ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เปิด 15 หลักเกณฑ์เยียวยาเหยื่อไฟใต้ ในวงเงิน 2,080 ล้าน

เริ่มโดย ฅนสองเล, 14:01 น. 09 มิ.ย 55

ฅนสองเล

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   8 มิถุนายน 2555 16:46 น.   

[attach=1]
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต.
   
ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ศอ.บต.เปิด 15 หลักเกณฑ์เยียวยาไฟใต้ จากงบทั้งหมด 2,080 ล้านบาท เน้นพัฒนาคุณภาพชีวิต คืนเกียรติศักดิ์ศรี และสร้างความสมานฉันท์ ไม่ใช่แค่ให้เงิน
       
       เวทีสัมมนา "เยียวยาอย่างไร นำไปสู่ความสมานฉันท์" ที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมา เป็นอีกหนึ่งเวทีที่มีการถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนในเรื่องเงินในการช่วยเหลือผู้เสียหายจากไฟใต้ แต่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ผู้อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ก็ได้กล่าวถึงการเยียวยาในรูปแบบอื่นๆ ที่มุ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และฟื้นฟูศักดิ์ศรีของคนในพื้นที่ รวมถึงการสร้างความสมานฉันท์ในระยะยาวอีกด้วย
       
       ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติหลักเกณฑ์ และวิธีการช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้เสียหายจากเหตุการณ์ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2555 พร้อมกับอนุมัติงบประมาณ 2,080 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้เป็นค่าดำเนินการ 80 ล้านบาท
       
       โดยได้มีการจัดสรรเงิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของงบประมาณให้กลุ่มที่ถูกกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ หรือกรณีเฉพาะ เช่น เหตุการณ์วันที่ 28 เมษายน 2547 (เหตุการณ์กรือเซะ) เหตุการณ์ตากใบ ส่วนกลุ่มประชาชนที่เป็นผู้เสียหายจากเหตุรุนแรงทั่วไปซึ่งเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด ได้รับการจัดสรรงบ 500 ล้านบาท
       
       สำหรับในส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นผู้เสียหายได้รับงบ 200 ล้านบาท และคนที่ถูกควบคุมตัว หรือถูกคุมขัง หรือถูกดำเนินคดี แต่ต่อมาปรากฏหลักฐานว่าไม่ได้ทำผิด ถอนฟ้องหรือถูกยกฟ้อง อีก 300 ล้านบาท
       
       ทว่า การเยียวยาของรัฐ ไม่ได้มีเพียงการให้เงินเท่านั้น เพราะศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้กำหนดหลักเกณฑ์การช่วยเหลือในรูปแบบอื่นๆ ด้วย เป็นการเน้นดูแลคุณภาพชีวิต ทำให้คนเหล่านี้ไม่เป็นภาระของสังคม และทำให้การเยียวยานำไปสู่ความสมานฉันท์ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะยาว
       
       ต่อไปนี้เป็นหลักเกณฑ์ และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้เสียหาย และได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
       
       1. การรักษาพยาบาลทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมทั้งการส่งต่อฟื้นฟูผู้พิการ หรือฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ โดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
       2. การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์
       3. การเยียวยาทางด้านจิตวิญญาณ เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ หรืออุมเราะฮ์ ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย หรือประกอบศาสนกิจตามหลักศาสนาอื่น
       4. การให้สิทธิในการเข้ารับการศึกษาของตนเอง หรือทายาท
       5. การสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการศึกษาอย่างต่อเนื่องตามสมควร
       6. การช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายด้านทรัพย์สิน
       7. การซ่อมแซมที่อยู่อาศัย หรือการช่วยเหลือด้านที่ทำกิน หรือการส่งเสริมการประกอบอาชีพ
       8. การได้รับการเยี่ยมเยียนอย่างต่อเนื่องโดยกลุ่มสหวิชาชีพ
       
       9. การส่งเสริมการสร้างกลุ่ม และการรวมกลุ่มของผู้ได้รับผลกระทบเพื่อดูแลซึ่งกันและกัน
       10. การได้รับความช่วยเหลือให้มีความปลอดภัย หรือมีส่วนร่วมในการจัดระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก
       11. การคุ้มครองป้องกันจากการถูกปองร้าย
       12. การจัดตั้งสถานพยาบาลเฉพาะทาง หรือสถาบันส่งเสริมการศึกษา เยียวยาฟื้นฟูผู้พิการในจังหวัดชายแดนภาคใต้
       13. การช่วยเหลือเยียวยาด้านกฎหมาย การฟ้องร้อง การดำเนินคดี หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
       14. ค่าใช้จ่ายในการแสวงหาข้อเท็จจริง และหลักฐาน การเข้าถึงความเป็นธรรม
       15. การช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเยียวยาฯ พิจารณาเห็นสมควร
       
       กองบรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)