ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

อยากได้ลูกแฝด แต่ถ้าไม่มีเชื้อแฝด มีลูกแฝดได้ไหม?

เริ่มโดย daisydaily, 11:01 น. 21 มี.ค 65

daisydaily

การได้เป็นคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกเดี่ยวก็นับว่าเป็นความรู้สึกที่พิเศษสุดแล้ว แต่เชื่อว่ายังมีคุณแม่อีกหลาย ๆ คนอยากได้ลูกแฝด และอยากทำลูกแฝด เพราะคิดว่ายอมเหนื่อยในการเลี้ยงลูกแฝดไปเลย 2 เท่าในคราวเดียว แต่ทั้งนี้การอยากมีลูกแฝดนั้นต้องอาศัยปัจจัยอะไรบ้าง และถ้าไม่มีเชื้อแฝด มีลูกแฝดได้ไหม?

[attach=1]


ลูกแฝด (Multiple Pregnancy)

สำหรับครอบครัวที่มีความพร้อมไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าใช้จ่าย หรือผู้ช่วยเลี้ยง แนวความคิดในการมี ลูกแฝด ไม่ว่าจะแฝด 2, แฝด 3 หรือแฝดชายหญิงก็ตาม นับเป็นแนวความคิดในการเติมเต็มความสุขของครอบครัวในลำดับต้น ๆ เลยทีเดียว แต่การตั้งครรภ์ลูกแฝดโดยเฉพาะช่วงไตรมาส 2-3 คุณแม่อาจต้องเสี่ยงกับภาวะแทรกซ้อนได้ หากคุณแม่มีร่างกายที่ไม่แข็งแรงมากพอ


อัตราการเกิดลูกแฝด

ประเทศไทยมีสถิติการเกิดลูกแฝด 2 ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งแฝดชายหญิง นั้นเป็นกรณีที่พบได้มากที่สุด โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ 1:89 แปลว่า จากจำนวนคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เดี่ยว 89 ราย จะพบครรภ์แฝดสอง 1 ราย, ครรภ์แฝด 3 พบได้ในอัตราส่วน 1:892 หรือราว ๆ 1:7,921 ราย และสุดท้ายแฝด 4 พบในอัตราส่วน 1:704,969 ราย

ทั้งนี้ โอกาสในการตั้งครรภ์แฝดนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยหลาย ๆ ปัจจัย ดังนี้
  • คุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี เนื่องจากฮอร์โมนมีความแปรปรวน ทำให้ไข่ตกมากกว่า 1 ฟองต่อครั้ง
  • ผู้ที่ใช้เทคนิคการผสมเทียม หรือเด็กหลอดแก้ว
  • กรรมพันธุ์ที่คนในครอบครัวเคยมีลูกแฝด
  • คุณแม่ที่มีลูกมาแล้วหลายคน เนื่องจากจะมีไข่ตกมากขึ้น
  • คุณแม่ที่มีรูปร่างสูง
  • คุณแม่ที่มีพี่หรือน้องเป็นฝาแฝด


ชนิดของการตั้งครรภ์ลูกแฝด

การตั้งครรภ์ลูกแฝด แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่

ลูกแฝดแท้

เป็นการท้องลูกแฝดที่เกิดจากการปฏิสนธิของไข่ 1 ฟอง และสเปิร์ม 1 ตัว โดยตัวอ่อนจะมีการแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยมีลักษณะที่เหมือนกันทุกอย่าง ทั้งคู่จะใช้รกและอยู่ในถุงน้ำคร่ำเดียวกัน

ลูกแฝดเทียม

เกิดจากการปฏิสนธิของไข่ 2 ฟอง กับสเปิร์ม 2 ตัว ตัวอ่อนแต่ละตัวจะต่างคนต่างฝังในมดลก และเจริญเติบโตจากรกของตัวเอง แฝดเทียมจะมีลักษณะไม่เหมือนกัน 100% หน้าตาจะคล้ายกันเหมือนพี่น้อง และอาจจะต่างเพศก็ได้


ข้อดี – ข้อจำกัดของการมีลูกแฝด

ข้อดีของการมีลูกแฝด

  • ได้เห็นความน่ารักของลูกที่หน้าตาเหมือนกันเป็น 2 เท่า ในกรณีที่เป็นแฝดแท้
  • เขาทั้งคู่จะเป็นเหมือนพี่น้อง เพื่อนสนิท สามารถเป็นที่ปรึกษาให้กันและกันได้
  • ใช้สิ่งของร่วมกันได้ แต่อาจจะไม่ได้เป็นเหมือนกันทุกคู่ เพราะบางคู่ก็มีความชอบที่ต่างกัน
ข้อจำกัดของการมีลูกแฝด

  • เคลื่อนไหวได้ลำบาก โดยเฉพาะไตรมาส 2-3 ด้วยน้ำหนักครรภ์ที่มากขึ้น ทำให้หายใจลำบาก และเหนื่อยง่าย
  • มีภาวะเสี่ยงตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ตลอดจนหลังคลอด เนื่องจากบางรายอาจมีการสูญเสียลูกไป 1 คน หรืออาจ 2 คนขณะคลอด
  • มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากแพทย์ต้องนัดตรวจครรภ์ถี่กว่าคุณแม่ทั่วไป
  • อาจได้แฝดเทียมมากกว่าแฝดแท้ หากใช้การผสมเทียม
  • ปัญหาในการเลี้ยงลูก เพราะลูกแฝดมักจะเจอกับการถูกเปรียบเทียบเสมอ คุณแม่ต้องมีเทคนิคในการเลี้ยงดูแบบไม่ให้ใครรู้สึกว่าตัวเองด้อยกว่า
  • ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย คุณแม่ต้องเตรียมจ่ายมากเป็น 2 เท่า


ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดการตั้งครรภ์ลูกแฝด

คุณแม่ที่ท้องลูกแฝด จะมีโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายกว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เดี่ยว โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

[attach=2]

ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์

มีโอกาสเกิดภาวะความดันโลหิตสูง และครรภ์เป็นพิษได้มากกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์เดี่ยว 2-3 เท่า, รกลอกตัวก่อนกำหนด, เสี่ยงต่อสายสะดือพันรอบคอทารก และเสี่ยงแท้งลูกได้

ภาวะแทรกซ้อนขณะคลอด

หากคุณแม่มีการคลอดก่อนกำหนดมาก ๆ ประมาณ 3-4 สัปดาห์ จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในทารกได้ เช่น ปอดทารกยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ เป็นโรคปอดเรื้อรัง และมีปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด

เกิดการตกเลือด, ทารกมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้


ปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสได้ลูกแฝด
  • กรรมพันธุ์: มีคนในครอบครัวมีประวัติในการมีลูกแฝดมาก่อน โดยถ้าเป็นฝ่ายหญิงจะมีโอกาสมากกว่า
  • เชื้อชาติ: คนผิวสีจะมีโอกาสได้ลูกแฝดมากกว่าคนสีอื่น ๆ
  • จำนวนการตั้งครรภ์: ผู้ที่เคยมีลูกมาก่อนแล้วหลายคน
  • อายุของคุณแม่: ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี เนื่องจากมีการหลั่งฮอร์โมนออกมาเยอะ ส่งผลให้ไข่ตกมากกว่า 1 ฟอง
  • น้ำหนักและส่วนสูง: ผู้ที่มีโรคอ้วน และรูปร่างสูง
  • ทานยาคุมมากกว่า 3 ปี: เมื่อหยุดยาจะทำให้ไข่ตกมากขึ้น จึงมีโอกาสท้องลูกแฝดได้มากขึ้น

[attach=3]


อยากมีลูกแฝด ต้องทำอย่างไร

ไม่มีเชื้อแฝด มีลูกแฝดได้ไหม

คุณแม่ที่อยากได้ลูกแฝดแบบธรรมชาติแต่ไม่มีปัจจัยใดที่เอื้ออำนวยมาก่อนเลย เปอร์เซ็นต์การจะได้ลูกแฝดนั้นยากมาก ยกเว้นว่าจะใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยอย่างการทำเด็กหลอดแก้ว, IVF หรือ ICSI แต่ทั้งนี้ ด้วยวัตถุประสงค์ของการผสมเทียมนั้น มุ่งรักษาผู้ที่มีลูกยาก ไม่ได้มุ่งให้เกิดการตั้งครรภ์แฝด ไม่ว่าจะแฝด 3 หรือแฝดชายหญิง

หลาย ๆ ครอบครัวที่อยากได้ลูกแฝด แต่ไม่มีเชื้อแฝดเลย การทำเด็กหลอดแก้วช่วยได้ แต่ไม่ควรคาดหวังกับการมีลูกแฝดมากเกินไป วัตถุประสงค์หลักของการทำเด็กหลอดแก้วนั้นไม่ได้เป็นไปเพื่อการทำลูกแฝด แต่เป็นเพียงการรักษาภาวะผู้มีลูกยากเท่านั้น ที่สำคัญ หากร่างกายคุณแม่ไม่แข็งแรงพอ การมีลูกแฝดยังเสี่ยงต่อผลกระทบในด้านลบทั้งต่อตัวคุณแม่และลูกในครรภ์อีกด้วย