ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เมื่อฉันไม่เข้าใจในพระพุทธศาสนา

เริ่มโดย อยากรู้, 10:54 น. 03 ก.พ 54

กิมซังอ๊ก

มีเคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งที่จะบอก คือ อย่ายึดติดกับศาสนามากเกินไป ศาสนาเป็นรูปแบบหนึ่งในการเผยแผ่ธรรมมะ ให้คนได้พึ่งพาอาศัยทางจิต แต่เมื่อเราศึกษาไปจนถึงแก่น ศึกษากลับมาจนถึงเปลือก เราก็จะพบว่า จิตทีแท้จริงของเรา ไม่ใช่รูปแบบอย่างที่ศาสนาบอกไว้ แต่เป็นอิสระจากศาสนา เมื่อนั้นเราจะพบทาง อาจจะงงหน่อย แต่ให้ดูว่า คนบางคนไม่มีศาสนา แต่ก็เป็นคนดีได้ ดีกว่าคนที่เคร่งครัดในศีลบางคนเสียอีก

คุณหลวง

อ้างจาก: กิมซังอ๊ก เมื่อ 10:28 น.  01 ก.ย 54
มีเคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งที่จะบอก คือ อย่ายึดติดกับศาสนามากเกินไป ศาสนาเป็นรูปแบบหนึ่งในการเผยแผ่ธรรมมะ ให้คนได้พึ่งพาอาศัยทางจิต แต่เมื่อเราศึกษาไปจนถึงแก่น ศึกษากลับมาจนถึงเปลือก เราก็จะพบว่า จิตทีแท้จริงของเรา ไม่ใช่รูปแบบอย่างที่ศาสนาบอกไว้ แต่เป็นอิสระจากศาสนา เมื่อนั้นเราจะพบทาง อาจจะงงหน่อย แต่ให้ดูว่า คนบางคนไม่มีศาสนา แต่ก็เป็นคนดีได้ ดีกว่าคนที่เคร่งครัดในศีลบางคนเสียอีก

ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้

ถูกต้องครับผม จริงๆพระพุทธองค์ก็ไม่ได้ตั้งศาสนา เพียงสอนทางพ้นทุกข์เท่านั้น
ผมเพียงไม่อยากให้เอาแก่นยอดมาแสดงอย่างไม่มีเบื้องต้น อย่างหลายคนที่อ่านเซ็น
สมัยแรกๆก็เข้าใจว่าเซ็นง่าย เพราะเห็นแกงสำเร็จรูป แต่ไม่ได้ศึกษาเครื่องปรุง วิธีทำ
ของเขาเลย บางคนถึงกับเหลวแหลกไปเพราะตีความง่ายๆเกินไป บางคนเกลียดเลย
ก็มี 
     ทีนี้ เมื่อศึกษาครูบาอาจารย์ต่างๆท่านสอนต่างกัน เพราะต่างจริตกัน คนที่เข้าหาอาจารย์
แต่ละท่านก็ไปตามจริต ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า คนเราเข้ากันได้โดยธาตุ อย่างสมัยหนึ่ง
พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้ภิกษุกลุ่มหนึ่งดู พระภิกษุที่เดินจงกรมอยู่กับพระรูปต่าง และอธิบายว่า
  พระภิกษุที่เดินอยู่กับพระกัสสปะเป็นผู้ทรงธุดงค์ กับพระโมคคัลลาน์ต่างก็ทรงฤทธิ์ กับพระอานนท์
เป็นพหูสูต ฯลฯ กับพระเทวทัต เป็นผู้ปรารถนาลามก และสรุปว่า
  คนเราเข้ากันได้โดยธาตุ(จริต) เหมือนน้ำผึ้งเข้ากับน้ำผึ้ง น้ำมันกับน้ำมัน คูถกับคูถ
   ย้อนมาปัจจุบัน คนไปหาพุทธทาสก็จริตหนึ่ง หาหลวงพ่อฤาษีก็จริตหนึ่ง หลวงพ่อชาก็จริตหนึ่ง
หลวงปู่พุทธอิสระก็จริตหนึ่ง หลวงพ่อเทียนก็จริตหนึ่ง สายหลวงปู่มั่นก็จริตหนึ่ง แต่ท่านก็ยอมรับกันและกัน
    การเข้าถึงธรรมก็ต่างกัน หมายถึงวิธีต่างกัน แต่ท่านไม่ตัดสินใคร ต่างสอนและปฏิบัติไปตามวิถีตน
ไม่กล่าวว่าผมถูก ท่านผิด ผมเท่านั้นที่ถูก ใครชอบใจแบบไหนก็ไปหาแบบนั้น
   
     เมื่อเราต่างมีทาง ผมมาอย่างนี้ ผมก็แนะอย่างนี้ ผมมั่นใจในทางที่ผมเดินและไม่โทษใคร ไม่
ดึงใครให้เดินทางเดียว แต่ชอบก็โอ แนะนำกันได้
     ผมเคยยึดติดครูบาอาจารย์ชนิดที่ใครก็ว่าท่านไม่ได้ โต้แทนตลอด เคยยึดติดว่าทางตนเท่านั้นถูก
ดีที่สุด แต่ไม่ละทุกข์ได้ จนอาจารย์ถามว่า
     "เค้าด่ากูกูยังสบาย มึงเป็นใครมาทุกข์ มึงมันบ้า"
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

นัท สีเทพ

การที่จะป็นคนดีนั้นเป็นง่าย เพราะการเป็นคนดี แค่ไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่เบียนตัวเอง
ช่วยเหลือสัคม หรือมีสังคหวัตถุ 4 ก็ถือว่าเป็นคนดีแล้ว

แต่สำหรับคนที่นับถือศาสนา อยากจะศึกษาศาสนาแล้วนำหลักธรรมของศาสนามาใช้
แล้วนำไปสอนคนอื่นได้อย่างถูกต้เอง ก็นับว่าอยาก

เพราะแค่คำว่า ตัณหา บางคนก็ตีความหมายไปไม่เหมือนกัน

ปัจเจกพุทธ

อ้างถึงการที่จะป็นคนดีนั้นเป็นง่าย เพราะการเป็นคนดี แค่ไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่เบียนตัวเอง
ช่วยเหลือสัคม หรือมีสังคหวัตถุ 4 ก็ถือว่าเป็นคนดีแล้ว

แต่สำหรับคนที่นับถือศาสนา อยากจะศึกษาศาสนาแล้วนำหลักธรรมของศาสนามาใช้
แล้วนำไปสอนคนอื่นได้อย่างถูกต้เอง ก็นับว่าอยาก

เพราะแค่คำว่า ตัณหา บางคนก็ตีความหมายไปไม่เหมือนกัน

เดิมทีจิตของคนเราเป็นประภัสสร คือเป็นจิตที่ดี สงบ / กิเลสนั้นเป็นตัวที่เติมเข้ามาในจิต ทำให้เกิดตัณหา
แต่คนเรามักคิดว่า เรามีกิเลสเป็นสภาวะเดิม คนเลยมักปล่อยให้กิเลสครอบงำ เพราะคิดว่า เฮ้ย เรามีกิเลส ทำผิดก็ไม่เห็นแปลก

บวกกับความนิยมของคนสมัยใหม่ เวลาทำดีมักจะอาย กลัวเป็นคนดี ยกตัวอย่างคนพูดเพราะ พูดสุภาพ ก็กลัวเพื่อนว่า จะเป็นคนดีไปถึงไหน ด้วยเหตุนี้ คนจึงมีกิเลสมากกว่าจิตประภัสสร

จงเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ เดิมทีเราเกิดมาเป็นคนดี จิตของเรา บริสุทธิ์ เราควรรักษามันไว้ให้บริสุทธิ์ต่อไป

คุณหลวง

แก้ไขครับ
ว่าทำไมทะแม่งๆ จำว่าเกือบ ๑๐ ปีก่อนอ่านเจอ ๕ ข้อ
องค์แห่งปาณษติบาต ๕
๑.สัตว์มีชีวิต
๒.รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓.เจตนาฆ่า
๔.พยายามฆ่า
๕.สัตว์นั้นตาย
    ส่วนปริมาณบาปก็ลดหลั่นกันไปตามองค์ครับ
พระพุทธองค์ตรัสว่า  เจตนาหัง ภิกขะเว กัมมัง วะเทมิ  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป