ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ฮอร์โมนเอสโตรเจน สูงและต่ำ จะส่งผลอย่างไรต่อผู้หญิง?

เริ่มโดย daisydaily, 11:40 น. 31 มี.ค 65

daisydaily

ฮอร์โมนเอสโตรเจนนับเป็นอีกหนึ่งฮอร์โมนที่สำคัญของเพศหญิง ทำหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ให้ทำงานได้อย่างปกติ ในขณะที่ผู้ชายก็มีฮอร์โมนชนิดนี้เช่นกันแต่จะมีน้อยกว่าผู้หญิง ถ้าฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงเกินไป จะส่งผลอย่างไร? ฮอร์โมนเอสโตรเจน หน้าที่หลัก ๆ คืออะไร? และอีกหลาย ๆ คำถาม วันนี้เรามีคำตอบค่ะ

[attach=1]

ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)

ฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ ฮอร์โมนเพศหญิงที่ร่างกายสามารถผลิตได้เองจากรังไข่เป็นหลัก ช่วยควบคุมระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงให้ทำงานได้อย่างปกติ รวมถึงกำหนดลักษณะทางเพศภายนอก เมื่ออายุมากขึ้นฮอร์โมนชนิดนี้จะผลิตได้น้อยลง หรือก็คือกลุ่มวัยทองนั่นเอง


ฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำหน้าที่อะไร

ฮอร์โมนชนิดนี้ นอกจากจะควบคุมระบบสืบพันธุ์แล้ว ฮอร์โมนเอสโตรเจน หน้าที่ที่สำคัญ สามารถแบ่งได้เป็นระบบ ดังนี้

ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ช่วยเพิ่มปริมาณไขมันดี (HDL) และลดไขมันเลว (LDL) ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด

ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ
ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมและลดการสลายตัวของแคลเซียมในร่างกาย ลดความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน

ระบบประสาทและสมอง
ช่วยให้มีความจำดี อารมณ์ไม่แปรปรวนง่าย


ความสำคัญของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

[attach=2]

ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ดังนี้
  • ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สะโพกผาย เต้านมขยาย และเสียงเล็กลง
  • ช่วยกระตุ้นให้ไข่ตก และมีประจำเดือน
  • ช่วยให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนา เตรียมพร้อมให้ตัวอ่อนฝังตัว และเติบโตเป็นทารกต่อไป
  • ควบคุมการทำงานของมดลูกให้พร้อมกับการตั้งครรภ์ มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น และให้มีเลือดมาเลี้ยงอย่างเพียงพอ
  • ช่วยให้ข้อต่อ และเส้นเอ็นมีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะอุ้งเชิงกราน เพื่อรองรับช่วงคลอด
  • ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารที่ทำงานได้ช้าลง เป็นเหตุให้คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องอืดง่าย
  • ยับยั้งการสลายตัวของแคลเซียม ลดความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน


ฮอร์โมนเอสโตรเจน กับ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

ฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มีหน้าที่ที่ทั้งเหมือนและต่างกัน ดังนี้

ฮอร์โมนเอสโตรเจน

เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ผลิตจากรังไข่และรก (ขณะตั้งครรภ์) หน้าที่หลัก คือ ควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง เตรียมพร้อมร่างกายของคุณแม่ให้เหมาะกับการตั้งครรภ์ และรองรับการคลอด

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ผลิตจากรังไข่และรกเช่นกัน แต่มีหน้าที่หลัก คือ ช่วยกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น เพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน


การวัดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน

การวัดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน มักเป็นการวัดเพื่อที่จะชี้ขาดว่าคุณมีความสามารถในการสืบพันธุ์, เพื่อตรวจความผิดปกติของรังไข่ และเพื่อตรวจดูว่าตัวอ่อนเติบโตได้ดีหรือไม่ โดยระดับฮอร์โมนสามารถอแบ่งได้เป็นช่วง ๆ ดังนี้
  • ช่วงอายุต่ำกว่า 6 ปี: ค่าฮอร์โมนอยู่ที่ 3 – 10  pg/ml
  • ช่วงตั้งครรภ์: ค่าฮอร์โมนอยู่ที่ 2 – 30 pg/ml
  • ช่วงหลังหมดประจำเดือน: ค่าฮอร์โมนอยู่ที่ 0 – 34 pg/ml
  • ช่วงก่อนหมดประจำเดือน: ค่าฮอร์โมนอยู่ที่ 26 – 149 pg/ml


ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงเกินไป ส่งผลเสียอย่างไร

หากในร่างกายมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงเกินไป อาจส่งผลเสียได้ เช่น อารมณ์แปรปรวน, เสี่ยงต่อโรคมะเร็งหลายชนิด และจะมีไขมันสะสมในร่างกายในปริมาณมาก เสี่ยงต่อโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด หากมีอาการรุนแรงอาจอันตรายถึงชีวิต

ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่สมดุล เกิดจากสาเหตุใด

สามารถเกิดได้หลายสาเหตุ ได้แก่ ความเครียดเรื้อรัง, น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น, อาหารที่ทาน, สารเคมีที่เข้าสู่ร่างกาย และการทานยาคุมกำเนิด เป็นต้น


ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ อาจทำให้มีลูกยาก

ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง ซึ่งกลุ่มของวัยทองจะเป็นกลุ่มพบว่ามีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ ส่งผลให้รังไข่เสื่อม ซึ่งแปลว่ารังไข่ก็จะไม่สามารถผลิตไข่ที่มีคุณภาพได้ เป็นเหตุให้มีลูกได้ยากนั่นเอง

อาการที่ส่งสัญญาณเตือนฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำกว่าปกติ
  • ประจำเดือนขาด หรือมาไม่ปกติ
  • ร้อนวูบวาบตามตัว
  • นอนไม่หลับ
  • เหงื่อออกในเวลากลางคืน
  • ช่องคลอดแห้ง
  • อารมณ์แปรปรวน
  • ปวดศีรษะ
  • ผิวแห้ง
สำหรับใครที่รู้สึกว่าตนเองมีอาการดังกล่าวแต่อยากมีลูก สามารถใช้วิธีการทางการแพทย์ช่วยทำเด็กหลอดแก้วได้ไม่ว่าจะเป็นการทำ IUI หรือ ICSI โดยสามารถเข้าปรึกษากับแพทย์ได้ทันทีค่ะ


วิธีบำรุงเสริมระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน

[attach=3]

หมดกังวลได้เลยค่ะ การเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน อาหารการกินก็สามารถช่วยได้ ดังนี้

การทานอาหารที่มีส่วนช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน

ได้แก่ เมล็ดแฟลกซ์, น้ำมะพร้าว, ผลไม้สด อาทิ มะขาม, ส้ม หรือมะนาว และที่ไม่ควรพลาดคือ ถั่วเหลือง เพราะอุดมไปด้วยโปรตีนในปริมาณสูง มีไฟโตเอสโตรเจนที่ทำหน้าที่คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม และโพแทสเซียม อีกด้วย

การใช้ฮอร์โมนเสริมทดแทน

แบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ยาทาน และยาฉีด ดังนี้

ยาทาน
  • รักษาภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ โดยทานวันละ 0.3-0.625 มิลลิกรัม ทุกรอบเดือน และอาจมีการปรับยาตามความเหมาะสมในช่วง 6-12 เดือน
  • รักษาภาวะช่องคลอดฝ่อ แสบ หรือคัน โดยทานยาวันละ 0.3 มิลลิกรัม
  • ป้องกันโรคกระดูกพรุน ทานยา 0.3 มิลลิกรัมต่อวันหรือต่อรอบเดือน
  • รักษาภาวะรังไข่หยุดทำงาน ทาน 1.25 มิลลิกรัมต่อวัน ทุกรอบเดือน
ยาฉีด

จะใช้รักษาผู้ที่มีภาวะเลือดออกในมดลูกแบบผิดปกติ โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อในปริมาณ 25 มิลลิกรัม และให้ซ้ำได้ในทุก 6-12 ชั่วโมง และอาจใช้ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนต่ำร่วมด้วย


ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นอีกหนึ่งฮอร์โมนของเพศหญิงที่มีความสำคัญไม่แพ้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งการมีฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูงไปหรือต่ำไปก็ไม่ส่งผลดีต่อผู้หญิงทั้งสิ้น แต่ก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจน อยู่ในอาหารต่าง ๆ มากมายตามที่ได้กล่าวไป ลองนำวิธีที่เราได้แนะนำในวันนี้ไปปรับใช้กันดูนะคะ แต่ถ้าสำหรับผู้ที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ แต่อยากมีลูกสามารถเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อการทำ IUI หรือ ICSI ได้ค่ะ