ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

กายภาพบำบัดกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ ฟื้นฟูอาการไว กลับมาเดินได้ปกติอย่างแน่นอน

เริ่มโดย Pangnap, 01:07 น. 31 ม.ค 65

Pangnap

กระดูกสะโพกหัก

กระดูกสะโพกหักก็มีชื่อตรงตามตัว คือ กระดูกบริเวณสะโพกหัก ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมาก เพราะสะโพกเป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างท่อนบนและท่อนล่างของเรา ทำให้การดำเนินกิจวัตรประจำวันมีอุปสรรคอย่างมาก กระดูกสะโพกหักเป็นอาการที่ร้ายแรงต้องได้รับการรักษาโดยด่วน ซึ่งต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น แต่รักษาควบคู่กับการกายภาพบำบัดกระดูกสะโพกหัก ซึ่งหลังจากพักฟื้นจนพอเหมาะแล้ว จะกลับมาเดินได้ปกติไวแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับความขยันในการทำกายภาพบำบัด

กระดูกสะโพกหัก คืออะไร ?

กระดูกสะโพกหัก (Hip Fracture) ส่วนใหญ่เป็นการแตกหักที่บริเวณคอกระดูกต้นขาซึ่งต่อกับกระดูกเชิงกราน เป็นภาวะที่พบได้มากในผู้สูงอายุ เพราะอายุที่มากขึ้นจะทำให้กระดูกของเราอ่อนเเอลง

กระดูกสะโพกหัก มีอาการอย่างไร ?

[attach=1]

เนื่องจากกระดูกสะโพกหักเป็นอาการที่รุนแรง จึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก โดยเราสามารถสังเกตอาการกระดูกสะโพกได้ง่ายๆ ดังนี้

- มีอาการปวด และเจ็บบริเวณสะโพกอย่างมาก
- ไม่สามารถลงน้ำที่ขาได้ ทำให้ไม่สามารถยืนได้
- บริเวณสะโพกมีอาการบวม และมีรอยฟกช้ำอย่างเห็นได้ชัด
- ขาข้างที่ติดกับกระดูกสะโพกหักจะสั้น ไม่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

ยิ่งโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ต้องคอยหมั่นสังเกตเป็นพิเศษ เพราะมีกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมาก อย่ามองข้ามว่าเป็นแค่อาการปวดธรรมดา หรือมองแค่ว่าเขาไม่มีแรงเดิน ควรรีบพบแพทย์เพื่อจะได้รีบรักษาให้ทันท่วงทีก่อนเกิดโรคแทรกซ้อนในภายหลัง ซึ่งโรคแทรกซ้อนที่จะตามมากับกระดูกสะโพกหัก ก็จะมีโรคปอดบวม โรคแผลกดทับ ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

กระดูกสะโพกหัก เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

โดยส่วนใหญ่แล้ว กระดูกสะโพกหักมักเกิดจากอุบัติเหตุต่างๆ เช่น หกล้ม หรืออุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่ทำให้สะโพกได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง จนทำให้กระดูกสะโพกหักได้ นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ เช่น เนื้องอก กระดูกพรุน หรือภาวะกระดูกติดเชื้อ ที่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้กระดูกสะโพกหักได้ง่าย

การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก

ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุและมีพบว่าอาการสะโพกหัก การปฐมพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักนับว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก โดยมีข้อควรระวังที่ต้องทำดังต่อไปนี้
- การปฐมพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก หรือกระดูกส่วนอื่นๆหัก ต้องยึดหลักเดียวกันเสมอคือ หลีกเลี่ยงไม่ให้บริเวณที่กระดูกหักกระทบกระเทือน
- หากมีความจำเป็นต้องถอดเสื้อผ้าออกให้ใช้วิธีการตัดเพียงเท่านั้น
- ถ้ามีอาการปวดบวมมาก สามารถประคบเย็นบรรเทาอาการเบื้องต้นได้
- ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยความระมัดระวัง ส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

กระดูกสะโพกหักเกิดกับใครได้บ้าง ?

กระดูกสะโพกหักมักเกิดได้มากที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นส่วนใหญ่ เพราะผู้สูงอายุมักจะมีกระดูกที่ไม่แข็งแรง และเสื่อมสภาพไปแล้ว เพียงแค่หกล้มก็อาจทำให้กระดูกสะโพกหักได้ และรวมไปถึงกระดูกส่วนอื่นๆอีกด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ กระดูกสะโพกหัก

นอกจากอายุที่มากขึ้นทำให้กระดูกเสื่อมสภาพ ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้ยิ่งเสี่ยงต่ออาการกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ มีดังนี้
- ขาดสารอาหารที่สำคัญในการบำรุงกระดูก เช่นแคลเซียม
- ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงเท่าที่ควร
- การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะกระดูกพรุน ง่ายต่อการหัก
- มีการรับประทานยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาหม้อ ยาลูกกลอน ซึ่งไปมีผลกระทบต่อกระดูก

แนวทางการป้องกันกระดูกสะโพกหัก

เพื่อให้ผู้สูงอายุ หรือแม้แต่คนทั่วไปสามารถป้องกันไม่ให้กระดูกสะโพกหัก สิ่งที่ต้องมุ่งเน้นคือ การบำรุง และสร้างความแข็งแรงให้มวลกระดูก โดยมีวิธีการต่างๆ ดังนี้
- การออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน แต่สำหรับผู้สูงอายุ ให้ออกกำลังวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 - 5 วัน และไม่ออกกำลังจนหนักเกินไป วิธีที่ดีที่สุดคือ การเดิน ซึ่งเป็นการออกกำลังแบบที่ลงน้ำหนักไปยังช่วงขา ซึ่งช่วยป้องกันกระดูกสะโพกหักได้เป็นอย่างดี
- การรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วน และมุ่งเน้นไปที่สารอาหารประเภทแคลเซียม ที่ช่วยบำรุงให้มวลกระดูกมีความแข็งแรง
- งดการดื่มเหล้า และสูบบุหรี่ ไม่ใช่แค่เพื่อป้องกันกระดูกสะโพกหัก แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก หากทำได้
- การรับประทานยาต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรให้ดี เพราะยาบางตัวต้องควบคุมปริมาณการกิน เพื่อไม่ให้เกิดให้ผลกระทบอื่นๆต่อร่างกาย รวมไปถึงกระดูก
- ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เกินวันละ 2 แก้ว เพราะคาเฟอีนมีฤทธิ์ที่ขับแคลเซียมออกจากร่างกาย
- การใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท เพราะอุบัติเหตุทั้งในบ้าน และนอกบ้านอาจเป็นสาเหตุให้กระดูกสะโพกหัก หรือเป็นมากกว่านั้น เวลาอยู่ในบ้าน ควรจัดวางของให้ดี ไม่เกะกะขวางทางจนอาจเป็นเหตุ ให้สะดุดหกล้มได้

การรักษากระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ

การรักษากระดูกหักสำหรับผู้สูงอายุมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ

การรักษากระดูกสะโพกหักแบบผ่าตัด

เป็นวิธีการที่ดีที่สุด ได้ผลเร็วที่สุด และได้รับความนิยมมากที่สุด การผ่าตัดควรเริ่มลงมือให้เร็วที่สุด ภายใน 24 - 48 ชั่วโมง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยมีการผ่าตัด 2 แบบ

1. การผ่าตัดแบบยึดตรึงกระดูก : ผ่าตัดโดยจะทำการตรึงกระดูกภายใน
2. การผ่าตัดใส่สะโพกเทียม : เป็นผ่าตัดสำหรับกรณีคนไข้ที่มีภาวะกระดูกพรุนมาก จนไม่สามารถทำการตรึงกระดูกได้

การรักษากระดูกสะโพกหักแบบไม่ผ่าตัด

สำหรับกรณีผู้สูงอายุที่ไม่ยอมรับการผ่าตัด หรือไม่สามารถผ่าตัดได้ ยังมีวิธีการรักษาแบบอื่นอยู่ โดยการรักษาแบบไม่ผ่าตัดจะเป็นการรักษาแบบประคับประคอง โดยการใช้เครื่องดึงถ่วงน้ำหนัก (Skin traction) โดยต้องใช้ระยะเวลานานกว่า 6 สัปดาห์เพื่อรักษา

กายภาพบำบัดกระดูกสะโพกหัก

การทำกายภาพบำบัดกระดูกสะโพกหัก มีความจำเป็๋นอย่างมากสำหรับผู้ที่พึ่งผ่านการผ่าตัดรักษากระดูกสะโพกหัก ยิ่งโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ต้องให้ความสำคัญกับการกายภาพบำบัด และการพยาบาลผู้ป่วยกระดูก สะโพกหักด้วย โดยจะมีขั้นตอน ดังนี้

หลังผ่าตัดกระดูกสะโพกหัก ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกบริหารปอด และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ
ฝึกการเดิน โดยใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน เพื่อให้มีความคุ้นชินกับการใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เพราะร่างกายยังต้องการพักฟื้น ไม่ควรเดินเองโดยขาดอุปกรณ์ช่วย
หากผู้ป่วยสามารถนั่ง ยืน หรือเดิน ได้จนคล่องแล้ว นักกายภาพบำบัดจะเริ่มจัดคอร์สการออกกำลังกาย โดยอ้างอิงจากสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้สะโพก ป้องกันการเคลื่อนของสะโพก และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด

หลังจากการผ่าตัด แล้วการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก ก็จะมีการคอยดูแลว่าการนอนถูกท่าหรือไม่ ช่วง 3 เดือนแรก หลีกเลี่ยงการนอนตะแคง คอยทำความสะอาดแผลผ่าตัดอย่างสม่ำเสมอ ทำกายภาพบำบัดกระดูกสะโพกหักตามแผนที่กำหนดไว้ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมหนักๆที่เสี่ยงให้มีอาการบาดเจ็บได้

ท่าบริหารสำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก

สำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก หลังจากได้รับการรักษาจนฟื้นตัวได้ในระยะนึงแล้ว การทำกายภาพบำบัดเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กระดูกสะโพกเป็นสิ่งสำคัญตามที่กล่าวไว้ข้างต้น และวันนี้เรามีท่าบริหาร สำหรับทำกายภาพบำบัดกระดูกสะโพกหัก ดังนี้

ท่าที่ 1
ใช้หมอนช่วยหนุนไว้ใต้เข่าให้สูง กระดกข้อเท้าขึ้นลง ทั้งหมด 30 ครั้ง

ท่าที่ 2
นอนหงายและให้ขาทั้งสองข้างวางราบกับพื้น โดยมีผ้าวางรองใต้เข่า ออกแรงกดเข่าทีละข้าง ให้รู้สึกว่าหลังเข่าสับผัสกับผ้าแล้ว จากนั้นเกร็งค้างไว้ 10 วินาที ทำข้างละ 3 ครั้ง

ท่าที่ 3
นอนหงายเหยียดขา จากนั้นงอเข่าเข้าหาตัว ตั้งฉากขึ้นมา 90 องศา โดยให้ส้นเท้าลอยขึ้นจากพื้นเล็กน้อย ทำสลับซ้ายขวา ข้างละ 10 ครั้ง

ท่าที่ 4
นอนหงายชันเข่าขึ้นมาข้างนึง ฝ่าเท้าแนบพื้น จากนั้นให้ขาอีกข้างเหยียดตรง ค่อยๆยกขึ้น และวางลง ทำสลับกัน ข้างละ 10 ครั้ง

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับ กระดูกสะโพกหัก และ กายภาพบำบัดกระดูกสะโพกหัก

กระดูกสะโพกหักใช้เวลานานไหม ถึงจะหาย


โดยประมาณแล้ว อาการกระดูกสะโพกหัก จะหายเป็นปกติหลังจากเสร็จสิ้นการรักษา นับไปอีก 12 สัปดาห์ ซึ่งอยู่กับสภาพร่างกาย และความขยันในการทำกายภาพบำบัดกระดูกสะโพกหักของแต่ละคน
หลังจากทำการรักษาแล้วจะกลับมาเดินได้ปกติไหม
สามารถเดินได้เป็นปกติ แต่ก็ขึ้นอยู่กับการพักฟื้น และการดูแลตัวเองหลังผ่านการรักษแล้ว ว่าทำตามที่แพทย์สั่งมากน้อยแค่ไหน

กระดูกสะโพกหัก วัยรุ่น สามารถเกิดได้ไหม

กระดูกสะโพกหักสามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย เพียงแค่กลุ่มผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงที่สุด วัยรุ่นเองก็สามารถเกิดได้ หากขาดสารอาหารที่บำรุงกระดูก เมื่อเกิดอุบัติเหตุก็อาจกระดูกสะโพกหักได้เช่นกัน

[attach=2]

สรุป
สะโพกเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน ทั้งเดิน ยืน นั่ง ก้ม และอื่นๆ ล้วนต้องใช้สะโพก ดังนั้นหากกระดูกสะโพกหัก ย่อมเป็นอุปสรรคอย่างแน่นอน ดังนั้นแล้วเราต้องคอยระมัดระวังตัวเอง รวมทั้งผู้สูงอายุที่บ้าน ทานอาหารให้ได้สารอาหารครบ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และใช้ชีวิตอย่างมีสติตลอดเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ เพียงแค่นี้เราก็จะห่างจากอาการกระดูกสะโพกหักอย่างแน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.sarirarak.com//single-post/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%81