ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ตอบ

รูปแนบ: (ล้างรูป)
Restrictions: 10 per post (10 remaining), maximum total size 6.40 MB, maximum individual size 4.88 MB
เลือกที่นี่เพื่อลบไฟล์แนบของคุณ
คลิกเพื่อใส่รูปหรือลากรูปมาวางตรงนี้
ตัวเลือกเพิ่มเติม...
การยืนยัน:
กรุณาเว้นช่องนี้ว่างไว้:
พิมพ์คำว่า กิมหยง ลงในคำตอบ:
shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง

สรุปหัวข้อ

กระทู้โดย ทีมงานบ้านเรา
 - 15:15 น. 31 พ.ค 61
ฤดูฝนแล้ว ชลประทานเตรียมพร้อมรับมือ เฝ้าระวัง 8 จังหวัด อุบลราชธานี แพร่ น่าน สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงแผนบริหารจัดการน้ำและการเตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนปี 2561 ณ ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ(SWOC) กรมชลประทาน สามเสน ว่า ขณะนี้ประเทศไทยยกเว้นภาคใต้ ได้เข้าสู่ฤดูฝนแล้วจากประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา

ซึ่งหลังจากนี้ไป กรมชลประทานจะดำเนินการบริหารจัดการน้ำตามแนวทางการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2561 ที่ได้วางไว้ โดยเน้นย้ำให้โครงการชลประทานทุกแห่งบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่ให้กระทบต่อพื้นที่ด้านท้าย อ่างฯ พร้อมกับตรวจสอบอาคารชลประทาน สภาพความมั่นคงของเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลาง ทั้งหมด 437 แห่ง ซึ่งทุกแห่งยังคงมีสภาพมั่นคงแข็งแรงดีและมีสภาพพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา การกำจัดสิ่งกีดขวางอย่างผักตบชวา ไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก ที่สำคัญได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ที่ประจำอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ของตนอย่างใกล้ชิด

พร้อมกับให้บูรณาการทำงานร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงข้อมูลและรายงานสถานการณ์น้ำ เพื่อประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนให้ประชาชนรับทราบ และเตรียมการป้องกันได้อย่างทันต่อเหตุการณ์ ทั้งนี้คาดการณ์ว่าช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนจะมีพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ 8 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี แพร่ น่าน สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์ โดยขอให้ประชาชนเตรียมความพร้อมและติดตามสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนนี้อย่างใกล้ชิด

ด้านนายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ปัจจุบัน 30 พ.ค. 61 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง มีปริมาณน้ำรวมกัน 45,848 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 60 มีปริมาณน้ำใช้การได้ 21,929 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 42 สามารถรับน้ำได้อีก 30,089 ล้าน ลบ.ม. ส่วน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 12,979 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 52 (ปริมาณน้ำใช้การได้ 6,283 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 35) ปริมาณน้ำใช้การได้ในปีนี้มีมากกว่าปี 2560 จำนวน 2,039 ล้าน ลบ.ม.


แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย