ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ตอบ

รูปแนบ: (ล้างรูป)
Restrictions: 10 per post (10 remaining), maximum total size 6.40 MB, maximum individual size 4.88 MB
เลือกที่นี่เพื่อลบไฟล์แนบของคุณ
คลิกเพื่อใส่รูปหรือลากรูปมาวางตรงนี้
ตัวเลือกเพิ่มเติม...
การยืนยัน:
กรุณาเว้นช่องนี้ว่างไว้:
พยัญชนะไทยตัวสุดท้าย:
shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง

สรุปหัวข้อ

กระทู้โดย ฟ้าเปลี่ยนสี
 - 14:28 น. 05 มิ.ย 57
เลขาฯวุฒิชง คสช.ทูลเกล้าฯ "สุภา"เป็น ป.ป.ช.

โดย เดลินิวส์ออนไลน์
วันพฤหัสบดี 5 มิถุนายน 2557 เวลา 14:04 น.

เลขาฯวุฒิ ส่ง 2 ปมทูลเกล้าฯ "สุภา" เป็น ป.ป.ช.และ "นุรักษ์" เป็น ปธ.ศาลรัฐธรรมนูญ ให้ คสช.ดำเนินการ เผยกม.หลายฉบับต้องตกไปหลังยึดอำนาจการปกครอง

[attach=1]

เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. ที่รัฐสภา นางนรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภา เปิดเผยว่า จากกรณีที่ทางสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลโปรดเกล้าฯแต่งตั้งว่าที่ประธานวุฒิสภาคนใหม่ ภายหลังจากที่ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ที่ผ่านมานั้น ทางสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้ดำเนินการรับเรื่องคืนจากสำนักราชเลขาธิการแล้ว นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่เป็นอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาที่ค้างอยู่คือ การทูลเกล้าฯน.ส.สุภา ปิยะ จิตติ เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตามที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ รวมทั้งนายนุรักษ์ มาประณีต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ แทนนายจรูญ อินทจาร ที่ลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้ส่งทั้ง 2 เรื่องไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อให้ คสช.เป็นผู้พิจารณาดำเนินการแทนวุฒิสภาต่อไป

นางนรรัตน์ กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องที่ต้องยุติไปเนื่องจากไม่มีรัฐธรรมนูญแล้วคือการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่สรรหาสมาชิกวุฒิสภาให้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาจำนวน 30 คน ตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา รวมถึงการสรรหาตุลาการศาลปกครองผู้ทรงคุณวุฒิ นอกจากนี้ ยังมีร่างกฎหมายที่สำคัญยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภา อาทิ ร่างพระราชบัญญัติตรวจเงินแผ่นดิน  ก็เป็นอันต้องตกไป เว้นแต่ คสช.จะให้มีการทบทวนกฎหมายที่สำคัญ ๆ หน่วยงานต้นเรื่องจึงจะเป็นผู้หยิบยกร่างกฎหมายดังกล่าวเสนอต่อ คสช.ต่อไป.