ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ตอบ

รูปแนบ: (ล้างรูป)
Restrictions: 10 per post (10 remaining), maximum total size 6.40 MB, maximum individual size 4.88 MB
เลือกที่นี่เพื่อลบไฟล์แนบของคุณ
คลิกเพื่อใส่รูปหรือลากรูปมาวางตรงนี้
ตัวเลือกเพิ่มเติม...
การยืนยัน:
กรุณาเว้นช่องนี้ว่างไว้:
พยัญชนะไทยรองตัวสุดท้าย:
shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง

สรุปหัวข้อ

กระทู้โดย voidspirits
 - 02:12 น. 03 เม.ย 63
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ส-โห ส-โห ส-โห ส-โห
กระทู้โดย am_pm
 - 22:20 น. 16 พ.ย 53


[เอ.อาร์.ไอ.พี, http://www.arip.co.th] รายงานข่าวล่าสุด ผลจากการศึกษาของกูเกิ้ล (Google) พบว่า ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสปลอมที่ติดตั้งตัวเองเข้าไปในพีซีพร้อมกับโค้ดอันตรายกำลังเป็นภัยคุกคามอย่างหนัก โดยผลจากการวิเคราะห์หน้าเว็บ 240 ล้านเพจตลอดช่วงระยะ 13 เดือนที่ผ่านมาพบว่า มีโปรแกรมแอนตี้ไวรัสปลอมมากถึง 15% เลยทีเดียว

แฮคเกอร์ และพวกนักต้มตุ๋นกำลังหลอกล่อให้ผู้ใช้ดาวน์โหลด และติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัสปลอมเข้าไปใเตรื่อง โดยหลอกเหยื่อว่า พีซีของพวกเขามีไวรัสแพร่กระจายอยู่ในเครื่อง และเมื่อเหยื่อดำเนินการติดตั้งแอนตี้ไวรัสปลอมเข้าไป ซอฟต์แวร์ก็จะขโมยข้อมูล หรือไม่ก็บังคับให้เหยื่อลงทะเบียนจ่ายตังค์ให้กับซอฟต์แวร์ปลอม
"น่าประหลาดใจทีผู้ใช้ส่วนใหญ่ยังคงตกเป็นเหยื่อของการโจมตีในลักษณะนี้ แถมยังยอมลงทะเบียนจ่ายตังค์ให้กับซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสปลอมเสียด้วย ซึ่งนอกจากจะหลอกเอาเงินแล้ว บ่อยครั้งที่พบว่า ซอฟต์แวร์พวกนี้มักจะมาพร้อมกับมัลแวร์ที่คอยป่วนเครื่องตลอดจนโขมยข้อมูลอีกด้วย" รายงานจากผลการศึกษาของกูเกิ้ลยังเปิดเผยอีกว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสปลอมถูกแพร่กระจายผ่านโฆษณา

Graham Cluley ผู้เชี่ยวชาญจากโซฟอส (Sophos) ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า วิธีที่แฮคเกอร์ใช้ในการแพร่กระจายซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสเรียกว่า เทคนิคการออปติไมซ์เสิร์ชเอ็นจิ้นในรูปแบบกลโกงชนิดหนึ่ง เพื่อให้มันปรากฎในรายการผลลัพธ์เสิร์ช เช่น การเลือกใช้คีย์เวิร์ดที่อยู่ในกระแสมาสร้างเป็นคอนเท็นต์ในเว็บไซต์ เป็นต้น เมื่อเหยื่อคลิกบนลิงค์เข้าไปในหน้าเว็บ มันก็จะป๊อปอัพลิงค์ของซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสปลอมขึ้นมาทันที แม้จะมีกลไกไล่จับภัยคุกคามลักษณะนี้แล้วก็ตาม แต่ก็พบว่า มันมีการเปลี่ยนโดเมนเนมหนีเร็วมาก ดังนั้น ผู้ใช้จึงต้องระวังด้วยตัวเองในระดับหนึ่ง

ขอบคุณข้อมูลจาก > > > http://www.arip.co.th