ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ฝากขัง"โก๊ะ"มือทำแท้ง-สธ.ตรวจสอบซากทารกอีกนับพัน

เริ่มโดย ฅนสองเล, 10:02 น. 19 พ.ย 53

ฅนสองเล

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    19 พฤศจิกายน 2553 08:48 น.
       
พ.ต.อ.ธนวัฒน์ ตั้งวงศ์เจริญ ผกก.สน.หนองแขม เปิดเผยความคืบหน้าคดี น.ส.ลัญฉกร หรือ โก๊ะ จันทมนัส อายุ 33 ปี ผู้ต้องหาทำแท้งว่า เช้าวันนี้ เวลาประมาณ 09.00 น. พนักงานสอบสวน จะนำตัวผู้ต้องหาไปขออำนาจศาลจังหวัดตลิ่งชัน ทำการฝากขัง ซึ่งในชั้นพนักงานสอบสวนนั้น ได้คัดค้านการประกันตัว พร้อมทั้ง ขอนำตัวกลับมาสอบสวนขยายผลเพิ่ม ซึ่งคดีดังกล่าวนั้น พนักงานสอบสวน สน.หนองแขม และ สน.วัดพระยาไกร ในการดำเนินคดี ทั้งนี้ขณะที่ น.ส.ลัญฉกร ถูกคุมขังนั้น ไม่มีญาติ หรือ เพื่อนเข้าเยี่ยม และไม่มีบุคคลใดยื่นขอประกันตัว

        อย่างไรก็ตาม ในส่วนของศพทารกอีกนับพัน ที่พบเพิ่มในช่องเก็บศพ เลขที่ 9 และ 10 ในวัดไผ่เงินนั้น เช้าวันนี้ พนักงานสอบสวน ร่วมกับเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน และเจ้าหน้าที่ สธ. จะเข้าตรวจสอบชันสูตรศพทารกที่พบเพิ่มอีกครั้ง และมีการประชุมขยายผล คลินิกทำแท้ง และผู้ร่วมขบวนการนำศพทารกมาทิ้ง ซึ่งเชื่อว่า ยังมีเจ้าหน้าที่วัดและผู้เกี่ยวข้องในวัดรับทราบ

ฅนสองเล

ราสา ได้ยินเพื่อนแหลงประจำพอเข้าใจแบบมึนๆ

อยากถามผู้รู้ว่าความหมายที่แท้จริงมันคืออะไรครับ

Kungd4d

 :D ;D ความหมายของคำว่าราสา ประมาณว่ามีความหมายพอๆกับหนัดเหนียนครับ  ;D :D

win

อ้าว  พี่บ่าว  แล้วหนัดเหนียน  แปลว่าพรือล่ะ

Kungd4d

อ้างจาก: win เมื่อ 21:48 น.  27 ม.ค 53
อ้าว  พี่บ่าว  แล้วหนัดเหนียน  แปลว่าพรือล่ะ

   :D ;D ;D หนัดเหนียด ก็แปลว่ามาก อย่างมาก บ้านเราก็อย่างแรง เช่น เดินชนเสาไฟฟ้าหนัดเหนียน คือโดนจังๆ หรือว่าหลำหนัดเหนียน คือว่าเดาอย่างมากมายเลย  ;D :D

หม่องวิน มอไซ


ซิงโกร่าแมน


หม่องวิน มอไซ

มันเจ็บหัวเหม็ด ที่เธอไม่จำสัญญา พี่เจ็บราสา ปวดร้าวไปหมดทั้งใจ ทิ้งให้รอดั่งข้าวคอยฝน คอยจนน้ำตาท่วมใจ หลอกให้ทนอยู่เดียวดาย เพราะเชื่อเธอ

ฅนพังคอม

ความหมายน่าจะออกไปในแนวที่หลายๆ ท่านได้บอกใว้ข้างต้น  ;)

กู้ภัยพเนจร

ไม่รุจักราสา แต่ก็ได้ยินอยู่  แต่จะสู้ราเดือนสิบได้ฤา

"มะเหมี่ยว"

อ้างจาก: กู้ภัยพเนจร เมื่อ 02:20 น.  29 ม.ค 53
ไม่รุจักราสา แต่ก็ได้ยินอยู่  แต่จะสู้ราเดือนสิบได้ฤา

ไอ้ไหรตัวล่าวนิ็ หรำจริงๆ  ราเดือนสิบเกี่ยวไหรกัน ( สงสัยทำท่าอิได้กินราแต่ปานี้ ) ;D
ราสา  เป็นคำ วิเศษณ์  แปลว่า มาก  เช่น  วันนี้จับปลาได้ราสา  :-[

Big MaHad

อ้างจาก: กู้ภัยพเนจร เมื่อ 02:20 น.  29 ม.ค 53
ไม่รุจักราสา แต่ก็ได้ยินอยู่  แต่จะสู้ราเดือนสิบได้ฤา

น่าจะเป็น ขนมลา มากกว่าครับ
ลา ที่เป็นคำกริยา ที่แปลประมาณว่า ทา หรือ ละเลง
เพราะเวลาทำขนมลา มันต้องลาน้ำมันบนกะทะก่อน แล้วถึงโรยแป้งเป้นเส้นๆไป อันนี้พูดถึงขนมลาเช็ดนะ
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

กู้ภัยพเนจร


กิมหยง

อย่าหาว่าโง่นะ

บอกที่ตะคำวิเศษณ์ คือ ???
คำกริยา คือ การบอกการกระทำ (มั้ง)

สอนถาษาไทยอีกทีตะ
สร้าง & ฟื้นฟู

Khemiiez

เคยฟังเพลงของ เอกชัย จำชื่อเพลงไม่ได้ เป็นเพลงเกี่ยวกับของกินภูเก็ตหรือเมืองภูเก็ตนี่แหละ

มันมีคำว่า "หรอยราสา" พอไปถามน้าว่า หรอยราสา คืออะไร

น้าบอกว่า "หรอยมาก"

ตอนแรกไอเราก็คิดว่า หรอยแบบเปรี้ยวๆ เผ็ดๆ เค็มๆ หวานๆ อะไรสักอย่าง

55555

"มะเหมี่ยว"

อ้างจาก: กิมหยง เมื่อ 23:33 น.  04 ก.พ 53
อย่าหาว่าโง่นะ

บอกที่ตะคำวิเศษณ์ คือ ???
คำกริยา คือ การบอกการกระทำ (มั้ง)

สอนถาษาไทยอีกทีตะ

คำวิเศษณ์

ความหมายของคำวิเศษณ์
         คำวิเศษณ์ หมายถึง คำที่ใช้ประกอบหรือขยายคำนาม สรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ เพื่อให้ได้ใจความชัดเจนและละเอียดมากขึ้น เช่น
- คนอ้วนกินจุ  ("อ้วน" เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำนาม "คน" "จุ" เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยา "กิน"
- เขาร้องเพลงได้ไพเราะ  ("ไพเราะ" เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยา "ร้องเพลง")
- เขาร้องเพลงได้ไพเราะมาก  ("มาก" เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำวิเศษณ์ "ไพเราะ")

ชนิดของคำวิเศษณ์
คำวิเศษณ์แบ่งออกเป็น ๑๐ ชนิด ดังนี้
         ๑. ลักษณะวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่างๆ เช่น บอกชนิด สี ขนาด สัณฐาน กลิ่น รส บอกความรู้สึก เช่น ดี ชั่ว ใหญ่ ขาว ร้อน เย็น หอม หวาน กลม แบน เป็นต้น เช่น
- น้ำร้อนอยูในกระติกสีขาว
- จานใบใหญ่ราคาแพงกว่าจานใบเล็ก
         ๒. กาลวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น อดีต อนาคต เป็นต้น เช่น
- พรุ่งนี้เป็นวันเกิดของคุณแม่
- เขามาโรงเรียนสาย
         ๓. สถานวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกสถานที่ เช่น ใกล้ ไกล บน ล่าง เหนือ ใต้ ซ้าย ขวา เป็นต้น เช่น
- บ้านฉันอยู่ไกลตลาด
- นกอยู่บนต้นไม้
         ๔. ประมาณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกจำนวน หรือปริมาณ เช่น หนึ่ง สอง สาม มาก น้อย บ่อย หลาย บรรดา ต่าง บ้าง เป็นต้น เช่น
- เขามีเงินห้าบาท
- เขามาหาฉันบ่อยๆ
         ๕. ประติเษธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงความปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับ เช่น ไม่ ไม่ใช่ มิ มิใช่ ไม่ได้ หามิได้ เป็นต้น เช่น
- เขามิได้มาคนเดียว
- ของนี้ไม่ใช่ของฉัน ฉันจึงรับไว้ไม่ได้
         ๖. ประติชญาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ใช้แสดงการขานรับหรือโต้ตอบ เช่น ครับ ขอรับ ค่ะ เป็นต้น เช่น
- คุณครับมีคนมาหาขอรับ
- คุณครูขา สวัสดีค่ะ
         ๗. นิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะ เช่น นี้ นั่น โน่น ทั้งนี้ ทั้งนั้น แน่นอน เป็นต้น เช่น
- บ้านนั้นไม่มีใคราอยู่
- เขาเป็นคนขยันแน่ๆ
         ๘. อนิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะ เช่น ใด อื่น ไหน อะไร ใคร ฉันใด เป็นต้น เช่น
- เธอจะมาเวลาใดก็ได้
- คุณจะนั่งเก้าอื้ตัวไหนก็ได้
         ๙. ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์แสดงคำถาม หรือแสดงความสงสัย เช่น ใด ไร ไหน อะไร สิ่งใด ทำไม เป็นต้น เช่น
- เสื้อตัวนี้ราคาเท่าไร
- เขาจะมาเมื่อไร
         ๑๐. ประพันธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมคำหรือประโยคให้มีความเกี่ยวข้องกัน เช่นคำว่า ที่ ซึ่ง อัน อย่าง ที่ว่า เพื่อว่า ให้ เป็นต้น เช่น
- เขาทำงานหนักเพื่อว่าเขาจะได้มีเงินมาก
- เขาทำความดี อัน หาที่สุดมิได้

หน้าที่ของคำวิเศษณ์ มีดังนี้คือ
         ๑. ทำหน้าที่ขยายคำนาม เช่น
- คนอ้วนกินจุ ( "อ้วน" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนาม "คน")
- ตำรวจหลายคนจับโจรผู้ร้าย ("หลาย" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนาม "ตำรวจ")
         ๒. ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนาม เช่น
- เราทั้งหมดช่วยกันทำงานให้เรียบร้อย ("ทั้งหมด" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำสรรพนาม "เรา")
- ฉันเองเป็นคนพูด ( "เอง" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำสรรพนาม "ฉัน")
         ๓. ทำหน้าที่ขยายคำกริยา เช่น
- คนแก่เดินช้า ( "ช้า" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำกริยา "เดิน")
- นักกีฬาว่ายน้ำเก่ง ( "เก่ง" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำกริยา "ว่ายน้ำ")
         ๔. ทำหน้าที่ขยายคำวิเศษณ์ เช่น
- ลมพัดแรงมาก ("มาก" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำวิเศษณ์ "แรง")
- สมชายร้องเพลงเพราะจริง ("จริง" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำวิเศษณ์ "เพราะ")
         ๕. ทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดง เช่น
- เธอสูงกว่าคนอื่น
- ขนมนี้อร่อยดี

:D :) ;) ;D >:( :( :o 8) ??? ::) :P :-[ :-X :-\ :-* :'( >:D )55 )angel ^-^ O0 )123456 )love )tel )de )88
คำกริยา     
         คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการ สภาพ หรือการกระทำของคำนาม และคำสรรพนามในประโยค คำกริยาบางคำอาจมี
ความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง บางคำต้องมีคำอื่นมาประกอบ และบางคำต้องไปประกอบคำอื่นเพื่อขยายความ

   ชนิดของคำกริยา คำกริยาแบ่งออกเป็น 5 ชนิด ดังนี้

   1. กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ (อกรรมกริยา) เป็นกริยาที่มีความหมายสมบูรณ์ ชัดเจนในตัวเอง เช่น
   ครูยืน
   น้องนั่งบนเก้าอี้
   ฝนตกหนัก
   เด็กๆหัวเราะ
   คุณลุงกำลังนอน

      2. กริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ (สกรรมกริยา) เป็นกริยาที่ต้องมีกรรมมารับจึงจะได้ใจความสมบูรณ์ เช่น
   แม่ค้าขายผลไม้
   น้องตัดกระดาษ
   ฉันเห็นงูเห่า
   พ่อซื้อของเล่นมาให้น้อง

        3. กริยาที่ต้องมีคำมารับ คำที่มารับไม่ใช่กรรมแต่เป็นส่วนเติมเต็ม (วิกตรรถกริยา) คือ คำกริยานั้นต้องมี
คำนามหรือสรรพนามมาช่วยขยายความหมายให้สมบูรณ์ เช่นคำว่า เป็น เหมือน คล้าย เท่าคือ เสมือน ดุจ เช่น
   ชายของฉันเป็นตำรวจ
   เธอคือนักแสดงที่ยิ่งใหญ่
   ลูกดุจแก้วตาของพ่อแม่
   แมวคล้ายเสือ

         4. กริยาช่วย (กริยานุเคราะห์) เป็นคำที่เติมหน้าคำกริยาหลักในประโยคเพื่อช่วยขยายความหมายของคำกริยาสำคัญ
ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นคำว่า กำลัง จะ ได้ แล้ว ต้อง อย่า จง โปรด ช่วย ควร คงจะ อาจจะ เป็นต้น เช่น
   เขาไปแล้ว
   โปรดฟังทางนี้
   เธออาจจะถูกตำหนิ
   ลูกควรเตรียมตัวให้พร้อม
   เขาคงจะมา
   จงแก้ไขงานให้เรียบร้อย

        ข้อ สังเกต กริยาคำว่า ถูก ตามปกติจะใช้กับกริยาที่มีความหมายไปในทางไม่ดี เช่น ถูกตี ถูกดุ ถูกตำหนิ ถ้าความหมายในทางดีอาจใช้คำว่า ได้รับ เช่น ได้รับคำชมเชย ได้รับเชิญ เป็นต้น
        5. กริยาที่ทำหน้าที่คล้ายนาม (กริยาสภาวมาลา) เป็นคำกริยาที่ทำหน้าที่คล้ายกับคำนาม อาจเป็นประธาน เป็นกรรม หรือบทขยายของประโยคก็ได้ เช่น
   เขาชอบออกกำลังกาย (ออกกำลังกายเป็นคำกริยาที่ทำหน้าที่คล้ายนาม เป็นกรรมของประโยค)
   กินมากทำให้อ้วน (กินมากเป็นกริยาที่ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค)
   นอนเป็นการพักผ่อนที่ดี (นอนเป็นกริยาทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค)

    หน้าที่ของคำ กริยา มีดังนี้
   1. ทำหน้าที่เป็นกริยาสำคัญของประโยค เช่น คนกินข้าว นกบินมาเป็นฝูง เป็นต้น
   2. ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น กินมากทำให้อ้วน เป็นต้น
   3. ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น ฉันชอบเต้นแอร์โรบิกตอนเช้า เป็นต้น
   4. ทำหน้าที่ช่วยขยายกริยาสำคัญให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น พี่คงจะกลับบ้านเย็นนี้ เป็นต้น
   5. ทำหน้าที่ช่วยขยายคำนามให้เข้าใจเด่นชัดขึ้น เช่น ฉันชอบกินก๋วยเตี๋ยวผัด น้องชายชอบบะหมี่แห้ง เป็นต้น

ไปหามาใช้แล้วค่ะ อ่านด้วยนะค่ะท่านกิมหยง  )55

กิมหยง

สร้าง & ฟื้นฟู

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณมาก ๆ ครับ สำหรับความรู้ภาษาไทย
วิชาภาษาไทย เป็นวิชาที่ผมชอบมากที่สุดวิชาหนึ่ง ตอนเรียน ม.ปลาย

สมัยเรียนที่ ม.เกษตรศาสตร์ ก็ไปลงทะเบียนเรียนที่รามฯ ด้วยครับ คณะมนุษยศาสตร์
หลักสูตร ศศ.บ.(ภาษาไทย)
เสียดายที่ไม่มีโอกาสเรียนจนจบ เพราะจำเป็นต้องไปเรียนต่อ ป.โท ไม่มีเวลาไปสอบครับ

ทุกวันนี้ยังอยากเรียนภาษาไทย

"มะเหมี่ยว"

ภาษาไทยเป็นวิชาที่เรียนยากมากๆ เมื่อเทียบกับภาษาอื่นๆ
เรียนทั้งชีวิตก็ศึกษาไม่หมด ยิ่งศึกษายิ่งยาก

มาทีที

 ตอบ #14
กูว่าแล้วอย่าถาม (อุทานแบบพ่อขุน + ใต้)
... หายอยากเค็มไป่

ฅนสองเล

ราสา ได้ยินเพื่อนแหลงประจำพอเข้าใจแบบมึนๆ

อยากถามผู้รู้ว่าความหมายที่แท้จริงมันคืออะไรครับ

Kungd4d

 :D ;D ความหมายของคำว่าราสา ประมาณว่ามีความหมายพอๆกับหนัดเหนียนครับ  ;D :D

ตอบกลับอย่างรวดเร็ว

ชื่อ:
การยืนยัน:
กรุณาเว้นช่องนี้ว่างไว้:
พยัญชนะไทยตัวที่สอง:
shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง