ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เชื้อราในช่องคลอด เกิดจากอะไร เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

เริ่มโดย daisydaily, 19:18 น. 25 มี.ค 65

daisydaily

    สำหรับผู้หญิงที่พบว่าตัวเองมีตกขาวมากผิดปกติ มีอาการระคายเคือง และคันที่ช่องคลอด นั่นแปลว่าในช่องคลอดหรือปากช่องคลอดมีเชื้อราเป็นจำนวนมาก เชื้อราในช่องคลอด เกิดจากอะไร? เชื้อราในช่องคลอด อาการเป็นอย่างไร? เชื้อราในช่องคลอด อันตรายไหม? และเมื่อไหร่ควรพบแพทย์ วันนี้จะไปไขข้อข้องใจกันค่ะ

[attach=1]


เชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Candidiasis)

เชื้อราในช่องคลอด เป็นปัญหาที่ผู้หญิงจำนวน 3 ใน 4 มักพบได้บ่อย เป็นอาการที่ช่องคลอดเกิดการอักเสบ จนทำให้เกิดอาการคัน และบวม รวมถึงเกิดการตกขาวมากกว่าปกติ


เชื้อราในช่องคลอดเกิดจากสาเหตุใด

เชื้อราในช่องคลอด เกิดจากภาวะของเชื้อราที่มีชื่อว่า แคดิดา แอลบิแคนส์ (Candida Albicans) มีการเติบโตมากผิดปกติ ทำให้แบคทีเรียดีในช่องคลอดไม่สามารถควบคุมได้ ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง จึงเกิดการระคายเคือง และมีอาการคันอย่างรุนแรง

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดเชื้อราในช่องคลอด

ปัจจัยเสี่ยงที่พบได้บ่อย อาทิ ใช้ยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้แบคทีเรียดีสูญเสียสมดุล, ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้นจากการตั้งครรภ์, เป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น


เชื้อราในช่องคลอดเกิดกับใครได้บ้าง

เชื้อราในช่องคลอดมักพบมากในหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในภูมิประเทศที่มีอากาศร้อนชื้นสูง และผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานาน ผู้เป็นโรคเบาหวานแบบควบคุมไม่ได้ ผู้ที่ใส่กางเกงคับเกินไป และผู้ที่มีคู่นอนติดเชื้อรา


เชื้อราในช่องคลอดในหญิงตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มที่มีโอกาสเกิดเชื้อราในช่องคลอดได้ เนื่องจากช่วงที่ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะสูงขึ้นมาก ส่งผลให้ปริมาณสารไกลโคเจนที่จะถูกย่อยเป็นน้ำตาลกลูโคสในช่องคลอดสูงขึ้น ซึ่งน้ำตาลคือ อาหารที่เชื้อราชอบ จึงทำให้เชื้อราเติบโตได้ดี

"เชื้อราในช่องคลอด มีผลต่อทารกหรือเปล่า" ภาวะนี้ไม่มีผลใด ๆ ต่อทารกในครรภ์ค่ะ เพียงแต่คุณแม่จะรำคาญใจและทรมานกับอาการคันเท่านั้น


อาการของเชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอด อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่
  • คันในช่องคลอด หรือปากมดลูก
  • รู้สึกแสบ เจ็บ และบวมแดงบริเวณปากช่องคลอด
  • อวัยวะเพศบวมแดง
  • ตกขาวผิดปกติ คือ มีสีขาวข้นคล้ายนมบูด

[attach=2]


เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

เชื้อราในช่องคลอด อันตรายไหม? ทั่วไปแล้วเชื้อราในช่องคลอด กี่วันหาย? ถ้าเชื้อราในช่องคลอด เรื้อรัง ทำอย่างไรดี? อาการแบบไหนที่ควรพบแพทย์? ตามนี้เลยค่ะ
  • เคยเป็นครั้งแรก
  • กลับมาเป็นซ้ำภายใน 2 เดือน
  • อาการยังทรงอยู่ภายใน 3 วัน และไม่หาภายใน 7 วัน
  • คุณแม่ที่อยู่ในระยะให้นมบุตร
  • มีคู่นอนหลายคน
  • มีอายุต่ำกว่า 12 ปี พร้อมไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ และอาเจียนร่วมด้วย
  • ปวดท้อง
  • เคยแพ้ยาที่ใช้รักษาเชื้อราในช่องคลอด


การตรวจวินิจฉัยเชื้อราในช่องคลอด

โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคเชื้อราในช่องคลอดเป็นขั้นตอน ดังนี้

ตรวจเบื้องต้นด้วยการสอบประวัติ

แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น ลักษณะของตกขาว รวมถึงเคยมีประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือเคยเป็นโรคนี้มาก่อนหรือไม่

การตรวจภายใน

เริ่มจากการตรวจอวัยวะเพศภายนอกก่อน ซึ่งบางรายสามารถรู้สาเหตุได้เลย ในขณะที่บางรายต้องทำการตรวจภายในช่องคลอด เพื่อนำสารคัดหลั่งหรือตกขาวไปตรวจวิเคราะห์ในห้องแลปต่อไป

การเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่ง

จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการบ่อย หรือมีอาการเชื้อราในช่องคลอด เรื้อรัง ซึ่งเป็นการรักษาโรคที่ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น


วิธีรักษาเชื้อราในช่องคลอด

อาการ "เชื้อราในช่องคลอด หายเองได้ไหม" หากมีอาการไม่รุนแรงก็สามารถหายเองได้ค่ะ แต่ถ้ามีอาการมากหน่อย เชื้อราในช่องคลอด รักษาได้ด้วยการใช้ยาต้านเชื้อรา (Antifungal Drug) โดยยาจะมีหลายรูปแบบ ดังนี้

[attach=3]

การใช้ยาเฉพาะที่

จะเป็นในรูปแบบของครีม, ขี้ผึ้ง และยาสอด ได้แก่ ยาคลอไตรมาโซล (Clotrimazole), ยาไมโคโนโซล (Miconazole), ยาบูโตโคนาโซล (Butoconazole) และยาฟลูโคนาโซล (Fluconazole)

การใช้ยารับประทาน

เป็นยากินที่มีหลายตัวด้วยกัน ได้แก่
  • Itraconazole 200 mg กิน 2 ครั้งต่อวัน นาน 1 วัน
  • Fluconazole 100-200 mg กิน 1 ครั้ง หลังอาหาร และกินซ้ำวันที่ 4 และ 7 และเพื่อป้งอกันการเกิดซ้ำ ให้กิน 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกัน 6 เดือน
  • Ketoconazole 200 mg หากอาการไม่ดีขึ้นให้ปรับเป็น 400-600 mg กิน 2 ครั้งต่อวัน นาน 5 วัน

ยาที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นนี้ เหมาะกับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง และสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป โดยก่อนซื้อต้องแจ้งอาการและสอบถามรายละเอียดการใช้ยากับเภสัชกรก่อนทุกครั้ง แต่หากใช้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ค่ะ


ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีอาการเชื้อราในช่องคลอด

หากพบว่าตนเองมีอาการเชื้อราในช่องคลอดและไม่รุนแรง ควรใช้ผ้าอนามัยแบบแผ่นแทนแบบสอด, เลี่ยงการใช้สบู่หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดการระคายเคือง ควรใช้น้ำสะอาดแทน, ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด หากพบว่ามีอาการคัน ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบแทนการเกา

เป็นเชื้อราในช่องคลอด ห้ามกินอะไร

อาหารต้องห้าม ได้แก่ ชา, กาแฟ, อาหารประเภทแป้ง, น้ำตาล, นม, เนย, แอลกอฮอล์ และอาหารหมักดอง เหล่านี้เป็นอาหารโปรดของเชื้อรา ทำให้เชื้อราเติบโตได้ดี


ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากเชื้อราในช่องคลอด

โรคเชื้อราในช่องคลอดโดยมากแล้วจะมีโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้น้อยมาก ส่วนใหญ่ผิวหนังจะถลอกเป็นแผล ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้ออื่น ๆ ที่ผิวหนังมากกว่า บางรายอาจเกิดโรคเชื้อราในช่องคลอดซ้ำ ส่งผลให้โรคดื้อยาได้


วิธีป้องกันเชื้อราในช่องคลอด

การป้องกันเชื้อราในช่องคลอด สามารถทำได้ ดังนี้
  • สวมกางเกง หรือกางเกงชั้นในที่ไม่รัดแน่นเกินไป เนื้อผ้าต้องระบายอากาศได้ดี
  • เลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้จุดซ่อนเร้นระคายเคือง
  • ห้ามสวนล้างช่องคลอดบ่อยเกินไป
  • ทานอาหารประเภทโยเกิร์ตหรืออาหารเสริมที่มีส่วนผสมของแลคโตบาซิลลัสที่ช่วยปรับความสมดุลให้ช่องคลอด
  • ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็น
  • เมื่อมีประจำเดือน ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผ้าอนามัยแบบสอด


เชื้อราในช่องคลอดโดยมากแล้วมักจะไม่ได้มีโอกาสเกิดขึ้นไปบ่อย ๆ หากมีการรักษาความสะอาดเป็นอย่างดี แต่หากพบว่ามีอาการเชื้อราในช่องคลอด ยาต้านเชื้อราที่ได้กล่าวมาสามารถรักษาได้ในผู้ที่ไม่มีอาการุนแรง และควรหมั่นสังเกตตัวเองหากมีอาการปวดท้อง และมีอาการเรื้อรังอยู่ ควรปรึกษาแพทย์ทันทีค่ะ
[/list]