรื่องเสือโคร่ง เก้ง กวางก็ยังพอมีให้เห็นอยู่ในยุคนั้น....
...ทีนี้ เข้าใจว่าท่านมหาปิ่นฯคงเห็นแล้วว่า ชาวบ้านยุคนั้น ก็นิยมที่จะศรัทธาต่อพระที่เก่ง ที่ให้หวยแม่น...จึงได้พากันมารุมขอเลขเด็ดจากท่าน...ซึ่งท่านก็คงอาจจะใช้ฤทธิ์เพื่อเป็นอุบายธรรม ดึงคนเข้าสู่ศาสนาที่แท้จริงท่านจึงเมตตา"ใบ้"ให้ในครั้งแรก...รู้สึกคุณลุงเล่าว่าท่านพูดถึงแปรง"สี่"ฟัน มีสองอันที่หักสูญไปอันหนึ่ง ปรากฏว่าหวยออก 420 หรือไงนี่ แต่ชาวบ้านถูกกินเรียบ
..งวดต่อมาท่านใบ้ วันที่9ที่10จะไป ให้คนสี่คนตามหลัง..ปรากฏหวยออก 904หรือไรนี่...แต่ชาวบ้านถูกกินเรียบอาวุธ....
...ทีนี้ก็เป็นเรื่อง..ชาวบ้านจึงเฮโลมาขอท่านว่าให้ใบ้แบบจังๆ เพราะสองงวดที่ผ่านมาโดนกินเรียบ....
..ดังนั้น งวดที่สาม...ทุกคนจึงเฝ้ารอ..แต่ท่านก็ไม่ได้ใบ้อะไรเลย....
..จนกระทั่งมีคนไปที่วัดแล้วสอบถามโยมที่เฝ้ากุฏิท่าน โยมท่านนั้นก็บอกว่า โยมผู้หญิงที่นำปลอกหมอนไปซักตามคำสั่งท่านนั้น เจอกระดาษเขียนด้วยลายมือท่านเป็นกระดาษชิ้นเล็กๆเขียนเลขว่า 438 อยู่ใต้ปลอกหมอนท่าน จึงจำไว้แล้วนำมาให้โยมที่เฝ้ากุฏิ โยมนี้จึงนำใบเลขนั้นสอดไว้ใต้ฐานพระพุทธรูป ใครมาใครไป ไม่ได้คำใบ้จากท่าน แต่ก็จะได้เลขนี้กับโยมที่เฝ้ากุฏิ...และให้ดูลายมือที่ท่านเขียนเลขนี้ไว้.....
...พอหวยออกงวดที่สาม 438 ปรากฏว่าถูกหวยกันยกหมู่บ้าน(มีไม่เกิน10หลังคาเรือน)คุณลุงแป๊ะจ๋วนนี้ ซื้อควายได้1 ตัวทีเดียว...
....ตั้งแต่นั้นมา ชาวบ้านก็เริ่มศรัทธาและชักชวนชาวบ้านหมู่อื่นๆมาเข้าวัดไม้ขาวกันอย่างเนืองแน่น....แต่ท่านก็มิได้ใบ้หรือให้หวยใดๆอีกเลย....
...นี่คือปาฏิหารย์พระป่า วัดไม้ขาวเรื่องที่หนึ่ง.....
...เรื่องที่สอง.......
...คุณลุงเล่าว่า วันหนึ่ง เดินมาส่งท่านอาจารย์มหาปิ่นฯที่กุฏิ.. เดินตามหลังท่านมาติดๆ ทางเดินก็แคบ และมีบรรไดเดียวขึ้นกุฏิ...หน้าต่างก็สูงมาก เพราะกุฏิจะสร้างสูง(กันเสือ)...แล้วก็ดักรออยู่ตรงตีนบรรได...
..พอสักประมาณ1นาทีได้ ก็ได้ยินเสียงเดินอยู่ข้างหลังเพราะใบไม้ดัง จึงหันไปดู...ปรากฏว่าคุณลุงเล่าว่า"ขนลุกซู่"ขึ้นทันที เพราะแกเห็นท่านอาจารย์มหาปิ่นฯกำลังเดินจงกรมอยู่ห่างจากกุฏิไปสัก20เมตรเห็นจะได้...และก็ไม่มีทางที่จะลงบรรไดแล้วเดินผ่านแกที่ดักรออยู่ไปได้...นอกจากท่านหายตัวได้เท่านั้น....(ในขณะที่คุณลุงเล่า ท่านยังยกแขนแล้วชี้ให้ดูขนที่ลุก(ในอดีต)ว่า..นี่ๆขนลุกตั้งเด่อย่างนี้ อย่างนี้).....ซึ่งพอหายตกตะลึง..แกก็เดินไปไหว้ลากลับทันทีโดยลืมธุระของแกจนหมดสิ้น.....คุณลุงเล่าว่า..เกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่มา ก็เพิ่งเคยเห็นจะๆตอนนั้นว่า...พระปฏิบัติ สามารถหายตัวได้จริงๆ....ถือเป็นบุญตาที่จะเล่าให้ลูกๆหลานๆฟังกันจริงๆ.....
..นี่คือปาฏิหารย์เรื่องที่สอง...ที่ท่านอาจารย์มหาปิ่นฯแสดงฤทธิ์ให้ลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านได้เห็นประจักษ์ตา.....
.....ผมได้ฟังแล้วก็ยกมือโมทนาสาธุ....ในอุบายธรรมของอาจารย์มหาปิ่นฯที่แสดงฤทธิ์เพื่อเรียกศรัทธาให้คนเข้าหาศาสนาแล้วค่อยๆกล่อมเกลากิเลศเขาให้บางเบาลงต่อไป....ให้เดินในแนวทางที่ถูกต้องต่อไป...ซึ่งต่อมา หลวงปู่สาม ก็ได้มาเป็นเจ้าอาวาส...และจนกระทั่งมาถึงอาจารย์แดงฯและหลวงพ่อเขียวฯในปัจจุบันนี้....ก็ได้รับศรัทธาจากชาวบ้าน ทั้งจังหวัดภูเก็ต..ที่มาทำบุญ ณ วัดไม้ขาวแห่งนี้ในปัจจุบัน....นี่เป็นเพราะด้วยอุบายธรรมของท่านอาจารย์มหาปิ่นฯพระป่าแห่งวัดไม้ขาว จ.ภูเก็ตโดยแท้จริง....สาธุ.

ashita

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑.พรหมชาลสูตร] จูฬศีล


พวกภิกษุกราบทูลว่า "รู้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "คำติเตียนนั้น ถ้าเป็นเรื่องไม่จริง พวกเธอควรชี้แจงให้
เห็นชัดว่า 'เรื่องนี้เป็นเรื่องไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่มี และไม่ปรากฏในพวกเรา'
[๖] ภิกษุทั้งหลาย ถึงคนพวกอื่นจะพึงกล่าวยกย่องเรา กล่าวยกย่องพระธรรม
หรือกล่าวยกย่องพระสงฆ์ก็ตาม พวกเธอไม่ควรทำความรื่นเริงดีใจหรือกระหยิ่มใจ
ต่อคนพวกนั้น ถ้าพวกเธอทำความรื่นเริงดีใจหรือกระหยิ่มใจต่อพวกเขา พวกเธอ
ก็จะประสบอันตรายเพราะความรื่นเริงดีใจนั้นได้เช่นกัน คำยกย่องนั้น ถ้าเป็นเรื่อง
จริง พวกเธอควรยืนยันให้เขารู้ชัดลงไปว่า 'เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ถูกต้อง มีอยู่
และปรากฏในพวกเรา'

จูฬศีล

[๗] ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน๑ เมื่อกล่าวยกย่องตถาคต ก็พึงกล่าวด้วยเรื่อง
เล็กน้อย ต่ำต้อยเพียงเรื่องระดับศีลเท่านั้น คือ
[๘] ปุถุชนเมื่อกล่าวยกย่องตถาคต ก็จะพึงกล่าวว่า
๑. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและ
ศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่
๒. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ รับเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่ทรงเป็นขโมย
เป็นคนสะอาดอยู่
๓. พระสมณโคดมทรงละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ประพฤติ
พรหมจรรย์๒ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม๓ อันเป็นกิจของชาวบ้าน

เชิงอรรถ :
๑ คนที่ยังมีกิเลสหนา ที่เรียกเช่นนี้ เพราะบุคคลประเภทนี้ยังมีเหตุก่อให้เกิดกิเลสอย่างหนานานัปการ
ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ อันธปุถุชน คนที่ไม่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิต และกัลยาณปุถุชน คนที่ได้
รับการศึกษาอบรมทางจิตแล้ว (ที.สี.อ. ๗/๕๘-๕๙)
๒ พรหมจรรย์มีความหมายหลายนัย ในที่นี้หมายถึงเมถุนวิรัติ หรือการงดเว้นจากเมถุนธรรม (ที.สี.อ.
๑๘๙ /๑๖๐)
๓ กิจของคนคู่ หมายถึงการร่วมประเวณีหรือการเสพสังวาสกัน (ที.สี.อ. ๘/๗๐ )

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๓ }


--------------------------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑.พรหมชาลสูตร] จูฬศีล


[๙] ๔. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ ตรัสแต่คำสัตย์
ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
๕. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากคำส่อเสียด คือ ฟังความจาก
ฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่าย
โน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน
ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน
ตรัสแต่ ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี
๖. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากคำหยาบ คือ ตรัสแต่คำไม่มี
โทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมาก
รักใคร่พอใจ
๗. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ คือ ตรัสถูกเวลา
ตรัสคำจริง ตรัสอิงประโยชน์ ตรัสอิงธรรม ตรัสอิงวินัย ตรัสคำที่มี
หลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะ
แก่เวลา
[๑๐] ๘. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม
๙. พระสมณโคดมเสวยมื้อเดียว ไม่เสวยตอนกลางคืน ทรงเว้นขาด
จากการเสวยในเวลาวิกาล๑
๑๐. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี
และดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล
๑๑. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกาย
ด้วยพวงดอกไม้ของหอมและเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่ง
การแต่งตัว
๑๒. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
๑๓. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับทองและเงิน
๑๔. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ๒

เชิงอรรถ :
๑ เวลาที่ห้ามไว้เฉพาะแต่ละเรื่อง เวลาวิกาลในที่นี้หมายถึง ผิดเวลาที่กำหนดไว้ คือตั้งแต่หลังเที่ยงวันจนถึง
เวลาอรุณขึ้น (ที.สี.อ. ๑๐/๗๕)
๒ หมายถึง ธัญญชาติที่มีเมล็ดมีเปลือกสมบูรณ์ พร้อมที่จะงอกได้ เช่นข้าวเปลือก (ที.สี.อ. ๑๐/๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๔ }


--------------------------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑.พรหมชาลสูตร] มัชฌิมศีล


๑๕. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
๑๖. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
๑๗. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
๑๘. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
๑๙. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
๒๐. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
๒๑. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับเรือกสวนไร่นาและที่ดิน
๒๒. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
๒๓. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการซื้อขาย
๒๔. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม
และด้วยเครื่องตวงวัด
๒๕. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวงและการ
ตลบตะแลง หรือ
๒๖. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ
การตีชิงวิ่งราว การปล้นและการขู่กรรโชก

จูฬศีล จบ

มัชฌิมศีล

[๑๑] ปุถุชนเมื่อกล่าวยกย่องตถาคต ก็จะพึงกล่าวว่า
๑. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่น
ที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังพรากพืชคาม๑
และภูตคาม๒ เหล่านี้ คือ พืชเกิดจากเหง้า เกิดจากลำต้น เกิดจากตา เกิดจาก
ยอด เกิดจากเมล็ด

เชิงอรรถ :
๑ พืชพันธุ์จำพวกที่ถูกพรากจากที่แล้ว ยังสามารถงอกขึ้นได้อีก (ที.สี.อ. ๑๑/๗๘)
๒ ของเขียว หรือพืชพันธุ์อันเกิดอยู่กับที่ มี ๕ ชนิด คือ ที่เกิดจากเหง้า เช่นกระชาย, เกิดจากต้น เช่นโพ,
เกิดจากตา เช่นอ้อย, เกิดจากยอด เช่นผักชี, เกิดจากเมล็ด เช่นข้าว (ที.สี.อ. ๑๑/๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๕ }


--------------------------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑.พรหมชาลสูตร] มัชฌิมศีล


[๑๒] ๒. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการบริโภคของที่สะสมไว้ เช่นที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังบริโภคของ
ที่สะสมไว้เหล่านี้ คือ สะสมข้าว น้ำ ผ้า ยาน ที่นอน เครื่องประทินผิว ของหอม
และอามิส๑
[๑๓] ๓. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล
เช่นที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยัง
ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศลอย่างนี้ คือ การฟ้อน การขับร้อง การ
ประโคมดนตรี การรำ การเล่านิทาน การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่น
ตีกลอง การสร้างฉากบ้านเมืองให้งดงาม การละเล่นของคนจัณฑาล การเล่น
กระดานหก การละเล่นหน้าศพ การแข่งชนช้าง การแข่งม้า การแข่งชนกระบือ การ
แข่งชนโค การแข่งชนแพะ การแข่งชนแกะ การแข่งชนไก่ การแข่งชนนกกระทา การ
รำกระบี่กระบอง การชกมวย มวยปล้ำ การรบ การตรวจพลสวนสนาม การจัด
กระบวนทัพ การตรวจกองทัพ
[๑๔] ๔. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการขวนขวายในการเล่นการพนัน
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท เช่นที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหารที่
เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังขวนขวายในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทอย่างนี้ คือ เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตา หรือ ๑๐ ตา เล่นหมากเก็บ เล่นดวด
เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นกำทาย เล่นสะกา เล่นเป่าใบไม้ เล่นไถเล็ก ๆ
เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถเล็ก ๆ เล่นธนูเล็ก ๆ เล่นเขียนทาย เล่นทาย
ใจ เล่นล้อเลียนคนพิการ
[๑๕] ๕. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากที่นอนอันสูงใหญ่ เช่นที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังใช้ที่นอนสูงใหญ่อย่างนี้ คือ
เตียงมีเท้าสูงเกินขนาด เตียงมีเท้าเป็นรูปสัตว์ร้าย พรมขนสัตว์ เครื่องลาดขนแกะ
ลายวิจิตร เครื่องลาดขนแกะสีขาว เครื่องลาดมีลายรูปดอกไม้ เครื่องลาดยัดนุ่น
เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายเช่นสีหะและเสือ เครื่องลาดขนแกะมีขน ๒
ด้าน เครื่องลาดขนแกะมีขนด้านเดียว เครื่องลาดปักด้วยไหมประดับรัตนะ เครื่อง

เชิงอรรถ :
๑ อามิส คือวัตถุเครื่องล่อใจ เช่นเงินทองเป็นต้น ในที่นี้หมายถึง เครื่องปรุงอาหาร (ที.สี.อ. ๑๒/๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๖ }

พระใบ้หวย

.

..นิทานหนุกดี เอาอีกๆ

เรื่องลึกลับ สยองขวัญ มีให้ฟังมากมาย หนุกดี ลองพิมพ์ theshock ฟังกันจบเบื่อเชียวละ ส.ก๊ากๆ ส.ก๊ากๆ ส.หลก

sumpaweaseelo

ให้ทาน ก็ได้บุญ รักษาศีล ก็ได้บุญ เจริญภาวนา ก็ได้บุญ แต่

ให้ทาน 100 ครั้ง ยังได้บุญไม่เท่า รักษาศีล 5 เพียงครั้งเดียว

รักษาศีล 5 ร้อยครั้ง ยังได้บุญไม่เท่า ทำสมาธิภาวนาเพียงครั้งเดียว

ทำสมาธิภาวนา (สมถภาวนา) ร้อยครั้ง ยังไม่เท่าภาวนาแล้วได้วิปัสนาญาณเพียงครั้งเดียว

ได้วิปัญณาญาณ 100 ครั้ง ยังไม่เท่าเป็น พระโสดาบัน"



"ให้ทานกับสัตว์ 4 เท้า 100 ครั้ง ยังได้บุญไม่เท่ากับ ให้ทานกับสัตว์ 2 เท้าเพียงครั้งเดียว

ให้ทานกับคนพิการ 100 ครั้ง ก็ยังไม่เท่ากับให้ทานกับ มนุษย์ผู้มีร่างกายสมบูรณ์เพียงครั้งเดียว

ให้ทานกับพระโสดาบัน 100 ครั้ง ยังไม่เท่าให้ทานกับ พระสกิทาคามี เพียงครั้งเดียว

ให้ทานกับพระสกิทาคามี 100 ครั้ง ยังไม่เท่าให้ทานกับ พระอนาคามี เพียงครั้งเดียว

ให้ทานกับพระอนาคามี 100 ครั้ง ยังไม่เท่ากับให้ทานกับ พระอรหันต์ เพียงครั้งเดียว"

เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า "การให้ทานกับผู้ที่สามารถทำประโยชน์ต่อโลกได้มากกว่า จะได้บุญมากกว่า"

"การให้ทานกับผู้ที่มีศีลมีธรรม มีคุณธรรมมากกว่า ก็ได้บุญมากกว่า"

ที่มา geocities


++++++++++++++++++++++++++

ลำดับอานิสงส์ของทาน (ทานํ=การให้)
ให้แก่สัตว์เดรัจฉาน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้มนุษย์ 1 ครั้ง
ให้แก่มนุษย์ 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้สมมติสงฆ์ 1 ครั้ง
ให้กับสมมติสงฆ์ 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระโสดาบัน 1 ครั้ง
ให้กับพระโสดาบัน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระสกิทาคามี 1 ครั้ง
ให้กับพระสกิทาคามี 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระอนาคามี 1 ครั้ง
ให้กับพระอนาคามี 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระอรหันต์ 1 ครั้ง
ให้กับพระอรหันต์ 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระปัจเจกพุทธเจ้า 1 ครั้ง
ให้กับพระปัจเจกพุทธเจ้า 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระพุทธเจ้า 1 ครั้ง
ให้กับพระพุทธเจ้า 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้สังฆทาน 1 ครั้ง
ให้สังฆทาน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้อภัยทาน 1 ครั้ง
ให้อภัยทาน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้ธรรมทาน 1 ครั้ง
ดังนั้น การให้ธรรมะย่อมชนะการให้ทั้งปวง ดังพุทธภาษิตที่ว่า "สพฺพทานํ ธมมทานํ ชินาติ"
การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง

mahamokkulla

พระมหาโมคคัลลานะ

พระอัครสาวกผู้เป็นเลิศในทางฤทธิ์

พระมหาโมคคัลลานะ มีชื่อเดิมว่า โกลิตะ เป็นบุตรพราหมณ์ท้ายบ้านผู้หนึ่ง ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากกรุงราชคฤห์ โกลิตมาณพเป็นเพื่อนสนิทกับอุปติสสมาณพ หรือ พระสารีบุตร ทั้งสองคนอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน เป็นบุตรแห่งสกุลผู้มั่งคั่งเหมือนกัน เบื่อชีวิตการครองเรือนที่วุ่นวาย จึงพาบริวารไปขอบวชอยู่ในสำนักสัญชัยปริพพาชก เรียนลัทธิของสัญชัยได้หมด จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยสอนหมู่ศิษย์ต่อไป ทั้งสองมาณพยังไม่พอใจในคำสอนของสัญชัยปริพาชก เพราะไม่ใช่แนวทางที่ตนต้องการ จึงตกลงกันที่จะแสวงหาอาจารย์ที่สามารถชี้แนะแนวทางที่ดีกว่านี้ หากใครได้โมกขธรรม ก็ขอให้บอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง

ได้ดวงตาเห็นธรรมและอุปสมบทเป็นภิกษุ

เมื่ออุปติสสมาณพได้ไปพบพระอัสสชิในกรุงราชคฤห์ ได้ฟัง "พระคาถาเย ธัมมา" จากพระอัสสชิ ทำให้ได้ดวงตาเห็นธรรม คือ บรรลุโสดาบัน อุปติสสมาณพได้นำคำสอนของพระอัสสชิไปแจ้งให้โกลิตมาณพทราบ โกลิตมาณพก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นดียวกัน ทั้งสองมาณพได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวนาราม และได้ทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ได้ทรงอนุญาตให้อุปสมบทเป็นภิกษุ โกลิตมาณพซึ่งอุปสมบทเป็นพระมหาโมคคัลลานะ บำเพ็ญความเพียงได้ 7 วัน ก็สำเร็จพระอรหันต์ ส่วนอุปติสสมาณพ ซึ่งอุปสมบทเป็นพระสารีบุตร อุปสมบทได้กึ่งเดือน จึงสำเร็จพระอรหันต์

พระมหาโมคคัลลานะเมื่ออุปสมบทแล้วไปทำความเพียรอยู่ที่บ้านกัลลวาลมุตตคาม ถูกนิวรณ์ คือ ถีนมิทธะ ได้แก่ ความหดหู่ซึมเซาเข้าครอบงำ มีอาการนั่งโงกง่วง พระบรมศาสดาได้เสด็จไปสอนอุบายสำหรับระงับความโงกง่วงแก่พระมหาโมคคัลลานะ พระมหาโมคคัลลานะสามารถกำจัดถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซาได้ พิจารณาธรรมทั้งปวงด้วยปัญญา สำเร็จเป็นพระอรหันต์

ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครสาวก

ในวันที่พระสารีบุตรบรรลุพระอรหันต์ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนมาฆะ ในคืนวันนั้น พระพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทปาติโมกข์แก่จาตุรงคสันนิบาต จากนั้น พระพุทธเจ้าทรงประกาศแต่งตั้งพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา เลิศกว่าผู้อื่นในทางปัญญา พระมหาโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายเลิศกว่าผู้อื่นในทางฤทธิ์

เป็นผู้มีอภิญญา

พระมหาโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกผู้มีอภิญญา ซึ่งแปลว่าความรู้ยิ่งยวด อภิญญามี ๖ ประการ ดังนี้

๑. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ เช่น คนเดียวนิรมิตเป็นหลายคนได้ ล่องหนผ่านไปในวัตถุกั้นขวางอยู่ เช่น ฝา กำแพงได้ ดำดินคือไปใต้ดินได้ เดินบนน้ำ ดุจเดินบนพื้นดินได้ เหาะไปในอากาศได้

๒. ทิพพโสต มีหูทิพย์ ล่วงหูของสามัญมนุษย์ ฟังเสียง ๒ อย่างได้ คือทั้งเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ได้ ทั้งเสียงไกล ทั้งเสียงใกล้

๓. เจโตปริยญาณ กำหนดใจคนอื่นได้ รู้ได้ซึ่งใจของบุคคลอื่นอันบริสุทธิ์หรือเศร้าหมองอย่างไร

๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้ตั้งแต่ชาติหนึ่งสองชาติ จนตั้งหลายๆ กัป ว่าในชาติที่เท่านั้น ได้มีชื่อโคตร ผิวพรรณ มีอาหารอย่างนั้น ๆได้เสวยสุข ได้เสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีอายุเท่านั้น ๆ จุติจากชาตินั้นแล้ว เกิดในชาติที่เท่านั้น ได้เป็นอย่างนั้น ๆ แล้วมาเกิดในชาตินี้

๕. ทิพพจักขุ มีตาทิพย์ มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า จุตูปปาตญาณ มีจักษุทิพย์ บริสุทธิ์ล่วงจักษุสามัญมนุษย์ เห็นเหล่าสัตว์กำลังจุติก็มี กำลังเกิดก็มี เลวก็มี ดีก็มี ผิวพรรณงามก็มี ผิวพรรณไม่งามก็มี ได้ดีก็มี ตกยากก็มี รู้ชัดว่าสัตว์เป็นไปตามกรรม

๖. อาสวักขยญาณ ทำให้อาสวะสิ้นไป รู้ชัดตามความจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข์สมุทัย นี้ทุกข์นิโรธ คามินีปฏิปทาเหล่านี้ อาสวะนี้เหตุเกิดอาสวะนี้ ความดับอาสวะนี้ ทางไปถึงความดับอาสวะ เมื่อรู้เห็นอย่างนี้จิตพ้นแล้วจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ รู้ชัดว่าชาตินี้พ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กรณียะทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอันจะต้องทำเช่นนี้ไม่มีอีก

อภิญญา ๕ ข้อแรก เป็นโลกิยอภิญญา ข้อ ๖ สุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา ผู้ที่จะบรรลุอรหันต์ จะต้องได้โลกุตตรอภิญญา คือ อาสวักขยญาณ ได้อภิญญา ๕ ข้อแรก ยังไม่บรรลุพระอรหันต์

ทิพพจักขุของพระมหาโมคคัลลานะ

เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเวฬุวันในกรุงราชคฤห์ พระมหาโมคคัลลานะกับพระลักขณะ ได้ขึ้นไปจำพรรษาอยู่บนเขาคิชกูฎ เวลาเช้าพระเถระทั้งสองได้ถือบาตรเดินลงมาจากยอดเขาเพื่อไปบิณฑบาตในเมือง ในระหว่างที่กำลังเดินลงมานั้น พระลักขณะได้เห็นพระมหาโมคคัลลานะยิ้ม จึงได้ถามถึงสาเหตุ พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ให้ถามเรื่องนี้ในที่เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้า กลับจากบิณฑบาตแล้ว พระเถระทั้งสองได้พร้อมกันเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระลักขณะได้ถามถึงสาเหตุที่พระมหาโมคคัลลานะยิ้ม พระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่าสาเหตุที่ยิ้ม เพราะได้เห็นโครงร่างกระดูกร่างหนึ่งลอยไปมาอยู่ในอากาศ ถูกแร้งกาบินตามจิกกิน เนื้อที่ยึดซี่โครงเอาไว้ ยังผลให้ร่างกระดูกนั้นส่งเสียงร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวด

พระพุทธเจ้าตรัสรับรองว่า โครงกระดูกที่พระมหาโมคคัลลานะเห็นนั้นมีอยู่จริง และพระองค์เองก็ได้เห็นมาแล้วในวันตรัสรู้ แต่ที่ยังไม่ตรัสบอกใครก็เพราะยังไม่มีพยาน แต่บัดนี้พระองค์ได้พระมหาโมคคัลลานะเป็นพยานแล้วจึงตรัส เนื่องจากทรงเห็นว่า หากไม่มีพยานรับรอง เมื่อตรัสไปแล้ว สำหรับผู้ที่เชื่อไม่มีปัญหา แต่สำหรับผู้ที่ไม่เชื่อจะเป็นผลร้ายอย่างใหญ่หลวงแก่เขา

จากนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสบุพกรรมของโครงร่างกระดูกนั้นว่า เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ได้มีอาชีพเป็นนายโคฆาตก์ฆ่าวัวชำแหละเนื้อขายเลี้ยงชีวิตอยู่ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ด้วยวิบาก (ผล) ของกรรมนั้น ตายแล้วได้ไปเกิดอยู่ในนรกหลายแสนปี พ้นจากนรกแล้วด้วยวิบากกรรมที่ยังเหลืออยู่จึงได้มาเกิดเป็นเปรตมีแต่โครงร่างกระดูก

พระพุทธเจ้าสนทนาธรรมกับพระมหาโมคคัลลานะทางทิพพจักขุ และทิพพโสต

ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ส่วนพระมหาโมคคัลลานะกับพระสารีบุตรได้พักอยู่ที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์

วันหนึ่ง พระสารีบุตรได้ออกจากที่เร้นในตอนเย็นและเข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ พระสาระบุตรเห็นพระมหาโมคคัลลานะผ่องใสจึงพูดว่า โมคคัลลานะผู้อาวุโส อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ท่านโมคคัลลานะอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อันละเอียดหรือ พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ท่านผู้อาวุโส วันนี้ผมอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างหยาบ แต่ว่าผมได้สนทนาธรรม

พระสารีบุตรถามว่า ท่านโมคคัลลานะได้สนทนาธรรมกับใคร พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า กับพระผู้มีพระภาคเจ้า พระสารีบุตรถามว่า ผู้มีอายุ ขณะนี้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในวัดเชตวันในเมืองสาวัตถีซึ่งอยู่ไกลจากที่นี่ ท่านโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยฤทธิ์หรือ หรือว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาหาท่านโมคคัลลานะด้วยฤทธิ์ พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ท่านผู้อาวุโส ไม่ใช่ทั้งสองอย่าง คือ ผมมิได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยฤทธิ์ ทั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้เสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์ แต่ว่า ผมกับพระพุทธเจ้าสนทนาธรรมกันทางทิพพจักขุและทิพพโสต เพราะว่า ผมมีทิพพจักขุ และทิพโสตบริสุทธิ์เท่ากับพระพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าก็มีทิพพจักขุและทิพโสตบริสุทธิ์เท่ากับผม

ปราบนันโทปนันทะนาคราช

ในคาถาพาหุง บทที่ ๗ มีข้อความเป็นภาษาบาลี และคำแปลเป็นไทยมีใจความว่า "พระจอมมุนี ทรงโปรดให้พระมหาโมคคัลลานะเถระพุทธชิโนรส (นิรมิตกายเป็นนาคราช) ไปทรมานพระยานาคราชชื่อนันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก ด้วยวิธีอันให้อุปเท่ห์แห่งฤทธิ์แก่พระเถระ ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงเกิดมีแก่ท่านด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น"

พระพุทธชัยมงคลในบทนี้ กล่าวถึงพระผู้มีพระภาคทรงมีชัยแก่นันโทปนันทะนาคราช ซึ่งมีเรื่องดังนี้

ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี เช้าวันหนึ่งก่อนที่พระผู้มีพระภาคจะเสด็จไปรับภัตตาหารที่บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูสัตว์โลก ก็ทรงเห็นนันโทปนันทะนาคราชปรากฏอยู่ในข่ายพระญาณ ในตอนเช้าพระผู้มีพระภาคตรัสสั่งพระอานนท์ให้บอกสงฆ์ทราบว่า พระองค์จะเสด็จไปเทวโลก และได้ทรงพาพระสาวกผู้มีอภิญญาเหาะไปยังเทวโลก

นันโทปนันทะนาคราชเห็นพระผู้มีพระภาคและพระสาวกเหาะมาก็โกรธ โดยถือว่าตนเป็นผู้มีอานุภาพมาก ถ้าสมณะเหล่านั้นเหาะข้ามไป ฝุ่นละอองที่ติดเท้าก็จะล่วงหล่นมาบนหัว จะต้องหาทางไม่ให้เหาะข้ามไป จึงเอาหางรัดเขาพระสุเมรุไว้ ๗ รอบ และบันดาลให้เป็นหมอกควันมืดมัวไปหมด

มีสาวกหลายองค์ทูลอาสาที่จะปราบพระยานาค แต่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต ครั้นเมื่อพระมหาโมคคัลลานะทูลอาสา พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาต พร้อมทั้งทรงให้พรให้มีชัยชนะแก่พระยานาค พระมหาโมคคัลลานะได้เนรมิตกายเป็นพระยานาคที่มีร่างกายยาวใหญ่กว่าพระยานันโทปนันทะถึง ๒ เท่า แล้วรัดกายพระยานาคให้แน่นเข้ากับเขาพระสุเมรุมิให้เคลื่อนไหว ฝ่ายพระยานาคถูกนาคพระมหาโมคคัลลานะรัดจนแทบกระดูกแตก ก็โกรธเกรี้ยวยิ่งนัก จึงพ่นพิษให้เป็นควันแผ่ไปโดยรอบ พระมหาโมคคัลลานะก็บันดาลให้ควันเกิดขึ้นมากยิ่งกว่า ปราบฤทธิ์ของพระยานาคนั้นเสีย พระยานาคจึงพ่นควันพิษเป็นเปลวไฟอันร้ายแรง พระมหาโมคคัลลานะก็เนรมิตไฟที่ร้อนแรงกว่าให้เกิดขึ้น ไฟของพระยานาคไม่อาจทำอันตรายแก่พระมหาโมคคัลลานะได้ แต่ไฟที่พระมหาโมคคัลลานะเนรมิตขึ้นกลับรุมล้อมพระยานาคทั้งภายนอกภายในให้รุ่มร้อนกระสับกระส่ายเป็นกำลัง

พระยานาคคิดว่าสมณะนี้ชื่อใด จึงมีฤทธิ์มากอย่างนี้ คิดแล้วก็ถามชื่อ พระมหาโมคคัลลานะก็บอกให้ทราบว่า เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระผู้มีพระภาค พระยานาคได้กล่าวว่า ท่านเป็นสมณะเหตุใดจึงมาทำร้ายข้าพเจ้า การกระทำของท่านไม่สมควรแก่สมณะ พระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่าเราไม่ได้โกรธและลงโทษท่าน แต่ที่ทรมานท่านก็เพื่อจะช่วยท่านให้พ้นจากความเห็นผิดและพยศร้าย ให้ท่านอยู่ในทางตรงคืออริยมรรค

ในที่สุดพระมหาโมคคัลลานะก็ได้ปราบนันโทปนันทะนาคราชจนยอมจำนน พ้นจากการเป็นมิจฉาทิฏฐิ รู้จักบาปบุญคุณโทษ เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระยานาคได้กราบนมัสการพระผู้มีพระภาคและขอบูชาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดไป พระผู้มีพระภาคได้ทรงประทานศีล ๕ ให้รักษา จากนั้นพระผู้มีพระภาคก็ได้พาพระสาวกไปเรือนของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเพื่อรับภัตตาหาร

ถูกโจรทุบตีก่อนนิพพาน

พระมหาโมคคัลลานะมักจะเหาะไปเทวโลกและนรก ถามกรรมที่พวกเทวดาและพวกสัตว์ที่อยู่ในสวรรค์และนรกทำในชาติก่อน แล้วนำมาเล่าให้มนุษย์ฟัง ผู้คนก็พากันนำลาภสักการะมาถวาย เป็นเหตุให้พวกเดียรถีย์เสื่อมจากลาภ พวกนี้จึงว่าจ้างให้พวกโจรไปลอบฆ่าท่าน พวกโจรไปลอบฆ่าพระมหาโมคคัลลานะถึง ๓ ครั้ง ในสองครั้งแรกท่านเหาะหนีไปทางอากาศ พวกโจรไม่สามารถทำอันตรายท่านได้ แต่ในครั้งสุดท้าย ท่านพิจารณาเห็นว่าเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อนติดตามมา ท่านจึงไม่หนี พวกโจรก็จับท่านมาทุบตี จนกระดูกแตกละเอียด แล้วนำไปซ่อนไว้ในพุ่มไม้แห่งหนึ่ง แต่ท่านยังไม่มรณะ ได้รักษาตนเองด้วยกำลังฌาน แล้วไปเฝ้าพระศาสดาทูลลานิพพาน

ปรากฏว่าประชาชนมีความสงสัยว่าเหตุใดพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นถึงพระอัครสาวกเบื้องซ้ายผู้มีฤทธิ์จึงถูกโจรทุบตีอย่างทารุณ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าบุพพกรรมของพระมหาโมคคัลลานะว่า ในอดีตชาตินานมาแล้ว พระมหาโมคคัลลานะได้เกิดเป็นชาวเมืองพาราณสี ทำหน้าที่เลี้ยงดูมารดาผู้ทุพพลภาพเสียตา ต่อมาได้ภรรยาคนหนึ่ง และได้ยอมทำตามภรรยา นำมารดาไปทิ้งไว้ในป่า ทุบตีจนตาย พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! โมคคัลลานะทำกรรมประมาณเท่านี้ โทษในนรกหลายแสนปี ด้วยวิบากยังเหลืออยู่ จึงถูกทุบตีอย่างนั้นนั่นและละเอียดหมดถึงมรณะสิ้น ๑๐๐ อัตตภาพ"

ผู้จัดพิมพ์เผยแพร่ : สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย

โพสท์ในกระทู้ธรรม อภิธรรมมูลนิธิ โดย : สมพร เทพสิทธา - 18/12/2001 09:53

mahamokkulla

พระพุทธเจ้าตรัสรับรองว่า โครงกระดูกที่พระมหาโมคคัลลานะเห็นนั้นมีอยู่จริง และพระองค์เองก็ได้เห็นมาแล้วในวันตรัสรู้ แต่ที่ยังไม่ตรัสบอกใครก็เพราะยังไม่มีพยาน แต่บัดนี้พระองค์ได้พระมหาโมคคัลลานะเป็นพยานแล้วจึงตรัส เนื่องจากทรงเห็นว่า หากไม่มีพยานรับรอง เมื่อตรัสไปแล้ว สำหรับผู้ที่เชื่อไม่มีปัญหา แต่สำหรับผู้ที่ไม่เชื่อจะเป็นผลร้ายอย่างใหญ่หลวงแก่เขา
       

ฺโจรไม่อ่าน

.


....ถ้าทุกคนเกรงกลัว และละอายต่อบาป


คงไม่มีโจรผู้ร้าย ไม่มีโกงกิน ขอรับฉัน บ้านเมืองคงเจริญ สงบสุขมากกว่านี้


....คนไม่กลัวนรกแว้วววว ส.หลก ส.สู้ๆ

osodtip

โอสถวิเศษของพระพุทธเจ้า    พิมพ์      อีเมล   
บทความ - อายุวัฒนะ
วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๕:๓๗ น.
            โรคมะเร็งซึ่งถือกันว่าเป็นโรคร้ายแรงในยุคปัจจุบัน ได้ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันว่ามีโครงสร้างของโมเลกุลเป็นอย่างไร ทำให้สามารถตรวจสอบอาการของมะเร็งได้ง่ายขึ้น เพราะเมื่อพบโมเลกุลของเซลล์ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายว่าเป็นโมเลกุลของมะเร็งแล้ว ก็รู้ได้โดยง่ายว่าเป็นมะเร็ง

            พวกฝรั่งเขาเก่ง โฆษณาเก่ง อะไร ๆ ก็อ้างว่าเป็นผู้คิด ผู้รู้ หรือเป็นผู้คนพบ แล้วเหมารวมเอาว่าเป็นภูมิปัญญาของฝรั่ง อย่างดินปืนหรือเข็มทิศนั่นประไร คนจีนเขาคิดได้ก่อนร่วมสองพันปี ฝรั่งเอาไปพัฒนาแล้วอ้างเอาว่าเป็นต้นคิด แม้กระทั่งปืนกลอะไรนั่น ความจริงขงเบ้งได้คิดใช้ก่อนแล้วตั้งแต่เกือบสองพันปี ดังที่มีเรื่องราวปรากฏอยู่ในสามก๊ก

            เซรุ่มหรือวัคซีนในการรักษาป้องกันโรคและพิษหลายอย่าง ฝรั่งก็อ้างผูกขาดเอาว่าเป็นต้นคิด ทั้ง ๆ ที่ความจริงแนวความคิดในการผลิตเซรุ่มหรือวัคซีนไม่ใช่เรื่องใหม่ หากเป็นเรื่องที่มีมานานแล้วอย่างน้อยก็สองพันกว่าปี

            อันเซรุ่มหรือวัคซีนนั้นหลักการอันเป็นแนวคิดก็คือการใช้พิษฆ่าพิษหรือข่มพิษ มีการเอาพิษหรือเชื้อโรคไปบ่มไปเพาะ แล้วนำไปใช้ในการป้องกันหรือรักษาพิษหรือโรค

            ฝรั่งคิดเรื่องนี้ได้ในระยะเพียงประมาณไม่กี่ร้อยปีมานี้ แต่จีนคิดและใช้ความรู้เกี่ยวกับพิษข่มพิษหรือใช้พิษแก้พิษมาร่วมสองพันปีแล้ว ยาแผนโบราณของจีนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจำนวนมากล้วนได้ใช้หลักพิษข่มพิษหรือพิษแก้พิษ

            ฝรั่งเคยเอายาจีนไปพิสูจน์แล้วออกข่าวโวยวายว่าเป็นยาที่กินไม่ได้เพราะมีสารพิษเจือปนก็เพราะนัยยะดังกล่าวนี้เอง ทั้ง ๆ ที่ในการใช้บำบัดรักษาจริง ๆ แล้ว สามารถใช้ได้ผลเป็นอย่างดี

            ดังเช่นยารักษาโรคมะเร็งตับ มะเร็งกะเพาะลำไส้ที่มีชื่อว่าเปี่ยนเซฮวง หรือเพี้ยนจื่อ หวัง หากเอาไปพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ก็จะพบว่ามีสารพิษบางอย่างซึ่งฝรั่งถือว่าใช้ไม่ได้ แต่ในการใช้บำบัดรักษาผู้เป็นโรคมะเร็งในหลายประเทศทั่วโลกปรากฏว่าใช้ได้ผลดี

            พรรคพวกคนหนึ่งเป็นโรคไวรัสบีที่ตับ ตัวเหลืองซีด เดินไม่ได้ กินไม่ได้ อีกไม่นานก็จะตายแล้ว แต่พอได้กินยาดังกล่าวเข้าประมาณ 20 เม็ด ก็เริ่มสามารถเดินได้ ครั้นกินไปได้ครบ 60 เม็ด ตัวที่เหลืองซีดก็หาย ผลตับก็ดีขึ้นและเป็นปกติจนถึงทุกวันนี้

            พระพุทธเจ้าของชาวพุทธเราทรงพบหลักการบำบัดรักษาโรคทำนองเดียวกับเซรุ่มหรือวัคซีนก่อนใครในโลก เป็นวิธีที่ง่าย สะดวกในการใช้สอย และได้ผลจริง มีความแสดงไว้อย่างชัดเจนทั้งในพระสูตรและพระวินัย

            อย่าได้คิดว่าเป็นการค้นพบโดยการทดลองทางวิทยาศาสตร์ หากเป็นการรู้เห็นด้วยญาณอันวิเศษ และปฏิบัติใช้ได้ผลมาแล้วกว่าสองพันห้าร้อยปี

            พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นผลดีของโอสถวิเศษดังกล่าวนี้ จึงบัญญัติไว้ในพระวินัยให้เป็นวัตรปฏิบัติสำคัญ 1 ใน 3 ประการของภิกษุ

            พระภิกษุต้องมีวัตรปฏิบัติ 3 ประการคือการถือไตรจีวรเป็นประจำอย่างหนึ่ง การบิณฑบาตรอย่างหนึ่ง และการทำน้ำมูตรเน่าฉันอีกอย่างหนึ่ง สามอย่างนี้หากปฏิบัติไม่ครบถ้วนย่อมผิดพระวินัย

            แต่ในยามที่เห่อสมณศักดิ์กันดังปัจจุบันนี้ จะมีพระภิกษุเหลือเพียงสักกี่รูปที่มีวัตรปฏิบัติครบถ้วนตามพระวินัยที่ได้มีพุทธบัญญัติไว้

            มากหลายรูปที่มีสบง จีวร เกินกว่า 1 ชุด ซึ่งต้องอาบัติ และมากหลายรูปที่ไม่ออกบิณฑบาตร โดยเฉพาะรูปที่มีสมณศักดิ์สูง และจำนวนมากเหลือเกินที่ไม่ทำน้ำมูตรเน่าฉัน หันไปฉันยาฝรั่ง

            ไตรจีวรเพียงสามผืนมุ่งหมายให้พระภิกษุสงฆ์เป็นผู้เลี้ยงง่าย มีความเป็นอยู่สะดวกสบายไม่มีภาระ เป็นเครื่องเตือนสติให้ละวางปล่อยว่างในกิเลสทั้งปวง ให้รำลึกอยู่เนือง ๆ ว่ากายนี้ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ครองไตรจีวรเพียงเพื่อปกปิดร่างกาย กันร้อนหนาวเหลือบยุงเท่านั้น หากปฏิบัติดังนี้จิตย่อมถูกกล่อมเกลาให้ห่างเหินออกจากกิเลส และความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง

            การบิณฑบาตรเป็นวัตรก็คือการออกกำลังกายในยามเช้า ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า morning walk หรือ จ็อกกิ้งอะไรก็ตามเถิด แต่แท้จริงแล้วก็คือการออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่ทำให้เลือดลมในกายไหลเวียนเป็นปกติ เส้นสายได้คลี่คลาย ได้ทั้งเหงื่อ ได้ทั้งอาหาร โดยเฉพาะเวลาอุ้มบาตรแนบกับท้องน้อย ความอุ่นของบาตรพระที่มีข้าวสุกอยู่ในบาตรได้เคล้าคลึงอยู่กับหน้าท้อง ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมของเส้นสายและเลือดลมทั้งปวง ทำให้กายมีความเป็นปกติ เป็นอยู่สบาย แม้ในทางธรรมเล่าก็ทำให้ผู้เป็นพุทธบริษัทได้มีโอกาสทำบุญ บำรุงจิตใจให้อาบเอิบอยู่ด้วยบุญ จาคะ และการสละละวาง ประโยชน์ใหญ่หลวงอันเกิดแต่บิณฑบาตรมีอยู่ดังนี้

            ส่วนการทำมูตรเน่าฉันนั้นก็คือการเอาน้ำปัสสาวะของตนเองทิ้งหัวทิ้งท้ายเอาแต่กลางน้ำ ดองกับลูกสมอหรือมะขามป้อมก็ได้ หมักบ่มไว้เป็นเวลา 90 วัน ก็ใช้ฉันได้ หรือจะฉันสดโดยรองเอาแต่เฉพาะช่วงกลาง ทิ้งหัวทิ้งท้ายก็ได้ และนี่เป็นวัตรปฏิบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลในการป้องกัน บำบัด และรักษาโรคที่มีผลชะงัด พิสูจน์เมื่อใดก็ใช้ได้เมื่อนั้น ได้ผลเมื่อนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนในลัทธิศาสนาใด ๆ หรือมีเพศวัยอะไร

            คนโบราณหรือคนที่มีอายุเกินกว่า 45 ปี ก็คงเคยได้กินยาแผนโบราณที่ใช้น้ำปัสสาวะเด็กเป็นกระสัยยามาบ้างแล้ว นั่นเป็นเรื่องของคนที่ขยะแขยงน้ำปัสสาวะหรือน้ำมูตร

            พระผู้มีพระภาคเจ้าวางพุทธบัญญัติให้ใช้น้ำปัสสาวะของตนเองย่อมมีมาแต่เหตุว่า อาการของโรคใด ๆ ของคนใดคนหนึ่งย่อมต้องบำบัดรักษาด้วยน้ำมูตรหรือน้ำปัสสาวะของผู้นั้น จะใช้ของผู้อื่นไม่ได้

            มีผู้ใช้โอสถทิพย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าในการบำบัดรักษาโรคหลายอย่างหลายชนิดตั้งแต่อดีตจวบปัจจุบัน ตั้งแต่ป่วยเป็นไข้ เป็นฝีในท้อง เป็นโรคลำไส้ เป็นโรคตับ โรคไต ความดันโลหิตสูง มะเร็ง และโรคอื่น ๆ สารพัด

            ได้ทราบข่าวหลายกระแสและค่อนข้างจะแน่ชัดแล้วว่าน้ำมูตรเน่าหรือน้ำปัสสาวะนั้นสามารถบำบัดรักษาโรคเอดส์ได้ด้วย เหตุที่มีการทดลองใช้น้ำปัสสาวะหรือน้ำมูตรเน่ารักษาโรคเอดส์เนื่องจากการรักษาแผนปัจจุบันนั้นเป็นอันสิ้นหวัง และยังไม่สามารถค้นพบยาขนานอื่นใดที่รักษาโรคเอดส์ได้อย่างแท้จริง จึงทำให้ผู้เป็นโรคเอดส์ที่ว่านี้ทอดอาลัยตายอยาก แล้วคิดว่าไหน ๆ ก็จะตายแล้ว ลองใช้โอสถวิเศษของพระพุทธเจ้าบ้างจะเป็นไรไป

            ครั้นทดลองเอามากินเพียง 10 กว่าวัน ลิ้นและปากที่เป็นฝ้ากินอะไรไม่ได้ก็เริ่มกินน้ำได้คล่องคอแล้วค่อย ๆ กินอาหารได้ พอกินอาหารได้ความซูบซีดผอมแห้งแรงน้อยก็ค่อย ๆ หาย เริ่มมีเนื้อมีหนังขึ้นโดยลำดับ 6 เดือนผ่านไปเนื้อหนังมังสาผิวพรรณเริ่มเหมือนผู้คนมากกว่าที่เหมือนเปรตดังแต่ก่อน ค่อยๆ เดินได้ ออกกำลังกายได้  8 เดือนผ่านไปก็มั่นใจว่าโอสถวิเศษของพระพุทธเจ้าสามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายได้อย่างแน่นอน จึงกินต่อมาเรื่อย ๆ  5 ปีผ่านไปแล้วบางราย 3 ปีผ่านไปแล้วก็สามารถดำรงชีวิตเป็นปกติยิ่งขึ้น หรือเหมือนกับคนปกติแล้ว

            ตรองดูเหตุผลซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าวางพุทธบัญญัติให้พระภิกษุฉันน้ำมูตรเน่าเป็นวัตรก็คงเนื่องมาแต่ยุคพุทธกาลนั้นบ้านเมืองยังทุรกันดาร มดหมอก็คงหาลำบาก ยามพระภิกษุป่วยไข้จะหาหยูกยาที่ไหนมารักษา และวิธีที่ดีและง่ายที่สุด หาได้ทุกเมื่อทุกวันเวลาก็คือน้ำปัสสาวะของตนเอง

            เหตุที่ต้องใช้น้ำปัสสาวะของตนเองก็เพราะว่าน้ำปัสสาวะของคนเรานั้นเป็นสิ่งที่กลั่นจากน้ำในกาย ทั้งน้ำเลือด น้ำหนอง และน้ำทุกชนิดในกายอันยาววาหนาคืบนี้ โดยไตเป็นกลไกในการขับกรอง โรคทั้งหลายในกายย่อมอาศัย ย่อมมีเหตุปัจจัยและย่อมมีผลเกี่ยวด้วยน้ำหลายชนิดดังกล่าวในกายของตัวเองนั่นเอง

            เป็นโรคอะไรน้ำในกายก็ย่อมมีสารอันเป็นเหตุเป็นปัจจัยของโรคนั้นอยู่ เมื่อผ่านการกลั่นกรองของไตกลายเป็นน้ำปัสสาวะแล้ว น้ำปัสสาวะนั้นจึงเหมือนกับเซรุ่มหรือวัคซีนที่พวกฝรั่งเพิ่งค้นพบในภายหลังนั่นแหละ

            เมื่อมองดังนี้ก็จะเห็นได้ว่าน้ำปัสสาวะของคนเราแท้จริงแล้วก็คือเซรุ่มหรือวัคซีนที่ธรรมชาติประทานไว้ให้กับคนเรานั่นเอง เป็นเซรุ่มหรือวัคซีนธรรมชาติที่สามารถใช้ป้องกันบำบัดรักษาโรคประจำกายได้โดยอัตโนมัติ

            เป็นโรคอะไรหรือจะเป็นโรคอะไร ร่างกายก็จะผลิตน้ำปัสสาวะที่เสมือนดังหนึ่งเซรุ่มหรือวัคซีนที่จะมีผลต่อการบำบัดรักษาโรคนั้นอย่างตรงตัวที่สุด อุปมาเหมือนกับการเอาพิษงูเห่าไปทำเซรุ่มรักษาพิษงูเห่า หรือการเอาพิษงูจงอางไปทำเซรุ่มรักษาพิษงูจงอางนั่นแล

            โรคเอดส์ก็ประกอบด้วยน้ำ มีเหตุมีปัจจัยจากน้ำ และก่อผลแก่น้ำอันมีอยู่ในกาย เมื่อเป็นเช่นนี้ร่างกายคนเราจึงผลิตเซรุ่มหรือวัคซีนที่รักษาโรคเอดส์ โดยการใช้น้ำปัสสาวะของผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์นั้นในการบำบัดรักษาโรคเอดส์ให้หาย

            สมญานามของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ว่าเป็นผู้แจ้งโลกนั้น ไม่ว่าจะคิดจะพิจารณาศึกษาค้นคว้าในเรื่องไหน ๆ ก็จะเห็นได้ถึงความรู้แจ้งโลกหรือความเป็นสัพพัญญูอย่างถ่องแท้

            ได้ลองค้นคว้าตำรายาในพระไตรปิฎกก็ได้พบตำรายามากหลาย หากมีวันเวลาว่างและกองบรรณาธิการอนุญาตแล้วก็ตั้งใจว่าจะเขียนเรื่องตำรายาในพระไตรปิฎก เพื่อเป็นธรรมทานแก่เพื่อนมนุษย์สักครั้งหนึ่ง ท่านผู้ใดสนใจก็คอยติดตามเอาเองก็แล้วกัน

            น้ำปัสสาวะสดอย่าได้คิดว่าเป็นเรื่องสกปรกโสมม คิดเสียว่าเหมือนกับน้ำลายที่อยู่ในปาก สามารถกลืนกินได้ฉันใด น้ำปัสสาวะก็ดื่มกินได้ฉันนั้น แต่เอาหละเพื่อความสะอาดช่วงต้น

            ช่วงปลายอาจจะมีกลิ่นอันน่ารังเกียจอยู่บ้างก็ทิ้งไปเสีย เอาแต่ตอนกลางดื่มเช้าหนหนึ่ง ก่อนนอนหนหนึ่งก็ถือได้ว่าเป็นโอสถวิเศษที่เป็นยาอายุวัฒนะ และสามารถบำบัดรักษาโรคที่มีอยู่ในตนได้ทุกอย่าง

            รสชาติของน้ำปัสสาวะของแต่ละคนและที่เป็นโรคแต่ละโรคย่อมแตกต่างกัน บ้างมัน บ้างหวาน บ้างเค็ม บ้างเปรี้ยว บ้างจืด บ้างมีกลิ่นฉุน บ้างขื่น บ้างเหมือนกลิ่นสัปปะรด ก็ถือเสียเถิดว่านั่นเป็นยาแต่ละขนานสำหรับโรคแต่ละโรค

            ส่วนการทำน้ำมูตรเน่านั้น ให้ใช้น้ำปัสสาวะตอนเช้าและตอนก่อนเข้านอน ทิ้งหัวทิ้งท้ายเอาเฉพาะส่วนกลาง ดองใส่โหลไว้ ใส่สมอหรือมะขามป้อมแล้วปิดฝาให้มิดชิด ถ้วน 90 วันแล้วก็ดื่มกินได้ ทั้งรสชาติดีและรักษาโรคได้ทุกชนิด

            จะกินน้ำปัสสาวะเพื่อป้องกันรักษาโรคก็ได้ หรือถ้ารังเกียจก็คอยจนเป็นโรคใดโรคหนึ่งที่หมอไม่รับรักษาแล้วค่อยทดลองกินก็ได้

            ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัยที่ยังประโยชน์ยิ่งแก่หมู่สัตว์จงประสิทธิ์ประสาทฤทธิ์ของโอสถทิพย์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่คนทั้งปวงเทอญ.

โอสถทิพย์บำบัดสารพัดโรค


คนหลวง

.

..วันนี้ ท่านดื่มปัสสาวะแล้วหรือยัง ส.หลก ส.ก๊ากๆ ส.ยกน้ิวให้


ประวัติพระโคตมพุทธเจ้า

พระโคตมพุทธเจ้า
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
พระโคตมพุทธเจ้า
4big3.jpg
ข้อมูลทั่วไป
พระนามเดิม    สิทธัตถะ
พระนามอื่น    อังคีรส
วันประสูติ    ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 80 ปีก่อนพุทธศักราช
สถานที่ประสูติ    ลุมพินีวัน
สถานที่บวช    ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา
สถานที่บรรลุธรรม    ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ตำแหน่ง    พระพุทธเจ้า
ปรินิพพาน    ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
สถานที่ปรินิพพาน    กุสินารา
ฐานะเดิม
ชาวเมือง    กบิลพัสดุ์
นามพระราชบิดา    พระเจ้าสุทโธทนะ
นามพระราชมารดา    พระนางสิริมหามายา
วรรณะเดิม    กษัตริย์
ราชวงศ์    ศากยะ
สถานที่รำลึก
สถานที่    สังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือ ลุมพินีวัน พุทธคยา สารนาถ กุสินารา
อารามสำคัญ คือ วัดเวฬุวันมหาวิหาร วัดเชตวันมหาวิหาร
ด • พ • ก

พระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) [1]

คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล[2]

พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงตพระอิสสริยยศเป็นมกุฎราชกุมาร เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น[3] คือ ทรงปฏิญาณว่าทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงสำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล[4]
เนื้อหา

    1 พุทธประวัติ
        1.1 พระประสูติกาล
        1.2 เจ้าชายสืบราชสมบัติ
        1.3 มหาภิเนษกรมณ์
            1.3.1 เหตุการณ์ออกผนวชตามนัยอรรถกถา
            1.3.2 เหตุการณ์ออกผนวชตามนัยพระบาลี (พระไตรปิฎก)
        1.4 บำเพ็ญเพียรเพื่อการบรรลุธรรม
        1.5 พระสุบินนิมิต
        1.6 นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส
        1.7 ตรัสรู้
        1.8 เสวยวิมุตติสุข ณ สัตตมหาสถาน
            1.8.1 สับดาห์ที่ 1 และ 2
            1.8.2 สัปดาห์ที่ 3
            1.8.3 สัปดาห์ที่ 4
            1.8.4 สัปดาห์ที่ 5
            1.8.5 สัปดาห์ที่ 6
            1.8.6 สัปดาห์ที่ 7
            1.8.7 ประสานบาตรแล้วรับข้าวสัตตูก้อนสัตตูผง
            1.8.8 ประทานพระเกศา
            1.8.9 ระลึกถึงดอกบัว 4 เหล่า
        1.9 แสดงปฐมเทศนา
        1.10 ยสะและพระญาติออกบวช
        1.11 โปรดภัททวัคคีย์
        1.12 โปรดชฎิล 3 พี่น้อง
        1.13 โปรดพระเจ้าพิมพิสาร
        1.14 แต่งตั้งพระอัครสาวกทั้งสอง
        1.15 ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
        1.16 ปรินิพพาน
    2 หลักธรรม คำสอน
    3 พุทธกิจ 5
    4 ความเห็นนักวิชาการ
    5 อ้างอิง
    6 ดูเพิ่ม

พุทธประวัติ

ดูบทความหลักที่ พุทธประวัติ
พระประสูติกาล
เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ

ในคืนที่พระโพธิสัตว์เสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา พระนางทรงพระสุบินนิมิตว่ามีช้างเผือกมีงาสามคู่ได้เข้ามาสู่พระครรภ์ ณ ที่บรรทม สิบเดือนหลังจากนั้น ขณะทรงพระครรภ์แก่ได้ทรงขอพระราชานุญาตจากพระสวามีเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะอันเป็นพระมาตุภูมิเพื่อให้การประสูติเป็นไปตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ระหว่างเสด็จกลับพระมาตุภูมิ พระนางได้ทรงพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละในสวนป่าลุมพินี[5]ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เมื่อประสูติแล้วพระราชกุมารนั้นทรงพระดำเนินได้ 7 ก้าวทันที พร้อมทั้งเปล่งอาสภิวาจา ว่า "เราเป็นผู้เลิศ เป็นผู้เจริญ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก การเกิดของเราครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว"[6] อนึ่ง ทั้งสวนป่าลุมพินีและกรุงกบิลพัสดุ์ในปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล[7]

หลังจากมีพระประสูติกาลแล้ว 3 วัน มีฤๅษีตนหนึ่งนามว่า "อสิตะ" ได้เข้าเยี่ยมพระราชกุมาร เมื่อพิจารณาดูก็พยากรณ์ว่าพระราชกุมารนี้จะได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณอย่างแน่นอน[8]

เมื่อพระชนมายุ 5 วัน พระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้เชิญพราหมณ์มา 108 คนเพื่อถวายพระนามพระราชกุมาร จึงได้พระนามว่า "สิทธัตถะ" จากนั้นพระเจ้าสุทโธทนะได้เชิญพราหมณ์ 8 คนเข้าพิจารณาพระลักษณะของพระกุมารเพื่อถวายคำพยากรณ์ พรหมาณ์ 7 คนในจำนวนนั้นทำนายเป็น 2 สถาน คือหากพระราชกุมารครองราชย์จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หากผนวชจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เว้นแต่พราหมณ์อยุน้อยสุดชื่อ "โกณฑัญญะ" พยากรณ์ว่าพระราชกุมารจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน[9]

หลังจากที่มีพระประสูติกาลแล้ว 7 วัน พระพุทธมารดาก็เสด็จสวรรคต ในปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสกล่าวว่า เป็นเพราะพระครรภ์ของพระพุทธมารดาไม่ควรจะเป็นที่เกิดของสัตว์ใดอีก และจึงจักต้องเสด็จสู่สวรรคาลัย
เจ้าชายสืบราชสมบัติ

ส่วนหนึ่งของ
ศาสนาพุทธ

Dhamma Cakra.svg สถานีย่อย

Dharmacakra flag (Thailand).svg
ประวัติศาสนาพุทธ
ศาสดา

พระโคตมพุทธเจ้า
(พระพุทธเจ้า)
จุดมุ่งหมาย
นิพพาน
ไตรรัตน์

พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
ความเชื่อและการปฏิบัติ
ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
สมถะ · วิปัสสนา
บทสวดมนต์และพระคาถา
คัมภีร์และหนังสือ
พระไตรปิฎก
พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก
หลักธรรมที่น่าสนใจ
ไตรลักษณ์
อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา · มงคล ๓๘
นิกาย
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน
สังคมศาสนาพุทธ
ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน
การจาริกแสวงบุญ
พุทธสังเวชนียสถาน ·
การแสวงบุญในพุทธภูมิ
ดูเพิ่มเติม
อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
หมวดหมู่ศาสนาพุทธ

เจ้าชายสิทธัตถราชกุมาร ทรงเจริญวัยด้วยความสุขยิ่ง เพราะกำเนิดในราชตระกูลภายใต้เศวตฉัตร และได้ทรงศึกษาในสำนักอาจารย์วิศวามิตร ซึ่งเป็นสำนักที่มีชื่อเสียงที่สุด เจ้าชายได้ทรงศึกษาอย่างรวดเร็ว และจบหลักสูตรสิ้นทุกประการ คือจบศิลปศาสตร์ทั้ง 18 สาขาวิชา

อย่างไรก็ตาม พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงปริวิตกต่อคำทำนายของพราหมณ์หนุ่ม ที่ว่าเจ้าชายจะทรงออกผนวชแน่นอน จึงทรงจัดการเตรียมความพร้อมสำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์ พร้อมสร้างปราสาท 3 ฤดูให้อยู่ประทับ เมื่อพระชมน์ได้ 16 พรรษาได้เข้าสู่พิธีอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราพิมพา ผู้เป็นธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ กษัตริย์ผู้ครองราชสมบัติกรุงเทวทหะ จนพระชนมายุได้ 29 พรรษา จึงมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งพระนามว่าพระราหุล ซึ่งแปลว่า บ่วง
มหาภิเนษกรมณ์
เหตุการณ์ออกผนวชตามนัยอรรถกถา
เทวทูตทั้ง 4

เหตุการณ์การออกผนวชจากหลักฐานชั้นอรรถกถา (หลักฐานชั้นรอง แต่งโดยคัมภีราจารย์รุ่นหลังพระไตรปิฎก) กล่าวว่า หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะเจริญวัยและอภิเษกสมรสล่วงมาได้ 29 พรรษาแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเสพสุขอยู่บนปราสาท 3 ฤดู มีความสุขทางโลกบริบูรณ์[10] จนวันหนึ่งทรงปรารถนาจะผ่อนคลายความจำเจ จึงชวนสารถีทรงรถม้าประพาสอุทยาน ครั้งนั้นเทวดาได้เนรมิตเทวทูตทั้ง 4 อันได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงบังเกิดความสังเวชในพระราชหฤทัย ใคร่เสด็จออกผนวชเป็นสมณะ

ในวันที่เจ้าชายราหุลเกิดนั้น เป็นวันที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา ด้วยทรงเบื่อในเพศฆราวาสอันเต็มไปด้วยกิเลส จึงทรงเห็นว่าเพศบรรพชาเท่านั้นที่ประเสริฐและเป็นเพศที่สามารถจะหลุดพ้นจากความทุกข์ยากทั้งปวงได้ กระทั่งคืนที่เจ้าชายตัดสินพระทัยจะออกผนวช ได้เสด็จไปเยี่ยมพระโอรสและมเหสี เมื่อพระองค์เห็นพระนางพิมพาบรรทมหลับสนิทพระกรกอดโอรสอยู่ทรงดำริจะอุ้มพระโอรส ขึ้นชมเชยเป็นครั้งสุดท้าย ก็เกรงว่าพระนางพิมพาจะตื่นบรรทม เป็นอุปสรรคขัดขวางการเสด็จออกบรรพชา จึงตัดพระทัยระงับความเสน่หาในพระโอรสเสด็จออกจากห้อง เสด็จลงจากปราสาทพบกับนายฉันนะ สารถี ซึ่งเตรียมม้าพระที่นั่ง (ม้านามว่ากัณฑกะ) ไว้แล้ว เสด็จออกจากพระนครในราตรีกาล เสด็จออกพ้นพระราชวัง เข้าเขตแดน แคว้นโกศลและแคว้นวัชชี ครั้นเวลาใกล้รุ่ง เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที พระองค์ทรงม้าข้ามฝั่งแม่น้ำ แล้วเสด็จลงไป ประทับนั่งบนกองทราย ทรงตัดพระเมาลี ด้วยพระขรรค์ เปลี่ยนชุดทรงกษัตริย์เป็นผ้ากาสาวพัตร์ แล้วทรงตั้งจิตอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 จากนั้นทรงส่งนายฉันนะนำเครื่องทรงกษัตริย์กลับนคร แล้วเสด็จลำพังโดยพระองค์เดียว มุ่งพระพักตร์ ไปยังแคว้นมคธ
เหตุการณ์ออกผนวชตามนัยพระบาลี (พระไตรปิฎก)
(ตามนัยอรรถกถา) หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะหนีออกจากพระราชวัง ทรงตัดพระเมาฬีที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานทีเพื่ออธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต

เหตุการณ์การออกผนวชจากหลักฐานชั้นต้น คือ พระไตรปิฎก กล่าวว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะอายุได้ 29 พรรษา ทรงพระดำริว่า
   

    ...มนุษย์ทั้งหลายมีความทุกข์เกิดขึ้นครอบงำอยู่ตลอดเวลาก็จริง เกลียดความทุกข์อยู่ตลอดเวลาก็จริง
    แต่ทำไมมนุษย์ทั้งหลายยังมัวแสวงหาทุกข์ร้อนใส่ตัวอยู่ตลอดเวลา แล้วทำไม เราต้องมามัวนั่งแสวงหาทุกข์ใส่ตัว อยู่อีกเล่า!

   
— สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. ปาสราสิสุตฺต โอปทฺทมวคฺค อุปริ. ม. มู. ม. 12/316/316

ด้วยความคิดเช่นนี้ ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะถึงกับตั้งพระทัยออกผนวชด้วยดำริว่า
   

    เมื่อรู้ว่าการเกิดมี (ทุกข์) เป็นโทษแล้ว เราพึงแสวงหา "นิพพาน" อันไม่มีความเกิด อันเป็นธรรมที่เกษมจากเครื่องร้อยรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าเถิด

   
— สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. ปาสราสิสุตฺต โอปทฺทมวคฺค มู. ม. 12/316/316

นอกจากนี้ ในสคารวสูตร มีพระพุทธพจน์ตรัสสรุปสาเหตุที่ทำให้ทรงตั้งพระทัยออกบรรพชาไว้สั้น ๆ ว่า
   

    ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, ส่วนบรรพชาเป็นโอกาสแสงสว่าง; ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่เขาขัดดีแล้ว, โดยง่าย นั้นไม่ได้. ถ้าไฉนเราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยเรือน เถิด

   
— สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. สคารวสุตฺต พฺราหฺมณวคฺค ม. มู.13/669/738

ด้วยเหตุดังกล่าวทั้งหลายนี้พระองค์จึงทรงตั้งพระทัยเสด็จออกผนวช ซึ่งนักวิชาการพุทธศาสนาบางท่านอ้างว่าการเสด็จออกผนวชตามนัยพระไตรปิฎกนั้น มิได้ทรงหนีออกจากพระราชวัง แต่เสด็จออกผนวชเฉพาะพระพักตร์พระราชบิดาและพระราชมารดาเลยทีเดียว โดยอ้างจากโพธิราชกุมารสูตร ราชวรรค ว่า
   

    ...เรายังหนุ่มเทียว เกสายังดำจัด บริบูรณ์ด้วยเยาว์อันเจริญในปฐมวัย, เมื่อบิดามารดาไม่ปรารถนาด้วย กำลังพากันร้องไห้ น้ำตานองหน้าอยู่ เราได้ปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนแล้ว...

   
— สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. โพธิราชกุมารสุตฺต ราชวคฺค ม. มู. 13/443/489

ตามพุทธวจนะไม่ได้กล่าวว่าผนวชเฉพาะพระพักตร์พระราชบิดาและพระราชมารดา เพียงแต่ตรัสว่าผนวชขณะทั้งสองพระองค์กรรแสง เพราะทรงหนีจากพระราชวังแล้วผนวชในตอนเช้า เมื่อทั้งสองพระองค์ทรงทราบในเช้านั้นจึงเสียพระทัย การผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะและการกรรแสงของพระราชบุพการีจึงเป็นเวลาเดียวกัน แต่ต่างสถานที่

เหตุการณ์จากนี้ในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถาระบุตรงกันว่า เมื่อพระองค์ถือเพศบรรพชิตแล้ว ก็ทรงศึกษาในลัทธิคณาจารย์ต่าง ๆ ซึ่งสมัยนั้นนิยมกัน ส่วนเจ้าชายสิทธํตถะเมื่อครองเพศบรรพชิตแล้ว ทรงถือวัตรปฏิบัติของสมณะ คือปลงผมนุ่งผ้า ย้อมน้ำฝาด (สีเหลืองแก่นขนุน) เลี้ยงชีพด้วย อาหารบิณฑบาต ที่ผู้ต้องการบุญถวายให้ ทรงมีนามเรียกขานว่า พระสมณโคดม (คำว่าโคดม มาจากคำว่าโคตมะ ซึ่งเป็นชื่อโคตรของราช วงศ์ศากยะ)
บำเพ็ญเพียรเพื่อการบรรลุธรรม
การบำเพ็ญทุกรกิริยา

พระโพธิสัตว์ได้ศึกษากับอาฬารดาบส กาลามโคตรเมื่อหมดความรู้ของอาจารย์จึงอำลาไปเป็นศิษย์ในสำนักอุทกดาบส รามบุตร ซึ่งมีความรู้สูงกว่าอาฬารดาบสหนึ่งขั้น คือเป็นผู้บรรลุฌานขั้นที่ 8 ซึ่งพระสมณโคดม ใช้เวลาศึกษาไม่นานก็สิ้นภูมิรู้ของอาจารย์ ในที่สุด จึงอำลาไปค้นหาวิมุตติธรรมตามแนวทางของพระองค์ ด้วยทรงประจักษ์ว่านี่ไม่ใช่หนทางแห่งการตรัสรู้

พระองค์จึงได้ละทิ้งสำนักอาจารย์เหล่านั้นเสีย พระองค์ได้มุ่งหน้าสู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ พร้อมฤๅษี 5 รูป ชื่อว่า โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ เรียกว่า ปัญจวัคคีย์ มาปฏิบัติตนเป็นศิษย์ ด้วยคาดหวังว่าเมื่อพระโพธิสัตว์หลุดพ้นแล้ว จะได้สอนพวกตนให้บรรลุด้วย โดยพระองค์ได้เริ่มการบำเพ็ญเพียรขั้นอุกฤต ที่เรียกว่าทุกกรกิริยา ซึ่งนักบวชสมัยนั้นนิยมปฏิบัติกัน วาระแรกทรงกัดฟัน นำลิ้นแตะเพดานปากไว้แน่น จนพระเสโท (เหงื่อ) ใหลออกทางพระกัจฉะ (รักแร้) วาระที่ 2 ทรงกลั้นลมหายใจเข้าออก จนเกิดเสียงดังอู้ทางช่องหูทั้งสอง ทำให้ทรงปวดหัว เสียดท้อง และทรงร้อนร่างกาย การนั่งตากแดดจนผิวเกรียมไหม้ ครั้นฤดูหนาว ก็ลงไปแช่น้ำจนตัวแข็ง พระองค์ได้ทดลองปฏิบัติตามความเชื่อดั้งเดิมทุกวิถีทาง ก็ยังไม่สามารถบรรลุแนวทางค้นพบสัจจธรรมได้

พระองค์เริ่มบำเพ็ญทุกรกิริยาในวาระสุดท้าย คือเริ่มลดอาหารที่ละน้อย ๆ จนถึงขั้นอดอาหาร จนร่างกายซูบซีดผอมแห้ง เหลือแต่หนังและเอ็นหุ้มกระดูก ทรงมาบำเพ็ญเพียรถึงขั้นอุกฤตขนาดนี้ นับเป็นเวลาถึง 6 พรรษา ก็ยังไม่สามารถบรรลุธรรม

คราวนี้ท้าวสักกะ (พระอินทร์) ผู้เป็นจอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้เสด็จมาเฝ้า และดีดพิณสามสายให้ทรงสดับ วาระแรกทรดีดพิณสายที่ 1 ซึ่งขึ้นสายไว้ตึง พอลงมือดีดสายพิณก็ขาดผึงลง วาระที่ 2 ทรงดีดพิณสายที่สอง ซึ่งขึ้นสายไว้หย่อน ปรากฏเป็นเสียงที่ยืดยาดขาดความไพเราะเหมือนเสียงเบสต่ำกว่ามากถึงแทบไม่มีเสียง วาระที่ 3 ทรงดีดพิณสายสุดท้ายที่ขึ้นสายไว้พอดี เป็นบทเพลงที่ไพเราะกังวาน พร้อมกับถวายบังคมลากลับไป

เมื่อสดับแล้วก็ทรงทราบถึงเหตุแห่งการมาของท้าวสักกเทวราช จึงได้แนวพระดำริว่า การบำเพ็ญทุกรกิริยานั้น เป็นการทรมานตนให้ลำบากเปล่า เป็นข้อปฏิบัติที่ตึงเกินไป และไม่ใช่หนทางแห่งการตรัสรู้ การบำเพ็ญเพียรสมาธิทางจิตนั้น ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป น่าจะเป็นหนทางแห่งการตรัสรู้ได้ จึงเริ่มเสวยพระกระยาหารดังเดิมเพื่อให้ร่างกายคลายเวทนา มีสมาธิที่จะบำเพ็ญเพียรต่อไป ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 จึงเข้าใจว่าพระบรมโพธิสัตว์ได้ละความเพียรแล้วหันมาบริโภคพระกระยาหารดังเดิม ไหนเลยจะสามารถพบธรรมวิเศษได้ จึงพากันเดินทางจากพระองค์ไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี แคว้นกาสี
พระสุบินนิมิต

ขณะที่พระบรมโพธิสัตว์บรรทมหลับในยามราตรีของคืนวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 จนเวลาใกล้รุ่ง ทรงสุบินนิมิต 5 ประการ[11] คือ

    นอนหงายบนพื้นปฐพี มีเขาหิมพานต์เป็นเขนย (หมอน) พระพาหาซ้ายจมลงไปในมหาสมุทรทิศบูรพา พระพาหาขวาหยั่งลงไปในมหาสมุทรด้านทิศปัจฉิม และพระบาท (เท้า) ทั้งสองหยั่งลงไปในมหาสมุทรด้านทิศทักษิณ
    มีหญ้าแพรกเส้นหนึ่งงอกขึ้นจากพระนาภี (สะดือ) สูงขึ้นไปถึงท้องฟ้า
    หมู่หนอนเป็นอันมากมีสีขาวบ้าง สีดำบ้าง ไต่ขึ้นมาจากปลายพระบาททั้งคู่ ปิดลำพระชงฆ์ (แข้ง) ตลอดจนถึงพระชานุ (เข่า)
    ฝูงนก 4 จำพวก มีสีต่าง ๆ กัน คือ สีเหลือง สีเขียว สีแดง และสีดำ บินมาจากทิศทั้ง 4 ลงมาหมอบแทบพระบาท แล้วกลับกลายเป็นสีขาวไปหมดทั้งสิ้น
    พระองค์เสด็จขึ้นไปเดินจงกรมบนยอดภูเขาที่เปรอะเปื้อน เต็มด้วยมูตรคูถ (ปัสสาวะอุจจาระ) แต่พระบาทของพระองค์ มิได้เปื้อนด้วยสิ่งเหล่านั้นเลย

เมื่อทรงตื่นจากบรรทมแล้ว พระองค์ก็เริ่มพยากรณ์ไปตามลำดับว่า

    พระองค์จะได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นผู้เลิศในโลกทั้ง 3 ได้แก่ กามโลก รูปโลก และอรูปโลก
    พระองค์จะได้ทรงประกาศพระธรรมเทศนาอริยมรรคมีองค์ 8 แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
    หมู่คฤหัสถ์ พราหมณ์และชนทั้งหลายที่นุ่งผ้าขาวจะมาสู่สำนักของพระองค์และดำรงอยู่ในไตรสรณคมน์
    วรรณะทั้ง 4 (พราหมณ์, กษัตริย์, แพศย์ และ ศูทร) เมื่อสละเพศฆราวาสมาบรรพชาในพระธรรมวินัย และจะได้บรรลุวิมุตติธรรมอันประเสริฐบริสุทธิ์หมดจดผ่องใสโดยเท่าเทียมกัน
    พระองค์จะบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะ ที่ชาวโลกทั่วทุกทิศพากันนำมาถวายด้วยศรัทธาเลื่อมใส แต่พระองค์มิได้มีพระทัยติดอยู่ในลาภสักการะเหล่านั้นให้เป็นมลทินแม้แต่น้อย

เมื่อพระองค์ทรงทำนายสุบินนิมิตดังนี้และทรงทำสรีรกิจส่วนพระองค์เสร็จแล้ว จึงเสด็จไปประทับนั่งพักผ่อนพระอิริยาบถ ณ โคนต้นไทรใหญ่ ซึ่งไม่ไกลจากที่นั้น
นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส

ขณะที่พระโพธิสัตว์ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่นั้น นางสุชาดาได้นำข้าวมธุปายาสที่เธอได้หุงไว้มาถวายแด่พระองค์ พร้อมกับถวายบังลากลับไป

เมื่อนางสุชาดากลับไปแล้ว พระองค์ได้เสด็จไปที่ริมแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อสรงน้ำและเสวยข้าวมธุปายาสทั้งหมด 49 ก้อน เมื่อเสวยจนหมดแล้ว จึงได้นำถาดทองไปลอยที่แม่น้ำเนรัญชรา ก่อนนำไปลอยได้อธิษฐานว่า
   

    ถ้าเราจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในวันนี้ ขอให้ถาดทองลอยทวนกระแสน้ำเถิด แต่ถ้ายังไม่ตรัสรู้ ก็ขอให้ถาดทองลอยไปตามกระแสน้ำเถิด

   
— พระสมณโคดม

เมื่ออธิษฐานจบแล้ว ถาดทองได้ลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป และได้จมลงสู่นาคภิภพ ไปกระทบกับถาดทอง 3 ใบของอดีตพุทธ 3 พระองค์ คือ

    พระกกุสันธพุทธเจ้า
    พระโกนาคมนพุทธเจ้า
    พระกัสสปพุทธเจ้า

ตรัสรู้
ท้าววสวัตตีมารนำเสนาเข้าขัดขวางการตรัสรู้ของพระสิทธัตถะโคดม

ทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ผินพระพักตรสู่เบื้องบูรพาทิศ ตั้งจิตแน่แน่วว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาน จักไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ ในคืนนั้นท้าววสวัตตีเข้าทำการขัดขวางการบำเพ็ญเพียรของพระมหาบุรุษแต่ก็พ่ายแพ้ไป พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้าฌาน เพื่อเป็นบาทของวิปัสสนาญาณ จนเวลาผ่านไปพระองค์ได้บรรลุถึงญาณต่าง ๆ ดังนี้

    ปฐมยาม ทรงบรรลุ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ การระลึกชาติในอดีต ทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
    มัชฌิมยาม ทรงบรรลุ จุตูปปาตญาณ คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
    รุ่งปัจฉิมยาม ทรงบรรลุ อาสวักขยญาณ คือ รู้วิธีกำจัดกิเลส (มาร) ด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระองค์จึงพบกับความสุขสว่างอย่างแท้จริง ซึ่งเรียกกันว่าทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลก ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ณ พุทธคยา กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา
เสวยวิมุตติสุข ณ สัตตมหาสถาน

    ดูบทความหลักที่ สัตตมหาสถาน

สับดาห์ที่ 1 และ 2

    ดูบทความหลักที่ ปางถวายเนตร

หลังจากที่พระโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขที่เกิดจากความหลุดพ้น) ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ 7 วัน จากนั้นในสัปดาห์ที่ 2 เสด็จไปทรงยืนอยู่กลางแจ้ง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงทำอุปหาร คือ ยืนทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์อีก 7 วัน สถานที่เสด็จมาทรงยืนทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้นได้นามว่าอนิมิสเจดีย์
สัปดาห์ที่ 3

    ดูบทความหลักที่ ปางจงกรมแก้ว

ในสัปดาห์ที่ 3 หลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้า ทรงเนรมิตที่จงกรมแก้วขึ้น ณ กึ่งกลางระหว่างอนิมิสเจดีย์กับต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วเสด็จจงกรม ณ ที่นั้นเป็นเวลา 7 วัน สถานที่นั้นได้นามว่า รัตนจงกรมเจดีย์
สัปดาห์ที่ 4

    ดูบทความหลักที่ ปางเรือนแก้ว

ลักษณะพระพุทธรูปปางซุ้มเรือนแก้ว

ในสัปดาห์ที่ 4 จากวันที่ตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ ณ เรือนแก้วที่เทวดาเนรมิตถวายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นศรีมหาโพธิ์ ทรงพิจารณาธรรมตลอดเวลา ๗ วัน สถานที่นั้นเรียกว่า รัตนฆรเจดีย์ ในหนังสือพระปฐมสมโพธิกถา กล่าวว่าในสัปดาห์ที่ 1 - 3 พระฉัพพรรณรังสี (รัศมี 6 ประการ) ยังมิได้โอภาสออกจากพระวรกาย จนในสัปดาห์ที่ 4 เมื่อเสด็จประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ ทรงพิจารณาธรรมในเรือนแก้วแล้ว พระฉัพพรรณรังสีจึงมีโอภาสออกมาจากพระวรกาย
สัปดาห์ที่ 5

    ดูบทความหลักที่ ปางห้ามมาร

หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงพิจารณาธรรมในเรือนแก้วแล้ว พระองค์จึงเสด็จไปประทับใต้ต้นไทร ธิดามาร 3 พี่น้อง คือ นางราคา นางอรดี นางตัณหา ได้อาสาผู้เป็นบิดาไปทำลายตบะเดชะของพระพุทธองค์ ด้วยการเนรมิตร่างเป็นสตรีที่สวยงามในวัยต่าง ๆ ตลอดจนแสดงอิตถียาโดยการฟ้อนรำขับร้อง แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงเอาพระทัยใส่ กลับขับไล่ธิดามารให้หลีกไป
สัปดาห์ที่ 6

    ดูบทความหลักที่ พระพุทธรูปปางนาคปรก

ในสัปดาห์ที่หกหลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ ในขณะที่พระพุทธองค์ทรงประทับ ณ ใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาประทับอยู่ที่นี่ ได้บังเกิดมีฝนและลมหนาวตกพรำตลอดเจ็ดวันไม่ขาดสาย พญานาคชื่อ มุจลินท์นาคราช ได้ขึ้นจากสระน้ำที่อยู่ในบริเวณแห่งเดียวกันนี้ เข้าไปวงขนด 7 รอบ แล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้า เพื่อป้องกันลมฝนมิให้พัดและสาดกระเซ็นมาต้องพระวรกาย ครั้นฝนหาย ฟ้าสาง พญานาคจึงคลายขนดออก แล้วจำแลงเป็นเพศมาณพยืนเฝ้าพระพุทธเจ้าทางเบื้องพระพักตร์ ลำดับนั้นพระพุทธองค์จึงทรงเปล่งอุทานจากความคิดว่า
   

    ความสงัดคือความสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้วได้รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร ความสำรวมไม่เบียดเบียนในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นผู้ปราศจากกำหนัดหรือสามารถก้าวล่วงพ้นซึ่งกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขอันประเสริฐในโลก ความขาดจากอัสมิมานะหรือการถือตัวตนหากกระทำให้ (การถือตัว) หมดสิ้นไปได้นั้นเป็นความสุขอย่างยิ่ง

   
— พระพุทธองค์
สัปดาห์ที่ 7

    ดูบทความหลักที่ ปางฉันสมอ

เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จออกจากร่มไม้จิกแล้ว ก็เสด็จไปประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้เกด ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นเวลา 7 วัน แล้วจึงทรงออกจากสมาธิ ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์) ผู้เป็นจอมเทพของดาวดึงส์ ทรงทราบว่านับแต่พระพุทธองค์ตรัสรู้มา 7 สัปดาห์ รวม 49 วัน มิได้เสวยภัตตาหารเลย จึงนำผลสมออันเป็นทิพยโอสถจากเทวโลกมาน้อมถวาย พระพุทธองค์จึงเสวยผลสมอทิพย์นั้น แล้วทรงบ้วนพระโอษฐ์ (ปาก) ด้วยน้ำที่ท้าวสักกเทวราชถวาย จากนั้นเสด็จประทับ ณ ร่มไม้เกดตามเดิม
ประสานบาตรแล้วรับข้าวสัตตูก้อนสัตตูผง

    ดูบทความหลักที่ ปางประสานบาตร และ ปางรับสัตตูก้อนสัตตูผง

หลังจากพระพุทธเจ้า ตรัสรู้แล้ว 49 วัน พ่อค้าสองพี่น้องชื่อ ตปุสสะและภัลลิกะ ได้รับคำแนะนำจากเทวดาซึ่งเคยเป็นญาติกับพ่อค้าทั้งสองในอดีตชาติ ให้นำภัตตาหารน้อมถวายแด่พระพุทธองค์ เพื่อประโยชน์สุขแก่ทั้งสองสิ้นกาลนาน เมื่อตปุสสะและภัลลิกะเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ร่มไม้เกด ต่างมีจิตเลื่อมใสศรัทธา จึงเข้าไปทำการอภิวาทและถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผง พระพุทธองค์มีพระประสงค์จะรับ แต่บาตรที่ฆฏิการพรหมถวายในวันเสด็จออกบรรพชาได้อันตรธานไป ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 จึงได้เหาะนำบาตรศิลามาถวายองค์ละใบ พระองค์จึงทรงประสานบาตรทั้ง 4 ใบนั้นเป็นใบเดียวกัน แล้วใช้รับข้าวสัตตุก้อนสัตตุผง

พระพุทธเจ้าทรงรับข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงที่พ่อค้าสองพี่น้องถวายด้วยความเลื่อมใส เมื่อทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว พ่อค้าทั้งสองทูลขอถึงพระพุทธและพระธรรมเป็นที่พึ่งนับถือสูงสุดในชีวิต เพราะขณะนั้น ยังไม่มีพระสงฆ์บังเกิดขึ้น ถือเป็นเทววาจิกอุบาสก นับเป็นอุบาสกคู่แรกในพระพุทธศาสนา
ประทานพระเกศา

    ดูบทความหลักที่ ปางพระเกศธาตุ

หลังจากที่ตปุสสะและภัทลิกะ (ผู้ที่ถวายสัตตูก้อนสัตตูผง) ได้ขอถึงพระพุทธและพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งสูงสุดในชีวิต ถือเป็นปฐมอุบาสกในพระพุทธศาสนาแล้ว ได้ทูลขอสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ควรค่าแก่การอภิวาทต่างองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้บูชา พระพุทธองค์ทรงลูบพระเศียรเกล้าด้วยพระหัตถ์ขวา มีพระเกศา 8 เส้น อยู่บนฝ่าพระหัตถ์ จึงโปรดประทานพระเกศาทั้ง 8 เส้นนั้นแก่พ่อค้าทั้งสอง โดยแบ่งให้คนละครึ่ง (4 เส้น) เมื่อกราบบังคมลาไปสู่บ้านเมืองของตนแล้ว พ่อค้าทั้งสองได้สร้างพระสถูปบรรจุพระเกศาไว้เป็นที่สักการบูชาแก่มหาชน
ระลึกถึงดอกบัว 4 เหล่า

    ดูบทความหลักที่ ปางรำพึง

พระพุทธรูปปางรำพึง

ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นไทร พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า บุคคลในโลกนี้เปรียบเสมือนบัว 4 เหล่าดังนี้

    อุคฆฏิตัญญู คือ พวกที่สติปัญญาดี เมื่อฟังธรรมก็สามารถเข้าใจได้รวดเร็ว เสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที
    วิปจิตัญญู คือ พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เมื่อฟังธรรมแล้วพิจารณาตาม ฝึกฝนเพิ่มเติมจะเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เสมือนดอกบัวที่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป
    เนยยะ คือ พวกที่สติปัญญาน้อย เมื่อฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและฝึกฝนอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อในที่สุดก็จะสามารถเข้าใจได้ เสมือนดอกบัวใต้น้ำซึ่งจะโผล่ขึ้นเบ่งบานในวันหนึ่ง
    ปทปรมะ คือ พวกไร้สติปัญญา แม้ได้ฟังธรรม ก็ไม่อาจเข้าใจ เปรียบเสมือนบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ไม่มีโอกาสเบ่งบาน

เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณ ก็ทรงอธิษฐานว่าจะแสดงธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ และตั้งพุทธปณิธานที่จะดำรงพระชนม์อยู่จนกว่าจะได้อยู่ประกาศพระพุทธศาสนาให้แพร่หลายสำเร็จประโยชน์แก่ชนทุกหมู่เหล่า
แสดงปฐมเทศนา
ปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

พระพุทธองค์ทรงระลึกถึงอาฬามดาบสและอุทกดาบส แต่ทิพยจักษุญาณได้บอกว่าทั้งสองสิ้นชีพไปแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ทรงทราบว่า ปัญจวัคคีย์อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน จึงได้เสด็จไปแสดงปฐมเทศนา คือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรด ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือวันอาสาฬหบูชานั่นเอง ซึ่งกล่าวถึงสุด 2 อย่าง อันบรรพชิต ไม่ควรปฏิบัติ คือการลุ่มหลงมัวเมาในกาม 1 การทรมาณตนให้ลำบากเปล่า 1 มัฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางที่ควรดำเนิน คืออริยสัจ 4 และมรรค 8

ในที่สุด ท่านโกณฑัญญะ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งวาจาว่า
   

    บาลี : อัญญาสิ วต โภ โกณฑัญโญ
    ไทย : โกณฑัญญะ เธอได้รู้แล้ว เธอได้เข้าใจแล้ว

   
— พระพุทธเจ้า

ท่านโกณฑัญญะ จึงได้สมญาว่า พระอัญญาโกณฑัญญเถระ และได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา เป็นเหตุให้พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ครบองค์ 3 เป็นครั้งแรกในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

จากนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร พระภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ขณะสดับพระธรรมเทศนาส่งจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา จิตก็หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ไม่ยึดมั่น ถือมั่นด้วยอุปาทาน สามารถละสังโยชน์ครบ 10 ประการ ได้บรรลุพระนิพพานเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง 5 รูป
ยสะและพระญาติออกบวช

หลังจากโปรดปัญจวัคคีย์เป็นกลุ่มแรกแล้ว ก็มียสะที่หนีออกจากเมืองพาราณสี และพระญาติอีก 54 คนเข้ามาขอบวชและฟังพระธรรมเทศนาจนได้พระอรหันต์สาวก 60 รูป พระองค์ทรงส่งพระสาวกเหล่านี้ออกไปประกาศพระศาสนาตามตำบลต่าง ๆ และได้แสดงธรรมแก่เศรษฐีคนหนึ่ง เป็นชาวเมืองพาราณสี นางสุชาดา พระมารดาของพระยสเถระ และนางวิสาขา ภรรยาเก่าของท่าน จนบรรลุโสดาบัน ขอแสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา และถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง นับเป็นอุบาสกคนแรก และอุบาสิกาคู่แรกที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
โปรดภัททวัคคีย์

จากนั้นพระองค์เสด็จไปตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ก่อนที่จะไปที่นั่นได้พบกับภัททวัคคีย์ที่กำลังตามหานางคณิกาซึ่งโขมยเสื้อผ้าและเครื่องประดับของเขาไป พระพุทธองจึงทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ 4 โปรด ภัททวัคคีย์จึงบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลระดับต่าง ๆ เช่น โสดาบัน สกทาคามี จากนั้นจึงขอบวช พระพุทธองค์ได้ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา จากนั้นพระพุทธองค์ทรงส่งภัททวัคคีย์ไปประกาศพระศาสนา เมื่อครบ 30 คนแล้วจึงเดินทางต่อไป
โปรดชฎิล 3 พี่น้อง
คยาสีสะ (หรือเขาพรหมโยนีตามตำนานของฮินดู) สถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรแก่หมู่ภิกษุชฏิล 1,003 รูปจนสำเร็จพระอรหันต์ทั้งหมด
กลุ่มป่าไผ่ร่มรื่น ในกลุ่มโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร

เมื่อถึงแม่น้ำเนรัญชรา ก็ได้พบกับชฎิล 3 พี่น้องได้แก่ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ และบริวาร 1,000 คน (อุรุเวลฯ 500 คน, นทีฯ 300 คน และคยาฯ 200 คน) ซึ่งเป็นนักบวชลัทธิบูชาไฟและเป็นที่เคารพบูชาของชาวกรุงราชคฤห์ ในครั้งแรกพระพุทธองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์โดยการปราบพญานาคให้มีขนาดเล็ก ครั้งที่สองทรงแสดงพุทธานุภาพคือมีเทวดามาเข้าเฝ้า และครั้งสุดท้ายทรงแสดงนิมิตจงกรมกลางน้ำ แต่ถึงอย่างไรอุรุเวลกัสปะก็ไม่เลื่อมใสอยู่ดีจนพระพุทธองค์ต้องแสดงธรรมโปรด ทำให้อุรุเวลกัสสปะเกิดความเลื่อมใสขอบวชเป็นพระสาวก พระพุทธเจ้าจึงทรงให้อุรุเวลฯ ไปชี้แจงแก่บริวาร 500 คนให้รับทราบ บริวารทั้งหมดรับทราบและขอบวชจากพระพุทธเจ้า จากนั้นเรื่องจึงได้ทราบถึงนทีฯ ซึ่งมีบริวาร 300 คน และคยาฯ ซึ่งมีบริวาร 200 คน ชฎิลทั้ง 2 และบริวารทั้งหมดจึงขอบวชตาม พระพุทธองค์ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา จากนั้นพระพุทธเจ้าทรงพาทั้ง 1,003 รูปไปที่คยาสีสะ แล้วทรงแสดงธรรม อาทิตตปริยายสูตร แก่ชฎิลทั้ง 3 และบริวาร ทั้งหมดจึงได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
โปรดพระเจ้าพิมพิสาร

พระพุทธองค์ทรงพาชฎิล 3 พี่น้อง และบริวารจำนวน 1,000 รูป ไปยังกรุงราชคฤห์ ทรงพักที่ สวนตาลหนุ่ม เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบข่าว จึงได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยข้าราชบริพารไปเข้าเฝ้า เมื่อเสด็จไปสวนตาล พระเจ้าพิมพิสารทรงนมัสการพระพุทธเจ้า ส่วนข้าราชบริพารบางส่วนยังทำเมินเฉยอยู่

พระพุทธองค์จึงทรงทำลายทิฐิมานะของข้าราชบริพารเหล่านั้นลง โดยถามพระอุรุเวลกัสสปะถึงเหตุที่เลิกศรัทธาลัทธิบูชาไฟ อุรุเวลฯ ตอบว่า ลัทธิเดิมของตนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าในประชาชนทั้งหลายได้ทราบโดยทั่วกัน พระพุทธเจ้าทรงสังเกตเห็นบรรดาข้าราชบริพารของพระเจ้าพิมพิสารนั้น ได้คลายทิฐิมานะลงแล้ว จึงทรงแสดงธรรมโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ข้าราชบริพาร และประชาชนทั้งหลาย

ผลที่ได้รับคือ พระเจ้าพิมพิสาร และข้าราชบริพารส่วนใหญ่ได้ดวงตาเห็นธรรม จึงได้ทรงแสดงตนเป็นอุบาสก ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณที่พึ่งตลอดชีวิต พระเจ้าพิมพิสารยังได้ถวายสวนเวฬุวันให้พระพุทธองค์และพระสาวกทั้งหมด วัดเวฬุวันจึงเป็น วัดแห่งแรกของพระพุทธศาสนา ในยามดึกของค่ำวันนั้น บรรดาเปรตทั้งหลายที่เคยเป็นญาติของพระเจ้าพิมพิสารในอดีตชาติทราบว่าพระเจ้าพิมพิสารบำเพ็ญกุศลมีการถวายทานเป็นต้น ต่างก็รอรับส่วนบุญที่พระเจ้าพิมพิสารจะอุทิศส่งไปให้ เมื่อรอจนสิ้นวันนั้น ไม่เห็นพระเจ้าพิมพิสารอุทิศส่วนบุญให้ตามที่หวัง จึงพากันส่งเสียงร้องด้วยศัพท์สำเนียงอันน่าสะพรึงกลัว พระเจ้าพิมพิสารได้สดับเสียงนั้น เกิดความกลัวมาก จึงรีบเสด็จไปเฝ้าพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ตรัสให้ทราบความเป็นมา บอกให้พระเจ้าพิมพิสารอุทิศส่วนกุศล ท้าวเธอก็ได้อุทิศส่วนกุศลไปให้ ทันใดนั้นอาหารทิพย์ก็ปรากฏมีแก่เปรตเหล่านั้นต่างพากันบริโภคจนอิ่มหนำสำราญ ร่างกายที่เคยผอมโซทุเรศน่าเกลียดน่ากลัวก็กลับดูสะอาดสมบูรณ์ขึ้น
แต่งตั้งพระอัครสาวกทั้งสอง

พระอัครสาวกที่สำคัญของพระพุทธเจ้าคือ พระสารีบุตร และ พระมหาโมคคัลลานะ ครั้งนั้นคืออุปติสสะและโกลิตะ ในขณะนั้นพระพุทธองค์กำลังประทับท่ามกลางพุทธบริษัทจำนวนมาก เมื่อเห็นมาณพทั้งสองกำลังเดินมา จึงตรัสบอกภิกษุสงฆ์ว่า ภิกษุทั้งหลาย มาณพทั้งสองคนนั้นจะเป็นอัครสาวกของเราตถาคต มาณพทั้งสองได้ทูลของอุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้ ทั้ง 2 ได้ปฏิบัติธรรมอย่างพากเพียรจนพระมหาโมคคัลลานะอุปสมบทได้ 7 วัน ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ส่วนพระสารีบุตรอุปสมบทได้กึ่งเดือน จึงสำเร็จพระอรหันต์ พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายการที่พระสารีบุตรได้บรรลุพระอรหันต์ช้ากว่าพระมหาโมคคัลลานะว่าเป็นเพราะพระสารีบุตรเป็นผู้มีปัญญามาก ต้องใช้บริกรรมใหญ่ เปรียบด้วยการเสด็จไปของพระราชาต้องตระเตรียมราชพาหนะและราชบริวาร จึงจำเป็นต้องใช้เวลามากกว่าการไปของคนสามัญ

ในวันที่พระสารีบุตรบรรลุพระอรหันต์ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนมาฆะ (วันมาฆบูชา) ในตอนบ่ายพระพุทธเจ้าทรงประกาศแต่งตั้งพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวาเลิศกว่าผู้อื่นในทางปัญญา พระมหาโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายเลิศกว่าภิกษุรูปอื่นในฐานะมีฤทธิ์ล้ำเลิศ เมื่อล่วงค่ำพระสงฆ์ 1,250 รูปจึงมาถึงวัดพระเวฬุวัน พระพุทธเจ้าจึงทรงประทานโอวาทปาติโมกข์แก่ทั้งหมด รวมทั้งอัครสาวกทั้ง 2 พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระสารีบุตรว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุรูปอื่นในทางปัญญา เป็นผู้สามารถจะแสดงพระธรรมจักรและพระจตุราริยสัจให้กว้างขวางพิสดารเสมอพระองค์ เมื่อมีภิกษุมาทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อจะเที่ยวจาริกไป พระพุทธเจ้ามักจะตรัสให้ภิกษุที่มาทูลลา ไปลาพระสารีบุตรก่อน เพื่อให้พระสารีบุตรได้สั่งสอน เช่นครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เมืองเทวทหะ ภิกษุเป็นจำนวนมากได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทูลลาไปชนบท พระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งให้ไปลาพระสารีบุตร แล้วทรงยกย่องว่าพระสารีบุตรเป็นผู้มีปัญญา อนุเคราะห์เพื่อนบรรพชิตทั้งหลาย เปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิด ย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระสารีบุตรได้รับการยกย่องมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "พระธรรมเสนาบดี" พระสงฆ์ผู้ประกาศพระศาสนา ได้ชื่อว่าธรรมเสนา เป็นกองทัพธรรมที่ประกาศเผยแผ่ธรรม เมื่อไปถึงที่ไหน ก็ทำให้เกิดประโยชน์และความสุขที่นั่น พระพุทธเจ้าเป็นจอมธรรมเสนา เรียกว่า "พระธรรมราชา" โดยมีพระสารีบุตรเป็นพระธรรมเสนาบดี หรือแม่ทัพฝ่ายธรรม
ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
วันมาฆบูชา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" เพราะเป็นวันที่พระพุทธองค์ทรงประทานหลักโอวาทปาติโมกข์ อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา แก่พระอรหันตสาวกผู้เป็นเอหิภิกขุทั้ง 1,250 องค์ ที่มาประชุมพร้อมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมายในวันมาฆปุรณมีเป็นอัศจรรย์

วันมาฆบูชา เป็นวันที่ระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาติโมกข์แก่มหาสังฆสันนิบาตในมณฑลวัดเวฬุวันมหาวิหาร ซึ่งในวันนั้นมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 4 ประการคือ

    วันนี้พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
    พระสาวกทั้ง 1,250 รูปนี้ ต่างได้มาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย
    พระสาวกทั้ง 1,250 รูปนี้ล้วนเป็นเอหิภิกขุที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น เรียกว่าพิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา
    พระสาวก 1,250 รูปนี้ล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ละสังโยชน์ครบ 10 ประการ

ด้วยเหตุการณ์ประจวบกับ 4 อย่าง จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จาตุรงคสันนิบาต (มาจากศัพท์บาลี จตุ+องฺค+สนฺนิปาต แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งสี่ประการ) โดยประชุมกัน ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว 9 เดือน (45 ปี ก่อนพุทธศักราช)
ปรินิพพาน

พระองค์ก็ได้เที่ยวสั่งสอนพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดระยะเวลา 45 พรรษา เพื่อให้ศาสนิกชนได้พบเห็นทางที่นำไปสู่ความสุขอย่างแท้จริง ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคามใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ทรงพิจราณาชราธรรมแก่พระอานนท์ตลอด 3 เดือน เมื่อจำพรรษาเสร็จ พระพุทธองค์ก็ได้เสด็จปลงพระชนมายุสังขาร ปาวาลเจดีย์ ในวันมาฆบูชาก่อนพุทธปรินิพพาน 3 เดือน จากนั้นจึงเผยแผ่ศาสนาต่อไป

ในเช้าวันวิสาขบูชาได้เสวยสูกรมัททวะ ซึ่งนายจุนทะเก็บเมือใกล้รุ่งทำถวาย[12] แม้จะทรงพระประชวร แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ต้นสาละ ของมัลลกษัตริย์ แห่งกรุงกุสินารา แล้วเสด็จบรรทมสีห์wสยาสน์ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน

ก่อนปรินิพพาน ได้มีปริพาชกชื่อสุภัททะ มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อถามปัญหาบางประการ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้สุภัททะจนเข้าใจ สุภัททะบรรลุโสดาบัน และบวชเป็นภิกษุต่อหน้าพระพุทธองค์เป็นคนสุดท้าย สุภัททะจึงได้ชื่อใหม่ว่า พระสุภัททเถระ

ก่อนปรินิพพาน พระพุทธองค์ได้ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า
   

    ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอทั้งหลาย สังขารทั้งปวงมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านจงทำกิจของตน และกิจของผู้อื่นด้วยความไม่ประมาทเถิด

   
— พระพุทธเจ้า

หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าจึงเสด็จดับขันธ์ปรินิพาน ระหว่างใต้ต้นสาละคู่ ณ กรุงกุสินารา ณ ปัจฉิมยามแห่งราตรีวิสาขปรุณมีเพ็ญเดือน 6 ขณะมีพระชนมายุ 80 พรรษา ประเทศกัมพูชาและพม่านับปีนี้เป็น พ.ศ. 1 แต่ในประเทศไทยนับ พ.ศ. 1 หนึ่งปีหลังจากการปรินิพพาน
หลักธรรม คำสอน

พระพุทธเจ้าทรงเทศนา สั่งสอนพุทธบริษัทเรียกว่า พระธรรมวินัย พระธรรม คือคำสอนในสิ่งที่เป็นจริงของชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไปสู่จุดหมายสูงสุด คือ นิพพาน

พระธรรมนั้นแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ คำสอนที่เกี่ยวเนื่องกับ ชีวิตประจำวันของ ผู้คนทั่วไป เรียกว่าพระสูตร และคำสอนที่เป็น หัวข้อธรรมล้วน ๆ เช่น ขันธ์ 5 ปัจจยา การ 12 เป็นต้นเรียกว่าพระอภิธรรม ส่วนวินัยสำหรับพระ ภิกษุและภิกษุณี ได้แก่กฎระเบียบข้อปฏิบัติ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน พุทธบริษัทได้ ร่วมกันรวบรวม พระสูตร พระอภิธรรม และพระวินัย จัดเข้าเป็นหมวดหมู่ได้ 84,000 หมวด รวมเรียกว่า พระไตรปิฎกเถรวาท
แผงภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติจนตรัสรู้
พุทธกิจ 5

    ช่วงเช้า - ตอนเช้ามืดเสด็จออกไปบิณฑบาต เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ทำบุญตักบาตร และเพื่อแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์
    ช่วงเย็น - เสด็จออกแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนในท้องถิ่นนั้น
    ช่วงค่ำ - ทรงใช้เวลายามนี้ตอบปัญหาธรรมแสดงธรรม หรือให้คำปรึกษาแก่เหล่าภิกษุ
    ช่วงเที่ยงคืน - ทรงใช้เวลายามนี้ตอบปัญหาธรรมแสดงธรรมแก่เทวดาที่มาเข้าเฝ้า
    ช่วงใกล้รุ่ง - ทรงตรวจพิจารณาสอดส่องเลือกสรรบุคคลที่พระองค์ควรเสด็จไปโปรดในตอนเช้า

น่าสนใจ

.
..เอาอีก  เอาอีก น่าอ่านมาก  เอายาววววๆ หน่อย.. ส-ดีใจ ส.ยกน้ิวให้ ส.หลก

ง่ายกว่า สั้นกว่า

ง่ายกว่า สั้นกว่า มีรูปด้วย อ่านไม่งง ไม่เปลืองที่
กรุณาทำแบบนี้ดีกว่า
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2

ฅ คฅน

.

..ขอบคุณครับ ส.ยกน้ิวให้

ฮ่ายๆ

สนใจทำมะนุเที่ยวกลัวเปลืองขี้เนียนห่วงสวยหล่อหน้าตาเว้นวรรคขั้นตอนคำถูกผิดสะกดพยันชนะอยู่ธรรมมะแท้เลยวิ่งหนีหมดมารมันเอากิเลสราคะจริตการปรุงแต่งมาหลอกล่อเสียหมดพื้นที่สำหรับบรรจุทำมะแบบไหนก็ไม่มีคำว่าเปลืองให้พอรู้ว่ามาจากคำความหมายไหนก็ได้แล้ว สรรพสิ่งล้วนสมมุดปรุงแต่งขึ้นมาทีหลังทั้งนั้นหัวหน้าใหญ่จอมบงการตัว จิตตัวเดียวไหนจะพิมกับมือถือบ้างคอมบ้าง แฮ้งๆค้างๆกระโดดมัวแต่ห่วงหน้าตาภาพพจสวยงามราคะจริตปรุงแต่งก็ไม่เห็นธรรมแท้ที่ตั้งอยู่ตรงหน้าเพราะมัวรำคาญกับยุงแมลงวันที่มาตอมเที่ยวตามตบตียุงแมลงวันทั้งป่าทั้งที่ธรรมแท้ตั้งอยู่ตรงหน้าสองก้าวแต่ไปตามตบยุงแมลงที่บินตอมอยู่ทั้งป่านั่นแค่เบาะๆที่มารเอามาขวางทำมะกรอบความคิดการยึดติดไงคืออวิชชาzzzzzzzzzzฯลฯไปยานใหย่

การสำเนาบทความ

สำเนาเขามา แต่ดันสำเนาไม่หมด
การสำเนาบทความ ควรแจ้งที่มาต้นฉบับทุกครั้ง
ให้เกียรติเจ้าของบทความต้นฉบับหน่อยครับ

ผมไม่อยากต่อความยาวสาวความยืดนะครับ เพราะมันไม่ตรงประเด็นกระทู้
แต่บอกตามตรง รำคาญ
ผมมีปัญญา ค้น อ่าน ต้นฉบับเองได้ครับ

ผมจบแค่นี้ครับ

เชิญๆ

ห้ายเกียดจังหู เฌินเลยๆ ไปคัด บด ฟาม ปลากวด เท่หนาย ปาย เซิน เลย ส.โอ้โห เหนื่อยๆ ส.สั่งสอน ส.ดุดุขำขำ

ลุโลก

พระพุทธเจ้าพูดถึงโลกอื่นๆหรือต่างดาว

--------------------------------------------------------------------------------




จักรวาลอันหนึ่ง โดยยาวและโดยกว้าง ประมาณ ๑,๒๐๓,๔๕๐ โยชน์ (๑ โยชน์ = ๑๖ กิโลเมตร)
ส่วนโดยรอบปริมณฑลทั้งสิ้น (ของจักรวาลนั้น) ประมาณ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์

ขนาดหนาของแผ่นดิน ในจักรวาลนั้น แผ่นดินนี้ กล่าวโดยความหนา มีประมาณถึงเท่านี้ คือ ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์

ขนาดหนาของน้ำรองแผ่นดิน สิ่งที่รองแผ่นดินนั้นหรือ
คือน้ำอันตั้งอยู่บนลม โดยความหนามีประมาณถึงเท่านี้ คือ ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์

ขนาดความหนาของลมรองน้ำ
ลมอัน (พัดดัน) ขึ้นฟ้า (โดยความหนา) มีประมาณ ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ นี่เป็นความตั้งอยู่พร้อมมูลแห่งโลก

ขนาด ภูเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ) และต้นไม้ประจำทวีป อนึ่ง ในจักรวาลที่ตั้งอยู่พร้อมมูลอย่างนี้นั้น มี ภูเขาสิเนรุอันเป็นภูเขาสูงที่สุด หยั่ง (ลึก) ลงไปในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นไป (ในฟ้า) ก็ประมาณเท่ากันนั้น
ภูเขาใหญ่ทั้งหลาย คือภูเขายุคันธร ภูเขาอิสินธร ภูเขากรวีกะ ภูเขาสุทัสสนะ ภูเขาเนมินธระ ภูเขาวินตกะ ภูเขาอัสสกัณณะ อันตระการไปด้วยรัตนะหลากๆ ราวกะภูเขาทิพย์ หยั่ง (ลึก) ลงไป (ในมหาสมุทร) และสูงขึ้นไป (ในฟ้า) โดยประมาณกึ่งหนึ่งแต่ประมาณแห่งภูเขาสิเนรุไปตามลำดับ ภูเขาใหญ่ทั้ง ๗ นั้น (ตั้งอยู่) โดยรอบภูเขาสิเนรุเป็นที่อยู่ของ (จาตุ)มหาราช เป็นที่ๆ เทวดา และยักษ์อาศัยอยู่

ภูเขาหิมวาสูง ๕๐๐ โยชน์ ยาวและกว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ (เท่ากัน) ประดับไปด้วยยอดถึง ๘๔,๐๐๐ ยอด
ต้นชมพู (หว้า) ชื่อนคะ วัดรอบลำต้นได้ ๑๕ โยชน์ ลำต้นสูง ๕๐ โยชน์ และกิ่ง (แต่ละกิ่ง)
ก็ ยาว ๕๐ โยชน์ แผ่ออกไปวัดได้ ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ และสูงขึ้นไปก็เท่ากันนั้น ด้วยอานุภาพของ ต้นชมพู (นี้) ไรเล่า ทวีปนี้จึงถูกประกาศชื่อว่า ชมพูทวีป

ก็ แลขนาดของต้นชมพูนี้ใด ขนาดนั้นนั่นแหละเป็นขนาดของต้นจิตรปาฏลี (แคฝอย) ของพวกอสูร ต้นสิมพลี (งิ้ว) ของพวกครุฑ ต้นกทัมพะ (กระทุ่ม) ในอมรโคยานทวีป ต้นกัปปะในอุตตรกุรุทวีป ต้นสิรีระ (ซึก) ในบุพพวิเทหทวีป ต้นปาริฉัตตกะ ในดาวดึงส์ เพราะเหตุนั้นแล ท่านโบราณจารย์จึงกล่าวไว้ว่า
(ต้นไม้ประจำภพและทวีป คือ) ต้นปาฏลี ต้นสิมพลี ต้นชมพู ต้นปาริตฉัตตะของพวกเทวดา
ต้นกทัมพะ ต้นกัปปะ และต้นที่ ๗ คือ ต้นสิรีสะ ดังนี้

ขนาดภูเขาจักรวาล

ภูเขาจักรวาล หยั่ง (ลึก) ลงไปในมหาสมุทร ๘๒,๐๐๐ โยชน์
สูงขึ้นไป (ในฟ้า) ก็เท่ากันนั้น ภูเขาจักรวาลนี้ตั้งล้อมโลกธาตุทั้งสิ้นนั้นอยู่

ขนาดของภพและทวีป
ใน โลกธาตุนั้น มีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ภพดาวดึงส์ ๑๐,๐๐๐ โยชน์ ภพอสูร มหานรกอเวจี และชมพูทวีปก็ เท่ากันนั้น อมรโคยานทวีป ๗,๐๐๐ โยชน์ บุพพวิเทหทวีปก็เท่านั้น อุตตรกุรุทวีป ๘,๐๐๐ โยชน์ อนึ่ง ในโลกธาตุนั้น
ทวีปใหญ่ๆ ทวีป ๑ ๆ มีทวีปน้อยเป็นบริวาร ทวีปละ ๕๐๐
สิ่งทั้งปวง (ที่กล่าวมานี้) นั้น (รวม) เป็นจักรวาล ๑ ชื่อว่า โลกธาตุอัน ๑ ๑ในระหว่างแห่งโลกธาตุ ทั้งหลายมีโลกันตนรก (แห่งละ ๑)


๑. มหาฎีกาว่า จักรวาล ก็คือโลกธาตุ โลกธาตุได้ชื่อว่า จักรวาล ก็เพราะมีภูเขาจักรวาล ซึ่งสัณฐานดังกง
รถล้อมอยู่โดยรอบเท่านั้นเองไม่ใช่จักรวาลอัน ๑ โลกธาตุอัน ๑
๒. ท่านว่าจักรวาลหรือโลกธาตุนั้นมีมากนัก ช่องว่างในระหว่างจักรวาล ๓ จักรวาลต่อกัน มีโลกันตนรก ๑
ทุกแห่งไป โดยนัยนี้ คำว่า โลกันตนรก ก็แปลว่า นรกอันตั้งอยู่ในช่องระหว่างจักรวาล ๓ อันนั่นเอง

พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน "จูฬนีสูตร" พระไตรปิฎก หน้า ๒๑๕ เล่ม ๒๐ ว่า
จักรวาล ประกอบด้วยดวงจันทร์ โลก ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ทั้งหลายโคจร ไปร่วมกัน จะมีขุนเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ) (เป็นภูเขาทิพย์ที่เห็นได้เฉพาะผู้มีอภิญญา) ทวีปต่างๆ ที่ตั้งชื่อกันในสมัย นั้นคือ ชมพูทวีป อปรโคยานทวีป อุตรกุรุทวีป และปุพพวิเทหทวีป มหาสมุทรทั้ง ๔ (นับกันได้ในสมัยนั้น)
มีนรกขุมต่างๆ สวรรค์ชั้นต่างๆ และพรหมโลกชั้นต่างๆ
โลกธาตุ มี ๓ ขนาด คือ โลกธาตุอย่างเล็กมีจำนวนพันจักรวาล โลกธาตุอย่างกลางมีจำนวนล้านจักรวาล โลกธาตุอย่างใหญ่มีจำนวน แสนโกฏิจักรวาล

ทั้งโลกธาตุอย่างเล็กก็ดี อย่างกลางก็ดี อย่างใหญ่ก็ดี ยังมีอีกจำนวนมากมาย
"ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และแตกดับไปในที่สุด"
กำเนิดของโลกพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน "อัคคัญญสูตร" พระไตรปิฎก หน้า ๖๑ เล่ม ๑๑ ว่า
เกิดมีน้ำขึ้นในห้วงอวกาศอันมืดมิดก่อนแล้วนานๆไปเกิดการรวมตัวงวดเข้าเป็นง้วนดิน แล้วพัฒนาเป็นกระบิดิน
ต่อไปเป็นเครือดิน จากนั้นมีต้นข้าวและพืชทั้งหลายเกิดขึ้น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หมู่ดาว
นรกขุมต่างๆ เทวโลกและพรหมโลกชั้นต่างๆ ก็เกิดขึ้นเอง

กำเนิดชีวิตพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า "เพราะมีความอยาก จึงมีการเกิดเป็นสัตว์เป็นบุคคลขึ้นมา
เมื่อไม่มีความอยากการเกิดเป็นสัตว์เป็นบุคคลก็ไม่มี"

๑) ชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)

-มีธาตุมรกตอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุมรกตทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของชมพูทวีปมีสีน้ำเงินแกมเขียว
-มนุษย์ที่ชมพูทวีป มีความสูง ๔ ศอก มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี (อาจตายก่อนอายุได้ ไม่แน่นอน)
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ อายุยิ่งหย่อนขึ้นอยู่กับคุณธรรม ไม่แน่นอน
-สมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า "พระวิปัสสี" มนุษย์ในชมพูทวีปมีอายุถึง ๘๐,๐๐๐ ปี
-สมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า "พระเรวะตะ" มนุษย์ในชมพูทวีปมีความสูงถึง ๘๐ ศอก
-แต่เมื่อคุณธรรมเสื่อมลง จิตใจหยาบช้าลง อาหารเลวลง อายุก็ลดลง ร่างกายก็เตี้ยลง
-ต่อไปภายภาคหน้ามนุษย์ในชมพูทวีป จะมีอายุเพียง ๑๐ ปี เท่านั้น และตัวจะเตี้ยถึงขนาด
ต้องสอยมะเขือกิน เรียกยุคนั้นว่า "ยุคทมิฬ" เป็นยุคที่เสื่อมที่สุดของ "ชมพูทวีป"
-ดอกไม้ประจำชมพูทวีปคือ "ชมพู (ไม้หว้า)" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกว่า "ชมพูทวีป"
เพราะดอกไม้ประจำทวีปนี้คือ ดอก "ชมพู"
-ชมพูทวีป เป็นทวีปเดียวที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ต้องมาตรัสรู้ที่ทวีปนี้เท่านั้น
๒) อมรโคยานทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-เป็นแผ่นดินกว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ ประกอบด้วยเกาะ และแม่น้ำใหญ่น้อย
-มีธาตุแก้วผลึกอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุแก้วผลึกทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของอมรโคยานทวีปมีสีแก้วผลึก
-มนุษย์ ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก มีใบหน้าวงกลม คล้ายวงพระจันทร์ คนหน้าเหมือนดั่งเดือนแรม จมูกโด่ง คางแหลม
-มนุษย์ที่อมรโคยานทวีป มีความสูง ๖ ศอก มีอายุ ๕๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
-ดอกไม้ประจำอมรโคยานทวีปคือ "กะทัมพะ (ไม้กระทุ่ม)"
๓) ปุพพวิเทหะทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-เนื้อที่กว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ มีเกาะ ๔๐๐ เกาะ
-มีธาตุเงินอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุเงินทำให้ทองฟ้า
และมหาสมุทรของปุพพวิเทหะทวีปมีสีเงิน
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์เต็มดวง คนหน้ากลมเหมือนดวงจันทร์
มีใบหน้าตอนบนโค้งตัดลงมาเหมือนบาตร
-มนุษย์ที่ปุพพวิเทหะทวีป มีความสูง ๙ ศอก มีอายุ ๗๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
-ดอกไม้ประจำปุพพวิเทหะทวีปคือ "สิรีสะ (ไม้ทรึก)"
๔) อุตรกุรุทวีป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-มีพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม เนื้อที่กว้าง ๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นที่ราบ
-มีธาตุทองคำอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุทองคำทำให้ทองฟ้า
และมหาสมุทรของอุตรกุรุทวีปมีสีเหลืองทอง
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ รูปร่างงาม มีลักษณะใบหน้าเป็นรูป ๔ เหลี่ยม รักษาศีล ๕ เป็นนิจ
ไม่ยึดถือสมบัติ บุตร ภรรยา สามี ว่าเป็นของๆตน
-มนุษย์ที่อุตรกุรุทวีป มีความสูง ๑๓ ศอก มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
-มีต้นไม้นานาชนิด ดอกไม้ประจำอุตรกุรุทวีปคือ "กัปปรุกขะ (กัลปพฤกษ์)"
ถ้าอยากได้อะไร ก็ไปนึกเอาที่ต้นกัลปพฤกษ์ จะสมปรารถนา
-มนุษย์ที่อุตรกุรุทวีป เมื่อตายจากทวีปนี้ ทุกคนจะได้ไปเกิดใน "เทวภูมิ ชั้นตาวติงสาห์ภูมิ" ทุกๆคน เป็นกฏตายตัว
-ในภาษาบาลี "อุตร" แปลว่า "เหนือ" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกทวีปนี้ว่า "อุตรกุรุทวีป"

ขอขอบคุณพระไตรปิฏกฉบับประชาชน

--------------------------------------------------------------------------------
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย piyaa : เมื่อวานนี้ เมื่อ 10:58 PM