ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เดินหน้าสร้างต่อเขื่อนกั้นคลื่นกัดเซาะชายหาดเก้าเส้ง หลังพ้นผ่านพ้นช่วงฤดูมรสุม

เริ่มโดย ทีมงานบ้านเรา, 13:13 น. 07 ก.ค 55

ทีมงานบ้านเรา

เขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายหาดบ้านเก้าเส้ง เดินหน้าสร้างต่อ หลังผ่านพ้นฤดูมรสุม วิศวกรโยธาผู้ควบคุมงานก่อสร้างเคลียร์พื้นที่เพื่อลงมือก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสัตว์น้ำชายหาดเก้าเส้ง โดยได้รับความร่วมมือจากชาวประมงริมชายหาดเป็นอย่างดี

การก่อสร้างเขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายหาดบ้านเก้าเส้ง อ.เมือง จ.สงขลา แบบเรียงหินใหญ่ ความยาว 140 เมตร ได้ทำการก่อสร้างไปแล้วบางส่วนก่อนหน้าฤดูมรสุมที่ผ่านมา หลังจากเข้าฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือก็ต้องหยุดดำเนินการก่อสร้าง และในช่วงนี้ผ่านพ้นฤดูมรสุมคลื่นลมในทะเลอยู่ในสภาพปรกติ ทำให้สามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างต่อได้

โดยในวันนี้ ได้นำรถแบคโฮขนาดใหญ่มาทำการเคลียร์พื้นที่ก่อสร้าง เพื่อนำโครงเหล็กเสาเข็มขนาดใหญ่มาทำการหล่อเสาคอนกรีต เพื่อทำการก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสัตว์น้ำชายหาดเก้าเส้ง ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาวลงไปในทะเล 21 เมตร ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 2 เดือน เพื่อให้แล้วเสร็จก่อนฤดูมรสุมปีนี้ เขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายหาดบ้านเก้าเส้งที่สร้างเสร็จไปแล้วบางส่วนสามารถป้องกันคลื่นกัดเซาะชายหาดเก้าเส้งได้เป็นอย่างดี

ในขณะเดียวกัน ชาวประมงพื้นบ้านเก้าเส้งที่มีบ้านอยู่ริมชายหาดเก้าเส้ง ต่างให้ความร่วมมือในการก่อสร้างเป็นอย่างดี โดยได้ย้ายเพิงเก็บเครื่องมือประมงริมชายหาดไปเก็บไว้ที่บ้านเพื่อให้การก่อสร้างสะพานได้คล่องตัวขึ้น เนื่องจากต้องใช้รถแบคโฮขนาดใหญ่ในการทำงานขนอุปกรณ์ในการก่อสร้างลงไปในทะเลและย้ายการนำเรือประมงพื้นบ้านเข้าไปจอดขึ้นปลาที่บริเวณชายฝั่งที่ไม่มีการก่อสร้าง เขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายหาดบ้านเก้าเส้ง แบบเรียงหินใหญ่ ความยาว 140 เมตร

เป็นโครงการเดียวกันกับการก่อสร้างเขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะตลิ่งชายหาดชลาทัศน์ แหลมสมิหลาสงขลา ตอนที่ 3 ของกรมโยธาธิการและผังเมือง ความยาว 1,000 เมตร โดยแยกเป็นเขื่อนป้องกันตลิ่ง (แบบเรียงถุงทราย) ที่ชายหาดชลาทัศน์ ความยาว 860 เมตร และเขื่อนป้องกันตลิ่ง แบบเรียงหินใหญ่ ที่บ้านเก้าเส้ง ความยาว 140 เมตร และมีสะพานท่าเทียบเรือรวมอยู่ในการก่อสร้างนี้ด้วย โดยใช้งบประมาณ 54 ล้านบาท

นายสิทธิชัย วัฒนา วิศวกรโยธาผู้ควบคุมงานก่อสร้าง เปิดเผยว่า วันนี้มาทำคล้ายกับสะพานเป็นสปีดเวย์ยื่นลงไปในทะเล เพื่อรับสินค้าจากเรือประมงชาวบ้านนำปลาขึ้นมาเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับชาวบ้านมากขึ้น สะพานกว้าง 12 เมตร ยาวลงไปในทะเลจากสันเขื่อน 21 เมตร และขึ้นมาข้างบน 12 เมตร จะใช้ระยะเวลาในการทำงานก่อนช่วงมรสุมจะเข้าประมาณ 2 เดือน ก็คงจะปิดงานได้

   
[attach=1]

ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : สงขลา (สวท.)/สุธิดา พฤกษ์อุดม   Rewriter : ฐิติวรดา ปุยอรุณ / สนข.
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th
สนับสนุนการขับเคลื่อนโดย
- ฮอนด้าพิธานพาณิชย์-อริยะมอเตอร์ www.phithan.co.th/hondaphithan
- ปาล์มสปริงส์ & ซิตี้รีสอร์ท บ้านและคอนโดคุณภาพจากเครืองศุภาลัย www.hatyainakarin.com
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ (เยื้องบิ๊กซีคลองแห) โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy
- เอนกการช่าง ผู้นำการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร โทร 081-7382622 www.an-anek.com/contact.php
รีวิวธุรกิจ เกาะติดบ้านเมือง ร้อยเรื่องท้องถิ่น TLP 0897384215

นายไข่นุ้ย

อ้างจาก: ทีมงานบ้านเรา เมื่อ 13:13 น.  07 ก.ค 55
เขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายหาดบ้านเก้าเส้ง เดินหน้าสร้างต่อ หลังผ่านพ้นฤดูมรสุม วิศวกรโยธาผู้ควบคุมงานก่อสร้างเคลียร์พื้นที่เพื่อลงมือก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสัตว์น้ำชายหาดเก้าเส้ง โดยได้รับความร่วมมือจากชาวประมงริมชายหาดเป็นอย่างดี

การก่อสร้างเขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายหาดบ้านเก้าเส้ง อ.เมือง จ.สงขลา แบบเรียงหินใหญ่ ความยาว 140 เมตร ได้ทำการก่อสร้างไปแล้วบางส่วนก่อนหน้าฤดูมรสุมที่ผ่านมา หลังจากเข้าฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือก็ต้องหยุดดำเนินการก่อสร้าง และในช่วงนี้ผ่านพ้นฤดูมรสุมคลื่นลมในทะเลอยู่ในสภาพปรกติ ทำให้สามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างต่อได้

โดยในวันนี้ ได้นำรถแบคโฮขนาดใหญ่มาทำการเคลียร์พื้นที่ก่อสร้าง เพื่อนำโครงเหล็กเสาเข็มขนาดใหญ่มาทำการหล่อเสาคอนกรีต เพื่อทำการก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสัตว์น้ำชายหาดเก้าเส้ง ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาวลงไปในทะเล 21 เมตร ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 2 เดือน เพื่อให้แล้วเสร็จก่อนฤดูมรสุมปีนี้ เขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายหาดบ้านเก้าเส้งที่สร้างเสร็จไปแล้วบางส่วนสามารถป้องกันคลื่นกัดเซาะชายหาดเก้าเส้งได้เป็นอย่างดี

ในขณะเดียวกัน ชาวประมงพื้นบ้านเก้าเส้งที่มีบ้านอยู่ริมชายหาดเก้าเส้ง ต่างให้ความร่วมมือในการก่อสร้างเป็นอย่างดี โดยได้ย้ายเพิงเก็บเครื่องมือประมงริมชายหาดไปเก็บไว้ที่บ้านเพื่อให้การก่อสร้างสะพานได้คล่องตัวขึ้น เนื่องจากต้องใช้รถแบคโฮขนาดใหญ่ในการทำงานขนอุปกรณ์ในการก่อสร้างลงไปในทะเลและย้ายการนำเรือประมงพื้นบ้านเข้าไปจอดขึ้นปลาที่บริเวณชายฝั่งที่ไม่มีการก่อสร้าง เขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายหาดบ้านเก้าเส้ง แบบเรียงหินใหญ่ ความยาว 140 เมตร

เป็นโครงการเดียวกันกับการก่อสร้างเขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะตลิ่งชายหาดชลาทัศน์ แหลมสมิหลาสงขลา ตอนที่ 3 ของกรมโยธาธิการและผังเมือง ความยาว 1,000 เมตร โดยแยกเป็นเขื่อนป้องกันตลิ่ง (แบบเรียงถุงทราย) ที่ชายหาดชลาทัศน์ ความยาว 860 เมตร และเขื่อนป้องกันตลิ่ง แบบเรียงหินใหญ่ ที่บ้านเก้าเส้ง ความยาว 140 เมตร และมีสะพานท่าเทียบเรือรวมอยู่ในการก่อสร้างนี้ด้วย โดยใช้งบประมาณ 54 ล้านบาท

นายสิทธิชัย วัฒนา วิศวกรโยธาผู้ควบคุมงานก่อสร้าง เปิดเผยว่า วันนี้มาทำคล้ายกับสะพานเป็นสปีดเวย์ยื่นลงไปในทะเล เพื่อรับสินค้าจากเรือประมงชาวบ้านนำปลาขึ้นมาเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับชาวบ้านมากขึ้น สะพานกว้าง 12 เมตร ยาวลงไปในทะเลจากสันเขื่อน 21 เมตร และขึ้นมาข้างบน 12 เมตร จะใช้ระยะเวลาในการทำงานก่อนช่วงมรสุมจะเข้าประมาณ 2 เดือน ก็คงจะปิดงานได้

   
[attach=1]

ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : สงขลา (สวท.)/สุธิดา พฤกษ์อุดม   Rewriter : ฐิติวรดา ปุยอรุณ / สนข.
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th
ส.ยกน้ิวให้
DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)

reptile

ก่อนจะสร้างอะไรศึกษาให้ดีก่อนต่ะ    ไม่ใช่คิดจะสร้างก็สร้าง    พังมากี่รอบแล้ว  เสียดายงบประมาณ

หาดเก้าเส้ง-นาทับ      ทำมาไม่รู้กี่รอบแล้ว    แรกๆเอาหินมาถมตลิ่งแล้วเอาตาข่ายลวดเหล็กทับ   คิดได้ไงวะ   เอาตาข่ายลวดเหล็กไปคลุมหินริมทะเล    ลวดเจอน้ำเค็มปีเดียวก็สนิมแดรกผุหมด  สุดท้ายอยู่ได้ปีเดียวพังหมด

ตอนหลังไปทำแนวกันคลื่นข้างนอก    หมดงบไปไม่รู้กี่ร้อยกี่พันล้าน  ถมหินเป็นกองๆ     สรุปว่าน้ำเซาะเข้าทางระหว่างกองหิน   กัดเซาะชายหาดเว้าหนักกว่าเดิมเข้าไปอีก   ลองไปแลต่ะ   

ล่าสุดเห็นเอาเสาเข็มมาปักกันคลื่น    ยังปักไม่ทันเสร็จที    เห็นบางจุดโดนคลื่นซัดเป็นโพรงอิพังแหล่ไม่พังแหล่แล้ว

จะแก้ปัญหาอะไรก็ศึกษาให้ชัดเจนก่อน     ไม่ใช่คิดจะทำก็ทำ    ใช้ได้แปบเดียวพัง  แล้วก็ต้องมาทำใหม่แทบจะทุกปี     เสียดายงบประมาณภาษีประชาชน


เขลา



reptile

ตอบคุณ"เขลา"นะครับ   ท่าทางจะ"เขลา" สมชื่อ
โพสรูปไม่ได้  ลองดูตามกระทู้นี้ละกันจะได้รู้ว่าญี่ปุ่นเค้าทำกันยังไง 

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nuch-chan&group=4

เขลา

อ้างจาก: reptile เมื่อ 00:27 น.  08 ก.ค 55
ตอบคุณ"เขลา"นะครับ   ท่าทางจะ"เขลา" สมชื่อ
โพสรูปไม่ได้  ลองดูตามกระทู้นี้ละกันจะได้รู้ว่าญี่ปุ่นเค้าทำกันยังไง 

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nuch-chan&group=4

ไม่ใช่ไปเห็นอะไรมาแล้วคิดว่านำมาใช้กับตัวองได้เสมอไป  การแก้ปัญหาหลายปํญหาเริ่มจาก
  1. รู้จักปัญหา
  2.ศึกษาความเป็นไปได้ของแก้ปัญหานั้นๆวางแผนการทำงาน
  3. วิเคราะห์ ปัญหานั็นและหาวิธีแก้ปัญหา
  4. ปฏิบัติการแก้ปํญหาโดยการทดสอบทดลอง
  5. ติดตามผลการแก้ปัญหา
  6. ควบคุมให้การทำงานอยู่ในแบบแผนที่วางไว้
  7. ไม่เป็นไปตามแผนกลับไปศึกษาใหม่ในข้อที่ 2
ทั้ง 7. ข้อของทฤษฎี SDLC ในวิชาสารสนเทศป.ตร๊และ project managementป.โท ถ้านำมาใช้คงแก้ปัญหาได้บ้าง  การศึกษามีไม่จำกัดน๊ะ

เชวง

ที่คิดไม่ถึงยิ่งกว่าคือ เอาเรือดูดทราย มาดูทรายในทะเลห่างจากฝั่งประมาณ 100 เมตร เอาทรายมาพ่นทำชายหาดใหม่ แรกๆอาจจะดูดี มีคุณภาพ แต่หารู้ไม่ว่า การดูดทราย ไกล้ฝั่งจะยิ่งทำให้พื้นทรายชันกว่าเดิม  กระแสน้ำเปลี่ยนทิศ เผลอๆ อาจจะทำให้ชายหาดพังหนักกว่าเดิม ลองดูกันต่อไป ว่าจะเป็นอย่างที่ผมคิดหรือไม่

reptile

ไอ้เรือดูดทรายนั่นละยิ่งโง่เข้าไปใหญ่    สุดท้ายก็เป็นอย่างที่คุณเชวงว่านั่นแหละ

ดูดทรายห่างฝั่งไปนิดเดียวมาถมที่ชายหาด     ทรายตรงที่ดูดมันก็เป็นหลุมชัน   พอคลื่นมามันก็ซัดกลับลงไปตามเดิม    เผลอๆจะหนักกว่าเดิมอีก    ปีเดียวเท่านั้นคอยดูเถอะ 

สงสัยงบประมาณเหลือเฟือ   ทำทุกปี   จะได้แดกงบกันทุกปี   เจริญล่ะ

puiey

อ้างจาก: เชวง เมื่อ 11:43 น.  08 ก.ค 55
ที่คิดไม่ถึงยิ่งกว่าคือ เอาเรือดูดทราย มาดูทรายในทะเลห่างจากฝั่งประมาณ 100 เมตร เอาทรายมาพ่นทำชายหาดใหม่ แรกๆอาจจะดูดี มีคุณภาพ แต่หารู้ไม่ว่า การดูดทราย ไกล้ฝั่งจะยิ่งทำให้พื้นทรายชันกว่าเดิม  กระแสน้ำเปลี่ยนทิศ เผลอๆ อาจจะทำให้ชายหาดพังหนักกว่าเดิม ลองดูกันต่อไป ว่าจะเป็นอย่างที่ผมคิดหรือไม่

คิดเหมือนกัน
โกธรกับแฟน ขึ้นสเตตัส "โสด" ถ้าวันนึง แม่มึงโกธร มึงไม่ขึ้นสเตตัส "กำพร้า" เลยเหรอ

somrax

ด้วยงบประมาณ 54 ล้าน วิศวะกรเก่งๆระดับอาจารย์เขาไม่ทำหรอกถ้าเขาทำต้อง 100 ล้านขึ้นไป แล้วที่นี้จะได้ผลงานที่ดีได้อย่างไร
ในเมื่อได้วิศวะกรที่ครึ่งๆกลางๆรู้บ้างไม่รู้บ้างผลที่ได้ก็เป็นอย่างที่เห็น 6 เดือน ถึง 1 ปี  หรือปีครึี่งก็พังอีกแล้ว พังแล้วก็ของบทำต่อ
เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ หลักการในการทำงานนั้นมีแต่ถ้า 1 ปีแล้ว 2 ปีแล้ว ยังใช่หลักการเดิมอยู่อีกก็ต้องพิจารณาดูแล้วว่าหลักการนี้สมควรเปลี่ยนได้แล้วยัง เพราะฉ้านเห็นหลายที่แล้ว ทำใหม่แล้วก็พัง ทำใหม่แล้วก็พัง คิดดูขนาดถนนบริเวณข้ามทางรถไฟที่บ้านพรุ
ที่นิดเดียวยังทำให้ดีไม่ได้ เที่ยวให้ชาวบ้านเขาด่าอยู่ได้ทุกวัน ทำให้มันดีเสียสักทีทำไม่ได้หรือ
      ฉ้านถึงว่าวิศวะกรที่เก่งๆตอนนี้ ตายไปหมดแล้ว เหลืออยู่บ้างก็ตามที่เป็นอยู่นี่หละ ส.โขกกำแพง