ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ทางรถไฟสายบางบัวทอง_ในอดีตค่ะ

เริ่มโดย pa_เฟี๊ยว, 16:47 น. 27 พ.ค 55

pa_เฟี๊ยว

 ...ทางรถไฟสายบางบัวทอง (ระหว่างปี พ.ศ. 2451 ถึง พ.ศ. 2485) เป็นทางรถไฟราษฎร์(เอกชน) ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ก่อตั้งดำเนินการโดยบริษัทรถไฟบางบัวทองจำกัด ริเริ่มโดยเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์(มรว.เย็น อิสระเสนา ณ อยุธยา)เจ้าของบ้านพระอาทิตย์ ในปีพ.ศ.2541 และเริ่มสร้างวางรางเมื่อ พ.ศ.2452 ในสมัยรัชกาลที่ 5 สถานีต้นทาง อยู่บริเวณซอยรถไฟพระยาวรพงษ์ (จรัญสนิทวงศ์ 46) ริมวัดบวรมงคล(วัดลิงขบ) ตรงข้ามกับปากคลองผดุงกรุงเกษม(บน) อำเภอบางพลัด จังหวัดธนบุรี และไปสิ้นสุดที่อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี


บรรยากาศทางรถไฟสายบางบัวทองสมัยนั้น

...โดยเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์รักเรื่องเครื่องยนต์กลไกมาแต่เล็ก ตอนรับราชการสมัย ร.5 เงินเดือน 12 บาท พอเงินเดือนขึ้นเป็น 30 บาท ก็เก็บซื้อรถเมล์เก่า 2 คัน มาซ่อมแล้วก็ออกรับคนโดยสาร หาเงินเข้าบ้านได้วันละสิบสลึงสามบาท ท่านก็ติดใจ สมัยนั้นเจ้านายขุนนางกำลังแข่งกันสร้างวังสร้างคฤหาสน์ ต้องใช้อิฐจำนวนมาก เจ้าคุณวรพงศ์เช่าเตาเผาอิฐที่บางบัวทอง ทำอิฐชั้นดีส่งขาย ชื่ออิฐบางบัวทองเป็นที่รู้จัก เศรษฐกิจบางบัวทองเฟื่องฟู เป็นที่มาให้คิดสร้างทางรถไฟ  จิงริเริ่มซื้อที่ดินตามขนัดสวน ตั้งแต่วัดลิงขบ(วัดบวรมงคล) ไปถึงอำเภอบางบัวทอง ตอนนั้นยังไม่มี พ.ร.บ.คุ้มครองการสร้างทางรถไฟ เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ต้องไปอ้อนวอนซื้อที่ชาวบ้าน เมื่อไม่ได้ก็ต้องไปขอบารมีกำนันผู้ใหญ่บ้าน บางรายไม่ขายก็ต้องย้ายแนวหลบ ทางรถไฟสายนี้จึงคดเคี้ยวเหมือนงูเลื้อย


ภาพหัวรถจักร ...(ขอบคุณภาพจากหนังสือ"ภาพเก่าเล่าเรื่องบางบัวทอง"ค่ะ)

...โดยเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ท่านได้ใช้อิฐหักจากโรงเผาอิฐของท่านเองมาถมทาง กว่าจะเสร็จเปิดใช้งานได้ก็ ปีพ.ศ.2458 สาเหตุที่ล่าช้าเนื่องจาก ต้องสร้างตามแนวทางที่มีคนยอมขายที่ให้ ทำให้บางจุดรัศมีโค้งแคบมาก เส้นทางสายนี้จะมีทัศนวิสัยทางโค้งแย่มากๆ สาเหตุที่ล่าช้าอีกอย่างก็เพราะคนงานโดนโรคอหิวาต์ระบาด


โบกี้รถไฟในสมัยนั้น(สายบางบัวทอง)...

...ประชาชนสมัยนั้นมักจะเรียกรถไฟสายนี้ว่า"รถไฟสายเจ้าคุณวรพงศ์"  โดยรถไฟสายนี้กำหนดให้วิ่งได้ไม่เกิน 20 กม/ชม. ตอนแรกใช้หัวรถจักรไอน้ำ ใช้รางขนาดเล็กกว้าง 75 เซนติเมตร และไม่มีระบบห่วงตราทางสะดวก เคยได้เกิดอุบัติเหตุรถไฟเที่ยวขึ้นและเที่ยวล่องชนกัน ทำให้คนขับรถไฟเสียชีวิต จากบันทึกที่ปรากฏเล่าว่า เกิดจากการที่ขบวนรถที่ต้องรอหลีกกันแล้วขบวนใดขบวนหนึ่งเกิดเสียเวลานาน ทำให้ขบวนที่มารอหลีกรอนานเกินไป อาจมีกรณีที่เรียกว่า "ลักหลีก" คือจะออกรถไปก่อนแล้วเร่งเครื่องเต็มฝีจักรเพื่อจะชิงไปเข้าหลีกถัดไป โดยมีหลักที่รู้กันว่าขบวนที่ลักหลีกมา เมื่อแล่นมาถึงจุดที่เป็นทางคดโค้งแคบๆ ประกอบกับเป็นสวน ทำให้มีต้นไม้บังแน่นทึบ) ก็จะชักแตรและจอดรอก่อนถึงทางโค้งแล้วให้คนวิ่งไปดูข้างหน้า ถ้าปลอดภัยก็ให้สัญญาณบอก พขร.อีกที ส่วนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นครั้งนั้น เกิดที่โค้งบางกร่าง เกิดจาก พขร.ขบวนที่ลักหลีกมา ชักแตรแต่ไม่มีการชลอรถ ขบวนรถที่สวนมาไม่ทันได้ยินเสียงก็ใช้ความเร็วเต็มฝีจักรเช่นกัน ทำให้ประสานงากัน พขร.ที่เสียชีวิตยังมาเดินดูความเสียหาย แต่พอกลับขึ้นไปบนรถได้เกิดอาการแน่น หายใจไม่ออก และช้ำในสิ้นใจอยู่บนรถนั่นเอง


สะพานบางบัวทอง...

...ตอนปี พ.ศ. 2469 ได้มีการทำสัญญากับกรมรถไฟหลวง เพื่อเตรียมขยายเส้นทาง แต่ด้วยความเข้าใจผิดพลาด ว่าจะขยายเส้นทางไปที่ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดปทุมธานีหลังเก่า ที่สุดต้องแก้ไขสัญญาเมื่อปี พ.ศ.2473(พ.ร.บ.คุ้มครองการสร้างทางรถไฟใช้แล้ว) ให้ไปสิ้นสุดที่วัดระแหง ตำบลบ้านระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี พร้อมทั้งส่วนแยกไปแถวท่าน้ำวัดเฉลิมพระเกียรติ(ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดนนทบุรีเก่า แถวตลาดขวัญ) และแยกไปคลองบางใหญ่(ปัจจุบันแนวทางรถไฟคือถนนสายบางกรวย-ไทรน้อย ผ่านและตัดขวางกับทางรถไฟสายใต้ ที่สถานีรถไฟบางบำหรุ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี)

...ต่อมาฟืนหายาก ประมาณปีพ.ศ.2470 ได้ปรับปรุงจากรถกำลังไอน้ำ พลังงานฟืน มาเป็นรถราง 4 ล้อเครื่องเบนซิน และในปีพ.ศ. 2477 แก้ไขรถราง 4ล้อให้มาใช้น้ำมันดีเซลแทนเพื่อลดค่าใช้จ่าย  เครื่องได้มีการประกอบรถจักรดีเซลใช้เอง โดยซื้อเครื่องจากเชียงกงมาประกอบ



...ตอนแรกๆรถไฟสายนี้ทำกำไรดี แต่กรมรถไฟหลวงไม่แนะนำให้ฝรั่งขึ้นเพราะไม่ค่อยตรงต่อเวลา ทั้งรถไฟวิ่งส่ายไปมาและกระเทือนตลอดทาง เหมือนนั่งเรือฝ่าคลื่น ถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 น้ำมันขาดแคลน พิษเศรษฐกิจตกต่ำ ขนาดท่านเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ ต้องยอมลดเงินเดือนในฐานะเป็นเสนาบดีกระทรวงวัง และลดค่าโดยสารกับค่าขนสินค้า ทั้งเจอคู่แข่ง บริษัทฝรั่งใช้เรือ "มอเตอร์โบ๊ต" วิ่งรับคนจากท่าน้ำบางบัวทอง มาท่าเขียวไข่กา รายได้รถไฟสายนี้เริ่มลดลงๆ เกิดกรณีพิพาทเรื่องการแข่งกับเรือของบริษัทฝรั่ง ทำให้ขาดทุนเข้าเนื้อไปอีก

...พอสิ้นบุญเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ ทายาทไม่มีคนบริหาร เลยต้องขายกิจการ(ไม่แน่ชัดว่าเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ยังไม่ทันสิ้นและประกาศเลิกกิจการเอง) โดยขายรางและรถจักรให้ บริษัท ส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย จำกัด(รัฐวิสาหกิจคุมโรงงานน้ำตาลวังกะพี้ และกุมภวาปี)ใช้ขนอ้อยจากไร่เข้าโรงงาน ในวันเดียวกันกับที่เลิกรถไฟสายพระพุทธบาท รถไฟพระพุทธบาทแม้จะทำสัญญาเมื่อ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2485 แต่กว่าจะรื้อเสร็จมากองรวมกันที่ย่านสถานีบางบำหรุ ก็ปลายปี พ.ศ.2485 และได้เลิกกิจการรถไฟบางบัวทองเด็ดขาด 2 กุมภาพันธ์ 2486 สมัยรัชกาลที่ 8


ซากตอม่อสะพานรถไฟ ที่ยังพอหลงเหลืออยู่...

ขอบคุณแหล่งข้อมูลความรู้นะค๊ะ....
portal.rotfaithai.com
http://atcloud.com/stories/70024
http://www.digitalrarebook.com/index.php?lay=show&ac=cat_show_pro_detail&cid=16131&pid=65596
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87
http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=29683&st=151



นายไข่นุ้ย

DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)

ซัมเบ้ Note 7 Jr.

ขอบคุณครับ
เรื่องเก่าๆน่าศึกษาไว้ เพราะแทบไม่เหลืออดีตให้ชื่นชมกันแล้ว

ปล.ท่าน จขกท. ช่วยแก้ไขด้วยนะครับ   พศ.2570 ยังมาไม่ถึงเลยนะฮับ ส.ตากุลิบกุลิบ ส.ตากุลิบกุลิบ
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป

pa_เฟี๊ยว

คือพอดี ช่วงนี้ฝึกเรียบเรียงภาษาอ่านและเขียนอะค๊ะ.... ส.อ่านหลังสือ กำลังจะออกพ็อกเก็ตบุ๊คส่วนตัวนะ ก็เลยขัดเกลาสมองจ๊ะ

ขอขอบคุณๆๆ....ท่านทั้งสองที่ชี้แนะคร้าา ส.สู้ๆ (ดีใจจังที่อ่าน....ขอแก้ไขพิมพ์ผิดไป1ตัวนะค๊ะ)