ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

รื้อฟื้นรถไฟสายสงขลาเกรงขาดทุน เพราะแค่ทางเลือกในการเดินทาง?

เริ่มโดย หม่องวิน มอไซ, 11:53 น. 19 ส.ค 53

หม่องวิน มอไซ

ข่าวจาก Manager Online
http://www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9530000114975
............................................
ที่ดินผืนงามของรฟท.ภูธร
       กลุ่มทุน-การเมืองรุมทึ้ง
       
       ทั่วทุกพื้นที่ใน ประเทศไทยมีการบุกรุกที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีทั้งนายทุนและประชาชนเข้ามาตั้งรกรากที่อยู่อาศัยปลูกสร้างอาคารและสิ่ง ก่อสร้างใหม่ๆจนกลายเป็นชุมชนแออัดขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน รวมถึงกรณีนักการเมืองบุกรุกยึดครองที่ดินของการรถไฟที่เขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งคดีนี้อยู่ระหว่างรอปปช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ)ลงมติ อย่างไรก็ตามล่าสุดเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย ได้ฟ้องกลับ อลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กรณีกล่าวหาว่าได้ที่ดินการรถไฟฯ เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ มาโดยมิชอบ
       
       ที่ผ่านมามีความพยายามจะแปร มูลค่าที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิของการรถไฟแห่งประเทศไทย นำมาสร้างผลตอบแทนออกมาในรูปแบบต่างๆ นับตั้งแต่โครงการของการรถไฟเอง เพื่อขยายเส้นทางใหม่ และให้เช่าที่ดินโดยการปกครองระดับท้องถิ่น และกลุ่มทุนเอกชนที่เข้ามายึดหัวหาดเข้าประมูลจัดสรรการใช้ประโยชน์ที่ดิน การรถไฟพัฒนาสร้างเป็นโครงการต่างๆ
       
       จากที่ดินของการรถไฟในต่าง จังหวัดทั่วประเทศ ที่เพื่อการหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ แบ่งเป็นสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 4,306 ไร่, สายตะวันออก จำนวน 4,952 ไร่, สายใต้ จำนวน 15,186 ไร่ ทั้งนี้มีที่ดินของการรถไฟในจังหวัดต่างๆ กำลังรอเปิดประมูลในเร็วๆนี้ คือ ที่ดินมหาชัย จำนวน 15ไร่ ราคาประเมิน 154 ล้านบาท มีค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ไม่น้อยกว่า25,456,070 บาทค่าเช่าปีแรกเข้า 3,138,876บาท อายุสัญญา 4+30 ปี ผลตอบแทน 66ล้านบาท ,ที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน14ไร่ ราคาประเมิน167 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมจัดหาประโยชน์ไม่น้อยกว่า 27,745,160บาท ค่าเช่าปีแรกเข้า 3,407,282บาท อายุสัญญา3+20ปี ผลตอบแทน 72 ล้านบาท
       
       สำหรับพื้นที่บริเวณสถานีหัว หินรฟท.อยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนแม่บทพัฒนาที่ดิน ซึ่งแก้ไขตามมติคณะอนุกรรมการการพัฒนาทรัพย์สิน โดยตามแผนจะพัฒนาเป็น บูติคโฮเต็ล โรงแรมกอล์ฟอินน์ ค้าปลีก สปา โครงการก่อสร้างอาคารพักอาศัยและสำนักงานการรถไฟฯ โครงการก่อสร้าง Golf Coure Hotel สนามกอล์ฟหลวงหัวหิน โครงการก่อสร้างร้านขายอาหารและสินค้าที่ระลึก ปัจจุบัน บริษัท เซ็นทรัลหัวหินบีช รีสอร์ท จำกัด เป็นผู้เช่า โดยมีอัตรค่าเช่า 454,630 บาทต่อปี สัญญาเริ่ม 15 ม.ค.2529 สัญญาสิ้นสุด 15 ม.ค. 2559
       
       สถานีอยุธยา ขนาดพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ โดยมีเป้าหมายจะเก็บค่าเช่าปีละ 100-150 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารการประกวดราคา (TOR) ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาการทำโครงการพัฒนาที่ดิน และ2. สถานีหัวหิน ขนาดพื้นที่ประมาณ 7 ไร่ อยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนแม่บทของบริษัทที่ ซึ่งมีเป้าหมายจะเก็บค่าเช่าปีละ 150-200 ล้านบาท
       
       ทั้งนี้ การนำที่ดินมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์โดยโครงการของการรถไฟเอง มีหลายโครงการในภาคใต้ อาทิโครงการบิ๊กๆ รถไฟเส้นทางแลนด์บริดจ์เชื่อมระหว่างท่าเรือน้ำลึกปากบารา -ท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 หรือการรื้อฟื้นรถไฟในเส้นทางสงขลา-หาดใหญ่ ซึ่งหาดใหญ่ถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีชาวบ้านอยู่อาศัยทำสัญญาเช่าที่ดินใน ชุมชนริมทางรถไฟ 5 แห่ง คือ ชุมชนย่านรัถการ ชุมชนสะพานดำ ชุมชนวัดโคกสมานคุณ ชุมชนคลังปูนและชุมชนซอยอาจารย์ทอง
       
       บิ๊กโปรเจกรถไฟขนสินค้า
       'แลนด์บริดจ์' ภาคใต้
       
       การนำที่ดินมาพัฒนาให้เกิด ประโยชน์โดยโครงการของการรถไฟเองในภาคใต้ มีการผลักดันเส้นทางรถไฟสายใหม่เพื่อขนส่งสินค้า ภายใต้บิ๊กโปรเจ็ค'รถไฟแลนด์บริดจ์' ที่วิ่งเชื่อมเส้นทางระหว่างจังหวัดสงขลา - สตูล เพื่อเชื่อมท่าเรือน้ำลึกปากบารากับท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ซึ่งมีรัฐเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด กับให้เอกชนลงทุนบางส่วน โครงการนี้จะสามารถนำที่ดินรถไฟมาใช้ประโยชน์ได้ เพราะจาก 4 แนวทางเลือกที่สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ศึกษาเส้นทางมีระยะตั้งแต่ 140 - 160 กิโลเมตร มีทั้งเส้นทางตัดผ่านที่ดินของรถไฟ และการเวนคืนที่ดินชาวบ้าน ซึ่งการศึกษาถึงความเป็นไปได้ใน 42 ตำบล และหลายๆอำเภอของ2 จังหวัดคือ ปากบารา ควนกาหลง คลองหอยโข่ง บ้านพรุ รัตภูมิ หาดใหญ่ ควนเนียง สะเดาและอำเภอจะนะ
       
       ความคืบหน้าของโครงการนี้ อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อสร้างเส้นทางรถไฟ และจัดสรรที่ดินสำหรับโครงการนี้ มีกำหนดใช้เวลาศึกษา 12 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2552 สิ้นสุดเดือนกันยายปีนี้ โดยเส้นทางที่จะพาดผ่านชุมชนจะต้องมีการศึกษาถึงผลกระทบด้านทรัพยากร ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสังคม ขณะเดียวกันในเวทีประชาพิจารณ์ที่จังหวัดสตูล มีการสดงความเห็นให้เส้นทางรถไฟสายนี้เป็นรถไฟโดยสารมีสถานีตามชุมชนและ แหล่งท่องเที่ยวด้วย
       
       ปัดฝุ่นเส้นทางสงขลา-หาดใหญ่
       
       ช่วง 4-5 ปีนี้มีความพยายามที่จะเปิดเส้นทางเดินรถระหว่างสถานีรถไฟสายสงขลา-หาดใหญ่ ที่ปล่อยทิ้งร้างกว่า 25 ปี ให้กลับมาเปิดบริการอีกครั้ง โดยทางจังหวัดสงขลามีการเสนอกับการรถไฟเพื่อพิจารณาปรับปรุงสถานี และเส้นทางเดินรถซึ่งมีชาวบ้านสร้างบ้านบุกรุกอยู่ แต่ผ่านมา 3-4 ปีหลังจากมีการยื่นเรื่องเสนอ การปัดฝุ่นเส้นทางรถไฟสงขลา-หาดใหญ่ จนปัจจุบันโครงการนี้ยังไม่สำเร็จ โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเกรงว่าจะขาดทุนเพราะเป้าหมายการรื้อฟื้นโครงการนี้ขึ้น มาเพื่อเข้ามาเป็นทางเลือกในการสัญจรไปมาของคนในพื้นที่เท่านั้น
       
       ปัจจุบันการรถไฟได้ประกาศให้ พื้นที่รางรถไฟย่านสถานีสงขลา เป็นพื้นที่เลิกใช้งาน โดยขออนุญาตให้ชุมชนสามารถเช่าที่ดินได้ แต่ต้องเว้นระยะร่นจากสันรางสายประธานออกมาข้างละ 5 เมตร รวมถึงเมื่อปลายปี 52 สงขลาได้มีการจัดสรรรางรถไฟที่หมดสภาพการใช้งานบริเวณชุมชนเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จัดการให้เป็นที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินสำหรับชาวบ้านที่เข้ามาปักหลัก สร้างถิ่นฐานในบริเวณนี้ตั้งแต่ปี 2517 โดยมีพิธีมอบสัญญาเช่าที่ดินการรถไฟระหว่าง พอช. กับชุมชน จำนวน 5 ชุมชน และมอบเอกสารรับรองการใช้ประโยชน์ในที่ดิน (โฉนดชุมชน) ให้แก่ผู้แทนชุมชน จำนวน 1 แปลง

       
       การเมืองท้องถิ่น
       เห็นประโยชน์ที่ดินรถไฟ
       
       การนำกรรมสิทธิของการรถไฟนำ มาสร้างประโยชน์โดยการเมืองระดับท้องถิ่น ทำสัญญาเช่าระยะยาว ที่ผ่านมามี เทศบาลนครหาดใหญ่ และเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยเมื่อเร็วๆนี้ ไพร พัฒโน จัดงบ 98 ล้านเช่าที่ 17 ไร่การรถไฟ สร้างแลนมาร์ก 'นครหาดใหญ่'ปัดฝุ่นโรงภาพยนตร์พลาซ่า สร้างหอประชุม จตุรัสนครหาดใหญ่ โครงการก่อสร้างตลาดน่าซื้อและปรับปรุงภูมิทัศน์ริมทางรถไฟบริเวณพื้นที่ ด้านหลังตลาดสดพลาซ่า 3 จนถึงบริเวณริมทางรถไฟ ซึ่งเป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อม และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชน
       
       ส่วนพื้นที่ภาคเหนือ ที่ดินบริเวณสถานรถไฟเชียงใหม่จำนวน 15 ไร่ จะพัฒนาในรูปแบบเชิงพาณิชย์และปรับปรุงบ้านพักพนักงานให้ดีขึ้น และเมื่อเร็วๆนี้การนำที่ดินของการรถไฟมาใช้ประโยชน์ เทศบาลนครเชียงใหม่ได้เปิดสวนสาธารณะบริเวณที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งมีส่วนการบริการทั้ง สระว่ายน้ำ ฟิตเนส ลานน้ำพุ ลานดนตรี ห้องประชุม และร้านค้า ก่อสร้างโดยปรับปรุงตั้งแต่ปี 2548 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างกว่า 98 ล้านบาท
       
       กลุ่มทุนเช่าที่ดินรถไฟ
       
       ที่ดินรถไฟที่มีการเปิดให้นาย ทุนเอกชนมาเช่าที่ สำหรับภาคอีสานในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมามีกลุ่มนายทุนต่างๆที่ทำสัญญาขอเช่าที่ดินกับรถไฟกวาดรายได้ให้ กับธุรกิจ ส่วนที่มีการเช่าที่ดินการรถไฟทางภาคอีสานของกลุ่มทุนอุดร ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปีที่ผ่านมา วรพล วีรชาติยานุกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุดรพลาซ่า จำกัด ได้ทำสัญญาเช่าที่ดิน 25 ไร่ จากการรถไฟเป็นระยะเวลา 34 ปี เพื่อพัฒนาโครงการเอาท์ดอร์ ช้อปปิ้ง มอลล์ ภายใต้ชื่อ "ยูดี ทาวน์ เดอะ ไลฟ์สไตล์ เดสทิเนชั่น" จับกลุ่มนักธุรกิจอุดร และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากประเทศลาว
       
       ในส่วนที่มีข่าวความเคลื่อน ไหวในใน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ คือ กลุ่มทุนจากกรุงเทพ โรงแรมโซฟิเทล เซนทาราแกรนด์ หัวหินเช่าที่ 100 ไร่ ค่าเช่าเดือนละ 3.8 แสนบาท และตลาดหัวหินบาร์ซ่าร์ โครงการสัมปทานพัฒนาที่ดินการรถไฟบริเวณสถานีหัวหิน

yaitin


Kungd4d

 :D ;D เฮ้อ น่าเศร้าแท้เลยหน้อ จริงๆแม้จะขาดทุนบ้างก็น่าจะทำให้มันเกิดขึ้นมาก่อนดีกว่า  ;D :D :D

Big Beach

นั่งเทียนเขียน ??

ผู้เขียนเคยมานั่งรถตู้/รถเมล์/รถสองแถว หาดใหญ่-สงขลา บ้างหรือไม่ ??




จันทร์กระจ่างฟ้า

ในโลกนี้ มีคนเพียงแค่ 2 คนที่ไม่มีความทรงจำ คนหนึ่งยังไม่เกิด ส่วนอีกคนตายไปแล้ว