ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

รัฐล้มท่าเรือปากบารา ทางเลือกใหม่แลนด์บริดจ์สงขลา-ปีนัง กับฟื้นฟูรถไฟสงขลา-หาดใ

เริ่มโดย d1254545, 13:11 น. 10 ก.ค 53

d1254545

ล้มแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล ทางเลือกใหม่คือ แลนด์บริดจ์สงขลา-ปีนัง


โครงสร้างพื้นฐานของแลนด์บริดจ์ สงขลา-ปีนัง มีครบทุกอย่างโดยแทบไม่ต้องลงทุนเพิ่ม ขาดแต่ระบบการจัดการที่ต้องใส่เข้าไป








เรื่องนี้เป็นเพราะรัฐบาลช้า จะทำโครงการอะไรก็กลัวโน้นกลัวนี้ กลัวจะเสียโอกาสการท่องเที่ยว วิถีชาวบ้าน แทนที่จะคิดว่า ทำอย่างไรให้ท่าเรือมันสามารถอยู่กับชาวบ้านได้กลับไม่ทำ

ปัญหาของประเทศเรา คือ การบังคับใช้กฎหมาย อยากให้ไปดูงานที่ญี่ปุ่น ท่าเรือของเขา ปลาชุมยิ่งกว่าแนวประการังอีก เพราะ การท่าเรือเขาเป็นห่วงชาวบ้าน เขาเลยสร้างประการังเทียมรอบท่าเรือเลย และมีระบบการขนส่งมีความปลอดภัยสูง

เราไม่จำเป็นต้องเลือกท่องเที่ยว ท่าเรือ หรืออื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เราสามารถเลือกได้ทุกอย่าง เพียงแต่ ต้องบริหารจัดการ และให้ชาวบ้านมามีส่วนร่วม และที่สำคัญคือจิตสำนึกสาธารณะ ไม่ใช่ว่าจะทำอะไรก็ค้านดะ ไม่ฟังเหตุผล ต่อให้พัฒนาแต่การท่องเที่ยว โรงแรมใหญ่ๆก็เป็นของนายทุนอยู่ดี แล้ววิถีชีวิต ก็จะมีฝรั่งเข้ามาอาบแดดนอนแก้ผ้าแบบฟลูมูนอยู่ดี แล้วมันจะต่างอะไร

แล้วที่ขู่รัฐว่า จะคืนบัตร แบบที่ขู่เรื่อง พรบ.ศอ.บต. ขู่กันแบบนี้ไม่ได้ เพราะเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา เพราะ ศอ.บต. มันมีผลต่องบ และความมั่นคง เขาจึงยอมผ่านให้

ส่วน ท่าเรือทวาย ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ เพราะต้องผ่านลุ่มน้ำชั้น A1 แล้วคุณคิดหรือว่า เมื่อโครงการเดินไปได้สักพักแล้ว ชาวเมืองกาญจณบุรี จะไม่ออกมาคัดค้าน เพราะแถวนั้นมันแหล่งท่องเที่ยว แหล่งประวัติศาสตร์ นี้ยังไม่รวมปัญหาที่จะเกิดที่ฝังพม่า ทั้งเรื่องการตรวจสินค้าผ่านแดน ความมั่นคง การลักลอบเข้าเมือง ชนกลุ่มน้อย ตรงนั้นมันรัฐกะเหลี่ยง วันดีคืนดี รัฐกะเหลี่ยงแบ่งผลประโยชน์ไม่ลงรอยกับรัฐบาลทหารพม่า มันจะเป็นเรื่อง

แล้วเส้นทางการขนส่งที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ไม่รู้จะปิดจะเปิดวันไหน เอกชนที่ไหนจะกล้าใช้ เพราะการส่งมอบสินค้ามันเป็นส่งมอบล่วงหน้า ส่งมอบช้า 1 วัน โดนปรับเจ๊งแน่ๆ





 
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตรุเตา มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูงมาก ดังนั้น ไม่สมควรเลยที่จะเอา อุตสาหกรรมเข้าไป


สรุปจากผู้เขียน

ท่าเรือน้ำลึกปากบารา "ไม่ควรสร้าง" แม้ผมจะสนับสนุนมาก่อน เพราะ ถ้าดูดีๆ สตูล มีศักภาพในการท่องเที่ยวมาก เมื่อชั่งน้ำหนักระหว่าง ท่าเรือน้ำลึก กับท่องเที่ยว ดูเหมือนท่องเที่ยวจะมีน้ำหนักมากกว่า ดังนั้นควรให้สตูลทำการท่องเที่ยวไปครับ ผมเสียดายเกาะ ตะรุเตา ลิดิ อาดัง ราวี ฯลฯ สวยๆทั้งนั้น

หรือถ้าจะสร้างท่าเรือจริงๆ ก็เห็นว่าควรทำเป็นท่าเรือขนาดกลางพอ เพื่อขนส่งสินค้ายางพาราเท่านั้น ถ้าเป็นไปได้ ก็ทำทางรถไฟรางเดียวเข้าไปด้วยก็ดี จะได้ส่งยางพาราเข้าไปได้ง่ายๆ และขอย้ำว่า ห้ามมีอุตสาหกรรมในพื้นที่ เพราะจะได้ไม่คุ้มเสีย

แต่แลนด์บริดจ์ จะเอายังไง

อย่างที่บอก ท่าเรือทวาย แม้จะใกล้ กทม. แต่พูดตามตรง สร้างยากกว่าปากบาราอีก เพราะผ่านป่าลุ่มน้ำ a1 ทำไปทำมาจะไม่ผ่าน EIA เอาง่ายๆ แถมการเมืองในพม่าก็ไม่ค่อยมั่นคง


ดังนั้นทางเลือกทดแทนแลนด์บริดจ์เส้นสงขลา-สตูลก็คือ แลนด์บริดจ์เส้น ปีนัง-สงขลา เพราะ มาเลเชีย เขาก็ต้องการแบ่งผลประโยชน์กับไทย เขาสร้างรถไฟทางคู่มาเชื่อมที่ชายแดนแล้ว ขยายด่านแล้ว ถนนก็มีแล้ว ท่อก๊าซก็มีแล้ว ขาดท่อน้ำมัน แทบจะไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ใช้โครงข่ายการคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานเดิมทั้งหมด เพียงแค่เราใส่ระบบการจัดการเข้าไปเท่านั้น


มาเลเชียเขาอยากสร้างแลนด์บริดจ์มานานแล้ว แต่ต้องลงทุนสูง ในการเชื่อมกับกลันตัน เพราะต้องผ่านภูเขาสูง เขาเลยสนใจจะมาเชื่อมกับสงขลามากกว่า เพราะถ้าเชื่อมกับสงขลา มาเลเชียจะได้ประโยชน์มากกว่าเชื่อมกับกลันตัน เพราะจะได้สินค้าจากภาคใต้ของไทย และจากจีนตอนใต้ด้วย

ความจริงแลนด์บริดจ์ เส้น ปีนัง-สงขลา มันมีอยู่แล้ว เพียงแต่พัฒนาต่อยอด เพิ่มระบบการจัดการเข้าไป ลดขั้นตอนการผ่านแดน ขยายความจุท่าเรือสงขลา ฟื้นฟูทางรถไฟสงขลา-หาดใหญ่ให้ไปเชื่อมถึงท่าเรือ ฯลฯ



กิมหยง

บ้านอื่นเขาทำถนนกันเป็นเส้นตรง แนวบรรทัด
บ้านเราทำถนนเป็นตัว Z

สร้าง & ฟื้นฟู

หม่องวิน มอไซ


กิมหยง

ครับ หาดใหญ่สตูล วัดแนวเส้นตรงราว 50 โล
แต่เราทำถนนเป็นตัว Z ก็เลยมีความยาว 100 โล

เราเก่ง มาเลย์สู้ไม่ได้หรอก
สร้าง & ฟื้นฟู

65415641

อยากให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนได้เสีย  มาร่วมประชุมกัน  และลองพบกันครึ่งทาง  หากว่าทุกฝ่ายคำนึงถึงแต่จุดยืนของตัวเอง ก็ไม่มีวันตกลงกันได้ ทั้งสภาการท่องเที่ยวสตูล  กับ หอการค้าไทย  ลองมานั่งคุยกัน  ว่าจะพบกันครึ่งทางได้อย่างไร  เพราะเรื่องนี้ มีทั้งคนสนับสนุน และคัดค้าน  ทั้ง 2 ฝ่ายก็มีเหตุผลพอๆกัน

เอางี้สิ ท่าเรือน้ำลึกปากบาราจากขนาดใหญ่  ที่มีผลกระทบมาก  เราก็เปลี่ยนมาเป็นท่าเรือขนาดกลาง (แบบท่าเรือตรัง) เอาไว้ขนส่งสินค้าเกษตรกับยางพารา 

ส่วนกิจกรรมอุตสาหกรรมหลังท่าเรือปากบารา คือต้องห้ามไม่ให้มีอุตสาหกรรมในพื้นที่สตูล  เพราะดูแล้วไม่คุ้มกับทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เราต้องเสียไป  จากนั้นเราก็แค่ย้ายกิจกรรมพวกนั้น  มาอยู่ที่บ้านกลาง นิคมอุตสาหกรรม ต.ฉลุง ซึ่งมันก็มีอยู่แล้ว

ส่วนรถไฟก็ทำเป็นรถไฟรางเดียว จากหาดใหญ่ เข้าไปเชื่อมกับปากบารา เพื่อขนสินค้าเกษตรยางพาราเข้าท่าเรือ และจะได้ประโยชน์ทางรถไฟเส้นนี้ก็จะขนนักท่องเที่ยวเข้าปากบาราที่มีท่าเรือท่องเที่ยวอยู่แล้วได้สะดวกขึ้น การท่องเที่ยว เกาตะรุเตา เภตรา หลีแป๊ะ  อาดัง  ราวี ก็จะดีขึ้น

ถ้าทำแบบนี้ น่าจะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวที่ปากบารามาก เพราะการคมนาคมมันค่อนข้างสะดวก

แต่สุดท้ายก็อยากให้ตกลงกันได้ด้วยดี  ทั้ง 2 ฝ่าย

ปกป้องอันดามัน

รัฐล้มท่าเรือปากบารา ผมว่าน่าจะถูกต้องนะ ไม่ควรมีท่าเรือน้ำลึกด้านฝั่งอันดามัน จากพังงาลงมาถึงสตูล เพราะทะเลอันดามันมีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์มาก ทั้งแหล่งท่องเที่ยว  สัตว์น้ำต่างๆ  ถ้าจะสร้างควรจะสร้างแถวๆจังหวัดระนองจะดีกว่า  เพราะว่าช่วงนั้นระยะทางมาฝั่งตะวันออกจะใกล้กว่า  เราควรแยกการใช้พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมให้ออกจากกัน  ถ้าความเจริญทางวัตถุเข้ามาเมื่อไร  ความเสื่อมโทรมของสังคมจะเข้ามาเยือนทันที  เพราะฉนั้นพื้นที่ในส่วนฝั่งอันดามันควรจะอนุรักษ์ใว้เป็นอุตสาหกรรมด้านท่องเที่ยวอย่างเดียวจะดีกว่า  

cws sound hatyai

จะล้ม หรือว่าเพื่อชลอโครงการ เพื่อไม่ให้คมนาคมโดดเด่น เพราะระบบขนส่งคิดจะจัดวางระบบรางและกำลังแยกบัญชีเพื่อจัดระบบให้เป็นสัดส่วนมากขึ้น คณะบริหารเดินสายชี้แจงปรับปรุงระบบการจัดการใหม่ ในไม่จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลง

หม่องวิน มอไซ

คืนวันจันทร์ที่ 30 ส.ค. 53 เวลา 21.10 น. รายการเปิดปม ทางทีวีไทย เสนอเรื่องท่าเรือปากบาราครับ
ลองติดตามชมกันดู  8)

จันทร์กระจ่างฟ้า

ในโลกนี้ มีคนเพียงแค่ 2 คนที่ไม่มีความทรงจำ คนหนึ่งยังไม่เกิด ส่วนอีกคนตายไปแล้ว