ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

โรคแพนิค วิตกแค่ไหนถึงเรียกได้ว่า “ป่วย”

เริ่มโดย Synchai, 16:48 น. 22 พ.ย 64

Synchai

"โรคแพนิค" หรือ Panic Disorder เป็นอาการป่วยทางจิตเวชที่เริ่มมีมาให้ได้ยินบ่อยขึ้นไม่แพ้ความเจ็บป่วยทางจิตเวชโรคอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า หรือโรคไบโพราลาร์ แล้วอาการแบบไหนที่รุนแรงถึงขั้นเรียกได้ว่า "ป่วย" หรือมีแนวโน้มที่จะป่วย และต้องได้รับการบำบัดรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ สินมั่นคงประกันสุขภาพ จะพาไปทำความรู้จักกับ "โรคแพนิค"

โรคแพนิคคืออะไร?

โรคแพนิค หรือ Panic Disorder มักเกิดกับผู้ป่วยในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและสามารถเกิดร่วมกับโรคอื่นได้ เช่น โรคซึมเศร้า สาเหตุของโรคนี้เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ (automatic nervous system) ในสมองทำงานผิดปกติ โดยมีปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแบ่งออกได้ดังนี้

1. สาเหตุจากร่างกาย  ได้แก่
• ปัจจัยด้านพันธุกรรม : ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรควิตกกังวล มีโอกาสเกิดอาการได้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติป่วยด้วยโรคจิตเวชในเครือญาติ
• ปัจจัยด้านฮอร์โมนในร่างกาย : ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง อาจทำให้สารเคมีในสมองเสียสมดุลจนการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ เกิดเป็นโรคแพนิคได้

2. สาเหตุทางจิตใจ ได้แก่
• ความเครียด  ความวิตกกังวล พฤติกรรมหลายอย่างในชีวิตประจำวัน เป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพนิคได้  เช่น การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ การทำงานกับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรืออยู่กับมือถือเป็นเวลานาน พักผ่อนน้อย ไม่ออกกำลังกาย หรือต้องเผชิญกับสภาวะกดดัน
• ผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง เช่น การสูญเสีย การผิดหวังอย่างรุนแรง

อาการแบบไหน? เรียกว่า โรคแพนิค

ผู้ป่วยโรคแพนิค มักมีอาการดังต่อไปนี้

1. มักมีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อแตก ตัวสั่น รู้สึกหายใจไม่อิ่ม หายใจขัดข้อง ไม่สบายท้อง ปั่นป่วนในท้อง วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม อาการจะเกิดขึ้นประมาณ 15 – 20 นาทีแล้วค่อยๆ หายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
2. เกิดความรู้สึกถึงความผิดปกติทางร่างกาย อาจรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เหมือนกำลังมีอาการของโรคหัวใจหรือกำลังจะตาย
3. บางคนอาจพยายามโทรหาคนใกล้ชิดเพื่อให้พาไปโรงพยาบาล แต่เมื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ กลับไม่พบความผิดปกติ หัวใจเต้นเป็นปกติ แต่ไม่นานก็กลับมามีอาการแบบเดิมอีก
4. บางคนมักไม่กล้าอยู่คนเดียวเพราะเกรงว่าอาจะมีอาการขึ้นมาอีก หากเกิดเหตุผิดปกติจะรู้สึกเหมือนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
อาการของโรคแพนิค อาจสามารถพบได้ในโรคอื่นด้วยเช่นกัน ทั้งโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ โรคไมเกรน โรคลมชักบางประเภท และสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้สารบางอย่างกระตุ้นระบบประสาทในสมอง เช่น คาเฟอีน แต่หากได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และไม่พบว่าป่วยเป็นโรคดังกล่าวแล้ว อาจสงสัยได้ว่า กำลังป่วยเป็นโรคแพนิค หรือสามารถทำแบบประเมินอาการของโรคแพนิคในเบื้องต้นได้ที่ https://www.manarom.com/test/panic_disorder_thai.html 

โรคแพนิครักษาอย่างไร ?

การรักษาโรคแพนิค แบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ

1. การรักษาด้วยยา

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมองเป็นสาเหตุของการเกิดโรคแพนิค ดังนั้นการรับประทานยาเพื่อปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมองจึงมีความจำเป็น และใช้เวลาในการรักษาประมาณ 8-12 เดือน ขึ้นอยู่กับปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคของแต่ละบุคคล จากการศึกษาพบว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ที่เป็นโรคนี้ สามารถหายขาดได้

2. การรักษาทางใจ คือการทำจิตบำบัดประเภทปรับความคิดและพฤติกรรม ซึ่งมีหลากหลายวิธี เช่น
• ฝึกหายใจในผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่ม ด้วยการหายใจเข้า – ออกลึก ๆ ช้า ๆ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการ หายใจเข้าให้ท้องป่องและหายใจออกให้ท้องยุบในจังหวะที่ช้า ซึ่งจะทำให้ร่างกายค่อย ๆ ปรับตัว หลังจากนั้นร่างกายจะเริ่มผ่อนคลายและอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นจนหายไปเอง
• รู้เท่าทันอารมณ์ของตน ตั้งสติ บอกกับตัวเองว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นแค่เรื่องชั่วคราว สามารถหายได้และไม่อันตรายถึงชีวิต
• ฝึกคลายกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะ หรือปวดตึงกล้ามเนื้อ

โรคแพนิค แม้จะไม่นับเป็นโรคที่ทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็ทำให้เกิดความกังวลกับผู้ป่วยและกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน การรักษาโรคแพนิคจึงควรต้องรักษาทั้งสองด้านควบคู่กันไปทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยการศึกษาวิจัยพบว่าการรักษาด้วยยาควบคู่ไปกับการรักษาทางด้านจิตใจจะเป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด

ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ แล้วให้ประกันสุขภาพตามฟิต ตามก้าว ช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพให้ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง (ฟิตกว่า) เสี่ยงน้อยกว่า จ่ายเบี้ยน้อยกว่า ยิ่งก้าว เบี้ยยิ่งลด รับส่วนลดสูงสุดถึง 20% สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/producthealthdetail/1 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance