ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ปริศนาในภาพถ่ายสถานีรถไฟสงขลา

เริ่มโดย หม่องวิน มอไซ, 11:49 น. 24 ม.ค 53

หม่องวิน มอไซ

สวัสดีครับ สมาชิกกิมหยง.คอมทุกท่าน
กระทู้นี้ขอนำภาพถ่ายสถานีรถไฟสงขลาทั้งเก่าและใหม่มารวบรวมไว้ เพื่อเป็นคลังข้อมูล (อาไคฟ)
พร้อมทั้งวิเคราะห์ ไขปริศนาต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ในภาพถ่ายเหล่านี้ครับ

ภาพที่ ๑ สถานีสงขลา พ.ศ. ๒๔๕๘



ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
ซึ่งตั้งอยู่ภายในสวนสาธารณะหาดใหญ่ (คอหงส์) เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒

ปริศนาในภาพถ่ายนี้คือ
๑. คำอธิบายภาพของหอจดหมายเหตุฯ บอกว่า เป็นภาพถ่ายในปี พ.ศ. ๒๔๕๙
แต่เกิดข้อสงสัยว่า ในปี ๒๔๕๙ มีเหตุการณ์หรือพิธีการสำคัญอย่างใด จึงประดับธงที่อาคารสถานีรถไฟแบบนี้
อนึ่ง ในปี ๒๔๕๘ ร.๖ ได้เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ และได้เสด็จมายังสถานีสงขลาด้วย แต่ผมยังหาจดหมายเหตุระยะทางเสด็จฯ มาอ้างอิงไม่ได้ ว่าเสด็จมาในวันที่เท่าใด และทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างใดบ้าง
อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันนับได้ว่าภาพถ่ายภาพนี้ เป็นภาพถ่ายอาคารสถานีสงขลาที่เก่าแก่ที่สุด และถ่ายก่อน พ.ศ. ๒๔๖๐ อย่างแน่นอน เนื่องจากธงที่ประดับอยู่เป็นธงช้าง (เริ่มเปลี่ยนเป็นธงไตรรงค์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๐)

๒. ฟิล์มกระจกต้นฉบับของภาพถ่ายนี้เก็บไว้ที่ใด
เท่าที่ทราบภาพถ่ายนี้ ทางหอจดหมายเหตุฯ เคยนำออกแสดงในรูปบอร์ดนิทรรศการ โดยได้รับมอบภาพถ่ายจาก อ.จรัส จันทร์พรหมรัตน์ และภาพที่ทางหอจดหมายเหตุฯ ได้ส่งมาให้ผมนี้ เป็นภาพที่สำเนาด้วยฟิล์มสีและส่งร้านอัดภาพทั่วไปอัดให้
หากเป็นภาพที่อยู่ในชุด ร.๖ เสด็จฯ เลียบมณฑลปักษ์ใต้ น่าจะมีอยู่ที่หอจดหมายเหตุฯ ท่าวาสุกรี แต่ผมได้ตามหาแล้ว ไม่พบแต่อย่างใด
(โปรดสังเกตรอยฉีกขาดของกระดาษในภาพ แสดงให้เห็นว่าเป็นภาพถ่ายสำเนาจากต้นฉบับที่เป็นกระดาษ และอยู่ในสภาพชำรุดอีกทีหนึ่ง)

๓. เหตุใดหน้าสถานีจึงมองเห็นทางรถไฟเพียงรางเดียว
หน้าสถานีควรมีอย่างน้อย ๒ ราง เพื่อไว้ใช้สับเปลี่ยน แต่จากภาพ มองเห็นรางเดียว (แม้ขอบชานชาลาจะบังรางเส้นหนึ่งในสองเส้นไว้ก็ตาม) ถัดไปเป็นป่าละเมาะ หรือว่าเนินดินบังรางหลีกไว้ก็ไม่ทราบ

Big Beach

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 11:49 น.  24 ม.ค 53
สวัสดีครับ สมาชิกกิมหยง.คอมทุกท่าน
กระทู้นี้ขอนำภาพถ่ายสถานีรถไฟสงขลาทั้งเก่าและใหม่มารวบรวมไว้ เพื่อเป็นคลังข้อมูล (อาไคฟ)
พร้อมทั้งวิเคราะห์ ไขปริศนาต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ในภาพถ่ายเหล่านี้ครับ

ภาพที่ ๑ สถานีสงขลา พ.ศ. ๒๔๕๘



ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
ซึ่งตั้งอยู่ภายในสวนสาธารณะหาดใหญ่ (คอหงส์) เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒

ปริศนาในภาพถ่ายนี้คือ
๑. คำอธิบายภาพของหอจดหมายเหตุฯ บอกว่า เป็นภาพถ่ายในปี พ.ศ. ๒๔๕๙
แต่เกิดข้อสงสัยว่า ในปี ๒๔๕๙ มีเหตุการณ์หรือพิธีการสำคัญอย่างใด จึงประดับธงที่อาคารสถานีรถไฟแบบนี้
อนึ่ง ในปี ๒๔๕๘ ร.๖ ได้เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ และได้เสด็จมายังสถานีสงขลาด้วย แต่ผมยังหาจดหมายเหตุระยะทางเสด็จฯ มาอ้างอิงไม่ได้ ว่าเสด็จมาในวันที่เท่าใด และทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างใดบ้าง
อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันนับได้ว่าภาพถ่ายภาพนี้ เป็นภาพถ่ายอาคารสถานีสงขลาที่เก่าแก่ที่สุด และถ่ายก่อน พ.ศ. ๒๔๖๐ อย่างแน่นอน เนื่องจากธงที่ประดับอยู่เป็นธงช้าง (เริ่มเปลี่ยนเป็นธงไตรรงค์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๐)

๒. ฟิล์มกระจกต้นฉบับของภาพถ่ายนี้เก็บไว้ที่ใด
เท่าที่ทราบภาพถ่ายนี้ ทางหอจดหมายเหตุฯ เคยนำออกแสดงในรูปบอร์ดนิทรรศการ โดยได้รับมอบภาพถ่ายจาก อ.จรัส จันทร์พรหมรัตน์ และภาพที่ทางหอจดหมายเหตุฯ ได้ส่งมาให้ผมนี้ เป็นภาพที่สำเนาด้วยฟิล์มสีและส่งร้านอัดภาพทั่วไปอัดให้
หากเป็นภาพที่อยู่ในชุด ร.๖ เสด็จฯ เลียบมณฑลปักษ์ใต้ น่าจะมีอยู่ที่หอจดหมายเหตุฯ ท่าวาสุกรี แต่ผมได้ตามหาแล้ว ไม่พบแต่อย่างใด
(โปรดสังเกตรอยฉีกขาดของกระดาษในภาพ แสดงให้เห็นว่าเป็นภาพถ่ายสำเนาจากต้นฉบับที่เป็นกระดาษ และอยู่ในสภาพชำรุดอีกทีหนึ่ง)

๓. เหตุใดหน้าสถานีจึงมองเห็นทางรถไฟเพียงรางเดียว
หน้าสถานีควรมีอย่างน้อย ๒ ราง เพื่อไว้ใช้สับเปลี่ยน แต่จากภาพ มองเห็นรางเดียว (แม้ขอบชานชาลาจะบังรางเส้นหนึ่งในสองเส้นไว้ก็ตาม) ถัดไปเป็นป่าละเมาะ หรือว่าเนินดินบังรางหลีกไว้ก็ไม่ทราบ

พ.ศ.๒๔๕๖ วันอังคารที่  ๑๓ มกราคม  เปิดสถานีวิทยุโทรเลขศาลาแดง
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=230166

พ.ศ.๒๔๕๖  วันที่ ๑ มกราคม รถไฟสายชุมทางอู่ตะเภา-สงขลา เปิดเดินรถ
พ.ศ.๒๔๕๙ วันที่ ๑ มกราคม เปิดทางรถไฟหลวงสายใต้ ตั้งแต่กรุงเทพพระมหานครฯ ลงไปยังมณฑลภาคใต้
http://www.haadyai.cjb.net/

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณพี่ Big Beach ครับ  :)
วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๕๙ ประกาศให้เป็นวันเปิดทางรถไฟหลวงสายใต้ ตั้งแต่กรุงเทพพระมหานครฯ ลงไปยังมณฑลภาคใต้
วันที่ ๑ มกราคม สมัยนั้นไม่ใช่วันขึ้นปีใหม่หรือวันแรกของปี แต่สาเหตุที่กำหนดให้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันเปิดทางรถไฟ ก็เนื่องจากเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของ ร.๖ ครับ ดังข้อความในราชกิจจานุเบกษาดังนี้



Kungd4d

 :D ;D ขอบคุณมากครับ ขอภาพที่สองต่อเลยครับ อาจารย์หม่องวิน มอไซ ครับ   ;D :D

หม่องวิน มอไซ

แต่ไม่ปรากฏว่า ร.๖ ได้เสด็จฯ มายังสถานีรถไฟสงขลา ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ แต่อย่างใด
(ถ้าผมเข้าใจผิด ก็ต้องขออภัยด้วยครับ)

หลักฐานที่ชัดเจนว่า ร.๖ เสด็จฯ มายังสถานีสงขลาในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ปรากฏในราชกิจจานุเบกษาดังนี้ครับ





หม่องวิน มอไซ

อ้างจาก: Kungd4d เมื่อ 21:52 น.  24 ม.ค 53
:D ;D ขอบคุณมากครับ ขอภาพที่สองต่อเลยครับ อาจารย์หม่องวิน มอไซ ครับ   ;D :D
ขอบคุณมากครับคุณ Kungd4d ที่เข้ามาชม ภาพที่สองกำลังตามมาครับ  ;)

หม่องวิน มอไซ

ภาพที่ ๒ สถานีรถไฟสงขลา พ.ศ. ๒๔๕๘ ในชุด ร.๖ เสด็จเลียบมณฑลปักษ์ใต้



ภาพนี้ผมเชื่อว่าถ่ายในวันอาทิตย์ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๕๘ (ค.ศ.1915) ที่กล่าวถึงในราชกิจจานุเบกษาข้างต้นครับ
โปรดสังเกตลักษณะของ"ใบไม้ฝอยๆ" (ไม่ทราบทำจากวัสดุอะไร) ที่นำมาหุ้มเสาอาคารสถานีไว้ รวมทั้งการประดับธง คล้ายกับภาพที่ ๑ มาก

ผมคิดเล่น ๆ จินตนาการเอาว่า หลังจากส่งเสด็จ ร.๖ และรถไฟออกไปแล้วในเวลา ๑๐.๓๐ น. กองเสือป่ากลับไปหมดแล้ว
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่ยังเหลืออยู่ก็ถ่ายรูปกับอาคารสถานี ดังรูปที่ ๑ ครับ (สังเกตว่าลานหลังสถานีไม่มีใครอยู่แล้วในภาพที่ ๑)
(เป็นความคิดส่วนตัวของผม โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านครับ  :D)

แต่ถ้าภาพที่ ๑ ถ่ายในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ จริง ก็คงเป็นวันที่ ๑ มกราคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษานะครับ

ที่สำคัญ อย่าลืมว่าสมัยนั้นขึ้นปีใหม่ไม่ใช่มกราคมแต่เป็นเมษายน
ดังนั้น การเรียงลำดับเดือนปีจะเป็นดังนี้
มิ.ย. ๕๘, ก.ค. ๕๘, ....., พ.ย. ๕๘, ธ.ค. ๕๘, ม.ค. ๕๘, ก.พ.๕๘, มี.ค. ๕๘, เม.ย. ๕๙, พ.ค. ๕๙,..., ธ.ค. ๕๙, ม.ค. ๕๙
ดังนั้น ๒๐ มิ.ย. ๒๕๕๘ ถึง ๑ ม.ค. ๒๕๕๙ ห่างกันถึง ๑ ปี ๖ เดือน ๑๑ วันครับ

คนเขารูปช้าง

 อ. หม่อง ฯ ครับ ผมเพิ่งเข้ามาอ่านกระทู้นี้ และคิดว่า ภาพ ๑ มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะถ่ายในวันเดียวกับที่ ร.๖ เสด็จฯ
มายังสถานีสงขลาในปี ๒๔๕๘ ดูจากการประดับตบแต่งทำอย่างเต็มที่ และลักษณะ การนำใบไม้มาประกบพันกับเสาทั้งด้านหลัง
(ตะวันตก) ของสถานี และที่เสาด้านหน้าด้านชานชลาสถานี มีการใช้ผ้าสีพันเป็นแถบปล้องเฉียงๆ ทั้งที่เสาแนวตั้งด้านหลังสถานี
และด้านชานชลาสถานี ก็มีการพันกับเสาค้ำยันชายคา เป็นปล้องเฉียงๆ ลักษณะเดียวกันเลยครับ คิดว่าเป็นการตกแต่งในครั้งเดียวกันครับ

ถึงแม้จะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา แต่ถ้าองค์พระประมุขไม่เสด็จฯ มาคงไม่มีการตกแต่งเต็มรูปแบบลักษณะนี้ครับ

อารมณ์ของผู้คนในภาพ ๑ ก็สอดคล้องกับการจินตนาการของ อ. หม่อง ฯ ยืนเอามือค้ำเสา อย่างผ่อนคลายให้ถ่ายรูป เหมือนกับว่า
โล่งอกไปเลย ภาระกิจสำคัญยิ่งได้ผ่านพ้นไปแล้วครับ


กู้ภัยพเนจร

ขอบคุณที่เอามให้ชมกันนะครับ มีคุณค่ามากมาย

วรชาติ มีชูบท

เมื่อวันอังคารไปหอสมุดแห่งชาติ  พบอาจารย์ท่านหนึ่งมาค้นคว้าเรื่องทางรถไสยใต้โดยเฉพาะเรื่องรถไฟที่เมืองสงขลา  เลยแนะนำให้ท่านไปอ่านจดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบหัวเมืองมณฑลปักษ์ใต้ พ.ศ. ๒๔๕๘ ของสักขี (มหาเสวกโท พระยาศรีวรวงศ์ - ม.ร.ว.จิตร  สุทัศน์)  มาวันนี้มาพบเวบนี้เข้าโดยบังเอิญ

ภาพที่ ๑ นั้นถ้าในภาพระบุว่าถ่ายใน พ.ศ. ๒๔๕๙  ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะถ่ายในวันที่  ๑  มกราคม  พ.ศ. ๒๔๕๙  ซึ่งเป็นวันเปิดการเดินรถไฟสายใต้จากกรุงเทฯ ถึงเมืองสงขลา  เพราะวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๕๙ นั้นเป็นวันเฉลิมพระชนม์พรรษาครบ ๓ รอบในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖  เรียกว่า "๓ รอบมโรงนักษัตร"  มีการฉลองยิ่งใหญ่มากรวมทั้งการสมโภชพระที่นั่งอนันตสมาคมในงานนี้ด้วย

ภาพที่ ๒  ผู้ที่ยืนวันทยาหัตถ์อยู่ทางขวารถพระที่นั่ง คือ นายพลเสือป่า เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว.ปุ้ม  มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง  และเกียกกายเสือป่า

สำหรับภาพแรกนั้นถ้าจะค้นกันจริงๆ ขอแนะนำให้ดูรายงานประจำปีของกรมรถไฟ  มีอยู่ที่หอจหมายเหตุแห่งชาติท่าวาสุกรี  ซึ่งผมก็ตั้งใจว่าจะไปค้นเรื่องสะพานรัษฎาภิเศกที่ลำปางอยู่เหมือนกัน  ได้ข่าวคราวอย่างไรจะเรียนมาให้ทราบอีกครั้งครับ

หม่องวิน มอไซ

ยินดีมากครับที่ได้พบกับอาจารย์วรชาติ มีชูบทครับ
วันนั้น (วันพุธที่ ๒๗ ม.ค. ๕๓ ครับ) ผมได้ไปที่หอวชิราวุธานุสรณ์ต่อ ตามคำแนะนำของท่านครับ
และได้สำเนาของจดหมายเหตุระยะทางเสด็จฯ พ.ศ.๒๔๕๘ มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างวิเคราะห์ข้อมูล และเปรียบเทียบกับภาพถ่ายที่ได้จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติครับ
อย่างไร ขอความกรุณา อ.วรชาติ เข้ามาที่เว็บไซต์กิมหยงดอทคอมบ่อย ๆ ครับ

จะได้ให้คำแนะนำผมวิเคราะห์ข้อมูลประวัติศาสตร์ครับ ขอขอบพระคุณครับ

สุดสัปดาห์นี้ผมคงไม่ได้เข้ามาที่เว็บกิมหยง เนื่องจากเย็นวันนี้ จะขึ้นรถไฟไปนครลำปาง เพื่อเยี่ยมชมโรงรถจักรลำปางครับ

พุทธพร ส่องศรี

Singoraman

เรื่องระดับสำคัญ ๆ ขอฝากเป็นภาระของสมาชิก
ผมขอแค่เรื่อง "ใบไม้ฝอยๆ" ที่ประดับโคนเสา
ว่าเป็น "กิ่ง+ใบสน" (ไม่ทราบเรียกสนอะไร) ขึ้นแถวชายเล ที่เป็นหาดดอนทราย
เช่น แถวม่วงงาม หาดแก้ว และหาดเก้าเส้งแต่แรก
(เรื่องหาดทรายดอนแบบนี้ อ.รัชนี บุญโสภณ เคยเขียนไว้เป็นเอกสารเผยแพร่หลายเวที)
ชาวบ้านนิยมนำไปทำซุ้มประตูเวลามีงานมงคล เช่น งานแต่ง งานวัด
ปัจจุบันจะเห็นการใช้กิ่งสนแบบนี้ตบแต่ง ร้านอาหารประเภทย่อย ๆ
คราออกบวช หรือ "ปอซอ" แถว ๆ ท่าเสา สิงหนคร

หม่องวิน มอไซ

ในจดหมายเหตุฯ ระบุไว้เพียงว่า "ตกแต่งด้วยใบสนของป่า" ครับ
ใช่สนเดียวกับที่กำลังจะล้มอยู่ เนื่องจากน้ำเซาะที่หาดสมิหลาหรือเปล่าครับ (สนทะเล)

แต่อาจไม่ใช่ เพราะจากลักษณะที่อาจารย์ Singoraman บอกนั้นสอดคล้องกับคำว่า ใบสนของป่า
ถ้าเป็นสนทะเล ก็น่าจะเขียนว่า สนทะเล ไปแล้ว  :)


Singoraman

ใช่เลยครับ "ใบสนของป่า"
แต่ไม่ใช่สนทะเล หรือ สนประดิพัทธิ์
ปัจจุบันยังมีอีกมาก แถบชายเล ที่มีดอนทราย หรือ สันทราย ชายเล
ใบสนชนิดนี้ มีกลิ่นเหม็นเขียว ฉุน ๆ เล็กน้อย

วรชาติ มีชูบท

อาจารย์หม่องวิน  จะขึ้นไปลำปาง  ห็ขอฝากดูเรื่องสะพานรัษฎาภิเศกด้วยครับ
ดู้หมือนการก่อสร้างถนนและสะพานสำคัญๆ จะมาพร้อมกับการสร้างทางรถไฟ
รถไฟสายเหนือไปถึงลำปาง พ.ศ. ๒๔๕๘  พอปี ๒๔๖๐ ก็มีสะพานรัษฎาภิเศกเป็นสะพานคอนกรีตดังที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้แทนสะพานเดิมที่เป็นสะพานไม้  แต่คงรักษาชื่อเดิมของสะพานที่ตั้งเป็นที่ระลึกการพระราชพิธีรัชดาภิเศกรัชกาลที่๕ ไว้

ถัดไปวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๖๔ เปิดเดินรถไฟสายเหนือจากกรุงเทพฯ ไปถึงเชียงใหม่วันที่  ๒  มกราคม  แล้ววันที่  ๑  มกราคม  พ.ศ. ๒๔๖๖  ก็มีกระแสพระบรมราชโองการสั่งให้เปิดโฮเต็ลหัวหิน หรือปัจจุบันคือโรงแรมโซฟิเทลเซ็นทารา หัวหิน (โรงแรมรถไฟเดิม)  กับเปิดใช้สะพานนวรัฐที่เชียงใหม่  ฉะนั้นภาพที่ ๑ จึงมีความเป็นไปได้สูงมากที่จะถ่ายในวันที่  ๑  มกราคม  ๒๔๕๙

หม่องวิน มอไซ

เพิ่งกลับจากลำปางมาครับ ได้ข้อมูลสะพานรัษฎาภิเศกมาบ้างเล็กน้อย ไว้จะนำมาลงให้ชมกันครับ

หม่องวิน มอไซ

อ้างจาก: Singoraman เมื่อ 11:44 น.  29 ม.ค 53
ใช่เลยครับ "ใบสนของป่า"
แต่ไม่ใช่สนทะเล หรือ สนประดิพัทธิ์
ปัจจุบันยังมีอีกมาก แถบชายเล ที่มีดอนทราย หรือ สันทราย ชายเล
ใบสนชนิดนี้ มีกลิ่นเหม็นเขียว ฉุน ๆ เล็กน้อย
สันทรายชายหาด มีระบบนิเวศเฉพาะ น่าเสียดายที่อีกหน่อยถ้าสร้างโรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า ฯลฯ ริมทะเล
ป่าสันทรายชายหาดก็คงหมดไปครับ

ลูกแมวตาดำๆ

ถ้าเรานำภาพขาวดำไปให้ร้านทำเป็นภาพสีพอจะได้ไหมครับ เผื่อจะได้ไขปริศนาอะไรได้มากขึ้น

หม่องวิน มอไซ

ทำได้ก็คงแพงนะครับ
อีกอย่าง เราไม่มีข้อมูลว่าตรงไหนสีอะไร ยากที่จะไขปริศนาได้เพิ่มขึ้นนะครับผมว่า
(แต่ก็อยากเห็นเป็นภาพสีเหมือนกัน เหมือน ส.ค.ส.แต่แรก ที่เอาภาพขาวดำมาระบายสีทับลงไปน่ะครับ)


หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณท่าน"พี่"มากครับ ที่สละเวลาสแกนบทความในโฟกัสภาคใต้ฉบับใหม่ล่าสุดมาให้อ่านเป็นประจำ
จากวันที่เขียนบทความนี้ ถึงวันนี้
ได้ท่านคนเขารูปช้าง อาจารย์ Singoraman อาจารย์วรชาติ มาช่วยกันไขปริศนา คืบหน้าไปเป็นอย่างมากครับ   O0

เพิ่งกลับจากลำปางมา นำภาพสะพานรัษฎาภิเศก รุ่นที่ ๓ ซึ่งสร้างเมื่อ มี.ค. ๒๔๖๐ มาให้ชมกันพลาง ๆ ก่อนครับ
ภาพถ่ายโดยคุณบอมบ์แห่งเว็บรถไฟไทยดอทคอมครับ


วรชาติ

ข้อมูลจากจดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ พ.ศ. ๒๔๖๐  กล่าวถึงการประดับตกแต่งพลับพลาประทับร้อน ที่สถานีรถไฟหลังสวน  จังหวัดสุราษฎร์นีไว้ว่า

"เสด็จพระราชดำเนินสู่พลับพลาประทับร้อน  ซึ่งปลูกเปนปรำต่อหลังสถานีออกไป  แต่งด้วยหญ้าฝอยซึ่งเรียกว่าหญ้ารังไก่หรือต้นสามร้อยยอด  หญ้าชนิดนี้คล้ายใบสนมีชุมในมณฑลปักษ์ใต้  ได้เห็นใช้แต่งพลับพลาทุกระยะทางมา"

ข้อมูลนี้น่าจะให้คำตอบเรื่องใบสนที่สงสัยกันอยู่นะครับ