ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ไม่มีศาสนา

เริ่มโดย เณรเทือง, 17:01 น. 28 มี.ค 55

อิสระพุทธโท

187 ชาติหน้ามีจริงหรือไม่

ปัญหา ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ ? ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีจริงหรือไม่ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....อริยสาวกนั้น มีจิตหาว่าเรามิได้อย่างนี้ มีจิตหาความเบียดเบียนมิได้อย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองแล้วอย่างนี้ มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ เธอย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในชาตินี้
"ความอุ่นใจที่หนึ่งว่า ถ้าโลกเบื้องหน้ามีอยู่ ผลแห่งกรรมมีสัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะซึ่งจะเป็นไปได้ คือเบื้องหน้าแต่กายแตกตายไปแล้ว เราจะได้เข้าไปถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่หนึ่ง
"ความอุ่นใจที่สองว่า ถ้าโลกเบื้องหน้าไม่มี ผลแห่งกรรมมีสัตว์ทำดีทำชั่วไม่มีเราก็จะรักษาตนเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีความลำบาก ไม่มีทุกข์ มีแต่สุขในชาตินี้ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สอง
"ความอุ่นใจที่สามว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะนำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราไม่ได้คิดบาปให้แก่ใคร ๆ ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเรา ผู้ไม่ได้ทำบาป ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สาม
"ความอุ่นใจที่สี่ว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะนำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราก็ได้พิจารณาเห็นคนเป็นคนบริสุทธิแล้วทั้ง ๒ ส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สี่
"อริยสาวกมีจิตหาเวรมิได้ หาความเบียดเบียนมิได้ มีจิตไม่เศร้าหมอง มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ ย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แล ในชาตินี้ฯ"

อิสระพุทธโท

196 ใช้ตัณหาปราบตัณหา

ปัญหา มีบางท่านกล่าวว่า ความอยากถึงนิพพานก็จัดเป็นตัณหาอย่างหนึ่ง และเป็นแรงผลักดันให้คนปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงนิพพาน เข้าทำนอง ใช้ตัณหาดับตัณหา คำกล่าวเช่นนี้ มีหลักฐานในพระไตรปิฎกยืนยันหรือไม่ ?

พระอานนท์ตอบ ".....ดูก่อนน้องหญิง คำที่เรากล่าวว่ากายนี้เกิดด้วยตัณหา อาศัยตัณหาแล้วพึงละตัณหาเสียดังนี้ เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร
"ดูก่อนน้องหญิง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เมื่อได้ข่าวว่า ภิกษุชื่ออย่างนี้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่ง ในปัจจุบันนี้ ดังนี้ เธอเกิดความปรารถนา (ตัณหา) อย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราจักกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุต ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ ในปัจจุบันชาตินี้ ดังนี้ ในเวลาต่อมา เธออาศัยตัณหานั้นแล้วละตัณหาเสียได้
"ดูก่อนน้องหญิง คำที่เรากล่าวว่า กายนี้เกิดขึ้นด้วยตัณหาอาศัยตัณหาแล้วพึงละเสียดังนี้ เรากล่าวเพราะอาศัยความจริงข้อนี้......"

อินทริยวรรค จ. อํ. (๑๕๙)
ตบ. ๒๑ : ๑๙๕-๑๙๖ ตท. ๒๑ : ๑๗๑
ตอ. G.S. II : ๑๔๙


อิสระพุทธโท

075 ทำดีไปนรก-ทำชั่วไปสวรรค์

ปัญหา บุคคลกระทำบาปด้วยกาย วาจา ใจ แล้วจะได้ไปเกิดในสุคติเสมอไปหรือ ? และบุคคลกระทำบุญด้วย กาย วาจา ใจ ตายแล้วจะเข้าถึงทุคติสมอไปหรือ ? ถ้าไม่ เพราะเหตุไร ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนอานนท์ เราไม่เห็นด้วยกับวาทะของสมณะ หรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ ท่านผู้เจริญเป็นอันว่า กรรมดีไม่มีวิบากของสุจริตไม่มี แต่วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท สุราเมรัย มีความเห็นชอบในโลกนี้ และผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าพึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เราเห็นด้วย
"ส่วนวาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่าผู้ใดเว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เรายังไม่เห็นด้วย
"แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด นี้เราก็ยังไม่เห็นด้วย
"แม้วาทะของเขาที่พูดปักลงไป ถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง นั้นแหละ ในที่นั้น ๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่านี้เราก็ยังไม่เห็นด้วย......
".....ดูก่อนอานนท์ บุคคลที่เว้นขาดจากปาณาติบาต อทินนาทาน ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ ตายไปแล้ว เข้าถึงอุบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นเพราะว่า เขาทำกรรมชั่วที่ให้ผลเป็นทุกข์ไว้ในกาลก่อน ๆ หรือในกาลภายหลัง หรือว่าในเวลาจะตาย มีมิจฉาทิฐิพรั่งพร้อมสมาทานแล้ว เพราะฉะนั้น เขาตายไป จึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก......"

มหากัมมวิภังคสูตร อุ. ม. (๖๑๑-๖๑๕)
ตบ. ๑๔ : ๓๙๖-๓๙๘ ตท. ๑๔ : ๓๓๗-๓๓๙
ตอ. MLS. III : ๒๖๐-๒๖๒


อิสระพุทธโท

065 วิธีพิสูจน์พระอรหันต์

ปัญหา เราจะมีวิธีพิสูจน์ได้อย่างไร ว่าภิกษุรูปใดเป็นพระอรหันต์ หรือไม่ เพราะเราไม่อาจจะทราบได้ด้วยเครื่องหมายภายนอกใด ๆ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ข้าพเจ้ารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จ แล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่างเพื่อยินดี อย่าเพื่อคัดค้าน คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น... พึงถามปัญหาเธอว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โวหารอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ..... ตรัสไว้ชอบนี้มี ๔ ประการ..... คือ คำกล่าวว่าเห็นอารมณ์ที่ตนเห็นแล้ว..... ได้ยินในอารมณ์ที่ตนฟังแล้ว..... ทราบในอารมณ์ที่ตนทราบแล้ว.... รู้ชัดในอารมณ์ที่ตนรู้ชัดแล้ว.... ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ นี้ ?
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว.... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพันพ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้เห็น มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่...... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้ยิน..... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้ทราบ..... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้ารู้ชัด.... จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ นี้
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้นพวกเธอควรชื่นชมอนุโมทนาสาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุอุปาทานขันธ์อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น..... ตรัสไว้ชอบ มี ๕ ประการ แล.... คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์...... ก็จิตของท่านผู้มีอายุผู้รู้อยู่เห็นอยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ ?
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว..... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้แจ้งรูปแล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก มิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความชื่นใจ จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืน ซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในรูป และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในรูปได้ ข้าพเจ้ารู้แจ้งเวทนา..... รู้แจ้งสัญญา.... รู้แจ้งสังขาร..... รู้แจ้งวิญญาณแล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก..... จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว..... ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ธาตุอันพระผู้มีพระภาคนั้น.... ตรัสไว้ชอบมี ๖ ประการ.... คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว...... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า.....ข้าพเจ้าครองปฐวีธาตุโดยความเป็นอนัตตา มิใช่ครองอัตตาอาศัยปฐวีธาตุเลย ข้าพเจ้าครองอาโปธาตุ โดยความเป็นอนัตตา.... ครองเตโชธาตุโดยความเป็นอนัตตา...... ครองวาโยธาตุโดยความเป็นอนัตตา.... มิใช่ครองอัตตาอาศัยวิญญาณธาตุเลย จึงทราบชัดว่าจิตของเราพื้นแล้ว.... จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็อายตนะภายในอาตนะภายนอก อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบนี้ มีอย่างละ ๖ แล คือจักษุและรูป โสตและเสียง ฆานะและกลิ่นชิวหาและรส กายและโผฏฐัพพะ มโนและธรรมารมณ์..... ก็จิตของท่านผู้มีอายุรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ?
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว..... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นสำรอก ดับสละ และสลัดคืนซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทาน ที่ยึดมั่นและอนุสัยคือความตั้งใจ และความปักใจมั่นในจักษุในรูปในจักษุวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ..... ในโสต ในเสียง ในโสตวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ...... ในฆาน ในกลิ่น ในฆานวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ.... ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ ในกาย ในโผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ ..... ในมโน ในธรรมารมณ์ ในมโนวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ..... จิตของข้าพเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอายตนะทั้งภายในทั้งภายนอกอย่างละ ๖ เหล่านี้....."

ฉวิโสธน ปญ
สูตร อุ. ม. (๑๖๗-๑๗๑)
ตบ. ๑๔ : ๑๒๓-๑๒๗ ตท. ๑๔ : ๑๐๔-๑๐๘
ตอ. MLS. III : ๘๑-๘๕





อิสระพุทธโท

044 เหตุให้พระธรรมวินัยเสื่อม

ปัญหา มีบางคนกล่าวว่า การมีกฎหมายหรือระเบียบกฎเกณฑ์ มาก ๆ นั้น แสดงว่าศีลธรรมของชุมนุมชนนั้นเสื่อมลง จริงหรือไม่ ? พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้?

พุทธดำรัส ตอบ "..... ดูก่อนภัททาลิ ข้อนี้เป็นจริงอย่างนั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายกำลังเสื่อม พระสัทธรรมกำลังอันตรธาน สิกขาบทมีอยู่มากมาย แต่ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตตผลน้อยนัก พระศาสดายังไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย ตราบเท่าที่อาสวัฏฐานิยธรรม (ธรรมอันก่อให้เกิดอาสวะ) บางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ในธรรมวินัยนี้ ต่อเมื่อใดอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าปรากฏขึ้นในสงฆ์ในธรรมวินัยนี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น อาสวัฏฐานิยธรรมธรรมบางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ในพระธรรมวินัยนี้ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเห็นหมู่ใหญ่..... อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ในพระธรรมวินัยนี้ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศ ด้วยลาภ.... ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศ....... ยังไม่ถึงความเป็นพหูสูตร..... ยังไม่ถึงความเป็นรัตตัญญู ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นรัตตัญญู เมื่อนั้นอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าจึงปรากฏในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้ ครั้งนั้นพระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น ฯ "

ภัททาลิสูตร ม. ม. (๑๗๒)
ตบ. ๑๓ : ๑๗๔-๑๗๕ ตท.๑๓ : ๑๕๒-๑๕๓
ตอ. MLS. II : ๑๑๖-๑๑๗





อิสระพุทธโท

040 ปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบ

ปัญหา ได้ทราบว่ามีปัญหาบางประเภทที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบปัญหาดังกล่าวนั้นมีอะไรบ้าง ? และเพราะเหตุไรพระพุทธองค์ไม่ทรงตอบ ?

พุทธดำรัส ตอบ "..... ดูก่อนมาลุงกยบุตร.... เธอทั้งหลายจงจำปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ และจงจำปัญหาที่เราพยากรณ์.... อะไรเล่าที่เราไม่พยากรณ์
ดูก่อนมาลุงกยบุตร ทิฐิว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มีไม่มีอยู่ก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ ดังนี้เราไม่พยากรณ์.... ก็เพราะเหตุไร ข้อนั้นเราจึงไม่พยากรณ์ เพราะข้อนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่ายเพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูก่อน มาลุงกยบุตร เหตุนั้น เราจึงไม่พยากรณ์ข้อนั้น
"..... ดูก่อนมาลุงกยบุตร.... อะไรเล่าที่เราพยากรณ์ ดูก่อนมาลุงกยบุตร ความเห็นว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดังนี้เราพยากรณ์ ก็เพราะเหตุไรเราจึงพยากรณ์ข้อนั้น เพราะข้อนั้นไประกอบด้วยประโยชน์เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่ายเพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เหตุนั้น เราจึงพยากรณ์ข้อนั้น
"..... ดูก่อนมาลุงกยบุตร.... บุคคลใดแลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคจักไม่ทรงพยากรณ์แก่เรา (ซึ่งทิฐิ ๑๐ ประการนั้น) เพียงใด เราจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพียงนั้น ตถาคตไม่พึงพยากรณ์ข้อนั้นเลยและบุคคลนั้นพึงทำกาละ (ตาย) ไปโดยแท้ ดูก่อนมาลุกยบุตร เปรียบเหมือนบุรุษต้องศรอาบยาพิษที่ฉาบทาไว้หนา มิตรอมาตรย์ญาติสาโลหิตของบุรุษนั้น พึงไปหานายแพทย์ผู้ชำนาญในการผ่าตัดมาผ่า บุรุษผู้ต้องศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เรายังไม่รู้จักบุรุษผู้ยิงเรานั้นว่า เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ หรือศูทร......มีชื่อว่าอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้...... สูงต่ำหรือปานกลาง..... ดำขาวหรือผิวสองสี อยู่บ้าน นิคมหรือนครโน้นเพียงใด เราจักไม่นำลูกศรนี้ออกเพียงนั้น บุรุษผู้ต้องศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เรายังไม่รู้จักธนูที่ใช้ยิงเรานั้นเป็นชนิดมีแร่หรือเกาทัณฑ์.... สายที่ยิงเรานั้นเป็นสายทำด้วยปอ ผิวไม้ ไผ่ เอ็น ป่าน หรือเยื่อไม้ ลูกธนูที่ยิงเรานั้น ทำด้วยไม้ที่เกิดเองหรือไม่ปลูก ทางเกาทัณฑ์ที่ยิงเรานั้นเขาเสียบด้วยขนปีกนกแร้ง นกตะกรุม เหยี่ยว นกยูง หรือนกชื่อว่าสิถิลหนุ (คางหย่อน) เกาทัณฑ์นั้นเขาพันด้วยเอ็นวัว ควาย ค่าง หรือลิง...... ลูกธนูชนิดที่ยิงเรานั้นเป็นชนิดอะไร ดังนี้เพียงใด เราจักไม่นำลูกศรนี้ออกเพียงนั้น ดูก่อนมาลุงกยบุตร บุรุษนั้นพึงรู้ข้อนั้นไม่ได้เลย โดยที่แท้บุรุษนั้นพึงทำกาละไปฉันใด ดูก่อนมาลุกยบุตร บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคจักไม่ทรงพยากรณ์ทิฐิ ๑๐ นั้น ฯลฯ แก่เราเพียงใด เราจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพียงนั้น ข้อนั้นตถาคตไม่พยากรณ์เลย โดยที่แท้บุคคลนั้นพึงทำกาละไป ฉันนั้น"

จูฬมาลุงกโยวาทสูตร ม. ม. (๑๕๐-๑๕๒)
ตบ. ๑๓ : ๑๔๗-๑๕๒ ตท.๑๓ : ๑๓๒-๑๓๕
ตอ. MLS. II : ๙๙-๑๐๑



wareerant

เปลืองพื้นที่ เปลืองเซิฟเวอร์จริง ๆ เดี๋ยวกิมหยงเขาก็ได้เพิ่มพื้นที่โฮสต์ เสียเบี้ยหล่าว

กรรมบังตา

อ้างจาก: wareerant เมื่อ 10:00 น.  08 ก.ค 55
เปลืองพื้นที่ เปลืองเซิฟเวอร์จริง ๆ เดี๋ยวกิมหยงเขาก็ได้เพิ่มพื้นที่โฮสต์ เสียเบี้ยหล่าว
ถ้าแยกไม่ออกว่าสิ่งไหนดีสิ่งไหนชั่ว ท่านคงเห็นกงจักรเป็นดอกบัวแล้วแหละ พื้นที่สำหรับธรรมสอนสัตว์โลกไม่มีคำว่าเปลือง การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง ที่นี่มันกระดานบุญ ทำให้มันเป็นบุญจริงๆซะที และข้อความเหล่านี้อยู่ในพระไตรปิฏก ธรรมคำสอนคือตัวแทนของพระพุทธองค์ เมื่อปรามาสไม่เห็นค่า และไม่เอาสาระ แก่นสาร เทวดาเฝ้าธรรมคำสอนของพระพุทธองค์มองท่านอยู่ สงสัยว่าท่านคงจะไม่ใช่พุทธแล้วแหละ หลังจากนี้การเดินทางของชีวิตท่านจะไม่มีเทวดาคอยอุปถัม คงจะลุ่มๆดอนแน่นอน ก็อยู่ที่ว่าทำกรรมดีมามากแค่ไหน ขอขมาพระรัตนตรัยซะ ถ้าไม่อยากลองของกับสิ่งเร้นลับ ถ้าอยากเชิญตามสะบาย ส.มองลอดแว่น เราเตือนและให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่ท่านแล้ว  ส.อ่านหลังสือ

wareerant

เปลืองสิ เขาเช่าปีละตั้งหลายบาท

พระไตรปิฎกนั้นดีแน่ แต่เราต้องนำมาปรับใช้ให้ดีด้วย ไม่ใช่ก๊อปปี้มาลงพร่ำเพรื่อ เหมือนคนเมาแสงอาทิตย์(หวัน)
ชีวิตผมดีขึ้นเรื่อย ๆ ดีวันดีคืน โดยไม่ต้องอ่านพระไตรปิฎก ผมเคยอ่านเหมือนกัน จะพูดว่าชีวิตผมส่วนหนึ่งดีขึ้นเพราะหนังสือธรรมมะก็ได้ แต่ก็อ่านพอผ่าน ๆ ไมได้เอามานั่งกอดนอนกอด พร่ำเพ้อพรรณนา

เทวดาไม่ต้องมาคุ้มครองผมหรอกครับ ในโลกนี้มีคนอีกมาก ที่ยังอยู่ในความหลง โลภ โกรธ ไปคุ้มครองให้เขาเหล่านั้นดีกว่า

ผมก็เตือนและให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่คุณแล้ว อยู่ที่จะเอาหรือไม่เท่านั้นเอง


wareerant

ผมเบื่อมากเลย พวกอีแอบ(บางคน) ที่ไม่สมัครสมาชิก แล้วมาพ่นอะไรก็ไม่รู้ น่ารำคาญ อยากพ่นก็สมัครสมาชิกมาดีกว่า

โหเชื่อรึนี่

 
อ้างจาก: wareerant เมื่อ 17:02 น.  08 ก.ค 55
ผมเบื่อมากเลย พวกอีแอบ(บางคน) ที่ไม่สมัครสมาชิก แล้วมาพ่นอะไรก็ไม่รู้ น่ารำคาญ อยากพ่นก็สมัครสมาชิกมาดีกว่า
ส-เหอเหอ ส.อ่านหลังสือ ส.มองลอดแว่น บุญเค้าเยอะจริงๆ เชื่อแล้ว บายๆๆ โชคดีบุญหล่นทับ

ใจเย็นๆ

อ้างจาก: wareerant เมื่อ 17:02 น.  08 ก.ค 55
ผมเบื่อมากเลย พวกอีแอบ(บางคน) ที่ไม่สมัครสมาชิก แล้วมาพ่นอะไรก็ไม่รู้ น่ารำคาญ อยากพ่นก็สมัครสมาชิกมาดีกว่า
สงสัยเครียด อากาศร้อน ใจเย็นครับ ที่นี่มันกระดานลานบุญ

wareerant

โอเค ขอบคุณที่เตือน เจอพวกเมาหวันแล้วชักจะพ้นทุกที

ศุภวุฒิ

ต้องพิจารณาที่โลกธรรม 8 ครับ มียศ ก็มีเสื่อมยศ  มีลาภ  ก็มีเสื่อมลาภ  มีสุข  ก็ย่อมมีทุกข์  มีสรรเสริญ  ก็มีนินทา

เมื่อใดก็ตามที่คนเราที่มีกิเลสก็คือตัณหา(ความอยาก) หรือวิภวตัณหา(ความไม่อยาก)อยู่ เมื่อได้สูญเสีย

หรือพลัดพรากจากของรัก ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์หรือคนใกล้ตัวก็ตาม ถึงตรงนั้นคนทุกคนก็ต้องการที่พึ่งทางใจกันทุกคน

เพื่อเอามาปลอบประโลมหรือยึดเหนี่ยวให้จิตใจที่อ่อนแอให้เกิดความตั้งมั่น  ที่นี้ก็แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคลว่า

ได้มีความใกล้ชิดหรือมีพื้นฐานความเข้าใจอะไรเป็นที่ตั้ง  และความเข้าใจตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ(การปฏิบัติอย่างเหมาะสม

ตามความเป็นจริงด้วยปัญญา)หรือไม่ 

ขอยก พละ 5 มาประกอบนะครับ

    การนับถือศาสนาเริ่มต้นมาจากความศรัทธา ซึ่งเราควรใช้ปัญญา(ความรู้ทั่วอย่างชัดแจ้ง)เป็นตัวควบคุม

ส่วนสมาธิ (ความตั้งมั่น) ตรงนี้สำคัญมากครับ การฝึกตรงนี้เราต้องใช้วิริยะ (ความเพียร)ต้องสู้กับความเกียจคร้าน

เพื่อตัวสุดท้ายคือสติ ซึ่งก็คือความระลึกได้ ต้องคงไว้อยู่สม่ำเสมอ  ก็จะช่วยให้เรานิ่งพอที่จะแก้ปัญหาต่างๆในชีวิต

ได้ดีพอสมควรครับ

wareerant

อ้างถึงต้องพิจารณาที่โลกธรรม 8 ครับ มียศ ก็มีเสื่อมยศ  มีลาภ  ก็มีเสื่อมลาภ  มีสุข  ก็ย่อมมีทุกข์  มีสรรเสริญ  ก็มีนินทา

เมื่อใดก็ตามที่คนเราที่มีกิเลสก็คือตัณหา(ความอยาก) หรือวิภวตัณหา(ความไม่อยาก)อยู่ เมื่อได้สูญเสีย

หรือพลัดพรากจากของรัก ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์หรือคนใกล้ตัวก็ตาม ถึงตรงนั้นคนทุกคนก็ต้องการที่พึ่งทางใจกันทุกคน

เพื่อเอามาปลอบประโลมหรือยึดเหนี่ยวให้จิตใจที่อ่อนแอให้เกิดความตั้งมั่น  ที่นี้ก็แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคลว่า

ได้มีความใกล้ชิดหรือมีพื้นฐานความเข้าใจอะไรเป็นที่ตั้ง  และความเข้าใจตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ(การปฏิบัติอย่างเหมาะสม

ตามความเป็นจริงด้วยปัญญา)หรือไม่ 

ขอยก พละ 5 มาประกอบนะครับ

    การนับถือศาสนาเริ่มต้นมาจากความศรัทธา ซึ่งเราควรใช้ปัญญา(ความรู้ทั่วอย่างชัดแจ้ง)เป็นตัวควบคุม

ส่วนสมาธิ (ความตั้งมั่น) ตรงนี้สำคัญมากครับ การฝึกตรงนี้เราต้องใช้วิริยะ (ความเพียร)ต้องสู้กับความเกียจคร้าน

เพื่อตัวสุดท้ายคือสติ ซึ่งก็คือความระลึกได้ ต้องคงไว้อยู่สม่ำเสมอ  ก็จะช่วยให้เรานิ่งพอที่จะแก้ปัญหาต่างๆในชีวิต

ได้ดีพอสมควรครับ

สุดยอด นับถือ นับถือ คารวะ 1 จอก

อิสระพุทธโธ

076 การตำหนิและการยกยอ

ปัญหา พระพุทธองค์ทรงแสดงหลักในการตำหนิ หรือให้การยกยอบุคคลอื่นไว้อย่างไรหรือไม่ ?
พุทธดำรัส ตอบ "ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้การยกยอและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกยอ ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ?

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร เป็นการยกยอ เป็นการตำหนิ และไม่เป็นการแสดงธรรม ? คือเมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใด กระทำการประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัส ของคนที่มีความสุขสืบเนื่องมาแต่กามอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด ดังนี้ชื่อว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง
"เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใด ไม่กระทำการประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขสืบเนื่องมาแต่กามอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบดังนี้ ชื่อว่ายกยอคนพวกหนึ่ง
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลเป็นการยกยอ เป็นการตำหนิ และไม่เป็นการแสดงธรรม
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ไม่เป็นการยกยอ ไม่เป็นการตำหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้ ? คือ ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดกระทำการประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัส...... ชนเหล่านั้นทั้งหมดมีทุกข์...... กล่าวอยู่ว่า อันความตามประกอบนี้แล เป็นธรรมมีทุกข์..... ดังนี้ เชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น
"ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดไม่กระทำการตามประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัส ของคนที่มีความสุขสืบเนื่องมาแต่กาม..... ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อนใจ เป็นผู้ปฏิบัติชอบ..... อย่างนี้แล ไม่เป็นการยกยอ ไม่เป็นการตำหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้....."

อรณวิภังคสูตร อุ. ม. (๖๕๗-๖๕๘)
ตบ. ๑๔ : ๔๒๕-๔๒๗ ตท. ๑๔ : ๓๖๒-๓๖๔
ตอ. MLS. III : ๒๗๙-๒๘๐



อิสระพุทธโธ

018 วิธีสร้างอิทธิฤทธิ์

ปัญหา อิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ เป็นสิ่งมีได้จริงหรือ ? ถ้ามีจริงจะมีวิธีสร้างได้อย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนพึงเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝ่ากำแพง ภูเขาไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ พึงผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ พึงเดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์...ก็ได้"
"ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่าเราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์... ถ้าภิกษุจะถึงหวังว่าเราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่าเราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือพึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง.... พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง .... ว่าในภพโน้นเรามีชื่อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้.....
"ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม... ด้วยประการฉะนี้เถิด ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารฯ"

อากังเขยยสูตร มู. ม. (๘๕-๘๙)
ตบ. ๑๒ : ๖๐-๖๓ ตท.๑๒ : ๕๑-๕๓
ตอ. MLS. I : ๔๓-๔๔

อิสระพุทธโธ

307 เทพเจ้าอมตะมีหรือไม่

ปัญหา ศาสนาบางศาสนาเชื่อว่ามีเทวดาที่มีอมตะเที่ยงแท้ แน่นอน ในเรื่องนี้ พระพุทธศาสนามีทัศนะอย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พญาสีหมฤคราชออกจากที่อาศัยในเวลาเย็นแล้วเหยียดกาย แล้วเหลียวแลดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ แล้วบันลือสีหนาท ๔ ครั้งแล้วออกเดินไปเพื่อหากิน.... พวกสัตว์ดิรัจฉานทุกหมู่เหล่าได้ยินเสียงพญาสีหมฤคราชบันลือสีหนาท อยู่ โดยมากย่อมถึงความกลัว... พญาสีหมฤคราชมีฤทธิ์ศักดานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายเช่นนี้แล
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระตถาคตอรหัตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลกพระองค์ทรงแสดงธรรมว่า รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นดังนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นดังนี้ ความดับแห่งรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นดังนี้ แม้เทวดาทั้งหลายที่มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วยความสุข ซึ่งดำรงอยู่ได้นานในวิมานสูง ได้สดับธรรมเทศนาของพระตถาคตแล้ว โดยมากต่างก็ถึงความกลัว ความสังเวช ความสะดุ้ง ว่าผู้เจริญทั้งหลายได้ยินว่าเราทั้งหลายเป็นผู้ไม่เที่ยง แต่เข้าใจว่าแน่นอน... ได้ยินว่า ถึงพวกเราก็เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน ติดยู่ในกายตน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีฤทธิ์ศักดานุภาพยิ่งใหญ่กว่าโลก กับเทวโลกเช่นนี้แล"

สีหสูตร ขันธ. สํ. (๑๕๕, ๑๕๖)
ตบ. ๑๗ : ๑๐๓-๑๑๔ ตท. ๑๗ : ๙๓-๙๔
ตอ. K.S. ๓ : ๗๐-๗๑

อิสระพุทธโธ

343 การเลี้ยงชีพของสมณะ

ปัญหา การเลี้ยงชีพอย่างไม่ถูกต้อง และถูกต้องของสมณะคืออย่างไร ?

พระสารีบุตรตอบ "ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ ด้วยดิรัจฉานวิชา คือวิชาทำนายทายทัก สมณพราหมณ์นี้เรียกว่าก้มหน้าบริโภค
"สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เลี้ยงชีพด้วยดิรัจฉานวิชา คือวิชาดูฤกษ์ยาม สมณพราหมณ์นี้เรียกว่าแหงนหน้าบริโภค
"สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เลี้ยงชีพด้วยการประกอบกิจการส่งข่าวสารและรับใช้ สมณพราหมณ์นี้เรียกว่ามองดูทิศใหญ่บริโภค
"สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีพ ด้วยมิจฉาชีพ ด้วยดิรัจฉานวิชา คือวิชาทำนายทายทัก สมณพราหมณ์นี้เรียกว่าดูทิศน้อยบริโภค
"ดูก่อนน้องหญิง ส่วนเรานั้นมิได้เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เราแสวงหาภิกษาโดยชอบธรรม แล้วจึงบริโภค..."


สูจิมุขีสูตร ขันธ. สํ. (๕๑๘)
ตบ. ๑๗ : ๒๙๖-๒๙๗ ตท. ๑๗ : ๒๘๔-๒๘๕
ตอ. K.S. ๓ : ๑๙๐-๑๙๑

อิสระพุทธโธ

249 วาระสุดท้ายของโลก

ปัญหา นักวิทยาศาสตร์คำนวณว่า โลกของเราจะมีอายุประมาณ ๕,๐๐๐ ล้านปีแล้วก็จะแตกดับ ทางพระพุทธศาสนาแสดงเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม.... ควรเบื่อหน่าย.... ควรคลานกำหนัด.... ควรหลุดพ้น
"ขุนเขาสิเนรุโดยยาว ๘๔,๐๐๐ โยชน์ โดยกว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มีกาลบางคราวที่ฝนไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี เมื่อฝนไม่ตก พืชคาม ภูตคามและติณชาติป่าไม้ใหญ่ย่อมเฉา เหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้
".....โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่สองปรากฏ...แม่น้ำลำคลองทั้งหมดย่อมงวดแห้ง.... ไม่มีน้ำ
".....โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ...แม่น้ำสายใหญ่ ๆ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรพู มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง.... ไม่มีน้ำ
".....โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ...แม่น้ำสายใหญ่ ๆ ที่ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำใหญ่ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรพู มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง.... ไม่มีน้ำ
".....โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ...น้ำในมหาสมุทรลึก ๑๐๐ โยชน์ก็ดี.... ๗๐๐ โยชน์ก็ดี ย่อมงวดลงเหลืออยู่เพียง ๗ ชั่วต้นตาลก็มี ๖ ชั่วต้นตาลก็มี.... ชั่วต้นตาลเดียวก็มี แล้วยังจะเหลืออยู่ ๗ ชั่วคน ๖ ชั่วคน.... เพียงเขา... เพียงรอยเท้าโค
".....โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ...แผ่นดินใหญ่นี้และเขาสินเนรุ ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น เปรียบเหมือนนายช่างหม้อเผาหม้อที่ปั้นดีแล้ว ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น ฉะนั้น
".....โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ...แผ่นดินใหญ่นี้และเขาสินเนรุ ไฟจะติดทั่วลุกโชติช่วง มีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน.... เมื่อแผ่นดินใหญ่และเขาสิเนรุ ถูกไฟเผาผลาญอยู่ ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า.....
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย..... สังขารทั้งหลาย.... เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม ควรจะเบื่อหน่าย.... ควรคลานกำหนัด.... ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง



สุริยสูตร ส. อํ. (๖๓)
ตบ. ๒๓ : ๑๐๒-๑๐๕ ตท. ๒๓ : ๙๕-๙๗
ตอ. G.S. IV : ๖๔-๖๘


อิติปิโส

พระหายตัวได้ พระป่า...วัดไม้ขาว..ภูเก็ต...หายตัวได้จริง...

--------------------------------------------------------------------------------

วันนี้ 11 กรกฎาคม 2555 วันพระ.. ไปวัดไม้ขาว(ธรรมยุตต์) ภูเก็ต(อีกแล้ว)
ได้มีวาสนาสนทนากับคุณลุงอายุ82ปี ชื่อคุณลุงแป๊ะหลิวหรือแป๊ะจ๋วน(ขออภัยจำชื่อท่านไม่ได้ถนัดนัก....
...ท่านเล่าเรื่องปาฏิหารย์ 2 เรื่อง(ผมถามท่านทั้งสองเรื่อง)เพราะเคยได้ยินได้ฟังมาเคร่าๆ...จนได้มาพบตัวจริงของท่าน...
..คุณลุงเล่าเรื่องแรกว่า ตอนนั้น ราวๆพ.ศ.2495-6 อาจารย์มหาปิ่นฯได้มาสร้างวัดไม้ขาว ตามคำบัญชาของหลวงปู่เทศก์ฯ...
...คุณลุงเป็นผู้ช่วยวิ่งเต้นเรื่องที่ดินบางส่วนให้ถวายที่ดินให้วัดไม้ขาวแก่ชาวบ้าน ซึ่งทุกคนก็ยินยอมยกให้วัดไม้ขาว....
..แต่ในยุคนั้น ก็เริ่มมีความไม่เข้าใจกันระหว่างมหานิกายหนึ่งและชาวบ้านหนึ่ง อุปสรรคจึงมีมากมาย...นี่ไม่นับเรื่องเสือโคร่ง เก้ง กวางก็ยังพอมีให้เห็นอยู่ในยุคนั้น....
...ทีนี้ เข้าใจว่าท่านมหาปิ่นฯคงเห็นแล้วว่า ชาวบ้านยุคนั้น ก็นิยมที่จะศรัทธาต่อพระที่เก่ง ที่ให้หวยแม่น...จึงได้พากันมารุมขอเลขเด็ดจากท่าน...ซึ่งท่านก็คงอาจจะใช้ฤทธิ์เพื่อเป็นอุบายธรรม ดึงคนเข้าสู่ศาสนาที่แท้จริงท่านจึงเมตตา"ใบ้"ให้ในครั้งแรก...รู้สึกคุณลุงเล่าว่าท่านพูดถึงแปรง"สี่"ฟัน มีสองอันที่หักสูญไปอันหนึ่ง ปรากฏว่าหวยออก 420 หรือไงนี่ แต่ชาวบ้านถูกกินเรียบ
..งวดต่อมาท่านใบ้ วันที่9ที่10จะไป ให้คนสี่คนตามหลัง..ปรากฏหวยออก 904หรือไรนี่...แต่ชาวบ้านถูกกินเรียบอาวุธ....
...ทีนี้ก็เป็นเรื่อง..ชาวบ้านจึงเฮโลมาขอท่านว่าให้ใบ้แบบจังๆ เพราะสองงวดที่ผ่านมาโดนกินเรียบ....
..ดังนั้น งวดที่สาม...ทุกคนจึงเฝ้ารอ..แต่ท่านก็ไม่ได้ใบ้อะไรเลย....
..จนกระทั่งมีคนไปที่วัดแล้วสอบถามโยมที่เฝ้ากุฏิท่าน โยมท่านนั้นก็บอกว่า โยมผู้หญิงที่นำปลอกหมอนไปซักตามคำสั่งท่านนั้น เจอกระดาษเขียนด้วยลายมือท่านเป็นกระดาษชิ้นเล็กๆเขียนเลขว่า 438 อยู่ใต้ปลอกหมอนท่าน จึงจำไว้แล้วนำมาให้โยมที่เฝ้ากุฏิ โยมนี้จึงนำใบเลขนั้นสอดไว้ใต้ฐานพระพุทธรูป ใครมาใครไป ไม่ได้คำใบ้จากท่าน แต่ก็จะได้เลขนี้กับโยมที่เฝ้ากุฏิ...และให้ดูลายมือที่ท่านเขียนเลขนี้ไว้.....
...พอหวยออกงวดที่สาม 438 ปรากฏว่าถูกหวยกันยกหมู่บ้าน(มีไม่เกิน10หลังคาเรือน)คุณลุงแป๊ะจ๋วนนี้ ซื้อควายได้1 ตัวทีเดียว...
....ตั้งแต่นั้นมา ชาวบ้านก็เริ่มศรัทธาและชักชวนชาวบ้านหมู่อื่นๆมาเข้าวัดไม้ขาวกันอย่างเนืองแน่น....แต่ท่านก็มิได้ใบ้หรือให้หวยใดๆอีกเลย....
...นี่คือปาฏิหารย์พระป่า วัดไม้ขาวเรื่องที่หนึ่ง.....
...เรื่องที่สอง.......
...คุณลุงเล่าว่า วันหนึ่ง เดินมาส่งท่านอาจารย์มหาปิ่นฯที่กุฏิ.. เดินตามหลังท่านมาติดๆ ทางเดินก็แคบ และมีบรรไดเดียวขึ้นกุฏิ...หน้าต่างก็สูงมาก เพราะกุฏิจะสร้างสูง(กันเสือ)...แล้วก็ดักรออยู่ตรงตีนบรรได...
..พอสักประมาณ1นาทีได้ ก็ได้ยินเสียงเดินอยู่ข้างหลังเพราะใบไม้ดัง จึงหันไปดู...ปรากฏว่าคุณลุงเล่าว่า"ขนลุกซู่"ขึ้นทันที เพราะแกเห็นท่านอาจารย์มหาปิ่นฯกำลังเดินจงกรมอยู่ห่างจากกุฏิไปสัก20เมตรเห็นจะได้...และก็ไม่มีทางที่จะลงบรรไดแล้วเดินผ่านแกที่ดักรออยู่ไปได้...นอกจากท่านหายตัวได้เท่านั้น....(ในขณะที่คุณลุงเล่า ท่านยังยกแขนแล้วชี้ให้ดูขนที่ลุก(ในอดีต)ว่า..นี่ๆขนลุกตั้งเด่อย่างนี้ อย่างนี้).....ซึ่งพอหายตกตะลึง..แกก็เดินไปไหว้ลากลับทันทีโดยลืมธุระของแกจนหมดสิ้น.....คุณลุงเล่าว่า..เกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่มา ก็เพิ่งเคยเห็นจะๆตอนนั้นว่า...พระปฏิบัติ สามารถหายตัวได้จริงๆ....ถือเป็นบุญตาที่จะเล่าให้ลูกๆหลานๆฟังกันจริงๆ.....
..นี่คือปาฏิหารย์เรื่องที่สอง...ที่ท่านอาจารย์มหาปิ่นฯแสดงฤทธิ์ให้ลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านได้เห็นประจักษ์ตา.....
.....ผมได้ฟังแล้วก็ยกมือโมทนาสาธุ....ในอุบายธรรมของอาจารย์มหาปิ่นฯที่แสดงฤทธิ์เพื่อเรียกศรัทธาให้คนเข้าหาศาสนาแล้วค่อยๆกล่อมเกลากิเลศเขาให้บางเบาลงต่อไป....ให้เดินในแนวทางที่ถูกต้องต่อไป...ซึ่งต่อมา หลวงปู่สาม ก็ได้มาเป็นเจ้าอาวาส...และจนกระทั่งมาถึงอาจารย์แดงฯและหลวงพ่อเขียวฯในปัจจุบันนี้....ก็ได้รับศรัทธาจากชาวบ้าน ทั้งจังหวัดภูเก็ต..ที่มาทำบุญ ณ วัดไม้ขาวแห่งนี้ในปัจจุบัน....นี่เป็นเพราะด้วยอุบายธรรมของท่านอาจารย์มหาปิ่นฯพระป่าแห่งวัดไม้ขาว จ.ภูเก็ตโดยแท้จริง....สาธุ.

nig (นิ)

เป็นคนหนึ่งที่คิดแบบนั้น ไม่มีศาสนา ตอนนี้ตัวส่วนคิดว่า ศาสนา คือการประกาศความจริงเพื่อพัฒนาตัวเอง สุดแต่ใครจะชอบแบบไหน ศาสนาทุกศาสนาเป็นศาสนาเดียวกัน คือ ธรรมะ ธรรมดา ความจริง ที่เป็นธรรมชาติ เพียงแค่เรียกต่างกันไปเท่านั้นมาแบ่งกันเอง  ส.หลก ส่วนตัวข้าพเจ้าเคารพพระพุทธเจ้าผู้อธิบายแจกแจ้ง ได้ชัดเจน เป็นวิทยาศาสตร์ ปฏิบัติเองเห็นเองง่ายๆ มากที่สุด ส.ยกน้ิวให้