ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ทางแยกลึกลับที่เขาบรรไดนาง

เริ่มโดย หม่องวิน มอไซ, 15:50 น. 23 มี.ค 53

หม่องวิน มอไซ

ส่วนภาพนี้ เนินด้านขวาของถนนดิน คือแนวทางรถไฟเก่าเข้าไปรับหินครับ
(เข้าใจว่าถนนไม่ได้สร้างทับรางโดยตรง แต่สร้างเลียบรางรถไฟครับ)


หม่องวิน มอไซ

ทำภาพ Google Earth มาประกอบครับ
เส้นสีแดง คือแนวทางรถไฟ
เส้นสีม่วง คือ แนวถนนก่อนปี ๒๕๒๕ ครับ

หม่องวิน มอไซ

ภาพขยายบริเวณที่คุณ Thanakorn P. บุกเข้าไปสำรวจ ถ่ายภาพมาให้ครับ
สีแดง คือ ทางรถไฟ
สีม่วง คือ ถนนก่อนปี ๒๕๒๕


หม่องวิน มอไซ

เปรียบเทียบกับภาพนี้อีกครั้งนะครับ



จะเห็นว่า ถนนจากสงขลาที่หักเลี้ยวซ้ายข้ามทางรถไฟนั้น
ในปัจจุบันคือถนนหน้าศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรฒฯ ที่คุณ Thanakorn P. เดินเข้าไปนั่นเองครับ


หม่องวิน มอไซ

ทีนี้ลองเอาภาพถ่ายทางอากาศ พ.ศ. ๒๕๑๗ มาดูกันนะครับ


หม่องวิน มอไซ

ลองมองภาพจากขวา (ด้านสงขลา) ไปซ้าย (ด้านหาดใหญ่) ดูนะครับ
จากขวา ถนนกับทางรถไฟจะคู่กันมา โดยถนนจะอยู่ด้านเหนือของทางรถไฟ
จากนั้น ถนนจะซิกแซ็กโค้งตัดทางรถไฟมาอยู่ด้านทิศใต้ของทางรถไฟ

ตรงจุดที่ซิกแซ็ก จะเห็นเส้นขาว ๆ โค้งลงมาทางทิศใต้ นั่นคือทางแยกเข้าไปรับหินครับ

พอมาถึงด้านขวาของภาพ ทั้งรางรถไฟและถนนจะโค้งลงมาทางทิศใต้
แต่ถนนจะโค้งมากกว่าทางรถไฟ ทำให้ทางรถไฟกับถนนเริ่มแยกห่างออกจากกัน
ตรงนั้นคือบ้านเกาะหมีและคลองเปลครับ
ช่วงที่เริ่มแยกห่างออกจากกัน ปัจจุบันมีวิหารเทพนาจาและรูปปั้นหลวงปู่ทวดอยู่ครับ

หม่องวิน มอไซ

ภาพขยายครับ
โปรดสังเกตแนวทางเก่า ๆ ที่เลือนราง
ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นทางแยกลึกลับที่เห็นในโปสการ์ดครับ

หม่องวิน มอไซ

แนวทางแยกเก่านี้ ปัจจุบันคงไม่มีอะไรเหลือให้เห็นแล้ว เพราะสร้างศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมทับไว้พอดีครับ  :'(

หม่องวิน มอไซ

มาดูภาพขยายเพิ่มเติมครับ

1 และ 9  คือ เครื่องหมายกากบาทบนพื้นถนนให้ระวังจุดตัดทางรถไฟ
2 ขีดดำ อาจเป็นป้ายที่หยุดรถไฟเขาบรรไดนาง
3, 4 และ 5 คือ แนวทางคนเดิน ที่อาจเป็นทางรถไฟเก่า (ทางแยกลึกลับ)
6 ขีดขาว ๆ บนถนนฝั่งซ้าย (ฝั่งเข้าสงขลา) อาจเป็นรอยเครื่องกั้นถนน
7 ขีดขาว ๆ บนถนนฝังเข้าหาดใหญ่ อาจเป็นรอยเครื่องกั้นถนนเช่นกัน
8 ทางรถไฟเข้าไปรับหิน สังเกตว่ามีถนนดินขาว ๆ เลียบไปตลอด รถยนต์เข้าได้
10 บ้านหลังนี้ปัจจุบันไม่มีแล้ว แต่สร้างบ้านใหม่ในที่ดินเดิมและอยู่ริมถนนตัดใหม่พอดี

หม่องวิน มอไซ

ตารางกำหนดเวลาเดินรถ พ.ศ. ๒๔๙๖ สำหรับเจ้าหน้าที่การรถไฟใช้ครับ

หม่องวิน มอไซ

พบว่า ที่หยุดรถเขาบรรไดนาง อยู่ที่ กม. 936.92

นั่นแสดงว่าในภาพถ่ายอาจจะเห็นหลักกิโลเมตรที่ ๙๓๗ ก็ได้ เพราะหลักกิโลจะห่างจากศูนย์กลางสถานี (จุดกึ่งกลางชานชาลา) เพียง
937.00 - 936.92 = 0.08 กม. หรือ 80 เมตรเท่านั้น

หม่องวิน มอไซ

สำหรับหลักกิโลเมตรของทางรถไฟนั้น จะมีลักษณะเป็นแท่งทรงปริซึมสามเหลี่ยม วางเอียง ๆ ข้างทางรถไฟ
ในสายสงขลานั้น จะเริ่มตั้งแต่ กม.ที่ ๙๒๙ (หาดใหญ่) ถึง ๙๕๘ (สงขลา) รวมทั้งสิ้น ๓๐ หลัก (ประมาณ ๒๙ กม.)

นำภาพหลักกิโลเมตรที่ ๙๓๙ ซึ่งอยู่ห่างจากหาดใหญ่ ๑๐ กิโลเมตร ใกล้สะพานน้ำน้อยมาให้ชมเป็นตัวอย่างครับ


หม่องวิน มอไซ

ดูในภาพโปสการ์ด พบหลักกิโลจริงอย่างที่คาดครับ  ;D :o

หม่องวิน มอไซ

คราวนี้มาหาร่องรอย เพื่อเป็นหลักฐานที่เสาโทรเลขบ้าง
พบว่าเสาริมซ้ายสุดของภาพ มีแผ่นขาว ๆ แปะอยู่


หม่องวิน มอไซ

เสาต้นนี้ อยู่ห่างจากหลักกิโล ๙๓๗ มาทางสงขลาไม่กี่ช่วงเสาโทรเลข
ดังนั้น ตัวเลขที่เสาอาจจะเป็น 937/3 หรือ 937/4

ลองส่องดู ผลปรากฏว่า  :o
แม้จะเลือนรางเต็มที แต่เห็นเป็นเลข 937 และข้างล่างเป็นเลข 4 จริง ๆ ครับ (ไม่ได้ใบ้หวยนะครับ)

หม่องวิน มอไซ

ดังนั้น สรุปผลการศึกษาวิเคราะห์ภาพถ่ายได้ดังนี้ครับ
๑. เป็นภาพถ่ายในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๐ หรือก่อนหลังไม่นาน เพราะเสาโทรเลขยังเป็นเสาไม้แบบเก่า ยุคเริ่มแรก ชานชาลาผู้โดยสารยังไม่ได้สร้าง
๒. ไม่พบทางแยกเข้าไปรับหินที่เขาบันไดนาง แต่พบทางแยกลึกลับ ไปทางด้านทิศเหนือ บริเวณศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
๓. พิกัดทางรถไฟในภาพ สอดคล้องกับพิกัดที่หยุดรถเขาบรรไดนางที่พบในเอกสาร คือ กม.ที่ 936.92 จากสถานีธนบุรี ซึ่งพบหลักฐานว่ามีหลักกิโลที่ ๙๓๗ อยู่ในภาพ พร้อมทั้งตัวเลขพิกัดอยู่บนเสาโทรเลขเป็น 937/4

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชม อ.Singoraman ที่แจ้งเบาะแสเพิ่มเติมและคุณ Thanakorn P. ที่ลงพื้นที่ถ่ายภาพมาให้ชมครับ
หากมีข้อมูลเพิ่มเติมประการใด เชิญได้ครับ

Nui _ คนน้ำน้อย

ก่อนอื่นต้องอนุญาติ Save รูปเพื่อจะเอาไปให้แม่หรือ คนแก่แถวบ้านดูครับ เพราะผมก็เป็นคนนึงที่เกิดที่นี่ บ้านเขาบันไดนาง  เสียดายที่ คุณตา กะ ยาย เสียซะแล้วไม่งั้นมีเรื่องเล่าให้ฟังมากมายเกี่ยวกับที่นี่ เพราะตาเคยบอกว่าเคยทำงานเจาะระเบิดหิน ที่นี่  ถ้าได้กลับบ้านจะสอบถามจากคุณแม่ดูครับ  ชื่อเขาบันไดนาง มีที่มานะครับ และในบริเวณที่ตั้งศูนย์อุตสาหกรรม ด้านบนเนิน คนสมัยก่อนเล่ากันว่าเคยมีถ้ำอยู่ครับ แต่ปัจจุบันหาทางเข้าไม่เจอแล้ว ยายบอกว่าที่นี่ จะมีทวดเขาบันได้นางคอยดูแลถ้ำอยู่

หม่องวิน มอไซ

รอฟังเรื่องราวต่ออย่างใจจดจ่อนะครับ
น่าสนใจมาก  :o

Thanakorn P.

รอฟังด้วยคนครับ
ชอบฟังเรื่องราวเก่าๆ น่าสนใจครับ  O0
การถ่ายภาพคือ การบันทึกความทรงจำ

น้องบ่าวหน้าค่าย

ถ้าทำวันนี้ให้ดีที่สุด พรุ่งนี้ก็จะมีอดีตที่ดี

Singoraman


มาเสริมจ้า

อ้างจาก: Nui _ คนน้ำน้อย เมื่อ 10:02 น.  02 เม.ย 53
ก่อนอื่นต้องอนุญาติ Save รูปเพื่อจะเอาไปให้แม่หรือ คนแก่แถวบ้านดูครับ เพราะผมก็เป็นคนนึงที่เกิดที่นี่ บ้านเขาบันไดนาง  เสียดายที่ คุณตา กะ ยาย เสียซะแล้วไม่งั้นมีเรื่องเล่าให้ฟังมากมายเกี่ยวกับที่นี่ เพราะตาเคยบอกว่าเคยทำงานเจาะระเบิดหิน ที่นี่  ถ้าได้กลับบ้านจะสอบถามจากคุณแม่ดูครับ  ชื่อเขาบันไดนาง มีที่มานะครับ และในบริเวณที่ตั้งศูนย์อุตสาหกรรม ด้านบนเนิน คนสมัยก่อนเล่ากันว่าเคยมีถ้ำอยู่ครับ แต่ปัจจุบันหาทางเข้าไม่เจอแล้ว ยายบอกว่าที่นี่ จะมีทวดเขาบันได้นางคอยดูแลถ้ำอยู่

ผมก็เคยได้ยินมาแนวนี้เช่นกัน ขอเล่าต่อนะครับ คือ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ขน ทรัพย์สิน เงินทอง

เข้าไปในถ้ำเขาบันไดนาง โดยทางรางรถไฟ แต่ต่อมาเกิดหินถล่มปิดปากถ้ำ และไม่สามารถหาทางเข้าถ้ำดังกล่าวได้อีกเลย

จนมาถึงปัจจุบันนี้ ผมก็จำเท่านี้ล่ะครับ

มีข้อเสนอว่าเรามีเครื่องมืออะไรบ้างไหม ที่จะสแกนบริเวณนั้นดูว่ามีถ้ำอยู่จริงๆหรือป่าว เราอาจจะได้เจอประวัติศาสตร์เพิ่มมาได้