ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

..มารู้จักระบบหัวฉีดรถยนต์กันเถอะ ?..

เริ่มโดย ฟานดี้, 13:33 น. 01 ส.ค 55

ฟานดี้

ระบบหัวฉีดแบ่งตามระบบการทำงานได้หลักๆได้ดังนี้


1 ระบบกลไก (Mechanic)
1.1 K-Jetronic หัวฉีดระบบกลไก พบใน Benz รุ่นเก่า

1.2 KE-Jetronic หัวฉีดระบบกลไกกึ่งอีเลคทรอนิค พัฒนามาจาก K-Jetronic
พบในBenzรุ่นเก่าเช่น W126 W123 และW124 บางรุ่น

2 ระบบอีเลคทรอนิค (electronic)

2.1 L-Jettronic หัวฉีดระบบอีเลคทรอนิคแบบใช้มาตรวัดอากาศ(Airflow Meter)

2.1.1 Airflap Type เช่น Toyota 3T-GTE,1G-GTE,3S-GTE รุ่นเก่า,4A-GE20 valve ฝาบรอนซ์, Mazda BP (Astinaรุ่นไฟPop up),BMW M10,M40

2.1.2 HotWire Type เช่น Nissan ทุกรุ่น,Toyota 1JZ-GTE VVTi,Mazda Astina รุ่นใหม่,BMW รุ่นใหม่

2.1.3 Karman Vortex Type เช่น Toyota 7M-GTE,1UZ-FE,Mitsubishi 4G63 Sirius,VR4,EVO ทุกรุ่น

2.2 D-Jettronic หัวฉีดระบบอีเลคทรอนิคแบบใช้ตัวตรวจจับแรงดันในท่อร่วมไอดี(MAP Sensor)

เช่น HONDA ทุกรุ่น,Toyota 4A-FE,4A-GE 16 Valve,7A-FE,3VZ-FE,1JZ-GTE,2JZ-GTE ,
Mitsubishi 4G93 Mivec เป็นต้น เรายังอาจแบ่งชนิดของระบบหัวฉีดตามตำแหน่งการฉีดได้ดังนี้

1 Single Point แบบฉีดตำแหน่งเดียว หน้าลิ้นปีกผีเสื้อเช่น Mitsubishi 4G63Sirius
มีเรือนลิ้นปีกผีเสื้อ(Throttle body) เป็นอุปกรณ์หลัก มีลักษณะคล้าย Carburetor ,มีข้อดีคือสามารถ
ติดตั้งแทนระบบที่เป็นCarburetorได้ง่ายมีข้อเสียคือ การเผาไหม้ไม่หมดจดเท่าระบบ Multipointเนื่องจาก
ฝอยละอองในการฉีดอาจกลั่นตัวเป็นหยดเกาะตามท่อไอดีได้เป็นระบบหัวฉีดทีใช้กันในสมัยแรกๆ

2 Multi Point แบบฉีดหลายตำแหน่งหน้าลิ้นไอดี ทำให้ฝอยละอองวิ่งผ่าน ลิ้นไอดีเข้าสู่ห้องเผาไหม้ในสภาพ
เป็นฝอยละอองได้มากกว่าระบบ Single Point อาจมีบางส่วนกลั่นตัวเป็นหยดอยู่หน้าลิ้นไอดีบ้าง เป็นระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

3 Gasoline Direct Injection แบบฉีดเข้าห้องเผาไหม้โดยตรง ให้การเผาไหม้ที่หมดจดที่สุด เนื่องจาก
การฉีดถูกกระทำในห้องเผาไหม้ ทำให้น้ำมันคงสภาพเป็นฝอยละอองได้ดีที่สุด เป็นระบบที่พัฒนามา
จากระบบหัวฉีดDeisel เป็นระบบที่กำลังพัฒนาอยู่ และมีต้นทุนสูง และยังไม่แพร่หลายในปัจจุบัน

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นการแนะนำให้ท่านรู้จักกับระบบหัวฉีดแบบพอสังเขป รายละเอียดจริงๆมีมากกว่านี้มาก

หากจะเขียนกันจริงๆคงต้องทำกันเป็นหนังสือ แต่เนื่องจากปัจจุบันนี้บางระบบไม่นิยมใช้แล้วและเป็นการสิ้นเปลือง
เวลาของท่านผู้อ่าน ผมจึงขออนุญาติที่จะเจาะลึกลงในส่วนของระบบ EFI (หัวฉีด Electronic)แบบ Multipoint เท่านั้น



อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบหัวฉีด EFI


1 Throttle Sensor มี2ชนิด
1.1 แบบสวิทซ์ (Switch Type) ไม่ค่อยนิยมใช้เนื่องจากจับความละเอียดของการเหยียบคันเร่งได้ไม่ดี

1.2 แบบตัวต้านทานปรับค่าได้ (Potentio Metor Type) ทำงานโดยการเปลี่ยนแปลงความต้านทาน
ให้มีความสัมพันธ์กับการเปิดมุมลิ้นเร่ง(การเหยียบคันเร่ง) เช่น ขณะลิ้นเร่งปิดสนิทจะมีความต้านทาน 15 โอมห์
หากมีการเหยียบคันเร่งเพิ่มขึ้น ค่าควาต้านทานจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 5000 โอมห์ เป็นแบบที่นิยมใช้ในปัจุบัน

2 Air Temp. Sensor คือSensor ที่ใช้ในการตรวจจับอุณหภูมิไอดี โดยการเปลี่ยนแปลงความต้านทานตาม
ความร้อนของอากาศที่ไหลผ่านตัว Sensor

3 Coolant Temp. Sensor คือSensor ที่ใช้ในการตรวจจับอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น โดยการเปลี่ยนแปลงความ
ต้านทานตามความร้อนของน้ำที่สัมผัสกับ Sensor

4 Knock Sensor คือSensor ที่ใช้ในการตรวจจับการ Knock ของเครื่องยนตร์หรือ อาการที่วัยรุ่นบ้านเราเรียก
กันติดปากว่า อาการเขกนั้นเอง อาการนี้เกิดจากส่วนผสมน้ำมันบางเกินไปหรือ ไฟจุดระเบิดแก่(Advance)เกินไป

5 MAP Sensor (D-Jettronic) คือSensor ที่ใช้ในการตรวจจับแรงดันในท่อร่วมไอดี โดยจะให้ output
ตอบกลับ เป็น สัญญาณไฟฟ้า 0-5V โดยจะให้สํญญาณเข้าใกล้ 0V เมื่อเกิดสูญญากาศ (Vaccum)มาก
และให้สัญญาณไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเมื่อ เกิดสูญญากาศน้อย หรือ เกิดแรงดัน Turbo (Boost)

6 Airflow Meter (L-Jettronic) คือมาตรวัดการไหลของอากาศเพื่อตรวจจับปริมาตรอากาศ
ที่เข้าเครื่องยนตร์มีอยู่ 3ชนิด แต่เนื่องจากรายละเอียดมีเยอะมากเราจะเจาะลึกกันในเล่มต่อไป

7 Fuel Injector คือหัวฉีดที่ใช้ในการฉีดน้ำมัน

8 Fuel Regulator คืออุปกรณ์ใช้ในการควบคุมแรงดันในการฉีดน้ำมันให้คงที่โดยแรงดันที่เกินจะ
ถูกระบายออกกลับสู่ถังน้ำมัน

9 Fuel Pump คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ดูดน้ำมันจากถังมาอัดให้เกิดแรงดันส่งไปยังหัวฉีด

10 Ignitor หรือ Ignition Module คืออุปกรณ์ที่ช่วยขยายสัญญาณไฟฟ้า( Amplifier)
ควบคุมการจุดระเบิดจากกล่อง ECU เพื่อให้สัญญาณมีกำลังมากพอที่จะขับ(Drive) คอยล์จุดระเบิด

11 Coil คอยล์จุดระเบิดทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าความต่างศักย์ต่ำ (12V) ให้มีความต่างศักย์สูง
( over 40000 V) เพื่อที่จะได้เกิดประจุไฟฟ้ากระโดดผ่านช่องว่าง(Gap) ที่เขี้ยวหัวเทียนได้

12 Crank Sensor คือ Sensorที่ทำหน้าที่ให้สัญญาณ มุมเพลาข้อเหวี่ยงและศูนย์ตายบน(Top Dead Center)
ซึ่งเป็นตัวให้จังหวะในการฉีดน้ำมันและจุดระเบิด(แค่ให้จังหวะเท่านั้นไม่ใช่ปริมาณการฉีด) กับ ECU

มีด้วยกัน 3 แบบ คือ
–Magnectic Pickup จะให้สํญญาณเมื่อมีโลหะวิ่งผ่าน

-Hall effect Sensor จะให้สํญญาณเมื่อมีแม่เเหล็กวิ่งผ่าน

-Optical Sensor จะให้สํญญาณเมื่อมีการตัดลำแสง

13 กล่องECU อุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่ได้จากSensor ทุกตัวเพื่อคำณวณ
การฉีดน้ำมัน และจังหวะในการจุดระเบิดที่เหมาะสมกับเครื่องยนตร์ตามตาราง(MAP)ที่มีการบันทึกไว้ใน
หน่วยความจำ(ROM) ที่อยู่ภายในกล่อง ECU

14 Oxygen Sensor ,Lambda Sensor ทำหน้าที่วัด อัตราส่วนผสมน้ำมันกับอากาศ ( Air / Fuel Ratio )
เพื่อทำการป้อนผลลัพธ์กลับไปยัง ECU เพื่อทำงานในระบบ Closed Loop (ระบบปรับการฉีดน้ำมันแบบควบคุม
ส่วนผสมอัตโนมัติซึ่งจะจะเจาะลึกในเล่มอื่นต่อไป)

สำหรับฉบับนี้คงมีเพียงเท่านี้ หวังว่าท่านคงเข้าใจในระบบหัวฉีด EFI มากขึ้นนะครับ ฉบับหน้าเราจะเจาะลึก
เข้าสู่เนื้อหาเกี่ยวกับ MAP Sensor, Airflow Meter และ วิธีการทำงานของอุปกรณ์ปรับแต่งการฉีดน้ำมัน
Apexi Super AFC, Field Hyper SFC ว่าอุปกรณ์เหล่านี้ทำงานอย่างไร