ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

แนะนำการตรวจหัวใจ ควรเริ่มอย่างไรดี รู้ทันป้องกันความเสี่ยง

เริ่มโดย daisydaily, 15:26 น. 03 พ.ค 65

daisydaily

โรคหัวใจ (Heart Disease) มักถูกใครหลายคนมองเป็นเรื่องไกลตัวแต่ที่จริงแล้วเป็นโรคที่ควรได้รับการใส่ใจดูแลอย่างมากเพราะเป็นอีกโรคร้ายแรงลำดับต้นๆที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในคนไทยไปเป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามโรคหัวใจเป็นโรคที่สามารถป้องกันและทำการรักษาให้หายได้ หากได้รับการตรวจหัวใจแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ได้รู้ถึงสุขภาพที่เป็นอยู่ว่าควรทำอย่างไรต่อไปและหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นก็จะสามารถเข้ารับการรักษาได้โดยทันที

[attach=1]


การตรวจหัวใจ

โรคหัวใจ (Heart Disease) คือโรคต่างๆที่อาการจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจทำให้เกิดความผิดปกติ ซึ่งในบางรายมีอาการแสดงออกให้รับรู้ เช่น เหนื่อยได้ง่าย หน้ามืด จนไปถึงเจ็บแน่นบริเวณหน้าอก แต่ในบางคนกลับแทบไม่มีอาการแสดงใดๆเกี่ยวกับโรคให้เห็นจนอาการกำเริบหนัก

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นจึงต้องมีการตรวจสุขภาพประจำปีและการตรวจหัวใจ เพื่อให้มั่นใจถึงสุขภาพ ซึ่งการตรวจหัวใจจะเริ่มจากการตั้งแต่เรื่องประวัติทั่วไปของคนไข้ การตรวจขั้นพื้นฐาน และเมื่อพิจารณาในขั้นพื้นฐานแล้วในบางรายอาจจะได้รับการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษอื่นๆเพื่อตวรจหัวใจขั้นต่อไปตามความเหมาะสม


ตรวจหัวใจ ช่วยวินิจฉัยโรคใดได้บ้าง

อย่างที่ได้อธิบายไปข้างต้นว่า โรคหัวใจ (Heart Disease)  เป็นชื่อของโรคต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องต่อทำงานของหัวใจโดยตรงทั้งหมด ซึ่งแต่ละโรคยังสามารถแบ่งตามตำแหน่งที่เกิดความผิดปกติของหัวใจและจากสาเหตุของการเกิดได้ โดยการตรวจหัวใจจะช่วยอธิบายให้ได้ทราบถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจมีอะไรบ้าง ดังนี้

1. โรคหลอดเลือดหัวใจ

เมื่อหลอดเลือดเกิดความผิดปกติไม่สามารถลำเลียงเลือดไปหมุนเวียนยังหัวใจและอวัยวะส่วนอื่นๆของร่างกายได้อย่างปกติจะก่อให้เกิดผลตามตามก็คือหัวใจขาดเลือด ทำให้เกิดอาการหายใจติดขัด เจ็บบริเวณหน้าอก หรืออาการขั้นรุนแรงถึงหัวใจวายได้เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้

โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจากก้อนไขมันจำนวนมากที่รวมตัวกันที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจทำให้เส้นเลือดตีบลง เมื่อผ่านไปเป็นเวลานาน ก้อนไขมันจะยิ่งหนามากขึ้นและไปขัดขวางการการลำเลียงเลือดให้ประสิทธิภาพลดลง อีกทั้งยังเสี่ยงต่อโรคอื่นๆตามมาอีกด้วย ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ คือ ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ผู้ที่เป็นโรคอ้วน เบาหวาน โรคความดันสูง และวัยผู้สูงอายุ

2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

เป็นโรคที่กล้ามเนื้อหัวใจมีความผิดปกติ ซึ่งอาจะเกิดได้ตั้งแต่กำเนิดหรือในภายหลังได้ โดยสามารถแบ่งลักษณะความผิดปกติได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้

กล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ : เป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรมที่พบมากที่สุดและมากในเพศหญิง กลุ่มคนผิวดำ รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตก็มีความเสี่ยงต่อโรคนี้เช่นกัน

กล้ามเนื้อหัวใจถูกบีบรัด : เป็นโรคไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างชัดเจนหรืออาจเกิดจากโรคบางชนิดแทรกอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อหัวใจ

กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม :  เป็นโรคที่การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง ทำให้ร่างกายต้องปรับขนาดหัวใจเพื่อเพิ่มปริมาณเลือดหมุนเวียนในหัวใจ ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้หัวใจจะโตกว่าปกติ โดยสาเหตุของโรคนี้สามารถเกิดได้จากการพันธุกรรม การไหลเวียนเลือดเข้าหัวใจน้อยลง หรือการติดเชื้อ รวมไปถึงการได้รับยาบางชนิด เช่น ยารักษามะเร็ง

3. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

เป็นโรคที่มีความความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ ทำให้หัวใจมีจังหวะการเต้นที่ผิดปกติไป อย่างเช่น หัวใจเต้นช้าผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หรือหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการสูบฉีดเลือดของหัวใจ

โดยสาเหตุของการเกิดโรคนี้โดยหลักๆเกิดจากโรคทางหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ความดันโลหิตสูงหรือโรคอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน รวมไปถึงเกิดได้จากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ สารเสพติดบางชนิดที่มีแอมเฟตามีน หรือการใช้ยาลดความอ้วนที่มีสารไซบูทรามีนเป็นส่วนประกอบ และที่มองข้ามไม่ได้เลยคือจากพันธุกรรมจากสายเลือด

4. โรคลิ้นหัวใจ

ซึ่งมีสาเหตุอาจเกิดมาจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนจากชนิดอื่น เช่น เยื่อบุหัวใจอักเสบ หรือโรครูมาติกที่เป็นพบได้มากที่สุด รวมถึงการเสื่อมสภาพตามอายุ

5. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

โรคนี้หัวใจจะมีรูปร่างที่ไม่สมบูรณ์ เกิดได้จากทั้งความผิดปกติจากพันธุกรรมและจากความผิดปกติตั้งแต่การเจริญเติบโตในครรภ์ของมารดา ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในครรภ์ หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมารดาระหว่างตั้งครรภ์

6. โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ

มักเกิดจากสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส ปรสิต การใช้สารเสพติด รวมไปจนถึงการทำหัตถการทางการแพทย์ ทำให้เกิดการติดเชื้อตามมา โดยผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย มีไข้และเป็นแบบเรื้อรัง มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง


การตรวจหัวใจ มีอะไรบ้าง

เนื่องจากโรคหัวใจมีปัจจัยเสี่ยงที่เกิดหลากหลาย ดังนั้นการตรวจหัวใจจึงมีการตรวจอย่างเป็นขั้นตอน  โดยทุกครั้งจะเริ่มจากการตรวจหัวใจแบบพื้นฐานเสียก่อน และตรวจหัวใจโดยใช้เครื่องมือพิเศษเพื่อเป็นการตรวจหัวใจได้อย่างละเอียดและมีความแม่นยำ

สำหรับการตรวจหัวใจขั้นพื้นฐาน แพทย์จะสอบถามประวัติสุขภาพในเบื้องของผู้ป่วยรวมไปถึงบุคคลในครอบครัวถึงปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหัวใจ ตั้งแต่โรคประจำตัวมีความเสี่ยงหรือไม่และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การดื่มแอลกอฮอร์หรือคาเฟอีน การใช้ยา ต่อจากนั้นแพทย์จะตรวจร่างกายโดยเบื้องต้น เช่น น้ำหนัก-ส่วนสูง เพื่อคำนวณถึงภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือไม่ วัดชีพจรเต้นและความสม่ำเสมอของการเต้นหัวใจ รวมไปถึงการฟังเสียงการเต้นหัวใจว่ามีเสียงที่ผิดปกติบ้างหรือไม่
   
เมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจหัวใจขั้นพื้นฐาน และแพทย์ได้วินิจฉัยออกมาว่าผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจหัวใจเพิ่มเติมด้วยการใช้เครื่องมือพิเศษตามความเหมาะสม โดยรายละเอียดการตรวจต่างๆจะกล่าวในหัวข้อส่วนที่อยู่ถัดไปจากนี้


การตรวจหัวใจแบบพื้นฐาน

[attach=2]

เมื่อผู้ป่วยที่สงสัยต่อความผิดปกติหัวใจของตนได้รับเข้ารับการตรวจหัวใจในขั้นพื้นฐาน และแพทย์ได้วิประเมินผลออกแล้วว่าหัวใจมีความผิดปกติเกิดขึ้น จะทำการส่งตรวจไปยังเครื่องมือพิเศษในการตรวจครั้งถัดไปเพื่อหาที่มาของอาการได้แม่นยำมากขึ้น โดยขั้นตอนการตรวจหัวใจขั้นพื้นฐานมีดังต่อไปนี้

1. การตรวจร่างกายทั่วไป

การตรวจขั้นพื้นฐานนี้ก็เพื่อต้องการรู้ถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย โดยต้องทราบไปตั้งแต่น้ำหนัก-ส่วนสูง เพื่อหาภาวะอ้วนว่าเกินมาตรฐานหรือไม่ เช็คความดันโลหิต เช็คจับชีพจรของหัวใจเพื่อดูอัตราและความสม่ำเสมอของการเต้นหัวใจ ฟังเสียงหัวใจว่ามีเสียงผิดปกติหรือไม่ และการตรวจร่างกายทั้งระบบ รวมไปถึงโรคอื่นๆที่อาจมีความเกี่ยวข้องร่วมด้วย แพทย์ขะการสอบถามถึงประวัติด้านสุขภาพและพฤติกรรมมีที่ความเสี่ยงต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และพฤติกรรมการออกกำลังกาย รวมไปถึงข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้องบุคคลภายในครอบครัวอีกด้วย

2. การตรวจระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด

โดยวิธีนี้แพทย์จะใช้เลือดที่เจาะไปตรวจวัดระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือด เพราะจากสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจในบางโรคเกิดขึ้นจากระดับไขมันในร่างกายสูง ที่อาจก่อให้ไปอุดตุนหลอดเลืืดที่จะไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้  และระดับน้ำตาลที่มากเกินไปก็ส่งผลภาวะน้ำหนักเกินจนเกิดโรคอ้วน หรือส่งผลไปยังโรคอื่นๆที่ร้ายแรงใรอนาคตอีกมากมายได้

3. การเอกซเรย์ปอดและหัวใจ
   
การเอกซเรย์ปอดและหัวใจจะทำให้เห็นถึงความผิดปกติภายในที่เกิดขึ้นของปอดและหัวใจ การกระจายตัวของเลือดภายในปอด ภาวะการเกิดน้ำท่วมปวด รูปร่างของหัวใจที่ผิดปกติ หรือภาวะของหัวใจล้มเหลวได้


การตรวจหัวใจด้วยการใช้เครื่องมือพิเศษ

หลังจากแพทย์ได้ทำการวินิจฉัยหัวใจในเบื้องต้นเรียบร้อยและได้ประเมินผลแล้วว่าควรตรวจอย่างละเอียดด้วยวิธีการอื่น โดยเครื่องตรวจหัวใจแต่ละชนิดที่เลือกใช้ตามเหมาะสมในแต่ละบุคคล ซึ่งจะสามารถวินิจฉัยโรคทางหัวใจต่างๆได้ ดังนี้

1. การตรวจหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง

[attach=3]

การตรวจหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง (Carotid Doppler) เป็นการประเมินสภาพของผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงยังสมอง วัดความหนาของผนังหลอดเลือด และคราบหินปูนที่อยู่ตามบริเวณหลอดเลือดที่คอ รวมไปถึงวัดการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดว่ายังทำงานเป็นอย่างไร

โดยการตรวจด้วยเครื่องมือนี้ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง หรือคลื่นอัลตราซาวด์ ซึ่งผลที่ได้จะออกมาเป็นกราฟอย่างละเอียดที่จะทราบถึงทิศทางการไหลเวียนเลือดและอัตราเร็วของการไหลเวียนเลือด และนำไปเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อนำไปประกอบการวินิจฉัยโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ทั้งนี้ การตรวจหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมองสามารถเข้ารับการตรวจจากภายนอกได้เลย เพราะเป็นวิธีการนี้จะเพียงแค่การใช้คลื่นอัลตราซาวด์กับบริเวณที่รับการตรวจเท่านั้น ดังนั้นเมื่อต้องมาตรวจจึงไม่จำเป็นต้องงดอาหาร เพียงแต่ใส่เครื่องประดับหรืออุปกรณ์อื่นๆบริเวณคอ และงดทาแป้งบริเวณคอเพียงเท่านั้น

2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG

[attach=4]

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG หรือ ECG เป็นการตรวจหัวใจที่ง่ายและรววเร็วที่สุดเพราะมีวิธีที่ไม่ยุ่งยาก วิธีนี้จะใช้เครื่องมือที่แปะบริเวณหน้าอก หรือเรียกว่าแผ่นอิเล็ดโทรด โดยเครื่องจะจับสัญญาณกระแสไฟฟ้าในขณะหัวใจบีบตัว และคลายตัวเพื่อสูบฉีดเลือด และจะถูกพิมพ์ออกมาในรูปแบบกราฟ ซึ่งแพทย์จะนำกราฟที่ได้มาประเมินผลเพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจของผู้ป่วย

หากรูปแบบกราฟมีความสม่ำเสมอจะถือว่าหัวใจยังทำงานปกติ แต่หากมีบางจุดที่ผิดปกติไม่สม่ำเสมอแปลว่าหัวใจอาจมีการทำงานผิดปกติอยู่ ซึ่งการตรวจวิธีนี้สามารถบอกถึงความผิดปกติของหัวใจ อย่างเช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้าเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

3. การตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน EST

[attach=5]
   
การตรวจหัวใจวิ่งสายพาน EST (Exercise Stress Test) เป็นการตรวจสมรรถภาพของหัวใจ ด้วยการวิ่งสายพาน โดยให้ผู้ป่วยวิ่งบนสายพานในขณะที่มีอุปกรณ์แผ่นจับสัญญานไฟฟ้าหัวใจแปะอยู่บริเวณหน้าอกเพื่อดูอัตราการเต้นของหัวใจ แพทย์จะคอยสังเกตผู้ป่วยระหว่างวิ่งบนสายพานว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ เช่น หายใจติดขัด มีอาการเจ็บบริเวณหน้าอก และหลังจากนั้นจะนำผลนี้มาประเมินร่วมกับคลื่นไฟฟ้าที่เครื่องมือจับสัญญาณได้ เพื่อวินิจฉัยโรคที่เสี่ยงต่อหัวใจ

ซึ่งวิธีการนี้ยังสามารถตรวจได้ทั้งระบบหายใจ และระบบกล้ามเนื้อโดยรวมที่ตอบสนองต่อการออกกำลังกายโดยเฉพาะในนักกัฬามักใช้กัน และมักถูกนำมาใช้บ่อยกับการตรวจหาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย   

4. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง

[attach=6]

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) หรือเรียกกันอีกชื่อ ตรวจหัวใจเอคโค่ (Echo) ซึ่งเป็นการตรวจคลื่นหัวใจด้วยการใช้คลื่นสะท้อนความถี่สูงผ่านทางผนังหน้าอก โดยแพทย์จะทำการแปะแผ่นอิเล็กโทรดบริเวณหน้าอกของผู้ป่วย และใช้เครื่องมือตรวจวางบริเวณหน้าอก 

โดยเป็นการตรวจด้วยการใช้การสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูงส่งผ่านผนังหน้าอกไปยังหัวใจ ผลที่ได้จะออกเป็นภาพให้เห็นบนจอ ซึ่งจะแสดงถึงลักษณะต่างๆของหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นขนาดและรูปร่างของหัวใจ ความหนาของเนื้อเยื่อหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ จนไปถึงการทำงานของลิ้นหัวใจ ซึ่งการตรวจหัวใจเอคโค่สามารถบอกถึงโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคที่เกี่ยวกับการทำงานของหัวใจ เช่น การเต้นผิดปกติ หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับลิ้นหัวใจ

5. การตรวจหัวใจแบบ CT Calcium Scoring

[attach=7]

การตรวจหัวใจแบบ CT Calcium scoring (Coronary) เป็นการตรวจหัวใจด้วยการตรวจระดับปริมาณแคลเซียมหรือหินปูนที่สะสมภายในบริเณหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีที่เป็นเส้นเลือดแดงหลักที่ไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งหินปูนที่ตรวจจะบ่งบอกถึงความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดหรือโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบระยะแรกได้ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ หากพบมากยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่ตามมา

โดยการด้วยจะใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ผลการตรวจจะออกมาเป็นค่าตัวเลข หากพบว่าตัวเลขมีค่าที่ต่ำ โอกาสเสี่ยงก็จะต่ำที่จะเกิดโรคหัวใจมาก แต่ตัวเลขมากก็จะเสี่ยงมากเช่นกัน


ใครที่ควรเข้ารับการตรวจหัวใจ

โรคหัวใจเป็นโรคที่มักไม่แสดงอาการในระยะแรกเริ่มอย่างชัดเจน เมื่อรู้สึกได้ว่ามีปัจจัยเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจหัวใจ หรือเกิดอาการผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นควรเข้ารับการตรวจหัวใจ โดยอาการเสี่ยงที่ควรพิจารณามีดังนี้

  • ผู้ที่เริ่มมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาการวูบหรือหน้ามืด เป็นลม ใจสั่น หายใจติดขัด หรือมีอาการขาบวม เป็นต้น
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น  โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนปกติอีกด้วย
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ การทานอาหารที่มีไขมันสูง รวมถึงผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย
  • ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ผู้ที่เป็นเพศชาย จะมีโอกาสเสี่ยงที่มากกว่าเพศหญิง
  • ผู้ที่นักกีฬาหรือต้องทำงานที่ใช้กำลังมาก ควรได้รับการตรวจหัวใจเพื่อประเมินถึงขีดจำกัดที่หัวใจสามารถทำงานไหว
  • ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป อวัยวะต่างๆมีการเสื่อมไปตามสภาพ

ตรวจหัวใจ ที่ไหนดี
   
โรคหัวใจเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ต้องให้ความใส่ใจ ดังนั้นการเลือกตรวจหัวใจจึงศึกษาอย่างถี่ถ้วนก่อนทำการตัดสินใจไปตรวจที่ไหนดี ซึ่งสามารถพิจารณาเบื้องต้นได้จากสถานที่ได้รับการันตีมาตรฐาน มีความปลอดภัยทั้งการทำงานและอุปกรณ์เครื่องมือทางแพทย์ รวมทั้งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ต่อการตรวจและรักษาโรคหัวใจโดยตรง รวมทั้งมีจรรยาบรรณต่อการบริการ และที่สำคัญต้องสะดวกต่อการเดินทางไป


ข้อสรุป
   
หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญอย่างหนึ่งของเรา ดังนั้นการใส่ใจและดูแลต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการสังเกตอาการในเบื้องต้น การตรวจสุขภาพประจำปีและการตรวจหัวใจ รวมทั้งการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อให้ได้รับรู้ว่าควรปฏิบัติอย่างไรต่อไป และหากเกิดความเสี่ยงหรือเกิดความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับหัวใจเกิดขึ้นก็จะสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที