ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สำรวจสถานีอู่ตะเภา (สถานีต้นโด - ต้นประดู่)

เริ่มโดย กิมหยง, 14:04 น. 22 ก.พ 53

หม่องวิน มอไซ

ตอนนี้แค่ท่านกิมหยง ท่านเฮียใช้ ท่านลูกแมวฯ เข้าไปสำรวจและนำมาเผยแพร่ในเว็บไซต์นี้
ก็นับเป็นการอนุรักษ์วิธีหนึ่งแล้วครับ ผมก็หวังว่าอีกไม่นานคงมีคนเริ่มเห็นความสำคัญ

ลองดูที่สถานีธนบุรีสิครับ น่าเสียดายบ่อกลับรถที่กลายเป็นบ่อขยะครับ




ภาพจากรถไฟไทยดอทคอม
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2829

หม่องวิน มอไซ

กลับมาดูขอบบ่อวงเวียนที่ท่านกิมหยงและท่านลูกแมวฯ ค้นพบนะครับ



ลักษณะความหนาของขอบ ดูแล้วพอ ๆ กับบ่อที่สงขลาเลยครับ
น่าจะสร้างในรุ่นเดียวกัน หรือแบบเดียวกัน

หม่องวิน มอไซ

นี่ครับขอบบ่อที่สงขลา


ขอบคุณภาพโดย Patiew จากรถไฟไทยดอทคอม

หม่องวิน มอไซ

จากนิราศรับพัชนิ์ ที่ท่านพระครูชู วัดจะทิ้งพระ ประพันธ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2464
บรรยายบรรยากาศบริเวณสถานีอู่ตะเภาไว้ว่าดังนี้ครับ

พอรุ่งเจ็ดนาฬิการถสงขลาออก ไปบางกอกข้ามเขตประเทศสถาน
นายรถรีบถีบรถบดทยาน จากสถานสงขลาถึงสถานี
ที่น้ำกระจายเจ็ดนาฬิกาเศษ ตามสังเกตทางรถกำหนดที่
สองข้างทางสร้างสวนมะพร้าวมี อ้วนงามดีพึงปลูกตกลูกลาย
ยังคิดถางสร้างป่าต่อต่อไป รอยเอาไฟเผาลนเหมือนปรนไร่
ความโลภะของมนุษย์สุดแรงร้าย ไม่คิดกายว่าจะเหนื่อยเมื่อยกายา
จากน้ำกระจายถึงสถานีบ้านควนหิน เห็นเจ็กจีนจับหมูยืนอยู่ถ้า
จ้างรถไฟทุกไปเป็นสินค้า อนิจจาไม่คิดบาปปิดบัง
แล้วเลื่อนรถเร็วมาอีกสถานี น้ำน้อยอีกที่ดังใจหวัง
เขาน้ำน้อยรอยแร่แม่เหล็กยัง ขุดไปตั้งสูบเผาเอาตีชะแลง
บ้างตีจอบตีพร้าพาไปขาย ซื้อไปใช้ทุกตำบลทุกหนแห่ง
ความโลภะของบุคคลนี้รนแรง อุตส่าห์แสวงหาจะให้มี
จากน้ำน้อยถึงชุมทางอู่ตะเภา สิ้นเขตเขาระหว่างคีรีศรี
คนเดินไขว่ไปมาที่สถานี สถานที่เปลี่ยนรถปลดไปมา
รถสงขลาสายหนึ่งไปไทรบุรี สายหนึ่งรี่ไปทุ่งสงลงรอถ้า
รถชุมพรรับตอนไปไชยา รถสงขลาเลยไรไปเมืองตรัง
รถอู่ตะเภาสายหนึ่งไปปัตตานี ออกเป็นสี่ทางแพรกแยกโดยหวัง
รถสงขลาที่เลยไปเมืองตรัง รุ่งขึ้นหวังกลับมาสงขลาเมือง
จากอู่ตะเภามาหยุดที่หาดใหญ่ ทั้งจีนไทยแขกฝรั่งเดินนั่งเนื่อง
มีตลาดขายของเหมือนกลางเมือง ไม่ขัดเคืองสินค้าสารพัน
จากสถานีหาดใหญ่ไปบางกล่ำ เห็นคนล่ามโคควายอยู่หลายหลั่น
บ้างดำนาถอนกล้าอยู่เนืองนันต์ กลางทุ่งนั้นแลไปไกลสุดตา


แสดงว่ารถไฟจากสงขลา จะมาหยุดที่อู่ตะเภาก่อน แล้วแวะไปรับคนที่หาดใหญ่
แล้วค่อยวกขึ้นไปบางกล่ำครับ ในสมัยนั้น  :)


Thanakorn P.

สถานีรถไฟอู่ตะเภา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภา หรือ สถานีรถไฟอู่ตะเภา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2452 ตั้งอยู่ตำบลคลองอู่ตะเภา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในอดีตเป็นสถานีรถไฟ ระดับ 1 ของทางรถไฟสายใต้ แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2455 ได้ประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง จึงมีการดำริย้ายสถานีรถไฟชุมทางไปยังสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ในปัจจุบัน

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%B2

ชุมทางอู่ตะเภา กิโลเมตรที่ 929.36
การถ่ายภาพคือ การบันทึกความทรงจำ

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณคุณ Thanakorn P. ที่นำข้อมูลจากวิกิพีเดีย มาให้อ่านครับ
ทำให้ทราบว่าข้อมูลในนั้นยังมีที่ผิดพลาดอยู่หลายแห่ง ทั้งในแง่ปี พ.ศ.และพิกัด กม.
คงต้องรอให้การสำรวจของทีมงานกิมหยง.คอม เสร็จสิ้นในระดับหนึ่ง
แล้วค่อยเอาผลการสำรวจและศึกษาค้นคว้าไปแก้ไขข้อมูลในวิกิพีเดียให้ถูกต้องต่อไปครับ

เรื่องราวเกี่ยวกับ ชุมทางอู่ตะเภา นั้น ปรากฏอยู่ในหนังสือ เพื่อระฤกถึงพระคุณ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
โดยอ้างอิงจากรายงานประจำปี ๒๔๖๕ ดังนี้ครับ


กิมหยง

ข้อสังเกตุจากการเข้าไปสำรวจครับ
บริเวณโรงซ่อมพื้นดินจะต่ำกว่ารางรถไฟปัจจุบันพอสมควร
ไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้นครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

หม่องวิน มอไซ

โบราณสถาน ซากเมืองเก่าต่าง ๆ มักจะจมอยู่ใต้ดิน ต้องขุดลงไปถึงจะเจอ
กรณีของสถานีอู่ตะเภาก็เช่นกัน
โรงรถจักร วงเวียนกลับรถจักร คงจะยกเลิกการใช้งานไปก่อน พ.ศ. 2470

ที่อู่ตะเภานี้ น้ำท่วมบ่อย
สะพานทางรถไฟเล็ก ๆ ที่อยู่ด้านเหนือของอดีตโรงรถจักร ก็คงสร้างขึ้น เพื่อเปิดคันทางให้มีการระบายน้ำดีขึ้น
อาจเป็นไปได้ว่า มีการเสริมคันทางให้สูงขึ้นกว่าเดิม แต่ไม่มีหลักฐานครับ

อีกอย่างที่ไม่อยากคิดเลย คือ แผ่นดินที่เคยเป็นโรงรถจักร ทรุดลงไปกว่าเดิม
เช่นเดียวกับกรณีของลานจอดรถหลังสถานีสงขลา ที่ต่ำกว่าระดับดินสมัย ร.6 มาก

กิมหยง

เขามีขุดดินเพื่อไปถมที่สถานีหาดใหญ่หรือเปล่าครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

หม่องวิน มอไซ

ถ้าขุดดินไป บ่อที่กลับรถ (วงเวียน) น่าจะหายไปด้วยสิครับ
การขุดดินเคยเกิดขึ้นจริง เมื่อตอนที่ขุดคันทางรถไฟเก่าที่เชื่อมระหว่างอู่ตะเภาไปทางคลองแห
ไปถมทำคันทางใหม่ เพื่อเชื่อมกับสถานีหาดใหญ่แทน ในปี พ.ศ. 2465
แต่ดินตรงโรงรถจักร ไม่น่าโดนขุดไปนะครับ

กิมหยง

ครับ ท่าน ทางตรงที่ท่านบอกว่าขุดไป ก็ได้ไปสำรวจครับ
ปัจจุบันเป็นถนน

ได้ข่าวว่าท่านพระอาจารย์เดินทางมาสำรวจด้วยตนเอง ตรงบริเวณใกล้ ๆ กันด้วย

ท่านน่าจะชวนกันบ้างนะครับ อยู่ใกล้ ๆ สำนักงานพอดีครับ

เคยคิดจะสำรวจตลอดเส้นทางเหมือนกันครับท่าน
แต่บางระยะ ดูอันตราย พอสมควรครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

หม่องวิน มอไซ

ไว้โอกาสหน้าคงได้ไปสำรวจด้วยกันครับ  ;)
เพราะคงต้องอาศัยท่านกิมหยงหรือคุณลูกแมวฯ ช่วยนำทาง

ช่วงที่เดินตามถนนเลียบทางรถไฟ สะพานดำ ก็รีบ ๆ เดินครับ กลัว ๆ เหมือนกัน
บ้านเต็มหมดเลยสองฝั่งถนน
แต่ช่วงที่เลยใต้สะพานรัชมังคลาภิเษกไปทางเหนือ ไปถึงโค้งขวานั้น รกทึบมาก ไม่สามารถเดินต่อไปได้เลยครับ

การสำรวจที่ตั้งของโรงรถจักรที่อู่ตะเภานี้ เป็นเรื่องใหม่มาก เชื่อว่ายังไม่มีใครเคยทำมาก่อน
ทีมงานท่านกิมหยงเป็นผู้บุกเบิกเลยนะครับ
นับได้ว่าช่วยเติมเต็มประวัติศาสตร์รถไฟสายอู่ตะเภา-สงขลาได้จริง ๆ ครับ

กิมหยง

ก็ไม่มีความรู้เลยครับ

ไว้มีเครื่อง GPS จะระบุ ทุก ๆ รายละเอียดที่พบครับท่าน
สร้าง & ฟื้นฟู

คนเขารูปช้าง

ขอติดตามต่อไปด้วยความสนใจมากครับ

กู้ภัยพเนจร

ให้กำลังใจทุกท่านครับ  นับเป็นความตั้งใจที่พวกเราทึ่งมากครับ  O0

Big Beach

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 21:10 น.  24 ก.พ 53
โบราณสถาน ซากเมืองเก่าต่าง ๆ มักจะจมอยู่ใต้ดิน ต้องขุดลงไปถึงจะเจอ
กรณีของสถานีอู่ตะเภาก็เช่นกัน
โรงรถจักร วงเวียนกลับรถจักร คงจะยกเลิกการใช้งานไปก่อน พ.ศ. 2470

ที่อู่ตะเภานี้ น้ำท่วมบ่อย
สะพานทางรถไฟเล็ก ๆ ที่อยู่ด้านเหนือของอดีตโรงรถจักร ก็คงสร้างขึ้น เพื่อเปิดคันทางให้มีการระบายน้ำดีขึ้น
อาจเป็นไปได้ว่า มีการเสริมคันทางให้สูงขึ้นกว่าเดิม แต่ไม่มีหลักฐานครับ

อีกอย่างที่ไม่อยากคิดเลย คือ แผ่นดินที่เคยเป็นโรงรถจักร ทรุดลงไปกว่าเดิม
เช่นเดียวกับกรณีของลานจอดรถหลังสถานีสงขลา ที่ต่ำกว่าระดับดินสมัย ร.6 มาก

การเสริมคันทางให้สูงกว่าระดับเดิมเมื่อแรกสร้างนั้งคงจะไม่ค่อยมีใครทำครับ(ยกเว้นล่าสุดคือสะพานข้ามคลอง ร.๑) โดยเฉพาะชุมทางอู่ตะเภาซึ่งอยู่ใกล้สะพาน ถ้าถมคันทางบริเวณสถานีให้สูงขึ้น จะส่งผลให้ระดับสันรางบนสะพานจะต่ำกว่าระดับสันรางก่อนเข้าสะพาน เวลารถผ่านสะพานความเร็วของรถจะสูงขึ้น(เนื่องจากรถไหลจะลงที่ต่ำกว่า) ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายได้ครับ

Big Beach

อ้างจาก: Thanakorn P. เมื่อ 11:14 น.  23 ก.พ 53
สถานีรถไฟอู่ตะเภา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภา หรือ สถานีรถไฟอู่ตะเภา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2452 ตั้งอยู่ตำบลคลองอู่ตะเภา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในอดีตเป็นสถานีรถไฟ ระดับ 1 ของทางรถไฟสายใต้ แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2455 ได้ประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง จึงมีการดำริย้ายสถานีรถไฟชุมทางไปยังสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ในปัจจุบัน

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%B2

ชุมทางอู่ตะเภา กิโลเมตรที่ 929.36

อย่างสั้นครับ

http://th.wikipedia.org/wiki/สถานีรถไฟอู่ตะเภา

ผมไม่เชื่อวิกิพีเดียภาษาไทยครับ
ลองเปิด "ประวัติหาดใหญ่" ดูสิครับ
มันผิดอยู่ ผมแก้ให้ถูกแล้ว ยังอุตส่าห์มีคนที่คิดว่า"รู้มาก"แต่ไม่รู้จริง มาแก้ของถูกให้กลายเป็นของผิดไป

Big Beach

อ้างจาก: กิมหยง เมื่อ 22:44 น.  24 ก.พ 53
ก็ไม่มีความรู้เลยครับ

ไว้มีเครื่อง GPS จะระบุ ทุก ๆ รายละเอียดที่พบครับท่าน

อันที่สำรวจหลักเขตต์รถไฟหลวง บนทางเท้าที่สงขลาไปไหนเสียละครับ ขอยืมเค้ามาอีกที
หรือไม่ก็อาจจะซื้อใหม่ จากการศึกษาพบว่า รุ่นนี้ราคาประหยัดที่สุดแล้วครับ

Big Beach

อ้างจาก: กิมหยง เมื่อ 22:00 น.  24 ก.พ 53
ครับ ท่าน ทางตรงที่ท่านบอกว่าขุดไป ก็ได้ไปสำรวจครับ
ปัจจุบันเป็นถนน

ได้ข่าวว่าท่านพระอาจารย์เดินทางมาสำรวจด้วยตนเอง ตรงบริเวณใกล้ ๆ กันด้วย

ท่านน่าจะชวนกันบ้างนะครับ อยู่ใกล้ ๆ สำนักงานพอดีครับ

เคยคิดจะสำรวจตลอดเส้นทางเหมือนกันครับท่าน
แต่บางระยะ ดูอันตราย พอสมควรครับ

ตรงต้นโด มีชุมชนอยู่ ชื่อว่า ชุมชนต้นโด เราอาจจะลองติดต่อประธานชุมชนดูว่าเรามาสำรวจทางประวัติศาสตร์ (หาแนวร่วม) อาจจะเป็นการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน กิจการร้านค้าในชุมชนจะดีขึ้นเช่น ร้านของชำ หรือร้านกาแฟ

ส่วนตรง ถนนคึกฤทธิ์ ไม่รู้เรียกว่าชุมชนอะไร ลับแล หรือปล่าวก็ไม่ทราบ

ถ้าเป็นไปได้อาจจะชวนเด็กๆ ในชุมชนมาสืบค้นประวัติศาสตร์ของชุมชนตัวเอง (สกว มีโครงการอะไรทำนองนี้ จำชื่อไม่ได้แล้ว)

ลูกแมวตาดำๆ

อ้างจาก: Big Beach เมื่อ 14:10 น.  01 มี.ค 53
อ้างจาก: กิมหยง เมื่อ 22:44 น.  24 ก.พ 53
ก็ไม่มีความรู้เลยครับ

ไว้มีเครื่อง GPS จะระบุ ทุก ๆ รายละเอียดที่พบครับท่าน

อันที่สำรวจหลักเขตต์รถไฟหลวง บนทางเท้าที่สงขลาไปไหนเสียละครับ ขอยืมเค้ามาอีกที
หรือไม่ก็อาจจะซื้อใหม่ จากการศึกษาพบว่า รุ่นนี้ราคาประหยัดที่สุดแล้วครับ

GPS ตัวนั้นทาง มอ. ให้มาเพื่อเก็บข้อมูลจุดการเกิดอุบัติเหตุของทางหน่วยกู้ภัยครับ

ซึ่งตอนนี้ทาง มอ. ได้ขอกลับคืนไปหลายเดือนแล้วครับ

รุ่นนั้นถูกที่สุดแล้วครับ แต่ก็ ราคา ประมาณ 5,000 บาท

0001

ชุมชนต้นโด ก่อตั้งได้ประมาณ 3-4 เดือน แยกออกมาจากชุมชนสัจจกุล นำโดยนายเสรี แป้นทอง และชาวบ้านในระแวกนั้นๆ ของลองเข้าไปติดต่อหัวหน้าชุมชนต้นโดดูสิ แก่ชื่อนายเสรี แป้นทอง แต่ถ้าจะไปต้องตอนเย็น

0001

ขอแก้ไข จากชุมชนสัจจกุลเป็นชุมชนรัชมังคลาภิเษก