ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ไม่มีศาสนา

เริ่มโดย เณรเทือง, 17:01 น. 28 มี.ค 55

tunkaw99

ใช้จิตอ่าน ข้อความ ตามดูอารมณ์ การแสดงออกทางตัวหนังสือ อยากให้ใช้สติ กันให้มาก ๆ นะครับ เราเข้ามาเพื่อ Share ความรู้ ตรงจริตบ้าง ไม่ตรงบ้าง ก็อย่างไปถือเป็นอารมณ์ ข่มกันนะครับ

Mr.No

อ้างจาก: เณรเทือง เมื่อ 17:01 น.  28 มี.ค 55
เด็กรุ่นใหม่หลายคนชอบพูดว่าตนเองไม่มีศาสนา
สมาชิกกระดานลานบุญเคยเจอคนพวกนี้มาบ้างไหม


สวัสดีท่านเณรเทือง..

ผมเห็นกระทู้นี้นับเป็นกระทู้ที่ค่อนข้างยาวและมีผู้อ่านมากทีเดียว...แต่อ่านแล้วก็พบว่ามีประเด็นที่ผมมองว่าชวนไปในทางที่ขัดแย้งมากขึ้น มากกว่าที่จะถกกันเป็นประเด็นที่น่าสนใจ

ผมเห็นว่า กระทู้นีค่อนข้างกว้างในทางการตีความครับ.... เพราะหาก ตีความว่า การไม่มีศาสนา แล้วกลายเป็นคนไม่ดี หรือเป็นคนขวางโลกหรืออะไร ผมอยากให้มองที่ปัจเจกบุคคลมากกว่า...

ถ้าจะให้ความหมายของ "ศาสนา" ในความหมายของสัญลักษณ์ ผมเห็นว่านั่นอาจไม่ได้มีค่าหรือความหมายที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของเจตนารมณ์แห่งศาสนานั้น  ๆ อยากให้เป็น

เพราะแม้นหากระบุชัดในบัตรประชาชนว่า นับถือศาสนาพุทธ แต่วัตรปฎิบัติกับไม่ต่างอะไรกับโจร แบบนี้ ความหมายของ "ศาสนา" ตามคำถามนี้ คงไม่ใช่อย่างที่ผู้ตั้งกระทู้หมายถึง

แต่ผมเข้าใจว่า...ผู้ตั้งกระทู้ อาจตั้งประเด็นโดยมองไปที่คนรุ่นใหม่ ที่มักอ้างว่า ตัวเองไม่มีศาสนา ซึ่งเองผมเคยมีประสบการณ์เมื่อสมัยหนุ่ม ๆ และรู้สึกเช่นนั้นจริง ๆ ว่า จำเป็นหรือที่จะต้องยึดติดกับศาสนาใดศาสนาหนึ่ง?

ผมเคยรู้สึกว่า  คำว่า "ศาสนา" มันก็เป็นเพียงแค่สัญลักษณ์..และการใส่บาตร หรือเข้าวัดทำบุญนั้น ก็แค่ประเพณีและวัฒนธรรมที่ไม่สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ ที่ส่วนใหญ่ เข้าวัดทำบุญ เพื่อมุ่งสู่ "นิพพาน" หรือ บางคนที่ต่ำกว่าก็คือการทำบุญให้คนที่ตายไปแล้วได้กิน...หรือตัวเองอาจได้กินจากผลบุญทีตนทำเมื่อละโลกนี้ไป

และผมเอง..ก็สำคัญตนว่า ตัวเองนั้น ปฎิบัติดี แล้ว..อะไรมันจะมีค่าเท่านี้...แค่นี้ก็พอสำหรับมนุษย์แล้ว

และที่สำคัญก็ือ คำถามก็คือ... ตายแล้ว มันสูญ!  หรือ เป็นวัฎฎะ กันแน่?

ผมเคยคิดว่า...แค่การปฎิบัติตนให้เป็นคนดี ...ไม่เกะกะเกเร และอยู่ในสังคมอย่างไม่เป็นภาระให้ใคร..ก็น่าจะพอเพียง และไม่จำเป็นต้องไป "ปฎิบัติธรรม" แบบที่เค้าทำให้กันตามวัดพระ วันโกน ให้เป็นเรื่องพะรุงพะรังกิจวัตรเปล่า ๆ

นั่นเป็นความคิดของผมเมื่อวัยสามสิบ,สี่สิบ...ที่สมองเต็มไปด้วยพลัง...มากไปด้วย ทิฐิมานะ...และ ความเป็นอัตตาที่ถือเอาความคิดตนว่า ดีแล้ว..เจ๋งแล้ว เป็นใหญ่....

ผมตีความศาสนาในเชิงปรัชญาผิดพลาด...และค่อนข้างหยาบทีเดียวในห้วงเวลานั้น

แต่หลังจากที่ร่างกายเริ่มเปลี่ยนโทรม...สีผมเริ่มเป็นดอกเลาและขาวโพลน..ฟันฟางที่เคยงดงามเป็นที่รักสวยงามเริ่มหักกร่อน ไม่สวย..ไม่หล่อ ไ่มเท่ห์ และไม่เป็นสิ่งที่มันเคยเป็น..และเริ่มเปลี่ยนไปตามสังขารและร่วงโรยตามวัย  ตามมาด้วย ความเปลี่ยนแปลงของสุขภาพตามวัย.... ผมจึงเริ่มลดทิฐิ และพิจารณาโลกตามความจริง รวมทั้งศึกษาศาสนาพุทธ ในทางที่ลึกซึ้งมากขึั้น.... ซึ่งก็พบว่า แท้จริงแล้ว ผมแค่เข้าใจ "ศาสนา" ได้เพียงเปลือกกระพี้...และยึดเอาเปลือกนั้นเป็นสรณะตัดสิน ความหมายปรัชญาอันยิ่งใหญ่ลึกซึ้งด้วย ความรู้แค่ "เต่า ๆ " ที่มาจากเปลือกแห่งความถือดีของผมเองเท่านั้น

เพราะถ้าเราตามดูจิตของตัวให้ดีและให้สอดคล้องตามวัยที่เหมาะสม เราจะพบว่าความจริงที่เป็นมหัศจรรย์กับความหมายของคำว่า "ปฎิบัติธรรม" และ "ศาสนา" ได้อย่างแยบคายมากขึ้น

ศาสนา ได้วางรากฐานให้ ผู้เดินตาม พิจารณาเดินตามให้ถูกต้องและหากเดินตามให้ถูกสเตป...เราจะพบว่า ธรรมะแห่งพุทธองค์ (ในศาสนาพุทธ) ที่ผมนับถือยิ่งนั้น   มีอะไรที่มหัศจรรย์และยอดเยี่ยมที่สุด และที่สำคัญ เป็นอภิมหาวิทยาศาสตร์อย่างที่สุด

คำว่า "บรรลุธรรม" หรือ "อรหันต์"  นั้น คือการเข้าถึงสภาวะแห่ง "จิต" ที่ ไม่ยึดติดอะไรกับสิ่งที่เป็นโซ่ตรวนของมนุษย์อีกต่อไป  และ "อรหันต์" ก็คือ  "สภาวะ" มิใช่  "สมณะ"

ดังนั้น.. ผมสรุปว่า การจะมีศาสนาหรือไม่นั้น...ไม่สำคัญเท่ากับว่า ได้วางรากฐานของการเป็นคนดีไว้หรือไม่....
เพราะหาก เริ่มดี... เมื่อวัยถึง..เวลานั้นมา สุดท้าย เราจะรู้เองว่า  ศาสนา นั้นมีคุณค่าแค่ไหน?
ผมคิดเห็นเป็นดังนี้ครับ
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

nig (นิ)

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 17:36 น.  13 ก.ค 55

สวัสดีท่านเณรเทือง..

ผมเห็นกระทู้นี้นับเป็นกระทู้ที่ค่อนข้างยาวและมีผู้อ่านมากทีเดียว...แต่อ่านแล้วก็พบว่ามีประเด็นที่ผมมองว่าชวนไปในทางที่ขัดแย้งมากขึ้น มากกว่าที่จะถกกันเป็นประเด็นที่น่าสนใจ

ผมเห็นว่า กระทู้นีค่อนข้างกว้างในทางการตีความครับ.... เพราะหาก ตีความว่า การไม่มีศาสนา แล้วกลายเป็นคนไม่ดี หรือเป็นคนขวางโลกหรืออะไร ผมอยากให้มองที่ปัจเจกบุคคลมากกว่า...

ถ้าจะให้ความหมายของ "ศาสนา" ในความหมายของสัญลักษณ์ ผมเห็นว่านั่นอาจไม่ได้มีค่าหรือความหมายที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของเจตนารมณ์แห่งศาสนานั้น  ๆ อยากให้เป็น

เพราะแม้นหากระบุชัดในบัตรประชาชนว่า นับถือศาสนาพุทธ แต่วัตรปฎิบัติกับไม่ต่างอะไรกับโจร แบบนี้ ความหมายของ "ศาสนา" ตามคำถามนี้ คงไม่ใช่อย่างที่ผู้ตั้งกระทู้หมายถึง

แต่ผมเข้าใจว่า...ผู้ตั้งกระทู้ อาจตั้งประเด็นโดยมองไปที่คนรุ่นใหม่ ที่มักอ้างว่า ตัวเองไม่มีศาสนา ซึ่งเองผมเคยมีประสบการณ์เมื่อสมัยหนุ่ม ๆ และรู้สึกเช่นนั้นจริง ๆ ว่า จำเป็นหรือที่จะต้องยึดติดกับศาสนาใดศาสนาหนึ่ง?

ผมเคยรู้สึกว่า  คำว่า "ศาสนา" มันก็เป็นเพียงแค่สัญลักษณ์..และการใส่บาตร หรือเข้าวัดทำบุญนั้น ก็แค่ประเพณีและวัฒนธรรมที่ไม่สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ ที่ส่วนใหญ่ เข้าวัดทำบุญ เพื่อมุ่งสู่ "นิพพาน" หรือ บางคนที่ต่ำกว่าก็คือการทำบุญให้คนที่ตายไปแล้วได้กิน...หรือตัวเองอาจได้กินจากผลบุญทีตนทำเมื่อละโลกนี้ไป

และผมเอง..ก็สำคัญตนว่า ตัวเองนั้น ปฎิบัติดี แล้ว..อะไรมันจะมีค่าเท่านี้...แค่นี้ก็พอสำหรับมนุษย์แล้ว

และที่สำคัญก็ือ คำถามก็คือ... ตายแล้ว มันสูญ!  หรือ เป็นวัฎฎะ กันแน่?

ผมเคยคิดว่า...แค่การปฎิบัติตนให้เป็นคนดี ...ไม่เกะกะเกเร และอยู่ในสังคมอย่างไม่เป็นภาระให้ใคร..ก็น่าจะพอเพียง และไม่จำเป็นต้องไป "ปฎิบัติธรรม" แบบที่เค้าทำให้กันตามวัดพระ วันโกน ให้เป็นเรื่องพะรุงพะรังกิจวัตรเปล่า ๆ

นั่นเป็นความคิดของผมเมื่อวัยสามสิบ,สี่สิบ...ที่สมองเต็มไปด้วยพลัง...มากไปด้วย ทิฐิมานะ...และ ความเป็นอัตตาที่ถือเอาความคิดตนว่า ดีแล้ว..เจ๋งแล้ว เป็นใหญ่....

ผมตีความศาสนาในเชิงปรัชญาผิดพลาด...และค่อนข้างหยาบทีเดียวในห้วงเวลานั้น

แต่หลังจากที่ร่างกายเริ่มเปลี่ยนโทรม...สีผมเริ่มเป็นดอกเลาและขาวโพลน..ฟันฟางที่เคยงดงามเป็นที่รักสวยงามเริ่มหักกร่อน ไม่สวย..ไม่หล่อ ไ่มเท่ห์ และไม่เป็นสิ่งที่มันเคยเป็น..และเริ่มเปลี่ยนไปตามสังขารและร่วงโรยตามวัย  ตามมาด้วย ความเปลี่ยนแปลงของสุขภาพตามวัย.... ผมจึงเริ่มลดทิฐิ และพิจารณาโลกตามความจริง รวมทั้งศึกษาศาสนาพุทธ ในทางที่ลึกซึ้งมากขึั้น.... ซึ่งก็พบว่า แท้จริงแล้ว ผมแค่เข้าใจ "ศาสนา" ได้เพียงเปลือกกระพี้...และยึดเอาเปลือกนั้นเป็นสรณะตัดสิน ความหมายปรัชญาอันยิ่งใหญ่ลึกซึ้งด้วย ความรู้แค่ "เต่า ๆ " ที่มาจากเปลือกแห่งความถือดีของผมเองเท่านั้น

เพราะถ้าเราตามดูจิตของตัวให้ดีและให้สอดคล้องตามวัยที่เหมาะสม เราจะพบว่าความจริงที่เป็นมหัศจรรย์กับความหมายของคำว่า "ปฎิบัติธรรม" และ "ศาสนา" ได้อย่างแยบคายมากขึ้น

ศาสนา ได้วางรากฐานให้ ผู้เดินตาม พิจารณาเดินตามให้ถูกต้องและหากเดินตามให้ถูกสเตป...เราจะพบว่า ธรรมะแห่งพุทธองค์ (ในศาสนาพุทธ) ที่ผมนับถือยิ่งนั้น   มีอะไรที่มหัศจรรย์และยอดเยี่ยมที่สุด และที่สำคัญ เป็นอภิมหาวิทยาศาสตร์อย่างที่สุด

คำว่า "บรรลุธรรม" หรือ "อรหันต์"  นั้น คือการเข้าถึงสภาวะแห่ง "จิต" ที่ ไม่ยึดติดอะไรกับสิ่งที่เป็นโซ่ตรวนของมนุษย์อีกต่อไป  และ "อรหันต์" ก็คือ  "สภาวะ" มิใช่  "สมณะ"

ดังนั้น.. ผมสรุปว่า การจะมีศาสนาหรือไม่นั้น...ไม่สำคัญเท่ากับว่า ได้วางรากฐานของการเป็นคนดีไว้หรือไม่....
เพราะหาก เริ่มดี... เมื่อวัยถึง..เวลานั้นมา สุดท้าย เราจะรู้เองว่า  ศาสนา นั้นมีคุณค่าแค่ไหน?
ผมคิดเห็นเป็นดังนี้ครับ

เห็นด้วยกับท่าน ด้วยความนับถือ ข้อความโดย: Mr.No ข้าพเจ้าเป็นคนหนึ่งที่ได้อ่านข้อความหลายๆข้อที่ท่านได้ตอบ โดยมีสาระและเป็นประโยชน์เสมอมา  ส.ตากุลิบกุลิบ

อิสระพุทธโธ

028 ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น

ปัญหา มีบางคนกล่าวว่า หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ "ธรรมทั้งปวงที่ไม่ควรยึดมั่น" ดังนี้ พระพุทธองค์ตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่นย่อมสะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนจอมเทพ กล่าวโดย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้ว ในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จอันยิ่งยวด ถึงที่สุดอันยิ่งยวด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ "

จูฬตัณหาสังขยสูตร มู. ม. (๔๓๙)
ตบ. ๑๒ : ๔๗๐-๔๗๑ ตท.๑๒ : ๓๘๒-๓๘๓
ตอ. MLS. I : ๓๑๐-๓๑๑


อิสระพุทธโธ

135 ใครเป็นผู้สร้าง

ปัญหา ทุกข์ทั้งปวง ตั้งแต่อวิชชาเป็นต้นไปถึง ชาติ ชรา มรณะ มีใครเป็นผู้สร้างหรือไม่ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย....
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ ....
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ....
เพราะอุปทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ....
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปทาน....
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา....
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา....
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ....
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ....
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป....
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ....
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร....
เพราะตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ธรรมฐิติ (เป็นสภาพตั้งอยู่ตามธรรมดา) ธรรมนิยาม (เป็นสภาพแน่นอนตามธรรมดา) อิทัปปัจจัย (เป็นมูลเหตุอันแน่นอน) ก็ยังดำรงอยู่ พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้น ครั้นแล้วย่อมตรัสบอก ทรงแสดงบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำ ให้ตื้น และตรัสว่าท่านทั้งหลายจงดูดังนี้....."

ปัจจัยสูตร นิ. สํ. (๖๑)
ตบ. ๑๖ : ๓๐-๓๑ ตท. ๑๖ : ๑๖-๒๕
ตอ. K.S. II : ๒๑

อิสระพุทธโธ

209 ควรติคนอื่นหรือไม่

ปัญหา คนบางคนถืออุเบกขา ไม่ยุ่งกับคนอื่น ไม่สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญโดยกาลอันควร ไม่ติเตียนผู้ควรติเตียนโดยกาลอันควร เฉย ๆ เสียสบายดีเหมือนกัน พระพุทธองค์ทรงเห็นอย่างไรในคนประเภทนี้ ?

พุทธดำรัส ตอบ "....ดูก่อนโปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนโดยกาลอันควร ตามความเป็นจริง (แต่) ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑
ผู้กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร (แต่) ไม่
ติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ๑
ผู้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ทั้งไม่กล่าว สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑
ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ทั้งกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑
"ดูก่อนโปตลิยะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร และกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร นี้ เป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่าบุคคล ๔ ประเภทนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมีความงาม คือความเป็นผู้รู้จักกาลในอันควรสรรเสริญและติเตียนนั้น ๆ...."

อิสระพุทธโธ

409 อนาคตของดารานักแสดง

ปัญหา ดารานักแสดงที่ให้ความบันเทิงแก่ผู้อื่นด้วยคำจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง นั้น ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติหรือทุคติ ?

พระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้หัวหน้านักแสดงนามว่าตาลปุฏะถามคำถามนั้น ถึง ๓ ครั้ง แต่นายตาลปุฏะก็ยังคะยั้นคะยอจะเอาคำตอบให้ได้

พระพุทธองค์ จึงตรัสตอบว่า

พุทธดำรัส ตอบ "ดูก่อนหัวหน้านักแสดง แท้จริงเราไม่ได้ อนุญาตให้ท่านถามปัญหานี้ เรากล่าวว่า อย่าเลย หัวหน้านักแสดง เรื่องนี้หยุดไว้เสียเถิด อย่าถามปัญหานี้กะเราเลย แต่เอาเถอะ เราจะตอบปัญหาแก่ท่าน
"ดูก่อนหัวหน้านักแสดง สัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ ถูกราคะผูกมัดไว้ ยังไม่ปราศจากโทสะ ถูกโทสะผูกมัดไว้ ยังไม่ปราศจากโมหะ ถูกโมหะผูกมัดไว้ อยู่ก่อนแล้ว นักแสดงยิ่งนำเข้ามาซึ่งธรรมอันส่งเสริม ราคะ ส่งเสริมโทสะ ส่งเสริมโมหะแก่ชนเหล่านั้นในท่ามกลางเวที ท่ามกลางโรงมหรสพให้มี ราคะ โทสะ โมหะ มากยิ่งขึ้น บุคคลนั้นตนเองก็ประมาทมัวเมาอยู่แล้ว ยังทำให้คนอื่นประมาทมัวเมาอีก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะแตกทำลาย ย่อมเกิดในนรกชื่อปหาส....
"ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักแสดงคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริงตามคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางเวที ผู้นั้นเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาส ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด...."

ตาลปฏสูตร สฬา. สํ. (๕๘๙-๕๙๑)
ตบ. ๑๘ : ๓๗๗-๓๗๘ ตท. ๑๘ : ๓๓๖-๓๓๗
ตอ. K.S. ๔ : ๒๑๔-๒๑๖

อิสระพุทธโธ

410 อนาคตของนักรบอาชีพ

ปัญหา นักรบอาชีพที่มีความอุตสาหะ วิริยะในสงครามตายไปแล้วจะเกิดในสุคติหรือทุคติ ?

คำถามนี้ ประธานชุมชน (นายบ้าน) ผู้เป็นนักรบอาชีพทูลถามพระพุทธเจ้า ๓ ครั้ง พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงตอบ แต่ในที่สุดก็จำต้องตอบว่า

พุทธดำรัส ตอบ "ดูก่อนนายบ้าน แท้จริงเราไม่ได้อนุญาตให้ท่านถามปัญหานี้ เกร่ากล่าวว่า อย่าเลย นายบ้าน เรื่องนี้พักไว้เสียเถิด อย่างถามปัญหานี้กะเราเลย แต่เอาเถอะ เราจะตอบปัญหาแก่ท่าน
"ดูก่อนนายบ้าน นักรบอาชีพคนใด อุตสาหพยายามในสงคราม จิตของเขาเป็นสภาพต่ำ ชั่ว ตั้งไว้ไม่ดีก่อนแล้วว่าขอสัตว์เหล่านั้นจงถูกฆ่า จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ หรือว่าอย่าได้มีอยู่เลย ดังนี้บุคคลอื่นย่อมฆ่า ย่อกำจัดเขาที่กำลังอุตสาหพยายามอยู่นั้น เมื่อเขาตายเพราะกายแตกทำลายย่อมยังเกิดในนรกชื่อสรชิต...
"ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหพยายามในสงคราม ผู้นั้นเมื่อตายไปเพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิตดังนี้ไซร้ ความเห็นของผู้นั้นเป็นความเห็นผิด ดูก่อนนายบ้าน ก็เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานของบุคคลผู้มีความเห็นผิด...."

โยธาชีวสูตร สฬา. สํ. (๕๙๓)
ตบ. ๑๘ : ๓๘๐-๓๓๙ ตท. ๑๘ : ๓๓๘-๓๓๙
ตอ. K.S. ๔ : ๒๑๖-๒๑๗

อิสระพุทธโธ

415 พระภิกษุกับการรับเงินและทอง

ปัญหา ราชบริษัทในเมืองราชคฤห์สนทนากันว่า เงินและทองเป็นสิ่งควรแก่พระภิกษุ พระภิกษุยังยินดีในเงินและทอง และย่อมรับเงินและทองได้ นายบ้านนามว่ามณีจูฬกะได้ยินเช่นนั้น จึงปฏิเสธคำกล่าวหานั้นแล้วภายหลังได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลเรื่องนี้ให้ทรงทราบ และทูลถามว่าที่เขาปฏิเสธไปนั้นถูกต้องหรือไม่ ?

พุทธดำรัส ตอบ "ดีละ นายคามณี เมื่อท่านตอบอย่างนั้นเป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และคราวตอบธรรมถูกต้องเหมาะสม ... เพราะว่าทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีในเงินและทอง ห้ามเสียซึ่งเพชรนิลจินดาและทอง ปราศจากเงินและทอง
"ดูก่อนนายคามณี กามคุณทั้ง ๕ ควรแก่ผู้ใด เงินและทองย่อมควรแก่ผู้นั้นท่านพึงจำข้อนี้ไว้อย่างเด็ดขาดเถิด ว่า ข้อนั้นไม่ใช่สมณธรรม ไม่ใช่ธรรม ของสมณศากยบุตร นายคามณี เรากล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการหาเกวียนพึงแสวงหาเวียน ผู้ต้องการบุรุษจึงแสวงหาบุรุษ แต่เรามิได้กล่าวโดยปริยายใด ๆ เลยว่า พระศากยบุตรพึงยินดีและแสวงหาเงินและทอง...."

มณีจุฬาสูตร สฬา. สํ. (๖๒๓-๖๒๖)
ตบ. ๑๘ : ๔๐๑-๔๐๓ ตท. ๑๘ : ๓๕๕-๓๕๗
ตอ. K.S. ๔ : ๒๓๐-๒๓๒

อิสระพุทธโธ

515 คนตายแต่กาย

ปัญหา มีหลักฐานอะไรบ้าง ที่พระพุทธองค์ตรัสรับรองว่าคนเราตายแต่กายเท้านั้น ส่วนจิตยังสืบต่อไปเกิดในภพหน้าได้ ?

พุทธดำรัส ตอบ " ดูก่อนมหาบพิตร จิตของผู้ใดผู้หนึ่งที่อบรมแล้วด้วยศรัทธา ท ศีล สุตะ จาคะ ปัญญามาเป็นเวลานาน กายนี้ของผู้นั้น มีรูปประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ เกิดแต่มารดาบิดาเติบโตขึ้นมาด้วยข้าวสุกและขนมสด มีความไม่เที่ยง ต้องขัดสีนวดฟั้น และจะต้องแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา พวกกา แร้ง เหยี่ยว สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก หรือสัตว์นานาชนิด ย่อมกัดกินกายนี้แล ส่วนจิตของผู้นั้นที่อบรมแล้วด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญามาเป็นเวลานาน ย่อมเป็นสิ่งไปในเบื้องบน เป็นสิ่งถึงภูมิอันวิเศษ...เปรียบเหมือนบุรุษลงไปยังห้วงน้ำลึก แล้วพึงทุบหม้อเนยใส หรือหม้อน้ำมันสิ่งใดที่มีอยู่ในหม้อนั้น จะเป็นก้อนกรวดหรือกระเบื้องก็ตาม สิ่งนั้นจะจมลงสิ่งใดเป็นเนยใสหรือน้ำมัน สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งลอยขึ้นบน เป็นสิ่งถึงวิเศษ...."


มหานามสูตร ที่ ๑ มหา. สํ. (๑๕๐๘-๑๕๐๙ )
ตบ. ๑๙ : ๔๖๓-๔๖๔ ตท. ๑๙ : ๔๒๐-๔๒๑
ตอ. K.S. ๕ : ๓๒๐-๓๒๑

อิสระพุทธโธ

516 แม้คนขี้เมาก็อาจเป้นพระโสดาบันได้

ปัญหา เมื่อเจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์ พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นพระโสดาบัน พ้นจากอบายภูมิอย่างเด็ดขาด มีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า เจ้าศากยะเป็นจำนวนมากประชุมกันแล้วพูดตำหนิว่า เจ้าสรกานิศากยะประพฤติย่อหย่อนในศีลธรรมและชอบดื่มน้ำเมา ถ้าท่านเป็นพระโสดาบันได้ ใคร ๆ ก็เป็นโสดาบันกันทั้งบ้างทั้งเมือง ในเรื่องนี้พระพุทธองค์ทรงชี้แจงอย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ " ดูก่อนมหาบพิตร อุบาสกผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนานจะไปสู่วินิบาตได้อย่างไร ? เมื่อจะพูดให้ถูก ควรพูดถึงเจ้าสรกานิศากยะว่า เจ้าสรกานิศากยะเป็นอุบาสกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะมาเป็นเวลานานแล้ว จะพึงไปสู่วินิบาตได้อย่างไร ?
" ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า.... ในพระธรรม...ในพระสงฆ์ ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลมและไม่บรรลุถึงวิมุต แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ และเขามีศรัทธา มีความรักในพระตถาคตพอประมาณ แม้บุคคลผู้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก....ทุคติวินิบาต
" ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าต้นสาละใหญ่เหล่านี้พึงรู้ สุภาษิต และทุพภาสิต
อาตมภาพก็พึงพยากรณ์ต้นสาละใหญ่เหล่านี้ได้ว่า เป็นโสดาบัน จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า จะช่วยกล่าวไปไยถึงเข้าสรกานิศากยะ
"ดูก่อนท้าวมหานาม เจ้าสารกานิศากยะสมาทานสิกขาได้ในเวลาสิ้นพระชนม์แล"

สรกานิสูตร ที่ ๑ มหา. สํ. (๑๕๒๘-๑๕๓๖ )
ตบ. ๑๙ : ๔๗๐-๔๗๔ ตท. ๑๙ : ๔๒๖-๔๒๘
ตอ. K.S. ๕ : ๓๒๔-๓๒๖

อิสระพุทธโธ

493 พระพุทธเจ้าอาจอยู่ได้ตลอดกัลป์

ปัญหา พระพุทธเจ้าตรัสไว้จริงหรือวา ถ้ามีพระประสงค์ พระพุทธองค์อาจจะทรงพระชนม์อยู่ได้เป็นเวลาถึง ๑ กัลป์ ?

พุทธดำรัส ตอบ "ดูก่อนอานนท์ เมืองเวสาลีเป็นที่น่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์ก็เป็นที่น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์ก็เป็นที่น่ารื่นรมย์ สัตตัมพะเจดีย์ก็เป็นที่น่ารื่นรมย์ พหุปุตตกเจดีย์ก็เป็นที่น่ารื่นรมย์ อิทธิบาท ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นยาน กระทำให้เป็นฐาน ให้คล่องแคล่วแล้วสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อปรารถนาอยู่ พึงดำรงอยู่ได้กัลป์ หนึ่งหรือเกินกว่ากัลป์หนึ่ง...."

เจติยสูตร มหา. สํ. (๑๑๒๔ )
ตบ. ๑๙ : ๓๓๓ ตท. ๑๙ : ๓๑๒-๓๑๓
ตอ. K.S. ๕ : ๒๓๐-๒๓๑

อิสระพุทธโธ

601 คนปากเสีย และปากดี

ปัญหา คนเช่นใด "ปากอุจจาระ" "ปากดอกไม้ และปากน้ำผึ้ง" คืออย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลปากอุจจาระ คือ อย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปในที่ประชุมก็ดี ในฝูงชนก็ดี ไปในท่ามกลางเหล่าญาติก็ดี ไปในท่ามกลางเสนาก็ดี ไปในท่ามกลางราชาสกุลก็ดี ถูกเขาอ้างเป็นพยาน.... เขาไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ หรือรู้ก็ว่าไม่รู้ ไม่เห็นก็ว่าเห็น หรือไม่เห็นก็ว่าเห็น กล่าวแกล้งเท็จทั้งที่รู้ เพราะเห็นแก่ตนเอง เพราะเห็นแก่คนอื่น หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย... นี้เรียกว่าคน "ปากอุจจาระ"
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ปากดอกไม้ คืออย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปในที่ประชุม.... ถูกเขาอ้างเป็นพยาน.... เมื่อเขาไม่รู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ หรือเมื่อรู้กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าเห็น ย่อมไม่แกล้งกล่าวเท็จทั้งที่รู้ เพราะเห็นแก่ตน เพราะเห็นแก่คนอื่น หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย... นี้เรียกว่าคน "ปากดอกไม้"
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ปากน้ำผึ้ง คืออย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ พูดแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสตเป็นที่รักจับหัวใจ เป็นวาจาของชาวเมือง เป็นที่รักที่ชอบในของคนมาก... นี้เรียกว่าคน "ปากน้ำผึ้ง"....


คูถภาณิสูตร ติก. อํ. (๖๔๗)
ตบ. ๒๐ : ๑๖๑-๑๖๒ ตท. ๒๐ : ๑๔๕
ตอ. G.S. ๑ : ๑๑๐-๑๑๑

อิสระพุทธโธ

589 ความคดโกง กาย วาจา ใจ

ปัญหา เปรียบเทียบความสมบูรณ์แห่งการดัด ?

คำตอบ "ในอดีตกาล มีกษัตริย์ องค์หนึ่งพระนามว่าปเจตนะ รังสั่งให้นายช่างรถไปทำล้อรถคู่หนึ่งให้เสร็จใน ๖ เดือน เมื่อเวลาล่วงไป ๕ เดือน กับ ๒๔ วัน เขาทำล้อเสร็จเพียงข้างเดียว แต่ภายใน ๖ วันที่เหลืออยู่เขาก็สามารถทำล้ออีกข้างหนึ่งให้เสร็จได้ เขาได้นำล้อ ๒ ข้างมาแสดงให้พระราชาทอดพระเนตร ล้อที่เขาทำใน ๖ วันนั้นกลิ้งไปสุดแรงผลักแล้วก็ล้มลง ส่วนล้อที่ทำใน ๕ เดือน ๒๔ วันนั้น เมื่อกลิ้งไปสุดแรงแล้ว ยังตั้งอยู่ได้เหมือนอยู่ในตัวรถ เมื่อพระราคาตรัสถามถึงสาเหตุ นายช่างรถทูลว่า ล้อที่ทำใน ๖ วันนั้นมีส่วนประกอบที่คดโค้ง มีข้อเสีย มียางเหลืออยู่ในไม้ ส่วนล้อที่ทำใน ๕ เดือน ๒๔ วันนั้น ไม่มีข้อบกพร่องเหล่านั้น นายช่างผู้ทำรถนั้นคือใคร ?
พุทธดำรัส ตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอาจจะคิดอย่างนี้ว่านายช่างทำรถนั้นในสมัยนั้นคงจะเป็นคนอื่น แต่ข้อนี้ท่านทั้งหลายไม่ควรเห็นดังนั้น นายช่างรถในสมัยนั้น ก็คือเรานั้นเอง
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คราวนั้นเราฉลาดในความคดโค้งแห่งไม้ ในข้อเสียแห่งไม้ ในยางเหนียวแห่งไม้ แต่บัดนี้เราเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าฉลาดในความคดโกงแห่งกาย ในโทษแห่งกาย ในยางเหนียวแห่งกาย ฉลาดในความคดโกง...ในโทษ...ในยางเหนียวแห่งวาจา ฉลาดในความคดโกง...ในโทษ... ในยางเหนียวแห่งใจ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งไม่ละความคดโกง... โทษ.... ยางเหนียวแห่งกาย... แห่งวาจา...แห่งใจ เขาได้พลัดตกไปจากพระธรรมวินัย เหมือนกับล้อที่เสร็จใน ๖ วัน....
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งละความคดโกง... โทษ.... ยางเหนียวแห่งกาย... วาจา...ใจได้ เขาตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมวินัย นี้ เหมือนกับล้อที่เสร็จใน ๖ เดือนหย่อน ๖ ราตรี...."


ปรจตนสูตร ติก. อํ. (๔๕๔)
ตบ. ๒๐ : ๑๔๐-๑๔๒ ตท. ๒๐ : ๑๒๘-๑๒๙
ตอ. G.S. ๑ : ๙๕-๙๗


คุณาพร.

อีก 1 ปัญหาโลกเเตก   ส.อ่านหลังสือ
นับถือศาสนาก็ดี  ไม่นับถือก็ดีเเล   นานาจิตตัง  ทำความดีกันไว้ให้มากๆ   ส.อ่านหลังสือ

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

อิสระพุทธโธ

034 ความสำคัญของจิตใจ

ปัญหา มีบางคนกล่าวว่า ในบรรดาการกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจนั้น การกระทำทางกายสำคัญที่สุด เพราะก่อให้เกิดผลเห็นได้ชัด เช่น ฆ่าเขาตายด้วยกาย ย่อมมีผลเสียหายมากกว่ากล่าวอาฆาตด้วยวาจา และการคิดจะฆ่าด้วยใจ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไรในเรื่องนี้ ?

พุทธดำรัส ตอบ "..... ดูก่อนตัปสสี บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็นส่วนละอย่างต่างกันเหล่านี้ เราบัญญัติมโนกรรมว่ามีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม เราจะบัญญัติกายกรรมวจีกรรมว่ามีโทษมากเหมือนมโนกรรมหามิได้"
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว อุบาลีคฤหบดีผู้เป็นสาวกของนิครนถนาฏบุตรก็ยังยืนยันอยู่นั่นเองว่า กายกรรมมีโทษมากกว่า พระผู้มีพระภาคจึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญในความข้อนั้นเป็นไฉน นิครนถ์ในโลกนี้เป็นคนอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ห้ามน้ำเย็น ดื่มแต่น้ำร้อน เมื่อเขาไม่ได้น้ำเย็นจะต้องตาย ดูก้อนคฤหบดี ก็นิครนถนาฏบุตรบัญญัติความเกิดของนิครนถ์ผู้นี้ ณ ที่ไหนเล่า?"
อุบาลีคฤหบดี "..... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวดาชื่อว่ามโนสัตว์มีอยู่นิครนถ์นั้นย่อมเกิดในเทวดาจำพวกนั้น.... เพราะนิครนถ์ผู้นั้นเป็นผู้มีใจเกาะเกี่ยวทำกาละ...."
ก็เป็นอันว่า อุบาลีคฤหบดีย่อมรับว่ามโนกรรมสำคัญกว่า แต่เขายังยืนยันต่อไปว่า กายกรรมสำคัญกว่า พระผู้มีพระภาคจึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นิครนถ์ในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยการสังวรโดยส่วน ๔ คือ ห้ามน้ำทั้งปวง ประกอบด้วยการห้ามบาปทั้งปวง กำจัดบาปด้วยการห้ามบาปทั้งปวง อันการห้ามบาปทั้งปวงถูกต้องแล้ว เมื่อเขาก้าวไป ถอยกลับ ย่อมถึงการฆ่าสัตว์ตัวเล็ก ๆ เป็นอันมากดูก่อนคฤหบดี นิครนถนาฏบุตรบัญญัติ วิบากเช่นไรแก่นิครนถ์ผู้นี้ ?"
อุบาลี "ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญ นิครนถนาฏบุตรมิได้บัญญัติกรรม อันเป็นไปโดยไม่เจาะจงว่ามีโทษมากเลย"
พระผู้มีพระภาค "ดูก่อนคฤหบดี ก็ถ้าจงใจเล่า ?"
อุบาลี ".... เป็นกรรมมีโทษมาก"
พระผู้มีพระภาค "... ก็นิครนถนาฏบุตรเจตนาลงในสวนไหน ?"
อุบาลี "... นิครนถนาฏบุตรบัญญัติเจตนาลงในส่วนมโนทัณฑะ" (มโนกรรม)
ก็เป็นอันว่า อุบาลีคฤหบดี ยอมรับด้วยถ้อยคำของตนเองว่ามโนกรรมสำคัญกว่า แต่ก็ยังยืนยันว่ากายกรรมสำคัญกว่าต่อไปอีก พระผู้มีพระภาคจึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บ้านนาฬันทานี้ เป็นบ้านมั่งคั่งเป็นบ้านเจริญ มีชนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น.... พึงมีบุรุษคนหนึ่งเงื้อดาบมา เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เขาจักทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาฬันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่ง ดูก่อนคฤหบดี ท่านจักสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะสามารถทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในหมู่บ้านนาฬันทานี้ให้เป็นลานเนื้อันเดียวกันได้หรือ ?"
เมื่ออุบาลีทูลว่า ทำไม่ได้ พระพุทธองค์จึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิต พึงมาในบ้านนาฬันทานี้.... พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำบ้านนาฬันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยจิตคิดประทุษร้ายดวงเดียว ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์.... นั้น จะสามารถทำบ้านนาฬันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยจิตประทุษร้ายดวงหนึ่งได้หรือหนอ ?"
อุบาลีคฤหบดียอมรับว่าทำได้ ซึ่งแสดงให้เป็นว่ามโนกรรมสำคัญกว่าแต่ก็ยังยืนยันต่อไปว่ากายกรรมสำคัญกว่า พระผู้มีพระภาคจึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญกว่า พระผู้มีพระภาคจึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ป่าทัณฑดี ป่ากาลิคะ ป่ามาตังคะ เกิดเป็นป่าไปท่านได้ฟังมาแล้วหรือ ?
อุบาลี ".... ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว...."
พระผู้มีพระภาค "... ท่านได้ฟังมาว่าอย่างไร เกิดเป็นป่าไปเพราเหตุไร ?"
อุบาลี "... เพราะใจประทุษร้าย อันพวกเทวดาทำเพื่อฤาษี"
ในที่สุด อุบาลีคฤหบดีก็ยอมรับว่ามโนกรรมสำคัญกว่า และประกาศตนเป็นสาวกของพระบรมศาสดา

นัยอุปาลิวาทสูตร ม. ม. (๖๔-๗๐)
ตบ. ๑๓ : ๕๕-๖๕ ตท.๑๓ : ๕๔-๖๑
ตอ. MLS. II : ๓๘-๔๓


อิสระพุทธโธ

019 การล้างบาปด้วยน้ำ

ปัญหา ลัทธิพราหมณ์ถือว่า กระทำบาปแล้วอาจจะชำระล้างให้หมดสิ้นไปด้วยการอาบน้ำในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น แม่น้ำคงคา เป็นต้น ทางพระพุทธศาสนามีทรรศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....คนพาล มีกรรมดำ (บาป) แล่นไปยังแม่น้ำพาหุกาท่าน้ำอธิกักกะ ท่าน้ำคะยา แม่น้ำสุนทริกา แม่น้ำสรัสสดี ท่าน้ำปยาคะ และแม่น้ำพาหุมดีแม้เป็นนิตย์ ก็บริสุทธิ์ไม่ได้ แม่น้ำสุนทริกา ท่าน้ำปยาคะ หรือแม่น้ำพาหุกา จักทำอะไรได้ จะชำระนรชนผู้มีเวรทำกรรมอันหยายช้า ผู้มีกรรมอันเป็นบาปนั้นให้บริสุทธิ์ไม่ได้เลย ผัคคุณฤกษ์ย่อมพึงพร้อมแก่บุคคลผู้หมดจดแล้วทุกเมื่อ อุโบสถก็ย่อมถึงพร้อมแก่บุคคลผู้หมดจดแล้วทุกเมื่อ วัตรของบุคคลผู้หมดจดแล้ว มีการงานอันสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงอาบในคำสอนของเรานี้เถิด จงทำความเกษมในสัตว์ทั้งปวงเถิด ถ้าท่านไม่กล่าวคำเท็จ ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ถือวัตถุที่เขาไม่ให้เป็นผู้มีความเชื่อ ไม่ตระหนี่ไซร้ ท่านจักต้องไปยังท่าน้ำคะยาทำไม แม้การดื่มน้ำในท่าน้ำคะยาก็จักทำอะไรให้แก่ท่านได้ฯ

วัตถูปมสูตร มู. ม. (๙๘)
ตบ. ๑๒ : ๗๐ ตท.๑๒ : ๕๘
ตอ. MLS. I : ๔๙-๕๐

อิสระพุทธโธ

047 ความหมายของสัพพัญญู

ปัญหา คำว่า "สัพพัญญู" ผู้รู้สิ่งทั้งปวง ซึ่งเป็นพระนามประการหนึ่งของพระพุทธเจ้านั้นหมายความว่า พระองค์ทรงรู้ทุกสิ่งทุกอย่างในสากลจักรวาลทั้งเวลาหลับและเวลาตื่น หรือหมายความแค่ไหนแน่?

พุทธดำรัส ตอบ "....ดูก่อนวัจฉะ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญาณญาณทัสสนะไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสสนะปรากฏแล้วเสมอติดต่อกันไปดังนี้ ไม่เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้วและชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำที่ไม่มี ไม่เป็นจริง
"ดูก่อนวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓ ) ดังนี้แล เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง ชื่อว่าพยากรณ์ถูกสมควรแก่ธรรม....
"ดูก่อนวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง..... ตลอดสังวัฎวิวัฎกัปเป็นอันมาก ในภพโน้นเรามีชื่อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น... เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้
"ดูก่อนวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ซึ่งเป็นไปตามกรรมว่าสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิฉาทิฐิ เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมทิฐิ..... เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์
"ดูก่อนวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะ เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง..."

จูฬวัจฉโคคตสูตร ม. ม. (๒๔๑-๒๔๒)
ตบ. ๑๓ : ๒๓๗-๒๓๘ ตท.๑๓ : ๒๐๓-๒๔๒
ตอ. MLS. II : ๑๖๐





อุ่นเครื่องรอพระยาธรรม

สิ่งที่น่าเชื่อถือมากที่สุด มากกว่าคำทำนายใด แม่นยำกว่าสิ่งไหนๆ คือ คำสอนของพระพุทธองค์ เพราะมันมาด้วยญาณหยั่งรู้ที่ละเอียดที่สุดและบารมีที่ถึงพร้อมที่สุดแล้วที่จะมาเป็นพระพุทธเจ้า ผู้เป็นหนึ่งเดียว จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า พระอริยะเจ้ารุ่นหลังไม่มีใครที่จะรู้หมดแม่นยำไม่ผิดเพี้ยนเท่า พระไตรปิฎก โปรดอย่ามาดัดแปลงและลดหย่อนธรรมวินัย และอ้างตัวว่าอยู่ในสมณะผ้าเหลือง เพราะถ้าไม่ปฏิบัติธรรมวินัยจริงจังแต่ยังทานข้าวที่ฆราวาสถวายโดยไม่ละอาย กินเหล็กร้อนแดงฉ่ายังดีกว่าอีก แค่ศีล5ยังไม่พ้น แล้วมาตั้งตัวเป็นครองผ้าเหลืองรับส่งบุญให้ฆราวาส ออกมาเป็นหมอผีสเดาะเคราะห์ซะยังดีกว่า ไม่เสื่อมเสียถึงพระพุทธศาสนาผ้าเหลืองสัญลักษณ์ของสมณะ การบวชไม่ใช่ของเล่นมาลองผิดลองถูกเพราะถ้าทำผิดโทษบาปมันมากกว่าฆราวาสร้อยเท่าพันเท่า ของแท้ต้องไม่จับเงินจับทองรับเงินรับทอง และมีผู้ดูแลเงินทองที่ญาติโยมถวายอยู่ที่สบายนอนฟูกติดแอร์นรกทั้งนั้น เว้นแต่จะเป็นอรหันต์อย่างแท้จริงเท่านั้นที่แผลงพิเรนได้แต่นั่นมันก็ขัดกับคำสอนพระพุทธองค์อยู่และเป็นตัวอย่างที่ทำให้พระผู้ที่ไม่ได้บรรลุธรรมเข้าใจว่าทำได้หมดเอาเป็นแบบอย่างไม่ว่าคาบบุหรี่จับเงินจับทองครอบครองโบสกุฏิบัญชีธนาคารมันไม่ได้สลัดจากคราบฆราวาสเลยปัดกวาดเช็ดถูขุดคุ้ยถางเผาไถดุน ปานาติบาตทุกวัน เพราะอย่างนั้นจึงล๊อคพระไตรปิฎกไว้ในตู้ไม่ให้ใครเอามาอ่านเพราะกลัวญาติพี่น้องพระเทวทัตเดือดร้อนอยู่ไม่ได้ ได้เวลาเปิดตาในรับธรรมรับบุญที่แท้จริงกันได้แล้ว พระน่ะรับได้แค่ปัจจัย4เพื่อให้ชีวิตตั้งอยู่ได้เท่านั้นแค่เพียงพอต่อการปฏิบัติธรรมให้ขันธ์5ตั้งอยู่ได้เท่านั้น ไม่มีการสต๊อกกักตุนปัจจัย4 อย่างแน่นอน แล้วมาแปรสินทรัพย์เป็นทุน เปิดเป็นมูลนิธิยังดีกว่า แล้วเอาเงินช่วยเหลือเกื้อหนุนชาวโลก อย่าให้วัดเกี่ยวกับเงินทองทำบุญสะสมบริจาคเข้าบัญชีแล้วอ้างทำนู่นทำนี่ให้วัดสงบเป็นที่สงบไว้ฝึก สมาธิเดินจงกรม ปฏิบัติกรรมฐานเป็นหลัก จัดงานเทศการอึกทึกครึกโครมฆ่าหมูวัวควายเลี้ยงแขกในวัด มันบาป รบกวนการปฏิบัติธรรมของพระแท้จริงเนื้อนาบุญที่แท้จริง พุทธ คือการฝึกสมาธิยกระดับจิต ตัด สลัดให้หลุดไปเหลือน้อยที่สุด ไม่ติดกับของสวยงามปรุงแต่งฟุ้งเฟ้อ เน้นแค่ชำระร่างกายตัวเองเท่านั้นจีวรเก่าฉีกขาดแค่ไหนขอแค่ให้ได้ซักแค่พอสะอาด ภายนอกอย่างอื่นรกรกไปไม่ทำลายที่อยู่รังของสัตว์เล็กสัตว์น้อย ทำศีลให้บริสุทธิ์ ด้วยความที่คิดอุปทานไปเองว่าอย่างนู้นได้นี่ได้ตามแต่จะคิดเอาไม่ดูธรรมวินัยไม่เคร่งครัดและไม่ศึกษาพระไตรปิฎกมันถึงได้หย่อนยานผีบังตามารมันถึงได้มาแอบแฝง พระพุทธองค์บอกแล้วไม่ใช่เหรอ พระธรรมยังอยู่ก็คือตัวแทนเราพระธรรมก็คือ พระไตรปิฎก ตัวแทนของพระพุทธองค์ อยากรู้จักท่านเข้าใจที่ท่านสอน ก็ไปอ่าน พระไตรปิฎก เมื่อหาฟังเทศฟังธรรมที่ตรงที่ใช่ยากและคนที่เทสก็ไม่มีญาณหยั่งรู้ใจผู้อื่นแล้วมันจะตรงกับจริตของแต่ละคนได้อย่างไร ต้องอ่านศึกษาทำความเข้าใจเองเท่านั้นถึงจะได้แก่นแท้ ทุกอย่างทุกคำสอนอยู่ใน พระไตรปิฎก 84000 พระธรรมขันธ์ ออกจากทางโลกสลัดจากทางโลกมาศึกษาธรรม ถ้าเข้าใจและสัมผัสธรรมที่แท้จริงได้แล้ว อุ่นเครื่องรอ พระยาธรรมิกราช ท่านอุบัติขึ้นแล้ว

อิสระพุทธโธ

158 วัฏสงสารที่ไม่มีเบื้องต้นเบื้องปลาย

ปัญหา เราอาจจะทราบได้ไหมว่า เราเริ่มเกิดขึ้นในวัฏสงสารเมื่อใดและจะสิ้นสุดลงเมื่อใด ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัวทอนหญ้าไม้ กิ่งไม้ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดมัดละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่านี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเราโดยลำดับ มารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่าหญ้าไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไปข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฏพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้"

ติณกัฏฐสูตร นิ. สํ. (๔๒๑-๔๒๒)
ตบ. ๑๖ : ๒๑๒ ตท. ๑๖ : ๑๙๙
ตอ. K.S. II : ๑๑๘-๑๑๙

นาคครุฆ

ตัวแทนพระพุทธเจ้า


พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น
โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต, โส โว มมจฺจเยน สตฺถา ธรรมก็ดี วินัยก็ดี อันใด อันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ, ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา

นาคครุฆ

พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ครั้งหนึ่งว่า พระธรรมวินัยจะเป็นศาสดาแทนพระองค์ภายหลังที่พระองค์ล่วงลับไปแล้ว[2] พระไตรปิฎกจึงเปรียบเสมือนตัวแทนของพระพุทธองค์ และเป็นที่ที่ชาวพุทธสามารถเข้าเฝ้าพระศาสดาของตน [3] พุทธศาสนิกชนสามารถศึกษาปริยัติศาสน์จากพระไตรปิฎก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนให้พ้นจากความทุกข์ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาสืบไป