ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

2553 สนามบินสงขลาอายุครบ 50 ปี

เริ่มโดย วัวชน ส.ว., 22:34 น. 16 ส.ค 53

คนเขารูปช้าง

ขอต่อด้วยเรื่องสนามบินสงขลายุคแรกเริ่ม ที่เครื่องบินปีกสองชั้นมาลง
ในราวปี 2477-2478 ซึ่งในเวลานั้นยังไม่มีการปลูกแถวต้นสนแนว ตะวันตก-ตะวันออก
ภาพหลังเลิกใช้บริเวณนั้นเป็นสนามบินและมาสร้างที่วังเขียวแล้ว ก็ยังไม่มี
แถวต้นสนขวางแนวร่อนลงของเครื่องบินที่มาลงที่สงขลาในยุคแรกเริ่มครับ

วัวชน ส.ว.

เหตุผลที่ย้ายสนามบินเพราะ  เนื่องจากทางวิ่งของท่าอากาศยานสงขลาอยู่ในแนวทิศทางที่ขวางลมประจำ  คือ อยู่ในแนวทิศเหนือ – ใต้  ในขณะที่ทิศทางลมประจำอยู่ในแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก  ประกอบกับท่าอากาศยานสงขลาตั้งอยู่ในเขตเมืองและมีพื้นที่จำกัด  ไม่สามารถที่จะขยายเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของธุรกิจการบินได้  นอกจกนี้ทางด้ายปลายทางวิ่งทางทิศใต้ของท่าอากาศยานสงขลามีภูเขาขวางอยู่  ทำให้จำกัดมุมร่อนลง  คณะผู้เชี่ยวชาญของสำนักบริหารการบินแห่งชาติ สหรัฐฯ (FAA)  และคณะนายช่างของกรมการบินพาณิชย์ที่ทำการสำรวจฯ  จึงเห็นควรที่จะดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่    ในปี พ.ศ. 2504  สำนักงานการบินพลเรือนได้ว่าจ้าง บริษัท สเวอร์คลับ แอนด์ พาร์เชล โอเวอร์ซี จำกัด  ทำการสำรวจออกแบบเลือกจุดที่ตั้งที่เหมาะสมในการสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่แทนท่าอากาศยานสงขลาเดิม  ผลจากการสำรวจขั้นต้นเพื่อเลือกจุดที่ตั้งสนามบินแห่งใหม่ได้รวม 7 แห่ง แต่ที่ที่มีความเหมาะสมมากที่สุดคือ  ตำบลควนลัง  ตำบลคลองหอยโข่ง  อำเภอหาดใหญ่ (ในขณะนั้น)  เพราะอยู่ห่างจากเขตเมืองพอสมควร  และอยู่บนเนินทำให้ไม่มีปัญหาด้านการระบายน้ำ  มีเขตร่อนที่ดีมาก  และพื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นพื้นที่สงวนของจังหวัดสงขลา  ทำให้ประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อที่ดินเป็นจำนวนมาก  อีกทั้งมีบริเวณกว้างขวางพอที่จะขยายท่าอากาศยานได้ในอนาคต  โดยใช้ชื่อท่าอากาศยานแห่งใหม่นี้ว่า "ท่าอากาศยานหาดใหญ่"  ท่าอากาศยานหาดใหญ่  ได้รับการประกาศเป็นสนามบินอนุญาต  เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2514  และประกาศเป็นสนามบินศุลกากร  เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2515 โดยเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2515  บริษัทเดินอากาศไทย จำกัด  ได้ทำการบินเที่ยวปฐมฤกษ์สู่ท่าอากาศยานหาดใหญ่  ด้วยเครื่องบิน AVRO 748  นับว่าท่าอากาศยานหาดใหญ่ได้เปิดบริการขนส่งทางอากาศอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในวันนั้น  โดยมีพลอากาศเอกทวี จุลทรัพย์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในสมัยนั้น  เป็นผู้กระทำพิธีเปิด  และมีคุณไพโรจน์  มั่นเปล่ง  ดำรงตำแหน่งนายท่าอากาศยานหาดใหญ่เป็นคนแรก  ส่วนท่าอากาศยานสงขลาเดิม ก็ได้โอนไปให้กองทัพเรือใช้ในราชการทหารเพียงอย่างเดียว

คนเขารูปช้าง

ภาพเครื่องบินที่มาลงที่สนามบินสงขลายุคแรกเริ่ม
เห็นฉากหลังเป็นเขาตังกวนครับ

คนเขารูปช้าง

ที่ผมไปเรียกว่าสนามบินสงขลายุคแรกนั้นอาจไม่ถูกต้อง
เพราะจริงๆแล้วเป็นสนามโล่งๆริมทะเล ไม่มีอะไรเหมือนสนามบินในยุคนี้เลย
นักบินเห็นว่าเป็นที่โล่ง มีแนวร่อนลงได้ ก็นำเครื่องมาลงและขึ้น
อีกภาพเป็นภาพจากคุณ พรเลิศ ละออสุวรรณครับ

หม่องวิน มอไซ

ภาพขยายจากภาพที่ท่านคนเขารูปช้างนำมาให้ชมครับ
ขอขอบคุณคุณพรเลิศ ละออสุวรรณมา ณ ที่นี่ครับ
http://www.songkhlaline.com/download/songkhla_airfield2477.jpg

หม่องวิน มอไซ

บ้านผมอยู่วชิรา (ถนนทะเลหลวง) สมัย 30 ปีก่อนจะได้ยินเสียงเครื่องบินบินผ่านบ้านเป็นประจำ
เดี๋ยวนี้ไม่ได้ยินอีกแล้ว
น่าเสียดายที่เวลาผ่านไป หายไปทั้งเครื่องบินทั้งรถไฟ รถรอบเมือง  :'(

วัวชน ส.ว.

อาคารไม้ 2 ชั้น ไม่ทราบปีได้ถูกริ้อทิ้งแล้วสร้างอาคารชั้นเดียว ในภาพเห็น บ . ของ บดท. แบบแอฟโร่ 748 กำลังเข้ามาจอดรับผู้โดยสารตรงหน้าทางเดินเข้าลานจอดครับ

วัวชน ส.ว.

คุณหม่องวินฯ ครับต่อไปคงเงียบจริง ๆ ได้ข่าวว่า บ. เชฟร่อน ไปตั้งฐานบินที่นครศรีฯ แล้วในเร็ววันนี้ ถ้ายังมั่งก็ของ ทร. แหล่ะครับ ตอนเด็ก นั่งหน้าหนามบินคอยทายรถเมล์ที่จะผ่านเบอร์อะไรมั่ง เมื่อก่อนโพธิ์ทองมีรถแอร์วิ่งไปหาดใหญ่ด้วยราคา 18 บาทมั้ง

ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี

อ้างจาก: safety airport เมื่อ 16:45 น.  21 ส.ค 53
คุณหม่องวินฯ ครับต่อไปคงเงียบจริง ๆ ได้ข่าวว่า บ. เชฟร่อน ไปตั้งฐานบินที่นครศรีฯ แล้วในเร็ววันนี้ ถ้ายังมั่งก็ของ ทร. แหล่ะครับ ตอนเด็ก นั่งหน้าหนามบินคอยทายรถเมล์ที่จะผ่านเบอร์อะไรมั่ง เมื่อก่อนโพธิ์ทองมีรถแอร์วิ่งไปหาดใหญ่ด้วยราคา 18 บาทมั้ง
โพธิ์ทองมีรถแอร์แน่นอนครับ หากเป็นยุคแรกๆ เบอร์ข้างรถคือเบอร์ 37 กับเบอร์ 38 ครับ
ที่สามารถตอบได้เพราะเป็นแฟนพันธุ์แท้โพธิ์ทองครับ ประมาณว่าหากมีรถขับมาเห็นด้านหน้า(หัวรถ)จะตอบได้เลยว่า
เบอร์ไหน เพราะเรียนเทคนิคหาดใหญ่มา3ปี นั่งมาหมดทุกเบอร์ที่มีครับ

หมัดเส้งชู

ฝากเอกสารมาให้ 1 ชิ้น
Bangkok by Week, Vol. 7, No. 8, May 20, 1953
(ฝากข้อความถึงป้าไก่ อ.หม่องฯ หรีอสมาชิกwebกิมหยง,,, นิวาสสถานของผม ณ ปัจจุบันอยู่ แถวๆ ถนนราชพฤกษ์ ตลิ่งชัน ฝั่งธนฯกรุงเทพฯ ผ่านมาผ่านไป แวะเยี่ยมได้)

ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี

อ้างจาก: หมัดเส้งชู เมื่อ 23:04 น.  21 ส.ค 53
ฝากเอกสารมาให้ 1 ชิ้น
Bangkok by Week, Vol. 7, No. 8, May 20, 1953
(ฝากข้อความถึงป้าไก่ อ.หม่องฯ หรีอสมาชิกwebกิมหยง,,, นิวาสสถานของผม ณ ปัจจุบันอยู่ แถวๆ ถนนราชพฤกษ์ ตลิ่งชัน ฝั่งธนฯกรุงเทพฯ ผ่านมาผ่านไป แวะเยี่ยมได้)


ขอบคุณครับสำหรับคำเชิญ ปรกติแล้วผมไปแถวนั้นบ่อยเหมือนกัน(แต่ไม่บ่อยมาก)อาศัยไปซื้อต้นไม้เพื่อการจัดสวน ไงว่างๆหากรู้พิกัดแน่นอนอาจแวะไปนะครับ.

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณมาก ๆ ครับท่านหมัดเส้งชู
ถนนราชพฤกษ์ผมผ่านไปบ้างเหมือนกันครับ ตอนนี้รถไฟฟ้าสายสีแดงกำลังก่อสร้างอยู่ สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชันก็คงถูกรื้อตามไปครับ

ขอนำภาพตารางเครื่องบิน รถไฟไปโพสต์ที่เว็บรถไฟไทยดอทคอมด้วยนะครับ  O0

วัวชน ส.ว.

พอดีนั่งเครื่องกลับจากกรุงเทพบินผ่านสนามบินสงขลาพอดีเลยได้ภาพนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับภาพของคุณหม่องวินฯ เมื่อปี 2517 กายภาพสนามบินไม่ค่อยแตกต่างกันเท่าไรนะครับ

ArChuRa

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 11:26 น.  21 ส.ค 53
บ้านผมอยู่วชิรา (ถนนทะเลหลวง) สมัย 30 ปีก่อนจะได้ยินเสียงเครื่องบินบินผ่านบ้านเป็นประจำ
เดี๋ยวนี้ไม่ได้ยินอีกแล้ว
น่าเสียดายที่เวลาผ่านไป หายไปทั้งเครื่องบินทั้งรถไฟ รถรอบเมือง  :'(

ถึงตอนนี้เสียงเครื่องบิน เสียงรถไฟ หายไปแล้ว ก็ยังมีเสียง ฮ. มาแทนให้หนวกหูครับ  ;D ;D ;D

Singoraman

เสียง ฮ. นาน ๆ ที ยังไม่ "หนักหู" เท่าไหร่
ผมว่ารถทั้งรับจ้าง ๓ แถว รถวัยรุ่นร่ำรวย ที่ติดเครื่องเสียง
แล้วเปิดลั่นเมือง บางทีก็ไปจอดเปิดแข่งกันแถว ๆ แหลมสมิหลา
"หนักหู" มากกว่า จะฟังเสียงคลื่นเสียงลมเสียงสนอย่างที่กวีบรรยายไว้
ดูจะลำบากซะแล้ว  ลูกหลานเหออออ

เต้ย

อ้างจาก: safety airport เมื่อ 06:37 น.  18 ส.ค 53
เท่าที่ค้นคว้าได้เคยพบในเว๊ปของกรมการบินพลเรือนเขียนโดยคุณโสภณ วีระพัฒน์ อดีตรองอธิบดีกรมการบินพาณิชย์สมัยนั้นเขียนไว้ว่าในปี 2453 ผมสมัครเข้าทำงานที่แผนกแบบแผนและก่อสร้างกองเทคนิค สำนักงานการบินพลเรือน กรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม ขณะที่ผมรอการบรรจุเป็นข้าราชการสามัญ ทางแผนกแบบแผนฯ ได้ส่งผมไปเป็นลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งนายช่างควบคุมงานก่อสร้าง สนามบินสงขลา ซึ่งกำลังทำการปรับปรุง โดยทำการลงหิน ราดยางทางวิ่ง เพื่อให้เครื่องบินโดยสาร ดี.ซี. 3 หรือตาโกต้า (เครื่องบินใบพัด 2 เครื่องยนต์ จุผู้โดยสารประมาณ 28 ที่นั่ง) ทำการบินขึ้นลงได้โดยปลอดภัย และกำลังก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น จำนวน 1 หลังหน่วยก่อสร้างสนามบินสงขลา มีสำนักงานอยู่ที่ "วังขาว" ซึ่งเป็นวังของหม่อมเจ้าพระองค์หนึ่ง ให้ยืมใช้เป็นสำนักงานโดยมิได้คิดค่าเช่าเครื่องแต่อย่างใด นายช่างควบคุมงานคนแรก คือคุณหลวงสกลมารถมานิต เป็นลูกจ้างชั่วคราว อดีตนายช่างของกรมทางหลวง หลังจากคุณหลวงสกลฯ ได้ช่วยแนะนำงานอยู่ระยะหนึ่งก็ได้ลาออกและส่งมอบงานให้ผมควบคุมต่อไป จนถึงปี 2495 คุณบุญมี สุขเจริญ ได้ไปรับมอบงานจากผมและควบคุมงานต่อไปจนเสร็จ  หน่วยงานราชการที่อยู่ใกล้กับวังขาว คือ บริเวณ "วังเขียว" เป็นที่ตั้งของหน่วยบินกองทัพอากาศผู้ฝูงคือ เรืออากาศโทขรรค์ชัย จันทร์เรือง (ภายหลังมียศเป็นพลอากาศโท) และยังมีหน่วยพยากรณ์อากาศ ของกรมอุตุนิยมวิทยา หัวหน้าหน่วยคือ คุณกัมพล อินทะเสาระ และสนิท รณฤทธิวิชัย ในบริเวณวังเขียวยังมีสำนักงานของบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด ตั้งอยู่ด้วย ผู้จัดการสาขาคือ เรืออากาศเอกหลวงล่องหนเริงราญ หน่วยงานที่กล่าวมาล้วนเป็นเพื่อนบ้านที่คุ้นเคยและต่างมีอัธยาศัยอันดีต่อกัน (ยังมีต่อครับ)

คุณโสภณ วีระพัฒน์ อดีตรองอธิบดีกรมการบินพาณิชย์ สุดท้ายก็ได้แต่งงานกับสาวงามสงขลา ชื่อ ยายสินี ทรัพย์ปรุง บ้านเดินอยู่นครใน ก่อนย้ายตามสามีไปอยู่ที่กรุงเทพฯ ครับ ท่านเเป็นเพื่อนของยายผมเองครับ

หมัดเส้งชู

อ้างจาก: safety airport เมื่อ 06:37 น.  18 ส.ค 53
เท่าที่ค้นคว้าได้เคยพบในเว๊ปของกรมการบินพลเรือนเขียนโดยคุณโสภณ วีระพัฒน์ อดีตรองอธิบดีกรมการบินพาณิชย์สมัยนั้นเขียนไว้ว่าในปี 2453 ผมสมัครเข้าทำงานที่แผนกแบบแผนและก่อสร้างกองเทคนิค สำนักงานการบินพลเรือน กรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม ขณะที่ผมรอการบรรจุเป็นข้าราชการสามัญ ทางแผนกแบบแผนฯ ได้ส่งผมไปเป็นลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งนายช่างควบคุมงานก่อสร้าง สนามบินสงขลา ซึ่งกำลังทำการปรับปรุง โดยทำการลงหิน ราดยางทางวิ่ง เพื่อให้เครื่องบินโดยสาร ดี.ซี. 3 หรือตาโกต้า (เครื่องบินใบพัด 2 เครื่องยนต์ จุผู้โดยสารประมาณ 28 ที่นั่ง) ทำการบินขึ้นลงได้โดยปลอดภัย และกำลังก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น จำนวน 1 หลังหน่วยก่อสร้างสนามบินสงขลา มีสำนักงานอยู่ที่ "วังขาว" ซึ่งเป็นวังของหม่อมเจ้าพระองค์หนึ่ง ให้ยืมใช้เป็นสำนักงานโดยมิได้คิดค่าเช่าเครื่องแต่อย่างใด นายช่างควบคุมงานคนแรก คือคุณหลวงสกลมารถมานิต เป็นลูกจ้างชั่วคราว อดีตนายช่างของกรมทางหลวง หลังจากคุณหลวงสกลฯ ได้ช่วยแนะนำงานอยู่ระยะหนึ่งก็ได้ลาออกและส่งมอบงานให้ผมควบคุมต่อไป จนถึงปี 2495 คุณบุญมี สุขเจริญ ได้ไปรับมอบงานจากผมและควบคุมงานต่อไปจนเสร็จ  หน่วยงานราชการที่อยู่ใกล้กับวังขาว คือ บริเวณ "วังเขียว" เป็นที่ตั้งของหน่วยบินกองทัพอากาศผู้ฝูงคือ เรืออากาศโทขรรค์ชัย จันทร์เรือง (ภายหลังมียศเป็นพลอากาศโท) และยังมีหน่วยพยากรณ์อากาศ ของกรมอุตุนิยมวิทยา หัวหน้าหน่วยคือ คุณกัมพล อินทะเสาระ และสนิท รณฤทธิวิชัย ในบริเวณวังเขียวยังมีสำนักงานของบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด ตั้งอยู่ด้วย ผู้จัดการสาขาคือ เรืออากาศเอกหลวงล่องหนเริงราญ หน่วยงานที่กล่าวมาล้วนเป็นเพื่อนบ้านที่คุ้นเคยและต่างมีอัธยาศัยอันดีต่อกัน (ยังมีต่อครับ)
ต้นฉบับ http://www.aviation.go.th/rbm/old_time.pdf
ผมว่าน่าจะพิมพ์ปี พ.ศ. ผิด น่าจะเป็นปี 2493

ผมตามไปดูแล้วครับอาจารย์หม่องฯ  แต่เผอิญว่าในหน้า 1 ของกระทู้เดียวเดียวกันนี้ คุณ Wisarut ได้โพสท์ไว้ ...
วันนี้คุณ Ron ได้สแกนตารางรถไฟหายามาให้น่อ จากนิตยสารเพื่อการท่องเที่ยว Bangkok Bulletin, No. 657, December 12, 1966 (12 ธันวาคม 2509)
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=10&postdays=0&postorder=asc&start=10

ที่มาของเอกสารชิ้นนี้
http://2bangkok.com/2bangkok/1966/1966BangkokBulletin.shtml

ใน web นี้ มีเรื่องราวเกี่ยวกับเส้นทางรถไฟสายสงขลา-หาดใหญ่  หลายๆกระทู้เลย
อาทิเช่น ภาพของท่อประปาสมัยที่ยังไม่ได้ขยายถนนกาญจนณิชย์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 407(ถูกเปลี่ยนชื่อในสมัยจอมพล ป.(เดิมเป็นทางหลวงสายแรกของประเทศที่ รัชกาลที่ 4 ดำริให้สร้างเป็นส่วนของถนนไทรบุรีที่ต่อจากสามแยกสำโรง ไปจนจรดเมืองไทรบุรี) รัชกาลที่ 5 ได้เคยเสด็จพระราชดำเนิน ในช่วงจากไทรบุรีถึงท่าหาดใหญ่ และรัชกาลที่ 6  ก็ได้เคยเสด็จพระราชดำเนิน จากสงขลาถึงหาดใหญ่
http://2bangkok.com/2bangkok/MassTransit/songkhlastation.shtml

หมัดเส้งชู

javascript:void(0);javascript:void(0);
วันนี้ตลิ่งชันฝนค่อนข้างตกหนัก รอไว้ปลายฝนต้นหนาว ผมค่อยเรียนเชิญ ป้าไก่ อาจารย์หม่อง เชิญแวะเชิญมาเยี่ยม มีหลายเรื่องที่อยากจะคุย ของป้าไก่มีทั้ง แปดห้อง,เก้าห้อง วังเขียว วังขาว ของอาจาย์หม่องก็คงเป็นเรื่องเกี่ยวกับรถไฟ ตอนนี้ผมมีงานในส่วนที่จะต้องจำหน่ายบ้าน เป็นบ้านประเภทชั่วคราวที่ปลูกสร้างในเขตที่ดินการรถไฟในเขตตลิ่งชัน มีร่วมๆประมาณ 400 หลัง รถไฟฟ้าสีแดงที่บริษัทประมูลรับผิดชอบในการจ่ายค่ารื้อถอน  สถานะปัจจุบันจ่ายค่ารื้อถอนหมดแล้ว บริษัทก่อสร้างได้เข้าใช้พื้นที่แล้ว javascript:void(0);javascript:void(0);

วัวชน ส.ว.

คุณหมัดเส้งชู ครับผมว่า พ.ศ. น่าจะเป็นไปได้ที่บ้านผมมีรูปถ่ายของคุณโสภณ วีระพัฒน์ ที่มอบให้กับพ่อผม รูปหายตอนย้ายบ้านจากสนามบินสงขลาไปหาดใหญ่ ครับ ผมเห็นทีแรกนึกว่ารูปถ่ายใครเห็นแต่งชุดสากล ญาติผมไม่มีเป็นคนกรุงเทพ มาเห็นชื่อในเว๊ปของ บพ. เลยนึกออกครับ พ่อผมทำงานที่สนามบินสงขลาจนเกษียณอายุ 60 ปีเมื่อปี 2515 ครบปีแรกที่ย้ายไปหาดใหญ่ครับ

หมัดเส้งชู

อ้างจาก: safety airport เมื่อ 23:27 น.  02 ก.ย 53
คุณหมัดเส้งชู ครับผมว่า พ.ศ. น่าจะเป็นไปได้ที่บ้านผมมีรูปถ่ายของคุณโสภณ วีระพัฒน์ ที่มอบให้กับพ่อผม รูปหายตอนย้ายบ้านจากสนามบินสงขลาไปหาดใหญ่ ครับ ผมเห็นทีแรกนึกว่ารูปถ่ายใครเห็นแต่งชุดสากล ญาติผมไม่มีเป็นคนกรุงเทพ มาเห็นชื่อในเว๊ปของ บพ. เลยนึกออกครับ พ่อผมทำงานที่สนามบินสงขลาจนเกษียณอายุ 60 ปีเมื่อปี 2515 ครบปีแรกที่ย้ายไปหาดใหญ่ครับ
6 กันยายน พ.ศ. 2454 นักบินชาวเบลเยี่ยม นายวัลเดน เบอร์น (Vanden Born) ได้นำเครื่องบินแบบออร์วิลล์ ไรท์ (Orwille Wright) มาสาธิตการบินถวายให้รัชกาลที่ 6ทอดพระเนตร และให้ประชาชนในกรุงเทพฯ ชม ณ สนามราชกรีฑาสโมสร ปทุมวัน นับเป็นเครื่องบินลำแรกที่บินเข้ามาในราชอาณาจักร
และในปี พ.ศ. 2454 นั้นเองกระทรวงกลาโหม ได้ส่งนายทหารไทย 3 นาย ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส

ปี พ.ศ. 2457 นายทหารทั้ง 3 นาย จบการศึกษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงให้จัดซื้อเครื่องบินบรรทุกเรือกลับมาประเทศไทย จำนวน 8 ลำ เป็นเครื่องบินที่ทางราชการซื้อ 7 ลำ และเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ซื้อให้ทางราชการ 1 ลำ หลังจากนั้นได้มีการก่อตั้งแผนกการบินทหารโดยใช้สนามราชกรีฑาสโมสรเป็นสนามบิน และสร้างโรงเก็บเครื่องบินขึ้นในบริเวณนั้น

พ.ศ. 2461 ไทยได้ส่งทหารอาสาเข้าร่วมการรบด้วย 300 คน ทหารอาสาของไทยได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่อการขับเครื่องบินและเลยไปถึงการสร้าง เครื่องบินจากทหารฝรั่งเศส เมื่อสิ้นสงครามโลกปรากฏว่าไทยมีนักบินที่มีคุณสมบิตครบถ้วนมากกว่า 100 คน ประชาชนชาวไทยต่างพร้อมในกันบริจาคเงินซื้อเครื่องบินให้กับทางราชการ (กระทรวงกลาโหม) ได้รับเงินบริจาคเป็นจำนวนมากจากจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยใช้ชื่อของจังหวัดที่บริจาคเงินเป็นชื่อของเครื่องบินได้เป็นจำนวนมากถึง 31 ลำ

ปี พ.ศ. 2468 ประเทศไทยได้จัดตั้งกองบินพลเรือน กรมบัญชาการกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และจากนั้นการบินพลเรือนของประเทศได้มีหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบมาโดยตลอด

ปีพ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้พระราชทานทุนให้ น.อ.เลื่อน พงษ์โสภณ ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการจักรกลอยู่แล้ว ไปศึกษาวิชาการบินและวิศวกรรมช่างกลต่อที่สหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 3 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาในปี 2475 ก่อนเดินทางกลับเมืองไทย น.อ.เลื่อน พงษ์โสภณ ได้ไปรับจ้างแสดงการบินผาดโผน เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม จึงได้เดินทางไปแสดงในรัฐต่าง ๆ หลายแห่ง จนกระทั่งมีเงินเหลือเก็บจึงขอซื้อเครื่องบินจากบริษัท TRAVEL AIR ในแบบเครื่องยนต์ CURTISS OX-5 90 แรงม้า ในราคา 6,000 บาท และใช้เครื่องบินนั้นบินกลับมายังประเทศไทย โดยให้ชื่อเป็นภาษาไทยว่า "นางสาวสยาม" และเป็นภาษาอังกฤษว่า "MISS SIAM" นับเป็นเครื่องบินพลเรือนลำแรกของประเทศไทย

ปี พ.ศ. 2475 น.อ. เลื่อน พงษ์โสภณ ได้ทำการบินเดี่ยวจากประเทศไทยไปยังประเทศจีนและกลับ ในความอุปถัมป์จาก สมาชิกสโมสรสามัคคีจีนสยาม (ชาวจีนในไทย) ได้ช่วยกันเรี่ยไรเงิน นับว่าประเทศไทยได้มีการคมนาคมทางอากาศกับประเทศจีนเป็นครั้งแรก เพราะขณะนั้นสายการบินระหว่างประเทศทั้ง 2 ยังมิได้เปิด

ปี พ.ศ. 2491 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้เข้ามาอยู่ในการควบคุมดูแลของกรมการบินพลเรือน กองทัพอากาศ

ปี พ.ศ. 2491 แยกการบินพลเรือน ออกจากการบินทหาร และโอนกิจการให้กระทรวงคมนาคม ปี พ.ศ. 2497 ยกฐานะเป็น สำนักงานการบินพลเรือน (ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่ง) สังกัดกรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม
26 สิงหาคม 2531 กรมการบินพาณิชย์ ได้โอนงานบริหารท่าอากาศยานหาดใหญ่ ให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ
ถ้า คุณโสภณ วีระพัฒน์  สมัครเข้าทำงาน ในปี 2453 อายุของท่านในขณะนั้น อย่างน้อยที่สุด น่าจะประมาณ 20 ปี ท่านน่าจะเกิดก่อน ปี 2433 เพราะฉะนั้นในปี 2493 อายุของท่านตงจะครบครบ 60 ปีแล้ว และการรับราชการในสมัยนั้น ท่านน่าจะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ อย่างน้อยๆ ก็เป็นท่านขุน หรีอคุณพระ
O0 O0และสุดท้ายผมก็ต้องขอขอบคุณ คุณ safety airport สำหรับความตั้งใจดีๆ ที่ไม่อยากให้ข้อมูลเอกสาร  ภาพถ่าย ที่เกี่ยวข้องสูญหายไปเหมือนกับอื่น ๆ ที่ถูกปล่อยปละละเลยถึงแม้ว่าจะไม่ตั้งใจก็ตาม  สำหรับ "ที่ระลึกเปิดอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ปี 2529'' จำได้ว่าผมเองก็มีอยู่เล่มหนึ่ง(ยังหาไม่เจอย้ายบ้านหลายครั้ง)  ช่วงนั้นผมยังทำงานไปๆมาๆ อยู่แถว สงขลา – สุราษฎร์ วันที่เปิดอาคาร ผมยังไปร่วมด้วย และรู้สึกว่า จะจำปี พ.ศ. ไม่ได้ ที่วัดม่วงค่อมฝั่งตรงข้ามสนามบิน ผมยังได้ไปงานฝังลูกนิมิตร เข้าใจว่าเป็นระยะเวลา ที่ไกล้เคียงกัน

วัวชน ส.ว.

ขอบคุณครับคุณหมัดเส้งชู ข้อมูลละเอียดมากดีเลยครับผมเองเป็นคนรุ่นหลังก็อยากรู้เรื่องแต่แรกของสนามบินบ้านเราเพราะไม่ค่อยมีคนพูดเรื่องนี้เลยครับ ไม่ทราบคุณหมัดเส้งชู อยู่ในวงการบินไหมครับ

หมัดเส้งชู

เผอิญว่าวันนี้นอนดึกหน่อย วันใหม่แล้ว ตลิ่งชันก็ยังมีฝนตกพรำๆ ก็ขอตอบคุณ safety airport ซึ่งคำตอบบางส่วนอยู่ที่กระทู้ด้านบน...  อันที่จริงแล้วผมไม่ได้เกิดที่หาดใหญ่หรอกครับ  ไปหาดใหญ่ครั้งแรก  ก็คราวที่รับเสด็จ เมื่อปี 2502 (มีกระทู้นี้อยู่ในเว็ปนี้ด้วย...ว่างๆ  ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ผมจะไปชำระกระทู้นี้) พ่อเป็นคนสุราษฎร์ แม่เป็นคนสงขลา แต่ไปเกิดที่นราฯ มีเพื่อนทั้งหมัด ทั้งเส้ง ทั้งชู มาเรียนหนังสือที่หาดใหญ่หลายปี  โรงเรียนเทศบาล 1 โรงเรียนพลวิทยา โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จบ ม.ศ. 3 ไปเรียนต่อที่สาธิต ม.อ.ปัตตานี รุ่นพี่อาจารย์หม่องหลายๆปี แต่ก็ไม่ได้จบที่นั่น ผมเป็นมาเลเรีย...เกือบตาย     ปัจจุบันใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงเทพ เหมือนป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี มีบ้านลงหลักปักฐานละแวกตลิ่งชัน ถนนราชพฤกษ์ ปีหนึ่งๆก็กลับไปเยี่ยมญาติที่สุราษฎร์-สงขลา1-2 ครั้ง หรือตามความจำเป็น  ด้วยสำนึกในถิ่นที่เคยอยู่(ไม่ใช่รักบ้านเกิด) อยากจะเห็นแต่สิ่งดีๆเกิดขึ้นที่สงขลา เมืองที่ไม่ถือไม่ถือเค้า ไม่ถือเรา (โหมบก-โหมเหนือ) ไม่แปลกแยก(ทั้งความคิด เชื้อชาติ ศาสนา) และถ้าผมเลือกได้...ผมก็จะขอเกิดที่สงขลา แต่ถ้าไม่...แผ่นดินนี้คือแผ่นดิน(ที่)แม่(เกิด)
และสุดท้ายก็ขอขอบคุณเจ้าของเว็ป,,,คุณกิมหยง