ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สำรวจทางข้ามรถไฟเก่า

เริ่มโดย Thanakorn P., 15:04 น. 28 มี.ค 53

Thanakorn P.

1. ถ.คลองเตย-คลองเปล
พิกัด   7° 2'26.66"น - 100°29'18.63"ตะวันออก
การถ่ายภาพคือ การบันทึกความทรงจำ

Thanakorn P.

2. ถ.รัตถกาล
พิกัด   7° 2'5.84"น - 100°28'45.93"ตะวันออก
การถ่ายภาพคือ การบันทึกความทรงจำ

Thanakorn P.

3. ถ.สะพานดำ
พิกัด   7° 1'34.69"น - 100°27'57.02"ตะวันออก
การถ่ายภาพคือ การบันทึกความทรงจำ

Thanakorn P.

จะเห็นได้ว่าสะพานที่นำมาให้ชมนี้
ค่อนข้างเก่าชำรุดมาก โดยเฉพาะตรงที่ ถ.สะพานดำ ไม่รู้ว่าจะพังเมื่อไหร่
ผู้ที่ใช้เส้นทางนี้ก็ระวังกันหน่อยครับ
และสังเกตว่า มีชื่อ หจก.วัฒนภัทร์ สีซินโก้ ไม่รู้ว่าเกี่ยวข้องอะไร
เชิญท่านอาจารย์วิเคราะห์ได้ครับ
การถ่ายภาพคือ การบันทึกความทรงจำ

หม่องวิน มอไซ

สะพานนี้



เป็นสะพานแบบแผงขึ้น  ใกล้ถนนคลองเตย-คลองเปล ตั้งอยู่ที่ กม. 933 + 977.00 จากธนบุรี ความยาว 1 x 20.00 รวม 20.00 เมตรครับ
ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองคลองแห

ภาพถ่ายทางอากาศ เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2517
ยังไม่มีถนนคลองเตย-คลองเปล และคลองชลประทานที่ขนานกับทางรถไฟ
เข้าใจว่าเป็นสะพานเพื่อการระบายน้ำครับ


หม่องวิน มอไซ

ดูในแผนที่ภูมิประเทศ ชุด L7017S สะพานจะอยู่ตรงนี้ครับ


หม่องวิน มอไซ

สะพานนี้



เป็นสะพานแบบโครงขึ้น 1 ใน 2 แห่งของทางรถไฟสายสงขลาครับ
และมีลักษณะเป็นแบบโครงถักอีกด้วย (โครงถัก คือ โครงสะพานมีลักษณะเป็นช่อง ๆ คล้ายตาข่ายอีกที ไม่ทึบ)
ตั้งอยู่ที่ กม. 932+782.00 จากธนบุรี ความยาว 1 x 48.00 รวม 48.00 เมตร
ในเขตเทศบาลเมืองคลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
(สะพานแห่งนี้เป็นจุดบรรจบกันระหว่างเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลเมืองคอหงส์และเทศบาลเมืองคลองแห)




จากภาพถ่ายทางอากาศ เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2517
สภาพบริเวณสะพานคลองเตย ยังเป็นป่าตามแนวคลอง
รอบๆ เป็นทุ่งนา มีต้นตาลขึ้นมากมายครับ


ภาพถ่ายทางอากาศ กรมแผนที่ทหาร รหัสภาพ N.S.3 M37-151

หม่องวิน มอไซ

สะพานนี้



เป็นสะพานไม้ข้ามถนนสะพานดำ ซึ่งแยกออกมาจากถนนรัถการ ด้านทิศเหนือของเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ลอดผ่านใต้สะพาน
ตั้งอยู่ที่ กม. 931+030.60 จากธนบุรี ความยาว 15.00 x 4 รวม 60.00 เมตร
อยู่ภายในเขตเทศบาลเมืองคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
นับเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในทางรถไฟสายสงขลา และยังหลงเหลือให้เห็นในปัจจุบันครับ


ภาพจากแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ชุด L7017S ของกรมแผนที่ทหาร ระวาง 5123III

สะพานแห่งนี้เดิมเคยทำหน้าที่ระบายน้ำระหว่างตำบลคลองแหกับเมืองหาดใหญ่
บริเวณรอบๆ ในสมัยเมื่อ 30 กว่าปีก่อนเคยมีแต่ทุ่งนา ดังภาพข้างล่างครับ
ในภาพนี้ มองเห็นแนวคันทางสายสงขลาเก่า (ก่อนการแก้ทิศรางในปี 2465) ทางด้านซ้ายของภาพ และแนวถนนรัถการที่ตัดผ่านทุ่งนาอีกด้วย

ภาพถ่ายทางอากาศ กรมแผนที่ทหาร เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2517 รหัสภาพ N.S.3 M37-152

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณคุณ Thanakorn P. มาก ๆ ครับที่ให้ความสนใจ
สำรวจสะพานรถไฟในทางรถไฟสายสงขลา 3 สะพานแรกจากหาดใหญ่มาให้ชมกัน
(จากทั้งหมด 16 สะพาน)

ไว้จะนำพิกัดภูมิศาสตร์ของสะพานทั้ง 16 สะพานมาลงไว้เพื่อประโยชน์ในการสำรวจต่อไปครับ

สำหรับ หจก.วัฒนภัทร์ สีซันโก้ เป็นชื่อของบริษัทที่รับเหมาซ่อมสีสะพานในปี พ.ศ. 2537 ครับ
คือในทางนิตินัย ทางรถไฟสายสงขลายังมิได้รื้อถอน เพียงแค่ยกเลิกการเดินรถชั่วคราวเท่านั้น
สะพานต่าง ๆ ยังถือว่าเป็นทรัพย์สินถาวร ต้องมีการบำรุงรักษาครับ

แต่สะพานไม้บางแห่งก็จำหน่ายตัดบัญชีไปแล้ว อย่างเช่นสะพานไม้ข้ามคลองพะวง ตั้งอยู่ที่ กม. 944 + 655.40 จากธนบุรี ความยาว 8.00 x 4 เมตร (รวม 32.00 เมตร) ตอนนี้เหลือเพียงแค่รางเหล็กตกท้องช้าง และโดนตัดบัญชีตั้งแต่ 25 ธันวาคม 2550 ครับ

Thanakorn P.

ท่านหม่องวินครับ ช่วยเอาพิกัดจีพีเอสมาลงให้หน่อยได้มั้ยครับ
เผื่อผมว่างๆ จะได้ไปสำรวจต่อไป
เท่าที่ผมเห็นผ่านทางกูเกิลก็สะพานใหญ่ๆ เท่านั้น
สะพานเล็กไม่เห็นเลยครับ
การถ่ายภาพคือ การบันทึกความทรงจำ

หม่องวิน มอไซ

กำลังจะทำ file kmz ของ Google Earth อยู่ครับ
ระหว่างนี้รบกวนชมกระทู้นี้ไปพลางก่อนครับ  ;)
ึคงพอเป็นแนวทางได้ไม่มากก็น้อย

http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3603

จันทร์กระจ่างฟ้า

ทำการย้ายกระทู้เสร็จสมบูรณ์แล้ว
ในโลกนี้ มีคนเพียงแค่ 2 คนที่ไม่มีความทรงจำ คนหนึ่งยังไม่เกิด ส่วนอีกคนตายไปแล้ว