ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

แนวกำแพง-ประตูเมืองสงขลาบ่อยาง

เริ่มโดย พีระ ตันติเศรณี, 05:41 น. 05 ก.ย 53

หมัดเส้งชู

ด้วยความเคารพครับอาจารย์หม่อง ความจริงผมจะไปเปิดกระทู้ใหม่ไว้ใน ตามรอยประพาสพระจอมเกล้า (KING MONGKUT) ตามหาพระราชวังแหลมทราย (LAME SAI PALACE)
แต่เผอิญมีบางส่วนที่อาจเกี่ยวเนื่องกับกำแพง ป้อม ประตู ซึ่งควรจะอยู่ในที่เดียวกัน แต่เผอิญท่านพีระ ได้เปิดกระทู้ แนวกำแพง-ประตูเมืองสงขลาบ่อยาง  โดยเอารูปสุดท้ายของอาจารย์หม่องมาไว้เป็น โลโก้ คงไม่เป็นไรนะครับหากมีการอ้างอิงถึง ก็สามารถที่จะทำลิงค์เชื่อมโยงกันได้ ถือว่าร่วมด้วยช่วยดัน

กำแพงเมืองสงขลามีป้อม 8 ป้อมแต่ละป้อมมีปืนใหญ่กระสุน 4 นิ้ว ป้อมละ 3-4  กระบอกประตูเมืองเป็นซุ่มใหญ่ 10  ประตูกับมีประตูเล็กอีก 10 ประตูโดยรอบบัดนี้ยังคงเหลือแต่กำแพงด้านถนนจะนะ  ตรงข้ามพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสงขลา(เรือนจำเก่า) กับที่ถนนนครในเท่านั้น


ผมขอสรป time line ไว้ดังนี้นะครับ

2379  ก่อสร้าง กำแพง ป้อม ประตู
2385  กำแพงเมืองเสร็จ   ฝังหลักเมืองสงขลา   ก่อสร้าง 7 ปี
2390  เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง)
2393  สร้างป้อมรักษาขอบเขตปากน้ำแหลมทราย
2398  สมุหพระกะลาโหมตรวจดูปากน้ำฝ่ายเมืองปากใต้  พักอยู่ 7 วัน 8 คืน(กำแพงเมืองแล้วเสร็จ 13 ปี)
2402  พระจอมเกล้า รัชกาลที่ 4 เสด็จประพาสสงขลา ครั้งที่ 1 (รัชกาลที่ 5 1 ในเจ้าหน่อ 6 องค์ ตามเสด็จด้วย)
       (กำแพง เมืองแล้วเสร็จ 16 ปี)
2406  พระจอมเกล้า รัชกาลที่ 4 เสด็จประพาสสงขลา ครั้งที่ 2 เสด็จถึงเมืองปัตตานี (กำแพงเมืองแล้วเสร็จ 20 ปี)
2408  เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น)
2413  พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาlสิงคโปร์และชวา ร.ศ. 89 หยุดพักที่เมืองสงขลาทอดพระเนตรบ้านเมือง
       วัน ๑
2414  พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสอินเดีย ร.ศ. 90 เสด็จทางสถลมารคถึงเมืองสงขลาแล้วเสด็จเรือพระที่นั่ง
       กลับกรุงเทพฯ
2427  พระยาวิเชียรคีรี (ชุ่ม)
2428  เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระนิพนธ์หนังสือ ชีวิวัฒน์ (กำแพงเมืองแล้วเสร็จ 43 ปี)
2431  หลวงวิเศษภักดี (พระยาวิเชียรคีรี (ชม))
2431  พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ร.๕ เสด็จประพาสหัวเมืองแหลมมลายู ร.ศ.107
2432  พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ร.๕ เสด็จประพาสหัวเมืองแหลมมลายู ร.ศ.108 (กำแพงเมืองแล้วเสร็จ 48 ปี)
       มีภาพถ่าย ที่มีทั้งประตูเมือง และป้อมปรากฏอยู่?

จากหนังสือพงศาวดารภาค ๕๓
วันที่ 3 เสด็จทางชลมารค เสด็จขึ้นจาก เรือพระที่นั่งกับพระเจ้าหน่อ ๖ องค์ พวกชาวพนักงานที่ท่ารับเสด็จก็ตีกลองทองเหลืองเครื่องประโคมแตรซอขลุ่ย ตำรวจซ้ายขวาถือ หวายนำ พวกทหารสิป่ายชายหญิงแบกปืนปลายหอกพร้อมเพรียง ถึงน่าประตูพุทธรักษา (C)ตรัสถามว่านี่ฤๅบ้านพระยาสงขลา แล้ว เสด็จเข้ามาตามประตูมรคาพิทักษ์ (B)เสด็จขึ้นไปทรงประทับอยู่บนป้อมพิทักษ์เขื่อนขันธ์ (A)
แล้วตรัสว่า กำแพงบ้านพระยาสงขลาถึงกำแพงเมืองข้างหลังฤๅไม่ เจ้าคุณผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลากราบทูลไม่ถึง
วันที่ 4 เสด็จทางสถลมารค...ครั้นเพลาบ่าย ๔ โมงเสด็จพระราชดำเนินเข้าเมือง เสด็จมาถึงประตูพยัคฆนามเรืองฤทธิ แล้วเสด็จทองพระเนตรดูกำแพงไปถึงป้อมป้องกันศัตรู แล้วกลับมาถึงประตูพยัคฆนามเรืองฤทธิ ...จึงเสด็จพระราชดำเนินเข้ามาตามประตูพยัคฆนามเรืองฤทธิ ทางคลองขวาง...เสด็จเลี้ยวลง ทางตลาดใหญ่ ...ถึงป้อม พิทักษ์เขื่อนขันธ์(A)เสด็จขึ้นประทับกับพระเจ้าหน่อ ๖ องค์ ทรงขึ้นไป บนใบสีมาแต่พระองค์ แล้วลงมาสถิตย์หว่างใบสีมาปละปัจจิม ทรงพระบริจาคโปรยเงินเฟื้องกับพระเจ้าหน่อ ๖ องค์ ให้แก่ราษฎรพันเฟื้องหมดแล้ว ๆ คว่ำพานสุวรรณที่ใส่เงินให้ราษฎรดูว่า เงินหมดแล้ว แล้วตรัสว่าเงินที่จมทรายแลลงในน้ำอยู่มาก คอยเอาตะกร้ามาร่อนเอา แล้วเข้ามาประทับบนเตียงพระที่นั่ง ตรัสให้พวกพ่อค้าชาวร้านตลาดมีผ้าผ่อนแพรพรรณสิ่งใดประหลาดให้พาเข้ามาขายจะ ทรงซื้อ พวกพ่อค้าผ้าพาแพรเข้าไปตามรับสั่ง ทรงทอดพระเนตรผ้าแลแพร...ทรงประทับอยู่จนพลบค่ำ เสด็จลงเรือพระที่นั่งสยามอรสุมพลกลไฟสู่พระราชวังแหลมซาย
วันที่ 5 เสด็จทางชลมารคประพาสเขาเก้าเส้ง เพลาบ่ายทรงเสวยเสร็จแล้ว ขึ้นทรงพระยามณีศรีสลับม้าพระที่นั่ง พระยาระยับยอแสงม้าพระ ที่นั่งรอง เสด็จตามทางสถลมารคชายคลองสำโรง ปละอุดรรีบมาถึงประตูไชยยุทธชำนะ ลงทางสุเหร่า ทรงดำเนิน ช้า ๆ มาตามตลาด ทอดพระเนตรดูโตกตั้งบูชาแลราษฎรค้าขาย จ่ายตลาด ทอดพระเนตรดูละเอียดถี่ถ้วนทุกสิ่ง แล้วเสด็จมาออก ประตูพิทักษ์มรคาน่าจวน (B) มาถึงประตูจันที่พิทักษ์ (E) คุณหญิงหมอบเฝ้าอยู่ที่โตกตั้งบูชา หยุดม้าพระที่นั่งตรัสถามคุณหญิงว่าประตูบ้านออกนี่ฤๅ คุณหญิงการบทูลว่าประตูออกตรงนี้ แล้วเสด็จตามทางสถลมารคช่องเขาตังกวนสู่พระราชวังแหลมซาย

ครับ ขออนุญาตใช้ศัพท์แสงหน่อย  จากประชุมพงศาวดารภาคที่ 53 เฉพาะในส่วนที่บันทึกถึงเหตุการณ์ครั้งที่พระจอมเกล้า เสด็จประพาสสงขลา ครั้งที่ 1  และรูปถ่ายที่เข้าใจว่าถ่าย  ในปี 2432 คราวที่พระจุลจอมเกล้าเส็จประพาสสงขลา
จากการสังเคราะห์ สามารถสรุปลงในแผนที่ประกอบรูปถ่ายได้ดังนี้

หมัดเส้งชู

มรคา
[มอ-ระ-คา] (สก. มารฺค; มค. มคฺค) น. มรรค, มรรคา, ทาง, ช่อง, ถนน; วิธี, ธรรมเนียม.
จัณฑี
เป็นคำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกันแต่มีรูปต่างกันและมาจากภาษาต่างกัน
นางอุมา – กาตยายนี เคารี ไหมวดี ภวาณี รุทธานี จัณฑี
พระอุมาเทวี (เทวนาครี: सती) หรือพระศรีมหาอุมา หรือ ปารวตี เป็นธิดาของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกา พระอุมาเป็นชายาขององค์พระศิวะบรมเทพแห่งสวรรค์ มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ พระบรมเทพขันทกุมาร ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการสงคราม และ พระบรมเทพศรีมหาคเนศ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการขจัดอุปสรรคทั้งมวล

หมัดเส้งชู

อาจารย์หม่องฯครับมีเรื่องคาใจผมอยู่ เรื่องศาลาน้ำน่าจวน
จากนิทานโบราณคดี ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเจ้าเมืองต้องสร้างจวนและศาลากลางด้วยทุนของตนเอง แม้แต่แผ่นดินซึ่งจะสร้างจวน ถ้ามิได้อยู่ภายในเมืองมีปราการ เช่น เมืองพิษณุโลก เป็นต้น เจ้าเมืองก็ต้องหาซื้อที่ดินเหมือนกับคนทั้งหลาย จวนกับศาลากลางจึงเป็นทรัพย์ส่วนตัวของเจ้าเมือง เมื่อสิ้นตัวเจ้าเมืองก็เป็นมรดกตกแก่ลูกหลาน ใครได้เป็นเจ้าเมืองคนใหม่ ถ้ามิได้เป็นผู้รับมรดกของเจ้าเมืองคนเก่า ก็ต้องหาที่สร้างจวนและศาลากลางขึ้นใหม่ตามกำลังที่จะสร้างได้ บางทีก็ย้ายไปสร้างห่างจวนเดิมต่างฟากแม่น้ำ หรือแม้จนต่างตำบลก็มี จวนเจ้าเมืองไปตั้งอยู่ที่ไหนก็ย้ายที่ว่าราชการไปอยู่ที่นั่นชั่วสมัยของ เจ้าเมืองคนนั้น ตามหัวเมืองจึงไม่มีที่ว่าราชการเมืองตั้งประจำอยู่แห่งใดแห่งหนึ่งเป็นนิจ เหมือนอย่างทุกวันนี้ อันเพิ่งมีขึ้นเมื่อจัดมณฑลเทศาภิบาลแล้ว

ขออนุญาตค่อยเข้ามาต่อนะครับ

Big Beach

อ้างจาก: หมัดเส้งชู เมื่อ 15:26 น.  12 ก.ย 53
ด้วยความเคารพครับอาจารย์หม่อง ความจริงผมจะไปเปิดกระทู้ใหม่ไว้ใน ตามรอยประพาสพระจอมเกล้า (KING MONGKUT) ตามหาพระราชวังแหลมทราย (LAME SAI PALACE)
แต่เผอิญมีบางส่วนที่อาจเกี่ยวเนื่องกับกำแพง ป้อม ประตู ซึ่งควรจะอยู่ในที่เดียวกัน แต่เผอิญท่านพีระ ได้เปิดกระทู้ แนวกำแพง-ประตูเมืองสงขลาบ่อยาง  โดยเอารูปสุดท้ายของอาจารย์หม่องมาไว้เป็น โลโก้ คงไม่เป็นไรนะครับหากมีการอ้างอิงถึง ก็สามารถที่จะทำลิงค์เชื่อมโยงกันได้ ถือว่าร่วมด้วยช่วยดัน

กำแพงเมืองสงขลามีป้อม 8 ป้อมแต่ละป้อมมีปืนใหญ่กระสุน 4 นิ้ว ป้อมละ 3-4  กระบอกประตูเมืองเป็นซุ่มใหญ่ 10  ประตูกับมีประตูเล็กอีก 10 ประตูโดยรอบบัดนี้ยังคงเหลือแต่กำแพงด้านถนนจะนะ  ตรงข้ามพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสงขลา(เรือนจำเก่า) กับที่ถนนนครในเท่านั้น


ผมขอสรป time line ไว้ดังนี้นะครับ

2379  ก่อสร้าง กำแพง ป้อม ประตู
2385  กำแพงเมืองเสร็จ   ฝังหลักเมืองสงขลา   ก่อสร้าง 7 ปี
2390  เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง)
2393  สร้างป้อมรักษาขอบเขตปากน้ำแหลมทราย
2398  สมุหพระกะลาโหมตรวจดูปากน้ำฝ่ายเมืองปากใต้  พักอยู่ 7 วัน 8 คืน(กำแพงเมืองแล้วเสร็จ 13 ปี)
2402  พระจอมเกล้า รัชกาลที่ 4 เสด็จประพาสสงขลา ครั้งที่ 1 (รัชกาลที่ 5 1 ในเจ้าหน่อ 6 องค์ ตามเสด็จด้วย)
       (กำแพง เมืองแล้วเสร็จ 16 ปี)
2406  พระจอมเกล้า รัชกาลที่ 4 เสด็จประพาสสงขลา ครั้งที่ 2 เสด็จถึงเมืองปัตตานี (กำแพงเมืองแล้วเสร็จ 20 ปี)
2408  เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น)
2413  พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาlสิงคโปร์และชวา ร.ศ. 89 หยุดพักที่เมืองสงขลาทอดพระเนตรบ้านเมือง
       วัน ๑
2414  พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสอินเดีย ร.ศ. 90 เสด็จทางสถลมารคถึงเมืองสงขลาแล้วเสด็จเรือพระที่นั่ง
       กลับกรุงเทพฯ
2427  พระยาวิเชียรคีรี (ชุ่ม)
2428  เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระนิพนธ์หนังสือ ชีวิวัฒน์ (กำแพงเมืองแล้วเสร็จ 43 ปี)
2431  หลวงวิเศษภักดี (พระยาวิเชียรคีรี (ชม))
2431  พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ร.๕ เสด็จประพาสหัวเมืองแหลมมลายู ร.ศ.107
2432  พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ร.๕ เสด็จประพาสหัวเมืองแหลมมลายู ร.ศ.108 (กำแพงเมืองแล้วเสร็จ 48 ปี)
       มีภาพถ่าย ที่มีทั้งประตูเมือง และป้อมปรากฏอยู่?

จากหนังสือพงศาวดารภาค ๕๓
วันที่ 3 เสด็จทางชลมารค เสด็จขึ้นจาก เรือพระที่นั่งกับพระเจ้าหน่อ ๖ องค์ พวกชาวพนักงานที่ท่ารับเสด็จก็ตีกลองทองเหลืองเครื่องประโคมแตรซอขลุ่ย ตำรวจซ้ายขวาถือ หวายนำ พวกทหารสิป่ายชายหญิงแบกปืนปลายหอกพร้อมเพรียง ถึงน่าประตูพุทธรักษา (C)ตรัสถามว่านี่ฤๅบ้านพระยาสงขลา แล้ว เสด็จเข้ามาตามประตูมรคาพิทักษ์ (B)เสด็จขึ้นไปทรงประทับอยู่บนป้อมพิทักษ์เขื่อนขันธ์ (A)
แล้วตรัสว่า กำแพงบ้านพระยาสงขลาถึงกำแพงเมืองข้างหลังฤๅไม่ เจ้าคุณผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลากราบทูลไม่ถึง
วันที่ 4 เสด็จทางสถลมารค...ครั้นเพลาบ่าย ๔ โมงเสด็จพระราชดำเนินเข้าเมือง เสด็จมาถึงประตูพยัคฆนามเรืองฤทธิ แล้วเสด็จทองพระเนตรดูกำแพงไปถึงป้อมป้องกันศัตรู แล้วกลับมาถึงประตูพยัคฆนามเรืองฤทธิ ...จึงเสด็จพระราชดำเนินเข้ามาตามประตูพยัคฆนามเรืองฤทธิ ทางคลองขวาง...เสด็จเลี้ยวลง ทางตลาดใหญ่ ...ถึงป้อม พิทักษ์เขื่อนขันธ์(A)เสด็จขึ้นประทับกับพระเจ้าหน่อ ๖ องค์ ทรงขึ้นไป บนใบสีมาแต่พระองค์ แล้วลงมาสถิตย์หว่างใบสีมาปละปัจจิม ทรงพระบริจาคโปรยเงินเฟื้องกับพระเจ้าหน่อ ๖ องค์ ให้แก่ราษฎรพันเฟื้องหมดแล้ว ๆ คว่ำพานสุวรรณที่ใส่เงินให้ราษฎรดูว่า เงินหมดแล้ว แล้วตรัสว่าเงินที่จมทรายแลลงในน้ำอยู่มาก คอยเอาตะกร้ามาร่อนเอา แล้วเข้ามาประทับบนเตียงพระที่นั่ง ตรัสให้พวกพ่อค้าชาวร้านตลาดมีผ้าผ่อนแพรพรรณสิ่งใดประหลาดให้พาเข้ามาขายจะ ทรงซื้อ พวกพ่อค้าผ้าพาแพรเข้าไปตามรับสั่ง ทรงทอดพระเนตรผ้าแลแพร...ทรงประทับอยู่จนพลบค่ำ เสด็จลงเรือพระที่นั่งสยามอรสุมพลกลไฟสู่พระราชวังแหลมซาย
วันที่ 5 เสด็จทางชลมารคประพาสเขาเก้าเส้ง เพลาบ่ายทรงเสวยเสร็จแล้ว ขึ้นทรงพระยามณีศรีสลับม้าพระที่นั่ง พระยาระยับยอแสงม้าพระ ที่นั่งรอง เสด็จตามทางสถลมารคชายคลองสำโรง ปละอุดรรีบมาถึงประตูไชยยุทธชำนะ ลงทางสุเหร่า ทรงดำเนิน ช้า ๆ มาตามตลาด ทอดพระเนตรดูโตกตั้งบูชาแลราษฎรค้าขาย จ่ายตลาด ทอดพระเนตรดูละเอียดถี่ถ้วนทุกสิ่ง แล้วเสด็จมาออก ประตูพิทักษ์มรคาน่าจวน (B) มาถึงประตูจันที่พิทักษ์ (E) คุณหญิงหมอบเฝ้าอยู่ที่โตกตั้งบูชา หยุดม้าพระที่นั่งตรัสถามคุณหญิงว่าประตูบ้านออกนี่ฤๅ คุณหญิงการบทูลว่าประตูออกตรงนี้ แล้วเสด็จตามทางสถลมารคช่องเขาตังกวนสู่พระราชวังแหลมซาย

ครับ ขออนุญาตใช้ศัพท์แสงหน่อย  จากประชุมพงศาวดารภาคที่ 53 เฉพาะในส่วนที่บันทึกถึงเหตุการณ์ครั้งที่พระจอมเกล้า เสด็จประพาสสงขลา ครั้งที่ 1  และรูปถ่ายที่เข้าใจว่าถ่าย  ในปี 2432 คราวที่พระจุลจอมเกล้าเส็จประพาสสงขลา
จากการสังเคราะห์ สามารถสรุปลงในแผนที่ประกอบรูปถ่ายได้ดังนี้


ขอลิงค์กระทู้ดังกล่าวด้วยครับ

คนเขารูปช้าง

ผมขอลิงค์กระทู้ดังกล่าวด้วยคนครับ กำลังจะขอโดนท่าน Big Beach ปาดหน้าไปแล้ว

หมัดเส้งชู

ยังไม่ได้ลำดับเรื่องเลยครับ ขอเวลาผมสัก 2 อาทิตย์ ขอให้เป็นหลังจากที่เข้าโรงพยาบาลก่อนไม่แน่ใจว่าหมอจะให้แอดมิด ด้วยหรือเปล่า  ผมใช้คำว่าจะไปเปิดกระทู้เข้าใจว่าในเร็วๆนี้แหละ ใจความสำคัญของกระทู้นี้ผมจะพยายามหาตำแหน่งที่ตั้งของพระราชวังแหลมทราย ซึ่งในชั้นนี้เข้าใจว่า น่าจะอยู่ไม่ไกลกันกับสวนสองทะเล  ซึ่งถ้าเมื่อเจอตำแหน่งสามารถลำดับภาพของสื่งก่อสร้างบางอย่างได้ ก็อาจจะมีการทำพระราชวังจำลอง เป็นทำนองหอประวัติศาสตร์ ไว้ที่สวนสองทะเลนั่นเลย ความจริงแล้วพระราชวังแหลมทราย ถูกสร้างมาพร้อมๆกับพระนครคีรี เขาวังเพชรบุรี เมื่อปี พ.ศ.2402 ขอเวลาผมหน่อยนะครับ คุณพี่ Big บิ๊ก มีหลาย Big บิ๊กนะครับในเวบนี้ ทั้งคุณBig Beach บิ๊กมะหาด  ท่านพีระก็อยู่ที่นี้แล้ว มีอะไรก็เสนอโครงการไปเลย
ไหนๆก็เข้ามาแล้ว ผมเลยขอโพส ภาพ ประตูอีก 2 ประตู ที่น่าจะระบุชื่อได้ สำหรับอีก 1ประตูเข้าใจว่าเป็นเพราะมุมจำกัดไม่สามารถถ่ายภาพได้ (ประตูสุรามฤทธิ์) ไว้พรุ่งนี้จะมาทำผังให้ดู ซึ่งถ้าสามาถระบุตำแหน่งได้หมด ก็คงจะต้องขอฝาก ท่านพีระ ขอช่วยน้องๆ หรือจ้างบริษัท เขียน Google Sketch ทำกำแพง ป้อม ประตูหอรบ 3D ขึ้นแสดงใน Google Earth เลย

คนเขารูปช้าง

จะรอติดตาามเรื่องที่น่าสนใจมากจากท่าน หมัดเส้งชู ครับ อย่างไรก็ขอให้ท่านแคล้วคลาดจากโรคที่ต้องนอนโรงหมอนะครับ
รักษาสุขภาพด้วยครับ อย่านอนดึกมากนัก ส่วนผมบางครั้งมาดึกมาก เนื่องจากต้องทำงานกะกลางคืนครับ ชีวิตลูกจ้างเลือกไม่ได้ครับ

พีระ ตันติเศรณี

รอคุณหมัดเส้งชูอยู่ ขอบคุณล่วงหน้า
ความตั้งใจหนึ่งของผม คือ อยากจำลองประตูพุทธรักษาขึ้นมาขนาด วัสดุ และสถาปัตย์เหมือนเดีมทุกอย่าง
และสร้างในตำแหน่งประตูเดิม ซึ่งสันนิษฐานเอาเองว่า คงอยู่ที่หัวถนนเพชรคีรี หรือแนวถนน หรือในด่านศุลกากรภาค(แนวกำแพงตรงจากหลังธนาคารกสิกรท่ีเหลือซากอยู่)
หวังให้เป็นจุดถ่ายรูปที่บอกอัตตลักษณ์ของเมือง ซึ่งดั้งเดิมมากรองจากเจดีย์หลวงเขาตังกวน  ปัจจุบันสัญญลักษณ์ของเมืองกลับเป็นนางเงือกทอง(สร้าง ๒๕๐๙)และปฏิมากรรมพยานาคพ่นน้ำ(เพิ่งสร้าง)
ประตูบูรพาภิบาล ประตูพยัคฆนามเรืองฤทธิ์ ก็หน้าสร้างขึ้นมาใหม่
แต่ทุกประตูเจอปัญญหาเหมือนกันคือความกว้างราวสามเมตร รถสวนไม่ได้
แต่ปัญหานี้สถาปนิกคงหาทางออกให้ได้
ข้อมูลที่หลายท่านสังเคราะห์มาคงมีประโยชน์มาก
งบประมาณใหม่ที่ผมตั้งที่เทศบาล มีจัดพิมพ์เผยแพร่เอกสารสำคัญด้วยครับ ข้อมูลและภาพที่สังเคราะห์กันคงมีช่องเผยแพร่ออกวงกว้าง ใครพร้อมมาเลยครับ ส่วนปูมเมืองบ่อยาง ๑๗๐ ปี อาจารย์ก้อยจองแล้ว

หม่องวิน มอไซ

รอติดตามการพิมพ์เผยแพร่เอกสารครับ  ;)

หมัดเส้งชู

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 07:01 น.  18 ก.ย 53
รอติดตามการพิมพ์เผยแพร่เอกสารครับ  ;)
ครับด้วยความเคารพ เห็นอาจารย์หม่องฯแวะเข้ามาทักทาย  แล้วก็ออกไป  จะรอติดตามการพิมพ์เผยแพร่เอกสารอย่างเดียวเลยหรือครับอาจารย์   :-\ :-\
ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ผมลุยต่อก็แล้วกัน
ครับสำหรับตำแหน่งประตูศักดิ์สิทธิพิทักษ์  ตำแหน่งที่น่าจะเป็นไปได้ผมคิดว่าน่าจะมีอยู่ 2 จุดคือบนถนนยะหริ่ง และบนถนนหนองจิก ภาพ 3D Terrain บนถนนหนองจิกใช้หลักการเดียวกันกับของอาจารย์หม่องวิน  แต่อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผมค่อนข้างที่จะเชื่อว่าประตูอยู่บน 2 ถนนสองเส้นนี้เป็นเพราะ  ต้นถนน...อยู่บนจุดตัดกับถนนนางงาม  ตรงกับตำแหน่งศาลเจ้ากวนอู และศาลเจ้าส่ำเล้งเตียนกวนแตกุ้น  ฉะนั้นประตูเมือง ณ ตำแหน่งนี้จึงน่าจะชื่อว่า ประตูศักดิสิทธิ์พิทักษ์  ยังไงดูผลเพิ่มเติมการวิเคราห์ของอาจารย์หม่องวินได้ที่ลิงก์นี้นะครับ 
http://www.gimyong.com/board53/index.php/topic,3993.90.html


หมัดเส้งชู

ขอบคุณรูปจากอาจารย์ซุป เวปนี้ครับ
http://www.sk-hospital.com/skmessage/viewtopic.php?t=4737
จากรูป(ผู้ถ่ายยืนค่อนมาทางขวามือ)  จะเห็นว่าอาคารทางขวามือ แนวที่ปลูกสร้างใหม่รุกล้ำเข้ามาในแนวถนนเดิมสังเกตแนว
จากรอยท่อระบายน้ำ  มุมเสาซ้ายมือของอาคารปลูกทับแนวอยู่  อาคารที่อยู่ด้านหลังริมถนนนครนอกด้านทะเลสาบ ปลูกเข้ามาถึงกึ่งกลางแนวประตู(ถนนเดิม)  ในขณะที่(ภาพประตูเดิมผู้ถ่ายยืนค่อนไปทางซ้ายมือ)    หรือถ้ายังไงลองไปยืนถ่ายรูปที่จุดหลังสุดของอาคารรินถนนนครริมทะเลสาบแล้วลองมาโพสดูนะครับ 
และสุดท้ายสำหรับประตูนี้ของผม  ขอสรุปว่าตำแหน่งของประตูศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์อยู่บนจุดตัดของถนนยะหริ่งกับถนนนครนอกที่ต้นถนนพุ่งมาจากศาลเจ้ากวนอู เช่นเดียวกับข้อสรุปของอาจารย์หม่องวิน และท่านคนเขารูปช้าง(...ตราบใดที่ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ ไม่ถึงที่สุด ก็คงไม่สามารถสรุปได้...หากท่านใดมีความคิดเห็นต่างไป  เชิญแสดงความคิดเห็นได้ครับ)
ประตูอัคนิวุธ
พระอัคนี (สันสกฤต: อคฺนิ, อัคนิ) เป็นเทพในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพแห่งไฟ พระอัคนีมี ๓ พระรูปทรงได้แก่ อัคนี วิทยุต(สายฟ้า) และดวงอาทิตย์
สำหรับประตูนี้ตำแหน่งก็เช่นเดียวกันครับ   เป็นไปได้ทั้ง  2 อย่าง อาจจะอยู่บนถนนพัทลุงหรือไม่ก็ถนนยะลา   เพราะฉากหลังทั้ง 2 จุดเป็นเวิ้งทะเลไม่ปรากฏแผ่นดินให้เป็นที่สังเกต
แต่ผมมีข้อสังเกตจากรูปดังนี้
1.น่าจะถ่ายบนถนนพัทลุงตรงมาจากด้านตะวันออก ประตูบูรพภิบาล   สังเกตดูครับบ้านหลังซ้ายมือชนกำแพงเลย บ้านหลังขวามือดูเหมือนจะไม่ถึงกำแพง เป็นตรอกข้างกำแพงสามารถเดินทะลุไปถึง... เลี้ยวซ้ายออกประตู? จ่ายกับข้าวที่ตลาดบ่อพลับได้ เลี้ยวขวาผ่านสี่กั๊ก ตรงไปวัดยายสีจันทร์ (วัดกลางหรือวัดมัชฌิมาวาส)ได้
2.ถ้าเป็นจุดทีถ่ายจากถนนยะลา จุดที่ถ่ายถึงประตู อยู่ในระหว่าง 30-32 เมตร  แต่ถ้าถ่ายที่ถนนพัทลุงจะมีระยะอยู่ระหว่าง 14-16 เมตร  ผมวัดจากข้อมูลในแผนที่GIS  ข้อเท็จจริงในพื้นที่สนามเท่าไรผมไม่ทราบแต่น่าจะใกล้เคียงกันมาก

ซึ่งในชั้นนี้ผมขอสรุปว่าเป็นประตูที่อยู่บนถนนพัทลุง  แต่สำหรับที่ถนนยะลา มีประตู? แต่ไม่ไช่ประตูเมือง 
ถ้าผลสรุปเป็นเช่นนี้  วันเดือนปีที่ถ่ายประตู ก็ไม่ใช่ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2448 อาจจะเป็นวันที่ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ 2441 หรือไม่ก็วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ 2441


หมัดเส้งชู

มีป้อม ๘ ป้อม อยู่มุมเมือง ๔ ป้อม ระหว่างกำแพงด้านยาวทิศตะวันออกทิศตะวันตกมีป้อมอีกด้านละ ๒ ป้อม
ครับวันนี้ผมเอาชื่อป้อมมาฝาก...จากรายงานของพระสฤดิพจน์กรณ์ ซึ่งว่าด้วยการตรวจแหลมมลายู ในพระราชอาณาเขตร ร.ศ.๑๑๓ ตรงกับปีพุทธศักราช ๒๔๓๗ ปีที่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นมณฑล เทศาภิบาล หลังจากกำแพงเมืองสร้างเสร็จ  ๕๑ ปี
กล่าวถึงกำแพงเมืองสงขลาว่า "เมืองสงขลามีกำแพงรูป ๔ เหลี่ยมยาวๆล้อมรอบเมือง กำแพงตั้งเกือบตรงเหนือใต้ แต่เยื้องข้างตะวันออกเฉียงเหนือหน่อยหนึ่ง กำแพงที่มาแต่ทิศเหนือใต้ ยาว ๕๙๐ วา แต่กว้างไม่เท่ากัน ด้านทางเหนือสอบเข้ามาแลแคบกว่าทางใต้  คือทางเหนือกว้าง ๑๙๘ วา ด้านใต้กว้าง ๒๕๕ วา  กำแพงเป็นกำแพงก่อด้วยศิลากับปูน สูงสัก ๒๐ คืบ หนาสัก ๑ วา มีใบเสมาแลป้อมประตูมั่นคง ด้านตะวันออกของกำแพงชำรุดเสียบ้างแล้ว
ป้อมมี ๘ ป้อม ถ้าจับตั้งแต่ป้อมแง่ ตะวันตกเฉียงเหนือแล้วลงไปทางใต้วนรอบกำแพง จะมีเรียกชื่อกันไปดังนี้ ป้อมเทเวศพิทักษ์ ๑ พิทักษ์เขื่อนขันธ์ ๑ ประจันวารี ๑ ไพรีพินาศน์ ๑ พิฆาฏฆ่าศึก ๑ พิฦกอำนาจ ๑ นิราศพยันต์ ๑ กันศัตรู ๑"

เป็นอันว่า เราได้ชื่อและตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว ๕ ป้อม ๔ ป้อม เป็นป้อมที่อยู่มุมกำแพงเมืองทั้ง ๔ ทิศ ๔ ป้อม กับอีก ๑ป้อม บนกำแพงทางด้านทิศตะวันตก  แล้วผมทิ้งท้ายปริศนา ? ใช่ป้อมหรือไม่...

สาว สาว สาว

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 07:01 น.  18 ก.ย 53
รอติดตามการพิมพ์เผยแพร่เอกสารครับ  ;)
เรื่องการพิมพ์เผยแพร่เอกสารนั้น  ข้อมูลต้องแม่น
และเมื่อเผยแพร่ไปแล้ว   ไม่มีใครค้านในเอกสารนั้นได้
โดยเฉพาะเอกสารที่นำมานั้น   ได้มาจากอากู๋ (กูเกิล)

สาว สาว สาว

ป้อมป้องกันราวี   เรียกตามคำบอกเล่าของพระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน
(ฑิต ณ สงขลา)     แต่ในหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ 53 ข้อ 10/6 หน้า 80
เรียกว่า  ป้อมป้องกันศัตรู
           ส่วนประตูพยัคฆนามเรืองฤทธิ์   ที่ได้ชื่อนี้  เพราะใกล้ ๆ ประตูมี
กรงขังเสือ

สาว สาว สาว

ชื่อป้อมเทเวศร์บริรักษ์
พิทักษ์เขื่อนขันฑ์
ป้องกันราวี (ป้องกันศัตรู)
ไพรีพินาศ
พิฆาตข้าศึก
พิลึกอำนาจ
นิราศภัยยันตร์

หมัดเส้งชู

อ้างจาก: สาว สาว สาว เมื่อ 19:34 น.  24 ก.ย 53
อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 07:01 น.  18 ก.ย 53
รอติดตามการพิมพ์เผยแพร่เอกสารครับ  ;)
เรื่องการพิมพ์เผยแพร่เอกสารนั้น  ข้อมูลต้องแม่น
และเมื่อเผยแพร่ไปแล้ว   ไม่มีใครค้านในเอกสารนั้นได้
โดยเฉพาะเอกสารที่นำมานั้น   ได้มาจากอากู๋ (กูเกิล)

อ้างจาก: สาว สาว สาว เมื่อ 19:46 น.  24 ก.ย 53
ป้อมป้องกันราวี   เรียกตามคำบอกเล่าของพระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน
(ฑิต ณ สงขลา)     แต่ในหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ 53 ข้อ 10/6 หน้า 80
เรียกว่า  ป้อมป้องกันศัตรู
          ส่วนประตูพยัคฆนามเรืองฤทธิ์   ที่ได้ชื่อนี้  เพราะใกล้ ๆ ประตูมี
กรงขังเสือ
อ้างจาก: สาว สาว สาว เมื่อ 20:05 น.  24 ก.ย 53
ชื่อป้อมเทเวศร์บริรักษ์
พิทักษ์เขื่อนขันฑ์
ป้องกันราวี (ป้องกันศัตรู)
ไพรีพินาศ
พิฆาตข้าศึก
พิลึกอำนาจ
นิราศภัยยันตร์

ต้องดูครับ...ว่าที่มา...มาจากไหน  ถ้าเป็นพงศาวดาร...ปกติแล้วมีการชำระ  แต่ก็นั่นแหละครับชื่ออาจจะผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่ถ้ายังมีความหมายไม่ได้แผกผิดไปจากเดิมเป็นที่เข้าใจ ก็อาจจะละไว้การสะกดสมัยนี้กับสมัยก่อนก็ต่างกันพอสมควร ก็เหมือนที่คุณสาว ๓ ครั้ง ขออภัย คุณ สาว สาว สาว บอกไว้นั่นแหละครับ ข้อมูลของอากู๋ ก็ใช้ได้นะครับ แต่...ต้องมีที่มาที่ไปต้องตรวจสอบเอกสารก่อน และถ้าเป็นสิทธิของเขาโดยชอบก็ควรจะให้เกียรติบอกถึงแหล่งที่มาด้วย  สำหรับป้อมป้องกันราวี   รายงานของพระสฤดิพจน์กรณ์  เรียกป้อมประจันวารี  ถ้าภาษาสมัยนี้ก็คงต้องเรียก ป้อมประจัญวารี สำหรับที่วงเล็บ(ป้องกันศัตรู) เป็นป้อมท้ายสุดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถ้าเป็นในหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ 53 เรียก ป้อมป้องกันศัตรู แต่รายงานของพระสฤดิพจน์กรณ์   เรียกป้อมกันศัตรู ลองอ่านชื่อป้อม หรือชื่อ ประตูดูก็ได้ครับ ชื่อจะคลองจองกันหมด แล้วก็มีความหมายด้วย  เหมือนกับที่คุณ สาว สาว สาว บอกไว้นั่นแหละครับ...ประตูพยัคฆนามเรืองฤทธิ์   ที่ได้ชื่อนี้  เพราะใกล้ ๆ ประตูมีกรงขังเสือ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ จวนเจ้าเมืองของพระยาเถี้ยนเส้ง หรือเจ้าคุณเสือ อยู่ ณ ที่ประตูตรงนั้น และท่านก็เป็นผู้สร้างกำแพงเมืองสงขลา(บ่อยาง)

บัวดิน อุบลวรรณ

จากหนังสือพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ(จิตร ณ สงขลา)
หน้า ๔๑๒ และ ๔๑๓
ชื่อประตูเมืองสงขลาและที่ตั้ง คือ พุทธรักษา สุรามฤทธิ์  ศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์ อัคนีวุธ ชัยยุทธชำนะ บูรภาภิบาล สนานสงคราม พยัคฆนามเรืองฤทธิ์ ได้จากความทรงจำของพระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน(ฑิต ณ สงขลา ผู้ได้รับพระราชทานนามสกุล ณ สงขลา)
พุทธรักษา อยู่บริเวณหน้าตลาดทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ถนนนครใน
สุรามฤทธิ์   อยู่ในบริเวณคลองขวาง ถนนนครใน เดิมมีโรงเหล้าอยู่ในบริเวณนี้
ศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์ อยู่ตรงบริเวณถนนยะหริ่งตัดกับถนนนครนอก
อัคนีวุธ  อยู่ตรงบริเวณถนนยะละตัดกับถนนนครนอก
ชัยยุทธชำนะ อยู่ตรงบริเวณถนนไทรบุรีตัดกับถนนกำแพงเพชร เมื่อกองทัพไทยชนะศึกที่ปลักแรด เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๒ ได้เดินทัพกลับเข้าเมืองสงขลาทางประตูนี้ จึงได้ลงชื่อไว้เป็นอนุสรณ์
บูรพาภิบาล อยู่ตรงหลังวัดมัชฌิมาวาส ด้านถนนรามวิถี
สนานสงคราม อยู่ตรงบริเวณโรงเรียนพยาบาลสงขลา ถนนรามวิถี
พยัคฆนามเรืองฤทธิ์  อยู่ตรงบริเวณถนนไทรบุรีตัดกับถนนจะนะ ที่ได้ชื่อว่าประตูนี้ เพราะที่ใกล้ๆประตูมีกรงขังเสือ
จันทีพิทักษ์  ประตูนี้เข้าใจว่าจะอยู่ใกล้ๆ ถนนนครใน
มรคาพิทักษ์ ประตูนี้เข้าใจว่าจะอยู่ใกล้ๆ ถนนนครใน

หม่องวิน มอไซ

 :o
ขอบคุณมากครับท่าน
ได้ข้อมูลแล้ว มาสอบทานกันดีกว่าครับ  ;)

สาว สาว สาว

มีหนังสือพระราชทานเพลิงศพของเจ้าพระยาคนสุดท้ายของประเทศไทย
(จิตร  ณ  สงขลา)  เหมือนกัน

คนยาว

มาเติมข้อมูลให้
ชุมโจรแห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พ.ศ. 2437 - 2465 โดย : มานะ ขุนวีช่วย, วิทยานิพนธ์ /Thesis, มหาวิทยาลัยศิลปากร

เมื่อฝนตก

เมื่อเวลาประมาณ15.00 น. วันนี้(30 ต.ค.) เกิดเหตุกำแพงเมืองสงขลา ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนจะนะ หน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสงขลา เขตเทศบาลนครสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา พังลงมาได้รับความเสียหาย โดยจุดที่พังเสียหายอยู่บริเวณกึ่งกลางของกำแพงความยาวประมาณ4 เมตรและสูงจากพื้นจนถึงใบเสมาประมาณ7 เมตร เศษหินกระจายลงมากระจัดกระจายอยู่บนถนน โดยคาดว่ามีสาเหตุมาจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่องในช่วง2 วันที่ผ่านมาทำให้ตัวกำแพงซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า 174 ปีและสร้างด้วยหินสอปูน ถูกน้ำกัดเซาะจนทำให้ตัวกำแพงบางส่วนที่กำลังเริ่มเสื่อมสภาพพังลงมา ??? ??? ???

จาก http://76.nationchannel.com/province.php?id=90
http://76.nationchannel.com/province.php?id=90
http://76.nationchannel.com/province.php?id=90

MUD

กำแพงเมืองนี่ก็ละเอาไว้ไม่ได้...เป็นอีกหนึ่งหน้าที่ต้องจดจารไว้  >:( >:( >:(
เครดิตตามภาพเลยนะครับ