ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยร้ายของคนอายุ 50 ปีขึ้นไป

เริ่มโดย moomai muna, 09:48 น. 31 มี.ค 55

moomai muna

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยร้ายของคนอายุ 50 ปีขึ้นไป


[attach=1]


     ในปัจจุบันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 4 ของโลก เป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 ของประชากรในประเทศสหรัฐอเมริกา ในส่วนของประเทศไทยเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของในเพศชาย และ อันดับ 5 ในเพศหญิง

ส.เดี๋ยวโดน สาเหตุของโรคมะเร็ง แบ่งออกเป็น

            ส.อ่านหลังสือปัจจัยทั่วไป

ส.บายใจ 1. เกิดจากกรรมพันธุ์หรือ พันธุกรรม (คนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่)
ส.บายใจ 2. อาหาร อาหารที่มีไขมันสูง , แคลอรี่สูง , การสูบบุหรี่ ,ดื่มแอลกอฮอล์, การรับประทานอาหารที่มีใยอาหารต่ำ เพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
ส.บายใจ 3. ความเครียด
ส.บายใจ 4. เพศ : เพศชายมีความเสี่ยงมากกว่า เพศหญิง

ส.เดี๋ยวโดน อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่
ส.อ่านหลังสือ ท้องเสีย ท้องผูกหรือรู้สึกท้องอืด
ส.อ่านหลังสือ อุจจาระปนเลือดสดๆ หรือเลือดสีคล้ำมาก
ส.อ่านหลังสือ ลักษณะอุจจาระเรียวยาวกว่าปกติ
ส.อ่านหลังสือ ไม่สบายท้อง ปวดแสบร้อนท้อง อาหารไม่ย่อยและปวดเกร็ง
ส.อ่านหลังสือ น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
ส.อ่านหลังสือ อ่อนเพลียหรืออ่อนแรง
ส.อ่านหลังสือ ซีด โลหิตจาง

ส.เดี๋ยวโดน แนวทางในการลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่
ส.อ่านหลังสือ 1. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ส.อ่านหลังสือ 2. การบริโภคอาหารที่มีกากใยสูง
ส.อ่านหลังสือ 3. การควบคุมน้ำหนัก
ส.อ่านหลังสือ 4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
ส.อ่านหลังสือ 5. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ส.เดี๋ยวโดน การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

      โดยทั่วไปมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแรกมักไม่มีอาการผิดปกติใดๆ สามารถตรวจเนื้องอกที่กำลังจะกลายเป็นมะเร็งและให้การรักษาได้ การตรวจขึ้นอยู่กับอายุและประวัติทางครอบครัว รวมถึงความเสี่ยงต่างๆข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว

ส.เดี๋ยวโดน ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

         ส.อ่านหลังสือกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่

- ผู้ที่มีประวัติเคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือเคยมี
- เคยเป็นเนื้องอกชนิด adenoma
- ประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 60 ปี
- มีประวัติป่วยเป็นลำไส้อักเสบเรื้อรัง
- มีโรคพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งลำไส้ใหญ่
(สำหรับการตรวจด้วยเครื่อง PET-CT ในคนทั่วไปยังอยู่ระหว่างการวิจัยถึงข้อดีและข้อเสีย รวมถึงความคุ้มค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากการตรวจนี้ )

        ส.อ่านหลังสือ กลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยง ได้แก่

- ชาย หรือ หญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

ส.เดี๋ยวโดน วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีหลายวิธีดังนี้

- การตรวจหาเลือดในอุจจาระปีละ 1 ครั้ง
- การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลายทุกๆ 5 ปี
- การตรวจหาเลือดในอุจจาระปีละ 1 ครั้ง และการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลายทุกๆ 5 ปี
- การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทั้งหมดทุกๆ 10 ปี
- สวนแป้งทุกๆ 5 ปี.
(ไม่แนะนำตรวจเลือดเพื่อวัดระดับ CEA ในคนทั่วไปที่ยังไม่มีอาการผิดปกติ)

ส.เดี๋ยวโดน การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่


1. รักษาให้หายขาด ( Cure)
2. รักษาเพื่อประคับประคอง (Palliative)

ในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะประกอบด้วยทีมแพทย์สหสาขา ได้แก่ ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ อายุรแพทย์ มะเร็งวิทยา โดยมีวิธีการรักษา ดังนี้

- การผ่าตัด
- ฉายแสงรังสีรักษา
- การให้ยาเคมีบำบัด

ส.สู้ๆ หัวใจสำคัญของการรักษาโรคมะเร็งที่ควรทราบก็คือ  ส.สู้ๆ

    โรคมะเร็งแต่ละชนิด มีการดำเนินของโรค และความร้ายแรงแตกต่างกัน โอกาสดีที่สุดที่จะจัดการกับโรคมะเร็ง คือ ต้องรู้ให้เร็วที่สุด หรือ ตรวจคัดกรองก่อนที่จะเป็นการรักษาครั้งแรกมีความสำคัญมากที่สุด ความแข็งแกร่งของร่างกายและจิตใจ และความร่วมมือของผู้ป่วย มีผลต่อการรักษามา

    เมื่อพูดถึงโรคมะเร็งนั้น มีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่ป้องกันได้หรือรู้ได้ในระยะเริ่มต้นได้แก่มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปากมดลูกป้องกันโดยตรวจภายใน ทำPap Smear ปีละ 1 ครั้ง ส่วนมะเร็งลำไส้ใหญ่ป้องกันได้โดยมาส่องกล้องลำไส้ใหญ่(Colonoscopy)หรือ CT colonography ทุกๆ10 ปี แต่อย่างไรก็ตามถ้ารู้ว่าเราเป็นแล้วก็ต้องรีบรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้านลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เพื่อจะได้ผลการรักษาที่ดีที่สุดครับ



สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ. ธีรสันติ์ ตันติเตมิท
ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
โรงพยาบาลพญาไท 2


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  http://women.sanook.com/
[attach=2]