ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เตียงโรงพยาบาล มอ. ทำไมมีน้อยมาก ??

เริ่มโดย ผู้ป่วย, 09:59 น. 19 ก.ค 55

superGod

อ้างจาก: wutry เมื่อ 19:41 น.  24 ส.ค 55
ผมอีกคนครับที่จะพูดเรื่องจริงของ รพ.มอ.แล้ว  ผมไปรอตั้งแต่ 6 โมงเช้า มีคนรออยู่แล้ว 2-3 คน  หลังจากนั้นก็มีคนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเกือบเต็มทุกที่นั่ง หาเพื่อนคุยสอบถามตามประสาคนไทยโบราณ  ก็ได้ความบางคนมาจาก นคร มาจากสุราษฎร์ มานอนค้างอยู่คืนหนึ่งแล้ว น่าสงสารกว่าผมมาก บางคนเดินไม่ถนัด ผมขอแยกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภท 1 คนไข้หนุ่มสาวรุ่นใหม่ ประเภท 2 คนสูงอายุ บ้านนอก หรือมาเป็นครั้งแรก  เวลา  06.00-7.10  ทั้ง 2 ประเภทนั่งอยู่ที่เก้าอี้เหมือนกัน แต่พอเวลาประมาณ 7.10 พยาบาลจะมาประจำท่ี่   คนประเภท 1 จะวิ่งมาตั้งแถวทันที   คนประเภท 2 จะไม่รู้เรื่องวิ่งมาเข้าแถวไม่ทันบางคนยังนั่งที่เก้าอี้เหมือนเดิม ผมมาก่อนเพื่อนแต่ไม่กล้าวิ่งมาเข้าแถวเพราะสงสาร คนที่มาจากที่ไกล ๆ   พยาบาลจะประกาศอ่านสิทธิ์หรือขั้นตอนหรือวิสัยทัศน์ของโรงบาล ได้ความว่า จะรับคนไข้ที่เป็นญาติของบุคลากรก่อน และ มีคนไข้นัดกี่คน  คนไข้ที่รับได้อีกกี่คน  ผมดูแล้วคนที่มารออยู่มากกว่าที่รับได้  นึกสงสารพี่น้องชาวไทยเหลื่อเกิน  และนึกสงสารคนที่มาก่อนแต่วิ่งมาเข้าแถวไม่ทันเพราะขาเจ็บหรือไม่ได้มากับญาติ 

                 ทำไมไม่มีความยุติธรรมในขั้นตอนนี้  อาจจะจ้างเด็กจบ ป.6 มารับคิวคีย์เข้าคอม ก่อนตั้งแต่ 06.00 ก็๋ได้ หรือ หลายวิธีเพราะบุคลากรของ มอ. เป็นผู้มีสติปัญญาฉลาดล้ำเลิศ น่าจะคิดได้  หรือ ที่ไม่คิดเพราะ พรรคพวกตนเองได้รับบริการดี  เลยแบ่งว่าคนอื่น ๆ ไม่ใช่พวกเรา เขาไม่ใช่คนไทยกระมัง

                  ที่ว่า โรงพยาบาล ไม่ใช่โรงบาลของรัฐ  เป็นของ มหาวิทยาลัย  อยากทราบว่า เงินเดือนของท่านเอามาจากภาษีของประชาชนหรือไม่ หรือ พรรคพวกบุคลากรเป็นคนจ้างพวกท่าน ทั้งหมอ ทั้งพยาบาล เจ้าหน้าที่

                  ถ้าบริการโดยไม่แยกชนชั้นไม่ได้  ทำไม ไม่ติดป้ายใหญ่ ๆ หน้าโรงพยาบาลว่า วิสัยทัศน์ของโรงพยาบาล  ว่า  โรงพยาบาล มอ. เป็นโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย จะรับรักษาเฉพาะญาติสายตรงหรือสายอ้อมของมหาวิทยาลัยเท่านั้น ประชาชนทั่วไปขอให้ไปใช้บริการที่อื่น

                   เห็นคนที่เข้ามาเขียนสนับสนุนแล้วน่าเป็นห่วงเรื่องความแตกแยก ชัดเจนว่าท่านคือ พวกชนชั้น  พวกจน ๆ แบบเรา มีทางเดียวคือ .................เหมือน 3 จังหวัด จึงจะได้รับความเป็นธรรม           

น่าว่ายังไม่ได้ยาไปกินที ก่อนกินยาอย่าลืมเขย่าขวดนะครับ

superGod

เติมให้อีกนิด ไหนๆวันนี้ก็ใช้เน็ทเขาแล้ว

มอ.ประกาศค่อนข้างชัดเจนว่าเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ น่าจะหมายถึง โรคที่รักษาได้หายยาก ต้องรักษาต่อเนื่อง หรือต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ หรือ โรคที่เกิดขึ้นได้ยากพบเห็นได้ยาก
อาจจะเป็นเพราะข้อจำกัดเรื่องเป็นโรงพยาบาลที่ไม่ได้สังกัดโดยตรงต่อกระทรวงสาธารณะสุข ค่าใช้จ่ายต่างๆนาๆที่ต้องจ่ายต่อปีจึงต้องจำกัดไปด้วย ผลออกมาเลยต้องจำกัดจำนวนคนไข้ แต่ทางเลือกนั้นก็มีอย่างเช่นเป็นโรงพยาบาลรัฐแห่งแรกในหาดใหญ่หรือในภาคใต้เลยมั้งที่เปิดคลีนิคนอกเวลา โดยแพทย์ลงตรวจก็เป็นอาจารย์หมอ (สอบถามที่โรงพยาบาล บางคลีนิคก็ว่างชนิดที่ว่าพยาบาลบ่นว่าน่าจะปิดเสียทีเพราะไม่มีคนไข้(ในบางวัน)) ใครไม่ชอบใจก็ไปโรงพยาบาลหาดใหญ่(ซึ่งก็เปิดนอกเวลาเช่นกัน) ว่ากันว่าทุกวันนี้ มีแพทย์เวรที่ต้องลงตรวจ(เวลาปกติ)จะต้องใช้เวลาตรวจคนไข้กันเฉลี่ยแล้วรายละไม่เกิน5-10นาที เพราะคนไข้มากมาย เคยเห็นกับตาที่อาจารย์หมอวิ่งดูดนมออกจากห้องตรวจโดยแจ้งพยาบาลหน้าหน่วยว่าต้องรีบไปคุมสอบนักศึกษาแพทย์ แล้วจะกลับมาในเวลาครึ่งชั่วโมงเพื่อตรวจคนไข้ต่อ พยาบาลท่านว่าอาจารย์หมอยังไม่ได้ทานอาหารเช้าด้วยซ้ำก่อนลงตรวจ (คนที่เคยไปหาอาจารย์หมอรุ่งโรจน์ หมอเกรียง ที่คลีนิคจะเห็นบ่อยๆว่าคนที่ไม่มีเวลาแม่แต่จะหาอะไรรองท้อง แต่ต้องนั่งทำงานงกๆเพราะกลัวโดนด่า กลัวรักษาไม่ทันใจ ถึงตอนนี้ใครจะว่าก็นั่นมันคลีนิค หมอทำงานเพื่อเงิน ก็อยากจะถามว่าใครเคยบ่นว่าหมอสองท่านนั้นรักษาแพงบ้างมั๊ยแล้วแกจะมานั่งหลังแข็งดูคนไข้จนๆไปทำไม)

ผมไม่ได้จะแก้ตัวแทนใครนะ แต่อยากให้คิดถึงใจเขาใจเรา ความจำเป็นของเขา ควมจำเป็นของเรา กันบ้าง ใช่แต่จะคิดแต่ใจเราความอยากได้อยากเป็นของเราเท่านั้น แบบนั้นท่านว่าเห็นแก่ตัวแน่ๆ
กรณีพวกนี้ทำให้นึกถึง ป้ายุงลาย ที่ไปร้องเรียนออกทีวี จนอาจารย์หมอสุเมธ ทำหนังสือแจงออกมา แต่ดันไม่มีใครสนใจความจริงเพราะจุดจบมันดันไปอยู่ที่ความต้องการอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของป้ายุงลายที่่อยากจะให้รักษาหลานอย่างเทวดา แต่ไม่ยอมไปโรงพยาบาลเอกชนตั้งแต่แรก
สรุปความว่าความจะเอาแต่ตัวเองเป็นที่ตั้งเนี่ย ไม่มีที่สิ้นสุดจริงๆ

popi

อ้างจาก: wutry เมื่อ 19:41 น.  24 ส.ค 55
ผมอีกคนครับที่จะพูดเรื่องจริงของ รพ.มอ.แล้ว  ผมไปรอตั้งแต่ 6 โมงเช้า มีคนรออยู่แล้ว 2-3 คน  หลังจากนั้นก็มีคนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเกือบเต็มทุกที่นั่ง หาเพื่อนคุยสอบถามตามประสาคนไทยโบราณ  ก็ได้ความบางคนมาจาก นคร มาจากสุราษฎร์ มานอนค้างอยู่คืนหนึ่งแล้ว น่าสงสารกว่าผมมาก บางคนเดินไม่ถนัด ผมขอแยกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภท 1 คนไข้หนุ่มสาวรุ่นใหม่ ประเภท 2 คนสูงอายุ บ้านนอก หรือมาเป็นครั้งแรก  เวลา  06.00-7.10  ทั้ง 2 ประเภทนั่งอยู่ที่เก้าอี้เหมือนกัน แต่พอเวลาประมาณ 7.10 พยาบาลจะมาประจำท่ี่   คนประเภท 1 จะวิ่งมาตั้งแถวทันที   คนประเภท 2 จะไม่รู้เรื่องวิ่งมาเข้าแถวไม่ทันบางคนยังนั่งที่เก้าอี้เหมือนเดิม ผมมาก่อนเพื่อนแต่ไม่กล้าวิ่งมาเข้าแถวเพราะสงสาร คนที่มาจากที่ไกล ๆ   พยาบาลจะประกาศอ่านสิทธิ์หรือขั้นตอนหรือวิสัยทัศน์ของโรงบาล ได้ความว่า จะรับคนไข้ที่เป็นญาติของบุคลากรก่อน และ มีคนไข้นัดกี่คน  คนไข้ที่รับได้อีกกี่คน  ผมดูแล้วคนที่มารออยู่มากกว่าที่รับได้  นึกสงสารพี่น้องชาวไทยเหลื่อเกิน  และนึกสงสารคนที่มาก่อนแต่วิ่งมาเข้าแถวไม่ทันเพราะขาเจ็บหรือไม่ได้มากับญาติ 

                 ทำไมไม่มีความยุติธรรมในขั้นตอนนี้  อาจจะจ้างเด็กจบ ป.6 มารับคิวคีย์เข้าคอม ก่อนตั้งแต่ 06.00 ก็๋ได้ หรือ หลายวิธีเพราะบุคลากรของ มอ. เป็นผู้มีสติปัญญาฉลาดล้ำเลิศ น่าจะคิดได้  หรือ ที่ไม่คิดเพราะ พรรคพวกตนเองได้รับบริการดี  เลยแบ่งว่าคนอื่น ๆ ไม่ใช่พวกเรา เขาไม่ใช่คนไทยกระมัง

                  ที่ว่า โรงพยาบาล ไม่ใช่โรงบาลของรัฐ  เป็นของ มหาวิทยาลัย  อยากทราบว่า เงินเดือนของท่านเอามาจากภาษีของประชาชนหรือไม่ หรือ พรรคพวกบุคลากรเป็นคนจ้างพวกท่าน ทั้งหมอ ทั้งพยาบาล เจ้าหน้าที่

                  ถ้าบริการโดยไม่แยกชนชั้นไม่ได้  ทำไม ไม่ติดป้ายใหญ่ ๆ หน้าโรงพยาบาลว่า วิสัยทัศน์ของโรงพยาบาล  ว่า  โรงพยาบาล มอ. เป็นโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย จะรับรักษาเฉพาะญาติสายตรงหรือสายอ้อมของมหาวิทยาลัยเท่านั้น ประชาชนทั่วไปขอให้ไปใช้บริการที่อื่น

                   เห็นคนที่เข้ามาเขียนสนับสนุนแล้วน่าเป็นห่วงเรื่องความแตกแยก ชัดเจนว่าท่านคือ พวกชนชั้น  พวกจน ๆ แบบเรา มีทางเดียวคือ .................เหมือน 3 จังหวัด จึงจะได้รับความเป็นธรรม           

ที่เขาเขียนเอาไว้ไม่ได้หมายถึงรับเฉพาะคนในของมอ.เท่านั้นนี่คะ    แค่พิจารณาก่อน   ก็เหมือนร.ร. สาธิตที่จะมีโควต้าคนใน    ตอนเราไปจองห้องก็มีหมอในมอ.นี่แหล่ะต้องมาจองห้องเหมือนๆกันและต้องรอคิวเหมือนๆกัน   และคนที่มามอ.ส่วนใหญ่  เน้นว่าส่วนใหญ่ถ้ามีคนที่รู้จักที่เคยมาใช้บริการมอ.จะบอกกันต่อๆ  อยู่แล้วว่าถ้าจะหาหมอคือ

1. มาตอนเช้าก่อนเปิดคลีนิค

2. จองคิวล่วงหน้าที่คลีนิค   นัดวันมาหาหมอ

ถ้าคนไข้ไม่ไหว   อาการไม่ดีก็ไปห้องฉุกเฉินได้  สามารถบอกพยาบาลได้   

ส่วนคนที่มีคนกรูไปเข้าแถวแล้วยังนั่งเฉย  อันนี้แล้วแต่บุคคล  ไม่ขอแสดงความคิดเห็น    ส่วนคนที่มาจากที่ไกลๆ   นั่นต้องหาข้อมูลมาบ้างแล้ว   

ส่วนเรื่องความแตกแยก   เราเห็นคุณนี่แหล่ะพูดเรื่องแตกแยก   เรียกร้องความเป็นธรรมแบบ 3 จังหวัด   แน่ใจแล้วหรือความคิดของตัวเองถูกต้อง   มองให้รอบด้าน  จากหลายๆคน   เพราะแต่ละคนก็มองจากมุมของตัวเอง   ได้มุมมองจากคนอื่นๆจะมองได้รอบด้านมากขึ้น     เพราะมองแค่จากมุมๆเดียวประเทศไทยตอนนี้ถึงได้วุ่นวายไง     

ส่วนตัวเราเคยเจอทั้งจองคิวให้ญาติตอนเช้าแล้วแห้วทั้งๆที่ยังไม่ 7 โมงเช้าเลย  แต่มองคนแล้วเข้าใจ    จองคิวนัดธรรมดา    อาการไม่ดีเค้าเลยให้ไปห้องฉุกเฉิน   

ยิ่งองค์กรใหญ่เท่าไหร่   ปัญหาก็ยิ่งมาก   จะให้ได้ดั่งใจเราซะทุกสิ่งอย่างได้อย่างไร   ต้องมองในมุมของฝั่งตรงข้ามด้วยว่ามีข้อจำกัดอะไรรึเปล่า    ไม่ใช่พอไม่ได้ดั่งใจอะไรก็หาเรื่องแตกแยก   ประท้วงดะ  จะเอาให้ได้    ถ้าไม่ได้ดั่งใจอย่าหวังจะได้อยู่อย่างสงบ   อย่างนี้จะต่างอะไรกับเด็ก 3 ขวบที่พอไม่ได้ของเล่นแล้วอาละวาด  โวยวาย  ลั่นห้างเพื่อให้พ่อแม่ซื้อของเล่นให้  ส.กลิ้ง

superGod

เอาอีกนิด

คนรู้จักนับถือกัน ฝากครรภ์ภรรยาไว้กับคลีนิคอาจารย์หมอท่านหนึ่ง อ.แนะนำว่าคลอดที่มอ.อาจารย์จะเป็นเจ้าของไข้เอง ค่าฝากครรภ์ทั้งกระบวนหมดไปหลายเงินที่คลีนิค จนถึงวันกำหนดคลอดทั้งๆที่มาขอจองห้องพิเศษก่อน 3-4วัน วันคลอดจนถึงวันออกจากโรงพยาบาล ก็ยังต้องไปนอนอยู่ห้องรวม เพราะว่าห้องพิเศษเต็ม ค่าห้องคลอด ค่าวัสดุการแพทย์ ค่ายา ค่าโน่นค่านี่ ก็จ่ายเท่ากันกับคนไข้ทั่วไปเหมือนคุณๆและผม แต่ก็ได้รับการดูแลจากอาจารย์หมอเหมือนเดิม ถามว่า แบบนี้เรียกมีเส้นได้มั๊ย จ่ายให้หมอไปแล้วที่คลีนิคก็ยังไม่ได้ห้องพิเศษ คำตอบคือทุกอย่างเป็นไปตามสิทธิ์ ตามคิว ตามแนวปฏิบัติ ซึ่งเข้าใจกันได้ง่ายๆทุกคน

ตรงนี้ผมอยากจะถามคนที่เคยโพสว่า ไปรู้มาจากใครซักคนว่ามีการวิ่งเต้นเพื่อจะได้ผ่าตัดก่อน หรือจองห้องพิเศษได้ เพียงแค่จ่ายเงินพิเศษให้แพทย์เท่นั้น เท่านี้ อยากจะถามว่า ความรับผิดชอบในคำพูดอยู่ที่ไหน ถ้ายังมีอยู่ก็รบกวนแจ้งหน่อยเหอะว่า จ่ายให้ใคร ราคาเท่าไหร่ อย่ามาทำพูดเอาหรอย

หมอยา

หมอวิ่งดูดนมออกมาเรยหรืิอ ส.ก๊ากๆ ส.อ่านหลังสือ

คนอุตุ

อ้างจาก: superGod เมื่อ 21:06 น.  24 ส.ค 55
เติมให้อีกนิด ไหนๆวันนี้ก็ใช้เน็ทเขาแล้ว

มอ.ประกาศค่อนข้างชัดเจนว่าเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ น่าจะหมายถึง โรคที่รักษาได้หายยาก ต้องรักษาต่อเนื่อง หรือต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ หรือ โรคที่เกิดขึ้นได้ยากพบเห็นได้ยาก
อาจจะเป็นเพราะข้อจำกัดเรื่องเป็นโรงพยาบาลที่ไม่ได้สังกัดโดยตรงต่อกระทรวงสาธารณะสุข ค่าใช้จ่ายต่างๆนาๆที่ต้องจ่ายต่อปีจึงต้องจำกัดไปด้วย ผลออกมาเลยต้องจำกัดจำนวนคนไข้ แต่ทางเลือกนั้นก็มีอย่างเช่นเป็นโรงพยาบาลรัฐแห่งแรกในหาดใหญ่หรือในภาคใต้เลยมั้งที่เปิดคลีนิคนอกเวลา โดยแพทย์ลงตรวจก็เป็นอาจารย์หมอ (สอบถามที่โรงพยาบาล บางคลีนิคก็ว่างชนิดที่ว่าพยาบาลบ่นว่าน่าจะปิดเสียทีเพราะไม่มีคนไข้(ในบางวัน)) ใครไม่ชอบใจก็ไปโรงพยาบาลหาดใหญ่(ซึ่งก็เปิดนอกเวลาเช่นกัน) ว่ากันว่าทุกวันนี้ มีแพทย์เวรที่ต้องลงตรวจ(เวลาปกติ)จะต้องใช้เวลาตรวจคนไข้กันเฉลี่ยแล้วรายละไม่เกิน5-10นาที เพราะคนไข้มากมาย เคยเห็นกับตาที่อาจารย์หมอวิ่งดูดนมออกจากห้องตรวจโดยแจ้งพยาบาลหน้าหน่วยว่าต้องรีบไปคุมสอบนักศึกษาแพทย์ แล้วจะกลับมาในเวลาครึ่งชั่วโมงเพื่อตรวจคนไข้ต่อ พยาบาลท่านว่าอาจารย์หมอยังไม่ได้ทานอาหารเช้าด้วยซ้ำก่อนลงตรวจ (คนที่เคยไปหาอาจารย์หมอรุ่งโรจน์ หมอเกรียง ที่คลีนิคจะเห็นบ่อยๆว่าคนที่ไม่มีเวลาแม่แต่จะหาอะไรรองท้อง แต่ต้องนั่งทำงานงกๆเพราะกลัวโดนด่า กลัวรักษาไม่ทันใจ ถึงตอนนี้ใครจะว่าก็นั่นมันคลีนิค หมอทำงานเพื่อเงิน ก็อยากจะถามว่าใครเคยบ่นว่าหมอสองท่านนั้นรักษาแพงบ้างมั๊ยแล้วแกจะมานั่งหลังแข็งดูคนไข้จนๆไปทำไม)

ผมไม่ได้จะแก้ตัวแทนใครนะ แต่อยากให้คิดถึงใจเขาใจเรา ความจำเป็นของเขา ควมจำเป็นของเรา กันบ้าง ใช่แต่จะคิดแต่ใจเราความอยากได้อยากเป็นของเราเท่านั้น แบบนั้นท่านว่าเห็นแก่ตัวแน่ๆ
กรณีพวกนี้ทำให้นึกถึง ป้ายุงลาย ที่ไปร้องเรียนออกทีวี จนอาจารย์หมอสุเมธ ทำหนังสือแจงออกมา แต่ดันไม่มีใครสนใจความจริงเพราะจุดจบมันดันไปอยู่ที่ความต้องการอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของป้ายุงลายที่่อยากจะให้รักษาหลานอย่างเทวดา แต่ไม่ยอมไปโรงพยาบาลเอกชนตั้งแต่แรก
สรุปความว่าความจะเอาแต่ตัวเองเป็นที่ตั้งเนี่ย ไม่มีที่สิ้นสุดจริงๆ

อ่านตั้งนานมาหลุดขำ ตรงหมอวิ่งดูดนมนี่หล่ะ

ให้ตายสิไม่เคยเห็นมาก่อน
ส.โอ้โห ส.โอ้โห

fss

ก็แปลกนะ
แต่ละจังหวัดก็มีโรงพยาบาลประจำจังหวัด แต่เห็นเจ็บเล็กเจ็บน้อย ก็วิ่งมา รพ.ม.อ. ทำไมไม่รักษาที่โรงพยาบาลประจำจังหวัดก่อน
หรือแสดงว่าระบบของกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้เรื่อง

Deknoi

มีอีกประการหนึ่งที่เป็นเหตุผลหลักๆ ที่ต้องมีการจำกัดเตียงหรือในบางวอร์ดต้องลดจำนวนเตียงคนไข้ลง คือบุคลากรมีไม่เพียงพอครับ โดยเฉพาะพยาบาลซึ่งตอนนี้ขาดแคลนมาก เนื่องจากพยาบาลจบใหม่ส่วนใหญ่เลือกที่จะไปทำงานตามโรงพยาบาลเอกชนมากกว่า เพราะตอนนี้บุคลากรของมอ.จะไม่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการแล้ว เป็นได้เพียงแค่พนักงานของรัฐซึ่งรายได้และสวัสดิการก็น้อยกว่า จึงเลือกที่จะไปอยู่เอกชนซึ่งมีรายได้ดีและสวัสดิการดีกว่า พูดง่ายๆ คือ ทำงานตัวเป็นเกลียวแต่ค่าตอบแทนไม่คุ้มเลย พยาบาลรุ่นก่อนๆ ก็เริ่มเกษียณหรือเออรี่ไปหลายแล้ว โดยเฉพาะตึกอุบัติเหตุที่กำลังก่อสร้างใกล้จะแล้วเสร็จนั้น ปัญหาใหญ่ตอนนี้คือกำลังขาดแคลนบุคลากรที่จะมาประจำการอยู่ อยากให้เข้าใจด้วยนะครับ ผมก็เข้าใจทุกคน ซึ่งต่างก็ต้องพบเจอหลากหลายปัญหา ข้อมมูลนี้ผมได้มาจากบุคคลที่ผมใกล้ชิดมาก และไม่ได้ต้องการเข้าข้างใคร แต่อยากจะชี้แจงในอีกมุมนึงที่ไม่รู้จะมีใครรับรู้บ้าง ซึ่งทุกที่ไม่มีที่ไหนดีที่สุดหรอกครับ แต่มันอยู่ที่ว่าจะดีมากหรือดีน้อยเท่านั้นเอง และมันก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนอีกด้วย ขอบคุณครับ

นายไข่นุ้ย

DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)